บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ | |
ฉบับภาษาไทย บาลีอักษรไทย บาลีอักษรโรมัน |
ทุติยสังฆเภทวรรคที่ ๑๒ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ไม่มีโทษ [๑๒๑๗] อุ ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์เท่าไรหนอแล เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า? พ. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง? ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็น อธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่อำพรางความเห็นด้วยกรรม ๑ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ ไม่เป็นผู้ไปอบาย ไม่ ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง? ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่อำพรางความเห็นด้วยอุเทศ ๑ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง? ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ชี้แจงไม่อำพรางความเห็น ๑ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยามิได้ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้. องค์ ๕ อะไรบ้าง? ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็น อธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่อำพรางความเห็นด้วยสวด ประกาศ ๑ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็นอธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่อำพรางความเห็นด้วยให้จับสลาก ๑ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตก นรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง? ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็น อธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่อำพรางความถูกใจด้วย กรรม ๑ ... ... ไม่อำพรางความถูกใจด้วยอุเทศ ... ... ชี้แจงไม่อำพรางความถูกใจ ... ... ไม่อำพรางความถูกใจด้วยสวดประกาศ ... ... ไม่อำพรางความถูกใจด้วยให้จับสลาก ... ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตก นรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๔ อะไรบ้าง? ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็น อธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่อำพรางความชอบใจด้วย กรรม ๑ ... ... ไม่อำพรางความชอบใจด้วยอุเทศ ... ... ชี้แจงไม่อำพรางความชอบใจ ... ... ไม่อำพรางความชอบใจด้วยสวดประกาศ ... ... ไม่อำพรางความชอบใจด้วยให้จับสลาก ... ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้. ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ แม้อื่นอีก ๕ เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้ องค์ ๕ อะไรบ้าง? ดูกรอุบาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ แสดงอธรรมว่าเป็นธรรม ๑ แสดงธรรมว่าเป็น อธรรม ๑ แสดงอวินัยว่าเป็นวินัย ๑ แสดงวินัยว่าเป็นอวินัย ๑ ไม่อำพรางสัญญาด้วยกรรม ๑ ... ไม่อำพรางสัญญาด้วยอุเทศ ... ... ชี้แจงไม่อำพรางสัญญา ... ... ไม่อำพรางสัญญาด้วยสวดประกาศ ... ... ไม่อำพรางสัญญาด้วยให้จับสลาก ... ดูกรอุบาลี ภิกษุผู้ทำลายสงฆ์ ประกอบด้วยองค์ ๕ นี้แล เป็นผู้ไม่ไปอบาย ไม่ตกนรก ไม่อยู่ชั่วกัป มิใช่เยียวยาไม่ได้.ทุติยสังฆเภทวรรค ที่ ๑๒ จบ ----------------------------------------------------- หัวข้อประจำวรรค [๑๒๑๘] ไม่อำพรางความเห็นด้วยกรรม อุเทศ ชี้แจง สวดประกาศและให้จับสลาก รวม ๕ นี้อิงความเห็น ความถูกใจ ความชอบใจ และสัญญา ๓ อย่างนี้ มีนัยตามแนว ๕ อย่าง นั้น ขอท่านทั้งหลาย จงรู้วิธี ๒๐ ถ้วนในฝ่ายขาว เหมือนวิธี ๒๐ ถ้วน ในฝ่ายดำข้างหลัง ฉะนั้นเทอญ. ฯเนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๒๑๘๖-๑๒๒๕๙ หน้าที่ ๔๖๙-๔๗๑. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=12186&Z=12259&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1217&items=2 อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1217&items=2&mode=bracket อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1217&items=2 อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1217&items=2 ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1217 สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8
บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]