ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
             [๑๐๒๕] มัญญิตะ ๙ ผันทิตะ ๙ ปปัญจิตะ ๙ สังขตะ ๙ เป็นไฉน
             สังขตะ ๙ คือ
             ๑. ความปรุงแต่งว่า เรามี
             ๒. ความปรุงแต่งว่า เป็นเรา
             ๓. ความปรุงแต่งว่า นี้เป็นเรา
             ๔. ความปรุงแต่งว่า เราจักมี
             ๕. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีรูป
             ๖. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีรูป
             ๗. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญา
             ๘. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา
             ๙. ความปรุงแต่งว่า เราจักเป็นสัตว์มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็
ไม่ใช่
             เหล่านี้เรียกว่า สังขตะ ๙
ทสกนิเทศ
[๑๐๒๖] ในทสกมาติกาเหล่านั้น กิเลสวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน กิเลสวัตถุ ๑๐ คือ โลภะ โทสะ โมหะ มานะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา ถีนะ อุทธัจจะ อหิริกะ อโนตตัปปะ เหล่านี้เรียกว่า กิเลสวัตถุ ๑๐ [๑๐๒๗] อาฆาตวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน อาฆาตวัตถุ ๑๐ คือ ๑. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่เราแล้ว ๒. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่เรา ๓. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่เรา ๔. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่ รักที่ชอบพอของเราแล้ว ๕. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็น ที่รักเป็นที่ชอบพอของเรา ๖. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำความเสื่อมเสียแก่คนผู้เป็นที่ รักที่ชอบพอของเรา ๗. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้ได้ทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเราแล้ว ๘. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้กำลังทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่ รักไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ๙. ความอาฆาตเกิดขึ้นด้วยคิดว่า ผู้นี้จักทำประโยชน์แก่คนผู้ไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบพอของเรา ๑๐. ความอาฆาตเกิดขึ้นในฐานะอันไม่ควร เหล่านี้เรียกว่า อาฆาตวัตถุ ๑๐ [๑๐๒๘] อกุศลกรรมบถ ๑๐ เป็นไฉน อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ ๑. ปาณาติบาต ฆ่าสัตว์ ๒. อทินนาทาน ลักทรัพย์ ๓. กาเมสุมิจฉาจาร ประพฤติผิดในกาม ๔. มุสาวาท พูดเท็จ ๕. ปิสุณาวาจา พูดส่อเสียด ๖. ผรุสวาจา พูดคำหยาบ ๗. สัมผัปปลาปะ พูดเพ้อเจ้อ ๘. อภิชฌา โลภอยากได้ของเขา ๙. พยาบาท ปองร้ายเขา ๑๐. มิจฉาทิฏฐิ เห็นผิดจากคลองธรรม เหล่านี้เรียกว่า อกุศลกรรมบถ ๑๐ [๑๐๒๙] สัญโญชน์ ๑๐ เป็นไฉน สัญโญชน์ ๑๐ คือ ๑. กามราคสัญโญชน์ ๒. ปฏิฆสัญโญชน์ ๓. มานสัญโญชน์ ๔. ทิฏฐิสัญโญชน์ ๕. วิจิกิจฉาสัญโญชน์ ๖. สีลัพพตปรามาสสัญโญชน์ ๗. ภวราคสัญโญชน์ ๘. อิสสาสัญโญชน์ ๙. มัจฉริยสัญโญชน์ ๑๐. อวิชชาสัญโญชน์ เหล่านี้เรียกว่า สัญโญชน์ ๑๐ [๑๐๓๐] มิจฉัตตะ ๑๐ เป็นไฉน มิจฉัตตะ ๑๐ คือ ๑. มิจฉาทิฏฐิ ๒. มิจฉาสังกัปปะ ๓. มิจฉาวาจา ๔. มิจฉากัมมันตะ ๕. มิจฉาอาชีวะ ๖. มิจฉาวายามะ ๗. มิจฉาสติ ๘. มิจฉาสมาธิ ๙. มิจฉาญาณ ๑๐. มิจฉาวิมุตติ เหล่านี้เรียกว่า มิจฉัตตะ ๑๐ [๑๐๓๑] มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ เป็นไฉน มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐ คือ ๑. ความเห็นว่า ทานที่บุคคลให้แล้วไม่มีผล ๒. ความเห็นว่า การบูชาพระรัตนตรัยไม่มีผล ๓. ความเห็นว่า การบูชาเทวดาไม่มีผล ๔. ความเห็นว่า ผลวิบากของกรรมดีและกรรมชั่วไม่มี ๕. ความเห็นว่า โลกนี้ไม่มี ๖. ความเห็นว่า โลกหน้าไม่มี ๗. ความเห็นว่า มารดาไม่มี ๘. ความเห็นว่า บิดาไม่มี ๙. ความเห็นว่า สัตว์ที่จุติและเกิดไม่มี ๑๐. ความเห็นว่า สมณพราหมณ์ ผู้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ รู้ยิ่งเห็นแจ้ง ประจักษ์ซึ่งโลกนี้และโลกหน้าด้วยตนเองแล้ว ประกาศให้ผู้อื่นรู้ได้ ไม่มีในโลก เหล่านี้เรียกว่า มิจฉาทิฏฐิมีวัตถุ ๑๐

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๓๔๙๔-๑๓๕๘๔ หน้าที่ ๕๗๙-๕๘๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=13494&Z=13584&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=1025&items=7              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=1025&items=7&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=1025&items=7              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=1025&items=7              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=1025              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]