ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒
หัวข้อประจำขันธกะ
[๔๔๖] เรื่องพระอาคันตุกะ สวมรองเท้า กั้นร่ม คลุมศีรษะ พาดจีวร บนศีรษะ เข้าไปสู่อาราม ล้างเท้าด้วยน้ำฉัน ไม่ไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่กว่า ไม่ถาม ถึงเสนาสนะ งูตกลงมา ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักพากันโพนทะนา พระผู้มีพระภาค ทรงบัญญัติว่า ภิกษุอาคันตุกะจะเข้าอาราม พึงถอดรองเท้า ลดร่ม ห่มลดไหล่ เข้าอารามไม่ต้องรีบร้อน พึงสังเกตว่า เจ้าถิ่นประชุมกันที่ไหน พึงวางบาตรจีวร ไว้ที่แห่งหนึ่ง ถืออาสนะที่สมควร ถามถึงน้ำฉันน้ำใช้ พึงล้างเท้า พึงเช็ดรอง- *เท้า ด้วยผ้าแห้งก่อน ด้วยผ้าเปียกทีหลัง พึงไหว้ภิกษุเจ้าถิ่นผู้แก่กว่า พึงให้ ภิกษุเจ้าถิ่นผู้อ่อนกว่าไหว้ พึงถามเสนาสนะ ทั้งที่มีภิกษุอยู่ หรือไม่มีภิกษุอยู่ พึงถามถึงโคจรคาม และอโคจรคาม สกุลที่ได้รับสมมติว่าเป็นเสกขะ ที่ถ่าย อุจจาระ ที่ถ่ายปัสสาวะ น้ำฉัน น้ำใช้ ไม้เท้า กติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่าควรเข้าเวลา เท่าไร พึงรอสักครู่หนึ่ง วิหารมีหยากเยื่อต้องชำระ ก่อนชำระ ต้องขนเครื่อง ลาดพื้น เขียงรองเท้าเตียง ฟูก หมอน เตียง ตั่ง กระโถน พนักอิง พึงกวาด หยากเยื่อแต่เพดานลงมาก่อน พึงเช็ดกรอบหน้าต่าง ประตู และมุมห้อง ฝา ทาน้ำมันขึ้นรา พื้นทาสีดำ พึงเอาผ้าชุบน้ำเช็ด พื้นไม่ได้ทำ พึงเอาน้ำพรมแล้ว กวาดเสีย พึงกวาดหยากเยื่อทิ้ง เครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้าเตียง เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ผ้าปูนอน กระโถน พนักอิง ผึ่งแดดแล้วเก็บไว้ที่เดิม พึงเก็บบาตร จีวร อย่าวางบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง พึงเก็บจีวรให้ชายอยู่ด้าน นอก ขนดอยู่ด้านใน มีลมพัดมาทางทิศตะวันออก ตะวันตก ทิศเหนือ หรือ ทิศใต้ พึงปิดหน้าต่างทางทิศนั้นๆ ฤดูหนาว กลางวันพึงเปิดหน้าต่าง กลางคืน พึงปิด ฤดูร้อน กลางวันพึงปิดหน้าต่าง กลางคืนพึงเปิด พึงกวาดบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ และวัจจกุฎี พึงตักน้ำฉัน น้ำใช้ และน้ำในหม้อชำระ อาคันตุกวัตรดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงพระคุณหาที่เปรียบมิได้ ทรง บัญญัติแล้ว เรื่องภิกษุเจ้าถิ่น ไม่ปูอาสนะ ไม่ตั้งน้ำล้างเท้า ไม่ลุกรับ ไม่ถามด้วย น้ำฉัน น้ำใช้ ไม่ไหว้ ไม่จัดเสนาสนะให้ บรรดาภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักพากัน