ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
อภิธรรมภาชนีย์
[๓๒] ขันธ์ ๕ คือ ๑. รูปขันธ์ ๒. เวทนาขันธ์ ๓. สัญญาขันธ์ ๔. สังขารขันธ์ ๕. วิญญาณขันธ์
รูปขันธ์
ในขันธ์ ๕ นั้น รูปขันธ์ เป็นไฉน [๓๓] รูปขันธ์หมวดละ ๑ คือ รูปทั้งหมด เป็นนเหตุ เป็นอเหตุกะ เป็นเหตุวิปปยุต เป็นสัปปัจจยะ เป็นสังขตะ เป็นรูป เป็นโลกิยะ เป็นสาสวะ เป็นสัญโญชนิยะ เป็นคันถนิยะ เป็นโอฆนิยะ เป็นโยคนิยะ เป็นนีวรณิยะ เป็นปรามัฏฐะ เป็นอุปาทานิยะ เป็นสังกิเลสิกะ เป็นอัพยากฤต เป็นอนารัมมณะ เป็นอเจตสิกะ เป็นจิตตวิปปยุต เป็นเนววิปากนวิปากธัมมธรรม เป็นอสังกิลิฏฐ- *สังกิเลสิกะ เป็นนสวิตักกสวิจาระ เป็นนอวิตักกวิจารมัตตะ เป็นอวิตักกอวิจาระ เป็นนปีติสหคตะ เป็นนสุขสหคตะ เป็นนอุเปกขาสหคตะ เป็นเนวทัสสนนภาวนา ปหาตัพพะ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ เป็นเนวาจยคามินาปจยคามี เป็นเนวเสกขนาเสกขะ เป็นปริตตะ เป็นกามาวจร เป็นนรูปาวจร เป็นนอรูปาวจร เป็นปริยาปันนะ เป็นนอปริยาปันนะ เป็นอนิยตะ เป็นอนิยยานิกะ เป็นอุป- *ปันนฉวิญญาณวิญเญยยะ เป็นอนิจจะ เป็นชราภิภูตะ รูปขันธ์หมวดละ ๑ ด้วย ประการฉะนี้ [๓๔] รูปขันธ์หมวดละ ๒ คือ รูปเป็นอุปาทา รูปเป็นอนุปาทา รูป เป็นอุปาทินนะ รูปเป็นอนุปาทินนะ รูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ รูปเป็น อนุปาทินนุปาทานิยะ รูปเป็นสนิทัสสนะ รูปเป็นอนิทัสสนะ รูปเป็นสัปปฏิฆะ รูปเป็นอัปปฏิฆะ รูปเป็นอินทรีย์ รูปไม่เป็นอินทรีย์ รูปเป็นมหาภูต รูปไม่เป็น มหาภูต รูปเป็นวิญญัตติ รูปไม่เป็นวิญญัตติ รูปเป็นจิตตสมุฏฐาน รูปไม่เป็น จิตตสมุฏฐาน รูปเป็นจิตตสหภู รูปไม่เป็นจิตตสหภู รูปเป็นจิตตานุปริวัตติ รูป ไม่เป็นจิตตานุปริวัตติ รูปเป็นอัชฌัตติกะ รูปเป็นพาหิระ รูปเป็นโอฬาริกะ รูป เป็นสุขุมะ รูปเป็นทูเร รูปเป็นสันติเก ฯลฯ รูปเป็นกวฬิงการาหาร รูปไม่เป็น กวฬิงการาหาร รูปขันธ์หมวดละ ๒ ด้วยประการฉะนี้ [๓๕] รูปขันธ์หมวดละ ๓ คือ อัชฌัตติกรูปเป็นอุปาทา พาหิรรูปเป็น อุปาทา พาหิรรูปเป็นอนุปาทา อัชฌัตติกรูปเป็นอุปาทินนะ พาหิรรูปเป็นอุปาทินนะ พาหิรรูปเป็นอนุปาทินนะ อัชฌัตติกรูปเป็นอุปาทินนุปาทานิยะ พาหิรรูปเป็นอุปา- *ทินนุปาทานิยะ พาหิรรูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ ฯลฯ อัชฌัตติกรูปไม่เป็น กวฬิงการาหาร พาหิรรูปเป็นกวฬิงการาหาร พาหิรรูปไม่เป็นกวฬิงการาหาร รูป ขันธ์หมวดละ ๓ ด้วยประการฉะนี้ [๓๖] รูปขันธ์หมวดละ ๔ คือ อุปาทารูปเป็นอุปาทินนะ อุปาทารูปเป็น อนุปาทินนะ อนุปาทารูปเป็นอุปาทินนะ อนุปาทารูปเป็นอนุปาทินนะ อุปาทารูป เป็นอุปาทินนุปาทานิยะ อุปาทารูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ อนุปาทารูปเป็น อุปาทินนุปาทานิยะ อนุปาทารูปเป็นอนุปาทินนุปาทานิยะ อุปาทารูปเป็นสัปปฏิฆะ อุปาทารูปเป็นอัปปฏิฆะ อนุปาทารูปเป็นสัปปฏิฆะ อนุปาทารูปเป็นอัปปฏิฆะ อุปาทารูปเป็นโอฬาริกะ อุปาทารูปเป็นสุขุมะ อนุปาทารูปเป็นโอฬาริกะ อนุปาทา- *รูปเป็นสุขุมะ อุปาทารูปเป็นทูเร อุปาทารูปเป็นสันติเก อนุปาทารูปเป็นทูเร อนุปาทารูปเป็นสันติเก ฯลฯ ทิฏฐรูป สุตรูป มุตรูป วิญญาตรูป รูปขันธ์ หมวดละ ๔ ด้วยประการฉะนี้ [๓๗] รูปขันธ์หมวดละ ๕ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโย- *ธาตุ อุปาทารูป รูปขันธ์หมวดละ ๕ ด้วยประการฉะนี้ [๓๘] รูปขันธ์หมวดละ ๖ คือ จักขุวิญเญยยรูป โสตวิญเญยยรูป ฆานวิญเญยยรูป ชิวหาวิญเญยยรูป กายวิญเญยยรูป มโนวิญเญยยรูป รูปขันธ์ หมวดละ ๖ ด้วยประการฉะนี้ [๓๙] รูปขันธ์หมวดละ ๗ คือ จักขุวิญเญยยรูป ฯลฯ มโนธาตุวิญเญยย รูป มโนวิญญาณธาตุวิญเญยยรูป รูปขันธ์หมวดละ ๗ ด้วยประการฉะนี้ [๔๐] รูปขันธ์หมวดละ ๘ คือ จักขุวิญเญยยรูป ฯลฯ สุขสัมผัสส- *กายวิญเญยยรูป ทุกขสัมผัสสกายวิญเญยยรูป มโนธาตุวิญเญยยรูป มโนวิญญาณ- *ธาตุวิญเญยยรูป รูปขันธ์หมวดละ ๘ ด้วยประการฉะนี้ [๔๑] รูปขันธ์หมวดละ ๙ คือ จักขุนทรีย์ โสตินทรีย์ ฆานินทรีย์ ชิวหินทรีย์ กายินทรีย์ อิตถินทรีย์ ปุริสินทรีย์ ชีวิตินทรีย์ รูปไม่เป็นอินทรีย์ รูปขันธ์หมวดละ ๙ ด้วยประการฉะนี้ [๔๒] รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ คือ จักขุนทรีย์ ฯลฯ ชีวิตินทรีย์ รูปไม่ เป็นอินทรีย์เป็นสัปปฏิฆะ รูปไม่เป็นอินทรีย์เป็นอัปปฏิฆะ รูปขันธ์หมวดละ ๑๐ ด้วยประการฉะนี้ [๔๓] รูปขันธ์หมวดละ ๑๑ คือ จักขายตนะ โสตายตนะ ฆานายตนะ ชิวหายตนะ กายายตนะ รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ และรูปที่เห็นไม่ได้กระทบไม่ได้นับเนื่องในธัมมายตนะ รูปขันธ์ หมวดละ ๑๑ ด้วยประการฉะนี้ สภาวธรรมนี้เรียกว่า รูปขันธ์

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๓๙๓-๔๕๘ หน้าที่ ๑๘-๒๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=393&Z=458&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=32&items=12              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=32&items=12&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=32&items=12              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=32&items=12              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=32              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]