ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
ปัญหาปุจฉกะ
[๕๖๔] โพชฌงค์ ๗ คือ ๑. สติสัมโพชฌงค์ ๒. ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ ๓. วิริยสัมโพชฌงค์ ๔. ปีติสัมโพชฌงค์ ๕. ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๖. สมาธิสัมโพชฌงค์ ๗. อุเบกขาสัมโพชฌงค์
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
บรรดาโพชฌงค์ ๗ ข้อไหนเป็นกุศล ข้อไหนเป็นอกุศล ข้อไหนเป็น อัพยากฤต ฯลฯ ข้อไหนเป็นสรณะ ข้อไหนเป็นอรณะ
ติกมาติกาวิสัชนา
[๕๖๕] โพชฌงค์ ๗ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นสุขเวทนาสัมปยุต โพชฌงค์ ๖ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุข- *เวทนาสัมปยุตก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นวิบากก็มี เป็นวิปากธัมมธรรมก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ โพชฌงค์ ๗ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็นอวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ เป็นอุเปกขาสหคตะ โพชฌงค์ ๖ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพะ โพชฌงค์ ๗ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพ- *เหตุกะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นเสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นอัปปมาณะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอัปปมาณารัมมณะ โพชฌงค์ ๗ เป็นปณีตะ โพชฌงค์ ๗ เป็นสัมมัตตนิยตะ ก็มี เป็นอนิยตะก็มี โพชฌงค์ ๗ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ โพชฌงค์ ๗ เป็น มัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็น มัคคาธิปติก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นอุปปันนะก็มี เป็นอนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น อตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปปันนารัมมณะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็น พหิทธารัมมณะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ
ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๕๖๖] ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นเหตุ โพชฌงค์ ๖ เป็นนเหตุ โพชฌงค์ ๗ เป็นสเหตุกะ โพชฌงค์ ๗ เป็นเหตุสัมปยุต ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นเหตุสเหตุกะ โพชฌงค์ ๖ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นแต่ สเหตุกนเหตุ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ เป็นเหตุเหตุสัมปยุต โพชฌงค์ ๖ กล่าว ไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นแต่เหตุสัมปยุตนเหตุ โพชฌงค์ ๖ เป็น นเหตุสเหตุกะ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้ เป็นนเหตุอเหตุกะ
๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒. จูฬันตรทุกาทิวิสัชนา
[๕๖๗] โพชฌงค์ ๗ เป็นสัปปัจจยะ โพชฌงค์ ๗ เป็นสังขตะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอนิทัสสนะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอัปปฏิฆะ โพชฌงค์ ๗ เป็น อรูป โพชฌงค์ ๗ เป็นโลกุตตระ โพชฌงค์ ๗ เป็นเกนจิวิญเญยยะ เป็น เกนจินวิญเญยยะ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนอาสวะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอนาสวะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอาสววิปปยุต โพชฌงค์ ๗ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็นสาสวโนอาสวะ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็น อาสวสัมปยุตตโนอาสวะ โพชฌงค์ ๗ เป็นอาสววิปปยุตตอนาสวะ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนสัญโญชนะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนคันถะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็น โนโอฆะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนโยคะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นสารัมมณะ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนจิตตะ โพชฌงค์ ๗ เป็นเจตสิกะ โพชฌงค์ ๗ เป็น จิตตสัมปยุต โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสังสัฏฐะ โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสมุฏฐานะ โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสหภู โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตานุปริวัตติ โพชฌงค์ ๗ เป็น จิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู โพชฌงค์ ๗ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานานุปริวัตติ โพชฌงค์ ๗ เป็นพาหิระ โพชฌงค์ ๗ เป็นอนุปาทา โพชฌงค์ ๗ เป็นอนุปาทินนะ โพชฌงค์ ๗ เป็นนอุปาทานะ ฯลฯ โพชฌงค์ ๗ เป็นโนกิเลสะ ฯลฯ
๑๓. ปิฏฐิทุกวิสัชนา
[๕๖๘] โพชฌงค์ ๗ เป็นนทัสสนปหาตัพพะ โพชฌงค์ ๗ เป็น นภาวนาปหาตัพพะ โพชฌงค์ ๗ เป็นนทัสสนปหาตัพพเหตุกะ โพชฌงค์ ๗ เป็นนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ โพชฌงค์ ๗ เป็นสวิตักกะก็มี เป็นอวิตักกะก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นสวิจาระก็มี เป็นอวิจาระก็มี ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นอัปปีติกะ โพชฌงค์ ๖ เป็นสัปปีติกะก็มี เป็นอัปปีติกะก็มี ปีติสัมโพชฌงค์ เป็น นปีติสหคตะ โพชฌงค์ ๖ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นนปีติสหคตะก็มี ปีติ- *สัมโพชฌงค์ เป็นสุขสหคตะ โพชฌงค์ ๖ เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นนสุขสหคตะ ก็มี ปีติสัมโพชฌงค์ เป็นนอุเปกขาสหคตะ โพชฌงค์ ๖ เป็นอุเปกขาสหคตะก็มี เป็นนอุเปกขาสหคตะก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นนกามาวจร โพชฌงค์ ๗ เป็นนรูปาวจร โพชฌงค์ ๗ เป็นนอรูปาวจร โพชฌงค์ ๗ เป็นอปริยาปันนะ โพชฌงค์ ๗ เป็น นิยยานิกะก็มี อนิยยากิกะก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นนิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี โพชฌงค์ ๗ เป็นอนุตตระ โพชฌงค์ ๗ เป็นอรณะ ฉะนี้แล
ปัญหาปุจฉกะ จบ
โพชฌงควิภังค์ จบบริบูรณ์

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๗๔๑๕-๗๔๘๗ หน้าที่ ๓๒๐-๓๒๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=7415&Z=7487&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=564&items=5              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=564&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=564&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=564&items=5              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=564              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]