ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
             [๑๖๕] ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยานานัตตญาณอย่างไร จริยา
ในบทว่า จริยา มี ๓ คือ วิญญาณจริยา อัญญาณจริยา ญาณจริยา ฯ
             วิญญาณจริยาเป็นไฉน กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการดูรูปทั้งหลายเป็น
อพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา จักขุวิญญาณอันเป็นแต่เพียงเห็นรูป เป็นวิญญาณ
จริยา เพราะได้เห็นรูปแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา
เพราะขึ้นสู่รูปแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือ
ความนึกเพื่อต้องการฟังเสียงเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา โสตวิญญาณ
อันเป็นแต่เพียงฟังเสียง เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้ฟังเสียงแล้ว มโนธาตุ
อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่เสียงแล้ว มโน-
*วิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการดมกลิ่น
เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ฆานวิญญาณอันเป็นแต่เพียงดมกลิ่น เป็น
วิญญาณจริยา เพราะได้ดมกลิ่นแล้ว มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็น
วิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่กลิ่นแล้ว มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณ-
*จริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการลิ้มรสเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา
ชิวหาวิญญาณอันเป็นแต่เพียงลิ้มรส เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้ลิ้มรสแล้ว
มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่รสแล้ว
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการ
ถูกต้อง โผฏฐัพพะเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา กายวิญญาณอันเป็นแต่
เพียงถูกต้องโผฏฐัพพะ เป็นวิญญาณจริยา เพราะได้ถูกต้องโผฏฐัพพะแล้ว
มโนธาตุอันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่โผฏฐัพพะแล้ว
มโนวิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการ
รู้แจ้งธรรมารมณ์เป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา มโนวิญญาณอันเป็นแต่เพียง
รู้แจ้งธรรมารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะรู้แจ้งธรรมารมณ์แล้ว มโนธาตุ
อันเป็นวิบากที่ขึ้นสู่อารมณ์ เป็นวิญญาณจริยา เพราะขึ้นสู่ธรรมารมณ์แล้ว มโน
วิญญาณธาตุอันเป็นวิบาก เป็นวิญญาณจริยา ฯ
             [๑๖๖] คำว่า วิญญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะ
อรรถว่ากระไร ฯ
             ชื่อว่าวิญญาณจริยา เพราะอรรถว่า ประพฤติไม่มีราคะประพฤติไม่มี
โทสะ ประพฤติไม่มีโมหะ ประพฤติไม่มีมานะ ประพฤติไม่มีทิฐิ ประพฤติไม่
มีอุทธัจจะ ประพฤติไม่มีวิจิกิจฉา ประพฤติไม่มีอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบ
ด้วยราคะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโทสะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโมหะ
ประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยทิฐิ ประพฤติไม่ประกอบ
ด้วยอุทธัจจะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ประพฤติไม่ประกอบด้วยอนุสัย
ประพฤติไม่ประกอบด้วยกุศลกรรม ประพฤติไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม ประ-
*พฤติไม่ประกอบด้วยกรรมมีโทษ ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ ประ-
*พฤติไม่ประกอบด้วยกรรมดำ ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมขาว ประพฤติไม่
ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นกำไร ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีทุกข์เป็น
กำไร ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมที่มีสุขเป็นวิบาก ประพฤติไม่ประกอบด้วย
กรรมที่มีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติในอารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว วิญญาณมีความประพฤติ
เห็นปานนี้ เหตุนั้นจึงชื่อว่า วิญญาณจริยา จิตนี้บริสุทธิ์โดยปกติ เพราะอรรถ
ว่าไม่มีกิเลส เหตุนั้นจึงชื่อว่า วิญญาณจริยานี้ชื่อว่าวิญญาณจริยา ฯ
             [๑๖๗] อัญญาณจริยาเป็นไฉน กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่ง
ราคะในรูปอันเป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่ง
ราคะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะ ในรูปอัน
ไม่เป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ เป็น
อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะ ในวัตถุที่มิได้เพ่งเล็ง
ด้วยราคะและโทสะทั้งสองนั้น อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความ
แล่นไปแห่งโมหะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่ง
มานะที่ผูกพันธ์ อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งมานะ
เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งทิฐิที่ยึดถือ อันเป็น
อัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฐิ เป็นอัญญาณจริยา กิริยา
คือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน อันเป็นอัพยากฤต
เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือ
ความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลงอันเป็นอัพยากฤต เป็น
วิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความ
นึกเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีเรี่ยวแรง อันเป็นอัพยากฤต
เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึก
เพื่อความแล่นไปแห่งราคะในเสียง ฯลฯ ในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะในธรรมารมณ์
เป็นที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งราคะ เป็น
อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโทสะในธรรมารมณ์ไม่เป็น
ที่รัก อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งโทสะ เป็น
อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งโมหะ ในวัตถุที่มิได้เพ่ง
เล็งด้วยราคะและโทสะทั้งสองนั้น อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความ
แล่นไปแห่งโมหะ เป็นอัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่ง
ทิฐิที่ยึดถือ อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งทิฐิ เป็น
อัญญาณจริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอุทธัจจะที่ถึงความฟุ้งซ่าน
อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอุทธัจจะ เป็นอัญญาณ-
*จริยา กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉาที่ไม่ถึงความตกลงอันเป็น
อัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งวิจิกิจฉา เป็นอัญญาณจริยา
กิริยาคือความนึกเพื่อความแล่นไปแห่งอนุสัยที่ถึงความเป็นธรรมมีเรี่ยวแรง อันเป็น
อัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา ความแล่นไปแห่งอนุสัย เป็นอัญญาณจริยา ฯ
             [๑๖๘] คำว่า อัญญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะ
อรรถว่ากระไร ฯ
             ชื่อว่าอัญญาณจริยา เพราะอรรถว่า ประพฤติมีราคะ ประพฤติมีโทสะ
ประพฤติมีโมหะ ประพฤติมีมานะ ประพฤติมีทิฐิ ประพฤติมีอุทธัจจะ ประ
พฤติมีวิจิกิจฉา ประพฤติมีอนุสัย ประพฤติประกอบด้วยราคะ ประพฤติประกอบ
ด้วยโทสะ ประพฤติประกอบด้วยโมหะ ประพฤติประกอบด้วยมานะ ประพฤติ
ประกอบด้วยทิฐิ ประพฤติประกอบด้วยอุทธัจจะ ประพฤติประกอบด้วยวิจิกิจฉา
ประพฤติประกอบด้วยอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบด้วยกุศลกรรม ประพฤติ
ประกอบด้วยอกุศลธรรม ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีโทษ ประพฤติไม่ประกอบ
ด้วยกรรมไม่มีโทษ ประพฤติประกอบด้วยกรรมดำ ประพฤติไม่ประกอบด้วย
กรรมขาว ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นกำไร ประพฤติประกอบด้วย
กรรมมีทุกข์เป็นกำไร ประพฤติไม่ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นวิบาก ประพฤติ
ประกอบด้วยกรรมมีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติในอารมณ์ที่ไม่รู้ ความไม่รู้มีจริยาเห็น
ปานนี้ เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า อัญญาณจริยา นี้ชื่อว่าอัญญาณจริยา ฯ
             [๑๖๙] ญาณจริยาเป็นไฉน กิริยาคือความนึกเพื่อต้องการพิจารณาเห็น
ความไม่เที่ยง อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยง
เป็นญาณจริยา กิริยาคือความนึก เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความทุกข์ อันเป็น
อัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาเห็นทุกข์ เป็นญาณจริยา กิริยาคือ
ความนึก เพื่อต้องการพิจารณาเห็นอนัตตา อันเป็นอัพยากฤต เป็นวิญญาณจริยา
การพิจารณาเห็นอนัตตา เป็นญาณจริยา กิริยาคือความนึก เพื่อต้องการพิจารณา
เห็นความเบื่อหน่าย ฯลฯ เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความคลายกำหนัด เพื่อ
ต้องการพิจารณาเห็นความดับ เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความสละคืน เพื่อต้องการ
พิจารณาเห็นความสิ้นไป เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความเสื่อมไป เพื่อต้องการ
พิจารณาเห็นความแปรปรวน เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความไม่มีนิมิต เพื่อต้องการ
พิจารณาเห็นความไม่มีที่ตั้ง เพื่อต้องการพิจารณาเห็นความสูญ เพื่อต้องการ
พิจารณาเห็นธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง เพื่อต้องการพิจารณารู้เห็นตามความเป็นจริง
เพื่อต้องการพิจารณาเห็นโทษ เพื่อต้องการพิจารณาหาทาง อันเป็นอัพยากฤต
เป็นวิญญาณจริยา การพิจารณาหาทาง เป็นญาณจริยา การพิจารณาเห็นความ
คลายออก (นิพพาน) เป็นญาณจริยา โสดาปัตติมรรค โสดาปัตติผลสมาบัติ
สกทาคามิมรรค สกทาคามิผลสมาบัติ อนาคามิมรรค อนาคามิผลสมาบัติ
อรหัตมรรค อรหัตผลสมาบัติ เป็นญาณจริยา ฯ
             [๑๗๐] คำว่า ญาณจริยา ความว่า ชื่อว่าญาณจริยา เพราะอรรถว่า
กระไร ฯ
             ชื่อว่าญาณจริยา เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีราคะ ประพฤติไม่โทสะ
ฯลฯ ประพฤติไม่มีอนุสัย ประพฤติไม่ประกอบด้วยราคะ ประพฤติไม่ประกอบ
ด้วยโทสะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยโมหะ ประพฤติไม่ประกอบด้วยมานะ ฯลฯ
ไม่ประกอบด้วยทิฐิ ไม่ประกอบด้วยอุทธัจจะ ไม่ประกอบด้วยวิจิกิจฉา ไม่
ประกอบด้วยอนุสัย ประกอบด้วยกุศลธรรม ไม่ประกอบด้วยอกุศลกรรม
ไม่ประกอบด้วยกรรมมีโทษ ประกอบด้วยกรรมไม่มีโทษ ไม่ประกอบด้วยกรรม
ดำ ประกอบด้วยกรรมขาว ประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นกำไร ไม่ประกอบด้วย
กรรมมีทุกข์เป็นกำไร ประพฤติประกอบด้วยกรรมมีสุขเป็นวิบาก ประพฤติไม่
ประกอบด้วยกรรมมีทุกข์เป็นวิบาก ประพฤติในญาณ ญาณมีจริยาเห็นปานนี้
เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ญาณจริยา นี้ชื่อว่าญาณจริยา วิญญาณจริยา อัญญาณ-
*จริยา ญาณจริยา ชื่อว่าญาณ เพราะอรรถว่ารู้ธรรมนั้น ชื่อว่าปัญญา เพราะ
อรรถว่ารู้ชัด เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า ปัญญาในการกำหนดจริยา เป็นจริยา
นานัตตญาณ ฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๙๑๒-๒๐๒๘ หน้าที่ ๗๘-๘๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=1912&Z=2028&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=165&items=6              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=31&item=165&items=6&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=31&item=165&items=6              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=31&item=165&items=6              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=165              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_31 https://84000.org/tipitaka/english/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]