ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
๖. เจโตขีลสูตร
ว่าด้วยตะปูตรึงใจ
[๒๒๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๒๒๗] พระผู้มีพระภาคจึงตรัสพระพุทธพจน์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ไม่ถอนเครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ ภิกษุนั้นหนอจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๒๘] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ อันเธอยังละไม่ได้เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในพระธรรมวินัยนี้ สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม ไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อม ใสในพระธรรมนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผา กิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปู ตรึงใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในพระสงฆ์นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุสงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่สงสัย เคลือบแคลง ไม่ปลงใจเชื่อ ไม่เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบ- *กระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุที่โกรธเคือง ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะกระทบกระทั่ง มีใจดุจตะปูในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมไม่น้อม ไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียร ที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังละ ไม่ได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังละไม่ได้แล้ว.
เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ
[๒๒๙] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจากความ พอใจ ไม่ปราศจากความรักไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความ ทะเยอทะยานอยากในกาม ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบ เนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจาก ความทะเยอทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้ง มั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ปราศจาก ความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศ- *จากความทะเยอทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่ปราศจากความกำหนัด ไม่ ปราศจากความพอใจ ไม่ปราศจากความรัก ไม่ปราศจากความระหาย ไม่ปราศจากความเร่าร้อน ไม่ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในรูปนั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อ ความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุบริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความ สุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุ ผู้บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุข ในความหลับอยู่นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกาย อันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้าหรือเทพองค์ใดองค์หนึ่ง ด้วยศีล อันนี้ ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมไม่น้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่ จิตของภิกษุไม่น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นยังถอนไม่ได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งไม่ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ไม่ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเสียได้ ถอน เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเสียได้ ภิกษุนั้นหนอ จักถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. [๒๓๑] ตะปูตรึงใจ ๕ ประการ ชื่อว่า อันภิกษุนั้นละได้แล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดา ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสในพระศาสดานั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียร เครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้นละได้ แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระธรรมนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในพระสงฆ์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน พระสงฆ์นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลงปลงใจเชื่อ เลื่อมใส ในสิกขา ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่สงสัย ไม่เคลือบแคลง ปลงใจเชื่อ เลื่อมใสใน สิกขานั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำ ติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการ ที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิต อันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ไม่โกรธเคือง ไม่ใช่เป็นผู้ไม่พอใจ มีจิตอันโทสะไม่กระทบกระทั่ง หาใช่ผู้มีใจดุจ ตะปูไม่ ในเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความ ประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความ เพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ ชื่อว่าตะปูตรึงใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นละได้แล้ว ตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้น ละได้แล้ว. [๒๓๒] เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการ อันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้วเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจาก ความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยานอยากในกามนั้น ย่อม น้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความ เพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๑ ที่ภิกษุนั้น ถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ ทะยานอยากในร่างกาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความกระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในร่างกายนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่องผูกพัน ใจประการที่ ๒ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความ พอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอ- *ทะยานอยากในรูป ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้ปราศจากความกำหนัด ปราศจากความพอใจ ปราศจากความรัก ปราศจากความระหาย ปราศจากความเร่าร้อน ปราศจากความทะเยอทะยาน อยากในรูปนั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อ ความทำติดต่อเพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อ ความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น อย่างนี้ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจ ประการที่ ๓ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบ ความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของ ภิกษุผู้ไม่บริโภคอิ่มพอความประสงค์แล้ว ไม่ประกอบความสุขในการนอน ความสุขในการเอน ความสุขในความหลับอยู่นั้น ย่อมน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ ชื่อว่าเครื่อง ผูกพันใจประการที่ ๔ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุจักไม่ประพฤติพรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพ นิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์หนึ่งด้วยศีลอันนี้ ด้วยข้อวัตร อันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตของภิกษุผู้จักไม่ประพฤติ พรหมจรรย์ เพื่อปรารถนาเทพนิกายอันใดอันหนึ่งว่า เราจักได้เป็นเทพเจ้า หรือเทพองค์ใดองค์- *หนึ่ง ด้วยศีลอันนี้ด้วยข้อวัตรอันนี้ ด้วยตบะอันนี้ หรือด้วยพรหมจรรย์อันนี้นั้น ย่อมน้อมไป เพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ ตั้งมั่น ข้อที่จิตของภิกษุน้อมไปเพื่อความเพียรเครื่องเผากิเลส เพื่อความประกอบเนืองๆ เพื่อความ ทำติดต่อ เพื่อความเพียรที่ตั้งมั่นอย่างนี้ว่า ชื่อว่าเครื่องผูกพันใจประการที่ ๕ ที่ภิกษุนั้นถอนได้ดี แล้ว เครื่องผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ ชื่อว่าอันภิกษุนั้นถอนได้ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ละตะปูตรึงใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้แล้ว ถอนเครื่อง ผูกพันใจ ๕ ประการเหล่านี้ได้ดีแล้ว ภิกษุนั้นจักถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรม- *วินัย ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้.
อุปมาเหมือนแม่ไก่ฟักไข่
[๒๓๓] ภิกษุนั้นเจริญอิทธิบาท ประกอบด้วยฉันทสมาธิปธานสังขาร ๑ วิริยสมาธิปธาน สังขาร ๑ จิตตสมาธิปธานสังขาร ๑ วิมังสาสมาธิปธานสังขาร ๑ และมีความขะมักเขม้นเป็นที่ ๕ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้นั้นแล เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะ อย่างสูงเยี่ยม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๕ รวมทั้งความขะมักเขม้นอย่างนี้ เป็นผู้ควร แก่ความเบื่อหน่าย เป็นผู้ควรแก่การตรัสรู้ เป็นผู้ควรแก่การบรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่าง สูงเยี่ยม เปรียบเหมือนไข่ของแม่ไก่ ๘ ฟอง ๑๐ ฟอง หรือ ๑๒ ฟอง แม่ไก่กกไว้โดยชอบ ให้อบอุ่นโดยชอบ ฟักโดยชอบ ถึงแม่ไก่นั้นจะไม่ปรารถนาอย่างนี้ว่า ขอให้ลูกไก่เหล่านี้จงทำลาย เปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีก็ตาม ลูกไก่เหล่านั้นก็ต้อง ทำลายเปลือกไข่ด้วยปลายเล็บเท้า หรือด้วยจะงอยปาก ออกมาโดยสวัสดีได้ ฉะนั้น. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ เจโตขีลสูตรที่ ๖
-----------------------------------------------------
๗. วนปัตถสูตร
ว่าด้วยการอยู่ป่า
[๒๓๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ วิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เราจะแสดงวนปัตถปริยาย [เหตุของการอยู่ป่าชัฏ] แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง ปริยายนั้น จงใส่ใจให้ดีเราจักกล่าว ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๒๓๕] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม วินัยนี้ ย่อมเข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้น ไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมา บริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอด- *โปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏนั้น ในเวลากลางคืน หรือในเวลากลางวันก็ตาม ไม่ควรอยู่.
เหตุของการอยู่ป่า
[๒๓๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่ง อยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะ อย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และ คิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำเป็นต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้น โดยไม่ยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อ เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏจิต ที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่ สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุ ด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่ว่าเรา ไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุ แห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัย ป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏ ก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ก็ไม่ถึงความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแม้รู้แล้วควรหลีกไปเสียจากป่าชัฏนั้น ไม่ควรอยู่. [๒๓๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่ง อยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยัง ไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัย ป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้น ไป และเราย่อมได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่อง อุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิต จำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เพราะ เหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่น ก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราย่อม ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแม้รู้ แล้ว ก็ควรอยู่ในป่าชัฏนั้น ไม่ควรหลีกไปเสีย. [๒๓๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยป่าชัฏแห่งใดแห่งหนึ่ง อยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยป่าชัฏนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏจิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่- *บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัย เภสัชบริขารเหล่าใดที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยป่าชัฏนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัย ป่าชัฏนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความ สิ้นไป และเราย่อมได้บรรลุความปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่อง- *อุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิต จำต้องนำมาบริโภคปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรอยู่ ในป่าชัฏนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไปเสีย.
การอยู่อาศัยบ้านเป็นต้น
[๒๓๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยบ้านแห่งใดแห่งหนึ่ง อยู่ ... เข้าไปอาศัยนิคมแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ... เข้าไปอาศัยนครแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ... เข้าไปอาศัย ชนบทแห่งใดแห่งหนึ่งอยู่ ... เข้าไปอาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่อง- *อุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิต จำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณา เห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และไม่ได้บรรลุธรรมอัน ปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นไม่ต้องบอกบุคคลนั้น ควรหลีกไปเสียในเวลา กลางวัน หรือกลางคืน ไม่ควรพัวพันกะบุคคลนั้นเลย. [๒๔๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลนั้น สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน ปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัย บุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสนะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึง ความสิ้นไป และเราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัย เครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่ บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยัง ไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ไม่ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ไม่ถึงความสิ้นไป และ เราไม่ได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้น แม้รู้แล้วไม่ต้องบอกบุคคลนั้น ควรหลีกไปเสีย ไม่ควรพัวพันกะบุคคลนั้นเลย. [๒๔๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่งอยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่- *บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขารเหล่าใดที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และ เราได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมา บริโภค ปัจจัยเหล่านั้น ย่อมเกิดขึ้นได้โดยยาก แต่ว่าเราไม่ได้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต เพราะเหตุแห่งจีวร เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ เพราะเหตุแห่งคิลาน ปัจจัยเภสัชบริขาร ก็ครั้นเป็นเช่นนั้น เมื่อเราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และเราได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่ง จากโยคะอย่างสูงที่ยังไม่บรรลุด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นแม้รู้แล้วก็ควรพัวพันกะบุคคลนั้น ไม่ควรหลีกไปเสีย. [๒๔๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้าไปอาศัยบุคคลใดบุคคลหนึ่ง อยู่ เมื่อเธอเข้าไปอาศัยบุคคลนั้นอยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะ ที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และภิกษุนั้นได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูง ที่ยังไม่ บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัช บริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมาบริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงพิจารณาเห็นดังนี้ว่า เราเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ เมื่อเข้ามาอาศัยบุคคลนี้อยู่ สติที่ยังไม่ปรากฏก็ปรากฏ จิตที่ยังไม่ตั้งมั่นก็ตั้งมั่น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไปก็ถึงความสิ้นไป และ เราได้บรรลุธรรมอันปลอดโปร่งจากโยคะอย่างสูง ที่ยังไม่บรรลุด้วย ส่วนปัจจัยเครื่องอุดหนุนชีวิต คือ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจัยเภสัชบริขารเหล่าใด ที่บรรพชิตจำต้องนำมา บริโภค ปัจจัยเหล่านั้นย่อมเกิดขึ้นได้โดยไม่ยาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพัวพันอยู่ กะบุคคลนั้นจนตลอดชีวิต ไม่ควรหลีกไปเสีย แม้จะถูกขับไล่ก็ตาม. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ วนปัตถสูตร ที่ ๗
-----------------------------------------------------
๘. มธุปิณฑิกสูตร
ว่าด้วยธรรมบรรยายที่ไพเราะ
[๒๔๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ นิโครธาราม เขตพระนครกบิลพัสดุ์ ใน สักกชนบท. ครั้งนั้นเป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้า เข้าไปสู่พระนครกบิลพัสดุ์ เพื่อบิณฑบาต. ครั้นเสร็จจากการเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว เสด็จ เข้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อทรงพักในเวลากลางวัน ครั้นถึงแล้ว จึงประทับนั่งพักกลางวัน ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม แม้ทัณฑปาณิศากยะ กำลังเสด็จเที่ยวเดินเล่น ได้เสด็จเข้าไปยังป่า มหาวัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังต้นมะตูมหนุ่ม ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการ ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนยันไม้เท้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ทูลถามพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า พระสมณะมีปกติกล่าวอย่างไร มีปกติบอกอย่างไร?
ตรัสตอบปัญหาทัณฑปาณิศากยะ
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าวอย่างไรจึงจะไม่โต้เถียงกัน กับผู้ใดผู้หนึ่งในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะและ พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก และสัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำพราหมณ์ผู้อยู่ ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความคะนองได้แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ได้ อย่างไร เรามีปกติกล่าวอย่างนั้น มีปกติบอกอย่างนั้น. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ทัณฑปาณิศากยะได้สั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าผากย่นเป็น ๓ รอย ถือไม้เท้ายันหลีกไป. [๒๔๔] ครั้งนั้น เวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่หลีกเร้น แล้วเสด็จเข้าไป ยังนิโครธาราม ประทับ ณ อาสนะที่เขาจัดถวาย ครั้นแล้ว ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมารับสั่งว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะเล่าให้ฟัง เวลาเช้า เรานุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวร เข้าไปสู่พระนคร กบิลพัสดุ์ เพื่อบิณฑบาต ครั้นเสร็จจากการเที่ยวไปบิณฑบาตแล้ว เข้าไปยังป่ามหาวัน เพื่อ พักในเวลากลางวัน ครั้นถึงแล้ว จึงนั่งพักกลางวัน ณ โคนต้นมะตูมหนุ่ม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ทัณฑปาณิศากยะเสด็จเที่ยวเดินเล่น ได้เข้าไปยังป่ามหาวัน ครั้นแล้วเข้าไปหาเรายังต้นมะตูม หนุ่ม ได้ปราศรัยกับเรา ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนยันไม้เท้า ณ ที่ควรส่วน ข้างหนึ่ง และได้ถามเราว่า พระมหาสมณะมีปกติกล่าวอย่างไร มีปกติบอกอย่างไร? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อทัณฑปาณิศากยะ กล่าวอย่างนั้นแล้ว เราได้ตอบว่า ดูกรผู้มีอายุ บุคคลมีปกติกล่าว อย่างไร จึงจะไม่โต้เถียงกันกับผู้ใดผู้หนึ่งในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำ พราหมณ์ผู้ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความคะนองได้แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาใน ภพน้อยภพใหญ่ได้อย่างไร เรามีปกติกล่าวอย่างนั้น มีปกติบอกอย่างนั้น. เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ แล้ว ทัณฑปาณิศากยะ สั่นศีรษะ แลบลิ้น ทำหน้าผากย่นเป็น ๓ รอย ถือไม้เท้ายันหลีกไป. [๒๔๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามขึ้นว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคมีปกติตรัสอย่างไร จึงไม่โต้เถียงกับผู้ใดผู้หนึ่งในโลก พร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณะพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดำรงอยู่ในโลก อนึ่ง สัญญาทั้งหลายจะไม่ครอบงำพราหมณ์ผู้ปราศจากกามทั้งหลายนั้น ผู้ไม่ลังเล ผู้ตัดความ คะนองได้แล้ว ผู้ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ได้อย่างไร? พระผู้มีพระภาคตอบว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียวเป็น ที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิกิจฉา นุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็น ที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การ ส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะ เหตุนั้น. ครั้นพระผู้มีพระภาคผู้สุคตเจ้าได้ตรัสดังนี้แล้ว ก็เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย.
ทรงแสดงอุเทศโดยย่อ
[๒๔๖] ครั้นเมื่อพระผู้มีพระภาคเสด็จหลีกไปไม่นาน ภิกษุเหล่านั้นก็บังเกิดความ สงสัยว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียวเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่ง ภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะ เข้าที่ประทับเสีย ใครหนอ จะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรง ชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้. ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นก็บังเกิดความคิดว่า ท่านพระมหากัจจานะ นี้แล อันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหา- กัจจานะ สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจง โดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลายควรพากันไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้ว สอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะ. ลำดับนั้น ภิกษุเหล่านั้นได้เข้าไปหาท่านพระมหา- กัจจานะถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระมหากัจจานะว่า ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไป แล้ว พากันนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง และพูดกะท่านมหากัจจานะว่า ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อม ครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียวเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็น เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง อวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ใน เพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงหลีกไปไม่นาน พวกผมได้บังเกิดความสงสัยดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อ แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความ ให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ใครหนอจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มี พระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ ผมเหล่านั้นก็บังเกิดความคิดว่า ท่านมหากัจจานะนี้อันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อน พรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่านมหากัจจานะนี้ สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระ ผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงโดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลาย ควรพากันเข้าไปหาท่านกัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่านมหากัจจานะดู ขอท่าน มหากัจจานะจงชี้แจงไปเถิด. [๒๔๗] ท่านพระมหากัจจานะจึงกล่าวตอบว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือน บุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ เสาะหาแก่นไม้ เที่ยวแสวงหาแก่นไม้อยู่ ก็ล่วงเลยโคนต้นและลำต้น ของต้นไม้ใหญ่อันมีแก่นเสีย สำคัญว่าจะพึงแสวงหาแก่นที่กิ่งและใบฉันใด ข้ออุปมัยนี้ก็ฉันนั้น เมื่อพระศาสดาทรงปรากฏอยู่เฉพาะหน้าท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายก็ล่วงเลยพระองค์ไปเสีย แล้วกลับจะมาไต่ถามเนื้อความนี้กะผม ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็พระผู้มีพระภาคนั้น ทรงรู้ ทรงเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ เป็นผู้มีพระญาณ มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ เป็นผู้ประกาศ เป็นผู้ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็น เวลาอันสมควรที่ท่านทั้งหลายจะทูลถามเนื้อความนี้ต่อพระผู้มีพระภาคแท้ พระองค์ทรงแก้ไขอย่างไร ท่านทั้งหลายก็ควรจำไว้อย่างนั้น. ภิกษุเหล่านั้นได้กล่าวตอบว่า ข้าแต่ท่านพระกัจจานะ พระผู้มีพระภาคทรงรู้ ทรงเห็น เป็นผู้มีพระจักษุ เป็นผู้มีพยาน เป็นผู้มีธรรม เป็นพรหม เป็นผู้เผยแผ่ เป็นผู้ประกาศ เป็น ผู้ขยายเนื้อความ เป็นผู้ให้อมตธรรม เป็นเจ้าของแห่งธรรม เป็นพระตถาคต และเวลานี้ก็เป็น เวลาอันสมควรที่กระผมทั้งหลาย จะทูลถามเนื้อความนี้ต่อพระผู้มีพระภาคแท้ พระองค์ทรงแก้ไข อย่างไร กระผมทั้งหลายควรจำไว้อย่างนั้น ก็จริงอยู่แล แต่ว่า ท่านพระมหากัจจานะอัน พระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และเพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะ ก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงไว้โดยย่อว่า ไม่ทรงชี้แจงโดย พิสดาร ให้พิสดารได้ ขอท่านพระมหากัจจานะจงชี้แจงไปเถิด อย่าทำความหนักใจให้เลย.
พระมหากัจจานะแสดงอุเทศโดยพิสดาร
[๒๔๘] ท่านมหากัจจานะจึงกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าเช่นนั้น พวกท่าน จงฟัง จงใส่ใจให้ดี ผมจะกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นรับคำแล้ว. ท่านพระมหากัจจานะจึงกล่าวดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศไว้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญา เครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้นอันนี้แลเป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่ง อวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียง การ ด่าว่า การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจง เนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมรู้ถึงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรง ชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดารนี้ให้พิสดารได้อย่างนี้- ๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย จักขุวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยตาและรูป เพราะประชุม ธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงเกิดเวทนา บุคคลเสวยเวทนาอันใด ก็จำ เวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนาอันใด ก็เนิ่น ช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ก็ครอบงำ บุรุษ เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้นเป็นเหตุ ในรูปทั้งหลายที่พึงจะรู้ด้วยตาเป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคต ก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี. ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โสตวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยหูและเสียง ... ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ฆานวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยจมูกและกลิ่น ... ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ชิวหาวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยลิ้นและรส ... ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กายวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยกายและโผฏฐัพพะ ... ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย มโนวิญญาณเกิดขึ้นเพราะอาศัยใจและธรรมารมณ์ เพราะ ประชุมธรรม ๓ ประการ จึงเกิดผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัยจึงเกิดเวทนา บุคคลเสวย เวทนาอันใด ก็จำเวทนาอันนั้น บุคคลจำเวทนาอันใด ก็ตรึกถึงเวทนาอันนั้น บุคคลตรึกถึงเวทนา อันใด ก็เนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันนั้น บุคคลเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนาอันใด ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ก็ครอบงำบุรุษ เพราะเนิ่นช้าอยู่ที่เวทนานั้นเป็นเหตุ ในธรรมารมณ์ทั้งหลายที่จะพึงรู้ได้ด้วยใจ เป็นอดีตก็ดี เป็นอนาคตก็ดี เป็นปัจจุบันก็ดี. ๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อตามี รูปมี และจักขุวิญญาณมี เขา จักบัญญัติว่า ผัสสะ ข้อนี้มีฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะมี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้เป็นฐานะที่ จะมีได้ เมื่อการบัญญัติว่าเวทนามี เขาจักบัญญัติสัญญา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติ สัญญามี เขาจักบัญญัติวิตก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกมี เขาจักบัญญัติว่าการ ครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อมีหู เสียงมี ... ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจมูกมี กลิ่นมี ... ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อลิ้นมี รสมี ... ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายมี โผฏฐัพพะมี ... ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใจมี ธรรมารมณ์มี และมโนวิญญาณมี เขาจัก บัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะมี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้ เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนามี เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญามี เขาจักบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตกมี เขาจักบัญญัติว่าการครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้เป็นฐานะที่จะมีได้. ๑. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อตาไม่มี รูปไม่มี และจักขุวิญญาณไม่มี เขาจักบัญญัติ ว่าผัสสะ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะไม่มี เขาจักบัญญัติว่าเวทนา ข้อนี้มิใช่ ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติวิตก ไม่มี เขาจักบัญญัติว่าการครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้. ๒. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อหูไม่มี เสียงไม่มี ... ๓. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อจมูกไม่มี กลิ่นไม่มี ... ๔. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อลิ้นไม่มี รสไม่มี ... ๕. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อกายไม่มี โผฏฐัพพะไม่มี ... ๖. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เมื่อใจไม่มี ธรรมารมณ์ไม่มี และมโนวิญญาณไม่มี เขาจักบัญญัติว่าผัสสะ ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติผัสสะไม่มี เขาจักบัญญัติว่า เวทนา ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติเวทนาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าสัญญา ข้อนี้มิใช่ ฐานะที่จะมีได้ เมื่อการบัญญัติสัญญาไม่มี เขาจักบัญญัติว่าวิตก ข้อนี้มิใช่ฐานะที่จะมีได้ เมื่อ การบัญญัติวิตกไม่มี เขาจักบัญญัติว่าการครอบงำส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ข้อนี้มิใช่ฐานะ ที่จะมีได้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อว่า ดูกรภิกษุ ส่วน แห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้า ย่อมครอบงำบุรุษเพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคลจะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียว เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็น ที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุสัย เป็นที่สุดแห่ง ภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการท่อนไม้ การจับศาสตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียงกัน การด่าว่ากัน การส่อเสียดยุยง และการกล่าวเท็จ อกุศลธรรมอัน ลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น แล้วไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดาร เสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ผมรู้ถึงเนื้อความแห่งอุเทศที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อนี้ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้พิสดารได้อย่างนี้. ก็แลเมื่อท่านทั้งหลายปรารถนา ก็พึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูลถามเนื้อความนั้น พระผู้ มีพระภาคทรงพยากรณ์ประการใด ท่านทั้งหลายพึงทรงจำข้อนั้นไว้โดยประการนั้นเถิด. [๒๔๙] ลำดับนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นชื่นชมยินดีภาษิตของท่านมหากัจจานะ แล้วลุกจาก อาสนะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้น แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศไว้โดย ย่อว่า ดูกรภิกษุ ส่วนแห่งสัญญาเครื่องเนิ่นช้าย่อมครอบงำบุรุษ เพราะเหตุใด ถ้าการที่บุคคล จะเพลิดเพลิน ยึดถือ กล้ำกลืน ไม่มีในเหตุนั้น อันนี้เทียว เป็นที่สุดแห่งราคานุสัย เป็น ที่สุดแห่งปฏิฆานุสัย เป็นที่สุดแห่งทิฏฐานุสัย เป็นที่สุดแห่งวิจิกิจฉานุสัย เป็นที่สุดแห่งมานานุ สัย เป็นที่สุดแห่งภวราคานุสัย เป็นที่สุดแห่งอวิชชานุสัย เป็นที่สุดแห่งการจับท่อนไม้ การจับ ศาตรา การทะเลาะ การถือผิด การโต้เถียงกัน การด่าว่ากัน การส่อเสียดยุยง และการ กล่าวเท็จ อกุศลธรรมอันลามกเหล่านี้ ย่อมดับไปโดยไม่เหลือ ในเพราะเหตุนั้น ไม่ทรงชี้แจง เนื้อความให้พิสดาร แล้วเสด็จลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อ พระผู้มีพระภาคหลีกไปไม่นาน พวกข้าพระองค์ได้บังเกิดความสงสัยดังนี้ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอุเทศนี้ไว้โดยย่อ ...ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความให้พิสดารแล้วเสด็จ ลุกจากอาสนะเข้าที่ประทับเสีย ใครหนอ จะชี้แจงเนื้อความแห่งอุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง ไว้โดยย่อนี้ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้า พระองค์ก็บังเกิดความคิดขึ้นว่า ท่านพระมหากัจจานะนี้อันพระศาสดาทรงยกย่องแล้ว และ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้รู้สรรเสริญแล้ว และท่านพระมหากัจจานะ ก็สามารถจะชี้แจงเนื้อความแห่ง อุเทศที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงไว้โดยย่อ ไม่ทรงชี้แจงเนื้อความไว้โดยพิสดาร ให้พิสดารได้ ผิฉะนั้น เราทั้งหลายจะพากันไปหาท่านพระมหากัจจานะยังที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้ กะท่านพระมหากัจจานะดู. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลำดับนั้นเอง ข้าพระองค์ทั้งหลายได้พากันเข้า ไปหาท่านมหากัจจานะถึงที่อยู่ แล้วสอบถามเนื้อความนี้กะท่านพระมหากัจจานะ. ข้าแต่พระองค์ ผู้เจริญ ท่านพระมหากัจจานะได้ชี้แจงเนื้อความด้วยอาการเหล่านี้ ด้วยบทเหล่านี้ ด้วยพยัญชนะ เหล่านี้ แก่พวกข้าพระองค์.
ทรงสรรเสริญพระมหากัจจานะ
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหากัจจานะเป็นบัณฑิต เป็นผู้มีปัญญา มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้พวกเธอจะถามเนื้อความนี้กะเรา แม้เราก็จะพึงพยากรณ์เนื้อความ นั้น เหมือนกับที่พระมหากัจจานะพยากรณ์แล้วนั้น นี่แหละเป็นเนื้อความแห่งข้อนั้น เธอ ทั้งหลายจงทรงจำข้อนั้นไว้เถิด. [๒๕๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์จึงกราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือนบุรุษผู้ถูกความหิวความเหนื่อยอ่อนครอบงำ ได้ ขนมหวาน แล้วกินในเวลาใด ก็พึงได้รับรสอันอร่อยหวาน ชื่นชูใจในเวลานั้น ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุนักคิด ชาติบัณฑิต พึงใคร่ครวญเนื้อความแห่งธรรมบรรยายนี้ด้วย ปัญญา ในเวลาใด ก็พึงได้ความพอใจ และได้ความเลื่อมใสแห่งใจในเวลานั้น ฉันนั้น ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร. พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรอานนท์ เหตุดังนั้น เธอจงทรงจำธรรมบรรยายนี้ว่า มธุปิณฑิกปริยาย ดังนี้เถิด. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระอานนท์มีใจชื่นชม ยินดีภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ มธุปิณฑิกสูตร ที่ ๘
-----------------------------------------------------
๙. เทวธาวิตักกสูตร
ว่าด้วยความวิตก ๒ ส่วน
เรื่องวิตก
[๒๕๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๒๕๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรายัง เป็นพระโพธิสัตว์ ยังไม่ได้ตรัสรู้ ก่อนแต่ตรัสรู้ทีเดียว ได้คิดอย่างนี้ว่า ถ้ากระไร เราพึงแยก วิตกให้เป็น ๒ ส่วนๆ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นจึงแยก กามวิตก พยาบาทวิตก และวิหิงสา วิตก นี้ออกเป็นส่วนหนึ่ง และแยกเนกขัมมวิตก อัพยาบาทวิตก และอวิหิงสาวิตก นี้ออกเป็น ส่วนที่ ๒ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้น ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ กามวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า กามวิตกเกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า มันย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง ย่อมเป็นไปเพื่อเบียด- *เบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง ทำให้ปัญญาดับ ก่อให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเรา พิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อ เราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้ บ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล ละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งกามวิตก ที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียร เครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ พยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ วิหิงสาวิตกย่อมบังเกิด ขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า วิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า มันเป็นไปเพื่อ เบียดเบียนตนบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสอง บ้าง ทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้นไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อ เราพิจารณาเห็นว่า มันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณา เห็นว่ามันเป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่นบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มัน เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตนและผู้อื่นทั้งสองบ้าง มันก็ถึงความดับสูญไป เมื่อเราพิจารณาเห็นว่า มันทำให้ปัญญาดับ ทำให้เกิดความคับแค้น ไม่เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดังนี้บ้าง มันก็ถึงความ ดับสูญไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลละเสีย บรรเทาเสีย ซึ่งวิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ได้ทำให้มันหมดสิ้นไป. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตก นั้นๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงกามวิตกมาก เธอก็ละทิ้งเนกขัมมวิตก เสีย มากระทำอยู่แต่กามวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อกามวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงพยาบาทวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอัพยาบาทวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่ พยาบาทวิตกให้มาก จิตของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อพยาบาทวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงวิหิงสาวิตกมาก เธอก็ละทิ้งอวิหิงสาวิตกเสีย มากระทำอยู่แต่วิหิงสาวิตกให้มาก จิต ของเธอนั้นก็น้อมไปเพื่อวิหิงสาวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในสรทสมัยเดือนท้ายแห่งปี คน เลี้ยงโคต้องคอยระวังโคทั้งหลายในที่คับคั่งด้วยข้าวกล้า เขาต้องตี ต้อนโคทั้งหลายจากที่นั้นๆ กั้นไว้ ห้ามไว้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนเลี้ยงโคมองเห็นการฆ่า การถูกจำ การเสียทรัพย์ การถูกติเตียน เพราะโคทั้งหลายเป็นต้นเหตุ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ได้แลเห็นโทษ ความเลวทราม ความเศร้าหมอง ของอกุศลธรรมทั้งหลาย และ เห็นอานิสงส์ในการออกจากกาม อันเป็นฝ่ายแห่งความผ่องแผ้ว ของกุศลธรรมทั้งหลายแล้ว ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ เนกขัมมวิตก ย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัดอย่างนี้ว่า เนกขัมมวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า เนกขัมมวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียด เบียนทั้งสองฝ่าย เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัย อันจะบังเกิดแต่เนกขัมมวิตกนั้นได้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตก นั้นอยู่ตลอดทั้งกลางคืนและกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตก นั้นได้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเราจะตรึกตรองถึงเนกขัมมวิตกนั้น ตลอดทั้งกลางคืน และกลางวันก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะบังเกิดขึ้นจากเนกขัมมวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำ ให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะปรารถนาไว้ว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่าน อีกเลย ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเรานั้นไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปแล้ว อยู่อย่างนี้อัพยาบาทวิตกย่อมบังเกิดขึ้น ฯลฯ อวิหิงสาวิตกย่อมบังเกิดขึ้น เรานั้นย่อมทราบชัด อย่างนี้ว่า อวิหิงสาวิตกนี้เกิดขึ้นแก่เราแล้วแล ก็แต่ว่า อวิหิงสาวิตกนั้นไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียน ตน ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนผู้อื่น ไม่เป็นไปเพื่อเบียดเบียนทั้งสองฝ่าย [คือตนและบุคคลอื่น] เป็นทางทำให้ปัญญาเจริญ ไม่ทำให้เกิดความคับแค้น เป็นไปเพื่อพระนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอดคืนก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจาก อวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถึงหากเราจะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตกนั้นอยู่ตลอด วันก็ดี เราก็ยังไม่มองเห็นภัยอันจะเกิดขึ้นจากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากเรา จะตรึกตรองถึงอวิหิงสาวิตนั้น ตลอดทั้งคืนและกลางวันก็ดี เราก็ยังมองไม่เห็นภัยภัยจะเกิดขึ้น จากอวิหิงสาวิตกนั้นได้เลย ก็แต่ว่า เมื่อเราตรึกตรองอยู่นานเกินไป ร่างกายก็เหน็ดเหนื่อย เมื่อ ร่างกายเหน็ดเหนื่อย จิตก็ฟุ้งซ่าน เมื่อจิตฟุ้งซ่าน จิตก็ห่างจากสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรา นั้นแลดำรงจิตไว้ในภายใน ทำให้สงบ ทำให้เกิดสมาธิ ประคองไว้ด้วยดี ข้อนั้นเพราะเหตุ อะไร? เพราะหมายในใจว่า จิตของเราอย่าฟุ้งซ่านอีกเลยดังนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงวิตกใดๆ มาก เธอก็มีใจน้อมไปข้างวิตกนั้นๆ มาก ดูกรภิกษุทั้งหลาย คือ ถ้าภิกษุยิ่งตรึก ยิ่งตรองถึงเนกขัมมวิตกมาก เธอก็จะละกามวิตก เสียได้ ทำเนกขัมมวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่อเนกขัมมวิตก ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่งตรึกยิ่งตรองถึงอัพยาบาทวิตกมาก เธอก็จะละพยาบาทวิตกเสียได้ ทำอัพยาบาท- *วิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็จะน้อมไปเพื่ออัพยาบาทวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุยิ่ง ตรึกยิ่งตรองถึงอวิหิงสาวิตกมาก เธอก็จะละวิหิงสาวิตกเสียได้ ทำอวิหิงสาวิตกอย่างเดียวให้มาก จิตของเธอก็น้อมไปเพื่ออวิหิงสาวิตก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน คน เลี้ยงโคจะต้องรักษาโคทั้งหลาย ในที่ใกล้บ้านในทุกด้าน เมื่อเข้าไปสู่โคนต้นไม้ หรือไปสู่ที่ แจ้ง จะต้องทำสติอยู่เสมอว่า นั้นฝูงโค [ของเรา] ดังนี้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราก็ ฉันนั้น ต้องทำสติอยู่เสมอว่า เหล่านี้เป็นธรรม [คือกุศลวิตก] ดังนี้.
ว่าด้วยวิชชา ๓
[๒๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้ปรารภความเพียร มีความเพียรไม่ย่อหย่อนแล้ว มี สติมั่นคง ไม่เลอะเลือนแล้ว มีกายสงบ ไม่กระสับกระส่ายแล้ว มีจิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็น อันเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นแล สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปิติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งใจในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกวิจารสงบไป มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิ อยู่ ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ... บรรลุจตุตถฌาน ... เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มี กิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิต ไปเพื่อปุพเพนิวาสานุสสติญาณ ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอักมาก คือระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สอง ชาติบ้าง ฯลฯ เรานั้นย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่หนึ่งนี้แล เราบรรลุแล้วในปฐมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้แล้ว เราจึง โน้มน้อมจิตไปเพื่อรู้จุติและอุปบัติของสัตว์ทั้งหลาย เรานั้นย่อมเห็นสัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วง จักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจ สัมมาทิฏฐิ เมื่อตายไป เขาเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ เราย่อมเห็นหมู่สัตว์กำลังจุติ กำลัง อุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่สองนี้แล เราบรรลุแล้วในมัชฌิมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิด ขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผา กิเลส ส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจาก อุปกิเลส อ่อน ควร แก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวอย่างนี้ จึงโน้มน้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา เมื่อเรานั้นรู้เห็นอย่างนี้ จิตจึงหลุดพ้นแล้ว แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว รู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จ แล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย วิชชาที่สามนี้แล เราบรรลุ แล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี เรากำจัดอวิชชาเสียแล้ว วิชชาจึงบังเกิดขึ้น กำจัดความมืดเสียแล้ว ความสว่างจึงบังเกิดขึ้น ก็เพราะเราไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องเผากิเลสส่งตนไปอยู่ ฉะนั้น.
ทางปลอดภัยและไม่ปลอดภัย
[๒๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีหมู่เนื้อเป็นอันมาก พากันเข้าไปอาศัยบึงใหญ่ในป่าดงอยู่ ยังมีบุรุษคนหนึ่งปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความไม่เกื้อกูล ใคร่ความไม่ปลอดภัย เกิดขึ้น แก่หมู่เนื้อนั้น เขาปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ ตามชอบใจของหมู่เนื้อนั้นเสีย เปิดทาง ที่ไม่สะดวกไว้ วางเนื้อต่อตัวผู้ไว้ วางนางเนื้อต่อไว้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัย ต่อมา หมู่เนื้อเป็นอันมาก ก็พากันมาตายเสีย จนเบาบาง ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่ยังมีบุรุษอีก คนหนึ่งปรารถนาประโยชน์ ใคร่ความเกื้อกูล ใคร่ความปลอดภัย แก่หมู่เนื้อเป็นอันมากนั้น เขาเปิดทางที่ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจ ให้แก่หมู่เนื้อนั้น ปิดทางที่ไม่สะดวกเสีย กำจัดเนื้อต่อ เลิกนางเนื้อต่อ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ โดยสมัยต่อมา หมู่เนื้อเป็น อันมาก จึงถึงความเจริญ คับคั่ง ล้นหลาม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้ออุปมานี้ก็ฉันนั้น แล เราได้ทำขึ้นก็เพื่อจะให้พวกเธอรู้ความหมายของเนื้อความ ก็ในอุปมานั้น มีความหมาย ดังต่อไปนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย คำว่า บึงใหญ่ นี้เป็นชื่อของกามคุณทั้งหลาย คำว่า หมู่เนื้อ เป็นอันมาก นี้เป็นชื่อของหมู่สัตว์ทั้งหลาย คำว่า บุรุษผู้ปรารถนาความพินาศ ประสงค์ความ ไม่เกื้อกูล จำนงความไม่ปลอดภัย นี้เป็นชื่อของตัวมารผู้มีบาป คำว่า ทางที่ไม่สะดวก นี้เป็นชื่อของทางผิด อันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการ คือ มิจฉาทิฏฐิ ๑ มิจฉาสังกัปปะ ๑ มิจฉาวาจา ๑ มิจฉากัมมันตะ ๑ มิจฉาอาชีวะ ๑ มิจฉาวายามะ ๑ มิจฉาสติ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑ คำว่า เนื้อต่อตัวผู้ นี้เป็นชื่อของนันทิราคะ [ความกำหนัดด้วยความเพลิน] คำว่า นางเนื้อ ต่อ นี้เป็นชื่อของอวิชชา คำว่า บุรุษคนที่ปรารถนาประโยชน์ หวังความเกื้อกูล หวังความ ปลอดภัย [แก่เนื้อเหล่านั้น] นี้หมายเอาตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า คำว่า ทางอัน ปลอดภัย สะดวก ไปได้ตามชอบใจ นี้เป็นชื่อของทางอันประกอบด้วยองค์ ๘ ประการซึ่งเป็น ทางถูกที่แท้จริง คือสัมมาทิฏฐิ ๑ สัมมาสังกัปปะ ๑ สัมมาวาจา ๑ สัมมากัมมันตะ ๑ สัมมาอาชีวะ ๑ สัมมาวายามะ ๑ สัมมาสติ ๑ สัมมาสมาธิ ๑. [๒๕๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล เป็นอันว่าทางอันปลอดภัย ซึ่งเป็นทางสวัสดี เป็นทางที่พวกเธอควรไปได้ด้วยความปลาบปลื้ม เราได้เผยให้แล้ว [และ] ปิดทางที่ไม่สะดวกให้ด้วย เนื้อต่อก็ได้กำจัดให้แล้ว ทั้งนางเนื้อต่อก็สังหารให้เสร็จ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย กิจอันใดที่ศาสดาผู้แสวงหาประโยชน์เกื้อกูล เอ็นดู อาศัยความอนุเคราะห์ แก่เหล่า สาวกจะพึงทำ กิจอันนั้นเราทำแก่เธอทั้งหลายแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย นั่นโคนไม้ นั่นเรือน ว่างเปล่า เธอทั้งหลายจงเพ่งพินิจ อย่าประมาท อย่าได้เป็นผู้มีความเดือดร้อนในภายหลัง นี้เป็น คำพร่ำสอนของเราแก่เธอทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ เทฺวธาวิตักกสูตร ที่ ๙
-----------------------------------------------------
๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร
ว่าด้วยอาการแห่งวิตก
[๒๕๖] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก- *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๒๕๗] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้หมั่นประกอบ อธิจิต ควรมนสิการถึงนิมิต ๕ ประการ ตามเวลาอันสมควร นิมิต ๕ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ อาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจาก นิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่า นั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เหมือนช่าง ไม้ หรือลูกมือของช่างไม้ผู้ฉลาด ใช้ลิ่มอันเล็ก ตอก โยก ถอน ลิ่มอันใหญ่ออก แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น เมื่ออาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกทั้งหลายอัน เป็นบาปอกุศลประกอบด้วยฉันทะบ้าง ประกอบด้วยโทสะบ้าง ประกอบด้วยโมหะบ้าง ย่อมเกิด ขึ้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล เมื่อ เธอมนสิการนิมิตนั้นอันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล อันประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอัน เป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน นั้นแล. [๒๕๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อัน ประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ทีเดียว ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตก เหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วน แต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาป อกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้ง อยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอก ผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนหญิงสาวหรือชายหนุ่มที่ชอบแต่งตัว รู้สึกอึดอัด ระอา เกลียดชังต่อซากงู ซากสุนัข หรือซากมนุษย์ ซึ่งผูกติดอยู่ที่คอ [ของตน] แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอมนสิการนิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศลอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นว่า วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นอกุศล แม้ อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่เป็นโทษ แม้อย่างนี้ วิตกเหล่านี้ล้วนแต่มีทุกข์เป็นวิบาก แม้อย่างนี้ ดังนี้ เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายใน นั้นแล [๒๕๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุนั้นพึงถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น เมื่อเธอถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตก เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะ อันเธอย่อมละเสีย ได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ไม่ต้องการ จะเห็นรูปที่ผ่านมา เขาพึงหลับตาเสีย หรือเหลียวไปทางอื่นเสีย แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หาก เมื่อเธอพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล. [๒๖๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้น อยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด ขึ้นเรื่อยๆ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้น เมื่อ เธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตก อันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน นั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษพึงเดินเร็ว เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะเดินเร็วทำ ไมหนอ ถ้ากระไร เราพึงค่อยๆ เดิน เขาก็พึงค่อยๆ เดิน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราค่อยๆ เดินไปทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรยืน เขาพึงยืน เขาพึงมีความคิดอย่างนี้อีกว่า เราจะยืน ทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรนั่ง เขาพึงนั่ง เขาพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า เราจะนั่งทำไมหนอ ถ้ากระไร เราควรนอน เขาพึงลงนอน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษคนนั้น มาผ่อนทิ้งอิริยาบถ หยาบๆ เสีย พึงสำเร็จอิริยาบถละเอียดๆ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้น หากว่า เมื่อเธอมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ ด้วยฉันทะบ้าง ฯลฯ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล. [๒๖๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นมนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ วิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิด ขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับ จิตด้วยจิต เมื่อเธอ กัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้น จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนบุรุษผู้มีกำลังมากจับบุรุษผู้มีกำลังน้อยกว่าไว้ได้แล้ว บีบ กด เค้นที่ศีรษะ คอ หรือก้านคอไว้ให้แน่น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น หากเมื่อเธอ มนสิการถึงสัณฐานแห่งวิตกสังขารของวิตกแม้เหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ยังเกิดขึ้นเรื่อยๆ ภิกษุนั้นพึงกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วย ลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตไว้ด้วยจิต เมื่อเธอกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตอยู่ได้ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอ ย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้ง อยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายในนั้นแล.
ผู้ชำนาญในทางเดินแห่งวิตก
[๒๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อภิกษุอาศัยนิมิตใดแล้ว มนสิการนิมิตใดอยู่ วิตกอัน เป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง ย่อมเกิดขึ้น เมื่อเธอมนสิการ นิมิตอื่นจากนิมิตนั้น อันประกอบด้วยกุศล วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่นในภายใน นั้นแล เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาโทษของวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบ ด้วย ฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรม เอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นถึงความไม่นึก ไม่ใส่ใจวิตกเหล่านั้นอยู่ วิตก อันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อม ถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็น ธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นมนสิการสัณฐานแห่งวิตกสังขารของ วิตกเหล่านั้นอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อัน เธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็นบาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อม ตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล เมื่อภิกษุนั้นกัดฟันด้วยฟัน ดุนเพดานด้วยลิ้น ข่ม บีบคั้น บังคับจิตด้วยจิตอยู่ วิตกอันเป็นบาปอกุศล ประกอบด้วยฉันทะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง อันเธอย่อมละเสียได้ ย่อมถึงความตั้งอยู่ไม่ได้ เพราะละวิตกอันเป็น บาปอกุศลเหล่านั้นได้ จิตย่อมตั้งอยู่ด้วยดี สงบ เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ตั้งมั่น ในภายในนั้นแล ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า เป็นผู้ชำนาญในทางเดินของวิตก เธอจักจำนง วิตกใด ก็จักตรึกวิตกนั้นได้ จักไม่จำนงวิตกใด ก็จักไม่ตรึกวิตกนั้นได้ ตัดตัณหาได้แล้ว คลี่คลาย สังโยชน์ได้แล้ว ทำที่สุดแห่งทุกข์ได้แล้ว เพราะละมานะได้โดยชอบ [ได้มารู้ยิ่งซึ่งธรรมของ ท่านที่เป็นพระอรหันต์โดยชอบ] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ ผู้มีพระภาค แล้วแล.
