ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
     ฉบับภาษาไทย   บาลีอักษรไทย   บาลีอักษรโรมัน 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค
             [๒๔๙] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์
อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ในทิศใต้ เพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์
อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ เธอจึงเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก
และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศใต้ ข้อนั้น
เป็นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์
อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด
ในทิศใต้.
             ภิกษุเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก เพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง
เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด ในทิศตะวันตก เธอจึงเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร
ดูกรมหาลี ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อ
ฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศตะวันตก.
             ภิกษุเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ เพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง
เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่ง
ความกำหนัด ในทิศเหนือ เธอจึงเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบ
ด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี ข้อนั้น
เป็นเพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์
อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเหนือ.
             ภิกษุเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง
เพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และเพื่อฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ
ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง
เธอจึงเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความ
กำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และทิศเบื้องขวาง ข้อนั้นเพราะเหตุไร ดูกรมหาลี
ข้อนั้นเป็นเพราะเธอเจริญสมาธิโดยส่วนสอง เพื่อเห็นรูปทิพย์อันน่ารัก และฟังเสียงทิพย์
อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ในทิศเบื้องบน ทิศเบื้องต่ำ และ
ทิศเบื้องขวาง ดูกรมหาลี เหตุปัจจัยนี้แหละ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย สุนักขัตตลิจฉวีบุตรจึง
มิได้ยินเสียงทิพย์อันไพเราะ ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัดที่มีอยู่ มิใช่ไม่มี.
เหตุแห่งการทำให้แจ้งสมาธิภาวนา
[๒๕๐] โอ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุทั้งหลายเห็นจะประพฤติพรหมจรรย์ใน พระผู้มีพระภาค เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง ซึ่งสมาธิภาวนาเหล่านั้นเท่านั้น. ภ. ดูกรมหาลี มิใช่ภิกษุทั้งหลายจะประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง ซึ่งสมาธิภาวนาเหล่านั้นเท่านั้น ดูกรมหาลี ธรรมเหล่าอื่นที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่าและประณีตกว่ายังมีอยู่. โอ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมทั้งหลายที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่าและประณีตกว่านั้น เป็นไฉน? ภ. ดูกรมหาลี ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นโสดาบัน มีความเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็นธรรม เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า เพราะสัญโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป ดูกรมหาลี ธรรมนี้แล ที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่าและประณีตกว่า. [๒๕๑] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุเป็นสกทาคามี มาสู่โลกนี้เพียงอีกครั้งเดียว จะทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ เพราะสัญโยชน์ ๓ หมดสิ้นไป และเพราะราคะ โทสะ โมหะ เบาบางไป ดูกรมหาลี แม้นี้ก็เป็นธรรมที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่าและประณีตกว่า. [๒๕๒] ดูกรมหาลี ข้ออื่นยังมีอีก ภิกษุไปเกิดในภพสูง ปรินิพพานในภพนั้น ไม่ต้องเวียนกลับมาจากโลกนั้น เพราะสัญโยชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการหมดสิ้นไป ดูกรมหาลี แม้นี้ก็เป็นธรรมที่ภิกษุประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อเหตุจะทำให้แจ้ง อันดีกว่าและประณีตกว่า.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ บรรทัดที่ ๔๕๖๖-๔๖๑๕ หน้าที่ ๑๙๑-๑๙๓. https://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=9&A=4566&Z=4615&pagebreak=0 https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=9&item=249&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- https://84000.org/tipitaka/read/byitem.php?book=9&item=249&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรไทย :- https://84000.org/tipitaka/pali/pali_item.php?book=9&item=249&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรโรมัน :- https://84000.org/tipitaka/read/roman_item.php?book=9&item=249&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ที่ :- https://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=9&i=249              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ https://84000.org/tipitaka/read/?index_9 https://84000.org/tipitaka/english/?index_9

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖. บันทึกล่าสุด ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎก ฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]