ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๗ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
พระอภิธรรมปิฎก
เล่ม ๗
มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๑
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
มาติกานิกเขปวาร
[๑] ปัจจัย ๒๔ ๑. เหตุปัจจัย ๒. อารัมมณปัจจัย ๓. อธิปติปัจจัย ๔. อนันตรปัจจัย ๕. สมนันตรปัจจัย ๖. สหชาตปัจจัย ๗. อัญญมัญญปัจจัย ๘. นิสสยปัจจัย ๙. อุปนิสสยปัจจัย ๑๐. ปุเรชาตปัจจัย ๑๑. ปัจฉาชาตปัจจัย ๑๒. อาเสวนปัจจัย ๑๓. กัมมปัจจัย ๑๔. วิปากปัจจัย ๑๕. อาหารปัจจัย ๑๖. อินทริยปัจจัย ๑๗. ฌานปัจจัย ๑๘. มัคคปัจจัย ๑๙. สัมปยุตตปัจจัย ๒๐. วิปปยุตตปัจจัย ๒๑. อัตถิปัจจัย ๒๒. นัตถิปัจจัย ๒๓. วิคตปัจจัย ๒๔. อวิคตปัจจัย
ปัจจยวิภังควาร
[๒] เหตุปัจจัย คือ เหตุ ๑- เป็นปัจจัย ๒- แก่ธรรมอันสัมปยุตด้วยเหตุและรูป ซึ่งมีธรรมอันสัมปยุตด้วยเหตุนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยเหตุปัจจัย ๓- [๓] อารัมมณปัจจัย คือ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญาณธาตุ และธรรม อันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น โดยอารัมมณปัจจัย สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยโสตวิญญาณธาตุ นั้น โดยอารัมมณปัจจัย คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยฆานวิญญาณธาตุ นั้น โดยอารัมมณปัจจัย รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอารัมมณปัจจัย โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยกายวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอารัมมณปัจจัย @๑. คือโลภะ โทสะ โมหะ อโลภะ อโทสะ อโมหะ @๒. เป็นธรรมอุดหนุน @๓. โดยอำนาจเหตุปัจจัย รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่ มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยอารัมมณปัจจัย ธรรมทั้งปวง เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอารัมมณปัจจัย ธรรม คือ จิตและเจตสิกใดๆ ปรารภธรรมใดๆ เกิดขึ้น ธรรมนั้นๆ เป็นปัจจัย แก่ธรรม (คือ จิต และเจตสิก) นั้นๆ โดยอารัมมณปัจจัย [๔] อธิปติปัจจัย คือ ฉันทาธิปติ เป็นปัจจัยแก่ธรรมอันสัมปยุตด้วยฉันทะ และรูปซึ่งมีธรรมอันสัมปยุตด้วยฉันทะนั้น เป็นสมุฏฐาน โดยอธิปติปัจจัย วิริยาธิปติ เป็นปัจจัยแก่ธรรมอันสัมปยุตด้วยวิริยะ และรูปซึ่งมีธรรมอันสัมปยุตด้วย วิริยะนั้น เป็นสมุฏฐาน โดยอธิปติปัจจัย จิตตาธิปติ เป็นปัจจัยแก่ธรรมอันสัมปยุตด้วยจิต และรูปซึ่งมีธรรมอันสัมปยุตด้วย จิตนั้น เป็นสมุฏฐาน โดยอธิปติปัจจัย วิมังสาธิปติ เป็นปัจจัยแก่ธรรมอันสัมปยุตด้วยวิมังสา และรูปซึ่งมีธรรมอันสัมปยุต ด้วยวิมังสานั้น เป็นสมุฏฐาน โดยอธิปติปัจจัย ธรรม คือ จิตและเจตสิกใดๆ กระทำธรรมใดๆ ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เกิดขึ้น ธรรมนั้นๆ เป็นปัจจัยแก่ธรรม (คือ จิตและเจตสิก) นั้นๆ โดยอธิปติปัจจัย [๕] อนันตรปัจจัย คือ จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณ ธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และ ธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย โสตวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยโสตวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยฆานวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณ- *ธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่ มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย กายวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยอนันตรปัจจัย กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ธรรม คือ จิตและเจตสิกใดๆ เกิดขึ้นในลำดับแห่งธรรมใดๆ ธรรมนั้นๆ เป็น ปัจจัยแก่ธรรม (คือ จิตและเจตสิก) นั้นๆ โดยอนันตรปัจจัย [๖] สมนันตรปัจจัย คือ จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณ- *ธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และ ธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย โสตวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยโสตวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยฆานวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่- *มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย กายวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยสมนันตรปัจจัย กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตรปัจจัย กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตรปัจจัย อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตรปัจจัย อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตรปัจจัย อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตร ปัจจัย อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตรปัจจัย อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยสมนันตร ปัจจัย ธรรม คือ จิตและเจตสิกใดๆ เกิดขึ้นในลำดับแห่งธรรมใดๆ ธรรมนั้นๆ เป็น ปัจจัยแก่ธรรม (คือ จิตและเจตสิก) นั้น โดยสมนันตรปัจจัย [๗] สหชาตปัจจัย คือ นามธรรม ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยสหชาตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยสหชาตปัจจัย จิตและเจตสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่รูป อันมีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป โดยสหชาตปัจจัย รูปธรรม บางคราวเป็นปัจจัยแก่นามธรรม โดยสหชาตปัจจัย บางคราวเป็นปัจจัย โดยมิใช่สหชาตปัจจัย [๘] อัญญมัญญปัจจัย คือ นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยกันโดยอัญญมัญญปัจจัย มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยกันโดยอัญญมัญญปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามรูป เป็นปัจจัยกันโดยอัญญมัญญปัจจัย [๙] นิสสยปัจจัย คือ นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกันโดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยนิสสยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามรูป เป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยนิสสยปัจจัย จิตและเจตสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่รูป อันมีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยนิสสยปัจจัย มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป โดยนิสสยปัจจัย จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุ นั้น โดยนิสสยปัจจัย โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยโสตวิญญาณธาตุ นั้น โดยนิสสยปัจจัย ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยฆานวิญญาณ ธาตุนั้น โดยนิสสยปัจจัย ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณ ธาตุนั้น โดยนิสสยปัจจัย กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยกายวิญญาณ ธาตุนั้น โดยนิสสยปัจจัย มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใด เป็นไป รูปนั้นเป็นปัจจัย แก่มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตตด้วยธาตุคู่นั้น โดยนิสสยปัจจัย [๑๐] อุปนิสสยปัจจัย คือ กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิด หลังๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลังๆ บางอย่าง โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอุปนิสสยปัจจัย อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอุปปนิสสย- *ปัจจัย อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิดหลังๆ บางอย่าง โดย อุปนิสสยปัจจัย อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย อัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอุปปนิสสย- *ปัจจัย แม้บุคคลก็จัดเป็นปัจจัย โดยเป็นอุปนิสสยปัจจัย แม้เสนาสนะก็จัดเป็นปัจจัย โดย เป็นอุปนิสสยปัจจัย [๑๑] ปุเรชาตปัจจัย คือ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และธรรม อันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น โดยปุเรชาตปัจจัย โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยโสตวิญญาณธาตุ นั้น โดยปุเรชาตปัจจัย ฆานายตะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยฆานวิญญาณธาตุ นั้น โดยปุเรชาตปัจจัย ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณ ธาตุนั้น โดยปุเรชาตปัจจัย กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยกายวิญญาณ ธาตุนั้น โดยปุเรชาตปัจจัย รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุ นั้น โดยปุเรชาตปัจจัย สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยโสตวิญญาณ ธาตุนั้น โดยปุเรชาตปัจจัย คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยฆานวิญญาณ ธาตุนั้น โดยปุเรชาตปัจจัย รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณ ธาตุนั้น โดยปุเรชาตปัจจัย โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยกายวิญญาณ ธาตุนั้น โดยปุเรชาตปัจจัย รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่ มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยปุเรชาตปัจจัย มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้น เป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยปุเรชาตปัจจัย บางคราวเป็นปัจจัยแก่มโนวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนวิญญาณธาตุนั้น โดยปุเรชาตปัจจัย บางคราวเป็นปัจจัย โดยมิใช่ ปุเรชาตปัจจัย [๑๒] ปัจฉาชาตปัจจัย คือ จิตและเจตสิกธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่ กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย [๑๓] อาเสวนปัจจัย คือ กุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กุศลธรรมที่เกิด หลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย อกุศลธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อกุศลธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย กิริยาอัพยากตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่กิริยาอัพยากตธรรมที่เกิดหลังๆ โดย อาเสวนปัจจัย [๑๔] กัมมปัจจัย คือ กุศลกรรมและอกุศลกรรม เป็นปัจจัยแก่วิบากขันธ์ และ กฏัตตารูป โดยกัมมปัจจัย และเป็นปัจจัยแก่ธรรมอันสัมปยุตด้วยเจตนา และรูปซึ่งมีธรรมอัน สัมปยุตด้วยเจตนานั้น เป็นสมุฏฐาน โดยกัมมปัจจัย [๑๕] วิปากปัจจัย คือ นามขันธ์ ๔ อันเป็นวิบาก เป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดย วิปากปัจจัย [๑๖] อาหารปัจจัย คือ กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้โดยอาหารปัจจัย อาหารที่เป็นนาม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตและรูปอันมีธรรมที่สัมปยุตนั้น เป็นสมุฏฐาน โดยอาหารปัจจัย [๑๗] อินทริยปัจจัย คือ จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และธรรม อันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุนั้น โดยอินทริยปัจจัย โสตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยโสตวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอินทริยปัจจัย ฆานินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยฆานวิญญาณธาตุ นั้น โดยอินทริยปัจจัย ชิวหินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอินทริยปัจจัย กายินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุ นั้น โดยอินทริยปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูป โดยอินทริยปัจจัย อินทรีย์ที่ เป็นนาม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุต และรูปอันมีธรรมที่สัมปยุตนั้น เป็นสมุฏฐาน โดย อินทริยปัจจัย [๑๘] ฌานปัจจัย คือ องค์แห่งฌานทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย ฌาน และรูปอันมีธรรมที่สัมปยุตด้วยฌานนั้น เป็นสมุฏฐาน โดยฌานปัจจัย [๑๙] มัคคปัจจัย คือ องค์แห่งมรรคทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่สัมปยุตด้วย มรรค และรูปอันมีธรรมที่สัมปยุตด้วยมรรคนั้นเป็นสมุฏฐาน โดยมัคคปัจจัย [๒๐] สัมปยุตตปัจจัย คือ นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยสัมปยุตต- *ปัจจัย [๒๑] วิปปยุตตปัจจัย คือ รูปธรรม เป็นปัจจัยแก่นามธรรมโดยวิปปยุตตปัจจัย นามธรรม เป็นปัจจัยแก่รูปธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย [๒๒] อัตถิปัจจัย คือ นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยอัตถิปัจจัย จิตและเจตสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่รูปอันมีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยอัตถิปัจจัย มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปทารูป โดยอัตถิปัจจัย จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอัตถิปัจจัย โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยโสตวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอัตถิปัจจัย ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยฆานวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอัตถิปัจจัย ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอัตถิปัจจัย กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุ นั้น โดยอัตถิปัจจัย รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุ นั้น โดยอัตถิปัจจัย สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยโสตวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอัตถิปัจจัย คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยฆานวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอัตถิปัจจัย รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอัตถิปัจจัย โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยกายวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอัตถิปัจจัย รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่ มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยอัตถิปัจจัย มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ และธรรมที่สัมปยุตด้วยธาตุคู่นั้น โดยอัตถิปัจจัย [๒๓] นัตถิปัจจัย คือ จิตและเจตสิกธรรม ที่ดับไปแล้วโดยไม่มีธรรมอื่นคั่น เป็นปัจจัยแก่จิตและเจตสิกธรรมที่เกิดขึ้นติดต่อกัน โดยนัตถิปัจจัย [๒๔] วิคตปัจจัย คือ จิตและเจตสิกธรรมที่ไปปราศแล้วโดยไม่มีธรรมอื่นคั่น เป็นปัจจัยแก่จิตและเจตสิกธรรม ที่เกิดขึ้นติดต่อกัน โดยวิคตปัจจัย [๒๕] อวิคตปัจจัย คือ นามขันธ์ ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยอวิคตปัจจัย มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยอวิคตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ นามและรูปเป็นปัจจัยแก่กันและกัน โดยอวิคตปัจจัย จิตและเจตสิกธรรม เป็นปัจจัยแก่รูป อันมีจิตเป็นสมุฏฐาน โดยอวิคตปัจจัย มหาภูตรูป เป็นปัจจัยแก่อุปาทารูป โดยอวิคตปัจจัย จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอวิคตปัจจัย โสตายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยโสตวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอวิคตปัจจัย ฆานายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยฆานวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอวิคตปัจจัย ชิวหายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอวิคตปัจจัย กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยกายวิญญาณธาตุ นั้น โดยอวิคตปัจจัย รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยจักขุวิญญาณธาตุ นั้น โดยอวิคตปัจจัย สัททายตนะ เป็นปัจจัยแก่โสตวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยโสตวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอวิคตปัจจัย คันธายตนะ เป็นปัจจัยแก่ฆานวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยฆานวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอวิคตปัจจัย รสายตนะ เป็นปัจจัยแก่ชิวหาวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยชิวหาวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอวิคตปัจจัย โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยกายวิญญาณ ธาตุนั้น โดยอวิคตปัจจัย รูปายตนะ สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่ มโนธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยมโนธาตุนั้น โดยอวิคตปัจจัย มโนธาตุ และมโนวิญญาณธาตุ อาศัยรูปใดเป็นไป รูปนั้นเป็นปัจจัยแก่มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ และธรรมอันสัมปยุตด้วยธาตุ คู่นั้น โดยอวิคตปัจจัย
ปัจจยวิภังควาร จบ
-----------------------------------------------------
อนุโลมติกปัฏฐาน
กุสลัตติกะ
ปฏิจจวาร
[๒๖] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรมและอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัยได้อย่างไร [๒๗] อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัยได้อย่างไร [๒๘] อัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร อกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้ อย่างไร กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัยได้อย่างไร [๒๙] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้ อย่างไร อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัยได้อย่างไร อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร [๓๐] กุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย ได้อย่างไร อกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร อัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้ อย่างไร กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัยได้อย่างไร อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยอกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยอกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร [๓๑] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้ อย่างไร อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัยได้อย่างไร อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร [๓๒] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัยได้อย่างไร อกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัยได้อย่างไร อัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะ เหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม และอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรมและ อัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัยได้อย่างไร [๓๓] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัยได้อย่างไร เหตุปัจจัย ท่านจำแนกไว้พิสดารแล้วอย่างไร แม้อารัมมณปัจจัยก็พึงจำแนกให้พิสดาร อย่างนั้น โดยแนวแห่งการสอน [๓๔] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัยได้อย่างไร ฯลฯ เพราะ อนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะสหชาตปัจจัย ฯลฯ เพราะอัญญมัญญปัจจัย ฯลฯ เพราะนิสสยปัจจัย ฯลฯ เพราะอุปนิสสยปัจจัย ฯลฯ เพราะปุเรชาตปัจจัย ฯลฯ เพราะ ปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ เพราะอาเสวนปัจจัย ฯลฯ เพราะกัมมปัจจัย ฯลฯ เพราะวิปากปัจจัย ฯลฯ เพราะอาหารปัจจัย ฯลฯ เพราะอินทริยปัจจัย ฯลฯ เพราะฌานปัจจัย ฯลฯ เพราะมัคคปัจจัย ฯลฯ เพราะสัมปยุตตปัจจัย ฯลฯ เพราะวิปปยุตตปัจจัย ฯลฯ เพราะอัตถิปัจจัย ฯลฯ เพราะนัตถิปัจจัย ฯลฯ เพราะวิคตปัจจัยได้อย่างไร [๓๕] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร อาศัยอกุศลธรรม อาศัยอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม และอัพยากตธรรม อาศัย อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรมและอกุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม กุศลธรรม เกิดขึ้น อกุศลธรรม เกิดขึ้น อัพยากตธรรม เกิดขึ้น กุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม เกิดขึ้น กุศลธรรมและอกุศลธรรม เกิดขึ้น กุศลธรรม อกุศลธรรม และอัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร เหตุปัจจัย ท่านจำแนกไว้พิสดารแล้วอย่างไร แม้อวิคตปัจจัยก็พึงจำแนกให้พิสดาร เหมือนอย่างนั้น โดยแนวแห่งการสอน
เอกมูลกปัจจัย จบ.
[๓๖] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย ได้อย่างไร ฯลฯ กุศลธรรม อกุศลธรรมและอัพยากตธรรม อาศัยกุศลธรรม อกุศลธรรม และ อัพยากตธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้อย่างไร [๓๗] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้ อย่างไร ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร
ทุกมูลกปัจจัย จบ.
[๓๘] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้อย่างไร เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร
ติมูลกปัจจัย จบ.
[๓๙] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัยได้อย่างไร ฯลฯ เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัยได้อย่างไร
จตุมูลกปัจจัย จบ.
[๔๐] ปัญจมูลกปัฏฐาน เป็นต้น ท่านย่อเสียแล้ว เอกมูลกะ ทุมูลกะ ติมูลกะ จตุมูลกะ ปัญจมูลกะ สัพพมูลกปัจจัย ผู้มีปัญญาพึงจำแนกให้พิสดาร
เหตุมูลกปัจจัย จบ.
[๔๑] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย ได้อย่างไร เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย ฯลฯ เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอวิค ปัจจัยได้อย่างไร กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะ สมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย เพราะอัญญมัญญปัจจัยได้อย่างไร เพราะอวิคตปัจจัย เพราะ เหตุปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะวิคตปัจจัยได้อย่างไร [๔๒] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรมเกิดขึ้น เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัยได้อย่างไร เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัย เพราะ อวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะ วิคตปัจจัยได้อย่างไร [๔๓] กุศลธรรม อาศัยกุศลธรรม เกิดขึ้น เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะอารัมมณปัจจัย เพราะอธิปติปัจจัยได้อย่างไร เพราะอวิคตปัจจัย เพราะเหตุปัจจัย เพราะ อารัมมณปัจจัย เพราะอนันตรปัจจัย เพราะอวิคตปัจจัย ได้อย่างไร [๔๔] เอกมูลกะ ทุมูลกะ ติมูลกะ จตุมูลกะ ปัญจมูลกะ สัพพมูลกปัจจัย แห่งบท หนึ่งๆ ผู้มีปัญญาพึงจำแนกให้พิสดาร ในอนุโลม มีนัยอันลึกซึ้ง ๖ ประการ คือ ติกปัฏฐานอันประเสริฐ ทุกปัฏฐานอัน อุดม ทุกัตติกปัฏฐาน ติกัททุกปัฏฐาน ติกัตติกปัฏฐาน และทุกัททุกปัฏฐาน

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ บรรทัดที่ ๑-๔๒๕ หน้าที่ ๑-๑๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=40&A=1&Z=425&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=40&item=1&items=44              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=40&item=1&items=44&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=40&item=1&items=44              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=40&item=1&items=44              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=40&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๐ https://84000.org/tipitaka/read/?index_40 https://84000.org/tipitaka/english/?index_40

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]