ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๘ ปริวาร
ปัญจวรรค
กรรมวรรคที่ ๑
กรรม ๔
[๑๓๔๐] กรรม ๔ อย่าง คือ อปโลกนกรรม ๑ ญัตติกรรม ๑ ญัตติทุติยกรรม ๑ ญัตติจตุตถกรรม ๑. ถามว่า กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการเท่าไร? ตอบว่า กรรม ๔ อย่างนี้ ย่อมวิบัติโดยอาการ ๕ คือ โดยวัตถุ ๑ โดยญัตติ ๑ โดยอนุสาวนา ๑ โดยสีมา ๑ โดยบริษัท ๑.
วัตถุวิบัติ
[๑๓๔๑] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยวัตถุ อย่างไร? ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยวัตถุอย่างนี้คือ กรรมที่ควรทำพร้อมหน้า แต่สงฆ์ทำลับ- *หลัง ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ กรรมที่ควรสอบถามก่อนทำ แต่สงฆ์ไม่สอบถามก่อนทำ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ กรรมที่ควรทำตามปฏิญญา แต่สงฆ์ไม่ทำตามปฏิญญา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติ โดยวัตถุ สงฆ์ให้อมูฬหวินัย แก่ภิกษุผู้ควรสติวินัย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ทำตัสสปาปิยสิกากรรม แก่ภิกษุผู้ควรอมูฬหวินัย ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ทำตัชชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัสสปาปิยสิกากรรม ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ทำนิยสกรรม แก่ภิกษุผู้ควรตัชชนียกรรม ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดย วัตถุ สงฆ์ทำปัพพาชนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรนิยสกรรม ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดย วัตถุ สงฆ์ทำปฏิสารณียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปัพพาชนียกรรม ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ทำอุกเขปนียกรรม แก่ภิกษุผู้ควรปฏิสารณียกรรม ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติ โดยวัตถุ สงฆ์ให้ปริวาส แก่ภิกษุผู้ควรอุกเขปนียกรรม ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ชักภิกษุผู้ควรปริวาสเข้าหาอาบัติเดิม ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้มานัตแก่ภิกษุผู้ควรชักเข้าหาอาบัติเดิม ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์อัพภานภิกษุผู้ควรมานัต ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้ภิกษุผู้ควรอัพภานอุปสมบท ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ทำอุโบสถในวันมิใช่อุโบสถ ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ปวารณาในวันมิใช่ปวารณา ชื่อว่ากรรมไม่เป็นธรรม วิบัติโดยวัตถุ อย่างนี้ กรรมย่อมวิบัติโดยวัตถุ.
ญัตติวิบัติ
[๑๓๔๒] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติ อย่างไร? ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติ ด้วยอาการ ๕ คือ:- ๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์ ๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ไม่ระบุญัตติ ๕. ตั้งญัตติภายหลัง กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติ ด้วยอาการ ๕ นี้.
อนุสาวนาวิบัติ
[๑๓๔๓] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนา อย่างไร? ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนา ด้วยอาการ ๕ คือ:- ๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์ ๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ทิ้งญัตติ ๕. สวดในกาลไม่ควร กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนา ด้วยอาการ ๕ นี้.
สีมาวิบัติ
[๑๓๔๔] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยสีมา อย่างไร? ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยสีมา ด้วยอาการ ๑๑ อย่าง คือ:- ๑. สมมติสีมาเล็กเกิน ๒. สมมติสีมาใหญ่เกิน ๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔. สมมติสีมาใช้เงาเป็นนิมิต ๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต ๖. ภิกษุอยู่ภายนอกสีมาสมมติสีมา ๗. สมมติสีมาในนที ๘. สมมติสีมาในสมุทร ๙. สมมติสีมาในชาตสระ ๑๐. คาบเกี่ยวสีมาด้วยสีมา ๑๑. ทับสีมาด้วยสีมา กรรมย่อมวิบัติโดยสีมา ด้วยอาการ ๑๑ อย่างนี้.
