บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
เอกกนิเทศ [๘๖๐] ในเอกกมาติกาเหล่านั้น ความมัวเมาในชาติ เป็นไฉน ความมัวเมา กิริยาที่มัวเมา สภาพที่มัวเมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทอดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น ความ ที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยชาติ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในชาติ [๘๖๑] ความมัวเมาในโคตร เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยโคตร นี้เรียกว่า ความมัวเมาในโคตร ความมัวเมาในความไม่มีโรค เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความไม่มี โรค นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความไม่มีโรค ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความเป็น หนุ่มสาว นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความเป็นหนุ่มสาว ความมัวเมาในชีวิต เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยชีวิต นี้ เรียกว่า ความมัวเมาในชีวิต ความมัวเมาในลาภ เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยลาภ นี้ เรียกว่า ความมัวเมาในลาภ ความมัวเมาในสักการะ เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยสักการะ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในสักการะ ความมัวเมาในการทำความเคารพ เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยการทำความ เคารพ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในการทำความเคารพ ความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความเป็น หัวหน้า นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความเป็นหัวหน้า ความมัวเมาในบริวาร เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยบริวาร นี้ เรียกว่า ความมัวเมาในบริวาร ความมัวเมาในโภคสมบัติ เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยโภคสมบัติ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในโภคสมบัติ ความมัวเมาในวรรณะแห่งสรีระและคุณความดี เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยวรรณะแห่ง สรีระและคุณความดี นี้เรียกว่า ความมัวเมาในวรรณะแห่งสรีระและคุณความดี ความมัวเมาในการศึกษา เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยการศึกษา นี้เรียกว่า ความมัวเมาในการศึกษา ความมัวเมาในปฏิภาณ เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยปฏิภาณ นี้ เรียกว่า ความมัวเมาในปฏิภาณ ความมัวเมาในความเป็นผู้รัตตัญญู เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความเป็นผู้ รัตตัญญู นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความเป็นผู้รัตตัญญู ความมัวเมาในความถือบิณฑบาตเป็นวัตร เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความเป็นผู้ ถือบิณฑบาตเป็นวัตร นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความถือบิณฑบาตเป็นวัตร ความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความไม่มี ใครดูหมิ่น นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความไม่มีใครดูหมิ่น ความมัวเมาในอิริยาบถ เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยอิริยาบถ นี้ เรียกว่า ความมัวเมาในอิริยาบถ ความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์ เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยอิทธิฤทธิ์ นี้เรียกว่า ความมัวเมาในอิทธิฤทธิ์ ความมัวเมาในยศ เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยยศ นี้ เรียกว่า ความมัวเมาในยศ ความมัวเมาในศีล เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยศีล นี้ เรียกว่า ความมัวเมาในศีล ความมัวเมาในฌาน เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยฌาน นี้ เรียกว่า ความมัวเมาในฌาน ความมัวเมาในศิลปะ เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยศิลปะ นี้ เรียกว่า ความมัวเมาในศิลปะ ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสูง เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความมี ทรวดทรงสูง นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสูง ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความมี ทรวดทรงสันทัด นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรงสันทัด ความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม เป็นไฉน ความมัวเมา ฯลฯ ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความมี ทรวดทรงงาม นี้เรียกว่า