จบ. วิตักกสัณฐานสูตร ที่ ๑๐
จบ สีหนาทวรรค ที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. จูฬสีหนาทสูตร ๒. มหาสีหนาทสูตร ๓. มหาทุกขักขันธสูตร ๔. จูฬทุกขัก- *ขันธสูตร ๕. อนุมานสูตร ๖. เจโตขีลสูตร ๗. วนปัตถสูตร ๘. มธุปิณฑิกสูตร ๙. เทวธาวิตักกสูตร ๑๐. วิตักกสัณฐานสูตร.
-----------------------------------------------------
โอปัมมวรรค
๑. กกจูปมสูตร
ว่าด้วยอุปมาด้วยเลื่อย
พระโมลิยผัคคุนะคลุกคลีกับภิกษุณี
[๒๖๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี โดยสมัยนั้น ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลาย เกินเวลา ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับภิกษุณีทั้งหลายอย่างนี้ ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนภิกษุณี เหล่านั้นต่อหน้า ท่านพระโมลิยผัคคุนะท่านก็โกรธ ขัดใจภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ ก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนท่านพระโมลิยผัคคุนะต่อหน้าภิกษุณีเหล่านั้น พวกภิกษุณีก็พากัน โกรธ ขัดใจภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี ท่านพระโมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับภิกษุณี ทั้งหลายอย่างนี้ ครั้งนั้น ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระ- *โมลิยผัคคุนะอยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเกินเวลา ท่านพระโมลิยผัคคุนะ อยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณี เช่นนี้ ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนพวกภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าท่านพระโมลิยผัคคุนะ ท่านก็โกรธ ขัดใจ ภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนท่านพระโมลิยผัคคุนะต่อหน้า พวกภิกษุณีเหล่านั้น พวกภิกษุณีเหล่านั้นก็โกรธ ขัดใจภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี ท่านพระโมลิยผัคคุนะ อยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีเช่นนี้. [๒๖๔] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปใดรูปหนึ่งมา ตรัสว่า ดูกรภิกษุ เธอจงมา เธอจงบอกโมลิยผัคคุนะภิกษุ ตามคำของเราว่า ดูกรท่านโมลิยผัคคุนะ พระศาสดาให้ หาท่าน ภิกษุรูปนั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว เข้าไปหาท่านพระโมลิยผัคคุนะถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้กล่าวคำนี้กะท่านพระโมลิยผัคคุนะว่า ดูกรท่านโมลิยผัคคุนะ พระศาสดารับสั่งให้หาท่าน ท่านพระโมลิยผัคคุนะ รับคำภิกษุรูปนั้นแล้ว ก็เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคม พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสถามท่านพระโมลิยผัคคุนะดังนี้ ว่า ดูกรผัคคุนะ ได้ทราบว่า เธออยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีจนเกินเวลา ดูกรผัคคุนะ เธออยู่คลุกคลี กับพวกภิกษุณีเช่นนั้น ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนพวกภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าเธอ เธอก็โกรธ ขัดใจภิกษุ รูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี อนึ่ง ถ้าภิกษุรูปไรติเตียนเธอต่อหน้าภิกษุณีทั้งหลาย เธอ เหล่านั้นก็โกรธ ขัดใจภิกษุรูปนั้น ถึงกระทำให้เป็นอธิกรณ์ก็มี ดูกรผัคคุนะ เธออยู่คลุกคลีกับ ภิกษุณีทั้งหลายเช่นนี้จริงหรือ? พระโมลิยผัคคุนะทูลรับว่า จริงพระพุทธเจ้าข้า จึงตรัสถาม ต่อไปว่า ดูกรผัคคุนะ เธอเป็นกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธามิใช่หรือ? โม. อย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. ดูกรผัคคุนะ การที่เธออยู่คลุกคลีกับพวกภิกษุณีจนเกินเวลานี้ ไม่สมควรแก่เธอผู้- *เป็นกุลบุตรออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธาเลย ดูกรผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าแม้ภิกษุ รูปไรติเตียนภิกษุณีเหล่านั้นต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนั้น เธอพึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัย เรือนเสีย แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และเราจักไม่เปล่ง วาจาที่ลามก จักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่ แลจักเป็นผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะภายใน ดูกรผัคคุนะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกรผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใครๆ ประหารภิกษุณีเหล่านั้น ด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนดิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศาตราต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนั้น เธอพึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และ เราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก จักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่ แลจักเป็นผู้มีเมตตาจิต ไม่มี โทสะภายใน ดูกรผัคคุนะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกรผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใครๆ ติเตียนตัวเธอเอง ต่อหน้าเธอ แม้ในข้อนั้น เธอพึงละความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย ดูกรผัคคุนะ แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน และเราจักไม่ เปล่งวาจาที่ลามก จักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์อยู่ แลจักเป็นผู้มีเมตตาจิต ไม่มีโทสะ ภายใน ดูกรผัคคุนะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูกรผัคคุนะ เพราะฉะนั้น ถ้าใครๆ ประหาร เธอด้วยฝ่ามือ ด้วยก้อนหิน ด้วยท่อนไม้ ด้วยศาตรา ดูกรผัคคุนะ แม้ในข้อนั้น เธอพึงละ ความพอใจ และวิตกอันอาศัยเรือนเสีย แม้ในข้อนั้น เธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่ แปรปรวน และเราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก จักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์แลจักเป็นผู้มี- *เมตตาจิต ไม่มีโทสะภายใน ดูกรผัคคุนะ เธอพึงศึกษาอย่างนี้ดังนี้แล.
ทรงแนะนำให้ฉันอาหารที่อาสนะแห่งเดียว
[๒๖๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัส เรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยหนึ่ง พวกภิกษุได้ทำจิตของเราให้ยินดีเป็นอันมาก เราขอเตือนภิกษุทั้งหลายไว้ในที่นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราฉันอาหารที่อาสนะแห่งเดียว เมื่อเราฉันอาหารที่อาสนะแห่งเดียวอยู่แล รู้สึกว่ามีอาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อย มีความเบากาย มีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ถึงพวกเธอก็จงฉันอาหารที่อาสนะแห่งเดียวเถิด แม้พวกเธอฉันอาหารที่ อาสนะแห่งเดียวกัน ก็จะรู้สึกว่ามีอาพาธน้อย มีความลำบากกายน้อย มีความเบากายมีกำลัง และอยู่อย่างผาสุก ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุเหล่านั้นอีก การทำสติให้เกิด ได้เป็นกรณียะในภิกษุเหล่านั้นแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนรถที่เทียมด้วยม้าอาชาไนย ซึ่งเป็นม้าที่ได้รับการฝึกมาดีแล้ว เดินไปตามหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ในที่มีพื้นราบเรียบ โดยไม่ ต้องใช้แส้ชั่วแต่นายสารถีผู้ฝึกหัดที่ฉลาดขึ้นรถ แล้วจับสายบังเหียนด้วยมือซ้าย จับแส้ด้วยมือ ขวาแล้ว ก็เตือนให้ม้าวิ่งตรงไป หรือเลี้ยวกลับไป ตามถนนตามความปรารถนาได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะไม่ต้องพร่ำสอนภิกษุทั้งหลายเนืองๆ ฉันนั้นเหมือนกัน การทำสติให้ เกิดได้เป็นกรณียะในภิกษุเหล่านั้นแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะฉะนั้น แม้พวกเธอก็จงละอกุศล ธรรมเสีย จงทำความพากเพียรแต่ในกุศลธรรมทั้งหลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้พวกเธอก็จักถึงความ เจริญ งอกงาม ไพบูลย์ในพระธรรมวินัยนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนป่าไม้รังใหญ่ ใกล้ บ้านหรือนิคม และป่านั้นดาดไปด้วยต้นละหุ่ง ชายคนหนึ่ง เล็งเห็นประโยชน์และคุณภาพของ ต้นรังนั้น ใคร่จะทำให้ต้นรังนั้นให้ปลอดภัย เขาจึงตัดต้นรังเล็กๆ ที่คดและถางต้นละหุ่ง อันคอยแย่งโอชาของต้นรังนั้นออก นำไปทิ้งในภายนอกเสียสิ้น ทำภายในป่าให้สะอาดเรียบร้อย แล้ว คอยรักษาต้นรังเล็กๆ ต้นตรงที่ขึ้นแรงดี โดยถูกต้องวิธีการ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยการ กระทำดังที่กล่าวมานี้แหละ กาลต่อมา ป่าไม้รังนั้นก็ถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ขึ้นโดยลำดับ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้พวกเธอก็จงละอกุศลธรรมเสีย จงทำความพากเพียรอยู่แต่ในกุศล ธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเถิด เพราะเมื่อเป็นเช่นนี้ แม้พวกเธอ ก็จะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในพระธรรมวินัยนี้ถ่ายเดียว.
แม่เรือนชื่อเวเทหิกา
[๒๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ที่พระนครสาวัตถีนี้แหละมีแม่เรือนคน หนึ่งชื่อว่าเวเทหิกา ดูกรภิกษุทั้งหลาย กิตติศัพท์อันงามของแม่เรือนชื่อว่าเวเทหิกาขจรไปแล้ว อย่างนี้ว่า แม่เรือนชื่อว่าเวเทหิกา เป็นคนสงบเสงี่ยมอ่อนโยน เรียบร้อย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แม่เรือนเวเทหิกา มีทาสีชื่อกาลีเป็นคนขยัน ไม่เกียจคร้าน จัดการงานดี ต่อมา นางกาลีได้ คิดอย่างนี้ว่า กิตติศัพท์อันงามของนายหญิงของเราขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม่เรือนชื่อว่าเวเทหิกา เป็นคนสงบเสงี่ยม อ่อนโยน เรียบร้อย ดังนี้ นายหญิงของเราไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ภายในให้ ปรากฏ หรือไม่มีความโกรธอยู่เลย หรือว่านายหญิงของเราไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ภายในให้ ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ อย่ากระนั้นเลย จำเราจะ ต้องทดลองนายหญิงดู วันรุ่งขึ้นนางกาลีทาสี ก็แสร้งลุกขึ้นสาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝ่ายแม่- *เรือนเวเทหิกา ก็ได้ตวาดนางกาลีทาสีขึ้นว่า เฮ้ย อีคนใช้กาลี นางกาลีจึงขานรับว่า อะไรเจ้าขา. เว. เฮ้ย เองเป็นอะไรจึงลุกจนสาย. กา. ไม่เป็นอะไรดอก เจ้าค่ะ. นางจึงกล่าวอีกว่า อีคนชั่วร้าย ก็เมื่อไม่เป็นอะไร ทำไมเองจึงลุกขึ้น จนสาย ดังนี้แล้ว โกรธ ขัดใจ ทำหน้าบึ้ง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทีนั้นนางกาลีทาสีจึงคิดว่า นายหญิงของเราไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ ในภายในให้ปรากฏเท่านั้น ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ ที่ไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายเรียบร้อยดี ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ อย่ากระนั้นเลย เราจะต้องทดลอง นายหญิงให้ยิ่งขึ้นไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถัดจากวันนั้นมา นางกาลีทาสี จึงลุกขึ้นสายกว่านั้นอีก ครั้งนั้น แม่เรือนเวเทหิกาก็ตวาดนางกาลีทาสีอีกว่า เฮ้ย อีคนใช้กาลี. กา. อะไรเล่า เจ้าข้า. เว. อีคนใช้ เองเป็นอะไรจึงนอนตื่นสาย. กา. ไม่เป็นอะไรดอก เจ้าค่ะ. นางจึงกล่าวอีกว่า เฮ้ย อีคนชั่วร้าย ก็เมื่อไม่เป็นอะไร ทำไมเองจึงนอนตื่นสายเล่า. ดังนี้แล้ว โกรธ ขัดใจ แผดเสียงด่าด้วยถ้อยคำหยาบคาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น นางกาลี ทาสีจึงคิดดังนี้ว่า นายหญิงของเรา ไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏเท่านั้น ไม่ใช่ไม่มี ความโกรธ ที่ไม่ทำความโกรธที่มีอยู่ในภายในให้ปรากฏ ก็เพราะเราจัดการงานทั้งหลายให้เรียบร้อย ดี ไม่ใช่ไม่มีความโกรธ อย่ากระนั้นเลย เราจะต้องทดลองให้ยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก ดังนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แต่นั้นมา นางกาลีทาสีก็ลุกขึ้นสายกว่าทุกวัน ครั้งนั้น แม่เรือนเวเทหิกาผู้นาย ก็ร้อง ด่าตวาดนางกาลีทาสีอีกว่า อีกาลีตัวร้าย. กา. อะไรเล่า เจ้าข้า. เว. อีคนใช้ เองเป็นอะไร จึงตื่นสายนักเล่า. กา. ไม่เป็นอะไรดอก เจ้าค่ะ. นางจึงกล่าวอีกว่า เฮ้ย อีชาติชั่ว ก็ไม่เป็นอะไร ทำไมจึงนอนตื่นสายนักเล่า ดังนี้แล้ว โกรธจัด จึงคว้าลิ่มประตู ปาศีรษะ ปากก็ว่า กูจะทำลายหัวมึง ดูกรภิกษุทั้งหลาย คราวนั้น นางกาลีทาสีมีศีรษะแตก โลหิตไหลโซม จึงเที่ยวโพนทะนา ให้บ้านใกล้เคียงทราบว่า คุณแม่ คุณพ่อทั้งหลาย เชิญดูการกระทำของคนสงบเสงี่ยม อ่อนโยน เรียบร้อยเอาเถิด ทำไมจึงทำแก่ ทาสีคนเดียวอย่างนี้เล่า เพราะโกรธเคืองว่า นอนตื่นสาย จึงคว้าลิ่มประตูปาเอาศีรษะ ปากก็ว่า กูจะทำลายหัวมึง ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่นั้นมา กิตติศัพท์อันชั่วของแม่เรือนเวเทหิกา ก็ขจรไปอย่างนี้ว่า แม่เรือนเวเทหิกา เป็นคนดุร้าย ไม่อ่อนโยน ไม่สงบเสงี่ยมเรียบร้อย แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในพระธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้น เป็นคนสงบเสงี่ยมจัด เป็นคนอ่อนโยนจัด เป็นคนเรียบร้อยจัด ได้ก็เพียงชั่วเวลาที่ยังไม่ได้กระทบด้วยคำอันไม่ เป็นที่พอใจเท่านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อใด เธอกระทบถ้อยคำอันไม่เป็นที่พอใจเข้า ก็ยังเป็น คนสงบเสงี่ยม อ่อนโยนเรียบร้อยอยู่ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อนั้นแหละ ควรถือว่าเธอเป็น- *คนสงบเสงี่ยม เป็นคนอ่อนโยน เป็นคนเรียบร้อยจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราไม่เรียกภิกษุรูปที่ เป็นคนว่าง่าย ถึงความเป็นคนว่าง่าย เพราะเหตุได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะแลคิลานปัจจย เภสัชบริขารว่า เป็นคนว่าง่ายเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะภิกษุรูปนั้น เมื่อไม่ได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลานปัจจยเภสัชบริขารนั้น ก็จะไม่เป็นคนว่าง่าย จะไม่ถึงความเป็นคนว่าง่ายได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง ภิกษุรูปใดแล มาสักการะเคารพ นอบ- *น้อมพระธรรมอยู่ เป็นคนว่าง่าย ถึงความเป็นคนว่าง่าย เราเรียกภิกษุรูปนั้นว่า เป็นคนว่าง่าย ดังนี้ เพราะฉะนั้นแหละ ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้สักการะ เคารพ นอบน้อมพระธรรม จักเป็นผู้ว่าง่าย จักถึงความเป็นคนว่าง่ายดังนี้.
ถ้อยคำที่คนอื่นจะพึงกล่าว ๕ ประการ
[๒๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑ กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑ กล่าวด้วยคำอ่อน หวานหรือคำหยาบคาย ๑ กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มี จิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควร หรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบ- *คายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิต เมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาลามก เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราแผ่เมตตาจิต อันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมา นี้แล. [๒๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาจอบและตะกร้ามาแล้ว กล่าว อย่างนี้ว่า เราจักกระทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดิน ดังนี้ เขาขุดลงตรงที่นั้นๆ โกยขี้ดิน ทิ้งในที่นั้นๆ บ้วนน้ำลายลงในที่นั้นๆ ถ่ายปัสสาวะรดในที่นั้นๆ แล้วสำทับว่าเองอย่าเป็น แผ่นดินๆ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจักทำแผ่นดิน อันใหญ่นี้ไม่ให้เป็นแผ่นดินได้หรือไม่? ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า ไม่ได้ พระเจ้าข้า ข้อนั้น เพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่าแผ่นดินอันใหญ่นี้ ลึกหาประมาณมิได้ เขาจะทำแผ่นดินอันใหญ่นี้ ไม่ให้เป็นแผ่นดินไม่ได้ง่ายเลย ก็แลบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑ กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑ กล่าวด้วยคำอ่อนหวาน หรือคำหยาบคาย ๑ กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มีจิต- *เมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าว โดยกาลอันสมควรหรือไม่ควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวด้วยถ้อยคำ อ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วย ประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวนเราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก เราจักอนุเคราะห์ ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตาจิตอันเสมอด้วยแผ่นดิน ไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มี พยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.
เปรียบเหมือนบุรุษเขียนรูปในอากาศ
[๒๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาครั่งก็ตาม สีเหลืองสีเขียว หรือ สีเหลืองแก่ก็ตามมาแล้ว กล่าวอย่างนี้ว่า เราจักเขียนรูปต่างๆ ในอากาศนี้ กระทำให้เป็นรูป เด่นชัด ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะเขียนรูปต่างๆ ในอากาศนี้ กระทำให้เป็นรูปเด่นชัดได้หรือไม่? ไม่ได้พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร? เพราะธรรมดาอากาศนี้ ย่อมเป็นของไม่มีรูปร่าง ชี้ให้เห็นไม่ได้ เขาจะเขียนรูปในอากาศนั้น ทำให้เป็นรูปเด่นชัดไม่ได้ง่ายเลย ก็แหละบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่าน มีอยู่ ๕ ประการ คือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑ กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑ กล่าวด้วยคำอ่อน- *หวานหรือคำหยาบคาย ๑ กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำ อ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประ- *โยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาลามก เราจักอนุเคราะห์ ด้วยสิ่งอันเป็นประโยชน์ เราจักมีจิตเมตตา ไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคล นั้น และเราจะแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไป ตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษา ด้วยอาการดังกล่าวมานี้แล.
เปรียบเหมือนบุรุษเผาแม่น้ำคงคา
[๒๗๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษ ถือเอาคบหญ้าที่จุดไฟมาแล้ว กล่าวอย่าง นี้ว่า เราจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วนี้ ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจักทำแม่น้ำคงคาให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วได้หรือไม่? ไม่ได้พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะ เหตุไร? เพราะแม่น้ำคงคาเป็นแม่น้ำที่ลึก สุดที่จะประมาณ เขาจะทำแม่น้ำคงคานั้นให้ร้อนจัด ให้เดือดเป็นควันพลุ่ง ด้วยคบหญ้าที่จุดไฟแล้วไม่ได้ง่ายเลย ก็แลบุรุษนั้นจะต้องเหน็ดเหนื่อย ลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางแห่งถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะ พึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการ คือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑ กล่าวด้วยเรื่องจริง หรือไม่จริง ๑ กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือหยาบคาย ๑ กล่าวด้วยคำประกอบด้วยประโยชน์หรือไม่ ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อบุคคลอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม เขาจะกล่าวด้วยเรื่องจริง หรือไม่ก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวถ้อยคำประกอบด้วยประโยชน์ หรือไม่ประกอบด้วยประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่ง วาจาที่ลามก เราจักอนุเคราะห์ด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจักมีเมตตาจิต ไม่มีโทสะในภายใน เรา จักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตาจิตอันเสมอด้วยแม่น้ำคงคา ไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลกทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้น ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.
เปรียบเหมือนกระสอบหนังแมว
[๒๗๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนกระสอบหนังแมวที่นายช่างหนังฟอกดีเรียบ- *ร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่นและสำลี เป็นกระสอบที่ตีได้ไม่ดังก้อง ถ้ามีบุรุษถือเอาไม้หรือกระเบื้อง มา พูดขึ้นอย่างนี้ว่า เราจักทำกระสอบหนังแมว ที่เขาฟอกไว้ดีเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่น และสำลี ที่ตีได้ไม่ดังก้องนี้ ให้เป็นของมีเสียงดังก้อง ด้วยไม้หรือกระเบื้อง ดังนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นจะทำกระสอบหนังแมวที่เขาฟอกไว้ดี เรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่มและสำลี ที่ตีได้ไม่ดังก้องนี้ ให้กลับมีเสียงดังก้องขึ้นด้วยไม้หรือ กระเบื้องได้หรือไม่? ไม่ได้พระเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุไร? เพราะเหตุว่า กระสอบหนังแมวนี้ เขาฟอกดีเรียบร้อยแล้ว อ่อนนุ่มดังปุยนุ่นและสำลี ซึ่งเป็นของที่ตีได้ไม่ดังก้อง เขาจะทำกระสอบ หนังแมวนั้น ให้กลับเป็นของมีเสียงดังก้องขึ้นด้วยไม้หรือกระเบื้องไม่ได้ง่ายเลย บุรุษคนนั้น จะต้องเหน็ดเหนื่อยลำบากเสียเปล่าเป็นแน่แท้ ดังนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทางแห่ง ถ้อยคำที่บุคคลอื่นจะพึงกล่าวกะท่านมีอยู่ ๕ ประการคือ กล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควร ๑ กล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริง ๑ กล่าวด้วยคำอ่อนหวานหรือหยาบคาย ๑ กล่าวด้วยคำมีประโยชน์ หรือไร้ประโยชน์ ๑ มีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าว ๑ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อคนอื่นจะกล่าวโดยกาลอันสมควรหรือไม่สมควรก็ตาม จะกล่าวด้วยเรื่องจริงหรือไม่จริงก็ตาม จะกล่าวด้วยถ้อยคำอ่อนหวานหรือหยาบคายก็ตาม จะกล่าวด้วยถ้อยคำมีประโยชน์ หรือไร้- *ประโยชน์ก็ตาม จะมีจิตเมตตาหรือมีโทสะในภายในกล่าวก็ตาม ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น พวกเธอพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก เราจักอนุเคราะห์ ผู้อื่นด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจักมีเมตตาจิต ไม่มีโทสะภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคล นั้น และเราจักแผ่เมตตาจิตอันเสมอด้วยกระสอบหนังแมว ไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลก ทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ของจิตนั้นดังนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล.
พระโอวาทแสดงการเปรียบด้วยเลื่อย
[๒๗๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากจะมีพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า เอาเลื่อยที่มีที่จับ ทั้งสองข้าง เลื่อยอวัยวะใหญ่น้อยของพวกเธอ แม้ในเหตุนั้นภิกษุหรือภิกษุณีรูปใดมีใจคิดร้าย ต่อโจรเหล่านั้น ภิกษุหรือภิกษุณีรูปนั้น ไม่ชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอนของเรา เพราะเหตุที่อด- กลั้นไม่ได้นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ในข้อนั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า จิตของเราจักไม่ แปรปรวน เราจักไม่เปล่งวาจาที่ลามก เราจักอนุเคราะห์ผู้อื่นด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์ เราจักมีเมตตา จิตไม่มีโทสะในภายใน เราจักแผ่เมตตาจิตไปถึงบุคคลนั้น และเราจักแผ่เมตตาอันไพบูลย์ ใหญ่ยิ่ง หาประมาณมิได้ ไม่มีเวร ไม่มีพยาบาท ไปตลอดโลกทุกทิศทุกทาง ซึ่งเป็นอารมณ์ ของจิตนั้น ดังนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงศึกษาด้วยอาการดังที่กล่าวมานี้แล. [๒๗๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็พวกเธอควรใส่ใจถึงโอวาท แสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้ เนืองนิตย์เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจะไม่มองเห็นทางแห่งถ้อยคำที่มีโทษน้อย หรือโทษมาก ที่พวกเธอจะอดกลั้นไม่ได้ หรือยังจะมีอยู่บ้าง ไม่มีพระเจ้าข้า เพราะเหตุนั้นแหละ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกเธอจงใส่ใจถึงโอวาทแสดงการเปรียบด้วยเลื่อยนี้เนืองนิตย์เถิด ข้อนั้นจักเป็น ประโยชน์และความสุขแก่พวกเธอสิ้นกาลนาน ดังนี้แล. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีใจชื่นชมยินดีภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ กกจูปมสูตร ที่ ๑
-----------------------------------------------------
๒. อลคัททูปมสูตร
ว่าด้วยข้ออุปมาด้วยอสรพิษ
[๒๗๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอารามของท่าน อนาถบิณฑิก- *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล ทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแก่ อริฏฐภิกษุ ผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้วโดย ประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้น ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง. ภิกษุมากหลายได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ทิฏฐิอันลามก เห็นปานนี้ บังเกิดแก่อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาค ทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่ง อันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง. ครั้งนั้น ภิกษุเหล่านั้นเข้าไป หาอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้ง แล้วได้กล่าวกะเธอดังนี้ว่า ดูกรอริฏฐผู้มีอายุ ได้ยินว่า ทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแก่ท่านว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรม เหล่านั้น ไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ดังนี้จริงหรือ? อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอ ของคนฆ่าแร้งรับว่า จริง ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่า นั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง. ครั้งนั้นแล ภิกษุเหล่านั้นปรารถนาจะปลดเปลื้อง อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้ง จากทิฏฐิอันลามกเห็นปานนั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน ด้วยกล่าวว่า ดูกรอริฏฐผู้มีอายุ ท่านอย่าได้กล่าวอย่างนี้เลย อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าว ตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีดอก เพราะพระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้ ดูกรอริฏฐผู้มีอายุ ธรรมทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตรายโดยอเนกปริยาย ก็แหละ ธรรมเหล่านั้น สามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลายซึ่งมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่โดยยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่โดยยิ่ง พระผู้มี พระภาค ตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ ... พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยคบ หญ้า ... พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง พระผู้มีพระภาคตรัสกาม ทั้งหลาย มีอุปมาด้วยความฝัน ... พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยของขอยืม ... พระผู้มี พระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยผลไม้ ... พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยเขียง หั่นเนื้อ พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยหอก และหลาว ... พระผู้มีพระภาคตรัส กามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่ โดยยิ่ง. อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้ง ถูกภิกษุเหล่านั้นซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่ แม้อย่างนี้แล ก็ยังกล่าวยึดมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นเอง ด้วยกำลังทิฏฐิว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลาย ที่พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง.
อริฏฐภิกษุค้านพระธรรมเทศนา
[๒๗๕] ในกาลใดแล ภิกษุเหล่านั้น ไม่สามารถเพื่อจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุผู้เป็น เหล่ากอของคนฆ่าแร้งจากทิฏฐิอันลามกนั้น ในกาลนั้น ภิกษุเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแก่อริฏฐภิกษุผู้เป็น เหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรม ทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำ อันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ได้ฟังแล้วว่า ได้ยินว่า ทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้บังเกิดขึ้นแก่อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า เรารู้ทั่วถึงธรรมที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคทรง แสดงแล้วว่า เป็นธรรมกระทำอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถกระทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพจริง ทีนั้นแล ข้าพระองค์ทั้งหลาย เข้าไปหาอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งแล้ว ได้กล่าวกะอริฏฐ ภิกษุว่า ดูกรอริฏฐผู้มีอายุ ได้ยินว่า ทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้บังเกิดขึ้นแก่ท่านว่า ข้าพเจ้า รู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัส แล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ดังนี้ จริงหรือ เมื่อข้าพระองค์ทั้งหลายกล่าวอย่างนี้แล้ว อริฏฐภิกษุได้กล่าวกะข้าพระองค์ทั้งหลาย ว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรม ทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำ อันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ทีนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายปรารถนาจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุจาก ทิฏฐิอันลามกนั้น จึงซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวน ด้วยกล่าวว่า ดูกรอริฏฐผู้มีอายุ ท่านอย่า ได้กล่าวอย่างนี้เลย อย่ากล่าวตู่พระผู้มีพระภาค การกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคไม่ดีดอก เพราะว่า พระผู้มีพระภาคไม่ตรัสอย่างนี้ ดูกรอริฏฐผู้มีอายุ ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำอันตราย โดยอเนกปริยาย ก็แหละธรรมเหล่านั้นสามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่อง เสพได้จริง พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลายซึ่งมีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่โดยยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยร่างกระดูก ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษ ในกามเหล่านั้นมีอยู่โดยยิ่ง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อริฏฐภิกษุถูกข้าพระองค์ทั้งหลายซักไซ้ ไล่เลียง สอบสวนอยู่ แม้อย่างนี้แล ก็ยังกล่าวยึดมั่นทิฏฐิอันลามกนั้นเอง ด้วยกำลังทิฏฐิว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรม ทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถ ทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกาลใดแล ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่ สามารถเพื่อจะปลดเปลื้องอริฏฐภิกษุจากทิฏฐิอันลามกนั้น ในกาลนั้น ข้าพระองค์ทั้งหลายจึงกราบ ทูลเนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงติเตียนอริฏฐภิกษุ
[๒๗๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุรูปหนึ่งมาว่า มาเถิดภิกษุ เธอจง เรียกอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งมาตามคำของเราว่า ดูกรอริฏฐผู้มีอายุ พระศาสดา ย่อมเรียกท่าน. ภิกษุนั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว จึงเข้าไปหาอริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคน ฆ่าแร้งถึงที่อยู่ แล้วกล่าวกะอริฏฐภิกษุว่า ดูกรอริฏฐผู้มีอายุ พระศาสดาย่อมตรัสเรียกท่าน. อริฏฐภิกษุรับต่อภิกษุนั้นว่าอย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวาย อภิวาท พระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะอริฏฐภิกษุ ผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งว่า ดูกรอริฏฐ ได้ยินว่า ทิฏฐิอันลามกเห็นปานนี้ บังเกิดขึ้นแก่เธอว่า ข้าพเจ้ารู้ถึงธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาค ตรัสแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้ จริง ดังนี้ จริงหรือ? อริฏฐภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์รู้ถึงธรรมที่ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงแล้ว โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่พระผู้มีพระภาคตรัสแล้วว่า เป็น ธรรมกระทำซึ่งอันตราย ธรรมเหล่านั้นไม่สามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง. พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรบุรุษเปล่า เธอรู้ถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ ต่อใครแล. ดูกรบุรุษเปล่า ธรรม ทั้งหลายเรากล่าวว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย โดยอเนกปริยายมิใช่หรือ? ก็แหละ ธรรม เหล่านั้นสามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง เรากล่าวกามทั้งหลายซึ่งมีความยินดีน้อย มีทุกข์ มาก มีความคับแคบมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่โดยยิ่ง เรากล่าวกามทั้งหลายมีอุปมาด้วยร่าง กระดูก ... มีอุปมาด้วยชิ้นเนื้อ ... มีอุปมาด้วยคบหญ้า ... มีอุปมาด้วยหลุมถ่านเพลิง ... มีอุปมาด้วย ความฝัน ... มีอุปมาด้วยของขอยืม ... มีอุปมาด้วยผลไม้ ... มีอุปมาด้วยเขียงหั่นเนื้อ ... มีอุปมาด้วย หอกและหลาว ... มีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมี โดยยิ่ง ดูกรบุรุษเปล่า เออก็แล เธอกล่าวตู่เรา ขุดตนเองและประสพบาปมิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฏฐิอันลามก อันตนถือเอาชั่วแล้ว กรรมนั้นแลจักมีแก่เธอเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อ ทุกข์สิ้นกาลนาน. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เออก็ อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ แม้ จะกระทำญาณให้สูงขึ้นในพระธรรมวินัยนี้ได้หรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้ เจริญ ความสูงแห่งญาณอะไรเล่าจะพึงมีได้ ก็ความสูงขึ้นแห่งญาณนั้นจักมีไม่ได้เลย. เมื่อภิกษุ ทั้งหลายกราบทูลอย่างนี้แล้ว อริฏฐภิกษุเป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน นั่งคอตกก้มหน้า ซบเซา หมด ปฏิภาณ. [๒๗๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทราบว่า อริฏฐภิกษุเป็นผู้นิ่ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงได้ตรัสกะอริฏฐภิกษุว่า ดูกรบุรุษเปล่า เธอจักปรากฏด้วย ทิฏฐิอันลามกของตนนั้นเองแล เราจักสอบถามภิกษุทั้งหลายในที่นี้. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาค ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เธอทั้งหลายรู้ถึงธรรมที่เราแสดงแล้วอย่างนี้ โดย ประการที่อริฏฐภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ กล่าวตู่เรา ขุดตนเอง และประสพบาปมิใช่ บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฏฐิอันลามก อันตนถือเอาชั่วแล้วดังนี้หรือ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นมีไม่ได้เลยพระเจ้าข้า ด้วยว่าธรรมทั้งหลายพระผู้มีพระภาคตรัสแก่ข้าพระองค์ทั้งหลาย โดย อเนกปริยายว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย ก็แหละ ธรรมเหล่านั้น สามารถทำอันตรายแก่ผู้ ซ่องเสพได้จริง พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่โดยยิ่ง พระผู้มีพระภาคตรัสกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยร่างกระดูก มีทุกข์ มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่โดยยิ่ง ฯลฯ พระผู้มีพระภาคตรัสกาม ทั้งหลาย มีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่ โดยยิ่ง. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีแล้ว ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย รู้ถึงธรรมที่เราแสดงแล้ว อย่างนี้ โดยประการที่ธรรมทั้งหลายที่เรากล่าวแล้วว่า เป็นธรรมกระทำซึ่งอันตราย แก่ท่าน ทั้งหลายโดยอเนกปริยาย ก็แหละ ธรรมเหล่านั้น สามารถทำอันตรายแก่ผู้ซ่องเสพได้จริง เรา กล่าวกามทั้งหลาย มีความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้นมีอยู่โดยยิ่ง เรากล่าวกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยร่างกระดูก มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามเหล่านั้น มีอยู่โดยยิ่ง ฯลฯ เรากล่าวกามทั้งหลาย มีอุปมาด้วยศีรษะงูพิษ มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก เออก็แล อริฏฐ ภิกษุผู้เป็นเหล่ากอของคนฆ่าแร้งนี้ กล่าวตู่เรา ขุดตนเอง และประสพบาปมิใช่ บุญเป็นอันมาก ด้วยทิฏฐิอันลามก อันตนถือเอาชั่วแล้ว กรรมนั้นแลจักมีแก่เธอผู้เป็นบุรุษเปล่า เพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจักเสพกามทั้งหลาย นอกจากกาม นอกจากกามสัญญา นอกจากกามวิตก ข้อนั้นไม่เป็นฐานะจะมีได้.
บุรุษเปล่าเรียนธรรม
[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษเปล่า บางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ บุรุษเปล่าเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วย ปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่ควรซึ่งการเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วย ปัญญา บุรุษเปล่าเหล่านั้นเป็นผู้มีความข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และมีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทา เป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด บุรุษเปล่าเหล่านั้น ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันบุรุษเปล่า เหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้น เป็นเพราะอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนไม่ดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน บุรุษผู้มีความต้องการด้วยงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษเขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงจับงูพิษ นั้นที่ขนดหรือที่หาง งูพิษนั้นพึงแว้งกัดเขาที่ข้อมือ ที่แขน หรือที่อวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง เขาพึงถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย มีการกัดนั้นเป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเหตุเพราะอะไร เพราะงูพิษตนจับไม่ดีแล้ว แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกบุรุษเปล่า บางพวกในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ ... อัพภูตธรรม เวทัลละ บุรุษเปล่าเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมไม่ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมไม่ควรซึ่ง การเพ่งแก่บุรุษเปล่าเหล่านั้น ผู้ไม่ไตร่ตรองเนื้อความด้วยปัญญา บุรุษเปล่าเหล่า นั้นเป็นผู้มีการข่มผู้อื่นเป็นอานิสงส์ และมีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ ย่อม เล่าเรียนธรรม ก็กุลบุตรทั้งหลาย ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์อันใด บุรุษเปล่าเหล่านั้น ย่อมไม่ได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรมเหล่านั้น อันบุรุษเปล่าเหล่านั้นเรียนไม่ดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์สิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะ ธรรมทั้งหลาย อันตนเรียนไม่ดีแล้ว.
กุลบุตรเรียนธรรม
[๒๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางพวกในพระธรรมวินัยนี้ ย่อมเล่าเรียนธรรม คือสุตตะ เคยยะ ... อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตรเหล่านั้น เล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อม ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้น ด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแก่กุลบุตร เหล่านั้น ผู้ไตร่ตรองซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้น ไม่เป็นผู้มีการข่มผู้อื่นเป็น อานิสงส์ และไม่มีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม และกุลบุตร เหล่านั้น ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรม เหล่านั้นอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนี้เป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน บุรุษผู้มีความต้องการงูพิษ เสาะหางูพิษ เที่ยวแสวงหางูพิษ เขาพึงพบงูพิษตัวใหญ่ พึงกดงูพิษ นั้นไว้มั่นด้วยไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะ ครั้นกดไว้มั่นด้วยไม้มีสัณฐานเหมือนเท้าแพะแล้ว จับที่คอไว้มั่น ถึงแม้งูพิษนั้นพึงรัดมือ แขน หรืออวัยวะใหญ่น้อยแห่งใดแห่งหนึ่ง ของบุรุษ นั้นด้วยขนด ก็จริง ถึงอย่างนั้น เขาไม่ถึงความตาย หรือความทุกข์ปางตาย ซึ่งมีการพันนั้น เป็นเหตุ ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะงูพิษอันตนจับไว้มั่นแล้ว แม้ฉันใด กุลบุตรบางพวก ในธรรมวินัยนี้ ก็ฉันนั้นนั่นแล ย่อมเล่าเรียนธรรม คือ สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม เวทัลละ กุลบุตรเหล่านั้นเล่าเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อม ไตร่ตรองเนื้อความแห่งธรรมเหล่านั้นด้วยปัญญา ธรรมเหล่านั้น ย่อมควรซึ่งการเพ่งแก่กุลบุตร เหล่านั้น ผู้ไตร่ตรองซึ่งเนื้อความด้วยปัญญา กุลบุตรเหล่านั้น ไม่เป็นผู้มีการข่มผู้อื่นเป็น อานิสงส์ และไม่มีการเปลื้องเสียซึ่งความนินทาเป็นอานิสงส์ ย่อมเล่าเรียนธรรม และกุลบุตร เหล่านั้น ย่อมเล่าเรียนธรรมเพื่อประโยชน์ใด ย่อมได้เสวยประโยชน์นั้นแห่งธรรมนั้น ธรรม เหล่านั้นอันกุลบุตรเหล่านั้นเรียนดีแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขสิ้นกาลนาน ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุอะไร เพราะธรรมทั้งหลายอันตนเรียนดีแล้ว. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะ เหตุนั้น เธอทั้งหลายพึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเราอย่างใด พึงทรงจำไว้อย่างนั้นเถิด ก็แล ท่านทั้งหลาย ไม่พึงรู้ถึงเนื้อความแห่งภาษิตของเรา พึงสอบถามเรา หรือถามภิกษุผู้ฉลาดก็ได้ เราจักแสดงธรรมมีอุปมาด้วยแพแก่ท่านทั้งหลาย เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการจะ ยึดถือ ท่านทั้งหลายจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจไว้ให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้ มีพระภาคแล้ว.
ธรรมเปรียบเหมือนแพ
[๒๘๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้เดินทางไกล พบห้วงน้ำใหญ่ ฝั่งข้างนี้ น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละ เรือหรือสะพานสำหรับข้าม เพื่อจะไปสู่ฝั่งโน้น ไม่พึงมี บุรุษนั้นพึงดำริอย่างนี้ว่า ห้วงน้ำนี้ใหญ่ แล ฝั่งข้างนี้น่ารังเกียจ มีภัยตั้งอยู่เฉพาะหน้า ฝั่งข้างโน้นเกษม ไม่มีภัย ก็แหละเรือหรือ สะพานสำหรับข้าม เพื่อจะไปสู่ฝั่งโน้น ย่อมไม่มี ถ้ากระไร เราพึงรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และ ใบไม้มาผูกเป็นแพ แล้วอาศัยแพนั้น พยายามด้วยมือและเท้า พึงข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี. ทีนี้แล บุรุษนั้นรวบรวมหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้มาผูกเป็นแพ อาศัยแพนั้น พยายามด้วยมือ และเท้า พึงข้ามถึงฝั่งโดยความสวัสดี บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งได้แล้ว พึงดำริ อย่างนี้ว่า แพนี้มี อุปการะแก่เรามากแล เราอาศัยแพนี้พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า ข้ามถึงฝั่งได้โดยความสวัสดี ถ้า กระไร เรายก แพนี้ขึ้นบนศีรษะ หรือแบกที่บ่า แล้วพึงหลีกไปตามความปรารถนา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นผู้กระทำอย่างนี้ จะชื่อว่ากระทำถูกหน้าที่ในแพ นั้นบ้างหรือหนอ? ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า ข้อนั้นชื่อว่าทำไม่ถูก พระเจ้าข้า? พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุรุษนั้นกระทำอย่างไร จึงจะชื่อว่าทำถูกหน้าที่ในแพนั้น? ในข้อนี้ บุรุษนั้นข้ามไปสู่ฝั่งแล้ว พึงดำริอย่างนี้ว่า แพนี้มีอุปการะแก่เรามากแล เราอาศัยแพนี้ พยายามอยู่ด้วยมือและเท้า จึงข้ามถึงฝั่งได้ โดยสวัสดี ถ้ากระไร เราพึงยกแพนี้ขึ้นวางบนบก หรือให้ลอยอยู่ในน้ำแล้ว พึงหลีกไปตามความปรารถนา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นกระทำ อย่างนี้แล จึงจะชื่อว่ากระทำถูกหน้าที่ในแพนั้น แม้ฉันใด. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรม มีอุปมาด้วยแพ เพื่อต้องการสลัดออก ไม่ใช่เพื่อต้องการยึดถือ ฉันนั้นแล เธอทั้งหลายรู้ถึง ธรรมมีอุปมาด้วยแพที่เราแสดงแล้วแก่ท่านทั้งหลาย พึงละแม้ซึ่งธรรมทั้งหลาย จะป่วยกล่าวไป ไยถึงอธรรมเล่า.
เหตุแห่งทิฏฐิ ๖
[๒๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งทิฏฐิ ๖ ประการเหล่านี้. ๖ ประการ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนในโลกนี้ ผู้ไม่ได้สดับ ไม่เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ไม่ได้รับแนะนำในธรรมของพระอริยะ ไม่เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดในธรรมของ สัตบุรุษ ไม่ได้รับแนะนำแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณาเห็นรูปว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่น เป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นของเรา เราเป็นนั้น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณา เห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั้นเป็นอัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นเหตุแห่งทิฏฐิว่า นั้นโลก นั้นอัตตาในปรโลก เรานั่นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนอริยสาวกผู้สดับแล้ว ผู้เห็น พระอริยะทั้งหลาย ฉลาดในธรรมของพระอริยะ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของพระอริยะ เห็น สัตบุรุษ ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ได้รับแนะนำดีแล้วในธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพิจารณา เห็นรูปว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณา เห็นเวทนาว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสัญญาว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นสังขารทั้งหลายว่า นั่นไม่ใช่ ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นรูปที่เห็นแล้ว เสียงที่ฟังแล้ว กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่ทราบแล้ว อารมณ์ที่รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้ว แล้วด้วยใจว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ย่อมพิจารณาเห็นเหตุ แห่งทิฏฐิว่า นั่นโลก นั่นตน ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความ แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา พระอริยสาวกนั้นพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมไม่สะดุ้ง ในเพราะสิ่งที่ไม่ มีอยู่.
