ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
อภิธรรมภาชนีย์
กุศลฌาน จตุกกนัย
[๗๑๐] ฌาน ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน [๗๑๑] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบ @๑. อุเทศแห่งนิเทศนี้ ไม่ปรากฏในมาติกา เพราะฉะนั้น นิเทศนี้ น่าจะเกินมา หรือ @อุเทศนั้น น่าจะขาดไป ด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน [๗๑๒] ทุติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌานที่ มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจาร สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่ สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีใน สมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต ด้วยฌาน [๗๑๓] ตติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะคลายปีติได้ อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าว สรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ใน สมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน [๗๑๔] จตุตตถฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทา เพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุจตุตถฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะ โสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือเรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
กุศลฌาน ปัญจกนัย
[๗๑๕] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจาก กาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมี องค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน [๗๑๖] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุ ทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่ วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีใน สมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุต ด้วยฌาน [๗๑๗] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุ ตติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ เป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะ วิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่าตติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต ด้วยฌาน [๗๑๘] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ เพราะ คลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ซึ่งเป็นฌานที่พระอริย- *เจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน [๗๑๙] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุ ปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ใน สมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ฯลฯ [๗๒๐] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะ ก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ใน สมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
โลกุตตรกุศลฌาน จตุกกนัย
[๗๒๑] ฌาน ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน [๗๒๒] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน [๗๒๓] ทุติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าไปสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุทุติยฌาน อันเป็น ไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น แก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เป็นทุกขาปฏิปทา- *ทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่ สัมปยุตด้วยฌาน [๗๒๔] ตติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ เพราะคลายปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุ ตติยฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิต เป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ใน สมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน [๗๒๕] จตุตถฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุจตุตถฌาน ไม่มี ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิท ในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
โลกุตตรกุศลฌาน ปัญจกนัย
[๗๒๖] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป จากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติ และสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมี องค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน [๗๒๗] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป จากโลก ให้เข้าไปสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุทุติยฌาน ไม่มีวิตก มีแต่วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๔ คือ วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน [๗๒๘] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป จากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุตติยฌาน อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอก ผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ เป็นทุกขา- *ปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ตติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุต ด้วยฌาน [๗๒๙] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป จากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ เพราะคลาย ปีติได้อีกด้วย จึงเป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ อยู่ และเสวยสุข ด้วยนามกาย บรรลุจตุตถฌาน ซึ่งเป็นฌานที่พระอริยเจ้าทั้งหลายกล่าวสรรเสริญ ผู้ได้บรรลุว่า เป็นผู้มีจิตเป็นอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข ดังนี้ เป็นทุกขาปฏิปทา- *ทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน [๗๓๐] ภิกษุในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไป จากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุปัญจม- *ฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับสนิทในก่อน เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน ธรรม ทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
วิปากฌาน จตุกกนัย
[๗๓๑] ฌาน ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน [๗๓๒] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัด จากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบ ด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั่นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีใน สมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุต ด้วยฌาน ทุติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุทุติยฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอัน เกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านี้ชื่อว่า กุศล ภิกษุบรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบาก เพราะ รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล เป็นไปในภายใน เป็น ธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มี วิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ตติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่าตติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน จตุตถฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่าจตุตถฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
วิปากฌาน ปัญจกนัย
ปฐมฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบ ด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบาก เพราะรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ทุติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ทุติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ตติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน จตุตถฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่าธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ปัญจมฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงรูปภพ บรรลุ ปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ ใน สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล ภิกษุ บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ อันเป็นวิบาก เพราะ รูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้แล้วนั้นแล ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่ สัมปยุตด้วยฌาน ฯลฯ ภิกษุในศาสนานี้ เจริญมรรคปฏิปทาเพื่อเข้าถึงอรูปภพ เพราะก้าวล่วง อากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌาน อันสหรคตด้วย เนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ใน สมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง ภิกษุจึงบรรลุ จตุตถฌาน อันเป็นวิบาก เพราะอรูปาวจรกุศลกรรมอันได้ทำไว้แล้ว ได้สั่งสมไว้ แล้วนั้นแล อันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่ สัมปยุตด้วยฌาน
โลกุตตรวิปากฌาน จตุกกนัย
[๗๓๓] ฌาน ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน [๗๓๔] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทา- *ทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน ธรรมทั้งหลาย ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ทุติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุทุติยฌาน อันเป็น ไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตก วิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น แก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ เป็นทุกขาปฏิปทา- *ทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรม เหล่านี้ ชื่อว่า กุศล ภิกษุ บรรลุทุติยฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌาน อันได้ทำ ไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะ วิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุข อันเกิดแต่สมาธิ เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ตติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน จตุตถฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
โลกุตตรวิปากฌาน ปัญจกนัย
ปฐมฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล ภิกษุ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ประกอบด้วยวิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก เป็นทุกขาปฏิปทาทันธา- *ภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ทุติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ทุติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ตติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน จตุตถฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ปัญจมฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญโลกุตตรฌาน อันเป็นเครื่องนำออกไปจากโลก ให้เข้าสู่นิพพาน เพื่อประหาณทิฏฐิ เพื่อบรรลุปฐมภูมิ บรรลุปัญจมฌาน ไม่มี ทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิท ในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เป็นทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา อยู่ ในสมัยใด ผัสสะ ฯลฯ อวิกเขปะ มีในสมัยนั้น สภาวธรรมเหล่านี้ ชื่อว่า กุศล ภิกษุ บรรลุปัญจมฌาน อันเป็นวิบาก เพราะโลกุตตรกุศลฌานอันได้ทำ ไว้แล้ว ได้เจริญไว้แล้วนั้นแล ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา เป็น ทุกขาปฏิปทาทันธาภิญญา ชนิดสุญญตะ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน ธรรมทั้งหลาย ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
กิริยาฌาน จตุกกนัย
[๗๓๕] ฌาน ๔ คือ ๑. ปฐมฌาน ๒. ทุติยฌาน ๓. ตติยฌาน ๔. จตุตถฌาน [๗๓๖] ในฌาน ๔ นั้น ปฐมฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌาน อันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่ อกุศลและไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร สงัดจากกาม สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว บรรลุปฐมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็นอารมณ์ ประกอบด้วย วิตก วิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวก อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๕ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปฐมฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ทุติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศลไม่ใช่ อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุทุติยฌานที่มีปฐวีกสิณ เป็นอารมณ์ อันเป็นไปในภายใน เป็นธรรมชาติผ่องใส เพราะวิตกวิจารสงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้นแก่ใจ ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๓ คือ ปีติ สุข เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ทุติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ตติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน จตุตถฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
กิริยาฌาน ปัญจกนัย
ปฐมฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ปฐมฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ทุติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ทุติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ตติยฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า ตติยฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน จตุตถฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ ฯลฯ นี้เรียกว่า จตุตถฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ปัญจมฌาน เป็นไฉน ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร บรรลุปัญจมฌานที่มีปฐวีกสิณเป็น อารมณ์ ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและโทมนัส ดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฌานมีองค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า ปัญจมฌาน ธรรมทั้งหลาย ที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน ฯลฯ ภิกษุ ในศาสนานี้ เจริญอรูปาวจรฌานอันเป็นกิริยา ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่ อกุศล และไม่ใช่กรรมวิบาก เป็นทิฏฐธัมมสุขวิหาร เพราะก้าวล่วงอากิญจัญญา- *ยตนะโดยประการทั้งปวง จึงบรรลุจตุตถฌานอันสหรคตด้วยเนวสัญญานาสัญญา- *ยตนสัญญา ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขและทุกข์ได้ เพราะโสมนัสและ โทมนัสดับสนิทในก่อน มีสติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา อยู่ ในสมัยใด ฌานมี องค์ ๒ คือ อุเบกขา เอกัคคตาแห่งจิต มีในสมัยนั้น นี้เรียกว่า จตุตถฌาน ธรรมทั้งหลายที่เหลือ เรียกว่า ธรรมที่สัมปยุตด้วยฌาน
อภิธรรมภาชนีย์ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๘๕๔๙-๘๘๘๘ หน้าที่ ๓๖๙-๓๘๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=8549&Z=8888&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=710&items=27              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=710&items=27&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=710&items=27              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=710&items=27              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=710              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]