ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์
ฉักกนิเทศ
[๙๙๑] ในฉักกมาติกาเหล่านั้น วิวาทมูล ๖ เป็นไฉน ความโกรธ ความหลบหลู่คุณท่าน ความริษยา ความโอ้อวด ความ ปรารถนาลามก ความยึดถือแต่ความเห็นของตน เหล่านี้เรียกว่า วิวาทมูล ๖ [๙๙๒] ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖ เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันอิง อาศัยกามคุณ ในรูปที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในเสียงที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในกลิ่นที่ น่าชอบใจ ฯลฯ ในรสที่น่าชอบใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะที่น่าชอบใจ ความ กำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิตอันอิงอาศัยกามคุณ ใน ธรรมารมณ์ที่น่าชอบใจ เหล่านี้เรียกว่า ฉันทราคเคหสิตธรรม ๖ [๙๙๓] วิโรธวัตถุ ๖ เป็นไฉน ความอาฆาต ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย ความ ปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ในรูปที่ไม่น่าชอบใจ ฯลฯ ในเสียงที่ไม่น่า ชอบใจ ฯลฯ ในกลิ่นที่ไม่น่าชอบใจ ฯลฯ ในรสที่ไม่น่าชอบใจ ฯลฯ ใน โผฏฐัพพะที่ไม่น่าชอบใจ ความอาฆาต ความกระทบกระทั่งแห่งจิต ฯลฯ ความดุร้าย ความปากร้าย ความไม่แช่มชื่นแห่งจิต ในธรรมารมณ์ที่ไม่น่า ชอบใจ เหล่านี้เรียกว่า วิโรธวัตถุ [๙๙๔] ตัณหากาย ๖ เป็นไฉน รูปตัณหา สัททตัณหา คันธตัณหา รสตัณหา โผฏฐัพพตัณหา ธัมม- *ตัณหา เหล่านี้เรียกว่า ตัณหากาย ๖ [๙๙๕] อคารวะ ๖ เป็นไฉน บุคคลไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในพระศาสดา ประพฤติเป็นไปอยู่ ฯลฯ ในพระธรรม ประพฤติเป็นไปอยู่ ฯลฯ ในพระสงฆ์ ประพฤติเป็นไปอยู่ ฯลฯ ในสิกขา ประพฤติเป็นไปอยู่ ฯลฯ ในความไม่ประมาท ประพฤติเป็นไปอยู่ บุคคลไม่เคารพ ไม่เชื่อฟังในการปฏิสันถาร ประพฤติเป็นไปอยู่ เหล่านี้เรียกว่า อคารวะ ๖ [๙๙๖] ปริหานิยธรรม ๖ เป็นไฉน ความยินดีในการก่อสร้าง ความยินดีในการสนทนา ความยินดีในการ หลับนอน ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ความยินดีในการอยู่ร่วมกัน ความ ยินดีในธรรมเป็นเหตุให้เนิ่นช้า เหล่านี้เรียกว่า ปริหานิยธรรม ๖ [๙๙๗] ปริหานิยธรรม ๖ อีกนัยหนึ่ง เป็นไฉน ความยินดีในการก่อสร้าง ความยินดีในการสนทนา ความยินดีในการ หลับนอน ความยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่ ความเป็นผู้ว่ายาก ความเป็นผู้มี มิตรชั่ว เหล่านี้เรียกว่า ปริหานิยธรรม ๖ [๙๙๘] โสมนัสสุปวิจาร ๖ เป็นไฉน เห็นรูปด้วยตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส ฟังเสียงด้วย หูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์ อันเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส เหล่านี้เรียกว่า โสมนัสสุปวิจาร ๖ [๙๙๙] โทมนัสสุปวิจาร ๖ เป็นไฉน เห็นรูปด้วยตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส ฟังเสียงด้วย หูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์อัน เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส เหล่านี้เรียกว่า โทมนัสสุปวิจาร ๖ [๑๐๐๐] อุเปกขุปวิจาร ๖ เป็นไฉน เห็นรูปด้วยตาแล้ว ครุ่นคิดถึงรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วย หูแล้ว ฯลฯ ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว ฯลฯ ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ฯลฯ ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว ฯลฯ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ครุ่นคิดถึงธรรมารมณ์อัน เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา เหล่านี้เรียกว่า อุเปกขุปวิจาร ๖ [๑๐๐๑] เคหสิตโสมนัส ๖ เป็นไฉน ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอัน เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันอิง อาศัยกามคุณ ในรูปอันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในเสียงอันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ใน