ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
พระอภิธรรมปิฎก
เล่ม ๙
มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เหตุทุกะ
ปฏิจจวาร
[๑] เหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ อโทสะ อโมหะ อาศัยอโลภะ อโลภะ อโมหะ อาศัยอโทสะ อโลภะ อโทสะ อาศัยอโมหะ โมหะ อาศัยโลภะ โลภะ อาศัยโทสะ โทสะ อาศัยโมหะ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นเหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยเหตุธรรม ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ เหตุธรรม และนเหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ อโทสะ อโมหะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยอโลภะ
พึงผูกจักรนัย
โมหะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยโลภะ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นเหตุธรรม อาศัยนเหตุธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นเหตุธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลาย อาศัย หทัยวัตถุ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ เหตุธรรม อาศัยนเหตุธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ เหตุธรรมทั้งหลาย อาศัยขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นนเหตุธรรม ในปฏิสนธิขณะ เหตุธรรมทั้งหลาย อาศัยหทัยวัตถุ เหตุธรรม และนเหตุธรรม อาศัยนเหตุธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ และเหตุธรรม และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ และเหตุธรรม และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ ในปฏิสนธิขณะ เหตุธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทัยวัตถุ เหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม และนเหตุธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ อโทสะ อโมหะ อาศัยอโลภะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
พึงผูกจักรนัย
โมหะ อาศัยโลภะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โมหะ อาศัยโทสะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย ในปฏิสนธิขณะ อโทสะ อโมหะ อาศัยอโลภะ และหทัยวัตถุ ฯลฯ นเหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม และนเหตุธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุธรรม และเหตุธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ และเหตุธรรม ในปฏิสนธิขณะ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทัยวัตถุ และเหตุธรรม เหตุธรรม และนเหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม และนเหตุธรรม เกิดขึ้น เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ อโทสะ อโมหะ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น เหตุธรรม และอโลภะ ฯลฯ ขันธ์ ๒ อโทสะ อโมหะ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๒ และอโลภะ
พึงผูกจักรนัย
ขันธ์ ๓ และโมหะ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุธรรม และโลภะ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ อโทสะ อโมหะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัย หทัยวัตถุ และอโลภะ ฯลฯ [๒] เหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม เกิดขึ้น เพราะอารัมมณปัจจัย ทิ้งรูปภูมิเสีย พึงกระทำหัวข้อปัจจัย ๙ ในอรูปภูมิเท่านั้น เพราะอธิปติปัจจัย ปฏิสนธิไม่มี พึงกระทำให้บริบูรณ์ อาศัยมหาภูต- *รูป ๑ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูปที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย นี้เป็น ข้อที่ต่างกัน เพราะอนันตรปัจจัย เพราะสมนันตรปัจจัย เพราะสหชาตปัจจัย มีมหาภูตรูปทั้งหมดตลอดถึงอสัญญสัตว์ เพราะอัญญมัญญปัจจัย เพราะนิสสยปัจจัย เพราะอุปนิสสยปัจจัย เพราะปุเรชาตปัจจัย เพราะอาเสวนปัจจัย ปฏิสนธิไม่มี แม้ในภูมิทั้งสอง เพราะกัมมปัจจัย เพราะวิปากปัจจัย ฯลฯ เพราะอวิคตปัจจัย [๓] ในเหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๙ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๙ ปัจจัยทั้งปวง มี " ๙ ในอวิคตปัจจัย มี " ๙ พึงนับอย่างนี้
อนุโลมปัฏฐาน จบ
[๔] นเหตุธรรม อาศัยนเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย คือ ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกะ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในอเหตุกปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ อาศัยขันธ์ทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลาย อาศัยหทัยวัตถุ มหาภูตรูป ๑ ฯลฯ พาหิรรูป ฯลฯ อาหารสมุฏฐานรูป ฯลฯ อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ ส่วนพวกอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ เหตุธรรม อาศัยนเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ อาศัยขันธ์ ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ [๕] นเหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะอารัมมณปัจจัย คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยเหตุธรรม ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นเหตุธรรม อาศัยนเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะอารัมมณปัจจัย คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ในปฏิสนธิขณะ มหาภูตรูปทั้งหมด นเหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม และนเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะ อารัมมณปัจจัย คือ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยเหตุธรรม และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุ- *ธรรม ในปฏิสนธิขณะ ฯ ไม่ใช่เพราะอธิปติปัจจัย พึงกระทำให้บริบูรณ์ ไม่ใช่เพราะอนันตรปัจจัย ไม่ใช่เพราะสมนันตรปัจจัย ไม่ใช่เพราะอัญญมัญญปัจจัย ไม่ใช่เพราะอุปนิสสย- *ปัจจัย [๖] เหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะปุเรชาตปัจจัย คือ ในอรูปภูมิ อโทสะ อโมหะ อาศัยอโลภะ
