ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑
ทรงอนุญาตอุปัชฌายะ
[๘๐] ครั้นพระผู้มีพระภาคทรงติเตียนภิกษุเหล่านั้นโดยอเนกปริยายดังนี้แล้ว จึงตรัส โทษแห่งความเป็นคนเลี้ยงยาก ความเป็นคนบำรุงยาก ความเป็นคนมักมาก ความเป็นคนไม่ สันโดษ ความคลุกคลี ความเกียจคร้าน ตรัสคุณแห่งความเป็นคนเลี้ยงง่าย ความเป็นคนบำรุง ง่าย ความมักน้อย ความสันโดษ ความกำจัด ความขัดเกลา อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนกปริยาย ทรงทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่องนั้น ที่เหมาะสมแก่ เรื่องนั้นแก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตอุปัชฌายะ อุปัชฌายะจัก ตั้งจิตสนิทสนมในสัทธิวิหาริกฉันบุตร สัทธิวิหาริกจักตั้งจิตสนิทสนมในอุปัชฌายะฉันบิดา เมื่อ เป็นเช่นนี้ อุปัชฌายะและสัทธิวิหาริกนั้น ต่างจักมีความเคารพ ยำเกรง ประพฤติกลมเกลียวกัน อยู่ จักถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมวินัยนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลสัทธิวิหาริกพึงถืออุปัชฌายะอย่างนี้.
วิธีถืออุปัชฌายะ
สิทธิวิหาริกนั้น พึงห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้า นั่งกระหย่ง ประคองอัญชลีแล้ว กล่าวคำอย่างนี้ ๓ หน ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า, ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะ ของข้าพเจ้า, ท่านเจ้าข้า ขอท่านจงเป็นอุปัชฌายะของข้าพเจ้า. อุปัชฌายะรับว่า ดีละ เบาใจละ ชอบแก่อุบายละ สมควรละ หรือรับว่า จงยังความ ปฏิบัติให้ถึงพร้อมด้วยอาการอันน่าเลื่อมใสเถิด ดังนี้ก็ได้ รับด้วยกาย รับด้วยวาจา รับด้วยกายด้วยวาจาก็ได้ เป็นอันสัทธิวิหาริกถืออุปัชฌายะ แล้ว ไม่รับด้วยกาย ไม่รับด้วยวาจา ไม่รับด้วยทั้งกายและวาจา ไม่เป็นอันสิทธิวิหาริกถือ อุปัชฌายะ.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ บรรทัดที่ ๑๕๕๑-๑๕๗๒ หน้าที่ ๖๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=4&A=1551&Z=1572&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=4&item=80&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=4&item=80&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=4&item=80&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=4&item=80&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=4&i=80              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔ https://84000.org/tipitaka/read/?index_4 https://84000.org/tipitaka/english/?index_4

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]