สงฆ์ให้ปักขปริวาส
[๔๑๕] สมัยต่อมา ท่านพระอุทายี ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ เธอแจ้งแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลาย ผม
ต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ ผมจะพึงปฏิบัติ
อย่างไร ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคๆ ตรัสว่า ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล สงฆ์จงให้ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อ
สัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายี ฯ
วิธีให้ปักขปริวาส
[๔๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แล สงฆ์พึงให้อย่างนี้ ภิกษุอุทายีนั้น
พึงเข้าไปหาสงฆ์ ห่มผ้าอุตราสงค์เฉวียงบ่า ไหว้เท้าภิกษุผู้แก่กว่า นั่งกระหย่ง
ประคองอัญชลี แล้วกล่าวคำขอ ว่าดังนี้:-
คำขอปักขปริวาส
ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบัง
ไว้ ๑ ปักษ์ ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้านั้นขอปริวาส ๑ ปักษ์เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญ
เจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ กะสงฆ์
พึงขอแม้ครั้งที่สอง พึงขอแม้ครั้งที่สาม ฯ
[๔๑๗] ภิกษุผู้ฉลาด ผู้สามารถ พึงประกาศให้สงฆ์ทราบด้วยญัตติ-
*จตุตถกรรมวาจา ว่าดังนี้:-
กรรมวาจาให้ปักขปริวาส
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ ต้องอาบัติ
ตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ เธอขอปริวาส
๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์
กะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ปริวาส ๑ ปักษ์
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุ
อุทายี นี้เป็นญัตติ
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุอุทายีนี้ ต้องอาบัติ
ตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ เธอขอปริวาส
๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์
กะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกา
สุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ แก่ภิกษุอุทายี การให้ปริวาส ๑ ปักษ์
เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ แก่
ภิกษุอุทายี ชอบแก่ท่านผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง ไม่ชอบแก่ท่าน
ผู้ใด ท่านผู้นั้นพึงพูด
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สอง ...
ข้าพเจ้ากล่าวความนี้ แม้ครั้งที่สาม ...
ปริวาส ๑ ปักษ์ เพื่ออาบัติตัวหนึ่ง ชื่อสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ
ปิดบังไว้ ๑ ปักษ์ สงฆ์ให้แล้วแก่ภิกษุอุทายี ชอบแก่สงฆ์ เหตุนั้น
จึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยอย่างนี้ ฯ
เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖ บรรทัดที่ ๕๓๒๗-๕๓๖๔ หน้าที่ ๒๒๗-๒๒๙.
https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=6&A=5327&Z=5364&pagebreak=0
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=6&item=415&items=3
อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :-
https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=6&item=415&items=3&mode=bracket
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :-
https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=6&item=415&items=3
อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :-
https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=6&item=415&items=3
ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :-
https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=6&i=415
สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๖
https://84000.org/tipitaka/read/?index_6
https://84000.org/tipitaka/english/?index_6
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖.
บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙.
การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง.
หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]