บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
ปัญหาวาร [๓๔๓] อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ กามาสวะ เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ โดยเหตุปัจจัย ภวาสวะ เป็นปัจจัยแก่ อวิชชาสวะ โดยเหตุปัจจัยพึงผูกจักรนัย อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดย เหตุปัจจัย คือ กามาสวะ เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดย เหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ปฏิสนธิ ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย และอาสวธรรม โดยเหตุปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสว- *ธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาสวธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นอาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรมเป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย [๓๔๔] อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ เพราะปรารภอาสวธรรมทั้งหลาย อาสวธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ เพราะปรารภอาสวธรรมทั้งหลาย ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม เกิดขึ้น อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ เพราะปรารภอาสวธรรมทั้งหลาย อาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ ทั้งหลาย เกิดขึ้น ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดย อารัมมณปัจจัย คือ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ จากฌาน ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณา นิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล แก่ อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่ไม่ใช่อาสวธรรม ฯลฯ กิเลส ทั้งหลายที่ข่มแล้ว ฯลฯ รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยความ เป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพยจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพโสตธาตุ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดย เจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เป็นปัจจัยแก่เนวสัญญานาสัญญายตนะ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริย- *ญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่อนาคตังสญาณ แก่ อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ บุคคลให้ทานแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งทานนั้น เพราะปรารภ ความยินดีนั้น อาสวธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ฌาน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่ง- *ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม ให้หนักแน่นแล้ว เพราะปรารภความยินดีนั้น อาสวธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ ทาน ฯลฯ มีอธิบายเหมือนกับข้อความตามบาลีตอนที่สอง บุคคล ย่อมยินดีย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะปรารภความยินดีนั้น อาสวธรรม และ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดย อารัมมณปัจจัย คือ เพราะปรารภอาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย อาสวธรรม ทั้งหลาย เกิดขึ้น อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ อารัมมณปัจจัย คือ เพราะปรารภอาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ อาสวธรรม เกิดขึ้น อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และ ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ เพราะปรารภอาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ อาสวธรรม และ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น [๓๔๕] อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะกระทำอาสวธรรม ทั้งหลายให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น อาสวธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น มี ๓ นัย พึงกระทำว่าให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น เหมือนกับอารัมมณปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดย อธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ ในกาลก่อน ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค ฯลฯ ผล ฯลฯ กระทำนิพพานให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่น ฯลฯ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล โดย อธิปติปัจจัย จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำความยินดีนั้นให้หนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัย แก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่ ไม่ใช่อาสวธรรมให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำความยินดีนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น อาสวธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น ธรรมที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็น ปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ อาสวธรรมทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่ ไม่ใช่อาสวธรรมให้หนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำ ความยินดีนั้นให้หนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัมปยุตตขันธ์ อาสวธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลกระทำอาสวธรรมและ สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายให้หนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ฯลฯ อาสวธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น มี ๓ นัย พึงกระทำว่าให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น [๓๔๖] อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ อาสวธรรมที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมทั้งหลายที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ อาสวธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่ ไม่ใช่อาสวธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อาสวธรรมทั้งหลายเป็น ปัจจัยแก่วุฏฐานะ โดยอนันตรปัจจัย อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ อาสวธรรมทั้งหลายที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอนันตรปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดย อนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย อนุโลม เป็น ปัจจัยแก่โคตรภู แก่ผลสมาบัติ โดยอนันตรปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นอาสวธรรม ที่เกิดหลังๆ โดยอนันตรปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยอนันตรปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม ที่เกิดก่อนๆ เป็นปัจจัยแก่ อาสวธรรมทั้งหลาย ที่เกิดหลังๆ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอนันตร- *ปัจจัย อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอนันตรปัจจัย มี ๓ นัย อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยสมนันตรปัจจัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสหชาตปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยอัญญมัญญปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยนิสสยปัจจัย มี ๙ นัย และพึงแสดง หทัยวัตถุ [๓๔๗] อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ อาสวธรรมทั้งหลายเป็นปัจจัยแก่ อาสวธรรมทั้งหลาย โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ นัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดย อุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสย อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้วให้ทาน ฯลฯ ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัย ศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ให้ทาน ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ ศรัทธา ฯลฯ แก่ผลสมาบัติ โดยอุปนิสสยปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ก่อมานะ ถือทิฏฐิ ศีล ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ ราคะ ฯลฯ แก่ความ ปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ ฯลฯ ที่เป็นปกตูปนิสสยะ ได้แก่ บุคคลเข้าไปอาศัยศรัทธาแล้ว ก่อมานะ ถือทิฏฐิ บุคคลเข้าไปอาศัย ศีล ฯลฯ เสนาสนะแล้ว ฆ่าสัตว์ ฯลฯ ทำลายสงฆ์ ศรัทธา ฯลฯ เสนาสนะ เป็นปัจจัยแก่ ราคะ ฯลฯ แก่ความ ปรารถนา โดยอุปนิสสยปัจจัย อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอุปนิสสยปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ อารัมมณูปนิสสยะ อนันตรูปนิสสยะ ปกตูปนิสสยะ มี ๓ นัย [๓๔๘] ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ หทัยวัตถุ ฯลฯพึงให้พิสดารอย่างนี้ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยปุเรชาตปัจจัย ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย ที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลกระทำหทัยวัตถุให้ หนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งหทัยวัตถุ เพราะปรารภความ ยินดีนั้น อาสวธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมทั้งหลาย โดยปุเรชาตปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณปุเรชาต วัตถุปุเรชาต ที่เป็นอารัมมณปุเรชาต ได้แก่ บุคคลกระทำจักขุให้หนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินซึ่งจักขุ เพราะปรารภความยินดีนั้น อาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เกิดขึ้น ที่เป็นวัตถุปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และ อาสวสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอาสวธรรม โดยปุเรชาตปัจจัย [๓๔๙] อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดย ปัจฉาชาตปัจจัย คือ อาสวธรรมที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่กายนี้ที่เกิดก่อน โดย ปัจฉาชาตปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดย ปัจฉาชาตปัจจัย คือ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัยแก่ กายนี้ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยปัจฉาชาตปัจจัย คือ อาสวธรรม ที่เกิดภายหลัง และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัย แก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยปัจฉาชาตปัจจัย [๓๕๐] อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอาเสวนปัจจัย มี ๙ นัย [๓๕๑] ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยกัมมปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต นานาขณิก ที่เป็นสหชาต ได้แก่ เจตนาที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ที่เป็นนานาขณิก ได้แก่ เจตนาที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ วิบากขันธ์ และกฏัตตารูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตอาสวธรรม ทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยกัมมปัจจัย คือ เจตนาที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ อาสวธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยกัมมปัจจัย [๓๕๒] ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยวิปากปัจจัย มี ๑ นัย [๓๕๓] ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอาหารปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตอาสว- *ธรรมทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยอาหารปัจจัย คือ อาหารทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ อาสวธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอาหารปัจจัย [๓๕๔] ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยอินทริยปัจจัย คือ อินทรีย์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ จักขุนทรีย์ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ โดยอินทริยปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่ กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอินทริยปัจจัย มี ๓ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยฌานปัจจัย มี ๓ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยมัคคปัจจัย มี ๙ นัย ฯลฯ เป็นปัจจัย โดยสัมปยุตตปัจจัย มี ๙ นัย [๓๕๕] อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ อาสวธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูป ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ อาสวธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดย วิปปยุตตปัจจัย มี ๓ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ในปฏิสนธิขณะ ขันธ์ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่หทัยวัตถุ โดยวิปปยุตต ปัจจัย หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ กายายตนะ เป็นปัจจัยแก่กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มีอย่างเดียว คือ ปุเรชาต ได้แก่ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยวิปปยุตตปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ อาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็น ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยวิปปยุตตปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ อาสวธรรม และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย เป็น ปัจจัยแก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยวิปปยุตตปัจจัย [๓๕๖] อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอัตถิปัจจัย คือ กามาสวะ เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ โดยอัตถิปัจจัยพึงผูกจักรนัย อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปัจฉาชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ อาสวธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่อาสวธรรมทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่กายนี้ ที่ เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยอัตถิปัจจัย คือ กามาสวะ เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ แก่อวิชชาสวะ แก่สัมปยุตต- *ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดย อัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ตลอดถึงอสัญญสัตว์ ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ รูปายตนะ เป็นปัจจัยแก่จักขุวิญญาณ โผฏฐัพพายตนะ เป็นปัจจัยแก่ กายวิญญาณ หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดย อัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัย แก่กายนี้ ที่เกิดก่อน โดยอัตถิปัจจัย กวฬิงการาหาร เป็นปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย รูปชีวิตินทรีย์ เป็นปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ อาสวธรรมทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปุเรชาต ได้แก่ จักขุ ฯลฯ บุคคลกระทำหทัยวัตถุให้หนักแน่น แล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง ซึ่งหทัยวัตถุ เพราะปรารภความยินดีนั้น อาสวธรรมทั้งหลาย เกิดขึ้น หทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรมทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ อาสวธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯพึงผูกจักรนัย อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดย อัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ กามาสวะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อวิชชาสวะ โดยอัตถิปัจจัยพึงผูกจักรนัย กามาสวะ และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ แก่อวิชชาสวะ โดยอัตถิปัจจัย อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๕ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ปัจฉาชาต อาหาร อินทรีย์ ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่ใช่อาสวธรรม และอาสวธรรม ทั้งหลาย เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นสหชาต ได้แก่ อาสวธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็นปัจจัย แก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย อาสวธรรมทั้งหลาย และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ อาสวธรรมทั้งหลาย และกวฬิงการาหาร เป็น ปัจจัยแก่กายนี้ โดยอัตถิปัจจัย ที่เป็นปัจฉาชาต ได้แก่ อาสวธรรมทั้งหลาย และรูปชีวิตินทรีย์ เป็น ปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัย อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และ ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยอัตถิปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ สหชาต ปุเรชาต ที่เป็นสหชาต ได้แก่ ขันธ์ ๑ ที่ไม่ใช่อาสวธรรม และกามาสวะ เป็น ปัจจัยแก่ขันธ์ ๓ ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดย อัตถิปัจจัย ขันธ์ ๒ ฯลฯพึงผูกจักรนัย ที่เป็นสหชาต ได้แก่ กามาสวะ และหทัยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ทิฏฐาสวะ อวิชชาสวะ และสัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอัตถิปัจจัยพึงผูกจักรนัย [๓๕๗] ในเหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๗ ในอารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในอธิปติปัจจัย มี " ๙ ในอนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสมนันตรปัจจัย มี " ๙ ในสหชาตปัจจัย มี " ๙ ในอัญญมัญญปัจจัย มี " ๙ ในนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในอุปนิสสยปัจจัย มี " ๙ ในปุเรชาตปัจจัย มี " ๓ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี " ๓ ในอาเสวนปัจจัย มี " ๙ ในกัมมปัจจัย มี " ๓ ในวิปากปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๑ ในอาหารปัจจัย มี " ๓ ในมัคคปัจจัย มี " ๙ ในสัมปยุตตปัจจัย มี " ๙ ในวิปปยุตตปัจจัย มี " ๕ ในอัตถิปัจจัย มี " ๙ ในวิคตปัจจัย มี " ๙ ในอวิคตปัจจัย มี " ๙อนุโลม จบ [๓๕๘] อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปัจฉาชาตปัจจัย อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดย อารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปัจฉาชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยกัมม- *ปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอาหารปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอินทริยปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดย ปุเรชาตปัจจัย ธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย เป็นปัจจัยโดยปุเรชาตปัจจัย อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่ธรรมที่ไม่ใช่ อาสวธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดย อุปนิสสยปัจจัย อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม เป็นปัจจัยแก่อาสวธรรม และธรรมที่ไม่ใช่อาสวธรรม โดยอารัมมณปัจจัย เป็นปัจจัยโดยสหชาตปัจจัย เป็นปัจจัยโดยอุปนิสสยปัจจัย [๓๕๙] ในปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย มี " ๙ ในปัจจัยทั้งปวง มี " ๙ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อวิคตปัจจัย มี " ๙ปัจจนียะ จบ [๓๖๐] ในปัจจัยที่ไม่ใช่อารัมมณปัจจัย กับเหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สมนันตรปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อัญญมัญญปัจจัย กับ ฯลฯ มีหัวข้อปัจจัย ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่อุปนิสสยปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยทั้งปวง กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่มัคคปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่สัมปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๓ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิปปยุตตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่นัตถิปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗ ในปัจจัยที่ไม่ใช่วิคตปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๗อนุโลมปัจจนียะ จบ [๓๖๑] ในอารัมมณปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๙ ในอธิปติปัจจัย กับ ฯลฯ มี " ๙ พึงกระทำบทที่เป็นอนุโลมให้บริบูรณ์ ในอวิคตปัจจัย กับปัจจัยที่ไม่ใช่เหตุปัจจัย มีหัวข้อปัจจัย ๙ปัจจนียานุโลม จบ อาสวทุกะ จบ เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ บรรทัดที่ ๕๗๘๑-๖๒๒๗ หน้าที่ ๒๓๖-๒๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=42&A=5781&Z=6227&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=42&item=343&items=19 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=42&item=343&items=19&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=42&item=343&items=19 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=42&item=343&items=19 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=343 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_42 https://84000.org/tipitaka/english/?index_42
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]