พึงผูกจักรนัย
โมหะ อาศัยโลภะ โลภะ อาศัยโมหะ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นเหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะปุเรชาตปัจจัย คือ ในอรูปภูมิ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยเหตุธรรม จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยเหตุธรรม ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ เหตุธรรม และนเหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะ ปุเรชาตปัจจัย คือ ในอรูปภูมิ อโทสะ อโมหะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยอโลภะ
พึงผูกจักรนัย
โมหะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาศัยโลภะ
พึงผูกจักรนัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นเหตุธรรม อาศัยนเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะปุเรชาตปัจจัย คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ อาศัยขันธ์ ๒ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเหตุธรรม ใน ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ เหตุธรรม อาศัยนเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะปุเรชาตปัจจัย คือ ในอรูปภูมิ เหตุธรรมทั้งหลาย อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ เหตุธรรม และนเหตุธรรม อาศัยนเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะ ปุเรชาตปัจจัย คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ และนเหตุธรรมทั้งหลาย อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น นเหตุธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ เหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม และนเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะ ปุเรชาตปัจจัย คือ ในอรูปภูมิ อโทสะ อโมหะ อาศัยอโลภะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
พึงผูกจักรนัย
ในอรูปภูมิ โมหะ อาศัยโลภะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย
พึงผูกจักรนัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นเหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม และนเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะ ปุเรชาตปัจจัย คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุธรรมและเหตุธรรม ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ จิตตสมุฏฐานรูป อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม และ นเหตุธรรม ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ เหตุธรรม และนเหตุธรรม อาศัยเหตุธรรมและนเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่ เพราะปุเรชาตปัจจัย คือ ในอรูปภูมิ ขันธ์ ๓ และอโทสะ อโมหะ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็น นเหตุธรรม และอโลภะ ฯลฯ ขันธ์ ๒ ฯลฯ
พึงผูกจักรนัย
ขันธ์ ๓ และโมหะ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุธรรม และโลภะ
พึงผูกจักรนัย
ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ [๗] เหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะปัจฉาชาตปัจจัย ฯลฯ ไม่ใช่เพราะอาเสวนปัจจัย [๘] นเหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะกัมมปัจจัย คือ สัมปยุตตเจตนา อาศัยเหตุธรรม นเหตุธรรม อาศัยนเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะกัมมปัจจัย คือ สัมปยุตตเจตนา อาศัยขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม พาหิรรูป ฯลฯ อาหารสมุฏฐานรูป ฯลฯ อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ นเหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม และนเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะ กัมมปัจจัย คือ สัมปยุตตเจตนา อาศัยเหตุธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย [๙] เหตุธรรม อาศัยเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะวิปากปัจจัย มี ๙ นัย [๑๐] นเหตุธรรม อาศัยนเหตุธรรม เกิดขึ้น ไม่ใช่เพราะอาหารปัจจัย คือ พาหิรรูป ฯลฯ อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ ส่วนพวกอสัญญสัตว์ทั้งหลาย มหาภูตรูป ๓ อาศัยมหาภูตรูป ๑ ฯลฯ กฏัตตารูป ที่เป็นอุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย [๑๑] ฯลฯ ไม่ใช่เพราะอินทริยปัจจัย คือ พาหิรรูป ฯลฯ อาหารสมุฏฐานรูป ฯลฯ อุตุสมุฏฐานรูป มหา- *ภูตรูป ๑ ฯลฯ อุปาทารูป อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย ส่วนพวกอสัญญสัตว์ รูปชีวิตินทรีย์ อาศัยมหาภูตรูปทั้งหลาย [๑๒] ฯลฯ ไม่ใช่เพราะฌานปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่สหรคตด้วยปัญจวิญญาณ ฯลฯ พาหิรรูป ฯลฯ อาหาร- *สมุฏฐานรูป ฯลฯ อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ ส่วนพวกอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ [๑๓] ฯลฯ ไม่ใช่เพราะมัคคปัจจัย คือ อาศัยขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุธรรม ซึ่งเป็นอเหตุกธรรม ฯลฯ ในอเหตุก- *ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ พาหิรรูป ฯลฯ อาหารสมุฏฐานรูป ฯลฯ อุตุสมุฏฐานรูป ฯลฯ ส่วนพวกอสัญญสัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ ฯลฯ ไม่ใช่เพราะสัมปยุตตปัจจัย ฯลฯ ไม่ใช่เพราะวิปปยุตตปัจจัย เหมือนที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย พึงกระทำหัวข้อปัจจัย ในอรูปภูมิเท่านั้น ฯลฯ ไม่ใช่เพราะนัตถิปัจจัย ฯลฯ ไม่ใช่เพราะวิคตปัจจัย [๑๔] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๒ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปากปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาหารปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อินทริยปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ฌานปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย มี " ๑ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัตถิปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๓