บริษัทวิบัติ
[๑๓๔๕] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัท อย่างไร? ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัทด้วยอาการ ๑๒ อย่าง คือ:- ๑. ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวก เธอยังไม่มา, ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา, ภิกษุอยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๒. ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวก เธอมาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๓. ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวก เธอมาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน. ๔. ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวก เธอยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๕. ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวก เธอมาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๖. ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวก เธอมาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๗. ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวก เธอยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๘. ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวกเธอ มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๙. ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวกเธอ มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๑๐. ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวก เธอยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๑๑. ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวก เธอมาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๑๒. ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวก เธอมาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน.
กรรมวิบัติโดยบริษัท ด้วยอาการ ๑๒ นี้.
-----------------------------------------------------
กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำเป็นต้น
[๑๓๔๖] ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๔ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะนอกนั้น เป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และ ไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๕ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะนอก นั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่ เป็นผู้ควรกรรม ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๑๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ นอกนั้น เป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควร ฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๒๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ นอกนั้น เป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควร ฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม.
กรรม ๔
[๑๓๔๗] กรรม ๔ คือ ๑. อปโลกนกรรม ๒. ญัตติกรรม ๓. ญัตติทุติยกรรม ๔. ญัตติจตุตถกรรม. ถามว่า กรรม ๔ นี้ ย่อมวิบัติ โดยอาการเท่าไร? ตอบว่า กรรม ๔ นี้ ย่อมวิบัติ โดยอาการ ๕ คือ:- ๑. โดยวัตถุ ๒. โดยญัตติ ๓. โดยอนุสาวนา ๔. โดยสีมา ๕. โดยบริษัท
วัตถุวิบัติ
[๑๓๔๘] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยวัตถุ อย่างไร? ตอบว่า สงฆ์ให้บัณเฑาะก์อุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนไถยสังวาสอุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้เข้ารีตเดียรถีย์อุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้ดิรัจฉานอุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้ฆ่ามารดาอุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้ฆ่าบิดาอุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้ฆ่าพระอรหันต์อุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้ประทุษร้ายภิกษุณีอุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้ทำลายสงฆ์อุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้ยังพระโลหิตห้ออุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้สองเพศอุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ สงฆ์ให้คนผู้มีอายุหย่อน ๒๐ ปีอุปสมบท ชื่อว่ากรรมเป็นอธรรม วิบัติโดยวัตถุ อย่างนี้ กรรมย่อมวิบัติโดยวัตถุ.
ญัตติวิบัติ
[๑๓๔๙] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติ อย่างไร? ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติ ด้วยอาการ ๕ คือ:- ๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์ ๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ไม่ระบุญัตติ ๕. ตั้งญัตติภายหลัง กรรมย่อมวิบัติโดยญัตติ ด้วยอาการ ๕ นี้.
อนุสาวนาวิบัติ
[๑๓๕๐] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนาอย่างไร? ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนา ด้วยอาการ ๕ คือ:- ๑. ไม่ระบุวัตถุ ๒. ไม่ระบุสงฆ์ ๓. ไม่ระบุบุคคล ๔. ทิ้งญัตติ ๕. สวดในกาลไม่ควร กรรมย่อมวิบัติโดยอนุสาวนา ด้วยอาการ ๕ นี้.
สีมาวิบัติ
[๑๓๕๑] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติโดยสีมาอย่างไร? ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยสีมา ด้วยอาการ ๑๑ อย่าง คือ:- ๑. สมมติสีมาเล็กเกิน ๒. สมมติสีมาใหญ่เกิน ๓. สมมติสีมามีนิมิตขาด ๔. สมมติสีมาใช้เงาเป็นนิมิต ๕. สมมติสีมาไม่มีนิมิต ๖. ภิกษุอยู่ภายนอกสีมาสมมติสีมา ๗. สมมติสีมาในนที ๘. สมมติสีมาในสมุทร ๙. สมมติสีมาในชาตสระ ๑๐. คาบเกี่ยวสีมาด้วยสีมา ๑๑. ทับสีมาด้วยสีมา กรรมย่อมวิบัติโดยสีมา ด้วยอาการ ๑๑ อย่างนี้.