โพนทะนา ภิกษุเจ้าถิ่นเห็นพระอาคันตุกะผู้แก่กว่า พึงปูอาสนะ ตั้งน้ำ ลุกรับ ถาม ด้วยน้ำฉัน น้ำใช้ เช็ดรองเท้าให้ ซักผ้าเช็ดรองเท้าผึ่งไว้ ณ ที่ควรแห่งหนึ่ง พึงไหว้พระอาคันตุกะผู้แก่กว่า พึงจัดเสนาสนะถวาย พึงบอกเสนาสนะที่มีภิกษุ อยู่ หรือไม่มีภิกษุอยู่ พึงบอกโคจรคาม และอโคจรคาม สกุลที่เป็นเสกขสมมติ ฐาน น้ำฉัน น้ำใช้ ไม้เท้า และพึงบอกกติกาสงฆ์ที่ตั้งไว้ว่า เวลานี้ควรเข้า ควรออก พระอาคันตุกะอ่อนพรรษากว่าพึงนั่งบอก พึงแนะนำพระอาคันตุกะผู้ อ่อนพรรษาให้อภิวาท พึงบอกเสนาสนะ นอกนั้นเหมือนนัยหนหลัง อาวาสิก- *วัตรดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระภาคผู้ทรงนำหมู่ ทรงแสดงแล้ว เรื่องภิกษุผู้เตรียมจะไป ไม่เก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน เปิดประตู หน้า- *ต่างทิ้งไว้ ไม่มอบหมายเสนาสนะ เครื่องไม้ เครื่องดินเสียหาย เสนาสนะไม่มี ใครรักษา บรรดาภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักพากันโพนทะนา ภิกษุผู้เตรียมจะไป พึงเก็บเครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตู หน้าต่าง มอบหมายเสนาสนะแล้วจึงหลีกไป พึงมอบหมาย ภิกษุสามเณร คนวัด หรือ หรืออุบาสกก็ได้ พึงยกเตียงขึ้นวางไว้บนศิลากองเครื่องเสนาสนะไว้ข้างบน เก็บ เครื่องไม้ เครื่องดิน ปิดประตู หน้าต่าง ถ้าวิหารฝนรั่ว ภิกษุผู้เตรียมจะไป อุตสาหะอยู่ พึงมุงหรือพึงทำความขวนขวาย ในวิหารที่ฝนไม่รั่วก็เหมือนกัน ถ้าวิหารฝนรั่วทุกแห่ง พึงขนเครื่องเสนาสนะเข้าบ้าน ในที่แจ้งก็เหมือนกัน ด้วย คิดว่าอย่างไรเสีย ส่วนของเตียง ตั่งก็คงเหลืออยู่บ้าง นี้เป็นวัตรอันภิกษุผู้เตรียม จะไปพึงประพฤติ เรื่องภิกษุทั้งหลายไม่อนุโมทนา พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตให้พระเถระ อนุโมทนา ภิกษุทั้งหลายเหลือพระเถระไว้รูปเดียว พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาต ให้พระเถรานุเถระรออยู่ ๔-๕ รูป พระเถระรูปหนึ่งปวดอุจจาระ กลั้นจนสลบ ลง นี้เป็นวัตรในการอนุโมทนา เรื่องพระฉัพพัคคีย์นุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาท เดินแซง นั่งเบียด เสียดพระเถระ เกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ นั่งทับสังฆาฏิ ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รักพา กันโพนทะนา ภิกษุพึงนุ่งห่มปกปิดมณฑลสาม คาดประคดเอว ห่มผ้า ๒ ชั้น กลัดลูกดุม ไม่เดินแซง พึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี