ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๑ มหาวิภังค์ ภาค ๑
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย
[๕๘๘] ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็น อาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็น อาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็นอาบัติ ทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่น แห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็น อาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติถุลลัจจัย แต่มีความเห็นในอาบัติถุลลัจจัยว่า เป็น อาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์
ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ ว่าเป็น อาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็น อาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็น อาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็น อาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาจิตตีย์ แต่มีความเห็นในอาบัติปาจิตตีย์ว่า เป็น อาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ
ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะ เป็นอาบัติ อาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อ สายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็น เชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่า เป็นอาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติปาฏิเทสนียะ แต่มีความเห็นในอาบัติปาฏิเทสนียะว่าเป็น อาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ
ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วน อื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ ทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสายพระ- *ศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ สังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ ถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้นย่อมเป็นส่วน อื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ ปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุกกฏ แต่มีความเห็นในอาบัติทุกกฏว่า เป็นอาบัติ ปาฏิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
สั่งให้โจทภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต
ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็นอาบัติ ทุพภาสิต ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็น อาบัติสังฆาทิเสส ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์นั้น ย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็น อาบัติถุลลัจจัย ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็น อาบัติปาจิตตีย์ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็น อาบัติปาฏิเทสนียะ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด ภิกษุผู้โจทก์ เห็นภิกษุผู้ต้องอาบัติทุพภาสิต แต่มีความเห็นในอาบัติทุพภาสิตว่า เป็น อาบัติทุกกฏ ถ้าสั่งให้โจทเธอด้วยอาบัติปาราชิกว่า ท่านไม่เป็นสมณะ ท่านไม่เป็นเชื้อสาย พระศากยบุตร อุโบสถก็ดี ปวารณาก็ดี สังฆกรรมก็ดี ไม่มีร่วมกับท่าน แม้อย่างนี้ อธิกรณ์ นั้นย่อมเป็นส่วนอื่นแห่งอาบัติ และผู้สั่งให้โจทถือเอาเป็นเลศ ต้องอาบัติสังฆาทิเสส ทุกๆ คำพูด.
อนาปัตติวาร
[๕๘๙] ภิกษุผู้สำคัญเป็นอย่างนั้นโจทเองก็ดี สั่งให้ผู้อื่นโจทก็ดี ๑ ภิกษุวิกลจริต ๑ ภิกษุอาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๙ จบ
-----------------------------------------------------
สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑๐
เรื่องพระเทวทัตต์
[๕๙๐] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันวิหาร อันเป็น สถานที่พระราชทานเหยื่อแก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นพระเทวทัตต์เข้าไปหา พระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตต์ ครั้นแล้วได้ กล่าวคำนี้ กะพระโกกาลิกะ พระกฏโมรกติสสกะ พระขัณฑเทวีบุตร และพระสมุทททัตต์ว่า มาเถิด อาวุโสทั้งหลาย พวกเราจักกระทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดม เมื่อพระเทวทัตต์กล่าวอย่างนี้แล้ว พระโกกาลิกะได้กล่าวคำนี้กะพระเทวทัตต์ว่า อาวุโส พระสมณโคดมมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ไฉน เราจักทำ สังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณ- *โคดมได้เล่า
วัตถุ ๕ ประการ
พระเทวทัตต์กล่าวว่า มาเถิด อาวุโสทั้งหลาย พวกเราจักเข้าเฝ้าพระสมณโคดม ทูลขอ วัตถุ ๕ ประการว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความ เพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความ เพียร โดยอเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ๑. ภิกษุ ทั้งหลายควรอยู่ป่าตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๒. ภิกษุทั้งหลาย ควรเที่ยวบิณฑบาตตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๓. ภิกษุทั้งหลาย ควรถือผ้าบังสุกุลตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๔. ภิกษุทั้งหลาย ควรอยู่โคนไม้ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าอาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ ควรฉันปลาและเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น พระสมณโคดม จักไม่ทรงอนุญาตวัตถุ ๕ ประการนี้ พวกเราทั้งนั้นจักโฆษณาให้ชุมชนเชื่อถือด้วย วัตถุ ๕ ประการ นี้ อาวุโสทั้งหลาย พวกเราสามารถที่จะกระทำสังฆเภท จักรเภท แก่พระสมณโคดมได้ เพราะ วัตถุ ๕ ประการนี้แล เพราะคนทั้งหลายเลื่อมใสในลูขปฏิบัติ [๕๙๑] ครั้งนั้น พระเทวทัตต์พร้อมด้วยบริษัทเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลคำนี้แด่พระผู้มี พระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ทรงสรรเสริญคุณแห่งความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดย อเนกปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ วัตถุ ๕ ประการนี้ เป็นไปเพื่อความมักน้อย ความสันโดษ ความขัดเกลา ความกำจัด อาการที่น่าเลื่อมใส การไม่สะสม การปรารภความเพียร โดยอเนก ปริยาย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้าขอประทานพระวโรกาส ๑. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่ป่า ตลอดชีวิต ภิกษุใดอาศัยบ้านอยู่ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๒. ภิกษุทั้งหลายควรเที่ยวบิณฑบาต ตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีการนิมนต์ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๓. ภิกษุทั้งหลายควรถือผ้าบังสุกุล ตลอดชีวิต ภิกษุใดยินดีผ้าคหบดี โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๔. ภิกษุทั้งหลายควรอยู่โคนไม้ ตลอดชีวิต ภิกษุใดเข้าอาศัยที่มุงบัง โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น ๕. ภิกษุทั้งหลายไม่ควรฉันปลา และเนื้อตลอดชีวิต ภิกษุใดฉันปลาและเนื้อ โทษพึงถูกต้องภิกษุนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสห้ามว่า อย่าเลย เทวทัตต์ ภิกษุใดปรารถนา ก็จงอยู่ป่า ภิกษุใด ปรารถนา ก็จงอยู่บ้าน ภิกษุใดปรารถนา ก็จงเที่ยวบิณฑบาต ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีการ นิมนต์ ภิกษุใดปรารถนา ก็จงถือผ้าบังสุกุล ภิกษุใดปรารถนา ก็จงยินดีผ้าคหบดี ดูกรเทวทัตต์ เราอนุญาตรุกขมูลเสนาสนะตลอด ๘ เดือนเท่านั้น เราอนุญาตปลาและเนื้อที่บริสุทธิ์ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ ๑. ไม่ได้เห็น ๒. ไม่ได้ยิน ๓. ไม่ได้รังเกียจ

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ บรรทัดที่ ๑๘๒๗๔-๑๘๔๖๔ หน้าที่ ๗๐๓-๗๑๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=1&A=18274&Z=18464&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=1&item=588&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=1&item=588&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=1&item=590&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=1&item=590&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=1&i=588              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_1

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :