ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
โจทก์ได้เห็น สั่งให้โจท
[๕๕๖] ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้า ได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน ได้รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ได้ยิน สั่งให้โจท
ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ท่าน เป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้รังเกียจ ได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
โจทก์รังเกียจ สั่งให้โจท
ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน ท่าน เป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม ถ้าสั่งให้โจทเธอว่าข้าพเจ้าได้เห็น ได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
โจทก์เห็น สงสัย สั่งให้โจท
[๕๕๗] ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในสิ่งที่เห็น คือ เห็นแล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอว่าข้าพเจ้าได้เห็น ได้ยิน ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในสิ่งที่เห็น คือเห็นแล้ว กำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ได้รังเกียจ ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้เห็นภิกษุผู้กำลังต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในสิ่งที่เห็น คือเห็นแล้ว กำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้เห็น ได้ยิน ได้รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์ได้ยิน สงสัย สั่งให้โจท
ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่ได้ยิน คือได้ยิน แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอว่า ข้าพเจ้าได้ยิน ได้รังเกียจ ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่ได้ยิน คือได้ยินแล้ว กำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอ ว่าข้าพเจ้าได้ยิน ได้เห็น ท่านเป็นผู้ต้อง ปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ได้ยินว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่ได้ยิน คือได้ยิน แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอ ว่าข้าพเจ้าได้ยิน ได้เห็น ได้รังเกียจ ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
โจทก์รังเกียจ สงสัย สั่งให้โจท
ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่รังเกียจ คือรังเกียจ แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอ ว่าข้าพเจ้าได้รังเกียจ ได้เห็น ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณา ก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่ได้ร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่รังเกียจ คือรังเกียจ แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอ ว่าข้าพเจ้าได้รังเกียจ ได้ยิน ท่านเป็น ผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์รังเกียจว่า ภิกษุต้องปาราชิกธรรม มีความสงสัยในเรื่องที่รังเกียจ คือรังเกียจ แล้วกำหนดไม่ได้ ระลึกไม่ได้ ลืมเสีย ถ้าสั่งให้โจทเธอ ว่าข้าพเจ้าได้รังเกียจ ได้เห็น ได้ยิน ท่านเป็นผู้ต้องปาราชิกธรรม ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน ดังนี้ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
ความเห็น ๔ อย่าง
[๕๕๘] จำเลยเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ โจทก์มีความเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ๑ จำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ โจทก์มีความเห็นว่า เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ๑ จำเลยเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ โจทก์มีความเห็นว่า เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ๑ จำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์ โจทก์มีความเห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ๑. [๕๕๙] ภิกษุต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์ เห็นว่า เป็นผู้บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะให้เคลื่อน ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้บริสุทธิ์ ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะให้เคลื่อน ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ภิกษุต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท ๑- @ โอมสวาท คือคำพูดเสียดแทงให้เจ็บใจ. ภิกษุต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้บริสุทธิ์ ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท. [๕๖๐] ภิกษุไม่ต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง ย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์ เห็นว่า เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติทุกกฏ ภิกษุไม่ต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็นผู้ไม่บริสุทธิ์ ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ไม่ต้องอาบัติ ภิกษุไม่ต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้ไม่บริสุทธิ์ ไม่ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติทุกกฏ กับอาบัติ ปาจิตตีย์ ในเพราะโอมสวาท ภิกษุไม่ต้องปาราชิกธรรมอย่างใดอย่างหนึ่งย่อมเป็นผู้บริสุทธิ์ ถ้าภิกษุผู้โจทก์เห็นว่า เป็น ผู้ไม่บริสุทธิ์ ขอโอกาสต่อเธอก่อนแล้วโจทเธอ หมายจะด่า ต้องอาบัติปาจิตตีย์ ในเพราะโอม- *สวาท.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๗๗๑๗-๑๗๘๑๔ หน้าที่ ๖๘๑-๖๘๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=17717&Z=17814&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=1&item=556&items=5              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=1&item=556&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=1&item=558&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=1&item=558&items=5              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=556              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_1

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :