ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๓ ภิกขุนีวิภังค์
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๓
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี
[๓๓๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของอนาถ- *บิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น ภิกษุณีจัณฑกาลีเป็นผู้ก่อความบาดหมาง ก่อความ ทะเลาะ ก่อการวิวาท ก่อความอื้อฉาว ก่ออธิกรณ์ในสงฆ์ เมื่อภิกษุณีสงฆ์ทำกรรมแก่นาง ภิกษุณีถุลลนันทาค้าน. [๓๓๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุณีถุลลนันทาได้ไปสู่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง ด้วยกรณียะบางอย่าง. ครั้นภิกษุณีสงฆ์ทราบว่า ภิกษุณีถุลลนันทาหลีกไปแล้ว จึงยกวัตรภิกษุณีจัณฑกาลี ในเพราะไม่ เห็นอาบัติ. ภิกษุณีถุลลนันทาเสร็จกรณียกิจในหมู่บ้านนั้นแล้ว กลับมาสู่นครสาวัตถีดังเดิม. เมื่อ นางมาถึง ภิกษุณีจัณฑกาลีไม่ปูอาสนะรับ ไม่จัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ ลุกไปรับบาตรจีวร ไม่ไต่ถามด้วยน้ำฉัน ภิกษุณีถุลลนันทาได้กล่าวคำนี้กะภิกษุณีจัณฑกาลีว่า ทำไม เมื่อฉันมาถึง เธอจึงไม่ปูอาสนะรับ ไม่จัดตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า ไม่ลุกมา รับบาตรจีวร ไม่ไต่ถามด้วยน้ำฉัน. ภิกษุณีจัณฑกาลีตอบว่า การที่เป็นดั่งนี้นั้น เพราะดิฉันเป็นดั่งสตรีผู้ไร้ที่พึ่ง เจ้าข้า. ภิกษุณีถุลลนันทาซักว่า เพราะเหตุไร เธอจึงเป็นดั่งสตรีผู้ไร้ที่พึ่งเล่า? ภิกษุณีจัณฑกาลีแถลงว่า เพราะภิกษุณีเหล่านี้ยกวัตรดิฉันในเพราะไม่เห็นอาบัติ ด้วยเข้า ใจว่านางผู้นี้ไร้ที่พึ่ง ไม่สู้จะมีชื่อเสียง ไม่มีใครซึ่งจะเป็นผู้ยำเกรงนางผู้นี้. ภิกษุณีถุลลนันทาขึ้งเคียดกล่าวติคณะว่า ภิกษุณีเหล่านี้เขลา ภิกษุณีเหล่านี้ไม่ฉลาด ภิกษุณีเหล่านี้ไม่รู้จักกรรม โทษอันสมควรแก่กรรม กรรมวิบัติหรือกรรมสมบัติ. บรรดาภิกษุณีที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนแม่เจ้าถุลลนันทา จึงได้ขึ้งเคียดกล่าวติคณะเล่า ...
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า ภิกษุณีถุลลนันทา ขึ้งเคียดกล่าวติคณะ จริงหรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไฉนภิกษุณีถุลลนันทาจึงได้ขึ้ง เคียดกล่าวติคณะเล่า การกระทำของนางนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่ เลื่อมใส ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลภิกษุณีทั้งหลายจงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๑๐๘. ๓. อนึ่ง ภิกษุณีใด ขึ้งเคียดกล่าวติคณะ เป็นปาจิตตีย์.
เรื่องภิกษุณีจัณฑกาลี จบ.
สิกขาบทวิภังค์
[๓๔๐] บทว่า อนึ่ง ... ใด ความว่า ผู้ใด คือ ผู้เช่นใด ... บทว่า ภิกษุณี ความว่า ที่ชื่อว่า ภิกษุณี เพราะอรรถว่าเป็นผู้ขอ ... นี้ชื่อว่า ภิกษุณี ที่ทรงประสงค์ในอรรถนี้. ที่ชื่อว่า ขึ้งเคียด ได้แก่ กิริยาที่เขาเรียกกันว่าโกรธ. ที่ชื่อว่า คณะ ได้แก่ หมู่ที่เรียกกันว่าภิกษุณีสงฆ์. บทว่า กล่าวติ คือ ติโทษว่า ภิกษุณีเหล่านี้เขลา ภิกษุณีเหล่านี้ไม่ฉลาด ภิกษุเหล่านี้ ไม่รู้จักกรรม โทษอันสมควรแก่กรรม กรรมวิบัติ หรือกรรมสมบัติ ต้องอาบัติปาจิตตีย์ กล่าวติ ภิกษุณีหลายรูป ภิกษุณีรูปเดียว หรืออนุปสัมบัน ต้องอาบัติทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
[๓๔๑] มุ่งอรรถ ๑ มุ่งธรรม ๑ มุ่งสั่งสอน ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกา ๑ ไม่ต้อง อาบัติแล.
อารามวรรค สิกขาบทที่ ๓ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ บรรทัดที่ ๔๕๗๑-๔๖๑๗ หน้าที่ ๒๐๔-๒๐๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=3&A=4571&Z=4617&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=338&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=3&item=338&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=3&item=338&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=3&item=338&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=3&i=338              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_3 https://84000.org/tipitaka/english/?index_3

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]