ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๘ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๒ ปัจฉิมอนุโลมติกปัฏฐาน
ปัญหาวาร
[๑๔๑๘] ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ [๑๔๑๙] มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม โดยเหตุปัจจัย มี ๓ นัย พึงกระทำ ปวัตติ ปฏิสนธิ [๑๔๒๐] อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณธรรม โดยเหตุปัจจัย มี ๓ นัย [๑๔๒๑] ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว พิจารณากุศลกรรมนั้น พิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน พระอริยะทั้งหลายพิจารณาโคตรภู พิจารณาโวทาน พิจารณากิเลสที่ละแล้ว พิจารณา กิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ พิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรม โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภจักขุเป็นต้นนั้น ราคะ เกิดขึ้น โทมนัส เกิดขึ้น รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ จักขุ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอารัมมณปัจจัย [๑๔๒๒] ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นปริตตธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ โดยอารัมมณปัจจัย [๑๔๒๓] มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เป็น ปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ โดยอารัมมณปัจจัย บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นมหัคคตธรรม โดยเจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ โดยอารัมมณปัจจัย [๑๔๒๔] มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลพิจารณาปฐมฌาน พิจารณาเนวสัญญานาสัญญายตนะ พิจารณาทิพพจักขุ ทิพพโสตธาตุ ฯลฯ พิจารณาอิทธิวิธญาณ เจโตปริยญาณ ฯลฯ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ฯลฯ ยถากัมมุปคญาณ ฯลฯ พิจารณาอนาคตังสญาณ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภขันธ์นั้น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น [๑๔๒๕] อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล โดยอารัมมณปัจจัย [๑๔๒๖] อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณานิพพาน นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย [๑๔๒๗] อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลายรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิตที่เป็นอัปปมาณธรรม โดย เจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่เจโตปริยญาณ แก่ปุพเพนิวาสา- *นุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ โดยอารัมมณปัจจัย [๑๔๒๘] ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล กระทำอุโบสถกรรมแล้ว กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา บุคคลกระทำกุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่นแล้ว พิจารณา พระเสขบุคคลทั้งหลายกระทำโคตรภูให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ กระทำโวทาน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ กระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรมให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำจักขุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๔๒๙] มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นมหัคคตธรรม เป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๔๓๐] มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลกระทำปฐมฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ฯลฯ ทิพพจักขุ ฯลฯ กระทำอนาคตังสญาณให้เป็นอารมณ์ อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อม ยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำขันธ์นั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๔๓๑] มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม และมหัคคตธรรม โดยอธิปติ- *ปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๔๓๒] อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่มรรค แก่ผล โดยอธิปติปัจจัย ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นอัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๔๓๓] อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตะรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็น อารัมมณาธิปติ ได้แก่ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา กระทำผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ กระทำ นิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน โดยอธิปติปัจจัย ที่เป็น สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นอัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๔๓๔] อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม และอัปปมาณธรรม โดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นอัปปมาณธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย [๑๔๓๕] ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เกิด หลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรม โดยอนันตรปัจจัย [๑๔๓๖] ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ จุติจิตที่เป็นปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นมหัคคตธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นมหัคคตธรรม แก่อนาค- *ตังสญาณ โดยอนันตรปัจจัย บริกรรมแห่งปฐมฌาน ฯลฯ บริกรรมแห่งเนวสัญญานาสัญญาย- *ตนะ ฯลฯ บริกรรมแห่งทิพพจักขุ ฯลฯ บริกรรมแห่งอนาคตังสญาณ เป็นปัจจัยแก่อนาคตังสญาณ โดยอนันตรปัจจัย [๑๔๓๗] ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค อนุโลมเป็นปัจจัยแก่ผล สมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย [๑๔๓๘] มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น มหัคคตธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย [๑๔๓๙] มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ จุติจิตที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นปริตตธรรม โดยอนันตร- *ปัจจัย ภวังค์ที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ โดยอนันตรปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นมหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นปริตตธรรม โดยอนันตร ปัจจัย [๑๔๔๐] มหัคคตธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่ผลสมาบัติของบุคคลผู้ออกจากนิโรธ โดยอนันตรปัจจัย [๑๔๔๑] อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่อัปปมาณธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอัปปมาณธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ ฯลฯ ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย มรรค เป็นปัจจัยแก่ผล ผลเป็นปัจจัยแก่ผล โดยอนันตรปัจจัย [๑๔๔๒] อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ผล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นปริตตธรรม โดยอนันตรปัจจัย [๑๔๔๓] อัปปมาณธรรม เป็นปัจจัยแก่มหัคคตธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ผล เป็นปัจจัยแก่วุฏฐานะที่เป็นมหัคคตธรรม โดยอนันตรปัจจัย สมนันตรปัจจัย เหมือนกับ อนันตรปัจจัย [๑๔๔๔] ปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ปริตตธรรม โดยสหชาตปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นปริตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยสหชาตปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลาย โดยสหชาตปัจจัย มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ ส่วนพวกอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ บรรทัดที่ ๑๐๓๔๓-๑๐๔๗๓ หน้าที่ ๔๔๐-๔๔๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=41&A=10343&Z=10473&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=41&item=1418&items=27              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=41&item=1418&items=27&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=41&item=1418&items=27              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=41&item=1418&items=27              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=41&i=1418              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๑ https://84000.org/tipitaka/read/?index_41 https://84000.org/tipitaka/english/?index_41

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]