บริษัทวิบัติ
[๑๓๕๒] ถามว่า กรรมย่อมวิบัติ โดยบริษัทอย่างไร? ตอบว่า กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัท ด้วยอาการ ๑๒ อย่าง คือ:- ๑. ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวกเธอ ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๒. ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวกเธอ มาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๓. ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวกเธอ มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๔. ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวกเธอยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๕. ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๖. ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวก เธอมาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๗. ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวกเธอ ยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๘. ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวก เธอมาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๙. ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวกเธอ มาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๑๐. ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวกเธอยังไม่มา ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๑๑. ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว แต่ไม่นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน ๑๒. ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุทั้งหลายที่เข้ากรรม มีจำนวนเท่าไร พวกเธอมาแล้ว นำฉันทะของภิกษุผู้ควรฉันทะมา แต่อยู่พร้อมหน้ากันคัดค้าน กรรมย่อมวิบัติโดยบริษัท ด้วยอาการ ๑๒ นี้.
อปโลกนกรรมเป็นต้น
[๑๓๕๓] ถามว่า อปโลกนกรรมถึงฐานะเท่าไร? ญัตติกรรมถึงฐานะเท่าไร? ญัตติ- *ทุติยกรรมถึงฐานะเท่าไร? ญัตติจตุตถกรรมถึงฐานะเท่าไร? ตอบว่า อปโลกนกรรมถึงฐานะ ๕ อย่าง ญัตติกรรมถึงฐานะ ๙ อย่าง ญัตติ ทุติยกรรมถึงฐานะ ๗ อย่าง ญัตติจตุตถกรรมถึงฐานะ ๗ อย่าง.
ฐานะแห่งอปโลกนกรรม
[๑๓๕๔] ถามว่า อปโลกนกรรมถึงฐานะ ๕ เป็นไฉน? ตอบว่า โอสารณ นิสสารณา ภัณฑุกรรม พรหมทัณฑ์ ทั้งกรรมลักษณะเป็น คำรบ ๕ อปโลกนกรรมถึงฐานะ ๕ นี้.
ฐานะแห่งญัตติกรรม
[๑๓๕๕] ถามว่า ญัตติกรรมถึงฐานะ ๙ เป็นไฉน? ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา อุโบสถ ปวารณา สมมติ การให้ การรับ การเลื่อนปวารณาออกไป ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๙ ญัตติกรรมถึงฐานะ ๙ นี้.
ฐานะแห่งญัตติทุติยกรรม
[๑๓๕๖] ถามว่า ญัตติทุติยกรรม ถึงฐานะ ๗ อย่าง เป็นไฉน? ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ การถอน การแสดง ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗ ญัตติทุติยกรรมถึงฐานะ ๗ นี้.
ฐานะแห่งญัตติจตุตถกรรม
[๑๓๕๗] ถามว่า ญัตติจตุตถกรรม ถึงฐานะ ๗ อย่าง เป็นไฉน? ตอบว่า โอสารณา นิสสารณา สมมติ การให้ นิคคหะ สมนุภาสน์ ทั้งกรรมลักษณะเป็นคำรบ ๗ ญัตติจตุตถกรรมถึงฐานะ ๗ นี้.
กรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำเป็นต้น
[๑๓๕๘] ในกรรมอันสงฆ์จตุวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๔ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะนอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และ ไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม ในกรรมอันสงฆ์ปัญจวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๕ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตะนอกนั้น เป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่ เป็นผู้ควรกรรม ในกรรมอันสงฆ์ทสวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๑๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะนอก นั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม ในกรรมอันสงฆ์วีสติวรรคพึงทำ ภิกษุปกตัตตะ ๒๐ รูป เป็นผู้เข้ากรรม ปกตัตตะ นอกนั้นเป็นผู้ควรฉันทะ สงฆ์ทำกรรมแก่ภิกษุใด ภิกษุนั้นไม่ใช่เป็นผู้เข้ากรรม และไม่ควรฉันทะ แต่เป็นผู้ควรกรรม.
กรรมวรรคที่ ๑ จบ.
-----------------------------------------------------

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ บรรทัดที่ ๑๒๙๙๑-๑๓๒๒๔ หน้าที่ ๕๐๑-๕๑๐. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=8&A=12991&Z=13224&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1340&items=19              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=8&item=1340&items=19&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=8&item=1340&items=19              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=8&item=1340&items=19              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=8&i=1340              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๘ https://84000.org/tipitaka/read/?index_8 https://84000.org/tipitaka/english/?index_8

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]