ความสะดุ้ง ๒
[๒๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งกราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความสะดุ้งพึงมีได้ หรือหนอแล? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พึงมีได้ ภิกษุบุคคลบางคนในโลกนี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งนั้นได้มีแล้วแก่เราหนอ สิ่งนั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นพึงมีแก่เราหนอ เราไม่ได้สิ่งนั้น หนอ บุคคลนั้นย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร คร่ำครวญตีอก ถึงความลุ่มหลง ดูกรภิกษุ เมื่อความ พินาศ แห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความสะดุ้ง ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล. ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความไม่สะดุ้งพึงมีหรือ? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พึงมี ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า สิ่งนั้น ได้มีแล้วแก่เราหนอ สิ่งนั้นย่อมไม่มีแก่เราหนอ สิ่งนั้นพึงมีแก่เราหนอ เราจะไม่ได้สิ่งนั้นหนอ บุคคลนั้น ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่คร่ำครวญตีอก ไม่ถึงความลุ่มหลง ดูกร ภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายนอกไม่มี ความไม่สะดุ้ง ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล. ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความสะดุ้ง พึงมีหรือหนอแล? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า พึงมี ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความเห็น อย่างนี้ว่า นั้นโลก นั้นอัตตา ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความ แปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น บุคคลเหล่านั้น ย่อมฟังต่อตถาคต หรือสาวกของตถาคต ผู้แสดงธรรมอยู่ เพื่อถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิ เหตุแห่งทิฏฐิ ความตั้งมั่นแห่ง ทิฏฐิ ความกลัดกลุ้มด้วยทิฏฐิ และเชื้อแห่งความยึดมั่นทั้งหมด เพื่อระงับสังขารทั้งหมด เพื่อ สละคืนอุปธิทั้งหมด เพื่อความสิ้นแห่งตัณหา เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน. บุคคลมีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักขาดสูญแน่แท้ จักฉิบหายแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้ บุคคลนั้น ย่อมเศร้าโศก ลำบาก ร่ำไร คร่ำครวญตีอก ถึงความลุ่มหลง ดูกรภิกษุ เมื่อความพินาศแห่ง บริขารในภายในไม่มี ความสะดุ้ง ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล. ภิกษุนั้นทูลถามว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายในไม่มี ความไม่สะดุ้งพึงมีได้หรือ? พระผู้มี พระภาคตรัสว่า พึงมี ภิกษุ บุคคลบางคนในโลกนี้ ไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า นั้นโลก นั้นอัตตา ในปรโลก เรานั้นจักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่เสมอ ด้วยความเที่ยงอยู่อย่างนั้น บุคคลนั้น ย่อมฟังต่อตถาคตหรือต่อสาวกของตถาคตผู้แสดงธรรมอยู่ เพื่อถอนขึ้นซึ่งทิฏฐิ เหตุแห่งทิฏฐิ ความตั้งมั่นแห่งทิฏฐิ ความกลัดกลุ้มด้วยทิฏฐิ และเชื้อ แห่งความยึดมั่นทั้งหมด เพื่อระงับสังขารทั้งหมด เพื่อความสละคืนอุปธิทั้งหมด เพื่อความสิ้น แห่งตัณหา เพื่อความสำรอก เพื่อความดับ เพื่อนิพพาน. บุคคลนั้นไม่มีความเห็นอย่างนี้ว่า เราจักขาดสูญแน่แท้ จักฉิบหายแน่แท้ จักไม่มีแน่แท้ บุคคลนั้น ย่อมไม่เศร้าโศก ไม่ลำบาก ไม่ร่ำไร ไม่คร่ำครวญตีอก ไม่ถึงความลุ่มหลง ดูกรภิกษุ เมื่อความพินาศแห่งบริขารในภายใน ไม่มี ความไม่สะดุ้ง ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้แล. [๒๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย พึงกำหนดถือเอาเครื่องบริขารที่ควรกำหนด ถือเอา ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตั้งอยู่เสมอด้วยความ เที่ยงอย่างนั้น เธอทั้งหลาย ย่อมเห็นเครื่องบริขารที่ควรกำหนดถือเอา ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตั้งอยู่เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้นหรือไม่? ภิกษุทั้งหลาย กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ทั้งหลาย ไม่เห็นเครื่องบริขารที่ควรกำหนดถือเอา นั้นเลย. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย เราก็ยังไม่พิจารณาเห็นเครื่องบริขาร ที่ควรกำหนดถือเอา ซึ่งเป็นของเที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ตั้งอยู่ เสมอด้วยความเที่ยงอย่างนั้น. เธอทั้งหลาย พึงเข้าไปยึดถืออัตตวาทุปาทาน ซึ่งไม่เป็นที่บังเกิด ความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส เธอทั้งหลายเห็นอัตตวาทุปาทาน ซึ่งไม่เป็น ที่บังเกิดความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส หรือไม่? ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เห็นอัตตวาทุปาทาน ซึ่งไม่เป็นที่บังเกิดความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเลย พระเจ้าข้า. ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ยังไม่พิจารณาเห็นอัตตวาทุปาทาน ซึ่งไม่เป็นที่บังเกิด ความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส. เธอทั้งหลาย พึงอาศัยทิฏฐินิสัย ซึ่งไม่ เป็นที่บังเกิดความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปยาส เธอทั้งหลายเห็นทิฏฐินิสัย ซึ่ง ไม่เป็นที่บังเกิดความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปยาส หรือไม่? ข้าพระองค์ทั้งหลายไม่เห็นทิฏฐินิสัย ซึ่งไม่เป็นที่บังเกิดความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสเลย พระเจ้าข้า? ดีละ ภิกษุทั้งหลาย แม้เราก็ยังไม่พิจารณาเห็นทิฏฐินิสัย ซึ่งไม่เป็นที่บังเกิดความโศก ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาส.
พาลธรรม
[๒๘๔] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่ออัตตามีอยู่ บริขารที่เนื่อง ด้วยอัตตามีก็พึงมีว่า ของเรา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า: ดูกรภิกษุทั้งหลาย อนึ่ง เมื่อบริขารเนื่องอัตตามีอยู่ อัตตาพึงมีว่าของเรา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า: ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่ออัตตาและบริขารเนื่องด้วยอัตตาที่บุคคลถือเอาไม่ได้ โดยความ เป็นของจริง โดยความเป็นของแท้ เหตุแห่งทิฏฐิว่า นั้นโลก นั้นอัตตา ในปรโลก เรานั้น จักเป็นผู้เที่ยง ยั่งยืน คงที่ ไม่มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา จักตั้งอยู่ด้วยความเที่ยงอย่างนั้น ข้อนี้เป็นพาลธรรมบริบูรณ์สิ้นเชิงมิใช่หรือ? ข้อนี้ ไฉนจะไม่พึงเป็น พระเจ้าข้า เป็นพาลธรรมบริบูรณ์สิ้นเชิงทีเดียว พระเจ้าข้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง? ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า? เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา? ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นไฉน เวทนา ... สัญญา ... สังขาร ... ทั้งหลาย ... วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง? ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า? ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้น ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตาของเรา? ข้อนี้ไม่ควรเลย พระเจ้าข้า. เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และ ปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ รูปทั้งปวง เธอทั้งหลาย พึงเห็นด้วยปัญญา อันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา เวทนาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สัญญาอย่างใดอย่างหนึ่ง ... สังขารเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ... วิญญาณอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน เป็น ภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต อยู่ในที่ไกลหรือในที่ใกล้ วิญญาณ ทั้งปวง เธอทั้งหลายพึงเห็นด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา.
สมัญญาผู้หมดกิเลส
[๒๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่าย ทั้งในรูป ทั้งในเวทนา ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขารทั้งหลาย ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลาย กำหนัด เพราะคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว ย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้ มิได้มีอีก. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรากล่าวว่า ผู้มีลิ่มคืออวิชชาอันยกขึ้นแล้ว ดังนี้บ้าง ว่าผู้มีเครื่อง แวดล้อม คือกัมมาภิสังขารอันรื้อเสียแล้ว ดังนี้บ้าง ว่าผู้มีเสาระเนียดคือตัณหาอันถอนขึ้นแล้ว ดังนี้บ้าง ว่าผู้ไม่มีบานประตูคือสังโยชน์ ดังนี้บ้าง ว่าผู้ประเสริฐ มีธงคือมานะอันปลงลงแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว ผู้พรากแล้ว ดังนี้บ้าง. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีลิ่มคืออวิชชาอันยก ขึ้นแล้ว อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละอวิชชาได้แล้ว ตัดราก ขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีสืบไป มีอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไปเป็น ธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีลิ่มคืออวิชชาอันยกขึ้นแล้วด้วยอาการอย่างนี้แล. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีเครื่องแวดล้อม คือกัมมาภิสังขารอันรื้อเสียแล้วอย่างไรเล่า? ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ละสังขารคือชาติ อันให้ซึ่งภพใหม่ได้แล้ว ตัดราก ขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีสืบไป มีอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไปเป็น ธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีเครื่องแวดล้อมคือกัมมาภิสังขารอันรื้อเสียแล้ว ด้วย อาการอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีเสาระเนียดคือตัณหาอันถอน ขึ้นอย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ละตัณหาได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีสืบไป มีอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีเสาระเนียดคือตัณหาอันถอนขึ้นแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้แล. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่มีบานประตูคือสังโยชน์อย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ละโอรัมภาคิยสังโยชน์ ๕ ได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความไม่มีสืบไป มีอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ไม่มีบาน ประตูคือสังโยชน์ ด้วยอาการอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประเสริฐ มีธงคือมานะ อันปลงลงแล้ว มีภาระอันปลงแล้ว พรากแล้วอย่างไรเล่า? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน พระธรรมวินัยนี้ ละอัสมิมานะได้แล้ว ตัดรากขาดแล้ว กระทำให้เป็นดุจตาลยอดด้วน ถึงความ ไม่มีสืบไป มีอันไม่บังเกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประเสริฐ มีธงคือ มานะอันปลงลงแล้ว มีภาระอันปลงลงแล้ว พรากแล้ว ด้วยอาการอย่างนี้แล.
การวางใจเป็นกลางในลาภสักการะ
[๒๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เทวดาทั้งหลาย พร้อมด้วยพระอินทร์ พร้อมด้วยพรหม พร้อมด้วยปชาบดี แสวงหาภิกษุผู้มีจิตอันหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ย่อมไม่ประสบว่า วิญญาณ ของตถาคตอาศัยแล้วซึ่งที่นี้ ข้อนั้นเพราะเหตุอะไร ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวตถาคต [บุคคลเช่นนั้น] ว่าใครๆ ไม่จำต้องกล่าวในทิฏฐิธรรม. สมณพราหมณ์พวกหนึ่งกล่าวตู่เราผู้ กล่าวอย่างนี้แล ผู้บอกอย่างนี้ ด้วยมุสาวาทเปล่าๆ อันไม่มีจริง อันไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดม เป็นผู้ให้สัตว์พินาศ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดแห่ง สัตว์ผู้มีอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจะกล่าวอย่างใด และไม่กล่าวอย่างใดก็หาไม่ ท่านสมณ- *พราหมณ์เหล่านั้น ก็ยังกล่าวตู่เราด้วยมุสาวาทเปล่าๆ อันไม่มีจริง อันไม่เป็นจริงว่า พระสมณโคดม เป็นผู้ให้สัตว์พินาศ ย่อมบัญญัติความขาดสูญ ความพินาศ ความเลิกเกิดแห่งสัตว์ผู้มีอยู่. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมบัญญัติทุกข์ และความดับทุกข์ ทั้งในกาลก่อนและในกาลบัดนี้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าบุคคลเหล่าอื่นย่อมด่า ย่อมบริภาษ ย่อมโกรธ ย่อมเบียดเบียน ย่อมกระทบกระเทียบตถาคต ในการประกาศสัจจะ ๔ ประการนั้น ตถาคตก็ไม่มีความอาฆาต ไม่มี ความโทมนัส ไม่มีจิตยินร้าย. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าชนเหล่าอื่น ย่อมสักการะ ย่อมเคารพ ย่อมนับถือ ย่อมบูชาตถาคต ในการประกาศสัจจะ ๔ ประการนั้น ตถาคตก็ไม่มีความยินดี ไม่มีความโสมนัส ไม่มีใจเย่อหยิ่งในปัจจัยทั้งหลาย มีสักการะเป็นต้นนั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าชนเหล่าอื่น ย่อมสักการะ ย่อมเคารพ ย่อมนับถือ ย่อมบูชาตถาคต ในการประกาศ สัจจะ ๔ ประการนั้น ตถาคตมีความดำริอย่างนี้ ในปัจจัยทั้งหลายมีสักการะเป็นต้นนั้นว่า สักการะเห็นปานนี้ บุคคลกระทำแก่เราในขันธปัญจกที่เรากำหนดรู้แล้วในกาลก่อน. [๒๘๗] เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ว่า ชนเหล่าอื่นพึงด่า พึงบริภาษ พึงโกรธ พึงเบียดเบียน พึงกระทบกระเทียบท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายไม่พึงกระทำความอาฆาต ไม่พึงกระทำความโทมนัส ไม่พึงกระทำความไม่ชอบใจ ในชนเหล่าอื่นนั้น. เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าว่า ชนเหล่าอื่นพึงสักการะ พึงเคารพ พึงนับถือ พึงบูชาท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย ไม่พึงกระทำความยินดี ความโสมนัส ไม่พึงกระทำความเย่อหยิ่งแห่งใจในปัจจัย ทั้งหลายมีสักการะเป็นต้นนั้น. เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย แม้ถ้าว่า ชนเหล่าอื่น พึงสักการะ พึงเคารพ พึงนับถือ พึงบูชาท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย พึงดำริอย่างนี้ ในปัจจัย ทั้งหลายมีสักการะเป็นต้นนั้นว่า สักการะเห็นปานนี้ บุคคลกระทำแก่เราทั้งหลาย ในขันธปัญจก ที่เราทั้งหลายกำหนดรู้แล้วในกาลก่อนๆ เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่าน ทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสิ่งนั้นเสีย สิ่งนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งอะไรเล่า ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย รูป ไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อ ประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละเวทนานั้นเสีย เวทนานั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อ ความสุข สิ้นกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัญญาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละ สัญญานั้นเสีย สัญญานั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังขารทั้งหลายไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละสังขารเหล่านั้นเสีย สังขารเหล่านั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้น ท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ชนพึงนำไป พึงเผาหรือ พึงกระทำหญ้า ไม้ กิ่งไม้ และใบไม้ ในพระวิหารเชตวันนี้ ตามความปรารถนา ท่านทั้งหลายพึงดำริอย่างนี้ บ้างหรือ หนอว่า ชนย่อมนำไป ย่อมเผา หรือย่อมกระทำเราทั้งหลาย ตามความปรารถนา? ไม่เป็นได้เลย พระเจ้าข้า. ข้อนั้นเป็นเพราะเหตุแห่งอะไร? ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เพราะว่านั้นไม่ใช่อัตตา หรือบริขารที่เนื่องด้วยอัตตาของ ข้าพระองค์ทั้งหลาย. อย่างนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย สิ่งใดไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลาย จงละสิ่งนั้น เสีย สิ่งนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย รูปไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละรูปนั้นเสีย รูปนั้นท่านทั้งหลายละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เวทนาไม่ใช่ของ ท่านทั้งหลาย ... สัญญาไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ... สังขารทั้งหลายไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ... วิญญาณไม่ใช่ของท่านทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงละวิญญาณนั้นเสีย วิญญาณนั้นท่านทั้งหลาย ละได้แล้ว จักมีเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข สิ้นกาลนาน.
ผลแห่งการละกิเลส
[๒๘๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด เป็นพระอรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่จำต้องทำ ทำเสร็จแล้ว มีภาระ ปลงลงแล้ว ลุถึงประโยชน์ของตนแล้ว มีสัญโญชน์ใน ภพหมดสิ้นแล้ว หลุดพ้นแล้วเพราะรู้โดยชอบ ภิกษุเหล่านั้นย่อมไม่มีวัฏฏะ เพื่อจะบัญญัติต่อไป. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยาย แล้ว ภิกษุเหล่าใดละโอรัมภาคิยสัญโญชน์ทั้ง ๕ ประการ ได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดเป็น โอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น มีการไม่กลับจากโลกนั้นเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด ละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว กับมีราคะโทสะและโมหะบางเบา ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็น พระสกทาคามี มาสู่โลกนี้คราวเดียวเท่านั้น จักกระทำที่สุดแห่งทุกข์ได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ใน ธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด ละสัญโญชน์ ๓ ประการได้แล้ว ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด เป็นพระโสดาบัน ผู้มีอันไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีปัญญาเครื่องตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรา กล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้นเปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว ภิกษุเหล่าใด ผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นสัทธานุสารี ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมด มีปัญญาเป็นเครื่องตรัสรู้ดีเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ในธรรมที่เรากล่าวไว้ดีแล้วอย่างนี้ เป็นของตื้น เปิดเผย ปรากฏ แยกขยายแล้ว บุคคลเหล่าใด มีเพียงความเชื่อ เพียงความรักในเรา บุคคลเหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้มีสวรรค์ เป็นที่ไปในเบื้องหน้า. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น มีใจชื่นชม เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
จบ อลคัททูปมสูตรที่ ๒
-----------------------------------------------------
๓. วัมมิกสูตร
ว่าด้วยปริศนาจอมปลวก
[๒๘๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ก็โดยสมัยนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสปะพักอยู่ที่ป่าอันธวัน. ครั้ง นั้น เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงามยิ่ง เมื่อราตรีล่วงปฐมยามแล้ว ยังป่าอันธวันทั้งสิ้นให้สว่าง เข้าไปหาท่านพระกุมารกัสสปะถึงที่อยู่ ได้ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวกะท่านพระกุมาร กัสสปะดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ จอมปลวกนี้พ่นควันในกลางคืน ลุกโพลงในกลางวัน พราหมณ์ได้ กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงเอาศาตราไปขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นลิ่มสลัก จึงเรียนว่า ลิ่มสลักขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกลิ่มสลักขึ้นเอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นอึ่ง จึงเรียนว่า อึ่งขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกอึ่งขึ้น เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลง ได้เห็นทาง ๒ แพร่ง จึงเรียนว่า ทาง ๒ แพร่ง ขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงก่นทาง ๒ แพร่งเสีย เอาศาตราขุด ดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นหม้อกรองน้ำด่าง จึงเรียนว่า หม้อกรองน้ำด่าง ขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกหม้อกรองน้ำด่างขึ้น เอาศาตราขุดลง. สุเมธะ เอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นเต่า จึงเรียนว่าเต่าขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกเต่าขึ้น เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นเขียงหั่นเนื้อ จึง เรียนว่า เขียงหั่นเนื้อ ขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกเขียง หั่นเนื้อขึ้น เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นชิ้นเนื้อ จึงเรียนว่าชิ้นเนื้อ ขอรับ พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกชิ้นเนื้อขึ้น เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลง ไป ได้เห็นนาค จึงเรียนว่า นาคขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า นาคจงอยู่ เจ้าอย่าเบียดเบียน นาคเลย จงทำความนอบน้อม ต่อนาค. ดูกรภิกษุ ท่านพึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค แล้วทูล ถามปัญหา ๑๕ ข้อ เหล่านี้แล ท่านพึงทรงจำปัญหาเหล่านั้น ตามที่พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ ดูกรภิกษุ ข้าพเจ้า ย่อมไม่เห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่ สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการพยากรณ์ปัญหา เหล่านี้ นอกจากพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต หรือเพราะฟังจากสำนักนี้. เทวดานั้น ครั้นกล่าวคำนี้แล้ว ได้หายไปในที่นั้นแล.
กุมารกัสสปะทูลถามปัญหา ๑๕ ข้อ
[๒๙๐] ครั้งนั้นแล ท่านพระกุมารกัสสปะ เมื่อราตรีนั้นล่วงไปแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อคืนนี้ เทวดาองค์หนึ่ง มีวรรณงามยิ่ง ราตรีล่วงปฐมยามไปแล้ว ยังป่าอันธวันทั้งสิ้นให้สว่างแล้ว เข้าไปหาข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูกรภิกษุ จอมปลวกนี้ พ่นควันในเวลากลางคืน ลุกโพลงในกลางวัน พราหมณ์ได้กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงเอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอา ศาตราขุดลงไป ได้เห็นลิ่มสลัก จึงเรียนว่า ลิ่มสลัก ขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกลิ่มสลักขึ้น เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นอึ่ง จึงเรียนว่า อึ่งขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกอึ่งขึ้น เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นทาง ๒ แพร่ง จึงเรียนว่า ทาง ๒ แพร่ง ขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงก่นทาง ๒ แพร่งเสีย เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นหม้อกรองน้ำด่าง จึงเรียนว่า หม้อกรองน้ำด่าง ขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกหม้อ กรองน้ำด่างขึ้น เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นเต่า จึงเรียนว่า เต่าขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกเต่าขึ้น เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นเขียงหั่นเนื้อ จึงเรียนว่า เขียงหั่นเนื้อ ขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกเขียงหั่นเนื้อขึ้น เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไปได้เห็นชิ้นเนื้อ จึงเรียนว่า ชิ้นเนื้อ ขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงยกชิ้นเนื้อขึ้น เอาศาตราขุดดู. สุเมธะเอาศาตราขุดลงไป ได้เห็นนาค จึงเรียนว่า นาคขอรับ. พราหมณ์กล่าวอย่างนี้ว่า นาคจง อยู่เถิด เจ้าจงอย่าเบียดเบียนนาคเลย จงทำความนอบน้อมต่อนาค. ดูกรภิกษุ ท่านพึงเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาค ทูลถามปัญหา ๑๕ ข้อเหล่านี้แล ท่านพึงทรงจำปัญหาเหล่านั้นตามที่พระผู้มี พระภาคทรงพยากรณ์. ดูกรภิกษุ ข้าพเจ้า ย่อมไม่เห็นบุคคลในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ที่จะยังจิตให้ยินดีด้วยการ พยากรณ์ปัญหาเหล่านี้ นอกจากพระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคต หรือเพราะฟังจากสำนัก นี้. เทวดานั้น ครั้นกล่าวคำนี้แล้วได้หายไปในที่นั้นแล. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อะไรหนอแลชื่อว่าจอมปลวก อย่างไรชื่อว่าพ่นควันในกลางคืน อย่างไรชื่อว่าลุกโพลงในกลางวัน อะไรชื่อว่าพราหมณ์ อะไรชื่อว่าสุเมธะ อะไรชื่อว่าศาตรา อย่างไรชื่อว่าการขุด อะไรชื่อว่าลิ่มสลัก อะไรชื่อว่าอึ่ง อะไรชื่อว่าทาง ๒ แพร่ง อะไรชื่อว่า หม้อกรองน้ำด่าง อะไรชื่อว่าเต่า อะไรชื่อว่าเขียงหั่นเนื้อ อะไรชื่อว่าชิ้นเนื้อ อะไรชื่อว่านาค ดังนี้?
พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ปัญหา ๑๕ ข้อ
[๒๙๑] พระผู้มีพระภาคทรงพยากรณ์ว่า ดูกรภิกษุ คำว่า จอมปลวกนั่นเป็นชื่อของ กายนี้ อันประกอบด้วยมหาภูตรูปทั้ง ๔ ซึ่งมีมารดาบิดาเป็นแดนเกิด เจริญด้วยข้าวสุกและขนม กุมมาส ไม่เที่ยง ต้องอบรม ต้องนวดฟั้น มีอันทำลายและกระจัดกระจายไปเป็นธรรมดา. ปัญหาข้อว่า อย่างไรชื่อว่าพ่นควันในกลางคืนนั้น ดูกรภิกษุ ได้แก่การที่บุคคลปรารภการงานใน กลางวัน แล้วตรึกถึง ตรองถึงในกลางคืน นี้ชื่อว่าพ่นควันในกลางคืน. ปัญหาข้อว่า อย่างไร ชื่อว่าลุกโพลงในกลางวันนั้น ดูกรภิกษุ ได้แก่การที่บุคคลตรึกถึงตรองถึง (การงาน) ในกลาง คืน แล้วย่อมประกอบการงานในกลางวัน ด้วยกาย ด้วยวาจา นี้ชื่อว่าลุกโพลงในกลางวัน. ดูกรภิกษุ คำว่า พราหมณ์นั้น เป็นชื่อของพระตถาคต อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า. คำว่า สุเมธะ นั้น เป็นชื่อของเสขภิกษุ. คำว่า ศาตรานั้นเป็นชื่อของปัญญาอันประเสริฐ. คำว่า จงขุดนั้น เป็นชื่อของการปรารภความเพียร. คำว่า ลิ่มสลักนั้น เป็นชื่อของอวิชชา. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดั่งศาตรา ยกลิ่มสลักขึ้น คือจงละอวิชชาเสีย จงขุดมันขึ้นเสีย. คำว่า อึ่งนั้น เป็นชื่อแห่งความคับแค้นด้วยสามารถความโกรธ. คำนั้นมีอธิบาย ดังนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดั่งศาตรา ยกอึ่งขึ้นเสีย คือจงละความคับแค้นด้วยสามารถความ โกรธเสีย จงขุดมันเสีย. คำว่า ทาง ๒ แพร่งนั้น เป็นชื่อแห่งวิจิกิจฉา. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตราก่นทาง ๒ แพร่งเสีย คือจงละวิจิกิจฉาเสีย จงขุดมัน เสีย คำว่าหม้อกรองน้ำด่างนั้น เป็นชื่อของนิวรณ์ ๕ คือ กามฉันทนิวรณ์ พยาบาทนิวรณ์ ถีนมิทธนิวรณ์ อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ วิจิกิจฉานิวรณ์. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจง ใช้ปัญญาเพียงดังศาตรา ยกหม้อกรองน้ำด่างขึ้นเสีย คือจงละนิวรณ์ ๕ เสีย จงขุดขึ้นเสีย. คำว่า เต่านั้น เป็นชื่อของอุปาทานขันธ์ ๕ คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญา เพียงดังศาตรา ยกเต่าขึ้นเสียคือ จงละอุปาทานขันธ์ ๕ เสีย จงขุดขึ้นเสีย. คำว่าเขียง หั่นเนื้อนั้น เป็นชื่อของกามคุณ ๕ คือ รูปอันจะพึงรู้แจ้งด้วยจักษุ น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอ ใจ เป็นรูปที่น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงอันจะพึงรู้แจ้งด้วยโสต กลิ่นอันจะพึงรู้แจ้งด้วยฆานะ ... รสอันจะพึงรู้แจ้งด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะอันจะพึงรู้แจ้งด้วยกาย น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นรูปที่น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรา ยกเขียงหั่นเนื้อเสีย คือ จง ละกามคุณ ๕ เสีย จงขุดขึ้นเสีย. คำว่าชิ้นเนื้อนั้น เป็นชื่อของนันทิราคะ. คำนั้นมีอธิบายดังนี้ ว่า พ่อสุเมธะ เจ้าจงใช้ปัญญาเพียงดังศาตรา ยกชิ้นเนื้อขึ้นเสีย คือ จงละนันทิราคะ จงขุด ขึ้นเสีย คำว่านาคนั้น เป็นชื่อของภิกษุผู้ขีณาสพ คำนั้นมีอธิบายดังนี้ว่า นาคจงหยุดอยู่เถิด เจ้าอย่าเบียดเบียนนาค จงทำความนอบน้อมต่อนาคดังนี้. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ท่านพระกุมารกัสสปะมีใจชื่นชม เพลิด เพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
จบ วัมมิกสูตร ที่ ๓
-----------------------------------------------------
๔. รถวินีตสูตร
ภิกษุชาวชาติภูมิยกย่องพระปุณณมันตานีบุตร
[๒๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน อันเป็นที่พระราชทานเหยื่อ แก่กระแต เขตพระนครราชคฤห์ ครั้งนั้น ภิกษุชาวชาติภูมิประเทศจำนวนมาก จำพรรษาแล้ว ในชาติภูมิ พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคตรัสถามภิกษุเหล่านั้น ดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในชาติภูมิประเทศ ภิกษุรูปไหนหนอ ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ชาวชาติภูมิประเทศยกย่องอย่างนี้ว่า ตนเอง เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัดเงียบ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ และวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว ยังกล่าวถ้อยคำพรรณนา ความมักน้อย ความสันโดษ ความสงัดเงียบ ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร ความสมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ และวิมุตติญาณทัสสนะ แก่ภิกษุทั้งหลายอีกด้วย เป็นผู้โอวาท แนะนำชี้แจง ชักชวนพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ให้อาจหาญ ร่าเริง. ภิกษุชาวชาติภูมิประเทศเหล่านั้น กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในชาติภูมิประเทศ ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เป็นผู้ที่พวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ชาวชาติภูมิประเทศยกย่องว่า ตนเอง เป็นผู้มักน้อย สันโดษ สงัดเงียบ ไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ปรารภความเพียร สมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ และวิมุตติญาณทัสสนะแล้ว ยังกล่าวถ้อยคำพรรณนาความมักน้อย ความ สันโดษ ความสงัดเงียบ ความไม่คลุกคลีด้วยหมู่ ความปรารภความเพียร ความสมบูรณ์ด้วยศีล สมาธิ ปัญญา วิมุติ และวิมุตติญาณทัสสนะ แก่ภิกษุทั้งหลายอีกด้วย เป็นผู้โอวาท แนะนำ ชี้แจง ชักชวนพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ ให้อาจหาญ ร่าเริง. [๒๙๓] สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรนั่งเฝ้าพระผู้มีพระภาคอยู่ ณ ที่ใกล้ จึงดำริว่า เป็น ลาภของท่านปุณณมันตานีบุตร ความเป็นมนุษย์อันท่านปุณณมันตานีบุตรได้ดีแล้ว ที่พวกภิกษุ เพื่อนพรหมจรรย์ผู้เป็นวิญญูชน กล่าวยกย่องพรรณนาคุณเฉพาะพระพักตร์พระศาสดา และ พระศาสดาก็ทรงอนุโมทนาซึ่งการกระทำนั้น บางทีเราคงได้พบกับท่านปุณณมันตานีบุตรแล้ว สนทนาปราศรัยกันสักครั้งหนึ่ง.
พระปุณณมันตานีบุตรเข้าเฝ้าพระพุทธองค์
[๒๙๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ตามสำราญพระอัธยาศัย เสด็จจาริกไปโดยลำดับ ถึงพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ในพระวิหารเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ท่านพระปุณณมันตานีบุตรได้ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเสด็จถึงพระนครสาวัตถี ประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ท่านจึงเก็บงำ เสนาสนะ ถือบาตรและจีวรจาริกไปโดยลำดับตามทางที่จะไปยังพระนครสาวัตถี ถึงพระวิหาร เชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถีแล้ว จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาค ถึงที่ประทับ แล้วถวายอภิวาทนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว พระผู้มี พระภาค จึงทรงชี้แจงท่านพระปุณณมันตานีบุตรให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วย ธรรมีกถา. ครั้งนั้น ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้ สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาท พระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ แล้วเข้าไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อพัก ในกลางวัน. [๒๙๕] ครั้งนั้น ภิกษุรูปหนึ่ง เข้าไปหาท่านพระสารีบุตรแล้วแจ้งข่าวว่า ข้าแต่ท่าน พระสารีบุตร พระปุณณมันตานีบุตร ที่ท่านได้สรรเสริญอยู่เนืองๆ นั้น บัดนี้ พระผู้มีพระภาค ทรงชี้แจงให้ท่านเห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ท่านก็ชื่นชม อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาค ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาค ทำประทักษิณ หลีกไปสู่ป่าอันธวัน เพื่อพักในกลางวัน. ลำดับนั้น ท่านพระสารีบุตรรีบถือผ้านิสีทนะ แล้วติดตามท่านพระปุณณมันตานีบุตรไป ข้างหลังๆ พอเห็นศีรษะกัน ครั้งนั้น ท่านพระปุณณมันตานีบุตร เข้าไปในป่าอันธวันแล้ว นั่ง พักกลางวันอยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่ง แม้ท่านพระสารีบุตรก็เข้าไปสู่ป่าอันธวันแล้ว ก็นั่งพักกลางวัน อยู่ที่โคนไม้แห่งหนึ่งเหมือนกัน.
พระสารีบุตรสนทนากับพระปุณณมันตานีบุตร
[๒๙๖] ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้วเข้าไปหาท่านพระ ปุณณมันตานีบุตรถึงสำนัก ได้ปราศรัยกับท่านพระปุณณมันตานีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว จึงถามท่านพระปุณณมัน ตานีบุตรดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคของเราหรือ? ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ถูกแล้ว ท่านผู้มีอายุ? สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อสีลวิสุทธิหรือท่านผู้มีอายุ? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อจิตตวิสุทธิหรือท่านผู้มีอายุ? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อทิฏฐิวิสุทธิหรือ ท่าน ผู้มีอายุ? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ ท่านผู้มีอายุ? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อมัคคามัคคญาณทัสสน วิสุทธิหรือ ท่านผู้มีอายุ? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อปฏิปทาญาณทัสสน วิสุทธิหรือ ท่านผู้มีอายุ? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ถ้าเช่นนั้น ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิ หรือ ท่านผู้มีอายุ? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ? สา. ท่านผู้มีอายุ ผมถามท่านว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อ สีลวิสุทธิหรือ ท่านตอบผมว่า ไม่ใช่อย่างนั้น เมื่อผมถามท่านว่า ท่านประพฤติพรหมจรรย์ใน พระผู้มีพระภาค เพื่อจิตตวิสุทธิหรือ เพื่อทิฏฐิวิสุทธิหรือ เพื่อกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เพื่อมัคคา มัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เพื่อญาณทัสสนวิสุทธิหรือ ท่าน ก็ตอบผมว่าไม่ใช่อย่างนั้นๆ เมื่อเป็นเช่นนี้ ท่านประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อ อะไรเล่า? ปุ. ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน. สา. ท่านผู้มีอายุ สีลวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ จิตตวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ ทิฏฐิวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ กังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ ญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ ที่นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน? ปุ. ไม่ใช่อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. สา. ท่านผู้มีอายุ ผมถามท่านว่า สีลวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานจิตตวิสุทธิ หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ทิฏฐิวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานกังขาวิตรณวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ปฏิปทาญาณ ทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพานญาณทัสสนวิสุทธิหรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ที่ นอกไปจากธรรมเหล่านี้หรือ เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ท่านก็ตอบผมว่า ไม่ใช่อย่างนั้นๆ เมื่อ เป็นเช่นนี้ จะพึงเห็นเนื้อความของถ้อยคำที่ท่านกล่าวนี้อย่างไรเล่า? [๒๙๗] ปุ. ท่านผู้มีอายุ ถ้าพระผู้มีพระภาคจักทรงบัญญัติสีลวิสุทธิว่าเป็นอนุปาทา ปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่าเป็นอนุปาทาปรินิพพาน. ถ้าจักทรงบัญญัติ จิตตวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณทัสสนวิสุทธิว่า เป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ก็ชื่อว่าทรงบัญญัติธรรมที่ยังมีอุปาทาน ว่า เป็นอนุปาทาปรินิพพาน ถ้าหากว่า ธรรมนอกจากธรรมเหล่านี้ จักเป็นอนุปาทาปรินิพพานแล้ว ปุถุชน จะชื่อว่าปรินิพพาน เพราะว่า ปุถุชนไม่มีธรรมเหล่านี้ ท่านผู้มีอายุ ผมจะอุปมาให้ท่าน ฟัง บุรุษผู้เป็นวิญญูชนบางพวกในโลกนี้ ย่อมรู้เนื้อความแห่งคำที่กล่าวแล้วด้วยอุปมา.
อุปมาด้วยรถ ๗ ผลัด
[๒๙๘] ท่านผู้มีอายุ เปรียบเหมือน พระเจ้าปเสนทิโกศล กำลังประทับอยู่ในพระนคร สาวัตถี มีพระราชกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต และในระหว่างพระนครสาวัตถีกับ เมืองสาเกตนั้น จะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด ลำดับนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล เสด็จออกจาก พระนครสาวัตถี ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่งที่ประตูพระราชวัง ไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สองด้วย รถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง จึงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หนึ่ง ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สอง เสด็จไปถึง รถพระที่นั่งผลัดที่สาม ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สอง ทรงรถ พระที่นั่งผลัดที่สาม เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่สาม ปล่อยรถพระที่นั่ง ผลัดที่สาม ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ เสด็จถึงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ด้วยรถพระที่นั่ง ผลัดที่สี่ ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่สี่ ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า เสด็จไปถึงรถพระที่นั่ง ผลัดที่หก ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่ห้า ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่หก เสด็จไปถึงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่หก ปล่อยรถพระที่นั่งผลัดที่หก ทรงรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด เสด็จไปถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถพระที่นั่งผลัดที่เจ็ด ถ้าพวกมิตรอำมาตย์ หรือพระญาติสาโลหิต จะพึงทูลถามพระองค์ซึ่งเสด็จถึงประตูพระราชวังว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า พระองค์เสด็จมาจากพระนครสาวัตถีถึงเมืองสาเกตที่ประตูพระราชวัง ด้วยรถ พระที่นั่งผลัดนี้ผลัดเดียวหรือ ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะตรัสตอบอย่างไร จึงจะเป็น อันตรัสตอบถูกต้อง? สา. ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศลจะต้องตรัสตอบอย่างนี้ จึงจะเป็นอันตรัสตอบ ถูกต้อง คือ เมื่อฉันกำลังอยู่ในนครสาวัตถีนั้น มีกรณียะด่วนบางอย่างเกิดขึ้นในเมืองสาเกต ก็ในระหว่างนครสาวัตถีกับเมืองสาเกตนั้นจะต้องใช้รถถึง ๗ ผลัด เมื่อเช่นนั้น ฉันจึงออกจาก นครสาวัตถีขึ้นรถผลัดที่หนึ่งที่ประตูวังไปถึงรถผลัดที่สอง ด้วยรถผลัดที่หนึ่ง ปล่อยรถผลัดที่หนึ่ง ขึ้นรถผลัดที่สอง ไปถึงรถผลัดที่สาม ด้วยรถผลัดที่สอง ปล่อยรถผลัดที่สอง ขึ้นรถผลัดที่สาม ไปถึงรถผลัดที่สี่ ด้วยรถผลัดที่สาม ปล่อยรถผลัดที่สาม ขึ้นรถผลัดที่สี่ ไปถึงรถผลัดที่ห้า ด้วยรถผลัดที่สี่ ปล่อยรถผลัดที่สี่ ขึ้นรถผลัดที่ห้า ไปถึงรถผลัดที่หก ด้วยรถผลัดที่ห้า ปล่อย รถผลัดที่ห้า ขึ้นรถผลัดที่หก ไปถึงรถผลัดที่เจ็ด ด้วยรถผลัดที่หก ปล่อยรถผลัดที่หก ขึ้นรถ ผลัดที่เจ็ด ไปถึงเมืองสาเกตที่ประตูวังด้วยรถผลัดที่เจ็ด ท่านผู้มีอายุ พระเจ้าปเสนทิโกศล จะ ต้องตรัสตอบอย่างนี้ จึงจะเป็นอันตรัสตอบถูกต้อง. ปุ. ท่านผู้มีอายุ ข้อนี้ก็ฉันนั้น สีลวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่จิตตวิสุทธิ จิตตวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ทิฏฐิวิสุทธิ ทิฏฐิวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่กังขาวิตรณวิสุทธิ กังขาวิตรณวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ ปฏิปทาญาณทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่ญาณทัสสนวิสุทธิ ญาณ ทัสสนวิสุทธิ เป็นประโยชน์แก่อนุปาทาปรินิพพาน ท่านผู้มีอายุ ผมประพฤติพรหมจรรย์ใน พระผู้มีพระภาค เพื่ออนุปาทาปรินิพพาน.
