ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
ปัญหาวาร
[๑๔๕] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดย อารัมมณปัจจัย คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ พิจารณากุศลกรรม นั้น พิจารณากุศลกรรมทั้งหลาย ที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฌาน ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคแล้วพิจารณาผล กิเลสที่ละแล้ว ฯลฯ กิเลสที่ข่มแล้ว ฯลฯ กิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็นวิบาก ที่เป็นนเหตุ- *สเหตุกธรรม เกิดขึ้น บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม โดย เจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่ เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตัง- *สญาณ โดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น นเหตุสเหตุกธรรม เกิดขึ้น นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุกอเหตุกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็นวิบาก ที่เป็นนเหตุ- *อเหตุกธรรม เกิดขึ้น เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น นเหตุอเหตุกธรรม เกิดขึ้น นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยอารัมมณ- *ปัจจัย คือ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่ อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็นวิบากที่เป็นนเหตุ- *อเหตุกธรรม เกิดขึ้น รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่ กายวิญญาณ โดยอารัมมณปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น นเหตุอเหตุกธรรม เกิดขึ้น นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ พระอริยะทั้งหลายพิจารณานิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล โดยอารัมมณ- *ปัจจัย จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม โดย ความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็นวิบาก ที่เป็น นเหตุสเหตุกธรรม เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม โดย เจโตปริยญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่ เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่อนาคตังสญาณ โดยอารัมมณ- *ปัจจัย เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น นเหตุสเหตุกธรรม เกิดขึ้น [๑๔๖] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดยอธิปติ- *ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่บุคคลให้ทาน สมาทานศีลแล้วกระทำกุศล- *กรรมนั้น ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลาย ที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ออก จากฌานแล้ว กระทำฌานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค กระทำมรรคให้เป็นอารมณ์อย่างหนัก แน่นแล้ว พิจารณา กระทำผลให้หนักแน่นแล้ว พิจารณา บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรมให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำความยินดีนั้นให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่อธิปติธรรมที่เป็นนเหตุสเหตุก- *ธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม และนเหตุอเหตุก- *ธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่อธิปติธรรมที่เป็นนเหตุสเหตุก- *ธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติ- *ปัจจัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่พระอริยะทั้งหลายกระทำนิพพาน ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว พิจารณา นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล โดย อธิปติปัจจัย จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุ อเหตุกธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะ กระทำความยินดีนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น [๑๔๗] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดยอนันตร ปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัย แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่ โคตรภู ฯลฯ เนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่ ผลสมาบัติ โดยอนันตร- *ปัจจัย นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ จุติจิตที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อุปปัตติจิตที่เป็นนเหตุ อเหตุกธรรม โดยอนันตรปัจจัย ภวังค์ที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อาวัชชนะ ภวังค์ที่เป็น นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ภวังค์ที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น นเหตุสเหตุกธรรมเป็นปัจจัย แก่วุฏฐานะที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม โดยอนันตรปัจจัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ นเหตุอเหตุกธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรมที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ ปัญจวิญญาณ โดยอนันตรปัจจัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ นเหตุสเหตุกธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ จุติจิตที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ อุปปัตติจิตที่เป็น นเหตุสเหตุกธรรม โดยอนันตรปัจจัย อาวัชชนะ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม โดย อนันตรปัจจัย ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ วุฏฐานะที่เป็น นเหตุสเหตุกธรรม โดยอนันตรปัจจัย [๑๔๘] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ นเหตุสเหตุกธรรม โดย สมนันตรปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย ในที่นี้ปัจจัยสงเคราะห์ ไม่มี พึงกระทำหัวข้อปัจจัย ๗ ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอัญญมัญญปัจจัย
พึงกระทำหัวข้อปัจจัย ๖
ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย พึงกระทำปวัตติ และ ปฏิสนธิ หัวข้อปัจจัย ๗ ในที่นี้ปัจจัยสงเคราะห์ ไม่มี [๑๔๙] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ นเหตุสเหตุกธรรม โดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัยศีล ฯลฯ ความปรารถนาแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลาย สงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ ศรัทธา ฯลฯ แก่ความ ปรารถนา แก่มรรค แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ ศรัทธา เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ ทุกข์ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย ศีล ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย ศรัทธา ฯลฯ ความปรารถนา เป็นปัจจัยแก่ สุขทางกาย แก่ทุกข์ ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ นเหตุอเหตุกธรรม โดยอุปนิสสย ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ สุขทางกาย เป็นปัจจัยแก่สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย ทุกข์ทางกาย ฯลฯ ฤดู ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย สุขทางกาย ทุกข์ทางกาย ฤดู โภชนะ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ สุขทางกาย แก่ทุกข์ทางกาย โดยอุปนิสสยปัจจัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ นเหตุสเหตุกธรรม โดยอุปนิสสย- *ปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยสุขทางกายแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ บุคคลเข้าไปอาศัยทุกข์ทางกาย ฯลฯ ฤดู ฯลฯ โภชนะ ฯลฯ เสนาสนะ แล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ สุขทางกาย ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ศรัทธา ฯลฯ แก่ความ ปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย [๑๕๐] นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ นเหตุอเหตุกธรรม โดย ปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็น ของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็นวิบาก ที่เป็นนเหตุ- *อเหตุกธรรม เกิดขึ้น รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่ จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะเป็นปัจจัยแก่ กายวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ นเหตุสเหตุกธรรม โดยปุเรชาต- *ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็น ของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็นวิบาก ที่เป็นนเหตุ- *สเหตุกธรรม เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย [๑๕๑] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดย ปัจฉาชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย [๑๕๒] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุกสเหตุธรรม โดย อาเสวนปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โคตรภู อนุโลม เป็นปัจจัยแก่โวทาน โคตรภู เป็นปัจจัยแก่มรรค โวทาน เป็นปัจจัยแก่มรรค โดยอาเสวนปัจจัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยอาเสวนปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอาเสวนปัจจัย [๑๕๓] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดยกัมม ปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็นสหชาต ได้แก่เจตนาที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่เจตนาที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม ที่เป็นวิบาก โดยกัมมปัจจัย นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็นสหชาต ได้แก่เจตนาที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่เจตนาที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรมที่เป็นวิบากและกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม และนเหตุอเหตุกธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็นสหชาต ได้แก่เจตนาที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่เจตนาที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม ที่เป็นวิบากและกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมม- *ปัจจัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยกัมมปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาต ได้แก่เจตนาที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ เจตนาที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต ขันธ์และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๑๕๔] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดย วิปากปัจจัยมี ๓ นัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยวิปากปัจจัยมี ๑ นัย [๑๕๕] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดยอาหาร ปัจจัย มี ๓ นัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ กวฬิงการาหารเป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอาหารปัจจัย [๑๕๖] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดยอินทริย ปัจจัย มี ๓ นัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยสัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ รูปชีวิตินทรีย์เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดย อินทริยปัจจัย [๑๕๗] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดยฌาน ปัจจัย พึงกระทำทั้ง ๔ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยมัคคปัจจัย มี ๓ นัย [๑๕๘] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดย สัมปยุตตปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ใน- *ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยสัมปยุตตปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ปฏิ สนธิ [๑๕๙] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดย- *วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัย แก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ โดยวิปปยุตตปัจจัย หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุเป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุก ธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัย แก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็น นเหตุสเหตุกธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย [๑๖๐] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดยอัตถิ ปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ใน ปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ฯลฯ นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม และนเหตุอเหตุ- *กธรรมโดยอัตถิปัจจัย คือ ขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ฯลฯ นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ตลอดถึงอสัญญสัตว์ ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น รูปายตนะเป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่ กายวิญญาณ จักขายตนะ ฯลฯ กายายตนะ ปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัย แก่กายนี้ที่เกิดก่อน กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัย แก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ในปฏิสนธิขณะ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็นวิบากที่เป็นนเหตุ- *สเหตุกธรรม เกิดขึ้น นเหตุสเหตุกธรรม และนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุก- *ธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ ๑ ที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม และหทัยวัตถุ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ฯลฯ นเหตุสเหตุกธรรม และนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๔ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม และ มหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม และ กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนเหตุสเหตุกธรรม และ รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย [๑๖๑] ในอารัมมณปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๔ ในอธิปติปัจจัย มี " ๔ ในอนันตรปัจจัย มี " ๔ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๔ ในสหชาตปัจจัย มี " ๗ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๖ ในนิสสยปัจจัย มี " ๗ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๔ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๒ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๒ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๒ ในกัมมปัจจัย มี " ๔ ในวิปากปัจจัย มี " ๔ ในอาหารปัจจัย มี " ๔ ในอินทริยปัจจัย มี " ๔ ในฌานปัจจัย มี " ๔ ในมัคคปัจจัย มี " ๓ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๒ ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๓ ในอัตถิปัจจัย มี " ๗ ในนัตถิปัจจัย มี " ๔ ในวิคตปัจจัย มี " ๔ ในอวิคตปัจจัย มี " ๗
พึงนับอย่างนี้
อนุโลม จบ
[๑๖๒] นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยกัมมปัจจัย นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย นเหตุสเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม และนเหตุอเหตุก- *ธรรม โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมมปัจจัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็น ปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย นเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุกธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย นเหตุสเหตุกธรรม และนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุสเหตุก- *ธรรม โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย นเหตุสเหตุกธรรม และนเหตุอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่นเหตุอเหตุก- *ธรรม โดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหาร- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย [๑๖๓] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๗ ฯลฯ ในปัจจัยทั้งปวง มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สหชาตปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นิสสยปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยทั้งปวง มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย มี " ๖ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัตถิปัจจัย มี " ๕ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย มี " ๕
พึงนับอย่างนี้
ปัจจนียะ จบ
[๑๖๔] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับอารัมมณปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยทั้งปวง กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔
พึงนับอย่างนี้
อนุโลมปัจจนียะ จบ
[๑๖๕] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๔ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๔ ในอวิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗
พึงนับอย่างนี้
ปัจจนียานุโลม จบ
นเหตุสเหตุกทุกะ จบ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ บรรทัดที่ ๒๗๐๖-๓๑๐๐ หน้าที่ ๑๑๑-๑๒๗. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=42&A=2706&Z=3100&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=42&item=145&items=21              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=42&item=145&items=21&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=42&item=145&items=21              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=42&item=145&items=21              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=145              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_42 https://84000.org/tipitaka/english/?index_42

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]