ความมัวเมาในความมีทรวดทรงงาม ความมัวเมาในความมีร่างกายบริบูรณ์ เป็นไฉน ความมัวเมา กิริยาที่มัวเมา สภาพที่มัวเมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทอดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น ความ ที่จิตต้องการเป็นดุจธง เพราะอาศัยความมีร่างกายบริบูรณ์ นี้เรียกว่า ความมัวเมา ในความมีร่างกายบริบูรณ์ [๘๖๒] ความมัวเมา เป็นไฉน ความมัวเมา กิริยาที่มัวเมา สภาพที่มัวเมา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทอดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น ความ ที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด นี้เรียกว่า ความมัวเมา [๘๖๓] ความประมาท เป็นไฉน ความปล่อยจิตไป ความเพิ่มพูนการปล่อยจิตไป ในกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต หรือในกามคุณ ๕ หรือความกระทำโดยไม่เคารพ ความกระทำโดยไม่ ติดต่อ ความกระทำไม่มั่นคง ความประพฤติย่อหย่อน ความทอดทิ้งฉันทะ ความ ทอดทิ้งธุระ ความไม่เสพให้มาก ความไม่ทำให้เจริญ ความไม่ทำให้มาก ความ ไม่ตั้งใจจริง ความไม่ประกอบเนืองๆ ความประมาท ในการเจริญกุศลธรรมทั้งหลาย ความประมาท กิริยาที่ประมาท สภาพที่ประมาท อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความประมาท [๘๖๔] ความหัวดื้อ เป็นไฉน ความหัวดื้อ กิริยาที่หัวดื้อ สภาพที่หัวดื้อ ความแข็งกระด้าง ความ หยาบคาย ความถือรั้น ความไม่อ่อนโยน อันใด นี้เรียกว่า ความหัวดื้อ [๘๖๕] ความแข่งดี เป็นไฉน ความแข่งดี ความแข่งขึ้นหน้า กิริยาที่แข่งดี กิริยาที่แข่งขึ้นหน้า สภาพ ที่แข่งขึ้นหน้า อันใด นี้เรียกว่า ความแข่งดี [๘๖๖] ความอยากได้เกินประมาณ เป็นไฉน ความอยากได้มากของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัช และบริขาร หรือด้วยกามคุณ ๕ ความปรารถนา การปรารถนา ความมักมาก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความอยากได้เกินประมาณ [๘๖๗] ความมักมาก เป็นไฉน ความอยากได้มากของภิกษุผู้ไม่สันโดษด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ คิลานปัจจยเภสัช และบริขาร หรือด้วยกามคุณ ๕ ความปรารถนา การปรารถนา ความมักมาก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความมักมาก [๘๖๘] ความปรารถนาลามก เป็นไฉน คนบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ไม่มีศรัทธา ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีศรัทธา เป็นผู้ทุศีล ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีศีล เป็น ผู้มีการศึกษาน้อย ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีการศึกษามาก เป็น ผู้ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้ชอบ สงัด เป็นผู้เกียจคร้าน ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้ปรารภความเพียร เป็นผู้มีสติหลงลืม ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้มี จิตไม่ตั้งมั่น ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีจิตตั้งมั่น เป็นผู้มีปัญญา ทราม ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้มีปัญญา เป็นผู้ยังไม่สิ้นอาสวะ ย่อมปรารถนาว่า ขอชนจงรู้เราว่า เป็นผู้สิ้นอาสวะ ความปรารถนา การปรารถนา ความปรารถนาลามก ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่ง จิต อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความปรารถนาลามก [๘๖๙] การพูดเสียดแทง เป็นไฉน การพูดเสียดแทง สภาพที่พูดเสียดแทง การพูดเป็นสี่เหลี่ยมสี่คม กิริยา ที่พูดเป็นสี่เหลี่ยมสี่คม การพูดมีเหลี่ยมมีคู สภาพที่พูดมีเหลี่ยมมีคู อันใด นี้ เรียกว่า การพูดเสียดแทง [๘๗๐] การพูดเกียดกัน เป็นไฉน การพูดเกียดกัน กิริยาที่พูดเกียดกัน สภาพที่พูดเกียดกัน ความละโมภ กิริยาที่ละโมภ สภาพที่ละโมภ ความถ่อมตนเพื่อจะได้ ความต้องการสิ่งที่ประณีต อันใด นี้เรียกว่า การพูดเกียดกัน [๘๗๑] การชอบตกแต่ง เป็นไฉน การตกแต่งจีวร การตกแต่งบาตร การตกแต่งเสนาสนะ การตกแต่งกาย อันเปื่อยเน่า หรือการตกแต่งบริขารภายนอก การประเทืองผิว การเล่นหัว การ ร่าเริง ความกำหนัดยินดี สภาพที่กำหนัดยินดี ความตกแต่ง กิริยาที่ตกแต่ง อันใด นี้เรียกว่า การชอบตกแต่ง [๘๗๒] ความประพฤติไม่สมควร เป็นไฉน ความไม่ประพฤติตาม ความประพฤติขัดขืน ความไม่เอื้อเฟื้อ สภาพที่ ไม่เอื้อเฟื้อ ความไม่เคารพ ความไม่เชื่อฟัง ในบุคคลใดบุคคลหนึ่งผู้ควรเคารพ คือ บิดามารดา พี่ชาย พี่สาว อาจารย์ อุปัชฌายะ พระพุทธเจ้า หรือสาวก ของพระพุทธเจ้า นี้เรียกว่า ความประพฤติไม่สมควร [๘๗๓] ความไม่ยินดี เป็นไฉน ความไม่ยินดี กิริยาที่ไม่ยินดี ความไม่ยินดียิ่ง กิริยาที่ไม่ยินดียิ่ง ความ รำคาญ ความกระวนกระวายใจ ในเสนาสนะที่สงัด หรือในอธิกุศลธรรมคือสมถะ และวิปัสสนาอย่างใดอย่างหนึ่ง นี้เรียกว่า ความไม่ยินดี [๘๗๔] ความโงกง่วง เป็นไฉน ความง่วงงุน กิริยาที่ง่วงงุน สภาพที่ใจง่วงงุน ความเกียจคร้าน กิริยา ที่เกียจคร้าน สภาพที่เกียจคร้าน อันใด นี้เรียกว่า ความโงกง่วง [๘๗๕] ความบิดกาย เป็นไฉน ความเหยียดกาย การเหยียดกาย ความโน้มกายไปข้างหน้า ความโน้ม กายไปข้างหน้า ความโน้มกายไปรอบๆ ความตั้งตัวตรง ความไม่สบายกาย อันใด นี้เรียกว่า ความบิดกาย [๘๗๖] ความเมาอาหาร เป็นไฉน ความมึนเมาเพราะอาหาร ความอึดอัดเพราะอาหาร ความร้อนกระวน กระวายเพราะอาหาร ความหนักเนื้อหนักตัวเพราะอาหาร อันใด ของผู้บริโภค อาหารแล้ว นี้เรียกว่า ความเมาอาหาร [๘๗๗] ความย่อหย่อนแห่งจิต เป็นไฉน ความไม่สมประกอบแห่งจิต ความไม่ควรแก่การงานแห่งจิต ความท้อแท้ ความถดถอย การย่อหย่อน กิริยาที่ย่อหย่อน สภาพที่ย่อหย่อน การหดหู่ กิริยาที่ หดหู่ สภาพที่หดหู่ แห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า ความย่อหย่อนแห่งจิต [๘๗๘] การหลอกลวง เป็นไฉน การหลอกลวงเกี่ยวด้วยการเสพปัจจัย การหลอกลวงด้วยการพูดเลียบเคียง หรือการดำรงอิริยาบถ กิริยาที่ดำรงอิริยาบถ ความดำรงอิริยาบถด้วยดี ความสยิ้ว หน้า สภาพที่สยิ้วหน้า การหลอกลวง กิริยาที่หลอกลวง สภาพที่หลอกลวง ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยาก ครอบงำ นี้เรียกว่า การหลอกลวง [๘๗๙] การพูดประจบ เป็นไฉน การทักทายคนอื่น การแนะนำตัวเอง การพูดปลอบโยน การพูดยกย่อง การพูดเยินยอ การพูดอ้อมค้อม การพูดชมเชย การพูดสรรเสริญ การพูด สรรเสริญบ่อยๆ การพูดเอาใจให้คนรัก การพูดยกย่องเพื่อต้องการให้เขารัก การพูดทีจริงทีเล่นเสมอด้วยแกงถั่ว การเป็นผู้รับเลี้ยงเด็ก ของภิกษุผู้มุ่งลาภ สักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ อันใด นี้เรียกว่า การพูดประจบ [๘๘๐] การแสดงนิมิต เป็นไฉน การทำนิมิต ความฉลาดในการทำนิมิต การพูดเกี่ยวด้วยปัจจัย การพูด เป็นเลศนัย การกระซิบใกล้ๆ การพูดเลียบเคียง แก่ชนเหล่าอื่น อันใด ของ ภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า การแสดงนิมิต [๘๘๑] การพูดติเตียน เป็นไฉน การด่า การพูดข่ม การนินทา การพูดตำหนิโทษ การกล่าวโทษ การ พูดติเตียน การพูดเหยียดหยาม การพูดให้เสียชื่อเสียง การพูดให้เสียชื่อเสียง อย่างร้ายแรง การนำเรื่องไปเที่ยวติเตียน การพูดไพเราะต่อหน้านินทาลับหลัง แก่ชนเหล่าอื่น อันใด ของภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนา ลามก ถูกความอยากครอบงำ นี้เรียกว่า การพูดติเตียน [๘๘๒] การแลกเปลี่ยนลาภด้วยลาภ เป็นไฉน ภิกษุผู้มุ่งลาภสักการะและชื่อเสียง ผู้มีความปรารถนาลามก ถูกความ อยากครอบงำ นำอามิสที่ได้จากข้างนี้ไปให้ข้างโน้น นำอามิสที่ได้จากข้างโน้นมา ให้ข้างนี้ การปรารถนา การเสาะหา การแสวงหา กิริยาที่เที่ยวหา กิริยาที่ แสวงหา ซึ่งอามิสด้วยอามิส อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า การแลก เปลี่ยนลาภด้วยลาภ [๘๘๓] ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดย ความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การ เทอดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา [๘๘๔] ความสำคัญตนว่าเสมอเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมถือตัวโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดย ความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา โดยปฏิภาณ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะ เช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญตนว่าเสมอเขา [๘๘๕] ความสำคัญตนว่าเลวกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ย่อมดูหมิ่นตนเองโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน สภาพที่ดูหมิ่นตน ความ เกลียดตน ความเกลียดตนยิ่ง สภาพที่เกลียดตนยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตน ว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญตน ว่าเลวกว่าเขา [๘๘๖] ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตนว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ โดย เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดย ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยการถือตนว่าเลิศกว่า คนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา [๘๘๗] ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตนว่าเสมอกับคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดย วิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยการถือตนว่าเสมอกับคน อื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา [๘๘๘] ผู้เลิศกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เลิศกว่าเขา ถือตนว่าเลวกว่าคนอื่นๆ โดย เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดย ความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดย ศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ เขาอาศัยการถือตนว่า เลวกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน ความ เกลียดตน กิริยาที่เกลียดตนยิ่ง สภาพที่เกลียดตนอย่างยิ่ง ความดูถูกตน ความ ดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลิศ กว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา [๘๘๙] ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสมอเขา ถือตัวว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ โดย เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ เขาอาศัยการถือตนว่า เลิศกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตน ขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เสมอ เขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา [๘๙๐] ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสมอเขา ถือตนว่าเสมอกับคนอื่นๆ โดย เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ เขาอาศัยการถือตนว่าเสมอกับคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทอดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตน ขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เสมอ เขา สำคัญตนว่าเสมอเขา [๘๙๑] ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เสมอเขา ถือตนว่าเลวกว่าคนอื่นๆ โดย เหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ เขาอาศัยการถือตนว่าเลวกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน กิริยา ที่ดูหมิ่นตน สภาพที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตนยิ่ง สภาพที่ ดูหมิ่นตน ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อันใด มี ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เสมอเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา [๘๙๒] ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นคนเลวกว่าเขา ถือตนว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ โดยอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ เขาอาศัยการถือตนว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว การถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทอดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลิศกว่าเขา [๘๙๓] ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้เลวกว่าเขา ถือตนว่าเสมอกับคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ เขาอาศัยการถือตนว่าเสมอกับคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วถือตัว ความถือตัว กิริยาที่ถือ ตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทอดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเสมอเขา [๘๙๔] ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ถือตนว่าเลวกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่าง หนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ เขาอาศัยการถือ ตนว่าเลวกว่าคนอื่นๆ เช่นนั้นแล้วดูหมิ่นตน ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน สภาพที่ดูหมิ่นตน ความเกลียดตน กิริยาที่เกลียดตน สภาพที่เกลียดตนยิ่ง ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อันใด มีลักษณะเช่นว่า นี้ นี้เรียกว่า ผู้เลวกว่าเขา สำคัญตนว่าเลวกว่าเขา [๘๙๕] ความถือตัว เป็นไฉน ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทอดตน ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการ เป็นดุจธง อันใด นี้เรียกว่า ความถือตัว [๘๙๖] ความดูหมิ่นผู้อื่น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความดูหมิ่น ผู้อื่น [๘๙๗] ความเย่อหยิ่ง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ เบื้องต้นถือตนว่าเสมอกับคนอื่นๆ ต่อมาภายหลัง ถือตนว่าเลิศกว่าคนอื่นๆ ไม่ลดตนให้ต่ำกว่าคนอื่นๆ โดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล ฯลฯ ความถือตัว กิริยาที่ ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตน ขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความ เย่อหยิ่ง [๘๙๘] ความดูหมิ่นตนเอง เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ดูหมิ่นตนเอง โดยเหตุอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความเป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดย ความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา หรือโดยปฏิภาณ ความดูหมิ่นตน กิริยาที่ดูหมิ่นตน สภาพที่ดูหมิ่นตน ความ เกลียดตน ความดูถูกตน ความดูถูกตนว่าต่ำช้า ความดูแคลนตน อันใด มี ลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความดูหมิ่นตนเอง [๘๙๙] ความสำคัญว่าได้บรรลุธรรมวิเศษ เป็นไฉน ความสำคัญว่าถึงแล้วในธรรมที่ตนยังไม่ถึง ความสำคัญว่าทำแล้วในกิจ ที่ตนยังไม่ได้ทำ ความสำคัญว่าบรรลุแล้วในธรรมที่ตนยังไม่บรรลุ ความสำคัญว่า ได้ทำให้แจ้งแล้ว ในธรรมที่ตนยังไม่ได้ทำให้แจ้ง ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่ จิตต้องการเป็นดุจธง อันใดมีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญว่าได้บรรลุ ธรรมวิเศษ [๙๐๐] ความสำคัญว่ามีอัตตาตัวตน เป็นไฉน ความสำคัญในรูป ว่าเป็นตัวเรา ความพอใจในรูปว่าเป็นตัวเรา ความ เข้าใจในรูปว่าเป็นตัวเรา ความสำคัญในเวทนาว่าตัวเรา ฯลฯ ความสำคัญใน สัญญาว่าเป็นตัวเรา ฯลฯ ความสำคัญในสังขารว่าเป็นตัวเรา ฯลฯ ความ สำคัญในวิญญาณว่าเป็นตัวเรา ความพอใจในวิญญาณว่าเป็นตัวเรา ความเข้าใจใน วิญญาณว่าเป็นตัวเรา ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การ เทิดตน การเชิดชูตนดุจธง ความยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการเป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความสำคัญว่า มีอัตตา ตัวตน [๙๐๑] ความถือตัวผิด เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ ถือตนโดยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่ง คือโดยหน้าที่ การงานอันลามก โดยศิลปะอันลามก โดยวิทยฐานะอันลามก โดยการศึกษาอัน ลามก โดยปฏิภาณอันลามก โดยศีลอันลามก โดยวัตรอันลามก โดยศีลและ วัตรอันลามก หรือโดยทิฏฐิอันลามก ความถือตัว กิริยาที่ถือตัว สภาพที่ถือตัว การยกตน การเทิดตน การเชิดชูตนดุจธง การยกตนขึ้น ความที่จิตต้องการ เป็นดุจธง อันใด มีลักษณะเช่นว่านี้ นี้เรียกว่า ความถือตัวผิด [๙๐๒] ความคิดถึงญาติ เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันอิงอาศัยกามคุณ ปรารภถึงหมู่ญาติ นี้เรียกว่า ความคิดถึงญาติ [๙๐๓] ความคิดถึงชนบท เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันอิงอาศัยกามคุณ ปรารภถึงชนบท นี้เรียกว่า ความคิดถึงชนบท [๙๐๔] ความคิดไม่ตายตัว เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันอิงอาศัยกามคุณ ประกอบด้วยทุกกรกิริยา หรือประกอบด้วยทิฏฐิ นี้เรียกว่า ความคิดไม่ตายตัว [๙๐๕] ความคิดเกี่ยวด้วยความเอ็นดูผู้อื่น เป็นไฉน สมณพราหมณ์บางคนในโลกนี้ คลุกคลีกับคฤหัสถ์อยู่ มีความรื่นเริง ร่วมกัน มีความโศกเศร้าร่วมกัน ถึงคราวสุข สุขด้วย ถึงคราวทุกข์ ทุกข์ด้วย เมื่อมีกิจที่จะพึงทำเกิดขึ้น ก็พยายามช่วยทำด้วยตนเอง ความตรึก ความตรึก อย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิดอันอิงอาศัยกามคุณ ในการคลุกคลีกับคฤหัสถ์ เหล่านั้น นี้เรียกว่า ความคิดเกี่ยวด้วยความเอ็นดูผู้อื่น [๙๐๖] ความคิดเกี่ยวด้วยลาภสักการะและชื่อเสียง เป็นไฉน ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันอิงอาศัยกามคุณ ปรารภลาภสักการะและชื่อเสียง นี้เรียกว่า ความคิดเกี่ยวด้วยลาภสักการะและ ชื่อเสียง [๙๐๗] ความคิดเกี่ยวด้วยความไม่อยากให้ใครดูหมิ่น เป็นไฉน บุคคลบางคนในโลกนี้ รำพึงว่า คนเหล่าอื่นอย่าได้ดูหมิ่นเรา โดยเหตุ อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ โดยชาติ โดยโคตร โดยความเป็นลูกผู้มีสกุล โดยความ เป็นผู้มีรูปงาม โดยทรัพย์ โดยความเป็นใหญ่ โดยหน้าที่การงาน โดยศิลปะ โดยวิทยฐานะ โดยการศึกษา โดยปฏิภาณ ความตรึก ความตรึกอย่างแรง ฯลฯ ความดำริผิด อันอิงอาศัยกามคุณ ในความไม่อยากให้ใครดูหมิ่นนั้น นี้เรียกว่า ความคิดที่เกี่ยวด้วยความไม่อยากให้ใครดูหมิ่นเนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๑๘๒๑-๑๒๑๗๓ หน้าที่ ๕๐๙-๕๒๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=11821&Z=12173&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=860&items=48 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=860&items=48&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=860&items=48 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=860&items=48 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=860 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]