กล่าวชื่นชมสุภาษิตของกันและกัน
[๒๙๙] เมื่อท่านพระปุณณมันตานีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรจึงถามว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และพวกภิกษุเพื่อนพรหมจรรย์ รู้จักท่านว่าอย่างไร? ท่านพระปุณณมันตานีบุตรตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ผมชื่อปุณณะ แต่พวกภิกษุเพื่อน พรหมจรรย์ รู้จักผมว่ามันตานีบุตร. ท่านพระสารีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้มีอายุ น่าอัศจรรย์นัก ไม่ เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้ง อันท่านพระปุณณมันตานีบุตรเลือกเฟ้นมากล่าวแก้ ด้วยปัญญาอัน ลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงกล่าว แก้ ฉะนั้น เป็นลาภมากของเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย ความเป็นมนุษย์อันเพื่อนพรหมจรรย์ได้ ดีแล้ว ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร แม้หากว่าเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย จะ เทิดท่านพระปุณณมันตานีบุตรไว้บนศีรษะด้วยเทริดผ้า จึงจะได้พบเห็น นั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็นับ ว่าเป็นลาภมากของเธอเหล่านั้น ความเป็นมนุษย์อันเธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่งนับว่าเป็นลาภ มากของผมด้วย เป็นการได้ดีของผมด้วย ที่ได้พบเห็น นั่งใกล้ท่านพระปุณณมันตานีบุตร. [๓๐๐] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระปุณณมันตานีบุตรจึงถามดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ท่านชื่ออะไร และเพื่อนพรหมจรรย์ทั้งหลาย รู้จักท่านว่าอย่างไร? ท่านพระสารีบุตร ตอบว่า ท่านผู้มีอายุ ผมชื่ออุปติสสะ แต่พวกเพื่อนพรหมจรรย์ รู้จักผมว่าสารีบุตร. ท่านพระ ปุณณมันตานีบุตรกล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ผมกำลังพูดอยู่กับท่านผู้เป็นสาวกทรงคุณคล้ายกับ พระศาสดา มิได้ทราบเลยว่า ท่านชื่อสารีบุตร ถ้าผมทราบว่า ท่านชื่อสารีบุตรแล้ว คำที่พูดไป เพียงเท่านี้ คงไม่แจ่มแจ้งแก่ผมได้ เป็นการน่าอัศจรรย์จริง ไม่เคยมีมาแล้ว ธรรมอันลึกซึ้ง อันท่านพระสารีบุตรเลือกเฟ้นมาถามแล้วด้วยปัญญาอันลึกซึ้ง ตามเยี่ยงพระสาวกผู้ได้สดับแล้ว รู้ทั่วถึงคำสอนของพระศาสดาโดยถ่องแท้ จะพึงถาม ฉะนั้น เป็นลาภมากของเพื่อนพรหมจรรย์ ความเป็นมนุษย์นับว่าเพื่อนพรหมจรรย์ได้ดีแล้ว ที่ได้พบเห็น นั่งใกล้ท่านพระสารีบุตร แม้ หากว่า เพื่อนพรหมจรรย์จะเทิดท่านพระสารีบุตรไว้บนศีรษะด้วยเทริดผ้าจึงจะได้พบเห็น นั่งใกล้ แม้ข้อนั้นก็เป็นลาภมากของเธอเหล่านั้น ความเป็นมนุษย์นับว่าอันเธอเหล่านั้นได้ดีแล้ว อนึ่ง นับว่าเป็นลาภมากของผมด้วย เป็นการได้ดีของผมด้วย ที่ได้พบเห็นนั่งใกล้พระสารีบุตร. พระมหานาคทั้งสองนั้น ต่างชื่นชมสุภาษิตของกันและกัน ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ รถวินีตสูตรที่ ๔
-----------------------------------------------------
๕. นิวาปสูตร
อุปมาพรานปลูกหญ้าล่อเนื้อ
[๓๐๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระองค์ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้วตรัสว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลายภิกษุเหล่านั้น ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้วว่า พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธ- *พจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พรานเนื้อมิได้ปลูกหญ้าไว้สำหรับฝูงเนื้อ ด้วยคิดว่า เมื่อฝูงเนื้อ กินหญ้าที่เราปลูกไว้นี้ จะมีอายุยั่งยืน มีผิวพรรณ มีชีวิตอยู่ยืนนาน โดยที่แท้ พรานเนื้อปลูกหญ้า ไว้สำหรับฝูงเนื้อ ด้วยมีความประสงค์ว่า ฝูงเนื้อเข้ามาสู่ป่าหญ้าที่เราปลูกไว้นี้แล้ว จักลืมตัวกิน หญ้า เมื่อเข้ามาแล้วลืมตัวกินหญ้าก็จักมัวเมา เมื่อมัวเมา ก็จักประมาท เมื่อประมาท ก็จักถูก เราทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านี้. [๓๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาฝูงเนื้อเหล่านั้น ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงแรกนั้น ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อได้. [๓๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝูงเนื้อฝูงที่สอง คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่าฝูงเนื้อฝูงแรก เข้า ไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็น เช่นนั้น ฝูงเนื้อฝูงแรก ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องเว้นจากการกินหญ้า เสียทั้งสิ้นเมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้นคิดดังนี้แล้วจึงเว้น จากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็เข้าไปอยู่ตามราวป่า. ครั้นถึง เดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ ฝูงเนื้อเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกาย ซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากันกลับมาสู่ป่าที่ปลูกไว้ของ พรานเนื้อนั้นอีกฝูงเนื้อเหล่านั้นพากันเข้าไปในป่าหญ้านั้น ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัว กินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจใน ป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อได้. [๓๐๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝูงเนื้อฝูงที่สาม คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่าฝูงเนื้อฝูงแรก เข้า ไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็น เช่นนี้ เนื้อฝูงแรกนั้น ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้ อนึ่ง ฝูงเนื้อฝูงที่สอง ก็คิดเห็น ร่วมกันอย่างนี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรก เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่เมื่อ เข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอา ได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงแรกนั้น ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไป ได้ ถ้ากระไร เราต้องเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ต้อง เข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้า ที่เป็นภัยแล้ว ก็เข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ ฝูงเนื้อเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยว แรงหมดไปจึงพากันกลับมาสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้นอีก ฝูงเนื้อเหล่านั้นพากันเข้าไป ในป่าหญ้านั้น ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของ พรานเนื้อนั้น ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้านั้นแล้ว เราจะไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพราน เนื้อนั้น จักไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปแล้ว ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็จักไม่มัวเมา เมื่อไม่ มัวเมา ก็จักไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็จักไม่ถูกพรานเนื้อทำได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น. ครั้นคิดดังนี้แล้ว ฝูงเนื้อเหล่านั้น ก็เข้าไปซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น ครั้นเข้าไปซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้านั้นแล้วก็ไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ไม่ลืมตัว กินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปในป่าหญ้านั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่ถูกพรานเนื้อทำเอาตามชอบใจในป่าหญ้านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น พรานเนื้อกับบริวารได้คิดว่า ฝูงเนื้อฝูงที่สามนี้ คงเป็นสัตว์แกมโกงคล้ายกับมีฤทธิ์ ไม่ใช่ สัตว์ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ เราไม่ทราบทางมาทางไปของพวกมัน อย่ากระนั้นเลย เราต้องเอาตาข่ายขัดไม้หลายๆ อัน ล้อมป่าหญ้าที่ปลูกไว้นี้ให้รอบไปทั้งป่า บางทีเราจะพบที่อยู่ ของฝูงเนื้อฝูงที่สามในที่ซึ่งเราจะไปจับเอาได้ ครั้นคิดฉะนี้แล้ว พวกเขาก็ช่วยกันเอาตาข่ายขัดไม้ เป็นอันมากล้อมป่าหญ้าที่ปลูกไว้นั้นรอบไปทั้งป่า พรานเนื้อกับบริวารก็ได้พบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงที่ สามในที่ซึ่งเขาไปจับเอาได้แล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ฝูงเนื้อฝูงที่สามนั้น ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของ พรานเนื้อไปได้. [๓๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ฝูงเนื้อฝูงที่สี่ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรก เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อ มัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาทก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงแรก ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อได้ อนึ่ง ฝูงเนื้อฝูงที่สอง ก็คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกิน หญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาตามชอบใจในป่า หญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ เนื้อฝูงแรกนั้น ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอยู่ตามราว ป่า ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ก็เข้าไปอยู่ตามราวป่า. ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาสิ้นหญ้าและน้ำ ฝูงเนื้อเหล่านั้นก็มี ร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไปจึงพากัน กลับมาสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้นอีก ฝูงเนื้อเหล่านั้นพากันเข้าไปในป่าหญ้านั้น ลืมตัว กินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามใจชอบในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น ก็ไม่รอดพ้น อำนาจของพรานเนื้อไปได้ อนึ่ง ฝูงเนื้อฝูงที่สาม ก็คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรก เข้าไป สู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็น เช่นนี้ เนื้อฝูงแรกนั้น ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้ อนึ่ง ฝูงเนื้อ ฝูงที่สอง ก็คิดเห็น ร่วมกันอย่างนี้ว่า เนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไป แล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาตาม ชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงแรก ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้ อนึ่ง ฝูงเนื้อฝูงที่สองก็คิดร่วมกันอย่างนี้ว่า ฝูงเนื้อฝูงแรกเข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อ ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาทก็ถูกพราน เนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงแรกก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพราน เนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้าที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอยู่ตามราวป่าครั้น คิดดังนี้แล้ว จึงเว้นจากการกินหญ้าเสียทั้งสิ้น เมื่อเว้นจากการกินหญ้า ที่เป็นภัยแล้ว ก็เข้าไปอยู่ตามราวป่า ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ ฝูงเนื้อ เหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป จึงพากันกลับมาสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้นอีก ฝูงเนื้อเหล่านั้นพากันเข้าไปสู่ป่าหญ้านั้น ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อเข้าไปแล้วลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น ก็ไม่รอดพ้น อำนาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น ครั้นซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้านั้นแล้ว เราจะไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น จะไม่ ลืมตัวกินหญ้า เมื่อไม่เข้าไปแล้ว ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ก็จักไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็จักไม่ ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็จักไม่ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น ครั้นคิดดังนี้แล้ว ฝูงเนื้อเหล่านั้น ก็เข้าไปซุ่มอาศัยอยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น ครั้นเข้าไปซุ่มอาศัย อยู่ใกล้ๆ ป่าหญ้านั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปในป่าหญ้านั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อ ไม่ประมาท ก็ไม่ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น พราน เนื้อกับบริวารได้คิดว่า ฝูงเนื้อฝูงที่สามนี้คงเป็นสัตว์แกมโกง คล้ายกับมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูกไว้นี้ได้ เราไม่ทราบทางมาทางไปของพวกมัน อย่ากระนั้นเลย เราต้องเอาตาข่าย ขัดไม้หลายๆ อันล้อมป่าหญ้าที่ปลูกไว้นี้ให้รอบไปทั้งป่า บางทีเราจะพบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงที่สาม ในที่ซึ่งเราจะไปจับเอาได้ ครั้นคิดดังนี้แล้ว พวกเขาก็ช่วยกันเอาตาข่ายขัดไม้เป็นอันมากล้อมป่า หญ้าที่ปลูกไว้นั้นรอบไปทั้งป่า พรานเนื้อกับบริวารก็ได้พบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงที่สาม ในที่ซึ่งเขาจะ ไปจับเอาได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้ฝูงเนื้อฝูงที่สามนั้น ก็ไม่รอดพ้นอำนาจของพรานเนื้อไปได้ ถ้ากระไร เราต้องอาศัยอยู่ในที่ซึ่งพรานเนื้อกับบริวารไปไม่ถึง ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ต้องไม่ เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น เมื่อไม่ลืมตัวกินหญ้า ก็จะไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็ จะไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็จะไม่ถูกพรานเนื้อทำเอาได้ตามชอบใจในป่าหญ้านั้น ครั้นคิด ดังนี้แล้ว ฝูงเนื้อเหล่านั้น ก็พากันอาศัยอยู่ในที่ซึ่งพรานเนื้อกับบริวารไปไม่ถึง ครั้นอาศัยอยู่ในที่ นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปสู่ป่าหญ้าที่ปลูกไว้ของพรานเนื้อนั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ เมื่อไม่เข้าไปในป่า หญ้านั้น ไม่ลืมตัวกินหญ้าอยู่ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมาก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่ถูก พรานเนื้อทำเอาตามชอบใจในป่าหญ้านั้น. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทีนั้น พรานเนื้อกับบริวารคิดเห็น ว่า ฝูงเนื้อฝูงที่สี่นี้คงจะเป็นสัตว์แกมโกง คล้ายกับมีฤทธิ์ ไม่ใช่สัตว์ธรรมดา จึงกินหญ้าที่ปลูก ไว้นี้ได้ อนึ่ง เราก็ไม่ทราบทางมาทางไปของพวกมัน อย่ากระนั้นเลย เราต้องเอาตาข่ายขัดไม้ หลายๆ อัน ล้อมป่าหญ้าที่ปลูกนี้ไว้ให้รอบไปทั้งป่า บางทีเราจะพบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงที่สี่ในที่ซึ่ง เราจะไปจับเอาได้ ครั้นคิดดังนั้นแล้ว พวกเขาจึงเอาตาข่ายขัดไม้เป็นอันมาก ล้อมป่าหญ้าที่ปลูก ไว้นั้นรอบไปทั้งป่า แต่ก็หาได้พบที่อยู่ของฝูงเนื้อฝูงที่สี่ในที่ซึ่งตนจะไปจับเอาได้ไม่. ทีนั้นพราน เนื้อกับบริวารจึงคิดตกลงใจว่า ถ้าเราขืนรบกวนฝูงเนื้อฝูงที่สี่ให้ตกใจแล้ว ก็จะพลอยทำให้ฝูง เนื้ออื่นๆ ตกใจไปด้วย ฝูงเนื้อทั้งหลายคงไปจากป่าหญ้าที่ปลูกไว้หมดสิ้น อย่ากระนั้นเลยเรา เพิกเฉยฝูงเนื้อฝูงที่สี่เสียเถิด. ครั้นคิดดังนี้แล้ว พรานเนื้อกับบริวารก็เพิกเฉยฝูงเนื้อฝูงที่สี่เสีย เมื่อเป็นเช่นนี้ ฝูงเนื้อฝูงที่สี่ ก็รอดพ้นจากอำนาจของพรานเนื้อไปได้. [๓๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอุปมาให้ฟัง เพื่อให้เข้าใจเนื้อความได้ชัดขึ้น ในคำอุปมา นั้น มีอธิบายดังนี้:- คำว่า ป่าหญ้า เป็นชื่อของปัญจกามคุณ. คำว่า พรานเนื้อ เป็นชื่อของมาร ผู้มีบาปธรรม คำว่า บริวารของพรานเนื้อ เป็นชื่อของบริวารของมาร. คำว่า ฝูงเนื้อ เป็นชื่อของ สมณพราหมณ์ทั้งหลาย.
อุปมาสมณพราหมณ์กับฝูงเนื้อ
[๓๐๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่ง เข้า ไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้น เข้าไปในปัญจกามคุณนั้น ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณก็มัวเมา เมื่อมัวเมาก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามใจชอบในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่พ้นอำนาจของมารไปได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนี้ว่า เปรียบ เหมือนเนื้อฝูงที่หนึ่งนั้น. [๓๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่สองคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า สมณ- *พราหมณ์พวกที่หนึ่งเข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้นลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณ- *พราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ถ้ากระไร เราต้องงดเว้นจากการบริโภค ปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอาศัย อยู่ตามราวป่า ครั้นคิดดังนี้แล้ว จึงงดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น งดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัย แล้ว ก็เข้าไปอาศัยอยู่ตามราวป่า เธอเหล่านั้นมีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าว ตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าไม้และ ผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนท้ายฤดู- *คิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อร่างกายซูบผอม กำลัง เรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุติก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุติก็เสื่อมแล้ว พวกเธอ ก็กลับหันเข้าสู่ปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสนั้นอีก เมื่อเข้าไปแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณพราหมณ์พวกที่สองนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สองนี้ว่าเปรียบเหมือนฝูงเนื้อฝูงที่สองนั้น. [๓๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่สามคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า สมณ- *พราหมณ์พวกที่หนึ่ง เข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกาม- *คุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้นลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาตามชอบใจในปัญจกามนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์ พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ส่วนสมณพราหมณ์พวกที่สองคิดเห็นร่วมกัน อย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่ง เข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้นลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็น เช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ถ้ากระไร เราต้องงดเว้น จากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัยแล้วต้อง เข้าไปอาศัยอยู่ตามราวป่า ครั้นคิดดังนั้นแล้ว จึงงดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิส เสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัยแล้วก็เข้าไปอยู่ตามราวป่า เธอเหล่านั้นมีผักดองเป็น ภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่าย เป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษา บ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหารบ้าง บริโภคผลไม้หล่น เยียวยา อัตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ เธอเหล่านั้นก็ มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมด เจโต- *วิมุติก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุติเสื่อมแล้ว พวกเธอก็กลับหันเข้าสู่ปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสนั้นอีก เมื่อเข้าไปแล้ว ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูก มารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณพราหมณ์พวกที่สองนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ถ้ากระไร เราจะต้องอาศัยอยู่ใกล้ๆ ปัญจกามคุณของมารอันเป็น โลกามิสนั้น ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิส ไม่ลืม ตัวบริโภคปัญจกามคุณ เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็จะไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็จะไม่ ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็จะไม่ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น ครั้นคิดฉะนี้แล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็อาศัยอยู่ใกล้ๆ ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น. ครั้นอาศัยอยู่ ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิส เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจใน ปัญจกามคุณนั้น. แต่ว่า สมณพราหมณ์เหล่านั้นมีความเห็นอย่างนี้ว่าโลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลก มีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์ตายแล้ว เกิด สัตว์ตายแล้วไม่เกิด สัตว์ตายแล้วเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี สัตว์ตายแล้ว เกิดก็มิใช่ ไม่เกิด ก็มิใช่ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่สามนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สามนี้ว่า เปรียบเหมือนฝูงเนื้อฝูงที่สามนั้นฯ [๓๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณพราหมณ์พวกที่สี่ คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์ พวกที่หนึ่ง เข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอ เหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้น ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์ พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ส่วนสมณพราหมณ์พวกที่สอง คิดเห็นร่วมกัน อย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่ง เข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปในปัญจกามคุณนั้น ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ถ้ากระไร เราต้อง งดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัย แล้ว ต้องเข้าไปอาศัยอยู่ตามราวป่า ฯลฯ เธอเหล่านั้นมีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษา บ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าวเป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษา บ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็นภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภคผลไม้หล่นเยียวยาอัตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือน ท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้าและน้ำ เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุติก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุติเสื่อมแล้ว พวกเธอก็กลับหันเข้าสู่ปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสนั้นอีก เมื่อเข้าไปแล้ว ลืมตัวบริโภคปัญจ- *กามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกาม คุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณพราหมณ์พวกที่สองนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ส่วน สมณพราหมณ์พวกที่สาม คิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่ง เข้าไปสู่ปัญจกาม- *คุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้นเข้าไปปัญจกามคุณ นั้น ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาทก็ถูกมารทำเอาได้ ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่งนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจ ของมารไปได้. ส่วนสมณพราหมณ์พวกที่สองคิดเห็นร่วมกันอย่างนี้ว่า สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่ง เข้าไปสู่ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ เมื่อเธอเหล่านั้น เข้าไปในปัญจกามคุณนั้น ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อมัวเมา ก็ประมาท เมื่อ ประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่หนึ่ง นั้นก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ถ้ากระไร เราต้องงดเว้นจากการบริโภคปัญจกามคุณอันเป็น โลกามิสเสียทั้งสิ้น เมื่องดเว้นจากการบริโภคที่เป็นภัยแล้ว ต้องเข้าไปอาศัยอยู่ตามราวป่า ฯลฯ เธอเหล่านั้นมีผักดองเป็นภักษาบ้าง มีข้าวฟ่างเป็นภักษาบ้าง มีลูกเดือยเป็นภักษาบ้าง มีกากข้าว เป็นภักษาบ้าง มีสาหร่ายเป็นภักษาบ้าง มีรำเป็นภักษาบ้าง มีข้าวตังเป็นภักษาบ้าง มีกำยานเป็น ภักษาบ้าง มีหญ้าเป็นภักษาบ้าง มีโคมัยเป็นภักษาบ้าง มีเหง้าไม้และผลไม้ในป่าเป็นอาหาร บริโภค ผลไม้หล่น เยียวยาอัตภาพอยู่ในราวป่านั้น ครั้นถึงเดือนท้ายฤดูคิมหันต์ เป็นเวลาที่สิ้นหญ้า และน้ำ เธอเหล่านั้นก็มีร่างกายซูบผอม เมื่อมีร่างกายซูบผอม กำลังเรี่ยวแรงก็หมดไป เมื่อกำลังเรี่ยวแรงหมดไป เจโตวิมุติก็เสื่อม เมื่อเจโตวิมุติเสื่อมแล้ว พวกเธอก็กลับหันเข้าสู่ ปัญจกามคุณอันเป็นโลกามิสนั้นอีก เมื่อเข้าไปแล้ว ลืมตัว บริโภคปัญจกามคุณ ก็มัวเมา เมื่อ มัวเมา ก็ประมาท เมื่อประมาท ก็ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ แม้สมณพราหมณ์พวกที่สองนั้น ก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ ถ้ากระไร เราจะต้องอาศัยอยู่ ใกล้ๆ ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัยอยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกาม- *คุณของมารอันเป็นโลกามิส เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็จะไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็จะ ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็จะไม่ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกามคุณนั้น. ครั้นคิดดังนี้ แล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้นก็อาศัยอยู่ใกล้ๆ ปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น ครั้นอาศัย อยู่ในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิส เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็ไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่ถูกมารทำเอาได้ตามใจชอบในปัญจ- *กามคุณนั้น. แต่ว่าสมณพราหมณ์เหล่านั้น มีความเห็นอย่างนี้ว่า โลกเที่ยง โลกไม่เที่ยง โลก มีที่สุด โลกไม่มีที่สุด ชีพก็อันนั้น สรีระก็อันนั้น ชีพอย่างหนึ่ง สรีระอย่างหนึ่ง สัตว์ตาย แล้วเกิด สัตว์ตายแล้วไม่เกิด สัตว์ตายแล้วเกิดก็มี ไม่เกิดก็มี สัตว์ตายแล้ว เกิดก็มิใช่ ไม่เกิด ก็มิใช่ เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่สามนั้นก็ไม่หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้ อย่ากระนั้น เลย เราต้องอาศัยอยู่ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง ครั้นอาศัยในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไป หาปัญจกามคุณของมารอันเป็นโลกามิสนั้น จะไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ เมื่อไม่เข้าไปหา ไม่ ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็จะไม่มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็จะไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็จะ ไม่ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญกามคุณนั้น ครั้นคิดดังนี้แล้ว สมณพราหมณ์เหล่านั้น ก็อาศัย อยู่ในที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง เมื่ออาศัยในที่นั้นแล้ว ก็ไม่เข้าไปหาปัญจกามคุณของ มารอันเป็นโลกามิสนั้น ไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ เมื่อไม่ลืมตัวบริโภคปัญจกามคุณ ก็ไม่ มัวเมา เมื่อไม่มัวเมา ก็ไม่ประมาท เมื่อไม่ประมาท ก็ไม่ถูกมารทำเอาได้ตามชอบใจในปัญจกาม คุณนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ สมณพราหมณ์พวกที่สี่นั้น ก็หลุดพ้นอำนาจของมารไปได้. ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เรากล่าวสมณพราหมณ์พวกที่สี่นี้ว่า เปรียบเหมือนฝูงเนื้อฝูงที่สี่นั้น.
ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง
[๓๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ที่ซึ่งมารและบริวารของมารไปไม่ถึง เป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลายนี้ เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วยนาม- *กาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมาร ให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะ ละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความ ไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุได้บรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ซึ่งมี บริกรรมว่า อากาศหาที่สุดมิได้อยู่ เพราะเพิกรูปสัญญาเสียทั้งสิ้น เพราะปฏิฆสัญญาไม่ตั้งอยู่ เพราะไม่มีมนสิการนานัตตสัญญาอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอยถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เสียแล้ว ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึง ความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เสียแล้ว ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มีอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็น ของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง เสียแล้ว ได้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำ มารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการ ทั้งปวงเสียแล้ว ได้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็และเพราะเห็นด้วยปัญญา เธอย่อมมีอาสวะสิ้น ไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรากล่าวว่า ภิกษุได้ทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารให้ไม่เห็น ร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม เป็นผู้ข้ามพ้นตัณหาอันข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ในโลกเสียได้. พระผู้มีพระภาคตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้นมีความยินดีชื่นชมภาษิตของ พระผู้มีพระภาค ดังนี้แล.
จบ นิวาปสูตร ที่ ๕
-----------------------------------------------------
๖. ปาสราสิสูตร
อุปมากองบ่วงดักสัตว์
[๓๑๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก- *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งสบงถือบาตรจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปหาท่านอานนท์ถึงที่พัก กล่าวดังนี้ว่า ดูกรอานนท์ พวกข้าพเจ้าได้สดับธรรมีกถา เฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเป็น เวลานานมาแล้ว ขอให้พวกข้าพเจ้าได้สดับธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเถิด. พระอานนท์กล่าวว่า ถ้าเช่นนั้น ขอพวกท่านจงไปสู่อาศรมของพราหมณ์ชื่อรัมมกะ จึงจะ ได้สดับธรรมีกถาเฉพาะพักตร์พระผู้มีพระภาค ภิกษุเหล่านั้นได้รับคำท่านพระอานนท์แล้ว, ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปบิณฑบาตที่กรุงสาวัตถี กลับจากบิณฑบาตในเวลา ปัจฉาภัตแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสชวนว่า ดูกรอานนท์ เราจะไปพักผ่อนกลางวันที่ ปราสาทแห่งมิคารมารดา [นางวิสาขา] ที่บุพพาราม พระอานนท์ได้ทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มี พระภาคกับท่านพระอานนท์ ได้เสด็จไปพักผ่อนกลางวันที่ปราสาทแห่งมิคารมารดาที่บุพพาราม ครั้นเวลาเย็นเสด็จออกจากที่พักผ่อนแล้ว ตรัสเรียกท่านพระอานนท์มาตรัสชวนว่า ดูกรอานนท์ เรามาไปสรงน้ำที่ท่าบุพพโกฏฐกะ ๑- พระอานนท์ได้ทูลรับพระดำรัสแล้ว พระผู้มีพระภาคกับท่าน พระอานนท์ได้เสด็จไปสรงน้ำที่ท่าบุพพโกฏฐกะ สรงเสร็จแล้ว จึงกลับขึ้นมาทรงจีวรผืนเดียว ประทับยืนผึ่งพระองค์อยู่ ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า พระเจ้าข้า อาศรมของพราหมณ์ชื่อรัมมกะ อยู่ไม่ไกล เป็นที่รื่นรมย์ น่าเลื่อมใส ขอจงเสด็จไปที่นั้นเพื่อทรงอนุเคราะห์เถิด พระผู้มีพระภาค ทรงรับโดยดุษณีภาพ แล้วจึงเสด็จไปที่อาศรมของพราหมณ์ชื่อรัมมกะ สมัยนั้น ภิกษุหลายรูป นั่งสนทนาธรรมีกถากันอยู่ที่นั้น พระผู้มีพระภาคจึงประทับยืนอยู่ที่ซุ้มประตูข้างนอก คอยให้ภิกษุ เหล่านั้นสนทนากันจบ. @ ท่าอาบน้ำตั้งอยู่ด้านปราจีน มีหาดทรายขาวสะอาดเป็นที่อาบน้ำ ๔ ที่ ที่สำหรับกษัตริย์ชาวเมือง @พวกภิกษุ และพระพุทธเจ้าไม่อาบรวมกัน
การแสวง ๒ อย่าง
[๓๑๓] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทราบว่า ภิกษุเหล่านั้นสนทนากันจบแล้ว จึงทรงกระแอมแล้วเคาะบานประตู ภิกษุเหล่านั้นได้เปิดประตูรับ พระผู้มีพระภาคเสด็จเข้าไปที่ อาศรมของพราหมณ์ชื่อรัมมกะ ประทับนั่งบนอาสนะที่ได้จัดไว้ แล้วจึงตรัสถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนาเรื่องอะไรกัน และเรื่องอะไรที่พวกเธอสนทนากัน ค้างไว้? ภิกษุเหล่านั้นทูลว่าข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมีกถาปรารภถึงพระผู้มีพระภาคนั้นแล พวกข้าพระองค์พูดกันค้างอยู่ ก็พอดีพระผู้มีพระภาคเสด็จมาถึง พระผู้มีพระภาค จึงตรัสว่า ดีละ ภิกษุทั้งหลาย การที่พวกเธอผู้เป็นกุลบุตร ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตด้วยศรัทธา นั่งสนทนา ธรรมีกถากัน เป็นการสมควร พวกเธอเมื่อนั่งประชุมกัน ควรทำกิจสองอย่าง คือสนทนาธรรม กัน หรือนั่งนิ่งตามแบบพระอริยะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหามีสองอย่าง คือ การแสวงหา ที่ไม่ประเสริฐอย่างหนึ่ง การแสวงหาที่ประเสริฐอย่างหนึ่ง. [๓๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาที่ไม่ประเสริฐเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้ โดยตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็นธรรมดาอยู่นั่น- *แหละ เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชราเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ เป็นผู้มีพยาธิเป็น ธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ยังแสวงหา สิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา อยู่นั่นแหละ เป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ ก็อะไรเรียกว่า สิ่งมีชาติเป็นธรรมดา บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่า สิ่งมีชาติเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีชาติเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้องในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดาเหล่านั้น ชื่อว่าโดยตนเองเป็น ผู้มีชาติเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา อยู่นั่นแหละ ก็อะไรเล่าเรียกว่าสิ่งมีชรา เป็นธรรมดา บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่าสิ่งมีชราเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีชราเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้อง ในสิ่งมีชราเป็นธรรมดาเหล่านั้น ชื่อว่าโดยตนเองเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีชราเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ ก็อะไรเล่า เรียกว่า สิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา? บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่า สิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลงเกี่ยวข้อง ในสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาเหล่านั้น ชื่อว่าโดยตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ ก็อะไรเล่า เรียกว่า สิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา? บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่า สิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาเหล่านั้น เป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้อง ในสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาเหล่านั้น ชื่อว่าโดยตนเองเป็นผู้มีมรณะ เป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ ก็อะไรเล่า เรียกว่า สิ่งมีความโศก เป็นธรรมดา? บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่า สิ่งมีความโศกเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีความโศกเป็นธรรมดา เหล่านั้น เป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้อง ในสิ่งมีความโศกเป็นธรรมดาเหล่านั้น ชื่อว่าโดยตนเองเป็นผู้มีความโศกเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีความโศกเป็นธรรมดาอยู่นั่นแหละ ก็อะไรเล่า เรียกว่า สิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา? บุตร ภรรยา ทาสหญิง ทาสชาย แพะ แกะ ไก่ สุกร ช้าง โค ม้า ลา ทอง เงิน เรียกว่า สิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา เหล่านั้น เป็นอุปธิ ผู้ที่ติดพัน ลุ่มหลง เกี่ยวข้อง ในสิ่งมีสังกิเลสเป็น ธรรมดา เหล่านั้น ชื่อว่าโดยตนเองเป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ยังแสวงหาสิ่งมีสังกิเลสเป็น ธรรมดาอยู่นั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้คือการแสวงหาที่ไม่ประเสริฐ. [๓๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การแสวงหาที่ประเสริฐเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย คนบางคนในโลกนี้ โดยตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เกิด หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ โดยตนเองเป็นผู้มี- *ชราเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีชราเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่แก่ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ โดยตนเองเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมี พยาธิเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาพระนิพพาน หาพยาธิมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ โดยตนเองเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาพระ- *นิพพาน ที่ไม่ตาย หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามีได้ เกษมจากโยคะ โดยตนเองเป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหานิพพาน ที่หาโศกมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ โดยตนเองเป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา ย่อมแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เศร้าหมอง หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือการแสวงหาที่ประเสริฐ. [๓๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้เราก่อนตรัสรู้ ยังไม่ได้ตรัสรู้ เป็นโพธิสัตว์อยู่ทีเดียว โดยตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มีชราเป็น- *ธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีชราเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมี พยาธิเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีความโศกเป็นธรรมดานั่นแล เป็นผู้มีสังกิเลสเป็น ธรรมดา ก็ยังแสวงหาสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดานั้นแล เราจึงคิดดังนี้ว่า เราเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีชาติเป็นธรรมดาอยู่เล่า เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีชรา เป็นธรรมดาอยู่เล่า เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดาอยู่เล่า เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดาอยู่เล่า เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหาสิ่งมีโศกเป็นธรรมดาอยู่เล่า เป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ไฉนจึงยังแสวงหา สิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดาอยู่เล่า ไฉนหนอ เราเมื่อเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัด โทษในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่เกิด หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจาก โยคะ เมื่อเป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีชราเป็นธรรมดา แล้วแสวงหา พระนิพพาน ที่ไม่แก่ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เมื่อเป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ก็ควร ทราบชัดโทษในสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพานที่หาพยาธิมิได้ หาธรรมอื่น ยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เมื่อเป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีมรณะเป็น ธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่ไม่ตาย หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เมื่อเป็น ผู้มีโศกเป็นธรรมดา ก็ควรทราบชัดโทษในสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพาน ที่หา โศกไม่ได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เมื่อเป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ก็ควรทราบ ชัดโทษในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา แล้วแสวงหาพระนิพพานที่ไม่เศร้าหมอง หาธรรมอื่นยิ่งกว่า มิได้ เกษมจากโยคะ.
สำนักอาฬารดาบส
[๓๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมัยต่อมา เรากำลังรุ่นหนุ่ม แข็งแรงมีเกศาดำสนิท ยังหนุ่มแน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ทรงปรารถนาจะให้บวช มีพระพักตร์ อาบด้วยน้ำพระเนตร ทรงกรรแสงอยู่ จึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวช เป็นบรรพชิต เมื่อบวชแล้ว ก็เสาะหาว่ากุศลเป็นอย่างไร ขณะที่แสวงหาทางสงบระงับอันประ- *เสริฐซึ่งหาทางอื่นยิ่งกว่ามิได้ ได้เข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้ว กล่าวว่า ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ ในธรรมวินัยนี้ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ อาฬารดาบสกาลามโคตร จึงกล่าวกะเราดังนี้ว่า เชิญอยู่ก่อน ธรรมที่วิญญูชนพึงบรรลุอยู่ เพราะทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเอง ตามแบบอาจารย์ของตน ต่อกาลไม่นาน นี้ก็เช่นเดียวกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมาไม่นาน เรา เรียนธรรมนั้นได้รวดเร็ว ชั่วขณะหุบปากเจรจาปราศรัยเท่านั้น เราก็กล่าวญาณวาทและเถรวาท ได้ และทั้งเราทั้งผู้อื่น ก็ทราบชัดว่า เรารู้ เราเห็น เราจึงคิดว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร ย่อมบอกธรรม นี้โดยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า เรากระทำให้แจ้งเข้าถึงอยู่ได้ เพราะรู้ยิ่งโดย ตนเอง ก็หามิได้ โดยที่แท้ อาฬารดาบส กาลามโคตร ก็รู้เห็นธรรมนี้อยู่ ต่อนั้น เราจึงเข้าไป หาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วถามว่า ข้าแต่ท่านกาลามะ ท่านกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ด้วยเหตุเพียงเท่าใด? เมื่อเราถามเช่นนี้ อาฬารดาบส กาลามโคตร จึงบอกอากิญจัญญายตนสมาบัติแก่เรา เราจึงคิดว่ามิใช่แต่อาฬารดาบส กาลามโคตรเท่านั้น ที่มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แม้เรา ก็มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เหมือนกัน มิฉะนั้น เราต้องเริ่มบำเพ็ญเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง ธรรมที่อาฬารดาบส กาลามโคตรบอกว่า กระทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมาไม่นานนัก เราก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น เข้าถึงอยู่ได้ เพราะรู้ยิ่งโดย ตนเอง ต่อนั้น เราจึงเข้าไปหาอาฬารดาบส กาลามโคตร แล้วถามว่า ข้าแต่ท่านกาลามะ ท่านกระทำ ให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ? อา. ดูกรผู้มีอายุ แม้ข้าพเจ้ากระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดย ตนเอง ด้วยตนเหตุเพียงเท่านี้แหละ. พ. ข้าแต่ท่านกาลามะ แม้ข้าพเจ้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ เข้าถึงอยู่ได้ เพราะรู้ยิ่ง โดยตนเอง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้เหมือนกัน. อา. เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้ว ที่ได้เห็นสพรหมจารีผู้เช่นท่าน เพราะข้าพเจ้ากระทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ท่านก็กระทำให้ แจ้งซึ่งธรรมนั้น เข้าถึงอยู่ได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ท่านกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด เข้าถึงอยู่ได้ ข้าพเจ้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ข้าพเจ้าทราบธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด ข้าพเจ้าก็ทราบธรรมนั้น เป็นอันว่า ข้าพเจ้าเป็นเช่นใด ท่านก็เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด ข้าพเจ้าเป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกัน บริหารคณะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาฬารดาบส กาลามโคตร ทั้งที่เป็นอาจารย์ของเรา ก็ยกย่อง เราผู้เป็นศิษย์ให้สม่ำเสมอกับตน และบูชาเราอย่างโอฬาร ด้วยประการฉะนี้ แต่เราคิดว่า ธรรมนี้ ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา วิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ และนิพพาน เพียงเป็น ไปเพื่อเข้าถึงอากิญจัญญายตนสมาบัติเท่านั้น เราไม่พอใจ เบื่อหน่ายธรรมนั้น จึงลาจากไป.
สำนักอุทกดาบส
[๓๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นเป็นผู้เสาะหาว่ากุศลเป็นอย่างไร ขณะที่แสวงหาทาง สงบระงับอันประเสริฐ ซึ่งหาทางอื่นยิ่งกว่ามิได้ ได้เข้าไปหาอุททกดาบส รามบุตร แล้วกล่าวว่า ท่านรามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้ เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ อุททกดาบส รามบุตร จึงกล่าวกะเราดังนี้ว่า เชิญอยู่ก่อน ธรรมที่วิญญูชนพึงบรรลุอยู่ เพราะทำให้แจ้งด้วย ความรู้ยิ่งเอง ตามแบบอาจารย์ของตน ต่อกาลไม่นาน นี้ก็เช่นเดียวกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมาไม่นาน เราเรียนธรรมนั้นได้โดยรวดเร็ว ชั่วขณะหุบปาก เจรจาปราศรัยเท่านั้นเราก็กล่าว ญาณวาท และเถรวาทได้ และทั้งเราทั้งผู้อื่นก็ทราบชัดว่า เรารู้ เราเห็นเรานั้น จึงคิดว่า รามบุตร ย่อมบอกธรรมนี้ โดยเหตุเพียงความเชื่ออย่างเดียวว่า เรากระทำให้แจ้ง เข้าถึงอยู่ได้ เพราะรู้ยิ่ง โดยตนเอง ก็หามิได้ โดยที่แท้ รามบุตรก็รู้เห็นธรรมนี้อยู่ ต่อนั้น เราจึงเข้าไปหาอุททกดาบส รามบุตร แล้วถามว่า ดูกรท่านรามะ ท่านกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่ง โดยตนเอง ด้วยเหตุเพียงเท่าใด? เมื่อเราถามอย่างนี้ อุททกดาบส รามบุตร จึงบอกเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแก่ เรา เราจึงคิดว่า มิใช่แต่เพียงอุททกดาบส รามบุตรเท่านั้น ที่มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา แม้เราก็มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ ปัญญา เหมือนกัน ผิฉะนั้น เราต้องเริ่มบำเพ็ญเพียร เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่อุททกดาบส รามบุตรบอกว่า กระทำให้แจ้งเข้าถึงอยู่ได้ เพราะรู้ยิ่งโดย ตนเอง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ต่อมาไม่นานนัก เราก็ได้กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น เข้าถึงอยู่ได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ต่อนั้น เราจึงเข้าไปหาอุททกดาบส รามบุตร แล้วถามว่า ดูกรท่านรามะ ท่านกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ด้วยเหตุเพียงเท่านี้หรือ? อุ. ดูกรผู้มีอายุ แม้ข้าพเจ้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ เข้าถึง บอกได้เพราะรู้ยิ่งโดย ตนเอง โดยเหตุเพียงเท่านี้แหละ. พ. ดูกรท่านรามะ แม้ข้าพเจ้าก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ เข้าถึงอยู่ได้เพราะรู้ยิ่งด้วยตน เอง ด้วยเหตุเท่านี้เหมือนกัน. อุ. เป็นลาภของพวกข้าพเจ้า พวกข้าพเจ้าได้ดีแล้ว ที่ได้เห็นพรหมจารีผู้เช่นท่าน เพราะ ท่านรามะกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ท่านก็กระทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมนั้น เข้าถึง บอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ท่านกระทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด เข้าถึงอยู่ได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ท่านรามะก็กระทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้น เข้าถึงบอกได้ เพราะรู้ยิ่งโดยตนเอง ท่านรามะได้ทราบธรรมใด ท่านก็ทราบธรรมนั้น ท่านทราบธรรมใด ท่านรามะก็ได้ทราบธรรมนั้น เป็นอันว่า ท่านรามะเป็นเช่นใด ท่านก็ได้เป็นเช่นนั้น ท่านเป็นเช่นใด ท่านรามะก็ได้เป็นเช่นนั้น มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกัน บริหารคณะนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุททกดาบส รามบุตร ทั้งที่เป็นสพรหมจารีของเรา ก็ยกย่องไว้ในฐานะอาจารย์ และบูชาเราอย่างโอฬารด้วยประการฉะนี้. แต่เราคิดว่า ธรรมนี้ไม่เป็นไปเพื่อนิพพิทา วิราคะ นิโรธะ อุปสมะ อภิญญา สัมโพธะ และ นิพพาน เพียงเป็นไปเพื่อเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติเท่านั้น. เราไม่พอใจ เบื่อหน่าย ธรรมนั้น จึงลาจากไป.
ตรัสรู้สัจธรรม
[๓๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นเป็นผู้ชอบเสาะหาว่ากุศลเป็นอย่างไร ขณะที่แสวงหา ทางสงบระงับอันประเสริฐ ซึ่งหาทางอื่นยิ่งกว่ามิได้ เมื่อเที่ยวจาริกไปในมคธชนบทโดยลำดับ ได้ไปถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้เห็นภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ มีราวป่าเป็นที่เพลินใจ มีแม่น้ำไหล ไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ มีโคจรคามตั้งอยู่โดยรอบ. เราจึงคิดว่า ภูมิภาคเป็นที่น่า รื่นรมย์หนอ มีราวป่าเป็นที่เพลินใจ มีแม่น้ำไหลไม่ขาดสาย มีท่าน้ำสะอาดดีน่ารื่นรมย์ มีโคจรคาม ตั้งอยู่โดยรอบ เป็นที่สมควรเริ่มบำเพ็ญเพียรของกุลบุตรผู้ต้องการจะบำเพ็ญเพียร. เราจึงนั่ง ณ ที่ นั้นด้วยคิดว่า ที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร. [๓๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราโดยตนเอง เป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่ง มีชาติเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่เกิดหาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีชราเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่แก่ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีพยาธิเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีพยาธิ เป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพานที่หาพยาธิมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีมรณะเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่ตาย หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีโศกเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมี โศกเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพานที่หาโศกมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจาก โยคะ เป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้ บรรลุนิพพาน ที่ไม่เศร้าหมอง หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ และญาณทัสสนะได้เกิด แก่เราว่า วิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด ไม่มีภพใหม่ต่อไป. [๓๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราได้มีความดำริดังนี้ว่า ธรรมที่เราได้บรรลุนี้แล ลึก เห็น ได้โดยยาก รู้ตามได้โดยยาก เป็นธรรมสงบ ประณีต อันความตรึกหยั่งไม่ถึง ละเอียด รู้ได้ แต่บัณฑิต ส่วนประชาชนนี้ เป็นผู้ยินดี เพลิดเพลินใจในอาลัย เป็นผู้เห็นปฏิจจสมุปบาทที่เป็น ปัจจัยแห่งธรรมเหล่านี้ได้โดยยาก และเห็นได้โดยยากซึ่งธรรมที่สงบสังขารทั้งปวง สลัดอุปธิ ทั้งปวง เป็นที่สิ้นตัณหาเป็นที่สำรอก เป็นที่ดับ เป็นที่ออกจากตัณหา ก็ถ้าเราพึงแสดงธรรม และคนอื่นไม่รู้ตามธรรมของเรา ก็จะเป็นความลำบาก เหน็ดเหนื่อยแก่เราเปล่า. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ทั้งคาถาที่เป็นอัศจรรย์ยิ่งนัก ไม่เคยได้สดับมาแต่ก่อน ก็ได้แจ่มแจ้งแก่เราดังนี้ ธรรมนี้เราบรรลุได้โดยยาก บัดนี้ ไม่ควรประกาศ ธรรมนี้ไม่เป็นธรรมที่ชน ผู้มีราคะโทสะหนาแน่นตรัสรู้ได้โดยง่าย ชนผู้มีราคะกล้า ถูกกองความมืดหุ้มห่อ ไว้ ย่อมไม่เห็นธรรมที่ยังสัตว์ให้ถึงที่ทวนกระแสโลก ละเอียด ลึก เห็นได้ โดยยากเป็นอณู. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเราคิดเห็นเช่นนี้ ก็มีจิตน้อมไปเพื่อความเป็นผู้ขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อแสดงธรรม. [๓๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้น สหัมบดีพรหม ทราบความดำริของเรา จึงได้มี ความปริวิตกว่า โอ โลกจะฉิบหาย แหลกลาญเสียแล้วหนอ เพราะพระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า มีพระทัยน้อมไปเพื่อความเป็นผู้ขวนขวายน้อย ไม่น้อมไปเพื่อทรงแสดงธรรม สหัมบดีพรหมจึงอันตรธานจากพรหมโลก มาปรากฏตัวตรงหน้าเรา คล้ายกับบุรุษผู้มีกำลัง เหยียดแขนที่งอออก หรืองอแขนที่เหยียดเข้า ฉะนั้น แล้วจึงเฉวียงผ้าอุตราสงค์ ประคองอัญชลี มาทางเรา กราบทูลดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม ขอพระ- *สุคตจงทรงแสดงธรรม สัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลีที่ดวงตาน้อยเป็นปรกติมีอยู่ เพราะไม่ได้สดับธรรม สัตว์เหล่านั้นจึงเสื่อม ผู้ที่รู้ธรรมจักมีอยู่ ครั้นสหัมบดีพรหมกล่าวดังนี้แล้วจึงกล่าวคาถาประพันธ์ ต่อไปดังนี้ว่า แต่ก่อน ในแคว้นมคธ ได้ปรากฏมีธรรมที่ไม่บริสุทธิ์ ซึ่งชนพวกที่มีความ เศร้าหมองคิดไว้ ขอพระองค์จงทรงเปิดประตูอมฤตธรรม ขอสัตว์ทั้งหลาย จงได้สดับธรรมที่พระองค์ผู้ทรงหมดมลทินได้ตรัสรู้ ชนผู้อยู่บนยอดเขาศิลา พึงเห็นประชุมชนได้โดยรอบ ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้มีพระปรีชา มีพระเนตร คือปัญญาโดยรอบ ขอพระองค์ผู้หมดโศก จงเสด็จขึ้นปราสาทคือพระปัญญาที่ สำเร็จด้วยธรรม ซึ่งเปรียบด้วยยอดเขาศิลาแล้ว จึงทรงตรวจดูประชุมชนผู้ระทม ด้วยความโศก ถูกชาติชราครอบงำ ฉันนั้น ข้าแต่พระองค์ผู้ทรงความเพียร ทรงชนะสงคราม ผู้นำหมู่สัตว์ ผู้หากิเลสมิได้ ขอพระองค์จงเสด็จเที่ยวไป โปรดสัตว์โลก ขอพระผู้มีพระภาคจงทรงแสดงธรรม ผู้รู้ตามจักมีอยู่.
สหัมบดีพรหมอาราธนาแสดงธรรม
[๓๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะทราบการอาราธนาของสหัมบดีพรหม และเพราะอาศัย ความกรุณาในสัตว์ทั้งหลาย เราจึงได้ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้มีกิเลสดุจธุลี ในดวงตาน้อยก็มี ผู้มีกิเลสดุจธุลีในดวงตามากก็มี ผู้มีอินทรีย์กล้าก็มี ผู้มีอินทรีย์อ่อนก็มี ผู้มี อาการดีก็มี ผู้มีอาการชั่วก็มี ผู้พอจะพึงสอนให้รู้ได้ง่ายก็มี ผู้จะพึงสอนให้รู้ได้ยากก็มี บางพวก มีปกติเห็นโทษและภัยในปรโลก มีอธิบายเป็นคำเปรียบว่า ในกออุบล ในกอปทุม หรือในกอ บุณฑริก ดอกอุบล ดอกปทุม ดอกบุณฑริก บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่กับน้ำยังจม อยู่ภายในน้ำ อันน้ำหล่อเลี้ยงไว้ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ อยู่กับน้ำ ตั้งอยู่เสมอกับน้ำ บางดอกเกิดในน้ำ เจริญในน้ำ โผล่พ้นน้ำขึ้นมาแล้วตั้งอยู่ น้ำกำซาบเข้าไปไม่ได้ ฉันใด เราขณะ ที่ตรวจดูโลกด้วยพุทธจักษุ ก็ได้เห็นเหล่าสัตว์ ฉันนั้น คือ บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อย บางพวกมีกิเลสดุจธุลีในดวงตามาก บางพวกมีอินทรีย์กล้า บางพวกมีอินทรีย์อ่อน บางพวกมี อาการดี บางพวกมีอาการชั่ว บางพวกพอจะสอนให้รู้ได้ง่าย บางพวกสอนให้รู้ได้ยาก บางพวก มีปรกติเห็นโทษและภัยในปรโลก. เราจึงได้กล่าวคาถาตอบสหัมบดีพรหมว่า เราได้เปิดประตูอมฤตธรรมรับชนผู้ชอบสดับ ซึ่งยื่นศรัทธาภาชนะออกรับ ดูกรพรหมเรานึกถึงความลำบาก จึงไม่ได้แสดงธรรมที่ประณีตซึ่งเราชำนาญดี ในหมู่มนุษย์. เมื่อสหัมบดีพรหมทราบว่า พระผู้มีพระภาคทรงประทานโอกาส เพื่อแสดงธรรมแล้ว จึงอภิวาทเรา กระทำประทักษิณ อันตรธานไปในที่นั้น.
