ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
ปัญจังคิกวาร
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๘๙] มรรคมีองค์ ๕ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ ๕. สัมมาสมาธิ ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๕ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ มีใน สมัยนั้น ในมรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม ความเห็นชอบ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ สัมมาสังกัปปะ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ความดำริ ฯลฯ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสังกัปปะ สัมมาวายามะ เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ ความพยายามชอบ วิริยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาวายามะ สัมมาสติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ ความระลึกชอบ สติสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ความตั้งอยู่แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๕ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่ สัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๕
ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๙๐] มรรคมีองค์ ๕ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ ๕. สัมมาสมาธิ ในมรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ปัญญา กิริยาที่ รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ธรรม ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ธรรมทั้งหลาย ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ความตั้งอยู่ แห่งจิต ฯลฯ ความตั้งใจมั่นชอบ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ธรรมทั้งหลาย ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสมาธิ
อัฏฐังคิกวาร
[๕๙๑] มรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๘ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทา- *ทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๘ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่ สัมปยุตด้วยมรรคมีองค์ ๘
ปัญจังคิกวาร
เอกโตปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๙๒] มรรคมีองค์ ๕ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ ๕. สัมมาสมาธิ ในธรรมเหล่านั้น มรรคมีองค์ ๕ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา- *ภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด มรรคมีองค์ ๕ คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมา- *สังกัปปะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า มรรคมีองค์ ๕ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต ด้วยมรรคมีองค์ ๕
ปาฏิเยกกปุจฉาวิสัชนานัย
[๕๙๓] มรรคมีองค์ ๕ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวายามะ ๔. สัมมาสติ ๕. สัมมาสมาธิ ในมรรคมีองค์ ๕ นั้น สัมมาทิฏฐิ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา- *ภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ อันเป็นองค์แห่งมรรค นับ เนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สัมมาทิฏฐิ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาทิฏฐิ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่ สัมปยุตด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต ด้วยสัมมาสติ สัมมาสมาธิ เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ความตั้งอยู่แห่งจิต ความดำรงอยู่แห่งจิต ความ มั่นอยู่แห่งจิต ความไม่ส่ายไปแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต ภาวะที่จิตไม่ส่ายไป ความสงบ สมาธินทรีย์ สมาธิพละ สัมมาสมาธิ สมาธิสัมโพชฌงค์ อันเป็น องค์แห่งมรรค นับเนื่องในมรรค ในสมัยนั้น อันใด นี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยสัมมาสมาธิ
อภิธรรมภาชนีย์ จบ
ปัญหาปุจฉกะ
[๕๙๔] อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ ๑. สัมมาทิฏฐิ ๒. สัมมาสังกัปปะ ๓. สัมมาวาจา ๔. สัมมากัมมันตะ ๕. สัมมาอาชีวะ ๖. สัมมาวายามะ ๗. สัมมาสติ ๘. สัมมาสมาธิ
ติกมาติกาปุจฉา ทุกมาติกาปุจฉา
บรรดาองค์มรรค ๘ ข้อไหนเป็นกุศล ข้อไหนเป็นอกุศล ข้อไหนเป็น อัพยากฤต ฯลฯ ข้อไหนเป็นสรณะ ข้อไหนเป็นอรณะ
ติกมาติกาวิสัชนา