ปัจจนียะ จบ
[๑๕] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ฯลฯ ในปัจจัยที่ไม่ใช่ปุเรชาตปัจจัย กับ ฯลฯ มีหัวข้อปัจจัย ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อาเสวนปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่กัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย กับเหตุปัจจัย มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓
อนุโลมปัจจนียะ จบ
[๑๖] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๒ ในอนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ฯลฯ ในกัมมปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในวิปากปัจจัย กับ ฯลฯ มีหัวข้อปัจจัย ๑ ในอาหารปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในอินทริยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในฌานปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ในมัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๑ ในสัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒ ฯลฯ ในอวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๒
ปัจจนียานุโลม จบ
แม้สหชาตวาร ก็เหมือนกับปฏิจจวาร ปัจจยวารก็ดี นิสสยวารก็ดี เหมือนกับปฏิจจวาร หัวข้อปัจจัย เมื่อมหา- *ภูตรูปทั้งหลายจบแล้ว พึงกระทำว่า "อาศัยหทัยวัตถุ" อายตนะ ๕ ย่อมได้ ในอนุโลมก็ดี ในปัจจนียะก็ดี ฉันใด พึงกระทำฉันนั้น สังสัฏฐวารก็ดี สัมปยุตต- *วารก็ดี พึงทำให้บริบูรณ์ รูปภูมิไม่มี มีแต่อรูปภูมิเท่านั้น
ปัญหาวาร
[๑๗] เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ อโลภะ เป็นปัจจัยแก่อโทสะ แก่อโมหะ โดยเหตุปัจจัย
พึงผูกจักรนัย
โลภะ เป็นปัจจัยแก่โมหะ โดยเหตุปัจจัย โทสะ เป็นปัจจัยแก่โมหะ โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ อโลภะ เป็นปัจจัยแก่อโทสะอโมหะ และสัมปยุตตขันธ์และจิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย
พึงผูกจักรนัย
โลภะ เป็นปัจจัยแก่โมหะ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ [๑๘] เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ เหตุธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น เพราะปรารภเหตุธรรม เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม เกิดขึ้น เพราะปรารภเหตุธรรม เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น เพราะ ปรารภเหตุธรรม นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลให้ทาน ๑- สมาทานศีล ทำอุโบสถกรรมแล้ว พิจารณาซึ่งกุศล- *กรรมนั้น บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน บุคคลออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค ฯลฯ ผล ฯลฯ นิพพาน ฯลฯ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย ๒- พระอริยะทั้งหลาย พิจารณากิเลสทั้งหลายที่ละแล้ว ที่เป็นเหตุธรรม กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็น @๑. หมายความว่า บาลีตอนที่ ๑ ๒. หมายความว่า บาลีตอนที่ ๒ นเหตุธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตา ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นเหตุธรรม โดยเจโต- *ปริยญาณ อากาสานัญจายตนะกิริยา เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะกิริยา อากิญ- *จัญญายตนกิริยา เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนกิริยา รูปายตนะเป็น ปัจจัย แก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอารัมมณ- *ปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริย- *ญาณ แก่ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมูปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่ อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยอารัมมณปัจจัย พึงยกเอาเฉพาะข้อความในบาลีตอนที่ ๑ ว่า "บุคคลให้ทาน" เท่านั้น มาใส่ในที่นี้ แต่ให้ตัดอาวัชชนะออกเสีย และข้อที่ว่า "รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ" นี้ ก็ให้ตัดออก นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือบุคคลให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ แล้วพิจารณาซึ่งกุศล- *กรรมนั้น เพราะปรารภกุศลกรรมนั้น เหตุธรรมทั้งหลายและสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น พึงยกเอาข้อความที่ตั้งอยู่ในบาลีนั้นมาใส่ที่นี้ ให้เหมือนกับข้อความใน บาลีตอนที่ ๒ เหตุธรรมและนเหตุธรรมเป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ เหตุธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น เพราะปรารภเหตุธรรมและสัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย เหตุธรรมและนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นเหตุธรรม เกิดขึ้น เพราะปรารภเหตุธรรมและ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เหตุธรรมและนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม โดย อารัมมณปัจจัย คือ เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น เพราะ ปรารภเหตุธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย [๑๙] เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่เพราะกระทำเหตุธรรมให้หนักแน่น เหตุธรรม ทั้งหลาย เกิดขึ้น ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่อธิปติธรรมที่เป็นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตเหตุทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่เพราะกระทำเหตุธรรมให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม เกิดขึ้น ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่อธิปติธรรมที่เป็นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่เพราะกระทำเหตุธรรมให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ และเหตุธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ พึงยกเอาข้อความตามบาลีที่ว่า "บุคคลให้ทานแล้ว" มาใส่ให้พิสดาร จนถึงคำว่าขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นนเหตุธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ พึงยกเอาข้อความ ตามบาลีข้างต้นมาใส่ จนถึงหทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นนเหตุธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตเหตุทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้วพิจารณา เพราะ กระทำกุศลธรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม และเหตุธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น พึงยกเอาข้อความตามบาลีที่ว่า บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่ง สมไว้แล้วในกาลก่อน จนถึงหทยวัตถุ และขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม มาใส่ ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และเหตุธรรมทั้งหลาย และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะกระทำเหตุธรรม และ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เหตุธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะกระทำเหตุธรรม และ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุ- *ธรรม เกิดขึ้น เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะกระทำเหตุธรรม และ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เหตุธรรมทั้งหลาย และ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น [๒๐] เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ เหตุธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ เหตุธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น นเหตุธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอนันตรปัจจัย นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็น ปัจจัยแก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยอนันตรปัจจัย นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม โดยอนันตรปัจจัย นเหตุมูลกนัย เป็นอย่างเดียวกันทั้ง ๓ เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อนๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อนๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดก่อนๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดย อนันตรปัจจัย [๒๑] เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยสมนันตรปัจจัยเหมือน กับอนันตรปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอัญญมัญญปัจจัย ทั้ง ๒ ปัจจัยนี้เหมือนกับ ปัจจยวาร ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย เหมือนกับนิสสยปัจจัย ใน ปัจจยวาร [๒๒] เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสย อนันตรรูปนิสสย ปกตูปนิสสย ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ เหตุธรรมทั้งหลาย โดยอุปนิสสยปัจจัย เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย เหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอุปนิสสยปัจจัย นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ความ ปรารถนา แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ความ ปรารถนา แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย นเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ เหมือนกับอุปนิสสยปัจจัย ตอนที่ ๒ เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย โดยอุปนิสสยปัจจัย เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย เหตุธรรม และนเหตุธรรม เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรม และนเหตุธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตต- *ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่เหตุธรรมทั้งหลาย และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดย อุปนิสสยปัจจัย

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ บรรทัดที่ ๑-๔๒๖ หน้าที่ ๑-๑๘. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=42&A=1&Z=426&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=42&item=1&items=22              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=42&item=1&items=22&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=42&item=1&items=22              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=42&item=1&items=22              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=1              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_42 https://84000.org/tipitaka/english/?index_42

แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]