มีตาทอดลง ไม่ เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น พึงมีเสียงน้อย ไม่โยกกาย ไม่ไกวแขน ไม่โคลงศีรษะ ไม่ค้ำกลาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระหย่ง ปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี มี ตาทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น มีเสียงน้อย ไม่โยกกาย ไม่ไกวแขน ไม่ โคลงศีรษะ ไม่ค้ำกาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่นั่งรัดเข่า ไม่นั่งเบียดเสียดพระเถระ ไม่เกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ไม่นั่งทับสังฆาฏิ เมื่อเขาถวายน้ำ พึงรับไปล้าง บาตรถือต่ำๆ พึงค่อยๆ เทน้ำลงในกระโถน ด้วยคิดว่ากระโถนอย่าเลอะเทอะ ภิกษุใกล้เคียงอย่าถูกน้ำกระเซ็น ผ้าสังฆาฏิอย่าถูกน้ำกระเซ็น เมื่อเขาถวาย ข้าวสุก พึงประคองบาตรรับ พึงไว้โอกาสสำหรับแกง ถ้ามีเนยใส น้ำมัน หรือ แกงอ่อม พระเถระพึงบอกว่า จงถวายภิกษุทุกรูปเท่าๆ กัน พึงรับบิณฑบาต โดยเคารพ พึงมีความสำคัญในบาตร พึงรับบิณฑบาตพอสมกับแกง พอเสมอ ขอบปากบาตร พระเถระไม่พึงฉันก่อนในเมื่อข้าวสุกยังไม่ทั่วถึงภิกษุทุกรูป พึง ฉันบิณฑบาตโดยเคารพ พึงมีความสำคัญในบาตรฉัน พึงฉันบิณฑบาตตาม ลำดับ พึงฉันพอสมกับแกง ไม่พึงฉันขยุ้มแต่ยอดลงไป ไม่พึงฉันกลบแกงหรือ กับข้าว ไม่พึงขอแกง หรือกับข้าวมาฉัน ไม่พึงแลดูบาตรของภิกษุอื่นด้วยมุ่งจะ ยกโทษ ไม่พึงทำคำข้าวให้ใหญ่ พึงทำคำข้าวให้กลมกล่อม ไม่พึงอ้าปากไว้คอย ท่า ไม่พึงสอดมือทั้งหมดเข้าปาก ไม่พึงพูดทั้งคำข้าวยังอยู่ในปาก ไม่พึงฉันโยน คำข้าว ไม่พึงฉันกัดคำข้าว ไม่พึงฉันทำแก้มให้ตุ่ย ไม่พึงฉันสลัดมือ ไม่พึงฉัน ทำเมล็ดข้าวตก ไม่พึงฉันแลบลิ้น ไม่พึงฉันทำเสียงดังจั๊บๆ ไม่พึงฉันทำเสียง ซู๊ดๆ ไม่พึงฉันเลียมือ ไม่พึงฉันขอดบาตร ไม่พึงฉันเลียริมฝีปาก ไม่พึงรับ ขันน้ำด้วยมือเปื้อนอามิส พระเถระไม่พึงรับน้ำก่อนที่ภิกษุทั้งหมดยังฉันไม่เสร็จ พึงค่อยๆ ล้างบาตร พึงค่อยๆ เทน้ำลงในกระโถนอย่าให้กระโถนเลอะเทอะ อย่าให้กระเซ็นถูกภิกษุใกล้เคียง อย่าให้กระเซ็นถูกสังฆาฏิ พึงค่อยๆ เทน้ำลง บนพื้นดิน ไม่พึงเทน้ำล้างบาตรมีเมล็ดข้าว เมื่อกลับ ภิกษุใหม่พึงกลับก่อน พระเถระพึงกลับทีหลัง พึงปกปิดกายด้วยดี ไม่พึงเดินกระหย่ง ภัตตัคควัตร ดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มีพระภาคผู้เป็นธรรมราชาทรงบัญญัติไว้แล้ว เรื่องภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาตนุ่งห่มไม่เรียบร้อย