บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
อภิธรรมภาชนีย์ [๕๑๘] อิทธิบาท ๔ คือ ๑. ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธาน- *สังขาร ๒. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร ๓. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร ๔. เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร] [๕๑๙] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและ สุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร [๕๒๐] ในบทเหล่านั้น ฉันทะ เป็นไฉน ความพอใจ การทำความพอใจ ความใคร่เพื่อจะทำ ความฉลาด ความ พอใจในธรรม อันใด นี้เรียกว่า ฉันทะ สมาธิ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์ แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ ปธานสังขาร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามา ถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยฉันทะ สมาธิ และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยฉันทสมาธิ- *ปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้ [๕๒๑] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความ ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของ บุคคลผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร] [๕๒๒] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวิริยสมาธิปธานสังขาร [๕๒๓] ในบทเหล่านั้น วิริยะ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า วิริยะ สมาธิ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์ แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ ปธานสังขาร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยวิริยะ สมาธิ และ ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยวิริยสมาธิ- *ปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้ [๕๒๔] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความ ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคล ผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท [เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร] [๕๒๕] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธานสังขาร เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยจิตตสมาธิปธารสังขาร [๕๒๖] ในบทเหล่านั้น จิต เป็นไฉน จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิต สมาธิ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์ แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ ปธานสังขาร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว ฯลฯ ประกอบแล้วด้วยจิต สมาธิ และ ปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยจิตตสมาธิปธาน- *สังขาร ด้วยประการฉะนี้ [๕๒๗] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความ ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคล ผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท[เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร] [๕๒๘] ก็ภิกษุ เจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ในสมัยนั้น ย่อมเจริญอิทธิบาทอันประกอบด้วยวีมังสาสมาธิปธานสังขาร [๕๒๙] ในบทเหล่านั้น วีมังสา เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจัยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า วีมังสา สมาธิ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์ แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สมาธิ ปธานสังขาร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อัน เป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า ปธานสังขาร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึง แล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยวีมังสา สมาธิ และปธานสังขาร ดังกล่าวมานี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า ประกอบด้วยวีมังสา- *สมาธิปธานสังขาร ด้วยประการฉะนี้ [๕๓๐] คำว่า อิทธิ ได้แก่ ความสำเร็จ ความสำเร็จด้วยดี การ สำเร็จ การสำเร็จด้วยดี ความได้ ความได้อีก ความถึง ความถึงด้วยดี ความ ถูกต้อง ความกระทำให้แจ้ง ความเข้าถึง ซึ่งธรรมเหล่านั้น คำว่า อิทธิบาท ได้แก่ ผัสสะ ฯลฯ ปัคคาหะ อวิกเขปะ ของบุคคล ผู้บรรลุธรรมเหล่านั้น คำว่า เจริญอิทธิบาท ได้แก่ ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก ซึ่งธรรม เหล่านั้น ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า เจริญอิทธิบาท [๕๓๑] อิทธิบาท ๔ คือ ๑. ฉันทิทธิบาท ๒. วิริยิทธิบาท ๓. จิตติทธิบาท ๔. วีมังสิทธิบาท[ฉันทิทธิบาท] [๕๓๒] ในอิทธิบาท ๔ นั้น ฉันทิทธิบาท เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ความพอใจ การทำความพอใจ ความใคร่เพื่อจะทำ ความฉลาด ความพอใจในธรรม ในสมัย- *นั้น อันใด นี้เรียกว่า ฉันทิทธิบาท ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่ สัมปยุตด้วยฉันทิทธิบาท[วิริยิทธิบาท] [๕๓๓] วิริยิทธิบาท เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด การปรารภความ เพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า วิริยิทธิบาท ธรรมทั้งหลายที่ เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยวิริยิทธิบาท[จิตติทธิบาท] [๕๓๔] จิตติทธิบาท เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด จิต มโน มานัส ฯลฯ มโนวิญญาณธาตุที่สมกัน อันใด นี้เรียกว่า จิตติทธิบาท ธรรม ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยจิตติทธิบาท[วีมังสิทธิบาท] [๕๓๕] วีมังสิทธิบาท เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ปัญญา กิริยาที่ รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า วีมัง- *สิทธิบาท ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยวีมังสิทธิบาทอภิธรรมภาชนีย์ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๖๙๔๙-๗๑๐๖ หน้าที่ ๒๙๙-๓๐๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=6949&Z=7106&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=518&items=18 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=518&items=18&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=518&items=18 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=518&items=18 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=518 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]