ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๕ ขุททกนิกาย อปทาน ภาค ๒ -พุทธวังสะ-จริยาปิฎก
เอกธัมมสวนิยเถราปทานที่ ๗
ว่าด้วยผลแห่งการฟังธรรมครั้งเดียว
[๑๗] พระพิชิตมารพระนามว่าปทุมุตระ ทรงรู้จบธรรมทั้งปวงประกาศ สัจจะ ๔ ทรงยังชนเป็นอันมากให้ข้ามพ้นดีแล้ว สมัยนั้น เราเป็น ชฎิลมีตบะใหญ่ สลัดผ้าคากรองเปลือกไม้ เหาะไปในอัมพร ในกาลนั้น เราไม่สามารถจะเหาะไปได้เหนือพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ สุด เราเหาะไปไม่ได้ เหมือนนกเข้าไปใกล้ภูเขาแล้วไปไม่ได้ ฉะนั้น เราบังหวนเป็นไอน้ำลอยอยู่ในอัมพรเช่นนี้ ด้วยคิดว่า เหตุเครื่องทำให้อิริยาบถกำเริบเช่นนี้ มิได้เคยมีแก่เรา เอาละ เราจักค้นหาเหตุนั้น บางทีเราจักพึงได้ผล เราลงจากอากาศ ก็ได้ สดับพระสุรเสียงของพระศาสดา เมื่อพระศาสดาตรัสถึงว่าสังขาร ไม่เที่ยง ด้วยพระสุรเสียงที่น่ายินดี น่าฟัง กลมกล่อม ขณะนั้นเราได้เรียนเอาอนิจจลักษณะนั่นแหละ ครั้นเรียนอนิจจ- ลักษณะได้แล้ว ก็ไปสู่อาศรมของตน เราอยู่ในอาศรมนั้นแหละ ตราบเท่าสิ้นอายุ ตายไปแล้ว เมื่อกาลที่สุดกำลังเป็นไป เราระลึก ถึงการฟังพระสัทธรรม เพราะกรรมที่เราได้ทำไว้ดีแล้วนั้น และ เพราะความตั้งเจตนาไว้ เราละร่างมนุษย์แล้ว ได้ไปสู่ดาวดึงสพิภพ รื่นรมย์อยู่ในเทวโลก ๓ หมื่นกัป ได้เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๕๑ ครั้ง ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ ๓๑ ครั้ง และได้เป็นพระเจ้าประเทศ ราชอันไพบูลย์โดยคณนานับมิได้ เราเสวยบุญของตน ถึงความสุข ในภพน้อยภพใหญ่ เราท่องเที่ยวไปในภพน้อยภพใหญ่ ก็ยังระลึก ได้ถึงสัญญานั้น บทอันไม่เคลื่อน คือ นิพพาน เราหาได้แทงตลอด ด้วยธรรมอันหนึ่งไม่ สมณะผู้มีอินทรีย์อันอบรมแล้ว นั่งในเรือน บิดา เมื่อจะแสดงธรรมกถา ท่านได้ยกอนิจจลักษณะขึ้นมาใน ธรรมกถานั้น พร้อมกับที่ได้ฟังคาถาว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เกิดขึ้นแล้วย่อมดับไป ความที่สังขารเหล่านั้นสงบระงับเป็นความสุข ดังนี้เราจึงนึกถึง สัญญาขึ้นได้ทุกอย่าง เรานั่ง ณ อาสนะเดียว บรรลุอรหัตแล้ว เราได้บรรลุอรหัตโดยเกิดได้ ๗ ปี พระพุทธเจ้าทรงให้เราอุปสมบท แล้ว นี้เป็นผลแห่งการฟังธรรม ในกัปที่แสน แต่กัปนี้ เราได้ ฟังธรรมใด ในกาลนั้น ด้วยการฟังธรรมนั้น เราไม่รู้จักทุคติเลย นี้ก็เป็นผลแห่งการฟังธรรม เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว ... พระพุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ทราบว่า ท่านพระเอกธัมมสวนิยเถระได้ภาษิตคาถาเหล่านี้ ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ เอกธัมมสวนิยเถราปทาน.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ บรรทัดที่ ๕๓๒-๕๖๖ หน้าที่ ๒๓-๒๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=33&A=532&Z=566&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=17&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=33.1&item=17&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=33.1&item=17&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=33.1&item=17&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=33.1&i=17              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๓ https://84000.org/tipitaka/read/?index_33 https://84000.org/tipitaka/english/?index_33

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]