ไม่มีมรรยาทเข้าบ้าน ออก จากบ้านไม่กำหนด เข้าออกรีบร้อนเกินไป ยืนไกลเกินไป ใกล้เกินไป นานเกิน ไปกลับเร็วเกินไป ภิกษุถือเที่ยวบิณฑบาตอีกรูปหนึ่งก็เป็นเช่นนั้น ภิกษุถือเที่ยว บิณฑบาต จะเข้าบ้านพึงปกปิดกายด้วยดี สำรวมด้วยดี มีตาทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่ หัวเราะลั่น มีเสียงน้อย ไม่โยกกาย ไม่ไกวแขน ไม่โคลงศีรษะ ไม่ค้ำกาย ไม่คลุม ศีรษะ ไม่เดินกระหย่ง พึงสังเกตก่อน อย่ารีบร้อนเข้าออก อย่ายืนไกลนัก ใกล้นัก นานนัก อย่ากลับเร็วนัก พึงยืนกำหนดว่า เขาพักการงาน ลุกจากที่นั่ง จับทัพพี จับภาชนะตั้งไว้หรือไม่ พึงแหวกผ้าซ้อนประคองบาตรรับภิกษา ขณะรับไม่พึง มองดูหน้าผู้ถวาย แม้ในแกงก็พึงกำหนดเช่นนั้นเหมือนกัน เมื่อเขาถวายภิกษา แล้ว ภิกษุพึงคลุมบาตรด้วยผ้าซ้อนกลับไป พึงปกปิดกายด้วยดีเดินไป พึงสำ รวมด้วยดี มีตาทอดลง ไม่เวิกผ้า ไม่หัวเราะลั่น มีเสียงน้อย ไม่โยกกาย ไม่ ไกวแขน ไม่โคลงศีรษะ ไม่ค้ำกาย ไม่คลุมศีรษะ ไม่เดินกระหย่ง รูปใดกลับก่อน พึงปูอาสนะไว้ จัดกระโถนไว้ เตรียมน้ำฉันน้ำใช้ไว้ รูปใดกลับทีหลังประสงค์จะ ฉันก็พึงฉัน ถ้าไม่ประสงค์ก็พึงเททิ้ง พึงเก็บอาสนะน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้า เก็บน้ำฉันน้ำใช้ กวาดโรงฉัน รูปใดเห็นหม้อน้ำฉัน น้ำใช้ หม้อน้ำชำระว่างเปล่า พึงจัดตั้งไว้ ถ้าเป็นการสุดวิสัยพึงกวักมือเรียกเพื่อนมาช่วย แต่ไม่พึงเปล่งวาจา นี้เป็นบิณฑปาติกวัตร เรื่องภิกษุอยู่ป่า ไม่เตรียมน้ำฉัน น้ำใช้ ไฟ ไม้สีไฟ ไม่รู้นักษัตร ไม่รู้ ทิศ พวกโจรถามก็ตอบว่า ไม่มี ไม่รู้ทุกอย่าง จึงถูกทุบตี ภิกษุที่อยู่ป่า พึงเข้า ถุงบาตรคล้องบ่า พาดจีวรบนไหล่ ครั้นจะเข้าบ้าน พึงถอดรองเท้าใส่ถุงคล้องบ่า ปกปิดมณฑลสาม นุ่งห่มให้เป็นปริมณฑล แม้ในอารัญญกวัตร ก็มีนัยเหมือน บิณฑจาริกวัตรออกจากบ้านแล้ว พึงเข้าถุงบาตรคล้องบ่า พับจีวรวางบนศีรษะ สวมรองเท้าเดินไป พึงเตรียมน้ำฉัน น้ำใช้ ไฟ ไม้สีไฟ ไม้เท้าเรียนนักษัตร ทั้งสิ้นหรือบางส่วน พึงเป็นผู้ฉลาดในทิศ อารัญญกวัตรดังกล่าวมานี้ อันพระผู้มี พระภาคผู้สูงสุดกว่าหมู่สัตว์ทรงบัญญัติแล้ว เรื่องภิกษุมากรูปทำจีวรในที่แจ้ง ถูกธุลีกลบ ภิกษุผู้มีศีลเป็นที่รัก พา กันโพนทะนา ถ้าวิหารรก เมื่อจะชำระ ชั้นต้นพึงขนบาตรจีวรออก ขนฟูก หมอน เตียง ตั่ง กระโถน พนักอิง ออกไป พึงกวาดหยากเยื่อลงจากเพดานพึงเช็ด กรอบประตู หน้าต่าง และมุมห้อง ฝาทาน้ำมันขึ้นรา พื้นทาสีดำ พื้นไม่ได้ทำ พึง