ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
ปัญจังคิกวาร
[๒๐๐] สัจจะ ๔ คือ ๑. ทุกข์ ๒. ทุกขสมุทัย ๓. ทุกขนิโรธ ๔. ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา [๒๐๑] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขสมุทัย [๒๐๒] ทุกข์ เป็นไฉน กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ กุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ วิบากแห่งกุศลธรรม และอกุศลธรรม ที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมที่เป็นกิริยามิใช่กุศล อกุศล และกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่าทุกข์ [๒๐๓] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การประหาณตัณหา นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธ [๒๐๔] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่ วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น [๒๐๕] ในมรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียก ว่าสัมมาทิฏฐิ [๒๐๖] สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ฯลฯ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่าสัมมาสังกัปปะ [๒๐๗] สัมมาวายามะ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความเพียรชอบ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่าสัมมาวายามะ [๒๐๘] สัมมาสติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่าสัมมาสติ [๒๐๙] สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่าสัมมาสมาธิ นี้เรียกว่าทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วย ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ฯลฯ [๒๑๐] ในสัจจะ ๔ นั้น ทุกขสมุทัย เป็นไฉน ตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่เป็นอารมณ์ ของอาสวะ กุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียกว่าทุกขสมุทัย [๒๑๑] ทุกข์ เป็นไฉน วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมที่เป็นอารมณ์ของอาสวะ ธรรมเป็น กิริยามิใช่กุศล อกุศล และกรรมวิบาก รูปทั้งหมด นี้เรียกว่าทุกข์ [๒๑๒] ทุกขนิโรธ เป็นไฉน การประหาณซึ่งตัณหา กิเลสที่เหลือ อกุศลธรรมที่เหลือ กุศลมูล ๓ ที่ เป็นอารมณ์ของอาสวะ และกุศลธรรมอันเป็นอารมณ์ของอาสวะที่เหลือ นี้เรียก ว่าทุกขนิโรธ [๒๑๓] ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีวิตกมีวิจารมีปีติและสุขอันเกิดแต่ วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ ย่อมมีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ธรรมทั้งหลายที่เหลือ สัมปยุตด้วยทุกขนิโรธคามินี- *ปฏิปทา

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๒๙๘๗-๓๐๔๓ หน้าที่ ๑๒๘-๑๓๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=2987&Z=3043&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=200&items=14              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=200&items=14&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=200&items=14              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=200&items=14              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=200              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]