ทรงรำพึงถึงปฐมเทศนา
[๓๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจึงคิดดังนี้ว่า เราจะพึงแสดงธรรมเป็นครั้งแรกแก่ใคร หนอ ใครจักทราบชัดธรรมนี้ได้โดยเร็ว. เราจึงคิดดังนี้ว่า อาฬารดาบส กาลามโคตรนี้แล เป็น บัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยมานาน ถ้าไฉน เราพึงแสดงธรรมเป็น ครั้งแรกแก่เธอ เธอจักทราบชัดธรรมนี้ได้โดยเร็ว. ครั้งนั้น เทวดาตนหนึ่งเข้ามาหาเราแล้วทูล ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาฬารดาบส กาลามโคตร ตายไปแล้วได้ ๗ วัน. อนึ่ง เราก็ เกิดญาณทัสสนะว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร ตายไปแล้วได้ ๗ วัน. เราจึงคิดดังนี้ว่า อาฬารดาบส กาลามโคตร เป็นผู้เสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่เสียแล้วหนอ เพราะถ้าเธอพึงได้ สดับธรรมนี้ไซร้ ก็จะพึงทราบชัดได้โดยเร็ว. เราจึงคิดดังนี้ว่า เราจะพึงแสดงธรรมเป็นครั้งแรก แก่ใครหนอ ใครจักทราบชัดธรรมนี้ได้โดยเร็ว. เราจึงคิดดังนี้ว่า อุททกดาบส รามบุตรนี้แลเป็น บัณฑิต ฉลาด มีปัญญา มีกิเลสดุจธุลีในดวงตาน้อยมานาน ถ้าไฉน เราพึงแสดงธรรมเป็น ครั้งแรกแก่เธอ เธอจักทราบชัดธรรมนี้ได้โดยเร็ว. ครั้งนั้น เทวดาตนหนึ่งเข้ามาหาเราแล้วทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญอุททกดาบส รามบุตร ได้ตายไปเสียแล้วเมื่อเย็นวานนี้. อนึ่ง เราก็เกิด ญาณทัสสนะว่า อุททกดาบส รามบุตร ได้ตายไปเสียแล้วเมื่อเย็นวานนี้. เราจึงคิดดังนี้ว่า อุททกดาบส รามบุตร เป็นผู้เสื่อมจากคุณอันยิ่งใหญ่เสียแล้วหนอ เพราะถ้าเธอพึงได้สดับธรรม นี้ไซร้ ก็พึงทราบชัดได้โดยเร็ว. เราจึงคิดดังนี้ว่า เราจะพึงแสดงธรรมเป็นครั้งแรกแก่ใครหนอ ใครจักทราบชัดธรรมนี้โดยเร็ว. เราจึงคิดดังนี้ว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์ได้อุปัฏฐากเรา ผู้กำลังบำเพ็ญ เพียรอยู่ เป็นผู้มีอุปการะแก่เรามากนัก ถ้าไฉน เราพึงแสดงธรรมเป็นครั้งแรกแก่พวกเธอ. เรา จึงคิดดังนี้ว่า บัดนี้ ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ที่ไหนหนอ. เราก็รู้ได้ว่า ภิกษุปัญจวัคคีย์อยู่ในป่าอิสิป- *ตนมฤคทายวัน เขตพระนครพาราณสี ด้วยทิพยจักษุที่บริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์. ครั้นเราอยู่ ที่ตำบลอุรุเวลาพอสมควรแล้ว จึงได้ออกจาริกไปเมืองพาราณสี. [๓๒๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อาชีวกชื่ออุปกะได้เห็นเราผู้กำลังเดินทางไกลที่ระหว่างแม่น้ำ คยาและต้นมหาโพธิ จึงถามเราว่า ดูกรอาวุโส อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก ฉวีวรรณของท่าน บริสุทธิ์ ผุดผ่อง ท่านได้บรรพชาเฉพาะใคร ใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของ ใคร. เมื่ออุปกะอาชีวกถามอย่างนี้ เราจึงได้กล่าวคาถาตอบว่า เราเป็นผู้ครอบงำธรรมทั้งปวง รู้แจ้งธรรมทั้งปวง อันตัณหาให้ติดไม่ได้ใน ธรรมทั้งปวง ละเว้นธรรมทั้งปวง พ้น (น้อมใจ) ไปในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเองเราจะพึงแสดงใครเล่าว่า เป็นอาจารย์ อาจารย์ของเราไม่มี ผู้ที่ดีเหมือนเราไม่มี ผู้ที่เทียมเสมอเราไม่มี ในโลกทั้งเทวโลก เพราะเราเป็น พระอรหันต์ เป็นศาสดาผู้ยอดเยี่ยม เป็นสัมมาสัมพุทธองค์เอก เป็นผู้เย็น ดับกิเลสได้แล้ว เราจะไปบุรีของชาวกาสีเพื่อแสดงธรรมจักร โดยหมายจะ บันลือกลองอมฤตธรรม ในโลกที่มืดมน. อุปกะอาชีวกถามเราว่า เหตุใด ท่านจึงปฏิญาณว่า เป็นอรหันต์อนันตะชินะ? เราจึง กล่าวคาถาตอบว่า ผู้ที่ถึงอาสวักขัยเช่นเรา ย่อมเป็นผู้มีนามว่า ชินะเพราะบาปธรรมทั้งหลายเราได้ ชนะแล้ว ฉะนั้น เราจึงมีนามว่า ชินะ. เมื่อเรากล่าวตอบอย่างนี้ อุปกะอาชีวกนั้นได้กล่าวว่า พึงเป็นเช่นนั้นหรือ ท่าน สั่น ศีรษะ แล้วหลีกทางไป.
ทรงโปรดเบญจวัคคีย์
[๓๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราจึงออกเดินทางต่อไปโดยลำดับ จนถึงพวกภิกษุปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เขตเมืองพาราณสี. พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้เห็นเราเดินทางมาแต่ไกล จึงได้นัดหมายกันว่า ท่านพระสมณโคดม พระองค์นี้ ที่เป็นผู้มักมาก คลายความเพียร เวียน มาเพื่อความเป็นผู้มักมาก กำลังเสด็จมา พวกเราไม่ต้องไหว้ ไม่ต้องลุกขึ้นยืนรับ ไม่ต้องรับ บาตรจีวร แต่ว่าต้องปูอาสนะไว้ ถ้าทรงปรารถนา ก็จักประทับนั่ง. เมื่อเราเข้าไปใกล้ พวก ภิกษุปัญจวัคคีย์ ก็ไม่สามารถดำรงอยู่ในข้อนัดหมายกัน คือ บางรูปลุกขึ้นรับบาตรจีวร บางรูป ปูอาสนะ บางรูปตั้งน้ำล้างเท้า แต่พูดกับเราโดยระบุนาม และใช้คำพูดว่า "อาวุโส" เราจึง บอกภิกษุปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้พูดกับตถาคตโดยระบุนาม และใช้คำ พูดว่า "อาวุโส" ตถาคตได้เป็นอรหันตสัมมาสัมพุทธ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอน อมฤตธรรมที่เราได้บรรลุ เราจะแสดงธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่นานนัก ก็จัก กระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันเป็นคุณยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรผู้ออกบรรพชาโดยชอบ มุ่ง หมาย ในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ เพราะรู้ยิ่งด้วยตนเอง. เมื่อเรากล่าวอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ ได้กล่าวกับเราว่า ดูกรอาวุโส โคดม แม้เพราะการประพฤติอย่างนั้น เพราะการปฏิบัติอย่างนั้น เพราะการบำเพ็ญทุกกรกิริยาอย่างนั้น ท่านก็ไม่ได้บรรลุอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นอริยญาณทัสสนะ ชั้นพิเศษอย่างเพียงพอ ก็บัดนี้ ไฉนเล่า ท่านผู้เป็นคนมักมาก คลายความเพียร เวียนมาเพื่อ ความเป็นคนมักมาก จักบรรลุอุตตริมนุสสธรรม ที่เป็นอริยญาณทัสสนะชั้นพิเศษอย่างเพียงพอ ได้ เมื่อพวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวอย่างนี้แล้ว เราจึงได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคตมิได้ เป็นคนมักมาก มิได้คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ตถาคตได้เป็นอรหันต สัมมาสัมพุทธ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอนอมฤตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว เราจะ แสดงธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่นานนัก ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อันเป็นคุณยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรผู้ออกบรรพชาโดยชอบ มุ่งหมาย ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะ รู้ยิ่งด้วยตนเอง. พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ได้กล่าวคัดค้านกะเราเป็นครั้งที่สอง เป็นครั้งที่สาม เมื่อ พวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวคัดค้านอยู่อย่างนี้ เราจึงได้กล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลาย จำได้หรือไม่ว่า คำอย่างนี้ เราได้เคยพูดมาแล้วแต่ก่อน. พวกภิกษุปัญจวัคคีย์กล่าวว่า ข้าแต่ พระองค์ผู้เจริญ คำอย่างนี้พระองค์มิได้เคยตรัสเลย. เราจึงกล่าวว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ตถาคต มิได้เป็นคนมักมาก มิได้คลายความเพียร เวียนมาเพื่อความเป็นคนมักมาก ตถาคตได้เป็นอรหันต- *สัมมาสัมพุทธ พวกเธอจงเงี่ยโสตลงสดับ เราจะสอนอมฤตธรรมที่เราได้บรรลุแล้ว เราจะแสดง ธรรม เมื่อพวกเธอปฏิบัติตามที่เราสอน ไม่นานนัก ก็จักกระทำให้แจ้งซึ่งที่สุดพรหมจรรย์ อัน เป็นคุณยอดเยี่ยมที่กุลบุตรผู้ออกบรรพชาโดยชอบ มุ่งหมายในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ เพราะรู้ยิ่ง ด้วยตนเอง. เราจึงได้สามารถให้พวกภิกษุปัญจวัคคีย์ยอมเข้าใจตาม. เรากล่าวสอนภิกษุสองรูป ภิกษุสามรูปก็เที่ยวไปบิณฑบาต เราทั้งหกคนฉันบิณฑบาตที่ภิกษุสามรูปนำมา. เรากล่าวสอน ภิกษุสามรูป ภิกษุสองรูปก็เที่ยวไปบิณฑบาต เราทั้งหกคนฉันบิณฑบาตที่ภิกษุสองรูปนำมา ครั้ง นั้น พวกภิกษุปัญจวัคคีย์อันเราโอวาทอนุศาสน์อยู่อย่างนี้ โดยตนเองเป็นผู้มีชาติเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีชาติเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่เกิด หาธรรมอื่นยิ่งกว่า มิได้ เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีชราเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งที่มีชราเป็นธรรมดา แสวง หาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่แก่ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีพยาธิเป็น ธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีพยาธิเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่หาพยาธิมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีมรณะเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีมรณะ เป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพานที่ไม่ตาย หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เป็น ผู้มีโศกเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษในสิ่งมีโศกเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่หา โศกมิได้ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ เป็นผู้มีสังกิเลสเป็นธรรมดา ทราบชัดโทษใน สิ่งมีสังกิเลสเป็นธรรมดา แสวงหาจนได้บรรลุนิพพาน ที่ไม่เศร้าหมอง หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ เกษมจากโยคะ และพวกภิกษุปัญจวัคคีย์เหล่านั้น ได้เกิดญาณทัสสนะขึ้นมาว่า วิมุติของพวก เราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด ไม่มีภพใหม่ต่อไป. [๓๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณเหล่านี้มี ๕. กามคุณ ๕ เป็นไฉน? คือ รูปที่พึง ทราบชัดได้ด้วยจักษุ ซึ่งเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่าชอบใจ น่ารักประกอบด้วยกาม เป็นที่ ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่พึงทราบชัดได้ด้วยโสต ... กลิ่นที่พึงทราบชัดได้ด้วยฆานะ ... รสที่พึง ทราบชัดได้ด้วยชิวหา ... โผฏฐัพพะที่พึงทราบชัดได้ด้วยกาย ซึ่งเป็นที่น่าปรารถนา น่าใคร่ น่า ชอบใจ น่ารัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณ ๕ เหล่านี้แล. สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งใฝ่ฝัน ลุ่มหลง ติดพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่ จะคิดนำตนออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ถึงความเสื่อมความพินาศ ถูกมารผู้ใจบาปกระทำได้ตามต้องการ.
อุปมาสมณพราหมณ์กับฝูงเนื้อ
[๓๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างว่า เนื้อป่าที่ติดบ่วงนอนทับกองบ่วง พึงทราบ ว่า เป็นสัตว์ที่ถึงความเสื่อมความพินาศ ถูกพรานกระทำได้ตามต้องการ เมื่อพรานเดินเข้ามา ก็หนีไปไม่ได้ ตามปรารถนา ฉันใด สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ใฝ่ฝัน ลุ่มหลง ติดพัน ไม่เห็นโทษ ไม่มีปัญญาที่จะคิดนำตนออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น. บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ถึงความเสื่อมความพินาศ ถูกมารผู้ใจบาปกระทำได้ตามต้องการ ฉันนั้น สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งไม่ใฝ่ฝัน ไม่ลุ่มหลง ไม่ติดพัน เห็นโทษ มีปัญญาที่จะคิดนำตน ออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ไม่ถึงความ เสื่อมความพินาศไม่ถูกมารผู้ใจบาปกระทำได้ตามต้องการ. เหมือนอย่างว่า เนื้อป่าที่ไม่ติดบ่วง นอน ทับกองบ่วง พึงทราบว่า เป็นสัตว์ไม่ถึงความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกพรานกระทำได้ตามต้องการ เมื่อพรานเดินเข้ามา ก็หนีไปตามปรารถนา ฉันใด สมณพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่งไม่ใฝ่ฝัน ไม่ลุ่มหลง ไม่ติดพัน เห็นโทษ มีปัญญาที่จะคิดนำตนออก ย่อมบริโภคกามคุณ ๕ เหล่านี้ สมณพราหมณ์พวกนั้น บัณฑิตพึงทราบว่า เป็นผู้ไม่ถึงความเสื่อมความพินาศ ไม่ถูกมารผู้ใจบาป กระทำได้ตามต้องการฉันนั้น. อนึ่ง เหมือนอย่างว่า เนื้อป่า เมื่อเที่ยวไปตามป่าใหญ่ ย่อมวางใจ เดิน ยืน นั่ง นอน เพราะไม่ได้ประสบพรานป่า ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้น สงัดจากกาม จากอกุศลธรรม ย่อมบรรลุ ปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุทุติยฌานมีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้กระทำมารให้ตาบอด คือทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็น ของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุเป็นผู้มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะเสวยสุขด้วย นามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มี อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็น ร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุข ละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุได้บรรลุอากาสานัญจายตนฌานซึ่งมีบริกรรมว่า อากาศหาที่สุดมิได้ เพราะก้าวล่วงรูปสัญญา ดับปฏิฆสัญญาไม่มนสิการนานัตตสัญญาโดยประการ ทั้งปวงอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึง ความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานเสียโดยประการ ทั้งปวง ได้บรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้อยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงวิญญาณัญจายตนฌานเสียโดยประการ ทั้งปวง ได้บรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ซึ่งมีบริกรรมว่า อะไรหน่อยหนึ่งไม่มีอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงอากิญจัญญายตนฌานเสียโดยประการ ทั้งปวง ได้บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่ ภิกษุนี้เรียกว่าได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลาย จักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ยังอีกข้อหนึ่ง คือ ภิกษุล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานเสียโดย ประการทั้งปวง ได้บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ ก็แลเพราะเห็นด้วยปัญญา เธอย่อมมีอาสวะสิ้น ไป ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ทำมารให้ตาบอด คือ ทำลายจักษุของมารไม่ให้เห็นร่องรอย ถึงความ ไม่เห็นของมารผู้มีบาปธรรม เป็นผู้ข้ามพ้นตัณหาอันข้องอยู่ในอารมณ์ต่างๆ ในโลกเสียได้ ย่อม วางใจ เดิน ยืน นั่ง นอน เพราะไม่ได้ประสบมารผู้มีบาปธรรม. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้จบลงแล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชมยินดี พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาค แล้วแล.
จบ ปาสราสิสูตร ที่ ๖
-----------------------------------------------------
๗. จูฬหัตถิปโทปมสูตร
อุปมาด้วยรอยเท้าช้าง
[๓๒๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ก็โดยสมัยนั้นแล ชาณุโสณีพราหมณ์ออกจากพระนครสาวัตถีด้วย รถใหญ่เทียมด้วยลา มีเครื่องประดับขาวทุกอย่าง ในเวลาเที่ยงวัน ชาณุโสณีพราหมณ์ ได้เห็น ปีโลติกปริพาชกเดินมาแต่ไกล ครั้นเห็นแล้ว ได้กล่าวกะปีโลติกปริพาชกดังนี้ว่า เออแน่ะ ท่าน วัจฉายนะผู้เจริญมาจากไหนแต่เที่ยงวันเทียว? ปีโลติกปริพาชกตอบว่า ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามา ในที่นี้จากสำนักของพระสมณโคดมนั่นแล ชาณุโสณีพราหมณ์ถามว่า ท่านผู้เจริญ บัณฑิตย่อม สำคัญความเฉียบแหลมแห่งปัญญา ของพระสมณโคดมเป็นอย่างไร? ปีโลติกปริพาชกตอบว่า ท่านผู้เจริญ ก็ไฉนข้าพเจ้าจักรู้ความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมได้ แม้ผู้ที่จะพึงรู้ ความเฉียบแหลมแห่งปัญญาของพระสมณโคดมได้ต้องเป็นเช่นพระสมณโคดมแน่แท้ทีเดียว ชาณุ โสณีพราหมณ์กล่าวว่า ท่านวัจฉายนะผู้เจริญ สรรเสริญพระสมณโคดมด้วยการสรรเสริญอย่างยิ่ง ปิโลติกปริพาชกกล่าวว่า ท่านผู้เจริญข้าพเจ้าจักไม่สรรเสริญพระสมณโคดมอย่างไรเล่า เพราะพระ- *สมณโคดมผู้เจริญนั้น ใครๆ ก็สรรเสริญเยินยอแล้วทั้งนั้นเทียว ท่านเป็นผู้ประเสริฐกว่าเทวดา และมนุษย์ทั้งหลาย ชาณุโสณีพราหมณ์ถามว่า ท่านวัจฉายนะผู้เจริญเห็นอำนาจประโยชน์อะไร เล่า จึงเป็นผู้เลื่อมใสยิ่งในพระสมณโคดมถึงเพียงนี้?
ปีโลติกปริพาชกเห็นร่องรอยทั้ง ๔
[๓๓๐] ปิโลติกปริพาชกตอบว่า ท่านผู้เจริญ ก็ไฉนข้าพเจ้าจึงเป็นผู้เลื่อมใสยิ่งใน พระสมณโคดมถึงอย่างนี้ ท่านผู้เจริญ เปรียบเหมือน หมอช้างผู้ฉลาด พึงเข้าไปในป่าเป็นที่อยู่ แห่งช้าง พึงเห็นรอยเท้าช้างอันใหญ่ ทั้งยาวโดยส่วนยาว ทั้งกว้างโดยส่วนกว้าง ในป่าช้าง เขาพึงสันนิษฐานได้ว่า ท่านผู้เจริญ ช้างนี้ ใหญ่จริงหนอ ดังนี้ แม้ฉันใด ข้าพเจ้าก็ฉันนั้นเหมือน กันแล เมื่อใดได้เห็นร่องรอยทั้ง ๔ ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้ ร่องรอย ๔ เป็นไฉน? ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเห็นขัตติยบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ผู้ละเอียดลออ ผู้มีวาทะของ ผู้อื่นอันตนทำได้แล้ว ผู้มีอาการปานประหนึ่งยิงขนทรายได้ ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้นประหนึ่งว่า เที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย (ของผู้อื่น) ด้วยปัญญา (ของตน) ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้นได้ฟังว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปสู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้น ขัตติยบัณฑิต เหล่านั้น พากันคิดผูกปัญหา ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้วถามปัญหานี้ หากว่า พระสมณโคดมนั้นอันพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะ อย่างนี้แก่พระองค์ แม้หากว่า พระสมณโคดมนั้นอันพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ ไซร้ พวกเราจักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่พระองค์ ดังนี้ ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้นได้ฟังว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณโคดมได้เสด็จเที่ยวไปถึงบ้าน หรือนิคมชื่อโน้นแล้ว ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้น ก็พากันเข้าไปเฝ้า ณ ที่ซึ่งพระสมณโคดมประทับอยู่ พระสมณโคดมก็ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้ สมาทาน อาจหาญ ร่าเริงด้วยธรรมีกถา ขัตติยบัณฑิตเหล่านั้น ผู้อันพระสมณโคดมทรงชี้แจง ทรงชักชวน ทรงให้อาจหาญ ทรงให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณโคดม เลย แล้วจักยกวาทะแก่พระสมณโคดมที่ไหนได้ ย่อมสมควรเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั่น- *แหละโดยแท้ ท่านผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้เห็นร่องรอยที่หนึ่งนี้ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้. ท่านผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง ข้าพเจ้าเห็นพราหมณ์บัณฑิตบางพวกในโลกนี้ผู้ละเอียดลออ ผู้มีวาทะของผู้อื่นอันตนทำได้แล้ว ผู้มีอาการปานประหนึ่งยิงขนทรายได้ พราหมณ์บัณฑิตเหล่านั้น ประหนึ่งว่าจะเที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย (ของผู้อื่น) ด้วยปัญญา (ของตน) พราหมณ์บัณฑิต เหล่านั้น ได้ฟังว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่าพระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปสู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้น พราหมณ์บัณฑิตเหล่านั้นพากันคิดผูกปัญหา ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้ว ถามปัญหานี้ หากว่า พระสมณโคดมนั้นอันพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวก เราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระองค์ แม้หากว่า พระสมณโคดมนั้นอันพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่พระองค์ ดังนี้ พราหมณ์บัณฑิตเหล่านั้นได้ ฟังว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณโคดมได้เสด็จเที่ยวไปถึงบ้าน หรือนิคมชื่อโน้นแล้ว พราหมณ์บัณฑิตเหล่านั้น ก็พากันเข้าไปเฝ้า ณ ที่ซึ่งพระสมณโคดมประทับอยู่ พระสมณโคดม ก็ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา พราหมณ์บัณฑิตเหล่านั้น ผู้อันสมณโคดมทรงชี้แจง ทรงชักชวน ทรงให้อาจหาญ ทรงให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณโคดมเลย แล้วจักยกวาทะแก่พระสมณโคดมที่ไหนได้ ย่อมสมควร เป็นสาวกของพระสมณโคดมนั่นแหละโดยแท้. ท่านผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้เห็นร่องรอย ที่สองนี้ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้. ท่านผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง ข้าพเจ้าได้เห็นคฤหบดีบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ผู้ละเอียดลออ มีวาทะของผู้อื่นอันตนทำได้แล้ว ผู้มีอาการปานประหนึ่ง ยิงขนทรายได้ คฤหบดีบัณฑิตเหล่านั้น ประหนึ่งว่าจะเที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย (ของผู้อื่น) ด้วยปัญญา (ของตน) คฤหบดีบัณฑิต เหล่านั้นได้ฟังว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปสู่บ้าน หรือนิคมโน้น. คฤหบดีบัณฑิตเหล่านั้น พากันคิดผูกปัญหา แล้วตั้งใจว่า พวกเราจักเข้าไปหาพระสมณโคดม แล้วถามปัญหานี้ หากว่า พระสมณโคดมนั้นอันพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระองค์ แม้หากว่า พระสมณโคดมนั้น อันพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะแม้อย่างนี้ แก่พระองค์ ดังนี้. คฤหบดีบัณฑิต เหล่านั้น ได้ฟังว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณโคดมได้เสด็จเที่ยวไปถึงบ้าน หรือนิคมชื่อ โน้นแล้ว คฤหบดีบัณฑิตเหล่านั้น ก็พากันไปเฝ้า ณ ที่ซึ่งพระสมณโคดมประทับอยู่ พระสมณ โคดมก็ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา คฤหบดีบัณฑิต เหล่านั้น ผู้อันพระสมณโคดมทรงชี้แจง ทรงชักชวน ทรงให้อาจหาญ ทรงให้ร่าเริง ด้วยธรร- *มีกถาแล้ว ก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณะโคดมเลย แล้วจักยกวาทะแก่พระสมณโคดมที่ไหนได้ ย่อมสมควรเป็นสาวกของพระสมณโคดมนั่นแหละโดยแท้. ท่านผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้ เห็นร่องรอยที่สามนี้ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น ข้าพเจ้าได้สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาค เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของ พระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิญัติดีแล้ว ดังนี้. ท่านผู้เจริญ ยังอีกข้อหนึ่ง ข้าพเจ้าได้เห็นสมณบัณฑิตบางพวกในโลกนี้ ผู้ละเอียดลออ ผู้มีวาทะของผู้อื่นอันตนทำได้แล้ว ผู้มีอาการปานประหนึ่งยิง ขนทรายได้ สมณบัณฑิตเหล่านั้น ประหนึ่งว่าจะเที่ยวทำลายทิฏฐิทั้งหลาย (ของผู้อื่น) ด้วยปัญญา (ของตน) สมณบัณฑิตเหล่านั้น ได้ฟังว่า ท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า พระสมณโคดมจักเสด็จเที่ยวไปสู่บ้าน หรือนิคมชื่อโน้น. สมณบัณฑิตเหล่านั้น พากันคิดผูกปัญหา ด้วยตั้งใจว่า พวกเราจักเข้าไปหาพระสมณโคดมแล้ว ถามปัญหานี้ หากว่า พระสมณโคดมนั้นอันพวกเราถามแล้วอย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะอย่างนี้แก่พระองค์ แม้หากว่า พระสมณโคดมนั้นอันพวกเรา ถามแล้ว อย่างนี้ จักพยากรณ์อย่างนี้ไซร้ พวกเราจักยกวาทะแม้อย่างนี้แก่พระองค์ ดังนี้. สมณบัณฑิต เหล่านั้น ได้ฟังว่า ท่านผู้เจริญได้ยินว่า พระสมณโคดมได้เสด็จเที่ยวไปถึงบ้าน หรือนิคมชื่อ โน้นแล้ว สมณบัณฑิตเหล่านั้น ก็พากันเข้าไปเฝ้า ณ ที่ซึ่งพระสมณโคดมประทับอยู่ พระสมณ โคดมก็ทรงชี้แจงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทานอาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา สมณบัณฑิต เหล่านั้นผู้อันพระสมณโคดมทรงชี้แจง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน อาจหาญ ร่าเริง ด้วยธรรมี- *กถาแล้ว ก็ไม่ถามปัญหากะพระสมณโคดมเลย แล้วจักยกวาทะแก่พระสมณโคดมนั้นที่ไหนได้ ย่อมพากันทูลขอโอกาสกะพระสมณโคดมนั้นแหละเพื่อบรรพชา เป็นผู้ไม่มีกรรม เป็นเครื่อง เกื้อกูลแก่เรือนจากเรือนโดยแท้. พระสมณโคดมก็ยังสมณบัณฑิตเหล่านั้นให้บรรพชา สมณ บัณฑิตเหล่านั้น เป็นผู้อันพระสมณโคดมให้บรรพชาในอนาคาริยวินัยนั้นแล้ว ผู้หลีกออก (จากหมู่) ไม่ประมาท มีความเพียรเครื่องยังกิเลสให้เร่าร้อน มีตนอันส่งไปแล้วอยู่ ไม่นานนัก ก็ทำให้แจ้ง ซึ่งพระอรหัตผล เป็นธรรมอันยอดเยี่ยม เป็นที่สุดแห่งพรหมจรรย์ ซึ่งเป็นประโยชน์ของกุลบุตร ทั้งหลายผู้ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตโดยชอบ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง เข้าถึงอยู่ปัจจุบัน เทียว. สมณบัณฑิตเหล่านั้น จึงพากันกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่ฉิบหาย สักหน่อยหนอ ท่านผู้เจริญ เราทั้งหลายเป็นผู้ไม่ฉิบหายสักหน่อยหนอ เพราะว่า ในกาลก่อน เราทั้งหลายไม่เป็นสมณะเลย ก็ปฏิญาณว่า พวกเราเป็นสมณะ ไม่เป็นพราหมณ์เลย ก็ปฏิญาณ ว่า พวกเราเป็นพราหมณ์ ไม่เป็นพระอรหันต์เลย ก็ปฏิญาณว่า พวกเราเป็นพระอรหันต์ บัดนี้แล พวกเราเป็นสมณะแล้ว บัดนี้แล พวกเราเป็นพราหมณ์แล้ว บัดนี้แล พวกเราเป็นพระอรหันต์ แล้ว ดังนี้. ท่านผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้เห็นร่องรอยที่สี่นี้ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระ ผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้. ท่านผู้เจริญ เมื่อใด ข้าพเจ้าได้เห็นร่องรอยทั้ง ๔ เหล่านี้ ในพระสมณโคดมแล้ว เมื่อนั้น ข้าพเจ้าก็สันนิษฐานได้ว่า พระผู้มีพระภาคเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้. [๓๓๑] เมื่อปิโลติกปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์ ได้ลงจากรถใหญ่อัน เทียมด้วยลา มีเครื่องประดับขาวทุกอย่างแล้ว ทำผ้าห่มเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี ไปทางทิศที่พระผู้มีพระภาคประทับอยู่แล้ว เปล่งอุทานวาจาสามครั้งว่า ขอนอมน้อมแด่พระผู้มี พระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ชื่อแม้ไฉน ในบางครั้งในที่บางแห่ง เราพึงสมาคมกับพระสมณโคดมพระองค์นั้น ชื่อไฉน การ สนทนาปราศรัยอย่างนั่นแหละจะพึงมี. ครั้นนั้นแล ชาณุโสณีพราหมณ์ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มี พระภาคถึงที่ประทับ ครั้นผ่านถ้อยคำสนทนาปราศรัยเป็นเหตุให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลเล่าถ้อยคำสนทนาปราศรัยกับปีโลติกปริพาชก ตามที่ได้มาแล้วทั้งหมดแด่พระผู้มีพระภาค. เมื่อชาณุโสณีพราหมณ์กราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะชาณุโสณี พราหมณ์ดังนี้ว่า ดูกรพราหมณ์ ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้ ข้อความเปรียบด้วยรอยเท้าช้าง ยังมิได้บริบูรณ์โดยพิสดาร ดูกรพราหมณ์ ก็แลท่านจงฟังข้อความเปรียบด้วยรอยเท้าช้างโดย ประการที่บริบูรณ์โดยพิสดาร จงใส่ใจเป็นอันดีเถิด เราจักกล่าว. ชาณุโสณีพราหมณ์ทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.
อุปมาด้วยรอยเท้าช้าง
[๓๓๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือน หมอช้างพึงเข้าไปสู่ป่าช้าง เขาพึงเห็นรอยเท้าช้างที่ใหญ่ ทั้งยาวโดยส่วนยาว ทั้งกว้างโดย ส่วนกว้างในป่าช้าง หมอช้างซึ่งเป็นผู้ฉลาด ย่อมไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า ท่านผู้เจริญ ช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ ดังนี้. ข้อนั้น เป็นเหตุแห่งอะไร? ดูกรพราหมณ์ เพราะว่าช้างพัง ทั้งหลายชื่อว่า วามนิกา (พังค่อม) มีรอยเท้าใหญ่ มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้จะพึง เป็นรอยเท้าช้างพังวามนิกาเหล่านั้น. หมอช้างนั้นก็ตามรอยช้างนั้นไป เขาตามรอยช้างนั้นไปอยู่ ก็จะเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งยาวโดยส่วนยาว ทั้งกว้างโดยส่วนกว้าง และที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่ สูง ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง หมอช้างซึ่งเป็นผู้ฉลาด ก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า ท่านผู้เจริญ ช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ ดังนี้. ข้อนั้น เป็นเหตุแห่งอะไร? ดูกรพราหมณ์ เพราะว่า ช้างพัง ทั้งหลายชื่อว่าอุจจากฬาริกา มีรอยเท้าใหญ่ มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้จะพึงเป็น รอยเท้าช้างพังเหล่านั้น. หมอช้างนั้นก็ตามรอยเท้าช้างนั้นไป เขาตามรอยเท้าช้างนั้นไปอยู่ ก็จะ เห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งยาวโดยส่วนยาว ทั้งกว้างโดยส่วนกว้าง และที่ซึ่งถูกเสียดสีในที่สูง และที่ซึ่งงาทั้งหลายแซะขาดในที่สูง หมอช้างซึ่งเป็นผู้ฉลาด ก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า ท่านผู้เจริญ ช้างนี้เป็นช้างใหญ่หนอ ดังนี้. ข้อนั้น เป็นเหตุแห่งอะไร? ดูกรพราหมณ์ เพราะว่า ช้างพังทั้งหลายชื่อว่า อุจจากเณรุกา มีรอยเท้าใหญ่ มีอยู่ในป่าเป็นที่อยู่แห่งช้าง รอยเท้านี้จะพึงเป็นรอยเท้าช้างพังเหล่านั้น. หมอช้างนั้นก็ตามรอยเท้าช้างนั้นไป เขาตามรอยเท้า นั้นไปอยู่ ก็จะเห็นรอยเท้าช้างใหญ่ ทั้งยาวโดยส่วนยาว ทั้งกว้าง โดยส่วนกว้าง ที่ซึ่งถูก เบียดสีในที่สูง ที่ซึ่งงาทั้งหลายแซะขาดในที่สูง และกิ่งไม้หักในที่สูง และเห็นช้างนั้น ไปที่โคนต้นไม้ ไปในที่แจ้ง เดินอยู่ ยืนอยู่ หรือนอนแล้ว. เขาย่อมถึงความตกลงใจว่า ช้างนี้เองเป็นช้างใหญ่นั้น ดังนี้ แม้ฉันใด. ดูกรพราหมณ์ ข้ออุปไมยก็ฉันนั้นนั่น เทียวแล ตถาคตอุบัติในโลกนี้ เป็นอรหันต์ รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมแล้วด้วยวิชชาและจรณะไปดีแล้ว เป็นผู้รู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นศาสดาของเทวดาและ มนุษย์ทั้งหลายเป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้จำแนกธรรมนั้น ตถาคตนั้น ทำให้แจ้งซึ่งโลกนี้ เป็นไปกับ ด้วยเทวดา มารโลก พรหมโลก ซึ่งหมู่สัตว์เป็นไปกับด้วยสมณพราหมณ์ พร้อมทั้งเทวดาและ มนุษย์ ด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเองแล้ว สอนผู้อื่นให้รู้ตามตถาคตนั้น ย่อมแสดงธรรมงามใน เบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ ทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง คฤหบดี คฤหบดีบุตร หรือผู้ที่เกิดแล้วในสกุลใดสกุลหนึ่ง ย่อมฟังคำนั้น ครั้นได้ฟังธรรมนั้นแล้ว ย่อมได้เฉพาะซึ่งศรัทธาในตถาคต เขาประกอบด้วยการได้เฉพาะซึ่ง ศรัทธา แม้นั้น ย่อมพิจารณาเห็นแม้ดังนี้ว่า ฆราวาสเป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งกิเลส เพียง ดังธุลี บรรพชาเป็นโอกาสอันปลอดโปร่ง การที่ผู้ครองเรือนจะประพฤติพรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์โดยส่วนเดียว ดุจสังข์ที่ขัดแล้วนี้ หาเป็นกิจอันใครๆ กระทำได้โดยง่ายไม่ อย่า กระนั้นเลย เราพึงปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิตเถิด. ในสมัยต่อมา เขาละกองโภคสมบัติน้อยใหญ่ ละเครือญาติน้อยใหญ่ ปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต.
ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพ
[๓๓๓] กุลบุตรนั้นบรรพชาแล้วอย่างนี้ เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสิกขาสาชีพของภิกษุ ทั้งหลาย ละการฆ่าสัตว์ เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ วางศาตรา มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณาหวังผลประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่. ละการลักทรัพย์ เว้นขาดจาก การลักทรัพย์ รับแต่ของที่เขาให้ ต้องการแต่ของที่เขาให้ ไม่ประพฤติตนเป็นขโมย เป็นผู้ สะอาดอยู่. ละกรรมที่เป็นข้าศึกแก่พรหมจรรย์ ประพฤติพรหมจรรย์ ประพฤติห่างไกล เว้น ขาดจากเมถุนอันเป็นกิจของชาวบ้าน. ละการพูดเท็จ เว้นขาดจากการพูดเท็จ มีปกติพูดความจริง เชื่อมต่อคำจริง มีคำพูดมั่นคง มีคำพูดที่ควรเชื่อถือ ไม่พูดให้คลาดเคลื่อนต่อชาวโลก. ละคำส่อเสียด เว้นขาดจากคำส่อเสียด ฟังจากข้างนี้แล้วไม่ไปบอกข้างโน้น เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน หรือฟังจากข้างโน้นแล้วไม่มาบอกข้างนี้ เพื่อให้คนหมู่นี้แตกร้าวกัน สมานคนที่แตกร้าวกัน แล้วบ้าง ส่งเสริมคนที่พร้อมเพรียงกันแล้วบ้าง ชอบคนผู้พร้อมเพรียงกัน ยินดีในคนผู้ พร้อมเพรียงกัน เพลิดเพลินในคนผู้พร้อมเพรียงกัน กล่าวแต่คำที่ทำให้คนพร้อมเพรียงกัน. ละคำหยาบ เว้นขาดจากคำหยาบ กล่าวแต่คำที่ไม่มีโทษ เพราะหู ชวนให้รัก จับใจ เป็นของ ชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่ พอใจ. ละคำเพ้อเจ้อ เว้นขาดจากคำเพ้อเจ้อ พูดถูกกาล พูดแต่คำที่เป็นจริง พูดอิงอรรถ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดแต่คำมีหลักฐาน มีที่อ้าง มีที่กำหนด ประกอบด้วยประโยชน์ โดยกาลอันควร. เว้นขาดจากการพรากพืชคามและภูตคาม. ฉันหนเดียว เว้นการฉันในราตรี งดจากการฉันในเวลาวิกาล. เว้นขาดจากการฟ้อนรำขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการเล่นอันเป็นข้าศึกแก่กุศล. เว้นขาดจากการทัดทรงประดับ และ ตบแต่งร่างกายด้วยดอกไม้ของหอมและเครื่องประเทืองผิวอันเป็นฐานแห่งการแต่งตัว. เธอเว้น ขาดจากการนอนบนที่นอนอันสูงใหญ่. เธอเว้นขาดจากการรับทองและเงิน เธอเว้นขาดจากการรับ ธัญญาหารดิบ เธอเว้นขาดจากการรับเนื้อดิบ เธอเว้นขาดจากการรับสตรีและกุมารี เธอเว้นขาด จากการรับทาสีและทาส เธอเว้นขาดจากการรับแพะและแกะ เธอเว้นขาดจากการรับไก่และสุกร เธอเว้นขาดจากการรับช้าง โค ม้า และลา เธอเว้นขาดจากการรับไร่นาและที่ดิน เธอเว้นขาดจาก การประกอบทูตกรรมและการรับใช้ เธอเว้นขาดจากการซื้อการขาย เธอเว้นขาดจากการโกงด้วย ตาชั่ง การโกงด้วยของปลอมและการโกงด้วยเครื่องตวงวัด เว้นขาดจากการรับสินบน การล่อลวง และการตลบตะแลง เว้นขาดจากการตัด การฆ่าการจองจำ การตีชิง การปล้นการกรรโชก. ภิกษุ นั้นเป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริหารท้อง เธอไปทาง ทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง. นกมีปีกจะบินไปทิศาภาคใดๆ ก็มีแต่ปีกของตัวเป็นภาระบินไป ฉัน ใด ภิกษุก็ฉันนั้นแล เป็นผู้สันโดษด้วยจีวรเป็นเครื่องบริหารกาย ด้วยบิณฑบาตเป็นเครื่องบริ- *หารท้อง เธอจะไปทิศาภาคใดๆ ก็ถือไปได้เอง ภิกษุนั้นประกอบด้วยศีลขันธ์อันหาโทษมิได้นี้แล้ว ย่อมได้เสวยสุขอันปราศจากโทษในภายใน ภิกษุนั้นเห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุ ให้อกุศลธรรมอันลามก คืออภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษาจักขุนทรีย์ ชื่อว่าถึงความ สำรวมในจักขุนทรีย์. ภิกษุฟังเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้อง โผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้แจ้งธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือเอาโดยนิมิต ไม่ถือเอาโดยอนุพยัญชนะ เธอย่อมปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์ ที่เมื่อไม่สำรวมแล้ว จะเป็นเหตุให้อกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัสครอบงำนั้น ชื่อว่ารักษามนินทรีย์ ชื่อว่าถึงความสำรวมในมนินทรีย์ ภิกษุประ กอบด้วยอินทรีย์สังวรอันเป็นอริยะเช่นนี้ ย่อมได้เสวยสุขอันไม่ระคนด้วยกิเลสในภายใน. ภิกษุ นั้นย่อมทำความรู้สึกตัวในการก้าว ในการถอย ในการแล ในการเหลียว ในการคู้เข้า ในการ เหยียดออก ในการทรงสังฆาฏิ บาตร และจีวร ในการฉัน การดื่ม การเคี้ยว การลิ้ม ในการ ถ่ายอุจจาระปัสสาวะ ย่อมทำความรู้สึกตัวในการเดิน การยืน การนั่ง การหลับ การตื่น การ พูด การนิ่ง. [๓๓๔] ภิกษุนั้นเป็นผู้ประกอบด้วยศีลขันธ์ อันเป็นอริยะนี้ อินทรีย์สังวร สติสัมปชัญญะ และสันโดษ อันเป็นอริยะเช่นนี้แล้ว ย่อมเสพเสนาสนะอันสงัด คือ ป่า โคนไม้ ภูเขา ซอกเขา ถ้ำ ป่าช้า ป่าชัฏ ที่แจ้ง ลอมฟาง. ในเวลาภายหลังภัต เธอกลับจากบิณฑบาตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า. ภิกษุนั้นละความเพ่งเล็งในโลก มีจิตปราศจาก ความเพ่งเล็งอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความเพ่งเล็งได้. ละความประทุษร้ายคือพยาบาท ไม่คิดพยาบาท มีความกรุณา หวังประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากความ ประทุษร้ายคือความพยาบาทได้ ละถีนมิทธะได้แล้ว เป็นผู้ปราศจาก ถีนมิทธะ มีความกำหนด หมายอยู่ที่แสงสว่าง มีสติสัมปชัญญะอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากถีนมิทธะ. ละอุทธัจจกุก- *กุจจะได้แล้ว เป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่านมีจิตสงบ ณ ภายในอยู่ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากอุทธัจจ- *กุกกุจจะได้. ละวิจิกิจฉาได้แล้ว เป็นผู้ข้ามวิจิกิจฉา ไม่มีความคลางแคลงในกุศลธรรมทั้งหลายอยู่ ย่อมชำระจิตใจให้บริสุทธิ์จากวิจิกิจฉาได้.
รูปฌาน ๔
[๓๓๕] ภิกษุนั้นละนิวรณ์ ๕ เหล่านี้ อันเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิต อันเป็นเหตุทำ ปัญญาให้อ่อนกำลังลงได้แล้ว สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบท (ร่องรอยคือญาณ ของตถาคต) ดังนี้บ้าง ว่าตถาคตนิเสวิตะ (ฐานะอันสีข้างคือญาณของตถาคตเสียดสีแล้ว) ดังนี้แล้ว ว่าตถาคตารัญชิตะ (ฐานะอันงาคือญาณของตถาคตแซะขาดแล้ว) ดังนี้บ้าง. อริยสาวกก็ยังไม่ถึง ความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มี พระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้. ดูกรพราหมณ์ ยังอีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็น ธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ ฯลฯ เธอมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่ พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข ฯลฯ เธอบรรลุ จตุตถฌานไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ เป็นผู้มี อุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ ดูกรพราหมณ์ ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะ บ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง ดังนี้. อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็น พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวก ของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติ ดังนี้. [๓๓๖] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิ- *เลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อปุพเพนิ- *วาสานุสสติญาณ. ภิกษุนั้น ย่อมระลึกชาติก่อนได้เป็นอันมาก คือ ระลึกได้ชาติหนึ่งบ้าง สอง ชาติบ้าง สามชาติบ้าง สี่ชาติบ้าง ห้าชาติบ้าง สิบชาติบ้าง ยี่สิบชาติบ้าง สามสิบชาติบ้าง สี่สิบชาติบ้าง ห้าสิบชาติบ้าง ร้อยชาติบ้าง พันชาติบ้าง แสนชาติบ้าง ตลอดสังวัฏกัปเป็นอัน มากบ้าง ตลอดวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้าง ตลอดสังวัฏวิวัฏกัปเป็นอันมากบ้างว่า ในภพโน้น เรามีชื่อ อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์ มีผิวพรรณอย่างนั้นๆ มีกำ หนดอายุเพียงเท่านั้น ครั้นจุติจากภพนั้นแล้ว ได้ไปเกิดในภพโน้น แม้ในภพนั้น เราก็ได้ชื่อ อย่างนั้น มีโคตรอย่างนั้น มีผิวพรรณอย่างนั้น มีอาหารอย่างนั้น เสวยสุขเสวยทุกข์อย่างนั้นๆ มีกำหนดอายุเพียงเท่านั้น. ภิกษุนั้น ย่อมระลึกถึงชาติก่อนได้เป็นอันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อม ทั้งอุเทศ ด้วยประการฉะนี้, ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้ เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะ บ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง. อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระ อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระ ภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้. [๓๓๗] ภิกษุนั้น มีจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่อรู้จุติและอุปบัติแห่ง สัตว์ทั้งหลาย ภิกษุนั้น ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัด ซึ่งหมู่สัตว์ ผู้เป็นไปตามกรรมว่า สัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ติเตียนพระ- *อริยเจ้า เป็นมิจฉาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจมิจฉาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก เขา ย่อมเข้าถึงอุบาย ทุคติ วินิบาต นรก ส่วนสัตว์เหล่านี้ ประกอบด้วยกายสุจริต วจีสุจริต มโน- *สุจริต ไม่ติเตียนพระอริยเจ้า เป็นสัมมาทิฏฐิ ยึดถือการกระทำด้วยอำนาจสัมมาทิฏฐิ เบื้องหน้าแต่- *ตายเพราะกายแตก เขาย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ ดังนี้ ภิกษุนั้น ย่อมเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ เลว ประณีต มีผิวพรรณดี มีผิวพรรณทราม ได้ดี ตกยาก ด้วยทิพยจักษุอัน บริสุทธิ์ ล่วงจักษุมนุษย์ ย่อมรู้ชัดซึ่งหมู่สัตว์ผู้เป็นไปตามกรรม ด้วยประการฉะนี้ ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้เราเรียกว่า ตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง อริยสาวก ก็ยังไม่ถึงความตกลงใจก่อนว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอัน พระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้.