กลิ่นอันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในรสอันเป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็น ที่ชอบใจ ความสบายทางใจ ความสุขทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุข อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่สบายเป็นสุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัสอัน อิงอาศัยกามคุณ ในธรรมารมณ์อันเป็นที่ชอบใจ เหล่านี้เรียกว่า เคหสิตโสมนัส ๖ [๑๐๐๒] เคหสิตโทมนัส ๖ เป็นไฉน ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็น ทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโต- *สัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในรูปอันไม่เป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในเสียงอันไม่เป็น ที่ชอบใจ ฯลฯ ในกลิ่นอันไม่เป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในรสอันไม่เป็นที่ชอบใจ ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันไม่เป็นที่ชอบใจ ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความ เสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ สบายเป็นทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในธรรมารมณ์อันไม่ เป็นที่ชอบใจ เหล่านี้เรียกว่า เคหสิตโทมนัส ๖ [๑๐๐๓] เคหสิตอุเปกขา ๖ เป็นไฉน ความสบายทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่ เจโตสัมผัส อันอิงอาศัยกามคุณ ในรูปอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ ในเสียง อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ ในกลิ่นอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ ในรสอัน เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฯลฯ ในโผฏฐัพพะอันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ความสบาย ทางใจก็ไม่ใช่ ความไม่สบายทางใจก็ไม่ใช่ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอัน เกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่ทุกข์ไม่สุขอันเกิดแต่เจโตสัมผัส อัน อิงอาศัยกามคุณ ในธรรมารมณ์อันเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา เหล่านี้เรียกว่า เคหสิตอุเปกขา ๖ [๑๐๐๔] ทิฏฐิ ๖ เป็นไฉน ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรามีอยู่ ดังนี้บ้าง ความเห็นเกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเราไม่มี ดังนี้บ้าง ความเห็น เกิดขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาด้วยอัตตา ดังนี้บ้าง ความเห็นเกิด ขึ้นแก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอนัตตาด้วยอัตตา ดังนี้บ้าง ความเห็นเกิดขึ้น แก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า เรารู้จักอัตตาด้วยอนัตตา ดังนี้บ้าง ความเห็นเกิดขึ้น แก่ผู้นี้โดยแน่แท้มั่นคงว่า อัตตาของเรานี้นั้นเป็นผู้กล่าว เป็นผู้เสวย ย่อมเสวย ผลแห่งความดีและความชั่วในภพนั้นๆ สิ้นกาลนาน อัตตานั้นไม่เกิด ไม่ได้มีมา แล้วในอดีต อัตตานั้นไม่เกิด จักไม่มีในอนาคต อัตตาเป็นของเที่ยง ยั่งยืน มั่นคง ไม่แปรผัน ดังนี้บ้าง เหล่านี้เรียกว่า ทิฏฐิ ๖

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ บรรทัดที่ ๑๓๐๙๒-๑๓๑๘๙ หน้าที่ ๕๖๒-๕๖๖. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=35&A=13092&Z=13189&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=991&items=14              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=35&item=991&items=14&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=35&item=991&items=14              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=35&item=991&items=14              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=35&i=991              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๕ https://84000.org/tipitaka/read/?index_35 https://84000.org/tipitaka/english/?index_35

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]