บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๔ เรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง [๑๖๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น มีพระสนมเก่าคนหนึ่งบวชอยู่ในสำนักภิกษุณี ภิกษุณีรูปหนึ่งอันความกระสันบีบคั้นแล้ว ได้เข้าไปหาภิกษุณีพระสนมรูปนั้นถึงสำนักแล้วถามว่า แม่เจ้า พระราชาเสด็จไปหาแม่เจ้านานๆ ครั้ง แม่เจ้าดำรงอยู่ได้ด้วยอาการอย่างไร? ภิกษุณีพระสนมตอบว่า ด้วยท่อนยางเกลี้ยงๆ จ๊ะ. ภิกษุณีนั้นซักว่า ท่อนยางเกลี้ยงนั่นเป็นอย่างไร? จึงภิกษุณีพระสนมนั้นได้บอกท่อนยางเกลี้ยงแก่ภิกษุณีนั้น ภิกษุณีนั้นใช้ท่อนยางเกลี้ยง แล้วลืมล้างวางทิ้งไว้ ณ ที่ข้างหนึ่ง. ภิกษุณีทั้งหลายเห็นท่อนยางเกลี้ยงมีหมู่แมลงวันตอม จึงพูด เป็นเชิงถามว่า นี่การกระทำของใคร? ภิกษุณีนั้นกล่าวตอบอย่างนี้ว่า นี้เป็นการกระทำของดิฉัน. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนภิกษุณีจึงได้ใช้ ท่อนยางเกลี้ยงๆ เล่า ...ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีใช้ท่อนยาง- *เกลี้ยงๆ จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจึงได้ใช้ท่อนยาง- *เกลี้ยงๆ เล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๕๙. ๔. เป็นปาจิตตีย์ ในเพราะใช้ท่อนยางเกลี้ยงๆเรื่องภิกษุณีรูปหนึ่ง จบ. สิกขาบทวิภังค์ [๑๖๑] ที่ชื่อว่า ท่อนยางเกลี้ยงๆ ได้แก่ วัตถุที่ทำขึ้นด้วยยาง ทำขึ้นด้วยไม้ ทำขึ้น ด้วยแป้ง ทำขึ้นด้วยดิน. ภิกษุณียินดีสัมผัส สอดวัตถุโดยที่สุดแม้กลีบอุบล เข้าไปสู่องค์รหัส ต้องอาบัติปาจิตตีย์.อนาปัตติวาร [๑๖๒] มีเหตุอาพาธ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.ลสุณวรรค สิกขาบทที่ ๔ จบ. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๒๓๗๖-๒๔๐๘ หน้าที่ ๑๐๐-๑๐๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=2376&Z=2408&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=160&items=3 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=160&items=3&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=3&item=160&items=3 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=3&item=160&items=3 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=160 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3 https://84000.org/tipitaka/english/?index_3
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]