เช็ดทำให้สะอาดพึงกวาดหยากเยื่อทิ้งเสีย ไม่พึงเคาะเสนาสนะใกล้ภิกษุ วิหารน้ำ ฉัน น้ำใช้ ไม่พึงเคาะเสนาสนะในที่สูง เหนือลม ใต้ลม เครื่องลาดพื้น เขียง รองเท้าเตียง เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้านิสีทนะ กระโถน พนักอิง พึงตาก ชำระ เก็บไว้ตามเดิม เก็บบาตร จีวร บาตรอย่าวางบนพื้นที่ปราศจากเครื่องรอง จีวรต้องพาดชายไว้ด้านนอก ขนดไว้ด้านใน ลมทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ฤดูหนาว กลางวันเปิดหน้าต่าง กลางคืนปิด ฤดูร้อน กลางวัน ปิดหน้าต่าง กลางคืนเปิด กวาดบริเวณ ซุ้มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎีตักน้ำ ฉัน น้ำใช้มาตั้งไว้ ตักน้ำมาใส่หม้อน้ำชำระไว้ อยู่กับภิกษุผู้แก่กว่า ยังไม่ได้ บอกกล่าว อย่าให้อุเทศ ปริปุจฉา อย่าสาธยาย อย่ากล่าวธรรม อย่าตามประทีป อย่าเปิดหน้าต่าง อย่าปิดหน้าต่าง พึงเดินตามภิกษุผู้แก่กว่า อย่ากระทบแม้ด้วย ชายผ้า พระผู้มีพระภาคผู้มหาวีระ ทรงบัญญัติเสนาสนะวัตรนั้นไว้แล้ว เรื่องพระฉัพพัคคีย์ถูกพระเถระห้าม ปิดประตู พระเถระสลบภิกษุผู้มีศีล เป็นที่รักพากันโพนทะนา ภิกษุพึงเทเถ้าทิ้งเสีย กวาดเรือนไฟ ชานภายนอก บริเวณ ซุ้มประตู ศาลาเรือนไฟ บดจุณแช่ดิน ตักน้ำไว้ในรางน้ำ เอาดิน เหนียวทาหน้า ปิดทั้งข้างหน้า ทั้งข้างหลัง ไม่นั่งเบียดเสียดพระเถระ ไม่เกียด กันอาสนะภิกษุใหม่ ถ้าอุตสาหะ พึงทำบริกรรมแก่พระเถระในเรือนไฟ อย่าอาบน้ำ น้ำข้างหน้าเหนือ น้ำให้หนทาง เรือนไฟเปรอะเปื้อน รางแช่ดิน เก็บตั่งดับไฟ เปิดประตู นี้ชันตาฆรวัตร เรื่องภิกษุถ่ายอุจจาระแล้วไม่ชำระ ถ่ายอุจจาระตามลำดับผู้แก่กว่า ทรง อนุญาตให้ถ่ายตามลำดับผู้มาถึง พระฉัพพัคคีย์เข้าวัจจกุฎีเร็วบ้าง เวิกผ้านุ่งเข้าไป บ้าง ถอนหายใจใหญ่พลางถ่ายอุจจาระบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันบ้าง ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะออกนอกรางบ้าง บ้วนเขฬะลงในรางบ้าง ใช้ไม้ชำระหยาบบ้าง ทิ้งไม้ชำระ ลงในช่องถ่ายอุจจาระบ้าง ออกมาเร็วเกินบ้าง เวิกผ้าออกมาบ้าง ชำระมีเสียงดัง จะปุจะปุบ้าง เหลือน้ำไว้ในกระบอกชำระบ้าง ภิกษุยืนอยู่ข้างนอกพึงกระแอม ภิกษุ อยู่ข้างในพึงกระแอมรับ พึงพาดจีวรไว้บนราว สายระเดียง อย่ารีบด่วนเข้าไป อย่าเวิกผ้าเข้าไป พึงยืนบนเขียง อย่าถอนหายใจใหญ่ อย่าเคี้ยวไม้ชำระฟัน อย่าถ่ายอุจจาระปัสสาวะนอกราง อย่าบ้วนเขฬะลงในราง อย่าใช้ไม้ชำระหยาบ อย่าทิ้งไม้ชำระลงในช่องถ่าย พึงยืนบนเขียงถ่าย ปิดผ้า