[๕๙๕] องค์มรรค ๘ เป็นกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัมมาสังกัปปะ เป็นสุขเวทนาสัมปยุต องค์มรรค ๗ เป็นสุขเวทนาสัมปยุตก็มี เป็นอทุกขมสุข เวทนาสัมปยุตก็มี องค์มรรค ๘ เป็นวิบากก็มี เป็นวิบากธัมมธรรมก็มี องค์มรรค ๘ เป็นอนุปาทินนานุปาทานิยะ องค์มรรค ๘ เป็นอสังกิลิฏฐาสังกิเลสิกะ สัมมา- *สังกัปปะ เป็นอวิตักกวิจารมัตตะ องค์มรรค ๗ เป็นสวิตักกสวิจาระก็มี เป็น อวิตักกวิจารมัตตะก็มี เป็นอวิตักกาวิจาระก็มี สัมมาสังกัปปะ เป็นปีติสหคตะ เป็นสุขสหคตะ ไม่เป็นอุเบกขาสหคตะ องค์มรรค ๗ เป็นปีติสหคตะก็มี เป็นสุขสหคตะก็มี เป็นอุเบกขาสหคตะก็มี องค์มรรค ๘ เป็นเนวทัสสน- *นภาวนาปหาตัพพะ องค์มรรค ๘ เป็นเนวทัสสนนภาวนาปหาตัพพเหตุกะ องค์ มรรค ๘ เป็นอปจยคามีก็มี เป็นเนวาจยคามินาปจยคามีก็มี องค์มรรค ๘ เป็น เสกขะก็มี เป็นอเสกขะก็มี องค์มรรค ๘ เป็นอัปปมาณะ องค์มรรค ๘ เป็นอัปปมาณารัมมณะ องค์มรรค ๘ เป็นปณีตะ องค์มรรค ๘ เป็นสัมมัตต- *นิยตะก็มี เป็นอนิยตะก็มี องค์มรรค ๘ ไม่เป็นมัคคารัมมณะ องค์มรรค ๘ เป็นมัคคเหตุกะก็มี เป็นมัคคาธิปติก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นมัคคเหตุกะ แม้เป็นมัคคาธิปติก็มี องค์มรรค ๘ เป็นอุปปันนะก็มี อนุปปันนะก็มี เป็นอุปปาทีก็มี องค์มรรค ๘ เป็นอดีตก็มี เป็นอนาคตก็มี เป็นปัจจุบันก็มี กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็น อตีตารัมมณะ แม้เป็นอนาคตารัมมณะ แม้เป็นปัจจุปันนารัมมณะ องค์มรรค ๘ เป็นอัชฌัตตะก็มี เป็นพหิทธาก็มี เป็นอัชฌัตตพหิทธาก็มี องค์มรรค ๘ เป็น พหิทธารัมมณะ องค์มรรค ๘ เป็นอนิทัสสนอัปปฏิฆะ
ทุกมาติกาวิสัชนา
๑. เหตุโคจฉกวิสัชนา
[๕๙๖] สัมมาทิฏฐิ เป็นเหตุ องค์มรรค ๗ เป็นนเหตุ องค์มรรค ๘ เป็นสเหตุกะ เป็นเหตุสัมปยุต สัมมาทิฏฐิ เป็นเหตุสเหตุกะ องค์มรรค ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุสเหตุกะ เป็นแต่สเหตุกนเหตุ สัมมาทิฏฐิ เป็นเหตุเหตุ- *สัมปยุต องค์มรรค ๗ กล่าวไม่ได้ว่า เป็นเหตุเหตุสัมปยุต เป็นแต่เหตุสัมปยุต องค์มรรค ๗ เป็นนเหตุสเหตุกะ สัมมาทิฏฐิ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นนเหตุสเหตุกะ แม้เป็นนเหตุอเหตุกะ
๒, ๓, ๔, ๕, ๖, ๗, ๘, ๙, ๑๐, ๑๑, ๑๒. จูฬนตรทุกาทิวิสัชนา
[๕๙๗] องค์มรรค ๘ เป็นสัปปัจจยะ องค์มรรค ๘ เป็นสังขตะ องค์ มรรค ๘ เป็นอนิทัสสนะ องค์มรรค ๘ เป็นอัปปฏิฆะ องค์มรรค ๘ เป็นอรูป องค์มรรค ๘ เป็นโลกุตตระ องค์มรรค ๘ เป็นเกนจิวิญเญยยะ องค์มรรค ๘ เป็นโนอาสวะ องค์มรรค ๘ เป็นอนาสวะ องค์มรรค ๘ เป็นอาสววิปปยุต องค์มรรค ๘ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวสาสวะ แม้เป็นสาสวโนอาสวะ องค์ มรรค ๘ กล่าวไม่ได้ว่า แม้เป็นอาสวอาสวสัมปยุต แม้เป็นอาสวสัมปยุตต- *โนอาสวะ องค์มรรค ๘ เป็นอาสวะวิปปยุตตอนาสวะ องค์มรรค ๘ เป็นโนสัญ- *โญชนะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนคันถะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนโอฆะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนโยคะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนนีวรณะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นโนปรามาสะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็นสารัมมณะ องค์มรรค ๘ เป็นโนจิตตะ องค์มรรค ๘ เป็นเจตสิกะ องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสัมปยุต องค์มรรค ๘ เป็น จิตตสังสัฏฐะ องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสมุฏฐานะ องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสหภู องค์มรรค ๘ เป็นจิตตานุปริวัตติ องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานะ องค์ มรรค ๘ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏฐานสหภู องค์มรรค ๘ เป็นจิตตสังสัฏฐสมุฏ- *ฐานานุปริวัตติ องค์มรรค ๘ เป็นพาหิระ องค์มรรค ๘ เป็นนอุปาทา องค์มรรค ๘ เป็นอนุปาทินนะ องค์มรรค ๘ เป็นนอุปาทานะ ฯลฯ องค์มรรค ๘ เป็น โนกิเลสะ ฯลฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๗๖๑๐-๗๘๐๙ หน้าที่ ๓๒๙-๓๓๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=7610&Z=7809&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=589&items=9              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=589&items=9&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=589&items=9              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=589&items=9              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=589              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]