บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓ เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา [๒๖๕] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นคนคงแก่เรียน เป็นคนช่างพูด เป็นคนองอาจ สามารถกล่าวถ้อยคำมีหลักฐาน. แม้ภิกษุณีภัททากาปิลานีก็เป็นคนคงแก่เรียน เป็น คนช่างพูด เป็นคนองอาจ สามารถกล่าวถ้อยคำมีหลักฐาน เป็นผู้ได้รับการสรรเสริญว่าเป็นเยี่ยมกว่า คนทั้งหลายเห็นกันว่า แม่เจ้าภัททากาปิลานีเป็นคนคงแก่เรียน เป็นคนช่างพูด เป็นคนองอาจ สามารถกล่าวถ้อยคำมีหลักฐาน เป็นผู้ได้รับการสรรเสริญยิ่งกว่า จึงพากันเข้าไปหาภิกษุณีภัททา- *กาปิลานีก่อน แล้วจึงเข้าไปหาภิกษุณีถุลลนันทาต่อภายหลัง. ภิกษุณีถุลลนันทาเป็นคนมักริษยา รู้ได้ดีว่า ธรรมดาภิกษุณีผู้สาละวนอยู่ด้วยการอภิปรายที่จะให้คนอื่นรู้เข้าใจเนื้อความแจ่มแจ้ง ย่อม เป็นผู้มักน้อย สันโดษ ชอบสงัด ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ดังนั้น จึงจงกรมบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง สำเร็จการนอนบ้าง บรรยายเองบ้าง ให้ผู้อื่นบรรยายบ้าง ท่องบ่นบ้าง เบื้องหน้าภิกษุณีภัททากาปิลานี. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างพาเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา จึงได้แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่แม่เจ้าภัททากาปิลานีเล่า.ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีถุลลนันทา แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่ภิกษุณีภัททากาปิลานี จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนพวกภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่ภิกษุณีภัททากาปิลานีเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความ เลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๘๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด แกล้งก่อความไม่สำราญให้แก่ภิกษุณี เป็นปาจิตตีย์.เรื่องภิกษุณีถุลลนันทา จบ. สิกขาบทวิภังค์ [๒๖๖] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. บทว่า แก่ภิกษุณี คือ แก่ภิกษุณีรูปอื่น. บทว่า แกล้ง คือ รู้ รู้ดี จงใจ ตั้งใจละเมิด. บทว่า ก่อความไม่สำราญให้ คือ คิดว่า ด้วยวิธีนี้ความไม่ผาสุกจักมีแก่ภิกษุณีรูปนี้ แล้วไม่ขอโอกาส จงกรมก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี สำเร็จการนอนก็ดี บรรยายเองก็ดี ให้ผู้อื่นบรรยาย ก็ดี ท่องบ่นก็ดี ในเบื้องหน้า ต้องอาบัติปาจิตตีย์.บทภาชนีย์ ติกะปาจิตตีย์ [๒๖๗] อุปสัมบันภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณีแกล้งก่อความไม่สำราญให้ ต้องอาบัติ- *ปาจิตตีย์. อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสงสัย แกล้งก่อความไม่สำราญให้ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. อุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณี แกล้งก่อความไม่สำราญให้ ต้อง อาบัติปาจิตตีย์.ติกะทุกกฏ อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอุปสัมบันภิกษุณี ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ. อนุปสัมบันภิกษุณี ภิกษุณีสำคัญว่าอนุปสัมบันภิกษุณี ต้องอาบัติทุกกฏ.อนาปัตติวาร [๒๖๘] ไม่ประสงค์จะก่อความไม่สำราญให้ ขอโอกาสแล้ว จึงจงกรมก็ดี ยืนก็ดี นั่งก็ดี สำเร็จการนอนก็ดี บรรยายเองก็ดี ให้ผู้อื่นบรรยายก็ดี ท่องบ่นก็ดี ในเบื้องหน้า ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ. เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๓๖๘๙-๓๗๓๙ หน้าที่ ๑๖๑-๑๖๒. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=3689&Z=3739&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=265&items=4 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=265&items=4&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=3&item=265&items=4 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=3&item=265&items=4 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=265 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3 https://84000.org/tipitaka/english/?index_3
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]