บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
หัวข้อประจำขันธกะ [๓๑๙] ๑. ภิกษุพวกพระปัณฑุกะและพระโลหิตกะ ก่อความบาดหมาง เอง ได้เข้าไปหาภิกษุผู้เช่นกัน แล้วให้ขมักเขม้นในการก่อความบาดหมางขึ้น ความบาดหมางที่ยังไม่เกิดย่อมเกิดขึ้น แม้ที่เกิดขึ้นแล้วก็ขยายตัวออกไป ภิกษุ ทั้งหลายที่มักน้อย มีศีลเป็นที่รัก ย่อมเพ่งโทษในบริษัท พระพุทธชินเจ้าผู้สยัมภูอัครบุคคล ผู้ทรงพระสัทธรรม รับสั่งให้ลง ตัชชนียกรรม ณ พระนครสาวัตถี ตัชชนีกรรมที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย คือ ทำลับหลังไม่สอบถาม ก่อนแล้วทำ ไม่ทำตามปฏิญาณ หมวด ๑ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ทำเพราะอาบัติ มิใช่เทสนาคามินี ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว หมวด ๑ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ไม่ ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ หมวด ๑ ทำลับหลัง ทำโดย ไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่สอบถามก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็น ธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่ทำตามปฏิญาณ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์ เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ทำเพราะไม่ต้องอาบัติ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรค ทำ หมวด ๑ ทำเพราะอาบัติมิใช่เป็นเทสนาคามินี ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์ เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ทำเพราะอาบัติที่แสดงแล้ว ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็น วรรคทำ หมวด ๑ ไม่โจทก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่ให้จำเลยให้การก่อนแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ไม่ปรับอาบัติแล้วทำ ทำโดยไม่เป็นธรรม สงฆ์เป็นวรรคทำ หมวด ๑ ปราชญ์พึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงกันข้ามกับฝ่ายผิดนั่นแหละ เมื่อสงฆ์จำนงพึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุใด สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมแก่ ภิกษุนั้น ผู้ก่อความบาดหมาง เป็นพาล คลุกคลีกับคฤหัสถ์ หมวด ๑ วิบัติ ในอธิศีล ในอัธยาจาร ในอติทิฐิ หมวด ๑ กล่าวติเตียนพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ หมวด ๑ สงฆ์พึงลงตัชชนียกรรมแก่ภิกษุ ๓ รูป คือ รูปหนึ่งก่อความบาดหมาง รูปหนึ่งเป็นพาล รูปหนึ่งคลุกคลีกับคฤหัสถ์ หมวด ๑ รูปหนึ่งวิบัติในศีล รูปหนึ่งวิบัติในอัธยาจาร รูปหนึ่งวิบัติในอติทิฐิ หมวด ๑ รูปหนึ่งกล่าวติเตียน พระพุทธเจ้า รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระธรรม รูปหนึ่งกล่าวติเตียนพระสงฆ์ หมวด ๑ ภิกษุถูกสงฆ์ลงตัชชนียกรรมแล้ว ต้องประพฤติโดยชอบอย่างนี้ คือ ไม่ ให้อุปสมบท ไม่ให้นิสัย ไม่ให้สามเณรอุปัฏฐาก ไม่สั่งสอนภิกษุณี และได้ สมมติแล้วก็ไม่สั่งสอน ไม่ต้องอาบัตินั้น ไม่ต้องอาบัติอื่นอันเช่นกันและอาบัติ ยิ่งกว่านั้น ไม่ติกรรม ไม่ติภิกษุทั้งหลายผู้ทำกรรม ไม่ห้ามอุโบสถ ปวารณา แก่ปกตัตตะภิกษุไม่ทำการไต่สวน