บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๖ เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี [๒๗๖] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีจัณฑกาลีอยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้าง บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน แม่เจ้าจัณฑกาลีจึงได้อยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตรคบดีบ้างเล่า ...ทรงสอบถาม พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่าภิกษุณีจัณฑกาลี อยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้าง จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีจัณฑกาลีจึงได้อยู่ คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตรคหบดีบ้างเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-พระบัญญัติ ๙๑. ๖. อนึ่ง ภิกษุณีใด อยู่คลุกคลีกับคหบดีก็ดี กับบุตรคหบดีก็ดี ภิกษุณีนั้นอัน ภิกษุณีทั้งหลายพึงว่ากล่าวอย่างนี้ว่า แม่เจ้าอย่าได้อยู่คลุกคลีกับคหบดี หรือบุตรคหบดี แม่เจ้าขอ จงแยกออก สงฆ์ย่อมสรรเสริญความแยกออกอย่างเดียวแก่พี่น้องหญิง แลภิกษุณีนั้น อันภิกษุณี ทั้งหลายว่ากล่าวอยู่อย่างนี้ ยังยกย่องนั้นเทียว ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลาย พึงสวดสมนุภาส กว่าจะครบ ๓ จบ เพื่อให้สละการกระทำนั้น หากเธอถูกสวดสมนุภาส กว่าจะครบ ๓ จบอยู่ สละการกระทำนั้นได้ การสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละเป็นปาจิตตีย์.เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ. สิกขาบทวิภังค์ [๒๗๗] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า คลุกคลี คือ คลุกคลีด้วยการคลุกคลีทางกายและทางวาจา อันไม่สมควร. ที่ชื่อว่า คหบดี ได้แก่ บุรุษผู้ครองเรือนคนใดคนหนึ่ง. ที่ชื่อว่า บุตรคหบดี ได้แก่ บุตรหรือพี่น้องชายคนใดคนหนึ่ง. [๒๗๘] บทว่า ภิกษุณีนั้น ได้แก่ ภิกษุณีรูปที่คลุกคลี. บทว่า อันภิกษุณีทั้งหลาย ได้แก่ ภิกษุณีพวกอื่น. ภิกษุณีผู้คลุกคลีนั้น อันภิกษุณีผู้ที่ได้เห็นได้ทราบ พึงว่ากล่าวดังนี้ แม่เจ้าอย่าอยู่คลุกคลีกับ คหบดีหรือกับบุตรคหบดี แม่เจ้าขอจงปลีกตัวออก สงฆ์ย่อมสรรเสริญความปลีกตัวออกอย่างเดียว แก่พี่น้องหญิง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากสละได้อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีผู้ทราบเรื่องแล้วไม่ว่ากล่าว ต้องอาบัติทุกกฏ. ภิกษุณีนั้นอันภิกษุณีทั้งหลายพึงคุมตัวไป ณ ท่ามกลางสงฆ์ แล้วว่ากล่าวดังนี้ แม่เจ้าอย่า อยู่คลุกคลีกับคหบดีหรือกับบุตรคหบดี ขอจงปลีกตัวอยู่ต่างหาก สงฆ์ย่อมสรรเสริญความแยกออก อย่างเดียวแก่พี่น้องหญิง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สอง พึงว่ากล่าวแม้ครั้งที่สาม หากสละได้ การสละได้ อย่างนี้ นั่นเป็นการดี หากไม่สละ ต้องอาบัติทุกกฏ.วิธีสวดสมนุภาส [๒๗๙] ภิกษุณีนั้น อันภิกษุณีทั้งหลายพึงสวดสมนุภาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสมนุภาส นั้นพึงสวดอย่างนี้. อันภิกษุณีผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบ ด้วยญัตติจตุตถกรรมวาจาว่าดังนี้:-กรรมวาจาสมนุภาส แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ อยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตร คหบดีบ้าง เธอยังไม่สละวัตถุนั้น ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงสวดสมนุภาส ภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น นี่เป็นญัตติ. แม่เจ้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุณีมีชื่อนี้ผู้นี้ อยู่คลุกคลีกับคหบดีบ้าง กับบุตร คหบดีบ้าง เธอยังไม่สละวัตถุนั้น สงฆ์สวดสมนุภาส ภิกษุณีมีชื่อนี้ เพื่อให้สละวัตถุนั้น การ สวดสมนุภาส ภิกษุณีมีชื่อนี้เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงเป็น- *ผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่แม่เจ้ารูปใด แม่เจ้ารูปนั้นพึงพูด. ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สอง ... ข้าพเจ้ากล่าวความนี้แม้ครั้งที่สาม ... ภิกษุณีมีชื่อนี้ อันสงฆ์สวดสมนุภาสแล้ว เพื่อให้สละวัตถุนั้น ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้. [๒๘๐] จบญัตติ ต้องอาบัติทุกกฏ จบกรรมวาจาสองครั้ง ต้องอาบัติทุกกฏสองตัว จบกรรมวาจาครั้งสุด ต้องอาบัติปาจิตตีย์.บทภาชนีย์ ติกะปาจิตตีย์ [๒๘๑] กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ไม่สละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์. กรรมเป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ไม่สละ ต้องอาบัติปาจิตตีย์.ติกะทุกกฏ กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมเป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสงสัย ต้องอาบัติทุกกฏ. กรรมไม่เป็นธรรม ภิกษุณีสำคัญว่า กรรมไม่เป็นธรรม ต้องอาบัติทุกกฏ.อนาปัตติวาร [๒๘๒] ไม่ถูกสวดสมนุภาส ๑ สละได้ ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.ตุวัฏฏวรรค สิกขาบทที่ ๖ จบ. ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๓๘๔๘-๓๙๑๙ หน้าที่ ๑๖๘-๑๗๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=3848&Z=3919&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=276&items=7 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=276&items=7&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=3&item=276&items=7 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=3&item=276&items=7 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=276 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3 https://84000.org/tipitaka/english/?index_3
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]