อาสวักขยญาณ
[๓๓๘] ภิกษุนั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ ผ่องแผ้ว ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้ ย่อมโน้มน้อมจิตไป เพื่ออาสวักขยญาณ ภิกษุนั้น ย่อม รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ย่อมรู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่าเหล่านี้อาสวะ นี้อาสวสมุทัย นี้อาสวนิโรธ นี้อาสวนิโรธคามินีปฏิปทา ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้เรากล่าวว่าตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง ตถาคตารัญชิตะบ้าง อริยสาวกก็ยังไม่ถึงความ ตกลงใจก่อน อริยสาวกนั้น ย่อมจะถึงความตกลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ ปฏิบัติดีแล้ว ดังนี้. เมื่อภิกษุนั้นรู้เห็นอย่างนั้น จิตย่อมหลุดพ้น แม้จากกามาสวะ แม้จากภวาสวะ แม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ก็มีญาณว่า พ้นแล้ว ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ดูกรพราหมณ์ แม้ข้อนี้ เราเรียกว่าตถาคตบทบ้าง ตถาคตนิเสวิตะบ้าง ตถาคตารัญชิตะ บ้าง ดังนี้. ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ดูกรพราหมณ์ อริยสาวกย่อมถึงความตกลงใจว่า พระผู้มีพระภาคเป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคตรัสดีแล้ว พระ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเป็นผู้ปฏิบัติดีแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล ดูกรพราหมณ์ ข้อความเปรียบเทียบด้วยรอยเท้าช้าง เป็นอันบริบูรณ์แล้วโดยพิสดาร ดังนี้. [๓๓๙] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ชาณุโสณีพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มี พระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญพระธรรมเทศนาแจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ บุคคล พึงหงายของที่คว่ำ พึงเปิดของที่ปกปิด พึงบอกทางแก่คนหลงทาง หรือพึงส่องประทีปที่โพลง ด้วยน้ำมันในที่มืด ด้วยคิดว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปทั้งหลายได้ ฉันใด พระโคดมผู้เจริญ ได้ทรงประ กาศพระธรรมโดยอเนกปริยาย ฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระโคดมผู้เจริญ พระ ธรรมและพระสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพเจ้าว่า เป็นอุบาสก ผู้ถึง พระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเถิด.
จบ จูฬหัตถิปโทปมสูตรที่ ๗
-----------------------------------------------------
๘. มหาหัตถิปโทปมสูตร
อุปมาอริยสัจกับรอยเท้าช้าง
[๓๔๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ บิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. สมัยนั้นแล ท่านพระสารีบุตร เรียกภิกษุทั้งหลายมาว่า ดูกรภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุ. ภิกษุเหล่านั้นรับคำของท่านพระสารีบุตรแล้ว. พระสารีบุตรได้กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย รอยเท้าเหล่าใดเหล่าหนึ่งแห่งสัตว์ ทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนแผ่นดิน รอยเท้าเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงการประชุมลงในรอยเท้าช้าง รอยเท้าช้างชาวโลกย่อมกล่าวว่า เป็นยอดของรอยเท้าเหล่านั้น เพราะรอยเท้าช้างเป็นของใหญ่ แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย กุศลธรรมเหล่าใดเหล่าหนึ่ง กุศลธรรมเหล่านั้นทั้งหมด ย่อมถึงการสงเคราะห์เข้าในอริยสัจสี่ ฉันนั้นเห็นเหมือนกันแล. ในอริยสัจสี่เหล่าไหน? คือ ใน ทุกขอริยสัจ ในทุกขสมุทัยอริยสัจ ในทุกขนิโรธอริยสัจ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ. [๓๔๑] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจเป็นไฉน? คือ แม้ความเกิดเป็นทุกข์ แม้ความแก่เป็นทุกข์ แม้ความตายเป็นทุกข์ แม้ความโศก ความรำพัน ความทุกข์กาย ความ ทุกข์ใจ ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์ แม้ความที่ไม่ได้สิ่งที่ตนอยากได้ ก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์ห้าเป็นไฉน? คืออุปาทานขันธ์ คือ รูป อุปาทานขันธ์คือเวทนา อุปาทานขันธ์คือสัญญา อุปาทานขันธ์คือสังขาร อุปาทานขันธ์คือ วิญญาณ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อุปาทานขันธ์คือรูปเป็นไฉน? คือ มหาภูตรูป ๔ และรูป ที่อาศัยมหาภูตรูป ๔ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็มหาภูตรูป ๔ เป็นไฉน? คือปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ.
ปฐวีธาตุ
[๓๔๒] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ปฐวีธาตุเป็นไฉน? คือ ปฐวีธาตุที่เป็นไปภายใน ก็มี ปฐมวีธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปฐวีธาตุ ที่เป็นไปภายในเป็น ไฉน? คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็น ของหยาบ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ก็หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป อันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของแข้นแข็ง เป็นของ หยาบอย่างอื่น นี้เรียกว่า ปฐวีธาตุ เป็นไปภายใน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ปฐวีธาตุอันใด แล เป็นไปภายใน และปฐวีธาตุอันใด เป็นไปภายนอก นั่นเป็นปฐวีธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็น ปฐวีธาตุนั้น นั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็น นั่น นั่นไม่เป็นตนของเรา. บัณฑิตครั้นเห็นปฐวีธาตุนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในปฐวีธาตุ ย่อมยังจิตให้คลายกำหนัดในปฐวีธาตุ. ดูกรท่านผู้มี อายุทั้งหลาย สมัยที่ปฐวีธาตุที่เป็นไปภายนอกกำเริบ ย่อมจะมีได้แล ในสมัยนั้น ปฐวีธาตุ อันเป็นภายนอกจะเป็นของอันตรธานไป. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชื่อว่าความที่แห่ง ปฐวีธาตุอันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น เป็นของไม่เที่ยง จักปรากฏได้ ความเป็น ของสิ้นไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็น ของแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้. ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไปถือเอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่ตลอดกาลนิดหน่อยนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็น ธรรมดา เป็นของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักไม่ ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะและทิฏฐิในปฐวีธาตุ อันเป็นภายใน นั้นจะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ชนเหล่าอื่นจะด่า จะตัดพ้อ กระทบ กระเทียบ จะเบียดเบียน ภิกษุนั้นไซร้. ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนาอันเกิดแต่ โสตสัมผัสนี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกขเวทนานั้นแล อาศัยเหตุจึงมีได้ ไม่อาศัยเหตุจะมี ไม่ได้ ทุกขเวทนานี้ อาศัยอะไรจึงมีได้ ทุกขเวทนาอาศัยผัสสะจึงมีได้. ภิกษุนั้น ย่อมเห็นว่า ผัสสะเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า เวทนาเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า สัญญาเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า วิญญาณเป็นของไม่เที่ยง จิตอันมี ธาตุเป็นอารมณ์นั่นเทียวของภิกษุนั้น ย่อมแล่นไป ย่อมเสื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี ย่อม หลุดพ้น. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้น ด้วยอาการ ที่ไม่น่าปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าชอบใจ คือด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยการประหาร ด้วยก้อนดินบ้าง ด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยการประหารด้วยศาตราบ้าง. ภิกษุนั้นย่อมรู้ ชัดอย่างนี้ว่า กายนี้เป็นสภาพเป็นที่เป็นไปแห่งการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง เป็นที่เป็นไปแห่งการ ประหารก้อนดินบ้าง เป็นที่เป็นไปแห่งการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง เป็นที่เป็นไปแห่งการประหาร ด้วยศาตราบ้าง. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระโอวาทอันเปรียบด้วยเลื่อยดังนี้ว่า ดูกร ภิกษุทั้งหลาย แม้หากว่า พวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า พึงตัดทอนอวัยวะใหญ่น้อยทั้งหลายด้วย เลื่อยอันมีด้ามสองข้างไซร้ ภิกษุผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้าย ในพวกโจร แม้นั้น ย่อมไม่เป็นผู้ชื่อว่า ทำตามคำสั่งสอนของเราด้วยเหตุนั้น ดังนี้. อนึ่ง ความเพียรอันเราปรารภแล้ว จักเป็นคุณชาติ ไม่ย่อหย่อน สติอันเราเข้าไปตั้งไว้แล้ว จักเป็นคุณชาติไม่หลงลืม กายอันเราให้สงบแล้ว จักเป็นสภาพไม่กระวนกระวาย จิตอันเราให้ตั้งมั่นแล้ว จักเป็นธรรมชาติมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว คราวนี้ การประหารด้วยฝ่ามือทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยก้อนดินทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยท่อนไม้ทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหาร ด้วยศาตราทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี ตามทีเถิด คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้ เราจะ ทำให้จงได้ ดังนี้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมไม่ ตั้งอยู่พร้อมได้. ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้นว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่ อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวแล้ว ย่อมสลดใจ ย่อมถึง ความสลดใจ แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ไม่ตั้งอยู่ ได้ด้วยดี. ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้นว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้า อยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัย กุศลธรรม ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้. ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่ อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดีไซร้. ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้ปลื้มใจ เพราะเหตุนั้น. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มี พระภาคเป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว.
อาโปธาตุ
[๓๔๓] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อาโปธาตุเป็นไฉน? คือ อาโปธาตุที่เป็นไปภายใน ก็มี อาโปธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อาโปธาตุที่เป็นไปภายในเป็น ไฉน? คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายในเป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ ถึงความ เอิบอาบ คือ ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ น้ำมูตร ก็หรือ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง ซึ่งเป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเอิบอาบ ถึงความเป็นของเอิบอาบอย่างอื่น นี้เรียกว่า อาโปธาตุเป็นไปภายใน. ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อาโปธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และอาโปธาตุอันใด เป็นไปภายนอก นั้นเป็นอาโปธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็นอาโปธาตุนั้นนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริง อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นตนของเรา. ครั้นเห็นอาโปธาตุนั่น ด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในอาโปธาตุ ย่อมยังจิตให้คลาย กำหนัดในอาโปธาตุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่อาโปธาตุ ที่เป็นไปภายนอกกำเริบ ย่อม จะมีได้แล อาโปธาตุ อันเป็นภายนอกนั้น ย่อมพัดเอาบ้านไปบ้าง พัดเอานิคมไปบ้าง พัดเอา เมืองไปบ้าง พัดเอาชนบทไปบ้าง ย่อมพัดเอาประเทศแห่งชนบทไปบ้าง. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่น้ำในมหาสมุทรย่อมลึกลงไปร้อยโยชน์บ้าง สองร้อยโยชน์บ้าง สามร้อยโยชน์บ้าง สี่ร้อยโยชน์บ้าง ห้าร้อยโยชน์บ้าง หกร้อยโยชน์บ้าง เจ็ดร้อยโยชน์บ้าง ย่อมมีได้แล. ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่เจ็ดชั่วลำตาลบ้าง หกชั่วลำตาลบ้าง ห้าชั่ว ลำตาลบ้าง สี่ชั่วลำตาลบ้าง สามชั่วลำตาลบ้าง สองชั่วลำตาลบ้าง ชั่วลำตาลหนึ่งบ้าง ย่อมมี ได้แล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่ ได้เจ็ดชั่วบุรุษบ้าง หกชั่วบุรุษ บ้าง ห้าชั่วบุรุษบ้าง สี่ชั่วบุรุษบ้าง สามชั่วบุรุษบ้าง สองชั่วบุรุษบ้าง ประมาณชั่วบุรุษหนึ่ง บ้าง ย่อมมีได้แล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็สมัยที่น้ำในมหาสมุทรขังอยู่ กึ่งชั่วบุรุษบ้าง ประมาณเพียงสะเอวบ้าง ประมาณเพียงเข่าบ้าง ประมาณเพียงข้อเท้าบ้าง ย่อมมีได้แล. ดูกร ท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่น้ำแม้ประมาณพอเปียกข้อนิ้วมือจะไม่มีในมหาสมุทร ก็ย่อมมีได้ แล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชื่อว่า ความที่แห่งอาโปธาตุอันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่งมากถึง เพียงนั้นเป็นของไม่เที่ยง จักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความ เป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักปรากฏ ได้. ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไปถือเอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่ ตลอดกาลนิดหน่อยนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความ เสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะและทิฏฐิ ในอาโปธาตุอันเป็นภายนอกนั้น จะไม่มีแก่ผู้นั้น เลย. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึง พระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดี ไซร้ ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณ เท่านี้แล คำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว. [๓๔๔] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เตโชธาตุเป็นไฉน? คือ เตโชธาตุที่เป็นไปภายใน ก็มี เตโชธาตุที่เป็นไปภายนอกก็มี. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เตโชธาตุที่เป็นไปภายในเป็น ไฉน? คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน ถึง ความเป็นของเร่าร้อน คือ สิ่งที่เป็นเครื่องอบอุ่นแห่งกาย สิ่งที่เป็นเครื่องทรุดโทรมแห่งกาย สิ่งที่เป็นเครื่องเร่าร้อนแห่งกาย สิ่งที่เป็นเครื่องถึงความแปรปรวนไปด้วยดีแห่งของที่กินแล้ว ดื่มแล้ว เคี้ยวแล้ว และของที่ลิ้มรสแล้ว ก็หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป อันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของเร่าร้อน ถึงความเป็นของเร่าร้อน อย่างอื่น นี้เรียกว่า เตโชธาตุ อันเป็นไปภายใน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็เตโชธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และเตโชธาตุ อันใด เป็นภายนอก นั่นเป็นเตโชธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็นเตโชธาตุนั้นนั่น ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นของเรา. บัณฑิต ครั้นเห็นเตโชธาตุนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายใน เตโชธาตุ ย่อมยังจิตให้คลาย กำหนัดในเตโชธาตุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัย ที่เตโชธาตุอันเป็นไปภายนอก กำเริบ ย่อมจะมีได้แล เตโชธาตุอันเป็นภายนอกนั้น ย่อม ไหม้บ้านบ้าง ย่อมไหม้บ้านเมืองบ้าง ย่อมไหม้นิคมบ้าง ย่อมไหม้ชนบทบ้าง ย่อมไหม้ประเทศ แห่งชนบทบ้าง. เตโชธาตุอันเป็นภายนอกนั้นมาถึงหญ้าสด หนทาง ภูเขา น้ำ หรือภูมิภาค อันเป็นที่รื่นรมย์ ไม่มีเชื้อ ย่อมดับไปเอง. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่ชนทั้งหลายแสวง หาไฟด้วยขนไก่บ้าง ด้วยการขูดหนังบ้าง ย่อมมีได้แล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชื่อว่า ความที่แห่งเตโชธาตุ อันเป็นไปภายนอกนั้นซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้นเป็นของไม่เที่ยง จักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้. ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้าไปถือ เอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้งอยู่ตลอดกาลนิดหน่อยนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็น ของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวน ไปเป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะ และทิฏฐิในเตโชธาตุนั้น จะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุ นั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ได้ด้วยดีไซร้. ภิกษุนั้น ย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านั้นแล คำสอนของพระผู้มีพระภาคเป็นอัน ภิกษุทำให้มากแล้ว.
วาโยธาตุ
[๓๔๕] ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็วาโยธาตุเป็นไฉน? คือ วาโยธาตุที่เป็นไปภายใน ก็มี วาโยธาตุที่เป็นภายนอกก็มี. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็วาโยธาตุที่เป็นไปภายในเป็น ไฉน? คือ สิ่งที่เป็นอุปาทินนกรูปอันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา ถึง ความเป็นของพัดไปมา คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมอันอยู่ในท้อง ลมอันอยู่ ในลำไส้ ลมอันแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็หรือสิ่งใด สิ่งหนึ่งซึ่งเป็นอุปาทินนกรูป อันเป็นภายใน เป็นของเฉพาะตน เป็นของพัดไปมา ถึงความ เป็นของพัดไปมา อย่างอื่น นี้เรียกว่า วาโยธาตุเป็นไปภายใน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็วาโยธาตุอันใดแล เป็นไปภายใน และวาโยธาตุอันใด เป็นไปภายนอก นั่นเป็น วาโยธาตุแล. บัณฑิตพึงเห็นวาโยธาตุนั้นนั่น ด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่เป็นนั่น นั่นไม่เป็นตนของเรา. บัณฑิตครั้นเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วย ปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมเบื่อหน่ายในวาโยธาตุ ย่อมยังจิตให้คลาย กำหนัดในวาโยธาตุ. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่วาโยธาตุอันเป็นไปภายนอกกำเริบ ย่อมจะมีได้แล วาโยธาตุอันเป็นภายนอกนั้น ย่อมพัดเอาบ้านไปบ้าง ย่อมพัดเอานิคมไป บ้าง ย่อมพัดเอานครไปบ้าง ย่อมพัดเอาชนบทไปบ้าง ย่อมพัดเอาประเทศแห่งชนบท ไปบ้าง. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สมัยที่ชนทั้งหลาย แสวงหาลมด้วยพัดใบตาลบ้าง ด้วย พัดสำหรับพัดไฟบ้าง ในเดือนท้ายแห่งฤดูร้อน แม้ในที่ชายคา หญ้าทั้งหลายก็ไม่ไหว ย่อม มีได้แล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็ชื่อว่าความที่แห่งวาโยธาตุ อันเป็นไปภายนอกนั้น ซึ่ง ใหญ่ถึงเพียงนั้น เป็นของไม่เที่ยง จักปรากฏได้ ความเป็นของสิ้นไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของเสื่อมไปเป็นธรรมดา จักปรากฏได้ ความเป็นของแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักปรา- *กฏได้. ก็ไฉนความที่แห่งกายอันตัณหาเข้ายึดถือเอาแล้ว ว่าเรา ว่าของเรา ว่าเรามีอยู่ อันตั้ง อยู่ตลอดกาลนิดหน่อยนี้ เป็นของไม่เที่ยง เป็นของมีความสิ้นไปเป็นธรรมดา เป็น ของมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา เป็นของมีความแปรปรวนไปเป็นธรรมดา จักไม่ปรากฏเล่า เมื่อ เป็นเช่นนี้ ความยึดถือด้วยสามารถตัณหามานะและทิฏฐิในวาโยธาตุนั้น จะไม่มีแก่ผู้นั้นเลย. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ชนเหล่าอื่นจะด่า จะตัดพ้อ จะกระทบกระเทียบ จะ เบียดเบียนภิกษุนั้นไซร้. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ทุกขเวทนาอันเกิดแต่โสตสัมผัสนี้ เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกขเวทนานั้นแล อาศัยเหตุพึงมีได้ ไม่อาศัยเหตุจะมีไม่ได้ ทุกขเวทนานี้อาศัยอะไร จึงมีได้ ทุกขเวทนานี้อาศัยผัสสะ จึงมีได้. ภิกษุนั้นย่อมเห็นว่า ผัสสะเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า เวทนาเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า สัญญาเป็นของ ไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า สังขารทั้งหลายเป็นของไม่เที่ยง ย่อมเห็นว่า วิญญาณเป็นของไม่เที่ยง จิตอันมีธาตุเป็นอารมณ์นั่นเทียวของภิกษุนั้น ย่อมแล่นไป ย่อมเลื่อมใส ย่อมตั้งอยู่ด้วยดี ย่อมหลุดพ้น.
การทำตามพระโอวาท
ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากชนเหล่าอื่นจะพยายามทำร้ายภิกษุนั้น ด้วยอาการที่ไม่น่า ปรารถนา ไม่น่าใคร่ ไม่น่าพอใจ คือ ด้วยการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง ด้วยการประหารด้วย ก้อนดินบ้าง ด้วยการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง ด้วยการประหารด้วยศาตราบ้าง. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า กายนี้เป็นสภาพเป็นที่เป็นไปแห่งการประหารด้วยฝ่ามือบ้าง เป็นที่เป็น ไปแห่งการประหารด้วยก้อนดินบ้าง เป็นที่เป็นไปแห่งการประหารด้วยท่อนไม้บ้าง เป็นที่เป็น ไปแห่งการประหารด้วยศาตราบ้าง. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ในพระโอวาท อันเปรียบ ด้วยเลื่อยดังนี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย แม้ว่าพวกโจรผู้มีความประพฤติต่ำช้า พึงตัดทอนอวัยวะ ใหญ่น้อยทั้งหลาย ด้วยเลื่อยอันมีด้ามสองข้างไซร้ ภิกษุผู้ที่ยังใจให้ประทุษร้ายในพวกโจรแม้ นั้น. ย่อมไม่เป็นผู้ชื่อว่าทำตามคำสอนของเราด้วยเหตุนั้น ดังนี้. อนึ่ง ความเพียรอันเรา ปรารภแล้ว จักเป็นคุณชาติไม่ย่อหย่อน สติอันเราเข้าไปตั้งไว้แล้ว จักเป็นคุณชาติไม่หลงลืม กายอันเราให้สงบแล้ว จักเป็นสภาพไม่กระวนกระวาย จิตอันเราให้ตั้งมั่นแล้ว จักเป็น ธรรมชาติมีอารมณ์เป็นอย่างเดียว คราวนี้ การประหารด้วยฝ่ามือทั้งหลาย จงเป็นไปใน กายนี้ก็ดี การประหารด้วยก้อนดินทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยท่อนไม้ ทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี การประหารด้วยศาตราทั้งหลาย จงเป็นไปในกายนี้ก็ดี ตามทีเถิด คำสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลายนี้เราจะทำให้จงได้ ดังนี้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึง พระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้พร้อม. ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้นว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภไม่มีแก่เราหนอ เราได้ไม่ ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราแล้วหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึง พระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หญิงสะใภ้เห็นพ่อผัวแล้ว ย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ แม้ฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึก ถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัยกุศลธรรม ไม่ตั้งอยู่ได้ ด้วยดี. ภิกษุนั้นย่อมสลดใจ ย่อมถึงความสลดใจ เพราะเหตุนั้นว่า ไม่เป็นลาภของเราหนอ ลาภของเราไม่มีหนอ เราได้ไม่ดีแล้วหนอ การได้ด้วยดีไม่มีแก่เราหนอ ที่เราระลึกถึงพระพุทธ- *เจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์อยู่อย่างนี้ อุเบกขาอันอาศัย กุศลธรรม ย่อมไม่ตั้งอยู่ได้ด้วยดี ดังนี้ ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า เมื่อภิกษุนั้นระลึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระธรรมอยู่อย่างนี้ ระลึกถึงพระสงฆ์ อย่างนี้ อุเบกขาอาศัยกุศลธรรม ย่อมตั้งอยู่ด้วยดีไซร้. ภิกษุนั้นย่อมเป็นผู้ปลื้มใจเพราะเหตุนั้น. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นอันภิกษุ ทำให้มากแล้ว.
ผู้เห็นธรรม
[๓๔๖] ดูกรท่านมีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยไม้และอาศัยเถาวัลย์ ดินเหนียวและหญ้า แวดล้อมแล้ว ย่อมถึงความนับว่า เป็นเรือนฉันใด ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อากาศอาศัยกระดูก และอาศัยเอ็นเนื้อและหนังแวดล้อมแล้ว ย่อมถึงความนับว่า รูป ฉันนั้นเหมือนกันแล. ดูกรท่าน ผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า จักษุอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และรูปทั้งหลาย อันเป็นภายนอกย่อมไม่มาสู่คลองจักษุ ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่จักษุและรูปนั้นก็ไม่มี ความ ปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่จักษุ และรูปนั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้ง หลาย หากว่า จักษุอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็น ภายนอก ย่อมมาสู่คลองจักษุ แต่ความกำหนดอันเกิดแต่จักษุ และรูปนั้นไม่มี ความปรากฏ แห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่จักษุ และรูปนั้นก็ยังมีไม่ได้ก่อน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แต่ว่าในกาลใดแลจักษุอันเป็นไปในภายในเป็นของไม่แตกไม่ทำลายแล้ว และรูปทั้งหลายอันเป็น ภายนอก ย่อมมาสู่คลองจักษุ ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่จักษุและรูปก็ย่อมมีในกาลนั้น ความ ปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่จักษุและรูปนั้น ย่อมมีได้ด้วยอาการอย่างนี้. รูปแห่ง สภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด รูปนั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์ คือ รูป เวทนาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด เวทนานั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ในอุปาทานขันธ์ คือ เวทนา สัญญาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด สัญญานั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์ คือ สัญญา สังขารแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นเหล่าใด สังขารเหล่านั้น ย่อม ถึงความสงเคราะห์ในอุปาทาน คือ สังขาร วิญญาณแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด วิญญาณนั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์ คือ วิญญาณ. ภิกษุนั้น ย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การประชุมพร้อม หมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ ด้วยประ การอย่างนี้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อ ว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้. ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรมแล. ความพอใจความอาลัย ความยินดี ความ ชื่นชอบ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัดความกำหนัดด้วย สามารถความพอใจ การละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนั้นชื่อว่าทุกขนิโรธแล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล. คำสอนของ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า โสตะอันเป็นไปในภายในเป็นของไม่แตกทำลาย แล้ว ฯลฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ฆานะอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย แล้ว ฯลฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า ชิวหา อันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย แล้ว ฯลฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า กายอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย แล้ว ฯลฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า มนะอันเป็นไปในภายใน เป็นของไม่แตกทำลาย แล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมไม่มาสู่คลอง ทั้งความกำหนดอันเกิด แต่มนะ และธรรมารมณ์นั้น ก็ไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่มนะและ ธรรมารมณ์นั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย หากว่า มนะอันเป็นไปในภาย ใน เป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภายนอก ย่อมมาสู่คลอง แต่ความกำหนดอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้นไม่มี ความปรากฏแห่งส่วนแห่งวิญญาณอัน เกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ก็ยังมีไม่ได้ก่อน. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย แต่ว่าในกาลใด แล มนะอันเป็นไปในภายในเป็นของไม่แตกทำลายแล้ว และธรรมารมณ์ทั้งหลายอันเป็นภาย นอก ย่อมมาสู่คลอง ทั้งความกำหนดอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ก็ย่อมมี ในกาล นั้น ความปรากฏแห่งส่วนแห่งส่วนแห่งวิญญาณอันเกิดแต่มนะและธรรมารมณ์นั้น ย่อมมีได้ ด้วยอาการอย่างนี้. รูปแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด รูปนั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ใน อุปาทานขันธ์คือรูป เวทนาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด เวทนานั้น ย่อมถึงความ สงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์คือเวทนา สัญญาแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด สัญญานั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์คือสัญญา สังขารทั้งหลายแห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้น เหล่าใด สังขารเหล่านั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์คือสังขาร วิญญาณ แห่งสภาพที่เป็นแล้วอย่างนั้นอันใด วิญญาณนั้น ย่อมถึงความสงเคราะห์ ในอุปาทานขันธ์ คือวิญญาณ. ภิกษุนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ได้ยินว่า การสงเคราะห์ การประชุมพร้อม หมวดหมู่แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ย่อมมีได้ ด้วยประการอย่างนี้. อนึ่ง พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ไว้ว่า ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้น ชื่อว่าเห็นปฏิจจสมุปบาท ดังนี้. ก็อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ใด อุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ ชื่อว่า ปฏิจจสมุปปันนธรรมแล. ความพอใจ ความอาลัย ความยินดี ความชื่นชอบ ในอุปาทาน- *ขันธ์ ๕ เหล่านี้อันใด อันนี้ชื่อว่าทุกขสมุทัย การกำจัดความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจ การละความกำหนัดด้วยสามารถความพอใจ ในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ อันใด อันนั้นชื่อว่า ทุกขนิโรธแล. ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ด้วยเหตุแม้มีประมาณเท่านี้แล คำสอนของพระผู้มี พระภาค เป็นอันภิกษุทำให้มากแล้ว. ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวธรรมปริยายนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดีภาษิต ของท่านพระสารีบุตรแล้วแล.
จบ. มหาหัตถิปโทปมสูตรที่ ๘
-----------------------------------------------------
๙. มหาสาโรปมสูตร
อุปมาพรหมจรรย์กับแก่นไม้
[๓๔๗] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ เขตพระนครราชคฤห์. เมื่อ พระเทวทัตต์หลีกไปไม่นาน ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงปรารภพระเทวทัตต์ ตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายมาแล้ว ตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจาก เรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะ และความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมด้วยลาภ สักการะและความสรรเสริญนั้น. เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญ อันนั้น เขาย่อมยกตน ข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่ปรากฏ มีศักดาน้อย. เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาท แล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลย กระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น. บุรุษผู้มีจักษุ เห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่นไม้ ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่ มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด กุลบุตรบางคนใน โลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปยาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น เพราะ ลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและ ความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่ปรากฏ [หรือมีคนรู้จักน้อย] มีศักดาน้อย เขา ย่อมมัวเมา ถึงความประมาทเพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือเอากิ่งและใบของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่กิ่งและใบนั้น.
สะเก็ดพรหมจรรย์
[๓๔๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทม- *นัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่ง ทุกข์ทั้งมวลนี้จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิด ขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัว เมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาท แล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วย ความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น. เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรา มีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม. เขาย่อมมัวเมา ถึง ความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือน บุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่น ไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถาก เอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น. บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้ เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่นไม้ ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้ อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอา สะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์ แก่เขา ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธา ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปา- *ยาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะ และความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสัก- *การะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและสรรเสริญอัน นั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความ ดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น. เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น เขาย่อมยก ตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เรียกว่า ได้ถือเอาสะเก็ดของพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่สะเก็ดนั้น.
เปลือกพรหมจรรย์
[๓๔๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็ม เปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เขาไม่ยกตนไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและ ความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามี ความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้ สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เพราะความถึง พร้อมแห่งสมาธิอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว. เขาย่อมมัวเมาถึงความประมาท เพราะ ความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อ ต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น. บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จัก กระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้ง อยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่ จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลก นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้ อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึง ปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความ ยินดีมีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่ม ผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึง พร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่ เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น, เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยัง ความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึง พร้อมแห่งสมาธินั้น. เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่าเรามี จิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิต หมุนไปผิดแล้ว. เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือ เอาเปลือกแห่งพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่เปลือกนั้น.
กระพี้พรหมจรรย์
[๓๕๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะ และ ความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อ เป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดี ด้วย ความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความ ถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะเพราะความถึงพร้อมแห่งศีล นั้นเมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วย ความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะ ความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อม แห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ. เขามีความ ยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมแล้วด้วยญาณทัสสนะนั้น. เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาย่อม ยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ ไม่เห็นอยู่. เขาย่อม มัวเมา ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็น ทุกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่น ไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถาก เอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่น. บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษ ผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้อยู่ เสาะหาแก่นไม้อยู่ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อ ต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่น และ กิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด กุลบุตรบางคนใน โลกนี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธา ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นอันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความ ทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวล นี้จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น เขาไม่มี ความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประ มาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึง พร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ, เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่ เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยัง ความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มี ความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประ มาทแล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยมแล้วด้วยญาณ ทัสสนะนั้น. เพราะญาณทัสสนะอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้เราเห็นอยู่ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ไม่รู้ไม่เห็นอยู่ เขาย่อมมัวเมา ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะ นั้น เมื่อเป็นผู้ประมาทแล้ว ย่อมอยู่เป็นทุกข์. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนี้เราเรียกว่า ได้ถือ เอากระพี้แห่งพรหมจรรย์ และถึงที่สุดแค่กระพี้นั้นแล.
แก่นพรหมจรรย์
[๓๕๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉน หนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยัง ลาภสักการะและความสรรเสริญให้เกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้ สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังญาณ- *ทัสสนะให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ. ดูกรภิกษุทั้ง หลาย ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากสมยวิมุตินั้น เป็นฐานะที่จะมีได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ถากเอาแก่นถือไป รู้จักว่าแก่น. บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น รู้จักกระพี้ รู้จักเปลือก รู้จักสะเก็ด รู้จักกิ่ง และใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยว เสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ถากเอาแก่นถือไป รู้จักว่าแก่น และ กิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด กุลบุตรบางคนในโลก นี้ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน มีศรัทธาออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อัน ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูก ความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกอง ทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนี้แล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้ บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรร- *เสริญนั้น เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขา ย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อม แห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึง พร้อมแห่งศีลอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่ง ศีลนั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความ ยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่ม ผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้ อื่น เพราะญาณทัสสนะนั้น. เขาย่อมไม่มัวเมา ไม่ถึงความประมาท เพราะญาณทัสสนะ นั้น เมื่อเป็นผู้ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยังอสมยวิโมกข์ให้สำเร็จ. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข้อที่ภิกษุนั้นจะพึงเสื่อมจากอสมยวิมุตินั้น มิใช่ฐานะ มิใช่โอกาสที่จะมีได้. [๓๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ดังพรรณนามาฉะนั้น พรหมจรรย์นี้ จึงมิใช่มีลาภ สักการะและความสรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มี ความถึงพร้อมแห่งสมาธิเป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ แต่พรหมจรรย์นี้มี เจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็นประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดี พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ มหาสาโรปมสูตร ที่ ๙
-----------------------------------------------------
๑๐. จูฬสาโรปมสูตร
อุปมานักบวชกับผู้แสวงหาแก่นไม้
[๓๕๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิก เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พราหมณ์ชื่อปิงคลโกจฉะ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ ประทับ ครั้นแล้ว ได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม สมณพราหมณ์พวกนี้ เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมาก สมมติว่าเป็นคนดี คือ ปูรณกัสสป มักขลิโคสาล อชิตเกสกัมพล ปกุธกัจจายนะ สัญชัยเวลัฏฐบุตร นิครนถ์นาฏบุตร พวกนั้นทั้งหมดรู้ยิ่งตามปฏิญญาของตนๆ หรือทุกคนไม่รู้ยิ่ง เลย หรือว่าบางพวกรู้ยิ่ง บางพวกไม่รู้ยิ่ง. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า อย่าเลย พราหมณ์ ข้อที่ว่าพวกนั้นทั้งหมดรู้ยิ่งตามปฏิญญา ของตนๆ หรือทุกคนไม่รู้ยิ่งเลย หรือว่าบางพวกรู้ยิ่ง บางพวกไม่รู้ยิ่งนั้น จงงดไว้เถิด เราจัก แสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงกระทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว ปิงคลโกจฉพราหมณ์ ทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๓๕๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการ แก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลย กระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น บุรุษผู้มีจักษุเห็น เขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จัก สะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของ เขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลย กระพี้ ละเลยเปลือกไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น. บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยว เสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือกไป เสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขาจักไม่สำเร็จ ประโยชน์แก่เขา. หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหา แก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น. บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษ ผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จักสะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริง อย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อ ต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา. หรืออีกอย่างหนึ่ง เปรียบ เหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มี แก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่น. บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขาผู้นั้น แล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ ไม่รู้จักแก่น ไม่รู้จักกระพี้ ไม่รู้จักเปลือก ไม่รู้จัก สะเก็ด ไม่รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้ มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหา แก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ ถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา. หรือ อีกอย่างหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้ อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั้นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น. บุรุษผู้มีจักษุเห็นเขา ผู้นั้นแล้ว พึงกล่าวอย่างนี้ว่า บุรุษผู้เจริญนี้ รู้จักแก่น รู้จักกระพี้ รู้จักเปลือก รู้จัก สะเก็ด รู้จักกิ่งและใบ จริงอย่างนั้น บุรุษผู้เจริญนี้มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั่นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขาจักสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด. [๓๕๕] ดูกรพราหมณ์ ฉันนั้นเหมือนกันแล กุลบุตรบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภ สักการะและความสรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะ และความสรรเสริญนั้น. เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีลาภสักการะและความสรรเสริญ ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่ปรากฏ [หรือมีคนรู้จักน้อย] มี ศักดาน้อย. อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ละเลยสะเก็ดไปเสีย ตัดเอากิ่งและใบถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จ ประโยชน์แก่เขา ฉันใด. ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น [๓๕๖] ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพ- *ชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนี้แล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้ บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ นั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. เขายังฉันทะให้ เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ลาภสักการะและ ความสรรเสริญ ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่ง ศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม แล้วด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น. เพราะ ความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีศีล มีกัลยาณธรรม ส่วนภิกษุอื่น นอกนี้ เป็นผู้ทุศีล มีบาปธรรม. อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่ง ธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติ ย่อหย่อน ท้อถอย. เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ ละเลยเปลือก ไปเสีย ถากเอาสะเก็ดถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จ ประโยชน์แก่เขา ฉันใด. ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น. [๓๕๗] ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำ ที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความ สรรเสริญให้บังเกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความ สรรเสริญนั้น เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ลาภ สักการะและความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยัง ความถึงพร้อมแห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความ ดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. อนึ่ง เขายัง ฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความ ถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อม แห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความดำริเต็มเปี่ยม ด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรามีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์ เป็นอันเดียว ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุนไปผิดแล้ว. เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น ทั้งเป็นผู้ประพฤติย่อหย่อน ท้อถอย. เปรียบเหมือนบุรุษนั้นที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหา แก่นไม้ เที่ยวเสาะหาแก่นไม้อยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่น ละเลยกระพี้ไปเสีย ถากเอาเปลือกถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์ แก่เขาฉันใด. ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น. [๓๕๘] ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส ท่วมทับแล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุด แห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้ บังเกิดขึ้น เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญ นั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะ ให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ลาภสักการะและ ความสรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อม แห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้ แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น ทั้งเป็นผู้มีความ ประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังญาณทัสสนะให้สำเร็จ. เขามีความยินดี มีความ ดำริเต็มเปี่ยม ด้วยญาณทัสสนะอันนั้น. เพราะญาณทัสสนะนั้น เขาย่อมยกตนข่มผู้อื่นว่า เรารู้ เราเห็น ส่วนภิกษุอื่นนอกนี้ ไม่รู้ไม่เห็นอยู่. อนึ่ง เขาไม่ยังฉันทะให้เกิด ไม่พยายาม เพื่อทำ ให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่าญาณทัสสนะนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติ ย่อหย่อน ท้อถอย. เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้น ที่มีความต้องการแก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้ เที่ยว เสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ละเลยแก่นไปเสีย ถากเอากระพี้ถือไป สำคัญว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้แก่นของเขา จักไม่สำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด. ดูกรพราหมณ์ เรา เรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมาฉันนั้น. [๓๕๙] ดูกรพราหมณ์ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีศรัทธา ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต ด้วยคิดว่า เราเป็นผู้อันชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส ท่วมทับ แล้ว ถูกความทุกข์ท่วมทับแล้ว มีความทุกข์เป็นเบื้องหน้า ไฉนหนอ ความกระทำที่สุดแห่ง กองทุกข์ทั้งมวลนี้ จะพึงปรากฏ. เขาบวชอย่างนั้นแล้ว ยังลาภสักการะและความสรรเสริญให้ เกิดขึ้น. เขาไม่มีความยินดี มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม ด้วยลาภสักการะและความสรรเสริญนั้น. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะลาภสักการะและความสรรเสริญอันนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะให้ เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ลาภสักการะและความ สรรเสริญนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อม แห่งศีลให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งศีลนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งศีลอันนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความถึงพร้อมแห่งศีล นั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. เขาย่อมยังความถึงพร้อมแห่งสมาธิ ให้สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยความถึงพร้อมแห่งสมาธินั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะความถึงพร้อมแห่งสมาธิอันนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้งธรรมเหล่าอื่นอันยิ่งกว่า และประณีตกว่า ความถึงพร้อมแห่ง สมาธินั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย เขาย่อมยังญาณทัสสนะให้ สำเร็จ. เขามีความยินดีด้วยญาณทัสสนะนั้น แต่มีความดำริยังไม่เต็มเปี่ยม. เขาไม่ยกตน ไม่ข่มผู้อื่น เพราะญาณทัสสนะอันนั้น. อนึ่ง เขายังฉันทะให้เกิด พยายาม เพื่อทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมเหล่าอื่นยิ่งกว่า และประณีตกว่า ญาณทัสสนะนั้น ทั้งเป็นผู้มีความประพฤติไม่ ย่อหย่อน ไม่ท้อถอย. ดูกรพราหมณ์ ก็ธรรมที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ญาณทัสสนะเป็น ไฉน? ภิกษุในพระศาสนานี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ. อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ. อีกข้อหนึ่ง ภิกษุมีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ. อีกข้อหนึ่ง ภิกษุบรรลุจตุตถฌานไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับ โสมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ญาณทัสสนะ. อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตตสัญญา ภิกษุย่อมบรรลุอากาสานัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า อากาศหาที่สุดมิได้. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ. อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุ วิญญาณัญจายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและ ประณีตกว่าญาณทัสสนะ. อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อมบรรลุ อากิญจัญญายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า น้อยหนึ่งไม่มี. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ญาณทัสสนะ. อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อม บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ. อีกข้อหนึ่ง เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง ภิกษุย่อม บรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ. เพราะเห็นด้วยปัญญาของเธอ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป. แม้ธรรมข้อนี้ ก็ยิ่งกว่าและประณีตกว่าญาณทัสสนะ. ดูกรพราหมณ์ ธรรมเหล่านี้แล ที่ยิ่งกว่าและประณีตกว่า ญาณทัสสนะ. เปรียบเหมือนบุรุษคนนั้นที่มีความต้องการแก่น แสวงหาแก่น เที่ยวเสาะหาแก่นอยู่ เมื่อต้นไม้ใหญ่มีแก่นตั้งอยู่ ตัดเอาแก่นนั้นแหละถือไป รู้อยู่ว่าแก่น และกิจที่จะพึงทำด้วยไม้ แก่นของเขา จักสำเร็จประโยชน์แก่เขา ฉันใด. ดูกรพราหมณ์ เราเรียกบุคคลนี้ว่า มีอุปมา ฉันนั้น. [๓๖๐] ดูกรพราหมณ์ ดังพรรณนามาฉะนี้ พรหมจรรย์จึงมิใช่มีลาภสักการะและความ สรรเสริญเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมแห่งศีลเป็นอานิสงส์ มิใช่มีความถึงพร้อมสมาธิ เป็นอานิสงส์ มิใช่มีญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์ พรหมจรรย์นี้มีเจโตวิมุติอันไม่กำเริบ เป็น ประโยชน์ เป็นแก่น เป็นที่สุด. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ปิงคลโกจฉพราหมณ์ ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก เปรียบเหมือนบุคคลหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่ คนหลงทาง หรือตามประทีปในที่มืด ด้วยประสงค์ว่า ผู้มีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉันใด ธรรมที่ พระองค์ทรงประกาศแล้วโดยอเนกปริยาย ก็ฉันนั้นเหมือนกัน. ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระองค์กับ พระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่า เป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง พระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต จำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบ จูฬสาโรปมสูตร ที่ ๑๐
จบ โอปัมมวรรค ที่ ๓
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรในวรรคนี้
เรื่องพระโมลิยะภัคคุนะ เรื่องภิกษุชื่ออริฏฐะ เรื่องอันธวัน เรื่องพระปุณณะ นิวาปสูตร ปาสราสิสูตร จูฬหัตถิปโทปมสูตร มหาหัตถิ ปโทปมสูตร มหาสาโรปมสูตร จูฬสาโรปม สูตร.
-----------------------------------------------------
มหายมกวรรค
๑. จูฬโคสิงคสาลสูตร
เหตุแห่งความสามัคคี
[๓๖๑] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ที่พักซึ่งสร้างด้วยอิฐในนาทิกคาม. ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ ท่านพระกิมิละ อยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน. ครั้งนั้นเวลาเย็น พระผู้มีพระภาคเสด็จออกจากที่ประทับพักผ่อนแล้ว เสด็จเข้าไปยังป่าโคสิงคสาลวัน. นายทายบาล [ผู้รักษาป่า] ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเสด็จมาแต่ไกล ครั้นแล้วได้กล่าวกะพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า ข้าแต่สมณะท่านอย่าเข้าไปยังป่านี้เลย ในที่นี้มีกุลบุตร ๓ ท่าน ซึ่งเป็นผู้ใคร่ประโยชน์ตนเป็น สภาพอยู่ ท่านอย่าได้กระทำความไม่ผาสุกแก่ท่านทั้ง ๓ นั้นเลย. เมื่อนายทายบาลกล่าวกะพระ ผู้มีพระภาคอยู่ ท่านพระอนุรุทธได้ยินแล้ว จึงได้บอกนายทายบาลดังนี้ว่า ดูกรนายทายบาลผู้มีอายุ ท่านอย่าได้ห้ามพระผู้มีพระภาคเลย พระผู้มีพระภาคผู้เป็นศาสดาของพวกเราเสด็จมาถึงแล้ว. ลำดับ นั้น ท่านพระอนุรุทธได้เข้าไปหาท่านพระนันทิยะและท่านพระกิมิละถึงที่อยู่ ครั้นแล้วได้บอกว่า รีบออกไปเถิด ท่านผู้มีอายุ รีบออกไปเถิด ท่านผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคผู้เป็นศาสดาของพวกเรา เสด็จมาถึงแล้ว. ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ได้ต้อนรับพระผู้มีพระภาค องค์หนึ่งรับบาตร และจีวรของพระผู้มีพระภาค องค์หนึ่งปูอาสนะ องค์หนึ่งตั้งน้ำล้างพระบาท. พระผู้มีพระภาคประทับนั่งบนอาสนะที่ปูถวาย ครั้นแล้วทรงล้างพระบาท. ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. [๓๖๒] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสกะท่านพระอนุรุทธว่า ดูกรอนุรุทธ นันทิยะ และกิมิละ พวกเธอพอจะอดทนได้ละหรือ พอจะยังชีวิตให้เป็นไปได้หรือ พวกเธอไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต หรือ? อ. ข้าแต่พระผู้มีพระภาค พวกข้าพระองค์พอจะอดทนได้ พอจะยังมีชีวิตให้เป็นไปได้ พวกข้าพระองค์ไม่ลำบากด้วยบิณฑบาต. พ. ก็พวกเธอ ยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน ยังเป็นเหมือนน้ำนม กับน้ำ แลดูกันและกันด้วยจักษุอันเป็นที่รักอยู่หรือ? อ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. ก็พวกเธอเป็นอย่างนั้นได้ เพราะเหตุอย่างไร? [๓๖๓] อ. พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้วหนอ ที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เห็นปานนี้ ข้าพระองค์ เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วยเมตตาในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เข้าไปตั้งวจี- *กรรมประกอบด้วยเมตตา ... เข้าไปตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งต่อหน้า และลับหลัง ข้าพระองค์มีความดำริอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงเก็บจิตของตนเสียแล้ว ประพฤติ ตามอำนาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ แล้วข้าพระองค์ก็เก็บจิตของตนเสีย ประพฤติอยู่ตามอำนาจ จิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ กายของพวกข้าพระองค์ต่างกันจริงแล แต่ว่าจิตดูเหมือนเป็นอันเดียวกัน. แม้ท่านพระนันทิยะ ... แม้ท่านพระกิมิละ ก็ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส แม้ข้าพระองค์ก็มีความดำริอย่างนี้ว่า เป็นลาภของเราหนอ เราได้ดีแล้ว หนอ ที่ได้อยู่ร่วมกับเพื่อนพรหมจรรย์เห็นปานนี้ ข้าพระองค์เข้าไปตั้งกายกรรมประกอบด้วย เมตตาในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เข้าไปตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ... เข้าไป ตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตาในท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง ข้าพระองค์มีความ ดำริอย่างนี้ว่า ไฉนหนอ เราพึงเก็บจิตของตนเสียแล้ว ประพฤติตามอำนาจจิตของท่านผู้มีอายุ เหล่านี้ แล้วข้าพระองค์ก็เก็บจิตของตนเสีย ประพฤติอยู่ตามอำนาจจิตของท่านผู้มีอายุเหล่านี้ กายของพวกข้าพระองค์ต่างกันจริงแล แต่ว่าจิตดูเหมือนเป็นอันเดียวกัน พระพุทธเจ้าข้า พวก- *ข้าพระองค์ ยังพร้อมเพรียงกัน ชื่นบานต่อกัน ไม่วิวาทกัน ยังเป็นเหมือนน้ำนมกับน้ำ แลดูกัน และกันด้วยจักษุอันเป็นที่รักอยู่. [๓๖๔] พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ พวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไป แล้วอยู่หรือ. อ. เป็นอย่างนั้น พระพุทธเจ้าข้า. พ. ก็พวกเธอเป็นอย่างนั้นได้ เพราะเหตุอย่างไร? อ. พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส บรรดาพวกข้าพระองค์ท่านผู้ใดกลับจาก บิณฑบาตแต่บ้านก่อน ท่านผู้นั้นย่อมปูลาดอาสนะ ตั้งน้ำฉัน น้ำใช้ไว้ ตั้งถาดสำรับไว้ ท่านผู้ใด กลับจากบิณฑบาตแต่บ้านทีหลัง ถ้ามีบิณฑบาตที่เหลือจากฉัน หากประสงค์ ก็ฉัน ถ้าไม่ประสงค์ ก็ทิ้งเสียในที่ปราศจากของเขียวหรือเทลงในน้ำที่ไม่มีสัตว์ ท่านผู้นั้นเก็บอาสนะ เก็บน้ำฉัน เก็บน้ำใช้ เก็บถาดสำรับ กวาดโรงภัต ท่านผู้ใดเห็นหม้อน้ำฉัน น้ำใช้ หรือหม้อน้ำชำระว่างเปล่า ท่านผู้นั้นก็เข้าไปตั้งไว้ ถ้าเหลือวิสัยของท่าน ก็กวักมือเรียกรูปที่สองแล้วช่วยกันยกเข้าไปตั้งไว้ พวกข้าพระองค์ไม่เปล่งวาจา เพราะข้อนั้นเป็นปัจจัย และทุกวันที่ ๕ พวกข้าพระองค์ นั่งสนทนา ธรรมกถาตลอดคืนยังรุ่ง พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตน ไปอยู่ ด้วยประการฉะนี้แล.
ธรรมเครื่องอยู่สำราญ
[๓๖๕] พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็เมื่อพวกเธอเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปอยู่อย่างนี้ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่า ธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญ ที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว มีอยู่หรือ? อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส พวกข้าพระ- *องค์หวังอยู่เพียงว่า พวกเราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่ เมื่อพวกข้าพระองค์เป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร ส่งตนไปอยู่ คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็น เครื่องอยู่สำราญนี้แล พวกข้าพระองค์ได้บรรลุแล้ว. พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ- *อริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ อย่างอื่นมีอยู่หรือ? อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า พวกเราบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะวิตกวิจาร สงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปิติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญ เพื่อ ความก้าวล่วง เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้อย่างอื่น. พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ- *อริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ? อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า พวกเรามีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่ พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ อยู่เป็นสุข อันนี้ได้แก่- *คุณวิเศษ คือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น. พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ- *อริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ? อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า พวกเราบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์ และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำ ความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น. พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ- *อริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ? อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง เพราะปฏิฆสัญญาดับไป เพราะไม่ใส่ใจซึ่งนานัตต- *สัญญา พวกเราบรรลุอากาสานัญจายตนฌานด้วยพิจารณาว่า อากาศหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้ ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น. พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ- *อริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ? อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุวิญญาณัญจายตนฌาน ด้วย พิจารณาว่า วิญญาณหาที่สุดมิได้ ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถ กระทำความความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น. พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ- *อริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ? อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียงซึ่งวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุอากิญจัญญายตนฌาน ด้วยพิจารณาว่า น้อยหนึ่งไม่มี ดังนี้อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำ ความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น. พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ อริยะ ... อย่างอื่นมีอยู่หรือ? อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนฌาน อยู่ อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ ... อย่างอื่น. พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ก็คุณวิเศษคือญาณทัสสนะอันสามารถกระทำความเป็นพระ- *อริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญที่พวกเธอได้บรรลุแล้ว เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ อย่างอื่นมีอยู่หรือ? อ. เพราะเหตุอะไรเล่า จะไม่พึงมี พระพุทธเจ้าข้า พวกข้าพระองค์หวังอยู่เพียงว่า เพราะล่วงเสียซึ่งเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวง พวกเราบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ เพราะเห็นแม้ด้วยปัญญา อาสวะของท่านผู้นั้นย่อมหมดสิ้นไป อันนี้ได้แก่คุณวิเศษคือญาณทัสสนะ อันสามารถกระทำความเป็นพระอริยะ อันยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ซึ่งเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น เพื่อความก้าวล่วง เพื่อความระงับ แห่งธรรมเป็นเครื่องอยู่อันนี้ ได้บรรลุแล้ว พระพุทธเจ้าข้า อนึ่ง พวกข้าพระองค์ยังไม่พิจารณาเห็นธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่า หรือประณีต กว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้. พ. ดีละ ดีละ อนุรุทธ ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอย่างอื่น ที่ยิ่งกว่า หรือประณีตกว่า ธรรมเป็นเครื่องอยู่สำราญอันนี้หามีไม่. [๓๖๖] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคยังท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระ- *กิมิละ ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถาแล้วเสด็จลุกจากอาสนะ หลีกไป ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ส่งเสด็จพระผู้มีพระภาค ครั้นกลับจากที่นั้นแล้ว ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ ได้กล่าวกะท่านพระอนุรุทธว่า ท่านอนุรุทธประกาศคุณวิเศษอันใดของพวกกระผม จนกระทั่งถึงความสิ้นอาสวะ ในที่เฉพาะ พระพักตร์ พระผู้มีพระภาค พวกกระผมได้บอกคุณวิเศษนั้น แก่ท่านอนุรุทธอย่างนี้หรือว่า พวก เราได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วย. อ. พวกท่านผู้มีอายุมิได้บอกแก่กระผมอย่างนี้ว่า พวกเราได้วิหารสมาบัติเหล่านี้ด้วยๆ แต่ว่ากระผมกำหนดใจของพวกท่านผู้มีอายุด้วยใจแล้วรู้ได้ว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ได้วิหารสมาบัติ เหล่านี้ด้วยๆ แม้พวกเทวดาก็ได้บอกเนื้อความข้อนี้แก่กระผมว่า ท่านผู้มีอายุเหล่านี้ ได้วิหาร- *สมาบัติเหล่านี้ด้วยๆ กระผม ถูกพระผู้มีพระภาคตรัสถามปัญหาแล้ว จึงทูลถวายพยากรณ์ เนื้อความนั้น.
เสียงสรรเสริญพระเถระ
[๓๖๗] ลำดับนั้น ทีฆปรชนยักษ์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาค ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เป็นลาภของชาววัชชี ประชาชนชาววัชชีได้ดีแล้ว ในเหตุที่พระตถาคต- *อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาประทับอยู่ และกุลบุตร ๓ ท่านเหล่านี้ คือ ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ มาพักอยู่. พวกภุมมเทวดาได้ฟังเสียงของทีฆปรชนยักษ์แล้วได้ประกาศ [ต่อไป] ว่าท่านผู้เจริญ ทั้งหลาย เป็นลาภของชาววัชชี ประชาชนชาววัชชีได้ดีแล้ว ในเหตุที่พระตถาคตอรหันตสัมมา- *สัมพุทธเจ้า มาประทับอยู่ และกุลบุตร ๓ ท่าน คือ ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่าน พระกิมิละ มาพักอยู่. พวกเทพชั้นจาตุมหาราช ได้ฟังเสียงของพวกภุมมเทวดาแล้วได้ประกาศ [ต่อไป] ... พวกเทพชั้นดาวดึงส์ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นจาตุมหาราชแล้วได้ประกาศ [ต่อไป] ... พวกเทพ ชั้นยามาได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นดาวดึงส์แล้วได้ประกาศ [ต่อไป] ... พวกเทพชั้นดุสิตได้ฟังเสียง ของพวกเทพชั้นยามาแล้วได้ประกาศ [ต่อไป] ... พวกเทพชั้นนิมมานรดีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้น- *ดุสิตแล้วได้ประกาศ [ต่อไป] ... พวกเทพชั้นปรนิมมิตวสวัตดีได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นนิมมานรดี แล้วได้ประกาศ [ต่อไป] ... พวกเทพที่นับเข้าในจำพวกพรหม ได้ฟังเสียงของพวกเทพชั้นปรนิมมิต- *วสวัตดีแล้วได้ประกาศ [ต่อไป] ว่า ท่านผู้เจริญทั้งหลาย เป็นลาภของชาววัชชี ประชาชน ชาววัชชีได้ดีแล้ว ในเหตุที่พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า มาประทับอยู่ และกุลบุตร ๓ ท่าน คือ ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระนันทิยะ และท่านพระกิมิละ มาพักอยู่.
ทรงสรรเสริญพระอนุรุทธเป็นต้น
[๓๖๘] โดยขณะครู่หนึ่งนั้น เสียงได้เป็นอันรู้กันทั่วจนถึงพรหมโลกด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรทีฆะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น ดูกรทีฆะ ข้อนี้เป็นอย่างนั้น กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากสกุลใด ถ้าสกุลนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่สกุลนั้น ตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากวงศ์สกุลใด ถ้าวงศ์สกุลนั้น มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึง กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่วงศ์สกุลนั้น ตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากบ้านใด ถ้าบ้านนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึง กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่บ้านนั้น ตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากนิคมใด ถ้านิคมนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึง กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่นิคมนั้น ตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากนครใด ถ้านครนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึง กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่นครนั้น ตลอดกาลนาน กุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต จากชนบทใด ถ้าชนบทนั้นมีจิตเลื่อมใส ระลึก ถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนบทนั้น ตลอดกาล- *นาน ถ้ากษัตริย์ทั้งมวลมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่กษัตริย์ทั้งมวล ตลอดกาลนาน ถ้าพราหมณ์ทั้งมวล ... ถ้าแพศย์ทั้งมวล ... ถ้าศูทร ทั้งมวลมีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้น จะพึงเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุข แก่ศูทรทั้งมวล ตลอดกาลนาน ถ้าโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์ พร้อม ทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ มีจิตเลื่อมใส ระลึกถึงกุลบุตรทั้ง ๓ นี้ ข้อนั้น จะพึงเป็น ไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่โลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก แก่หมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ตลอดกาลนาน ดูกรทีฆะ ท่านจงเห็นเถิด กุลบุตร ทั้ง ๓ นี้ ปฏิบัติแล้วก็เพียงเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็น อันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ ทั้งหลาย. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ทีฆปรชนยักษ์ ชื่นชม ยินดี ภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ จูฬโคสิงคสาลสูตร ที่ ๑
-----------------------------------------------------
๒. มหาโคสิงคสาลสูตร
การสนทนาธรรมเรื่องผู้ทำให้ป่างาม
[๓๖๙] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าโคสิงคสาลวัน พร้อมด้วยพระสาวกผู้เถระซึ่ง มีชื่อเสียงมากรูป คือ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหาโมคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป ท่านพระอนุรุทธ ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ และพระสาวกผู้เถระ ซึ่งมีชื่อเสียงอื่นๆ ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ออกจากที่พักผ่อนในเวลาเย็น เข้าไปหาท่านพระ- *มหากัสสป ครั้นแล้วได้กล่าวกะท่านพระมหากัสสปว่า มาไปกันเถิด ท่านกัสสป เราจักเข้าไป หาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม ท่านพระมหากัสสปรับคำท่านพระมหาโมคคัลลานะแล้ว ลำดับ นั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป และท่านพระอนุรุทธ เข้าไปหาท่านพระสารี บุตร เพื่อฟังธรรม ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระมหาโมคคัลลานะ ท่านพระมหากัสสป และ ท่านพระอนุรุทธเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม ครั้นแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระเรวตะ แล้วกล่าวกะท่านพระเรวตะว่า ท่านเรวตะ ท่านสัปบุรุษพวกโน้น กำลังเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม มาไปกันเถิด ท่านเรวตะ เราจักเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม ท่านพระ- *เรวตะรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ลำดับนั้น ท่านพระเรวตะและท่านพระอานนท์ เข้าไปหาท่าน- *พระสารีบุตร เพื่อฟังธรรม. [๓๗๐] ท่านพระสารีบุตร ได้เห็นท่านพระเรวตะและท่านพระอานนท์กำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์จงมาเถิด ท่านอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐากของ พระผู้มีพระภาค ผู้อยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค มาดีแล้ว ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถาน น่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร?
ความเห็นพระอานนท์
ท่านพระอานนท์ตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่านั้นใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้น สดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น ภิกษุ นั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบ ไม่ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย ท่านพระสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.
ความเห็นพระเรวตะ
[๓๗๑] เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวกะท่านพระ- *เรวตะว่า ท่านเรวตะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านอานนท์พยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอ ถามท่านเรวตะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละ บานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านเรวตะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุ เห็นปานไร? ท่านพระเรวตะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่ มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบเนืองๆ ซึ่งเจโตสมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่ ห่างเหินแล้ว ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญาคาร ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงาม ด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.
ความเห็นพระอนุรุทธ
[๓๗๒] เมื่อท่านพระเรวตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระอนุ- *รุทธว่า ท่านอนุรุทธ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านเรวตะพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอถามท่าน อนุรุทธในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่ง ทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอนุรุทธ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็น ปานไร? ท่านอนุรุทธตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วย ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ขึ้นปราสาทอันงดงามชั้นบน พึงแลดูมณฑลแห่งกงตั้งพันได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วย ทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็น ปานนี้แล.
ความเห็นพระมหากัสสป
[๓๗๓] เมื่อท่านพระอนุรุทธกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวกะท่านพระ มหากัสสปดังนี้ว่า ท่านกัสสป ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านอนุรุทธพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราขอ ขอถามท่านกัสสปในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละ บานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านกัสสป ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุ เห็นปานไร? ท่านพระมหากัสสปตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ตนเองอยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตรด้วย ตนเองเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และ กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และ กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรด้วย ตนเองถือไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าว สรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าว สรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความสันโดษด้วย ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดด้วย ตนเอง เป็นผู้ไม่คลุกคลี และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งการปรารภความเพียรด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าว สรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งความถึงพร้อมด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความถึงพร้อมด้วยปัญญาด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง ความถึงพร้อมวิมุติด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวสรรเสริญคุณ แห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุ เห็นปานนี้แล.
ความเห็นพระมหาโมคคัลลานะ
[๓๗๔] เมื่อท่านพระมหากัสสปกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะท่านพระ มหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า ท่านโมคคัลลานะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านมหากัสสปพยากรณ์ แล้ว บัดนี้ เราจะขอถามท่านมหาโมคคัลลานะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่น- *รมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร? ท่านพระมหาโมคคัลลานะตอบว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูป ในพระศาสนานี้ กล่าว อภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพัก ด้วย และธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น ย่อมเป็นไปด้วย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงาม ด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล.
ความเห็นพระสารีบุตร
[๓๗๕] ลำดับนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะ ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตรดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร ปฏิภาณตามที่เป็นของเรา อันเราทั้งหมดพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราจะขอถามท่าน สารีบุตร ในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบาน สะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุ เห็นปานไร? ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ท่านโมคคัลลานะ ภิกษุในพระศาสนานี้ ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหาร สมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ ในเวลาเที่ยง หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น เปรียบเหมือนผอบผ้าของพระราชา หรือราชมหาอำมาตย์ ซึ่งเต็มด้วยผ้าที่ย้อมแล้วเป็นสีต่างๆ พระราชา หรือราชมหาอำมาตย์นั้น หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเช้า ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลา เช้า หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเที่ยง ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเที่ยง หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใด ในเวลาเย็น ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเย็น ฉันใด ภิกษุยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่ เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ ในเวลาเช้า หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น ฉันนั้นเหมือน กัน ท่านโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวันพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล. [๓๗๖] ลำดับนั้น ท่านสารีบุตร ได้กล่าวกะท่านผู้มีอายุเหล่านั้นดังนี้ว่า ท่านผู้มีอายุ ทั้งหลาย ปฏิภาณตามที่เป็นของตนๆ พวกเราทุกรูปพยากรณ์แล้ว มาไปกันเถิด พวกเราจักเข้าไป เฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ ครั้นแล้ว จักกราบทูลเนื้อความนี้แด่พระผู้มีพระภาค พระผู้มี- *พระภาค จักทรงพยากรณ์แก่พวกเราอย่างใด พวกเราจักทรงจำข้อความนั้นไว้อย่างนั้น. ท่านผู้มี อายุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว.
เข้าเฝ้าพระพุทธองค์
ลำดับนั้น ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นแล้วถวาย บังคมพระผู้มีพระภาค นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วท่านพระสารีบุตร ได้กราบทูลดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ขอประทานพระวโรกาส ท่านพระเรวตะ ท่านพระอานนท์ เข้าไปหาข้าพระองค์ ถึงที่อยู่เพื่อฟังธรรม ข้าพระองค์ได้เห็นท่านพระเรวตะ และท่านพระอานนท์กำลังเดินมาแต่ไกล ครั้นแล้ว ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ดังนี้ว่า ท่านอานนท์ จงมาเถิด ท่านอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐาก ของพระผู้มีพระภาค ผู้อยู่ใกล้พระผู้มีพระภาค มาดีแล้ว ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน เป็น สถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอานนท์ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร? เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นพหูสูต เป็น ผู้ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่าใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศพรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันภิกษุนั้น สดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น ภิกษุ นั้นแสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบ ไม่ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร อานนท์ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึง พยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า อานนท์ เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงสุตะ สั่งสมสุตะ ธรรมเหล่าใด งามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด พร้อมทั้งอรรถ พร้อมทั้งพยัญชนะ ประกาศ พรหมจรรย์ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ธรรมเห็นปานนั้น อันอานนท์นั้นสดับมากแล้ว ทรงไว้แล้ว สั่งสมด้วยวาจา ตามเพ่งด้วยใจ แทงตลอดดีแล้วด้วยความเห็น อานนท์นั้น แสดงธรรมแก่บริษัท ๔ ด้วยบทและพยัญชนะอันราบเรียบ ไม่ขาดสาย เพื่อถอนเสียซึ่งอนุสัย. [๓๗๗] พระพุทธเจ้าข้า เมื่อท่านพระอานนท์กล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่าน พระเรวตะดังนี้ว่า ท่านเรวตะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านอานนท์พยากรณ์แล้ว เราขอถาม ท่านเรวตะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบาน สะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านเรวตะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็น ปานไร? เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระเรวตะ ได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่าท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบ เนืองๆ ซึ่งเจโตสมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูนสุญญา- *คาร ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร เรวตะเมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ ตามนั้น ด้วยว่า เรวตะ เป็นผู้มีความหลีกเร้นเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วในความหลีกเร้น ประกอบ เนืองๆ ซึ่งเจโตสมถะอันเป็นภายใน มีฌานอันไม่เหินห่าง ประกอบด้วยวิปัสสนา พอกพูน สุญญาคาร. [๓๗๘] พระพุทธเจ้าข้า เมื่อท่านพระเรวตะกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะ พระอนุรุทธดังนี้ว่า ท่านอนุรุทธ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านเรวตะพยากรณ์แล้ว เราขอ ถามท่านอนุรุทธในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละ บานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านอนุรุทธ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วย ภิกษุเห็นปานไร? เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอนุรุทธได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์ เปรียบเหมือนบุรุษผู้มีจักษุ ขึ้นปราสาทอันงดงามชั้นบน พึงแลดูมณฑลแห่งกงตั้งพันได้ ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตรวจดูโลกพันหนึ่งด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของ มนุษย์ ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร อนุรุทธ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า อนุรุทธ ย่อมตรวจดูโลกตั้งพันด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุ ของมนุษย์. [๓๗๙] พระพุทธเจ้าข้า เมื่อท่านพระอนุรุทธกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะ ท่านพระมหากัสสปดังนี้ว่า ท่านกัสสป ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านพระอนุรุทธพยากรณ์แล้ว เราขอถามท่านมหากัสสปในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ท่านกัสสป ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงาม ด้วยภิกษุเห็นปานไร? เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านมหากัสสป ได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ท่านสารีบุตร ภิกษุในพระศาสนานี้ ตนเองอยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ เป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตรด้วย ตนเองเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็น ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ ถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ เป็นผู้ถือไตรจีวรเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่ง ความเป็นผู้มีความปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสันโดษ ด้วย ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความสงัดด้วย ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และ กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งการปรารภความเพียรด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ ถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อม ด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วย ปัญญาด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุติ ด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสะ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วย วิมุตติญาณทัสสนะด้วย ท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร กัสสป เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ ตามนั้น ด้วยว่า กัสสป ตนเองเป็นผู้อยู่ในป่าเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ อยู่ในป่าเป็นวัตรด้วย ตนเองเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็น ผู้เที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตรด้วย ตนเองถือผ้าบังสุกุลเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็น ผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตรด้วย ตนเองถือไตรจีวรเป็นวัตร และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ถือ ไตรจีวรเป็นวัตรด้วย ตนเองเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้ มีความปรารถนาน้อยด้วย ตนเองเป็นผู้สันโดษ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สันโดษด้วย ตนเองเป็นผู้สงัด และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความเป็นผู้สงัดด้วย ตนเองเป็นผู้ไม่คลุกคลี และ กล่าวสรรเสริญคุณแห่งความไม่คลุกคลีด้วย ตนเองเป็นผู้ปรารภความเพียร และกล่าวสรรเสริญ คุณแห่งการปรารภความเพียรด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยศีล และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความ ถึงพร้อมด้วยศีลด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสมาธิ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อม ด้วยสมาธิด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญา และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วย ปัญญาด้วย ตนเองเป็นถึงพร้อมด้วยวิมุติ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อมด้วยวิมุติ ด้วย ตนเองเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิมุตติญาณทัสสนะ และกล่าวสรรเสริญคุณแห่งความถึงพร้อม ด้วยวิมุตติญาณทัสสนะด้วย. [๓๘๐] พระพุทธเจ้าข้า เมื่อท่านพระมหากัสสปกล่าวอย่างนี้แล้ว ข้าพระองค์ได้กล่าวกะ ท่านมหาโมคคัลลานะดังนี้ว่า ดูกรท่านโมคคัลลานะ ปฏิภาณตามที่เป็นของตน ท่านพระมหากัสสป พยากรณ์แล้ว เราจะขอถามท่านโมคคัลลานะในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบานสะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ดูกรท่านโมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไร? เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระมหา โมคคัลลานะได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ดูกรท่านสารีบุตร ภิกษุ ๒ รูปในพระศาสนานี้ กล่าว อภิธรรมกถา เธอทั้ง ๒ นั้น ถามกันและกัน ถามปัญหากันแล้ว ย่อมแก้กันเอง ไม่หยุดพักด้วย และธรรมกถาของเธอทั้ง ๒ นั้น ย่อมเป็นไปด้วย ดูกรท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงาม ด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ สารีบุตร โมคคัลลานะ เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า โมคคัลลานะ เป็นธรรมกถึก. [๓๘๑] เมื่อท่านพระสารีบุตรกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า ในลำดับต่อไป ข้าพระองค์ได้กล่าวกะท่านพระสารีบุตร ดังนี้ว่า ดูกรท่านสารีบุตร ปฏิภาณตามที่เป็นของตน เราทั้งหมดพยากรณ์แล้ว บัดนี้ เราจะขอถาม ท่านสารีบุตรในข้อนั้นว่า ป่าโคสิงคสาลวัน เป็นสถานน่ารื่นรมย์ ราตรีแจ่มกระจ่าง ไม้สาละบาน สะพรั่งทั่วต้น กลิ่นคล้ายทิพย์ ย่อมฟุ้งไป ดูกรท่านสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุ เห็นปานไร? เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ตอบข้าพระองค์ดังนี้ว่า ดูกร ท่านโมคคัลลานะ ภิกษุในพระศาสนานี้ ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของ จิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า เธอ หวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะ อยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น เปรียบเหมือนผอบผ้า ของพระราชา หรือราชมหาอำมาตย์ ซึ่งเต็มด้วยผ้าที่ย้อมเป็นสีต่างๆ พระราชา หรือราชมหาอำมาตย์ นั้น หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเช้า ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเช้า หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดใน เวลาเที่ยง ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้นได้ในเวลาเที่ยง หวังจะห่มคู่ผ้าชนิดใดในเวลาเย็น ก็ห่มคู่ผ้าชนิดนั้น ได้ในเวลาเย็น ฉันใด ภิกษุยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวัง จะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า เธอหวังจะอยู่ด้วย วิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหาร สมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรท่าน โมคคัลลานะ ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงามด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดีละ ดีละ โมคคัลลานะ สารีบุตร เมื่อจะพยากรณ์โดยชอบ พึงพยากรณ์ตามนั้น ด้วยว่า สารีบุตรยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ และไม่เป็นไปตามอำนาจของจิต เธอหวังจะอยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเช้า ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเช้า เธอหวังจะ อยู่ด้วยวิหารสมาบัติใดในเวลาเที่ยง ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเที่ยง เธอหวังจะอยู่ด้วย วิหารสมาบัติใดในเวลาเย็น ก็อยู่ด้วยวิหารสมาบัตินั้นได้ในเวลาเย็น.
พระพุทธโอวาท
[๓๘๒] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาค ดังนี้ว่า พระพุทธเจ้าข้า คำของใครหนอเป็นสุภาษิต? พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรสารีบุตร คำของพวกเธอทั้งหมด เป็นสุภาษิตโดยปริยาย ก็แต่พวกเธอจงฟังคำของเรา คำถามว่า ป่าโคสิงคสาลวัน จะพึงงามด้วยภิกษุเห็นปานไรนั้น เรา ตอบว่า ดูกรสารีบุตร ภิกษุในศาสนานี้ กลับจากบิณฑบาตในเวลาหลังภัตแล้ว นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกาย ให้ตรง ดำรงสติมั่นเฉพาะหน้าว่า จิตของเรายังไม่หมดความถือมั่น ยังไม่หลุดพ้นจากอาสวะ ทั้งหลายเพียงใด เราจักไม่ทำลายบัลลังก์นี้เพียงนั้น ดังนี้ ดูกรสารีบุตร ป่าโคสิงคสาลวัน พึงงาม ด้วยภิกษุเห็นปานนี้แล. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้แล้ว ท่านผู้มีอายุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดี พระภาษิต ของพระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ มหาโคสิงคสาลสูตร ที่ ๒
-----------------------------------------------------
๓. มหาโคปาลสูตร
ว่าด้วยองค์แห่งนายโคบาลกับของภิกษุ
[๓๘๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของอนาถบิณฑิก- *เศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.
องค์ไม่เป็นเหตุให้เจริญ
[๓๘๔] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบ ด้วยองค์ ๑๑ ประการ ไม่ควรจะครอบครองฝูงโค ไม่ควรทำฝูงโคให้เจริญได้ องค์ ๑๑ ประการ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาล ในโลกนี้ ไม่รู้จักรูป ไม่ฉลาดในลักษณะ ไม่คอย เขี่ยไข่ขัง ไม่ปิดบังแผล ไม่สุมควันให้ ไม่รู้จักท่า ไม่รู้จักให้โคดื่ม ไม่รู้จักทาง ไม่ฉลาดใน สถานที่โคเที่ยวหากิน รีดน้ำนมมิได้เหลือไว้ ไม่บูชาโคที่เป็นพ่อฝูง เป็นผู้นำฝูง ด้วยการบูชา เป็นอดิเรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล ไม่ควรจะครอบ ครองฝูงโค ไม่ควรทำฝูงโคให้เจริญได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ ก็ไม่ควรเพื่อจะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรม วินัยนี้ องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้จักรูป ไม่ ฉลาดในลักษณะ ไม่คอยเขี่ยไข่ขัง ไม่ปิดบังแผล ไม่สุมควัน ไม่รู้จักท่า ไม่รู้จักดื่ม ไม่รู้จักทาง ไม่ฉลาดในสถานที่โคจร รีดเสียหมดมิได้เหลือไว้ ไม่บูชาภิกษุทั้งหลาย ที่เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ ด้วยการบูชาเป็น อดิเรก. [๓๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่รู้จักรูปเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า รูปสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รูปทั้งปวงมหาภูตรูป (รูปใหญ่) ทั้ง ๔ และอุปาทายรูป (รูปที่อาศัย) แห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้จักรูปเป็น อย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ฉลาดในลักษณะเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ไม่รู้ชัดตามเป็นจริงว่า คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องหมาย บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่อง หมาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ฉลาดในลักษณะเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่คอยเขี่ยไข่ขังเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม มีวินัยนี้ ให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทับถมอยู่ มิได้ละเสีย มิได้บรรเทาเสีย มิได้ทำให้หมดไป ไม่ให้ถึงความดับสูญ ให้พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทับถมอยู่ มิได้ละเสีย มิได้บรรเทาเสีย มิได้ทำให้หมดไป ไม่ให้ถึงความดับสูญ ให้วิหิงสาวิตกเกิดขึ้นแล้ว ทับถมอยู่ มิได้ละเสีย มิได้บรรเทาเสีย มิได้ทำให้หมดไป ไม่ให้ถึงความดับสูญ และให้เหล่าอกุศลธรรมอันลามกที่ เกิดขึ้นแล้วๆ ทับถมอยู่ มิได้ละเสีย มิได้บรรเทาเสีย มิได้ทำให้หมดไป ไม่ให้ถึงความดับสูญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่คอยเขี่ยไข่ขังเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ปิดบังแผลเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ถือโดยนิมิต ถือโดยอนุพยัญชนะ เหล่าอกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ย่อมครอบงำบุคคลที่ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ มีจักขุนทรีย์ที่มิได้สำรวมเป็นเหตุ เธอไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น ไม่รักษาจักขุนทรีย์นั้น ไม่ถึงความสำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้ ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ถือโดยนิมิต ถือโดยอนุพยัญชนะ เหล่าอกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌา และโทมนัส ย่อมครอบงำบุคคลที่ไม่สำรวมมนินทรีย์ มีมนินทรีย์ที่มิได้สำรวมเป็นเหตุ เธอไม่ ไม่ปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น ไม่รักษามนินทรีย์นั้น ไม่ถึงความสำรวมในมนินทรีย์นั้น ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ปิดบังแผลเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่สุมควันเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย นี้ ไม่แสดงธรรมตามที่ตน ได้ฟังตามที่ตนได้ศึกษามา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่สุมควันเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่รู้จักท่าเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย นี้ ไม่เข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถาม กะภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ เป็นพหูสูต เป็นผู้รู้หลัก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ตามกาลอันควรว่า ภาษิตนี้เป็นอย่างไร เนื้อความแห่งภาษิตนี้ เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลายผู้มีอายุนั้น จึงไม่เปิดเผยข้อความที่ยังลี้ลับ ไม่ทำข้อความที่ลึกให้ตื้น ไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัย อันมีอย่างเป็นอเนกแก่ภิกษุนั้น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้จักท่าเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่รู้จักดื่มเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย นี้ เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันใครๆ แสดงอยู่ ไม่ได้ความรู้ธรรม ไม่ได้ความรู้อรรถ ไม่ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้จักดื่มเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่รู้จักทางเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัย นี้ ไม่รู้ชัดอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่รู้จักทางเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่ฉลาดในสถานที่โคจรเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ไม่รู้ชัดในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่ฉลาดในสถาน ที่โคจรเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรีดเสียหมดมิได้เหลือไว้เป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกคฤหบดีผู้มีศรัทธา ปวารณาภิกษุในธรรมวินัยนี้ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- *ปัจจัยเภสัชบริขาร เพื่อให้รับตามปรารถนา ในการที่เขาปวารณานั้น ภิกษุไม่รู้จักประมาณเพื่อจะ รับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรีดเสียหมดมิได้เหลือไว้เป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุไม่บูชาภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ ด้วยการบูชาเป็นอดิเรกเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ไม่เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา ในภิกษุ ทั้งหลาย ที่เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์เป็นผู้นำสงฆ์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่บูชาภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระเป็นรัตตัญญู มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ ด้วยการบูชาเป็นอดิเรกเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุที่ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล ไม่ควรเพื่อจะถึงความ เจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้.
องค์เป็นเหตุให้เจริญ
[๓๘๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ เป็นผู้ควรจะครอบ ครองฝูงโค ควรทำฝูงโคให้เจริญได้. องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาล ในโลกนี้ รู้จักรูป ฉลาดในลักษณะ เป็นผู้คอยเขี่ยไข่ขัง ปิดบังแผล สุมควันให้ รู้จักท่า รู้จัก ให้โคดื่ม รู้จักทาง ฉลาดในสถานที่โคเที่ยวหากิน รีดน้ำนมให้เหลือไว้ บูชาโคที่เป็น พ่อฝูง เป็นผู้นำฝูง ด้วยการบูชาเป็นอดิเรก ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายโคบาลประกอบ ด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้ เป็นผู้ควรจะครอบครองฝูงโค ควรทำฝูงโคให้เจริญได้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการ ก็ควรเพื่อ จะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้ องค์ ๑๑ ประการเป็นไฉน? ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้รู้จักรูป ฉลาดในลักษณะ คอยเขี่ยไข่ขัง ปิดบังแผล สุมควัน รู้จักท่า รู้จักดื่ม รู้จักทาง ฉลาดในสถานที่โคจร รีดให้เหลือไว้ บูชาภิกษุ ทั้งหลายที่เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ ด้วยการบูชา เป็นอดิเรก. [๓๘๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้รู้จักรูปเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า รูปสิ่งใดสิ่งหนึ่ง รูปทั้งปวง มหาภูตรูปทั้ง ๔ และอุปาทาย- *รูปแห่งมหาภูตรูปทั้ง ๔ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รู้จักรูปเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในลักษณะเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดตามเป็นจริงว่า คนพาลมีกรรมเป็นเครื่องหมาย บัณฑิตมีกรรมเป็นเครื่อง หมาย ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในลักษณะเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้คอยเขี่ยไข่ขังเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ไม่ให้กามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทับถมอยู่ ย่อมละเสีย บรรเทาเสีย ทำให้หมดไป ให้ถึงความดับสูญ ไม่ให้พยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ทับถมอยู่ ... ไม่ให้วิหิงสาวิตกที่เกิดขึ้น แล้ว ทับถมอยู่ ... ไม่ให้อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วๆ ทับถมอยู่ ย่อมละเสีย บรรเทา เสีย ทำให้หมดไป ให้ถึงความดับสูญ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้เขี่ยไข่ขังเป็นอย่าง นี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้ปิดบังแผลเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุใน ธรรมวินัยนี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ เหล่าอกุศลธรรม อันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ย่อมครอบงำบุคคลที่ไม่สำรวมจักขุนทรีย์ มีจักขุนทรีย์ ที่มิได้สำรวมเป็นเหตุ เธอปฏิบัติเพื่อสำรวมจักขุนทรีย์นั้น รักษาจักขุนทรีย์นั้น ถึงความ สำรวมในจักขุนทรีย์นั้น ได้ยินเสียงด้วยโสต ... ดมกลิ่นด้วยฆานะ ... ลิ้มรสด้วยชิวหา ... ถูก ต้องโผฏฐัพพะด้วยกาย ... รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ถือโดยนิมิต ไม่ถือโดยอนุพยัญชนะ เหล่าอกุศลธรรมอันลามก คือ อภิชฌาและโทมนัส ย่อมครอบงำบุคคลที่ไม่สำรวมมนินทรีย์ มีมนินทรีย์ที่มิได้สำรวมเป็นเหตุ เธอปฏิบัติเพื่อสำรวมมนินทรีย์นั้น รักษามนินทรีย์นั้น ถึงความสำรวมในมนินทรีย์นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ปิดบังแผลเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้สุมควันเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ แสดงธรรมตามที่ตนได้ฟัง ตามที่ตนได้ศึกษามา แก่ผู้อื่นโดยพิสดาร ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้สุมควันเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรู้จักท่าเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเข้าไปหาแล้วไต่ถาม สอบถาม กะภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ เป็นพหูสูต เป็นผู้รู้หลัก ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ตามกาลอันควรว่า ภาษิตนี้เป็นอย่างไร ภิกษุทั้งหลายผู้มี อายุนั้น จึงเปิดเผยข้อความที่ยังลี้ลับ ทำข้อความที่ลึกให้ตื้น บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็น ที่ตั้งแห่งความสงสัย อันมีอย่างเป็นอเนกแก่ภิกษุนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้จักท่าเป็น อย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุรู้จักดื่มเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ เมื่อธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว อันใครๆ แสดงอยู่ ย่อมได้ความรู้ธรรม ได้ ความรู้อรรถ ได้ความปราโมทย์อันประกอบด้วยธรรม ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้จักดื่มเป็น อย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้จักทางเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรม วินัยนี้ ย่อมรู้ชัดอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุรู้จักทางเป็นอย่าง นี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุฉลาดในสถานที่โคจรเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้ชัดในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ตามเป็นจริง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุฉลาดในสถาน ที่โคจรเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้รีดให้เหลือไว้เป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวก คฤหบดีผู้มีศรัทธา ปวารณาภิกษุในธรรมวินัยนี้ ด้วยจีวร บิณฑบาต เสนาสนะ และคิลาน- *ปัจจัยเภสัชบริขาร เพื่อให้รับตามปรารถนา ในการที่เขาปวารณานั้น ภิกษุรู้จักประมาณเพื่อจะรับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้รีดให้เหลือไว้เป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุบูชาภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ ด้วยการบูชาเป็นอดิเรกเป็นอย่างไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เข้าไปตั้งกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมอันประกอบด้วยเมตตา ในภิกษุทั้งหลาย ที่เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ ทั้งในที่แจ้ง ทั้งในที่ลับ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบูชาภิกษุทั้งหลายที่เป็นเถระ เป็นรัตตัญญู มีพรรษามาก เป็นบิดาสงฆ์ เป็นผู้นำสงฆ์ ด้วยการบูชาเป็นอดิเรกเป็นอย่างนี้แล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยองค์ ๑๑ ประการนี้แล ควรเพื่อจะถึงความเจริญ งอกงาม ไพบูลย์ ในธรรมวินัยนี้. พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ชื่นชม ยินดี พระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคแล้วแล.
จบ มหาโคปาลสูตร ที่ ๓
-----------------------------------------------------
๔. จูฬโคปาลสูตร
อุปมาด้วยนายโคบาล
[๓๘๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา เมืองอุกกเวลา แคว้นวัชชี. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับ พระดำรัสของพระผู้มีพระภาคแล้ว.
