ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
[๒๕๔] อินทรีย์ ๑๕ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ อินทรีย์ ๗ เป็นทัสสน- ปหาตัพพะก็มี เป็นนทัสสนปหาตัพพะก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็นนภาวนาปหาตัพพะ อินทรีย์ ๗ เป็นภาวนาปหาตัพพะก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพะก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็น นทัสสนปหาตัพพเหตุกะ อินทรีย์ ๗ เป็นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็น นทัสสนปหาตัพพเหตุกะก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ อินทรีย์ ๗ เป็นภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะก็มี อินทรีย์ ๙ เป็น อวิตักกะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสวิตักกะ อินทรีย์ ๑๒ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี อินทรีย์ ๙ เป็นอวิจาระ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสวิจาระ อินทรีย์ ๑๒ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี อินทรีย์ ๑๑ เป็นอัปปีติกะ อินทรีย์ ๑๑ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี อินทรีย์ ๑๑ เป็นนปีติสหคตะ อินทรีย์ ๑๑ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี อินทรีย์ ๑๒ เป็นนสุขสหคตะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะก็มี อินทรีย์ ๑๒ เป็นนอุเปกขาสหคตะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็น กามาวจร อินทรีย์ ๓ เป็นนกามาวจร อินทรีย์ ๙ เป็นกามาวจรก็มี เป็น นกามาวจรก็มี อินทรีย์ ๑๓ เป็นนรูปาวจร อินทรีย์ ๙ เป็นรูปาวจรก็มี เป็น นรูปาวจรก็มี อินทรีย์ ๑๔ เป็นนอรูปาวจร อินทรีย์ ๘ เป็นอรูปาวจรก็มี เป็นนอรูปาวจรก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นปริยาปันนะ อินทรีย์ ๓ เป็นอปริยาปันนะ อินทรีย์ ๙ เป็นปริยาปันนะก็มี เป็นอปริยาปันนะก็มี อินทรีย์ ๑๑ เป็นอนิยยานิกะ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็นนิยยานิกะ อินทรีย์ ๑๐ เป็นนิยยานิกะก็มี เป็น อนิยยานิกะก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นอนิยตะ อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ เป็น นิยตะ อินทรีย์ ๑๑ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี อินทรีย์ ๑๐ เป็นสอุตตระ อินทรีย์ ๓ เป็นอนุตตระ อินทรีย์ ๙ เป็นสอุตตระก็มี เป็นอนุตตระก็มี อินทรีย์ ๑๕ เป็นอรณะ โทมนัสสินทรีย์ เป็นสรณะ อินทรีย์ ๖ เป็นสรณะก็มี เป็นอรณะก็มี ฉะนี้แล
ปัญหาปุจฉกะ จบ
อินทริยวิภังค์ จบบริบูรณ์
๖. ปัจจยาการวิภังค์
สุตตันตภาชนีย์
[๒๕๕] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เกิดเพราะชาติ เป็นปัจจัย ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ [๒๕๖] ในปัจจยาการเหล่านั้น อวิชชา เป็นไฉน ความไม่รู้ทุกข์ ความไม่รู้ทุกขสมุทัย ความไม่รู้ทุกขนิโรธ ความไม่รู้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา นี้เรียกว่า อวิชชา [๒๕๗] สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย เป็นไฉน ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร ในสังขารเหล่านั้น ปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน กุศลเจตนา เป็นกามาวจร เป็นรูปาวจร ที่สำเร็จด้วยทาน ที่สำเร็จ- *ด้วยศีล ที่สำเร็จด้วยภาวนา นี้เรียกว่า ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร เป็นไฉน อกุศลเจตนาเป็นกามาวจร นี้เรียกว่า อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร เป็นไฉน กุศลเจตนาเป็นอรูปาวจร นี้เรียกว่า อาเนญชาภิสังขาร กายสังขาร เป็นไฉน กายสัญเจตนา เป็นกายสังขาร วจีสัญเจตนา เป็นวจีสังขาร มโนสัญ- *เจตนา เป็นจิตตสังขาร เหล่านี้เรียกว่า สังขารเกิดเพราะอวิชชาเป็นปัจจัย [๒๕๘] วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย เป็นไฉน จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ นี้เรียกว่า วิญญาณเกิดเพราะสังขารเป็นปัจจัย [๒๕๙] นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย เป็นไฉน นาม ๑ รูป ๑ ในนามและรูปนั้น นาม เป็นไฉน เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี้เรียกว่า นาม รูป เป็นไฉน มหาภูตรูป ๔ และอุปาทายรูปที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ นี้เรียกว่า รูป นามและรูปดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า นามรูปเกิดเพราะวิญญาณเป็นปัจจัย [๒๖๐] สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย เป็นไฉน จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ มนาย- *ตนะ นี้เรียกว่า สฬายตนะเกิดเพราะนามรูปเป็นปัจจัย [๒๖๑] ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย เป็นไฉน จักขุสัมผัส โสตสัมผัส ฆานสัมผัส ชิวหาสัมผัส กายสัมผัส มโน- *สัมผัส นี้เรียกว่า ผัสสะเกิดเพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย [๒๖๒] เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย เป็นไฉน จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฆานสัมผัสสชาเวทนา ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา กายสัมผัสสชาเวทนา มโนสัมผัสสชาเวทนา นี้เรียกว่า เวทนาเกิดเพราะผัสสะเป็นปัจจัย [๒๖๓] ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย เป็นไฉน รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม- *ตัณหา นี้เรียกว่า ตัณหาเกิดเพราะเวทนาเป็นปัจจัย [๒๖๔] อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย เป็นไฉน กามุปาทาน ทิฏฐปาทาน สีลัพพตุปาทาน อัตตวาทุปาทาน นี้เรียกว่า อุปาทานเกิดเพราะตัณหาเป็นปัจจัย [๒๖๕] ภพเกิดเพราะอุปาทานเป็นปัจจัย เป็นไฉน ภพ ๒ คือ กรรมภพ ๑ อุปปัตติภพ ๑ ในภพ ๒ นั้น กรรมภพ เป็นไฉน ปุญญาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร อาเนญชาภิสังขาร นี้เรียกว่า กรรมภพ กรรมที่เป็นเหตุให้ไปสู่ภพแม้ทั้งหมด ก็เรียกว่า กรรมภพ อุปปัตติภพ เป็นไฉน กามภพ รูปภพ อรูปภพ สัญญาภพ อสัญญาภพ เนวสัญญา- *นาสัญญาภพ เอกโวการภพ จตุโวการภพ ปัญจโวการภพ นี้เรียกว่า อุปปัตติภพ กรรมภพและอุปปัตติภพดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ภพเกิดเพราะอุปาทาน เป็นปัจจัย [๒๖๖] ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย เป็นไฉน ความเกิด ความเกิดพร้อม ความหยั่งลง ความเกิดจำเพาะ ความปรากฏ แห่งขันธ์ ความได้อายตนะ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ชาติเกิดเพราะภพเป็นปัจจัย [๒๖๗] ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย เป็นไฉน ชรา ๑ มรณะ ๑ ในชราและมรณะนั้น ชรา เป็นไฉน ความคร่ำคร่า ภาวะที่คร่ำคร่า ความที่ฟันหลุด ความที่ผมหงอก ความ- *ที่หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมสิ้นอายุ ความแก่หง่อมแห่งอินทรีย์ ในหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า ชรา มรณะ เป็นไฉน ความเคลื่อน ภาวะที่เคลื่อน ความทำลาย ความหายไป มฤตยู ความ- *ตาย ความทำกาละ ความแตกแห่งขันธ์ ความทิ้งซากศพไว้ ความขาดแห่ง ชีวิตินทรีย์ จากหมู่สัตว์นั้นๆ ของเหล่าสัตว์นั้นๆ อันใด นี้เรียกว่า มรณะ ชราและมรณะดังกล่าวมานี้ นี้เรียกว่า ชรามรณะเกิดเพราะชาติเป็นปัจจัย [๒๖๘] โสกะ เป็นไฉน ความโศกเศร้า กิริยาโศกเศร้า สภาพโศกเศร้า ความแห้งผากภายใน ความแห้งกรอบภายใน ความเกรียมใจ ความโทมนัส ลูกศรคือความโศกเศร้า ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อม อย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า โสกะ [๒๖๙] ปริเทวะ เป็นไฉน ความร้องไห้ ความคร่ำครวญ กิริยาร้องไห้ กิริยาคร่ำครวญ สภาพร้อง- *ไห้ สภาพคร่ำครวญ ความบ่นถึง ความพร่ำเพ้อ ความร่ำไห้ ความพิไรร่ำ กิริยาพิไรร่ำ สภาพพิไรร่ำ ของผู้ที่ถูกความเสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของ ผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่าง- *หนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า ปริเทวะ [๒๗๐] ทุกข์ เป็นไฉน ความไม่สบายกาย ความทุกข์กาย ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็น ทุกข์อันเกิดแต่กายสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่กาย สัมผัส อันใด นี้เรียกว่า ทุกข์ [๒๗๑] โทมนัส เป็นไฉน ความไม่สบายใจ ความทุกข์ใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์ อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส [๒๗๒] อุปายาส เป็นไฉน ความแค้น ความขุ่นแค้น สภาพแค้น สภาพขุ่นแค้น ของผู้ที่ถูกความ เสื่อมญาติ ความเสื่อมโภคทรัพย์ ความเสื่อมเกี่ยวด้วยโรค ความเสื่อมศีล หรือ ความเสื่อมทิฏฐิ กระทบแล้ว ของผู้ประกอบด้วยความเสื่อมอย่างใดอย่างหนึ่ง ของผู้ที่ถูกเหตุแห่งทุกข์อย่างใดอย่างหนึ่งกระทบแล้ว นี้เรียกว่า อุปายาส

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๓๗๐๕-๓๘๔๐ หน้าที่ ๑๕๙-๑๖๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=3705&Z=3840&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=254&items=19              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=254&items=19&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=254&items=19              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=254&items=19              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=254              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]