อย่าออกมาให้เร็วนัก อย่า เวิกผ้าออกมา ยืนบนเขียงถ่ายแล้วจึงปิด อย่าชำระให้มีเสียงดังจะปุจะปุ อย่า เหลือน้ำชำระไว้ ยืนบนเขียงถ่ายแล้วจึงเวิกผ้า วัจจกุฎีเปรอะเปื้อน ต้องชำระให้ สะอาด ตะกร้าไม้ชำระเต็มพึงเทเสีย วัจจกุฎี ชานภายนอก บริเวณ ซุ้มประตู พึงตักน้ำใส่ในหม้อชำระ นี้วัจจกุฎีวัตร เรื่องสัทธิวิหาริก ถอดรองเท้า ถวายไม้ชำระฟัน น้ำล้างหน้า ปูอาสนะ ถวายยาคู น้ำ ล้างภาชนะ เก็บอาสนะ ที่รกเข้าบ้าน ถวายผ้านุ่ง ประคดเอว ผ้าซ้อนสองชั้น บาตรพร้อมทั้งน้ำ ปัจฉาสมณะ ปิดมณฑลสาม นุ่งให้เป็นปริ- *มณฑล คาดประคดเอวซ้อนผ้าสองชั้น ล้างบาตร เป็นปัจฉาสมณะ เดินไม่ไกล ไม่ชิดนัก รับของในบาตร พระอุปัชฌายะกำลังพูด กล่าวถ้อยคำล่อแหลมต่อ อาบัติ กลับมาก่อน ปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่งรองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าลุกไป รับ ถวายผ้านุ่งผลัด ผึ่งที่แดด อย่าผึ่งทิ้งไว้ รอยพับ สอดประคดเอวไว้ในขนด อุปัชฌายะจะฉันพึงน้อมบิณฑบาตถวาย ถามถึงน้ำ ฉันถวายน้ำ รับบาตรมาถือต่ำๆ ผึ่งแดดไว้ครู่หนึ่ง อย่าผึ่งทิ้งไว้ อย่าเก็บบาตรไว้บนพื้นที่ปราศจากเครื่องรองพาด ชายไว้ข้างนอก ขนดไว้ข้างใน เก็บอาสนะ เก็บน้ำล้างเท้ากวาดที่รก พระอุปัชฌายะ จะสรงน้ำ ถวายน้ำเย็น น้ำร้อน เรือนไฟ บดจุณ แช่ดิน ตามหลังเข้าไป ถวายตั่ง รับจีวร ถวายจุณ ถวายดิน ถ้าอุตสาหะ ทาหน้า ปิดข้างหน้าข้างหลัง ไม่นั่งเบียดพระเถระ ไม่เกียดกันอาสนะภิกษุใหม่ ทำบริกรรม ออกจากเรือนไฟ ปิดข้างหน้าข้างหลัง ทำบริกรรมในน้ำ อาบน้ำแล้วพึงขึ้นก่อน นุ่งผ้า เช็ดตัว อุปัชฌายะถวายผ้านุ่ง ผ้าสังฆาฏิ ถือตั่งเรือนไฟ ปูอาสนะไว้ ตั้งน้ำล้างเท้า ตั่ง รองเท้า กระเบื้องเช็ดเท้าไว้ ถามถึงน้ำฉัน เรียนบาลีอรรถกถา ถ้าอุตสาหะ พึง ปัดกวาดวิหารที่รก ก่อนปัดกวาดพึงขนบาตรจีวร ผ้าปูนั่ง ปูนอน ฟูก หมอน เตียงตั่ง เขียงรองเท้าเตียง กระโถน พนักอิง เครื่องลาดพื้นออกไป พึงกวาดหยากไย่ แต่เพดานลงมา เช็ดกรอบประตูหน้าต่าง ฝาทาน้ำมัน พื้นทาสีดำ พื้นไม่ได้ทำ พึง เก็บเครื่องลาดพื้น เขียงรองเท้าเตียง เตียง ตั่ง ฟูก หมอน ผ้าปูนั่ง ปูนอน กระโถน พนักอิง เก็บบาตรจีวร ลมทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ ฤดู หนาว ฤดูร้อน กลางวัน กลางคืน บริเวณ ซุ่มน้ำ โรงฉัน โรงไฟ วัจจกุฎี ตักน้ำฉัน น้ำใช้ น้ำชำระ พระอุปัชฌายะกระสัน รำคาญ เห็นผิด ต้องครุกาบัติ ควรมูลายปฏิกัสสนา มานัต อัพภาน ถ้าถูกลงตัชชนียกรรม นิยสกรรม ปัพพาชนียกรรม ปฏิสารณียกรรม และอุกเขปนียกรรม จีวรของพระอุปัชฌายะควร ซัก ทำ ย้อม พึงซัก ทำ ย้อมให้พลิกกลับไปกลับมา รับบาตร จีวร และบริขาร โกนผม ทำบริกรรม ทำความขวนขวายเป็นปัจฉาสมณะ ให้บิณฑบาต เข้าบ้าน อย่าไปป่าช้า อย่าไปสู่ทิศพระอุปัชฌายะอาพาธ ต้องพยาบาลตลอดชีวิต วัตรดัง กล่าวมานี้เป็นอุปัชฌายวัตร อันสัทธิวิหาริกพึงประพฤติชอบ เรื่องอุปัชฌายะสงเคราะห์ด้วยโอวาท อนุศาสนี อุเทศ ปริปุจฉา บาตร จีวร และบริขาร คราวอาพาธ ไม่พึงเป็นปัจฉาสมณะ อุปัชฌายวัตรฉันใด แม้อาจริย- *วัตรก็ฉันนั้น สิทธิวิหาริกวัตรฉันใด อันเตวาสิกวัตรก็ฉันนั้น อาคันตุกวัตรฉันใด อาวาสิกวัตรก็ฉันนั้น คมิกวัตร อนุโนทนาวัตร ภัตตัคควัตร บิณฑปาติกวัตร อารัญญกวัตร เสนาสนวัตร ชันตาฆรวัตร วัจจกุฎีวัตร อุปัชฌายวัตร สัทธิ- *วิหาริกวัตร อาจริยวัตร อันเตวาสิกวัตร เหมือนกันในขันธกะนี้ มี ๑๙ เรื่อง ๑๔ วัตร ภิกษุผู้ไม่บำเพ็ญวัตร ชื่อว่าไม่บำเพ็ญศีล ผู้มีศีลไม่บริสุทธิ์ ทรามปัญญา ย่อมไม่ประสพเอกัคคตาจิต ผู้มีจิตฟุ้งซ่าน มีอารมณ์มาก ย่อมไม่เห็นธรรมโดย ชอบ เมื่อไม่เห็นพระสัทธรรม ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ ภิกษุผู้บำเพ็ญวัตร ชื่อว่า บำเพ็ญศีล ผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญา ย่อมประสพเอกัคคตาจิต ผู้มีจิตไม่ฟุ้งซ่านมี มีอารมณ์อย่างเดียว ย่อมเห็นธรรมโดยชอบ เมื่อเห็นพระสัทธรรมย่อมพ้นจาก ทุกข์ได้ เพราะเหตุนั้นแล โอรสของพระชินเจ้า ผู้มีปัญญาเห็นประจักษ์ พึง บำเพ็ญวัตร อันเป็นพระโอวาทของพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ แต่นั้นจักถึงพระ นิพพาน ดังนี้แล ฯ
หัวข้อประจำขันธกะ จบ
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๕๑๗๖-๕๓๕๙ หน้าที่ ๒๑๔-๒๒๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=7&A=5176&Z=5359&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=7&item=446&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=7&item=446&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=7&item=446&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=7&item=446&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=7&i=446              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๗ https://84000.org/tipitaka/read/?index_7 https://84000.org/tipitaka/english/?index_7

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]