ไม่เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ไม่ยังภิกษุอื่นให้ทำโอกาส ไม่โจทภิกษุอื่น ไม่ให้ภิกษุอื่นให้การ และไม่ช่วยภิกษุกับภิกษุให้สู้อธิกรณ์กัน ภิกษุใดประกอบด้วยองค์ ๕ คือ ให้อุปสมบท ให้นิสัย ให้สามเณร อุปัฏฐาก สั่งสอนภิกษุณี แม้ได้รับสมมติแล้วก็ยังสั่งสอนและองค์ ๕ คือ ต้อง อาบัตินั้น ต้องอาบัติอันเช่นกัน และต้องอาบัติที่ยิ่งกว่านั้น ติกรรม ติภิกษุทั้ง หลายผู้ทำกรรม สงฆ์ไม่ระงับตัชชนียกรรมแก่ภิกษุนั้น ภิกษุใดประกอบด้วยองค์ ๘ นี้ คือ ห้ามอุโบสถ ปวารณา ทำการไต่สวน เริ่มอนุวาทาธิกรณ์ ให้ทำโอกาส โจทภิกษุอื่น ให้ภิกษุอื่นให้การ และให้สู้ อธิกรณ์กัน ย่อมไม่ระงับจากตัชชนียกรรม ปราชญ์พึงทราบฝ่ายถูกตามนัยตรงกันข้ามกับฝ่ายผิดนั้นแหละ ๒. พระเสยยสกะเป็นพาล มีอาบัติมาก และคลุกคลีกับคฤหัสถ์ พระสัมพุทธเจ้าผู้มหามุนี รับสั่งให้ลงนิยสกรรม ๓. ภิกษุพวกพระอัสสชิและพระปุนัพพสุกะทั้งสอง ในชนบทกิฏาคีรี ไม่สำรวม ประพฤติแม้ซึ่งอานาจารมีอย่างต่างๆ พระสัมพุทธชินเจ้ารับสั่งให้ลง ปัพพาชนียกรรม ในพระนครสาวัตถี ๔. พระสุธรรมเป็นเจ้าถิ่นของจิตตะคฤหบดีในเมืองมัจฉิกาสณฑ์ด่าจิตตะ ผู้อุบาสก ด้วยถ้อยคำกระทบชาติ พระตถาคตรับสั่งให้ลงปฏิสารณียกรรม ๕. พระชินเจ้าผู้อุดม ทรงบัญชาให้ลงอุกเขปนียกรรม ในเพราะไม่เห็น อาบัติ แก่พระฉันนะผู้ไม่ปรารถนาจะเห็นอาบัติ ในพระนครโกสัมพี ๖. พระฉันนะไม่ปรารถนาจะทำคืนอาบัตินั้นแล พระพุทธเจ้าผู้ดำรง ตำแหน่งนายกพิเศษ รับสั่งให้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่ทำคืนอาบัติต่อไป ๗. ทิฐิอันเป็นบาป อาศัยความไม่รู้ บังเกิดแก่พระอริฏฐะ พระชินเจ้า ดำรัสให้ลงอุกเขปนียกรรม ฐานไม่สละทิฐิ นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม และ ปฏิสารณียกรรม ก็เหมือนกัน บทเกินเหล่านี้มีในปัพพาชนียกรรม คือ เล่นคะนอง ประพฤติอนาจาร ลบล้างพระบัญญัติ และมิจฉาชีพ ฐานไม่เห็นและไม่ทำคืนอาบัติ และฐานไม่ สละทิฐิ บทเกินเหล่านี้มีในปฏิสารณียกรรมคือ มุ่งความไม่มีลาภ กล่าวติเตียน มีนามว่า ปัญจกะ ๒ หมวดๆ ละ ๕ แม้กรรมทั้งสอง คือ ตัชชนียกรรม และ นิยสกรรม ก็เช่นกัน ปัพพานียกรรม และปฏิสารณียกรรม หย่อนและยิ่งกว่ากัน ๘ ข้อ ๒ หมวด โดยการจำแนกอุกเขปนียกรรม ๓ อย่างนั้นเช่นเดียวกัน ปราชญ์พึงทราบกรรมที่เหลือ แม้ตามนัยแห่งตัชชนียกรรม เทอญ ฯหัวข้อประจำขันธกะ จบ ----------------------------------------------------- เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๓๕๓๑-๓๕๙๖ หน้าที่ ๑๕๑-๑๕๔. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=3531&Z=3596&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=6&item=319&items=1 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=6&item=319&items=1&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=6&item=319&items=1 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=6&item=319&items=1 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=319 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ https://84000.org/tipitaka/read/?index_6 https://84000.org/tipitaka/english/?index_6
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]