ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๓ ธาตุกถา-ปุคคลบัญญัติปกรณ์
             [๑๔๖] ภิกษุถือห้ามภัตรอันนำมาถวาย ต่อภายหลังเป็นวัตร ๕ จำพวก
ภิกษุถือนั่งฉันอาสนะเดียวเป็นวัตร ๕ จำพวก ภิกษุถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร ๕ จำพวก
ภิกษุถือไตรจีวรเป็นวัตร ๕ จำพวก ภิกษุถืออยู่ป่าเป็นวัตร ๕ จำพวก ภิกษุถืออยู่
โคนไม้เป็นวัตร ๕ จำพวก ภิกษุถืออยู่ในที่แจ้งเป็นวัตร ๕ จำพวก ภิกษุถือการ
นั่งเป็นวัตร ๕ จำพวก ภิกษุถืออยู่ในเสนาสนะที่ท่านจัดไว้เป็นวัตร ๕ จำพวก
ภิกษุถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวก เป็นไฉน
             บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวก
เป็นไฉน
             ภิกษุถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะความเป็นผู้เขลา เพราะความเป็นผู้
งมงาย
             ภิกษุมีความปรารถนาลามก ถูกความปรารถนาครอบงำ จึงถือการอยู่
ป่าช้าเป็นวัตร
             ภิกษุถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะเป็นบ้า เพราะจิตฟุ้งซ่าน
             ภิกษุถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะคิดว่า การอยู่ป่าช้าเป็นวัตรนี้
เป็นข้อที่พระพุทธเจ้า พระสาวกของพระพุทธเจ้าทั้งหลายสรรเสริญ
             อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะอาศัยความปรารถนา
น้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัยความขัดเกลา
กิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามนี้อย่างเดียว
             บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุนี้ใดถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร เพราะอาศัย
ความปรารถนาน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัย
ความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามนี้
อย่างเดียว ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประมุข เป็นผู้สูงสุด และเป็น
ผู้ประเสริฐกว่าภิกษุผู้ถืออยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้ น้ำนมเกิดจากแม่โค
นมส้มเกิดจากน้ำนม เนยข้นเกิดจากนมส้ม เนยใสเกิดจากเนยข้น ก้อนเนยใส
เกิดจากเนยใส บรรดาเภสัชเหล่านั้น ก้อนเนยใส ชาวโลกกล่าวว่าเลิศ ชื่อแม้ฉันใด
ภิกษุถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตรนี้ใด เป็นผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร เพราะอาศัยความ
ปรารถนาน้อยอย่างเดียว เพราะอาศัยความสันโดษอย่างเดียว เพราะอาศัย
ความขัดเกลากิเลสอย่างเดียว เพราะอาศัยความต้องการด้วยข้อปฏิบัติอันงามนี้
อย่างเดียว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ภิกษุนี้เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐ เป็นประมุข
เป็นผู้สูงสุด เป็นผู้ประเสริฐกว่าภิกษุผู้ถือบิณฑบาตเป็นวัตร ๕ จำพวกเหล่านี้
             เหล่านี้ชื่อว่า ภิกษุถือการอยู่ป่าช้าเป็นวัตร ๕ จำพวก
ปัญจกนิทเทส จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ บรรทัดที่ ๔๗๓๗-๔๗๖๘ หน้าที่ ๑๙๒-๑๙๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=36&A=4737&Z=4768&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=36.2&item=146&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=36.2&item=146&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=36.2&item=146&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=36.2&item=146&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=36.2&i=146              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_36 https://84000.org/tipitaka/english/?index_36

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]