ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ พระอภิธรรมปิฎกเล่มที่ ๙ มหาปัฏฐานปกรณ์ ภาค ๓
ปัญหาวาร
[๔๖๔] สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนสัมปยุตตธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมป- *ยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนวิปปยุตตธรรม โดย เหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตต- *สมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนสัมปยุตตธรรม และ สัญโญชนวิปปยุตตธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดย เหตุปัจจัย สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนวิปปยุตตธรรม โดย เหตุปัจจัย คือ เหตุทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตต- *ขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย โมหะที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย ปฏิสนธิ สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนสัมปยุตตธรรม โดย เหตุปัจจัย คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนสัมปยุตตธรรม และ สัญโญชนวิปปยุตตธรรม โดยเหตุปัจจัย คือ โมหะ ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และ จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยเหตุปัจจัย [๔๖๕] สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนสัมปยุตตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม เกิดขึ้น
พึงกระทำมูล
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตตธรรม และโมหะ เกิดขึ้น
พึงกระทำมูล
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม ขันธ์ทั้งหลาย ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ เกิดขึ้น สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนวิปปยุตตธรรม โดย อารัมมณปัจจัย คือ บุคคลให้ทาน ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ แล้วพิจารณาซึ่ง กุศลกรรมนั้น บุคคลพิจารณากุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน บุคคลออกจากฌานแล้ว พิจารณาฌาน พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรคแล้ว พิจารณามรรค พิจารณาผล พิจารณา นิพพาน นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย พระอริยะทั้งหลายพิจารณากิเลสที่ละแล้ว ที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตตธรรม พิจารณากิเลสที่ข่มแล้ว รู้ซึ่งกิเลสทั้งหลายที่เคยเกิดขึ้นแล้วในกาลก่อน จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลพิจารณาเห็นขันธ์ทั้งหลายที่เป็น สัญโญชนวิปปยุตตธรรม และโมหะ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ฯลฯ บุคคลเห็นรูปด้วยทิพพจักขุ ฟังเสียงด้วยทิพพโสตธาตุ บุคคลรู้จิตของบุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยจิต ที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตต- *ธรรม โดยเจโตปริยญาณ อากาสานัญจายตนะ เป็นปัจจัยแก่วิญญาณัญจายตนะ รูปายตนะ ฯลฯ โผฏฐัพพายตนะ ฯลฯ ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่อิทธิวิธญาณ แก่เจโตปริยญาณ แก่บุพเพนิวาสานุสสติญาณ แก่ยถากัมมุปคญาณ แก่ อนาคตังสญาณ แก่อาวัชชนะ โดยอารัมมณปัจจัย สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนสัมปยุตตธรรม โดย อารัมมณปัจจัย คือ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน ฌาน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่งซึ่งขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตตธรรม และโมหะ เพราะปรารภความยินดีนั้น ราคะ ฯลฯ โทมนัส เกิดขึ้น สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนสัมปยุตตธรรม และ สัญโญชนวิปปยุตตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่เป็น สัญโญชนวิปปยุตตธรรม และโมหะ ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และ โมหะ เกิดขึ้น สัญโญชนสัมปยุตตธรรม และสัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ สัญโญชนสัมปยุตตธรรม โดยอารัมมณปัจจัย คือ เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ขันธ์ ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม เกิดขึ้น
พึงกระทำมูล
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ขันธ์ทั้งหลาย ที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตตธรรม และโมหะ เกิดขึ้น
พึงกระทำมูล
เพราะปรารภขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ ขันธ์ ทั้งหลายที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ เกิดขึ้น [๔๖๖] สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนสัมปยุตต- *ธรรม โดยอธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ ราคะ ฯลฯ ทิฏฐิ ฯลฯ กระทำให้เป็น อารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำความ ยินดีนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นสัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนวิปปยุตตธรรม โดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นสัญโญชน- *สัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย สัญโญชนสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนสัมปยุตตธรรม และ สัญโญชนวิปปยุตตธรรม โดยอธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นสัญโญชน- *สัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดย อธิปติปัจจัย สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนวิปปยุตตธรรม โดย อธิปติปัจจัย มี ๒ อย่าง คือ อารัมมณาธิปติ สหชาตาธิปติ ที่เป็นอารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ อุโบสถกรรม ฯลฯ แล้วกระทำกุศลกรรมนั้นให้หนักแน่นแล้ว พิจารณา กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ ออกจากฌาน ฯลฯ พระอริยะทั้งหลายออกจากมรรค ฯลฯ ผล ฯลฯ นิพพาน ฯลฯ นิพพาน เป็นปัจจัยแก่โคตรภู แก่โวทาน แก่มรรค แก่ผล โดยอธิปติปัจจัย ที่เป็นสหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิปติธรรมที่เป็นสัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ และจิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย โดยอธิปติปัจจัย สัญโญชนวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่สัญโญชนสัมปยุตตธรรม โดย อธิปติปัจจัย มีอย่างเดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ ทาน ฯลฯ ศีล ฯลฯ บุคคลกระทำอุโบสถกรรม แล้วกระทำกุศลกรรมนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลินยิ่ง เพราะกระทำความยินดีนั้นให้เป็นอารมณ์อย่าง หนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น กุศลกรรมทั้งหลายที่เคยสั่งสมไว้แล้วในกาลก่อน ฯลฯ จากฌาน ฯลฯ จักขุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ฯลฯ บุคคลกระทำขันธ์ทั้งหลายที่เป็นสัญโญชน- *วิปปยุตตธรรม ให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่นแล้ว ย่อมยินดี เพราะกระทำความ ยินดีนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะ เกิดขึ้น ทิฏฐิ เกิดขึ้น

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ บรรทัดที่ ๘๓๒๔-๘๔๔๔ หน้าที่ ๓๔๐-๓๔๕. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=42&A=8324&Z=8444&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=42&item=464&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=42&item=464&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=42&item=464&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=42&item=464&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=42&i=464              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๔๒ https://84000.org/tipitaka/read/?index_42 https://84000.org/tipitaka/english/?index_42

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]