อุปมานายโคบาลกับสมณพราหมณ์
[๓๘๙] พระผู้มีพระภาคได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นายโคบาลชาวมคธรัฐ เป็นชาติปัญญาเขลา มิได้พิจารณาในสารทสมัย เดือนท้ายฤดูฝน มิได้ พิจารณาฝั่งข้างนี้แห่งแม่น้ำคงคา ให้ฝูงโคข้ามโดยสถานที่มิใช่ท่าไปสู่ฝั่งข้างโน้นซึ่งเป็นฝั่งเหนือ แห่งหมู่ชนชาววิเทหรัฐ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ครั้งนั้นแล ฝูงโคว่ายไปเข้าวนในกระแสกลางแม่น้ำ คงคา ถึงความพินาศในแม่น้ำนั้น นั่นเป็นเพราะอะไร? ดูกรภิกษุทั้งหลาย เป็นเพราะนาย โคบาลชาวมคธรัฐนั้น มีปัญญาเขลา มิได้พิจารณาในสารทสมัย เดือนท้ายฤดูฝน มิได้พิจารณา ฝั่งข้างนี้แห่งแม่น้ำคงคา ให้ฝูงโคข้ามโดยสถานที่มิใช่ท่าไปสู่ฝั่งข้างโน้นซึ่งเป็นฝั่งเหนือแห่งหมู่ ชนชาววิเทหรัฐ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ที่ไม่ฉลาดในโลกนี้ ไม่ฉลาดในโลกหน้า ไม่ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมาร ไม่ฉลาดในนวโลกุตร ธรรมอันไม่เป็นแก่งแห่งมาร ไม่ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมัจจุ ไม่ฉลาดในนวโลกุตร ธรรมอันไม่เป็นแก่งแห่งมัจจุ ชนเหล่าใด นับถือถ้อยคำของสมณะหรือพราหมณ์พวกนั้นว่าเป็น ถ้อยคำอันตนควรฟัง ควรเชื่อ ความนับถือของชนเหล่านั้น จักเป็นไปเพื่อไม่เป็นประโยชน์ เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน ฉันนั้นนั่นแล. [๓๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว นายโคบาลชาวมคธรัฐเป็นชาติมีปัญญา พิจารณาในสารทสมัย เดือนท้ายฤดูฝน พิจารณาฝั่งข้างนี้แห่งแม่น้ำคงคา ให้ฝูงโคข้ามโดย สถานที่เป็นท่าไปสู่ฝั่งข้างโน้นซึ่งเป็นฝั่งเหนือแห่งหมู่ชนชาววิเทหรัฐ นายโคบาลนั้น ให้เหล่า โคที่เป็นพ่อฝูงนำฝูงข้ามไปก่อน โคเหล่านั้น ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไปได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ต่อนั้น จึงให้เหล่าโคที่มีกำลังและโคที่ฝึกไว้ข้ามไป โคเหล่านั้น ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ต่อนั้น จึงให้เหล่าโคหนุ่มโคสาวข้ามไป โคเหล่านั้น ว่ายตัดกระแสแม่น้ำ คงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ต่อนั้น จึงให้พวกลูกโคที่มีกำลังยังน้อยข้ามไป ลูกโคเหล่านั้น ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ลูกโคเล็กที่เกิดในวันนั้น ลอยไปตามเสียงโคเมียที่เป็นแม่ แม้ลูกโคนั้น ก็ว่ายตัดกระแสแม่น้ำ คงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี นั่นเป็นเพราะอะไร? เพราะนายโคบาลนั้นเป็นคนฉลาด ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหมือนอย่างนายโคบาลชาวมคธรัฐนั้นเป็นชาติมีปัญญา พิจารณาในสารทสมัย เดือนท้ายฤดูฝน พิจารณาฝั่งข้างนี้แห่งแม่น้ำคงคา ให้ฝูงโคข้ามโดยสถานที่เป็นท่าไปสู่ฝั่ง ข้างโน้นซึ่งเป็นฝั่งเหนือแห่งหมู่ชนชาววิเทหรัฐ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์ พวกใดพวกหนึ่ง ที่ฉลาดในโลกนี้ ฉลาดในโลกหน้า ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมาร ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็นแก่งแห่งมาร ฉลาดในเตภูมิธรรมอันเป็นแก่งแห่งมัจจุ ฉลาด ในนวโลกุตรธรรม อันไม่เป็นแก่งแห่งมัจจุ ชนเหล่าใด นับถือถ้อยคำของสมณะหรือพราหมณ์ พวกนั้นว่า เป็นถ้อยคำอันตนควรฟัง ควรเชื่อ ความนับถือของชนเหล่านั้น จักเป็นไป เพื่อประโยชน์ เพื่อสุขตลอดกาลนาน ฉันนั้นนั่นแล.
อุปมาภิกษุตัดกระแสมารเหมือนโคตัดกระแสน้ำ
[๓๙๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่าโคผู้ที่เป็นพ่อฝูง เป็นผู้นำฝูง ว่ายตัดกระแสแม่น้ำ คงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่เป็นอรหันต์ มี อาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ ตนถึงแล้วโดยลำดับ มีกิเลสเครื่องประกอบไว้ในภพหมดสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ทั่วถึง โดยชอบ พวกภิกษุแม้นั้น ว่ายตัดกระแสมารขวางไป ถึงฝั่งแล้วโดยสวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่าโคที่มีกำลังและโคที่ฝึกไว้ ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่ง โดยสวัสดี แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ำ ๕ ประการทั้งหมด สิ้นไป เป็นโอปปาติกะ ปรินิพพานในโลกนั้น ไม่ต้องเวียนกลับมาจากโลกนั้น แม้ภิกษุพวก นั้น ก็ชื่อว่าตัดกระแสมารขวางไป จักถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่าโคหนุ่มและโคสาว ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีสัญโญชน์ ๓ หมดสิ้นไป และมีราคะ โทสะ โมหะ เบาบาง เป็นสกทาคามีบุคคล มาสู่โลกนี้คราวเดียว ก็จักทำที่สุดแห่งทุกข์ได้ แม้ภิกษุพวกนั้น ก็ชื่อว่า ตัดกระแสมารขวางไป จักถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เหล่าลูกโค ที่มีกำลังยังน้อย ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย พวกภิกษุที่มีสัญโญชน์ ๓ หมดสิ้นไป เป็นโสดาบัน มีความเป็นผู้ไม่ตกต่ำเป็น ธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า แม้พวกภิกษุนั้น ก็ชื่อว่าตัดกระแสมารขวาง ไป จักถึงฝั่งโดยสวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลูกโคเล็กที่เกิดในวันนั้น ลอย ไปตามเสียงโคเมียที่เป็นแม่ ว่ายตัดกระแสแม่น้ำคงคาขวางไป ได้ถึงฝั่งโดยสวัสดี แม้ ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกภิกษุที่เป็นมัคคสมังคีบุคคลชั้นต้น ที่เป็นธัมมานุสารี และที่เป็นสัทธานุสารี แม้พวกภิกษุนั้น ก็ชื่อว่าตัดกระแสมารขวางไป จักถึงฝั่งโดย สวัสดี ฉันนั้นเหมือนกัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เราแล เป็นผู้ฉลาดในโลกนี้ ฉลาดใน โลกหน้า ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมาร ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็น แก่งแห่งมาร ฉลาดในเตภูมิกธรรมอันเป็นแก่งแห่งมัจจุ ฉลาดในนวโลกุตรธรรมอันไม่เป็น แก่งแห่งมัจจุ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ชนเหล่าใด จักนับถือถ้อยคำของเรานั้นว่า เป็นถ้อยคำ อันตนควรฟัง ควรเชื่อ ความนับถือของชนเหล่านั้น จักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อสุข ตลอดกาลนาน. พระผู้มีพระภาคผู้พระสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้จบแล้ว จึงได้ตรัสคาถา ประพันธ์ต่อไปอีกว่า โลกนี้และโลกหน้า เราผู้รู้อยู่ ประกาศดีแล้ว เราเป็นผู้ตรัสรู้เอง ทราบชัดซึ่งสรรพโลก ทั้งที่เป็นโลกอันมารถึงได้ ทั้งที่เป็นโลกอัน มัจจุถึงไม่ได้ด้วยความรู้ยิ่ง จึงได้เปิดอริยมรรคอันเป็นประตูแห่งอมตะ เพื่อให้ถึงนิพพานอันเป็นแดนเกษม กระแสแห่งมารอันลามก เราตัดแล้ว กำจัดแล้ว ทำให้ปราศจากความเหิมแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจง เป็นผู้มากด้วยความปราโมทย์ ปรารถนาถึงธรรมอันเป็นแดนเกษมเถิด ดังนี้.
จบ จูฬโคปาลสูตร ที่ ๔.
-----------------------------------------------------
๕. จูฬสัจจกสูตร
เรื่องสัจจกนิครนถ์สนทนากับพระอัสสชิเถระ
[๓๙๒] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี. ครั้งนั้นแล สัจจกนิครนถ์ผู้เป็นนิคันถบุตร อาศัยอยู่ในเมืองเวสาลี เป็นนักโต้ตอบ พูดยก ตนว่าเป็นนักปราชญ์ ชนเป็นอันมากยอมยกว่าเป็นผู้มีความรู้ดี. เขากล่าววาจาในที่ประชุม ชนในเมืองเวสาลีอย่างนี้ว่า เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ แม้ที่ปฏิญญาตนว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ปรารภโต้ตอบวาทะกับเรา จะไม่ พึงประหม่า ไม่สะทกสะท้าน ไม่หวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลจากรักแร้ แม้แต่คนเดียว เลย หากเราปรารภโต้ตอบวาทะกะเสาที่ไม่มีเจตนา แม้เสานั้นปรารภโต้ตอบวาทะกับเรา ก็ต้องประหม่า สะทกสะท้าน หวั่นไหว จะป่วยกล่าวไปไยถึงมนุษย์เล่า. [๓๙๓] ครั้งนั้น ในเวลาเช้า ท่านพระอัสสชิ นุ่งสบงแล้วถือบาตรจีวรเข้าไปบิณฑบาต ในเมืองเวสาลี สัจจกนิครนถ์ผู้เป็นนิคันถบุตร เดินเที่ยวยืดแข้งขาอยู่ในเมืองเวสาลี ได้เห็น ท่านพระอัสสชิเดินอยู่แต่ที่ไกล ครั้นเห็นแล้ว จึงเข้าไปหาท่านพระอัสสชิ ได้ปราศรัย กับท่าน ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว ได้ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้ถามท่านพระอัสสชิดังนี้ว่า ดูกรท่านอัสสชิผู้เจริญ ก็พระสมณโคดม แนะนำพวก สาวกอย่างไร และคำสั่งสอนของพระสมณโคดม มีส่วนอย่างไร ที่เป็นไปมากในพวกสาวก. ท่านพระอัสสชิบอกว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ พระผู้มีพระภาค ทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย อย่างนี้ และคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาค มีส่วนอย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตน เวทนาไม่ใช่ตน สัญญาไม่ใช่ตน สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตน วิญญาณไม่ใช่ตน สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน ธรรมทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน ดูกร อัคคิเวสสนะ พระผู้มีพระภาค ทรงแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้ และคำสั่งสอนของพระผู้มี พระภาค มีส่วนอย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย. สัจจกนิครนถ์กล่าวว่า ดูกรท่านอัสสชิผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้ฟังว่า พระสมณโคดมมีวาทะ อย่างนี้ เป็นอันว่า ข้าพเจ้าได้ฟังไม่ดีแล้ว ถ้ากระไร บางที ข้าพเจ้าจะพบกับพระสมณโคดม ผู้เจริญนั้น จะได้สนทนากันบ้าง ถ้ากระไร ข้าพเจ้าจะพึงช่วยปลดเปลื้องพระสมณโคดม เสียจากความเห็นที่เลวทรามนั้นได้.
สัจจกนิครนถ์เข้าไปหาเจ้าลิจฉวี
[๓๙๔] สมัยนั้นแล เจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ องค์ ประชุมกันอยู่ในอาคารเป็นที่ ประชุมด้วยกรณียกิจบางอย่าง. ครั้งนั้น สัจจกนิครนถ์เข้าไปหาพวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ครั้นเข้า ไปหาแล้วได้กล่าวกะเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นดังนี้ว่า ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย จงไปด้วยกัน ขอเจ้าลิจฉวี ทั้งหลาย จงไปด้วยกัน วันนี้ ข้าพเจ้าจักสนทนากับพระสมณโคดม ถ้าพระสมณโคดมจักตั้ง อยู่ตามคำที่ภิกษุชื่ออัสสชิ ซึ่งเป็นสาวกรูปหนึ่งที่มีชื่อเสียงยืนยันแก่ข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักฉุด กระชาก ลากถ้อยคำพระสมณโคดมมาด้วยคำข้าพเจ้า ให้เป็นเหมือนบุรุษที่มีกำลังจับแกะอันมีขนยาวที่ขน แล้วลากมาลากไป ฉะนั้น หรือให้เป็นเหมือนคนที่ทำการงานในโรงสุรา ซึ่งมีกำลัง วางเสื่อ ลำแพนสำหรับรองแป้งสุราผืนใหญ่ในห้วงน้ำลึก แล้วจับที่มุมชักลากฟัดฟาดไปมา ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักสลัดฟัดฟาดถ้อยคำพระสมณโคดมเสีย ให้เป็นเหมือนบุรุษที่มีกำลัง ซึ่งเป็นนักเลง สุราจับถ้วยที่หูแล้วสลัดไปมา ฉะนั้น ข้าพเจ้าจักเล่นงานพระสมณโคดมเหมือนอย่างที่คนเขา เล่นกีฬาชื่อสาณโธวิก (ซักป่าน) ให้เป็นเหมือนช้างที่มีวัยล่วงหกสิบปี จึงจะถอยกำลัง ลงสู่ สระโบกขรณีมีลำน้ำลึก แล้วเล่นกีฬาชนิดที่ชื่อว่าสาณโธวิก (ซักป่าน) ฉะนั้น ขอเจ้าลิจฉวี ทั้งหลาย จงไปด้วยกัน ขอเจ้าลิจฉวีทั้งหลาย จงไปด้วยกัน วันนี้ ข้าพเจ้าจักสนทนากับ พระสมณโคดม. ในบรรดาเจ้าลิจฉวีเหล่านั้น บางพวกกล่าวว่า เหตุอะไร พระสมณโคดม จักยก ถ้อยคำของท่านสัจจกะได้ ที่แท้ ท่านสัจจกะกลับยกถ้อยคำของพระสมณโคดมเสีย บางพวก กล่าวว่า ท่านสัจจกะเป็นอะไร จึงจักยกถ้อยคำของพระผู้มีพระภาคได้ ที่แท้ พระผู้มีพระภาค กลับจักยกถ้อยคำของท่านสัจจกะเสีย. ครั้งนั้นแล สัจจกนิครนถ์ มีเจ้าลิจฉวีประมาณ ๕๐๐ ห้อมล้อมแล้ว เข้าไปยังกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน. [๓๙๕] สมัยนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกันจงกรมอยู่ ณ ที่แจ้ง. ครั้งนั้นแล สัจจกนิครนถ์ เข้าไปหาภิกษุเหล่านั้นแล้ว ถามว่า ท่านผู้เจริญ เดี๋ยวนี้ พระสมณโคดมนั้นอยู่ที่ไหน พวก ข้าพเจ้าปรารถนาจะพบพระสมณโคดมนั้น. ภิกษุทั้งหลายนั้นบอกว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ พระผู้มี ภาคพระองค์นั้น เสด็จเข้าไปสู่ป่ามหาวัน ประทับพักกลางวัน ที่โคนต้นไม้แห่งหนึ่ง. ลำดับนั้น สัจจกนิครนถ์พร้อมด้วยพวกเจ้าลิจฉวีมีจำนวนมาก เข้าไปสู่ป่ามหาวันจนถึงที่ที่พระผู้มีพระภาค ประทับอยู่ แล้วทูลปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แม้เจ้าลิจฉวีทั้งหลายนั้น บางพวกถวายอภิวาท บางพวก ทูลปราศรัย บางพวกประนมมือ บางพวกประกาศชื่อและโคตรของตน ในสำนักพระ ผู้มีพระภาค บางพวกก็นิ่งอยู่ ครั้นแล้วต่างก็นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
สัจจกนิครนถ์ทูลถามปัญหา
[๓๙๖] สัจจกนิครนถ์พอนั่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า ข้าพเจ้าขอถาม พระโคดมสักหน่อยหนึ่ง ถ้าพระโคดมจะทำโอกาสเพื่อแก้ปัญหาแก่ข้าพเจ้า. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านประสงค์จะถามปัญหาใด ก็ถามเถิด. ส. พระโคดมแนะนำพวกสาวกอย่างไร และคำสั่งสอนของพระโคดมมีส่วนอย่างไร ที่เป็นไปมากในพวกสาวก? พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้ และคำสั่งสอนของเรามี ส่วนอย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลายว่า รูปไม่เที่ยง เวทนาไม่เที่ยง สัญญาไม่เที่ยง สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง วิญญาณไม่เที่ยง รูปไม่ใช่ตน เวทนาไม่ใช่ตน สัญญาไม่ใช่ตน สังขารทั้งหลายไม่ใช่ตน วิญญาณไม่ใช่ตน สังขารทั้งหลายทั้งปวงไม่ใช่ตน ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตน ดังนี้ ดูกรอัคคิเวสสนะ เราแนะนำสาวกทั้งหลายอย่างนี้ และคำสั่งสอนของเรามีส่วน อย่างนี้ ที่เป็นไปมากในสาวกทั้งหลาย. ส. ท่านพระโคดม ขออุปมาจงแจ่มแจ้งแก่ข้าพเจ้า? พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ อุปมานั้นจงแจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด. ส. ท่านพระโคดม เหมือนพืชพันธุ์ไม้เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ที่ถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ พืชพันธุ์เหล่านั้นทั้งหมด ต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่ในแผ่นดิน จึงถึงความ เจริญงอกงาม ไพบูลย์ได้ หรือเหมือนการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ต้องทำด้วยกำลัง อัน บุคคลทำอยู่ การงานเหล่านั้นทั้งหมด บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ต้องตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้ ฉันใด ปุริสบุคคลนี้ มีรูปเป็นตน มีเวทนาเป็นตน มีสัญญาเป็นตน มีสังขาร เป็นตน มีวิญญาณเป็นตน ต้องตั้งอยู่ในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จึงได้ ประสบผลบุญ ผลบาป ฉันนั้น. พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ข้อนั้นท่านกล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นตนของเรา เวทนาเป็น ตนของเรา สัญญาเป็นตนของเรา สังขารทั้งหลายเป็นตนของเรา วิญญาณเป็นตนของเรา ดังนี้ มิใช่หรือ? ส. ท่านพระโคดม ข้าพเจ้ากล่าวอย่างนั้น ประชุมชนเป็นอันมากก็กล่าวอย่างนั้น. พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ประชุมชนเป็นอันมากนั้นจักทำอะไรแก่ท่าน ดูกรอัคคิเวสสนะ เชิญท่านยืนยันถ้อยคำของท่านเถิด. ส. ท่านพระโคดม เป็นความจริง ข้าพเจ้ากล่าวอย่างนี้ รูปเป็นตนของเรา เวทนา เป็นตนของเรา สัญญาเป็นตนของเรา สังขารทั้งหลายเป็นตนของเรา วิญญาณเป็นตนของเรา ดังนี้.
ทรงซักถามอัคคิเวสสนะด้วยอุปมา
[๓๙๗] พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ถ้าอย่างนั้น เราจักสอบถามท่านในข้อนี้แหละ ท่าน เห็นควรอย่างไร ท่านพึงแก้ไขอย่างนั้น ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน อำนาจของพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว เช่นพระเจ้าปเสนทิโกศล หรือพระเจ้า มคธอชาตศัตรูเวเทหิบุตร อาจฆ่าคนที่ควรฆ่า ริบราชบาตรคนที่ควรริบ เนรเทศคนที่ควรเนรเทศ พึงให้เป็นไปได้ ในพระราชอาณาเขตของพระองค์มิใช่หรือ? ส. ท่านพระโคดม อำนาจของพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว เช่นพระเจ้า ปเสนทิโกศล หรือพระเจ้ามคธอชาตศัตรูเวเทหิบุตร อาจฆ่าคนที่ควรฆ่า ริบราชบาตรคนที่ ควรริบ เนรเทศคนที่ควรเนรเทศ พึงให้เป็นไปได้ในพระราชอาณาเขตของพระองค์ แม้แต่ อำนาจของหมู่คณะเหล่านี้ คือ วัชชี มัลละ อาจฆ่าคนที่ควรฆ่า ริบราชบาตรคนที่ควรริบ เนรเทศคนที่ควรเนรเทศ ยังเป็นไปได้ในแว่นแคว้นของตนๆ เหตุไรเล่า อำนาจเช่นนั้นของ พระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้ว เช่นพระเจ้าปเสนทิโกศล หรือพระเจ้ามคธอชาตศัตรู เวเทหิบุตร จะให้เป็นไปไม่ได้ อำนาจเช่นนั้นของพระราชามหากษัตริย์ ผู้ได้มุรธาภิเษกแล้วนั้น ต้องให้เป็นไปได้ด้วย ควรจะเป็นไปได้ด้วย. พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ข้อที่ท่านกล่าวว่า รูป เป็นตนของเรา อำนาจของท่านเป็นไปในรูปนั้นว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้ เป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ? เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสถามอย่างนี้แล้ว สัจจกนิครนถ์ก็นิ่งเสีย ถึงสองครั้ง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะสัจจกนิครนถ์ว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ กาลบัดนี้ ท่านจงแก้ ไม่ใช่กาลที่ท่าน ควรนิ่ง ดูกรอัคคิเวสสนะ ผู้ใด อันตถาคตถามปัญหาที่ชอบแก่เหตุแล้วถึงสามครั้ง มิได้แก้ ศีรษะของผู้นั้นจะแตกเป็นเจ็ดเสี่ยงในที่เช่นนั้น. สมัยนั้น ท้าววชิรปาณีสักกเทวราช ถือกระบองเพชรลุกเป็นไฟรุ่งเรืองลอยอยู่ใน เวหา ณ เบื้องบนศีรษะสัจจกนิครนถ์ ประกาศว่า ถ้าสัจจกนิครนถ์นี้ อันพระผู้มีพระภาคตรัส ถามปัญหาที่ชอบแก่เหตุแล้วถึงสามครั้ง มิได้แก้ปัญหา เราจักผ่าศีรษะสัจจกนิครนถ์นั้นเจ็ดเสี่ยง ในที่นี้แหละ. ท้าววชิรปาณีนั้น พระผู้มีพระภาคกับสัจจกนิครนถ์เท่านั้นเห็นอยู่ ในทันใดนั้น สัจจก- *นิครนถ์ ตกใจกลัวจนขนชัน แสวงหาพระผู้มีพระภาคเป็นที่ต้านทานป้องกันเป็นที่พึ่ง ได้ทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ขอจงทรงถามเถิด ข้าพเจ้าจักแก้ ณ บัดนี้. [๓๙๘] พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า รูปเป็นตนของเรา ดังนี้ อำนาจของท่านเป็นไปในรูปนั้นว่า รูปของเราจงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ? ส. ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย พระโคดมผู้เจริญ. พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจงทำไว้ในใจเถิด ครั้นทำไว้ในใจแล้ว จึงกล่าวแก้ เพราะ คำหลังกับคำก่อน หรือคำก่อนกับคำหลังของท่านไม่ต่อกัน ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญ ความข้อนั้นเป็นไฉน ท่านกล่าวอย่างนี้ว่า เวทนาเป็นตนของเรา สัญญาเป็นตนของเรา สังขาร ทั้งหลายเป็นตนของเรา วิญญาณเป็นตนของเรา ดังนี้ อำนาจของท่านเป็นไปในเวทนา ใน สัญญา ในสังขารทั้งหลาย และในวิญญาณว่า เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และวิญญาณ ของเรา จงเป็นอย่างนั้นเถิด อย่าได้เป็นอย่างนี้เลย ดังนี้หรือ? ส. ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย พระโคดมผู้เจริญ. พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจงทำในใจเถิด ครั้นทำไว้ในใจแล้ว จึงกล่าวแก้ เพราะคำหลัง กับคำก่อน หรือคำก่อนกับคำหลังของท่านไม่ต่อกัน ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อ นั้นเป็นไฉน รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย และวิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง? ส. ไม่เที่ยง พระโคดมผู้เจริญ. พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุข? ส. สิ่งนั้นเป็นทุกข์ พระโคดมผู้เจริญ. พ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ควรหรือจะตามเห็น สิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตนของเรา? ส. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระโคดมผู้เจริญ. พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน ผู้ใดติดทุกข์ เข้าถึงทุกข์ อยู่แล้ว กล้ำกลืนทุกข์แล้ว ยังตามเห็นทุกข์ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตนของเรา ดังนี้ ผู้นั้นกำหนดรู้ทุกข์ได้เอง หรือจะทำทุกข์ให้สิ้นไปได้แล้วจึงอยู่ มีบ้างหรือ? ส. จะพึงมีได้เพราะเหตุไร ข้อนี้มีไม่ได้เลย พระโคดมผู้เจริญ. พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่าน ติดทุกข์ เข้าถึงทุกข์อยู่แล้ว กล้ำกลืนทุกข์แล้ว ยังตามเห็นทุกข์ว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นตนของเรา ดังนี้ มิใช่หรือ? ส. ไฉนจะไม่ถูก พระเจ้าข้า ข้อนี้ต้องเป็นอย่างนั้น พระโคดมผู้เจริญ. [๓๙๙] พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ เปรียบเหมือนบุรุษมีความต้องการแก่นไม้ เสาะหา แก่นไม้ แสวงหาแก่นไม้อยู่ ถือเอาผึ่งที่คมเข้าไปสู่ป่า เขาเห็นต้นกล้วยใหญ่ต้นหนึ่งในป่า นั้น มีต้นตรง ยังกำลังรุ่น ไม่คด เขาจึงตัดต้นกล้วยนั้นที่โคนต้น แล้วตัดยอด ริดใบออก เขาไม่พบแม้แต่กระพี้ แล้วจะพบแก่นได้แต่ที่ไหน แม้ฉันใด ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านอันเรา ซักไซ้ไล่เลียง สอบสวน ในถ้อยคำของตนเอง ก็เปล่า ว่าง แพ้ไปเอง ท่านได้กล่าววาจานี้ ในที่ประชุมชน ในเมืองเวสาลีว่า เราไม่เห็นสมณะหรือพราหมณ์ที่เป็นเจ้าหมู่ เจ้าคณะ เป็น คณาจารย์ แม้ที่ปฏิญญาตนว่า เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ปรารภโต้ตอบวาทะกับเรา จะไม่พึงประหม่า ไม่สะทกสะท้าน ไม่หวั่นไหว ไม่มีเหงื่อไหลจากรักแร้ แม้แต่คนเดียว เลย หากเราปรารภโต้ตอบวาทะกะเสาที่ไม่มีเจตนา แม้เสานั้นปรารภโต้ตอบวาทะกับเรา ก็ ต้องประหม่า สะทกสะท้าน หวั่นไหว จะป่วยกล่าวไปไยถึงมนุษย์เล่า ดังนี้ ดูกรอัคคิเวสสนะ หยาดเหงื่อของท่านบางหยาด หยดจากหน้าผากลงยังผ้าห่มแล้วตกที่พื้น ส่วนเหงื่อใน กายของเราในเดี๋ยวนี้ไม่มีเลย ดังนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคทรงเปิดพระกาย มีพระฉวีดังทอง ใน บริษัทนั้น. เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกนิครนถ์นั่งนิ่งอึ้ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ. [๔๐๐] ในลำดับนั้น เจ้าลิจฉวีผู้มีนามว่าทุมมุขะ ทราบว่า สัจจกนิครนถ์นิ่งอึ้ง เก้อเขิน คอตก ก้มหน้า ซบเซา หมดปฏิภาณ จึงทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระผู้มี พระภาค อุปมาย่อมแจ่มแจ้งแก่ข้าพระองค์. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรทุมมุขะ อุปมานั้นจง แจ่มแจ้งแก่ท่านเถิด. เจ้าลิจฉวีนั้นทูลถามว่า เปรียบเหมือนในที่ใกล้บ้านหรือนิคม มีสระโบกขรณี อยู่สระหนึ่ง ในสระนั้นมีปูอยู่ตัวหนึ่ง พวกเด็กชายหญิงเป็นอันมาก ออกจากบ้านหรือนิคมนั้น ไปถึงสระโบกขรณีนั้นแล้ว ก็ลงจับปูขึ้นจากน้ำ วางไว้บนบก ปูนั้นจะส่ายก้ามไปข้างไหน เด็กเหล่านั้นก็คอยต่อยก้ามปูนั้นด้วยไม้บ้าง ด้วยกระเบื้องบ้าง เมื่อปูนั้นก้ามหักหมดแล้ว ก็ไม่ อาจลงสู่สระโบกขรณีนั้นเหมือนก่อนได้ ฉันใด ทิฏฐิอันเป็นเสี้ยนหนาม เข้าใจผิด กวัดแกว่ง บางอย่างๆ ของสัจจกนิครนถ์ พระองค์หักเสียแล้ว แต่นี้ไป สัจจกนิครนถ์ก็ไม่อาจเข้ามาใกล้ พระองค์ ด้วยความประสงค์จะโต้ตอบอีก ก็ฉันนั้นแหละ. เมื่อเจ้าลิจฉวีทุมมุขะกล่าวอย่างนี้แล้ว สัจจกนิครนถ์ ก็พูดว่า เจ้าทุมมุขะท่านหยุดเถิด ท่านพูดมากนัก ข้าพเจ้าไม่ได้พูดกับท่านข้าพเจ้า พูดกับพระโคดมต่างหาก ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ก็ทูลว่า ข้าแต่พระโคดม ข้อที่พูดนั้นเป็นของ ข้าพเจ้า และของพวกสมณพราหมณ์เหล่าอื่น ยกเสียเถิด เป็นแต่คำเพ้อ พูดเพ้อกันไป.
เหตุที่พระสาวกเป็นผู้ทำตามคำสอนและเป็นพระอรหันต์
[๔๐๑] สัจจกนิครนถ์ ทูลถามว่า ด้วยเหตุเท่าไร สาวกของพระโคดม จึงชื่อว่าเป็น ผู้ทำตามคำสั่งสอน ทำถูกตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ปราศจากความแคลงใจอันเป็นเหตุ ให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาตน? พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ สาวกของเราในธรรมวินัยนี้ ย่อมเห็นเบญจขันธ์นั้นด้วยปัญญา อันชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่ ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้ ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้. ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ สาวกของเราจึงชื่อว่าเป็นผู้ทำตามคำสั่งสอน ทำถูก ตามโอวาท ข้ามความสงสัยเสียได้ ปราศจากความแคลงใจอันเป็นเหตุให้กล่าวว่าข้อนี้เป็นอย่างไร ถึงความแกล้วกล้า ไม่ต้องเชื่อผู้อื่น อยู่ในคำสอนของศาสดาตน. [๔๐๒] ส. ข้าแต่พระโคดม ด้วยเหตุเท่าไร ภิกษุชื่อว่าเป็นพระอรหันต์ มีอาสวะ สิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้สำเร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ ตนถึงแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้ว เพราะรู้ชอบ? พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เห็นเบญจขันธ์ด้วยปัญญาอันชอบตาม เป็นจริงอย่างนี้ว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ อันใดอันหนึ่ง ทั้งที่ล่วงไปแล้ว ทั้งที่ยังไม่มาถึง ทั้งเกิดขึ้นเฉพาะในบัดนี้ ที่เป็นภายในก็ดี ที่เป็นภายนอกก็ดี หยาบก็ดี ละเอียดก็ดี เลวก็ดี ประณีตก็ดี ในที่ไกลก็ดี ในที่ใกล้ก็ดี ทั้งหมด ก็เป็นแต่รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณ นั่นไม่ใช่ของเรา เราไม่ได้เป็นนั่น นั่นไม่ใช่ตนของเรา ดังนี้ จึงพ้นแล้วเพราะไม่ถือมั่น. ดูกรอัคคิเวสสนะ ด้วยเหตุเท่านี้แหละ ภิกษุชื่อว่าเป็นพระ อรหันต์ มีอาสวะสิ้นแล้ว อยู่จบพรหมจรรย์แล้ว มีกิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว ปลงภาระเสียแล้ว มีประโยชน์ตนถึงแล้วโดยลำดับ มีสัญโญชน์อันจะนำไปสู่ภพสิ้นแล้ว พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ภิกษุที่รู้พ้นวิเศษแล้วอย่างนี้แหละ ประกอบด้วยคุณอันยอดเยี่ยม ๓ ประการ คือ ความเห็นอันยอดเยี่ยม ๑ ความปฏิบัติอันยอดเยี่ยม ๑ ความพ้นวิเศษอันยอดเยี่ยม ๑. เมื่อ มีจิตพ้นกิเลสแล้วอย่างนี้ ย่อมสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ตถาคตว่า พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้น ตรัสรู้แล้ว ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อให้ตรัสรู้ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงฝึก พระองค์แล้ว ย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อฝึก พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงสงบได้แล้ว ย่อม ทรงแสดงธรรมเพื่อสงบ พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงข้ามพ้นแล้ว ย่อมทรงแสดงธรรม เพื่อข้ามพ้น พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ทรงดับสนิทแล้วย่อมทรงแสดงธรรมเพื่อความ ดับสนิท.
สัจจกนิครนถ์ทูลนิมนต์ฉันภัตตาหาร
[๔๐๓] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว สัจจกนิครนถ์ได้ทูลว่า ข้าแต่พระโคดม ข้าพเจ้าเป็นคนคอยกำจัดคุณผู้อื่น เป็นคนคะนองวาจา ได้สำคัญถ้อยคำของพระโคดม ว่า ตนอาจรุกรานได้ด้วยถ้อยคำของตน บุรุษมาปะทะช้างซับมันเข้าก็ดี เจอะกองไฟอัน กำลังลุกโพลงก็ดี เจอะงูพิษที่มีพิษร้ายก็ดี ยังพอเอาตัวรอดได้บ้าง แต่มาเจอะพระโคดมเข้าแล้ว ไม่มีใครเอาตัวรอดได้เลย ข้าแต่พระโคดม ข้าพเจ้าเป็นคนคอยกำจัดผู้อื่น เป็นคนคะนองวาจา ได้สำคัญถ้อยคำของพระโคดมว่า ตนอาจ รุกรานได้ด้วยถ้อยคำของตน ขอพระโคดมพร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์ จงรับนิมนต์เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้. พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยดุษณีภาพ. ลำดับนั้น สัจจกนิครนถ์ทราบว่า พระผู้มี พระภาคทรงรับนิมนต์แล้ว จึงบอกพวกเจ้าลิจฉวีเหล่านั้นว่า เจ้าลิจฉวีทั้งหลายจงฟังข้าพเจ้า พระโคดมพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ ข้าพเจ้านิมนต์แล้ว เพื่อฉันในวันพรุ่งนี้ พวกท่านจะนำ อาหารใดมาเพื่อข้าพเจ้า จงเลือกอาหารที่ควรแก่พระโคดมเถิด. เมื่อล่วงราตรีนั้นแล้ว เจ้าลิจฉวีเหล่านั้น ได้นำภัตตาหารประมาณห้าร้อยสำรับ ไปให้แก่สัจจกนิครนถ์. สัจจกนิครนถ์ให้จัดของเคี้ยวของฉันอันประณีตในอารามของตนเสร็จ แล้ว จึงให้ทูลบอกกาลแด่พระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดม เวลานี้เป็นกาลควร ภัตตาหาร สำเร็จแล้ว. [๔๐๔] ครั้งนั้นในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงครองอันตรวาสกแล้ว ทรงถือบาตรจีวร เสด็จไปสู่อารามแห่งสัจจกนิครนถ์ ประทับบนอาสนะที่ปูลาดไว้ถวาย พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์. ครั้งนั้น สัจจกนิครนถ์อังคาสภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยของเคี้ยวของฉัน อันประณีต ด้วยมือของตน ให้อิ่มหนำสำราญแล้ว. เมื่อพระผู้มีพระภาคเสวยเสร็จ นำ พระหัตถ์ออกจากบาตรแล้ว สัจจกนิครนถ์จึงถือเอาอาสนะต่ำ นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ได้ทูลว่า ข้าแต่พระโคดม ขอบุญและผลบุญในทานนี้ จงมีเพื่อความสุขแก่ทายกทั้งหลาย เถิด. พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ บุญและผลบุญในทานนี้ อาศัยทักขิเณยบุคคล ที่ยังไม่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ เช่นกับท่าน จักมีแก่ทายกทั้งหลาย ส่วนบุญ และผลบุญ อาศัยทักขิเณยยบุคคล ที่สิ้นราคะ โทสะ โมหะ เช่นกับเรา จักมีแก่ท่าน ฉะนี้แล.
จบ จูฬสัจจกสูตร ที่ ๕
-----------------------------------------------------
๖. มหาสัจจกสูตร
สัจจกนิครนถ์ทูลถามปัญหา
[๔๐๕] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้:- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน เขตเมืองเวสาลี. ก็สมัย นั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคทรงนุ่งดีแล้ว ทรงถือบาตรและจีวรมีพระพุทธประสงค์จะเสด็จเข้าไป เพื่อบิณฑบาตในเมืองเวสาลี เวลานั้น สัจจกนิครนถ์ ผู้เป็นนิคันถบุตร เมื่อเที่ยวเดินเพื่อยืด แข้งขา ได้เข้าไปที่กูฏาคารศาลา ป่ามหาวัน. ท่านพระอานนท์ได้เห็นสัจจกนิครนถ์กำลังเดินมาแต่ ไกล ครั้นแล้วจึงทูลพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สัจจกนิครนถ์นี้เป็นนักโต้ตอบ พูดยกตนว่าเป็นนักปราชญ์ ชนเป็นอันมากยอมยกว่าเป็นผู้มีความรู้ดี เขาปรารถนาจะติเตียน พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอพระผู้มีพระภาค ทรงพระกรุณาประทับอยู่สักครู่หนึ่งเถิด. พระผู้มีพระภาคจึงประทับอยู่บนอาสนะที่เขาปูถวาย. ขณะนั้น สัจจกนิครนถ์เข้าไปถึงที่ พระผู้มีพระภาคประทับ ครั้นแล้วทูลปราศรัยกับพระองค์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน ไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. [๔๐๖] สัจจกนิครนถ์ ครั้นนั่งแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า พระโคดมผู้เจริญ มีสมณะและพราหมณ์พวกหนึ่งหมั่นประกอบกายภาวนาอยู่ แต่หาได้หมั่นประกอบจิตภาวนาไม่. สมณะและพราหมณ์พวกนั้น ย่อมประสบทุกขเวทนาอันเกิดในสรีรกาย. พระโคดมผู้เจริญ เรื่อง เคยมีมาแล้ว เมื่อบุคคลอันทุกขเวทนาอันเกิดในสรีรกายกระทบเข้าแล้ว ความขัดขาจักมีบ้าง หทัยจักแตกบ้าง เลือดอันร้อนจักพลุ่งออกจากปากบ้าง (พวกที่บำเพ็ญกายภาวนานั้น) จักถึงความ เป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง จิตอันหันไปตามกายของผู้นั้น ก็เป็นไปตามอำนาจกาย. นั่นเป็นเพราะ อะไร? เป็นเพราะไม่อบรมจิต. พระโคดมผู้เจริญ มีสมณะและพราหมณ์พวกหนึ่ง หมั่นประกอบ จิตตภาวนาอยู่ แต่หาได้หมั่นประกอบกายภาวนาไม่. สมณะและพราหมณ์พวกนั้น ย่อมประสพ ทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นในจิต. พระโคดมผู้เจริญ เรื่องเคยมีมาแล้ว เมื่อบุคคลอันทุกขเวทนาอัน เกิดขึ้นในจิตกระทบเข้าแล้ว ความขัดขาจักมีบ้าง หทัยจะแตกบ้าง เลือดอันร้อนจัดพลุ่งออก จากปาก (พวกที่บำเพ็ญจิตตภาวนานั้น) จักถึงความเป็นบ้า มีจิตฟุ้งซ่านบ้าง กายอันหันไปตาม จิตของผู้นั้น ก็เป็นไปตามอำนาจจิต. นั่นเป็นเพราะอะไร? เป็นเพราะไม่อบรมกาย. พระโคดม ผู้เจริญ ข้าพเจ้ามีความดำริว่า หมู่สาวกของพระโคดม ย่อมหมั่นประกอบจิตตภาวนาอยู่โดยแท้ แต่หาหมั่นประกอบกายภาวนาอยู่ไม่. [๔๐๗] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ กายภาวนาท่านฟังมาแล้ว อย่างไร? สัจจกนิครนถ์ทูลว่า พระโคดมผู้เจริญ ท่านนันทะผู้วัจฉโคตร ท่านกิสะผู้สังกิจจโคตร ท่านมักขลิผู้โคสาล ก็ท่านเหล่านี้เป็นผู้เปลือยกาย ปล่อยมารยาทดีเสีย เช็ดอุจจาระที่ถ่ายด้วยมือ ไม่ไปรับภิกษาตามที่เขาเชิญให้รับ ไม่หยุดตามที่เขาเชิญให้หยุด ไม่ยินดีภิกษาที่เขานำมาให้ ไม่ ยินดีภิกษาที่เขาเจาะจงให้ ไม่ยินดีการนิมนต์ ไม่รับภิกษาที่เขาให้แต่ปากหม้อ ไม่รับภิกษาที่เขาให้ แต่ปากกระเช้า ไม่รับภิกษาในที่มีธรณีและมีท่อนไม้ หรือมีสากอยู่ในระหว่าง ไม่รับภิกษาของคน ๒ คน ที่กำลังกินอยู่ ไม่รับภิกษาของหญิงมีครรภ์ ของหญิงที่กำลังให้ลูกดื่มนม ของหญิงที่มีชู้ ไม่รับภิกษาที่เขานัดกันทำ ในที่ที่เขาเลี้ยงสุนัขไว้ และในที่มีหมู่แมลงวันตอม ไม่รับปลา ไม่รับ เนื้อ ไม่ดื่มสุรา ไม่ดื่มเมรัย ไม่ดื่มน้ำที่เขาหมักแช่ด้วยสัมภาระ รับภิกษาที่เรือนเดียวบ้าง รับเฉพาะ คำเดียวบ้าง รับที่เรือนสองหลังบ้าง รับเฉพาะสองคำบ้าง ฯลฯ รับที่เรือนเจ็ดหลังบ้าน รับเฉพาะ เจ็ดคำบ้าง เลี้ยงตนด้วยภิกษาอย่างเดียวบ้าง สองอย่างบ้าง ฯลฯ เจ็ดอย่างบ้าง กลืนอาหารที่เก็บ ไว้วันหนึ่งบ้าง สองวันบ้าง ฯลฯ เจ็ดวันบ้าง หมั่นประกอบเนืองๆ ในอันกินภัตตามวาระ แม้มี วาระครึ่งเดือนเห็นปานนี้ ย่อมอยู่ดังนี้. พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลเหล่านั้นเลี้ยงตนด้วยภัตเท่านั้นอย่างเดียวหรือ? ส. ไม่เป็นดังนั้น พระโคดมผู้เจริญ บางทีท่านเหล่านั้น เคี้ยวของควรเคี้ยวอย่างดีๆ กินโภชนะอย่างดีๆ ลิ้มของลิ้มอย่างดีๆ ดื่มน้ำอย่างดีๆ ให้ร่างกายนี้มีกำลัง เจริญ อ้วนพีขึ้นๆ พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ พวกเหล่านั้นละทุกกรกิจอย่างก่อนแล้ว บำรุงกายนี้ภายหลัง เมื่อเป็นอย่างนั้น กายนี้ก็มีความเจริญและความเสื่อมไป.
ว่าด้วยกายภาวนาและจิตตภาวนา
[๔๐๘] พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ จิตตภาวนาท่านได้ฟังมาแล้ว อย่างไร? สัจจกนิครนถ์ อันพระผู้มีพระภาคตรัสถามในจิตตภาวนา ไม่อาจทูลบอกได้. ขณะนั้น พระผู้มีพระภาคตรัสกะสัจจกนิครนถ์ดังนี้ว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ กายภาวนา ก่อนนั้นท่านเจริญแล้ว แม้กายภาวนานั้น ไม่ประกอบด้วยธรรมในอริยวินัย ท่านยังไม่รู้จักแม้ กายภาวนา จักรู้จักจิตตภาวนาแต่ไหน ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลที่มีกายมิได้อบรมแล้ว มีจิตมิได้ อบรมแล้ว และที่มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว เป็นได้ด้วยเหตุอย่างไร ท่านจงฟังเหตุนั้นเถิด จงทำไว้ในใจให้ดี เราจักกล่าว. สัจจกนิครนถ์ทูลรับพระผู้มีพระภาคแล้ว. [๔๐๙] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ ก็บุคคลที่มีกายมิได้อบรม มีจิตมิได้ อบรม เป็นอย่างไร? ดูกรอัคคิเวสสนะ ปุถุชนในโลกนี้ ผู้มิได้สดับ มีสุขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูก สุขเวทนากระทบเข้าแล้ว มีความยินดีนักในสุขเวทนา และถึงความเป็นผู้ยินดีนักในสุขเวทนา สุขเวทนาของเขานั้นย่อมดับไปเพราะสุขเวทนาดับ ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกทุกขเวทนากระทบ เข้าแล้ว ก็เศร้าโศก ลำบากใจ รำพัน คร่ำครวญ ตบอก ถึงความหลงไหล แม้สุขเวทนานั้น เกิดขึ้นแก่เขาแล้ว ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมกาย แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้นแล้ว ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมจิต ดูกรอัคคิเวสสนะ แม้สุขเวทนาเกิดขึ้นแก่ปุถุชนคน ใดคนหนึ่ง ก็ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมกาย แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ครอบงำจิต ตั้งอยู่ เพราะเหตุที่มิได้อบรมจิตทั้งสองอย่างดังนี้ ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลที่มีกายมิได้อบรม มีจิตมิได้อบรม เป็นอย่างนี้แหละ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ก็บุคคลที่มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้วเป็นอย่างไร? ดูกรอัคคิ- *เวสสนะ อริยสาวกในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับ มีสุขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกสุขเวทนากระทบเข้า แล้ว ไม่มีความยินดีนักในสุขเวทนา และไม่ถึงความเป็นผู้ยินดีนักในสุขเวทนา สุขเวทนาของ เขานั้นย่อมดับไป เพราะสุขเวทนาดับ ก็มีทุกขเวทนาเกิดขึ้น เขาถูกทุกขเวทนากระทบเข้าแล้ว ก็ไม่เศร้าโศก ไม่ลำบากใจ ไม่รำพัน คร่ำครวญ ตบอก ไม่ถึงความหลงไหล แม้สุขเวทนานั้น เกิดขึ้นแก่อริยสาวกแล้ว ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมกาย แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้น ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมจิต ดูกรอัคคิเวสสนะ แม้สุขเวทนาเกิดขึ้นแก่อริย- *สาวกผู้ใดผู้หนึ่ง ก็ไม่ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมกาย แม้ทุกขเวทนาเกิดขึ้นก็ไม่ ครอบงำจิตตั้งอยู่ เพราะเหตุที่ได้อบรมจิตทั้งสองอย่างนี้ ดังนี้ ดูกรอัคคิเวสสนะ บุคคลที่มีกาย อบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้วเป็นอย่างนี้แหละ. สัจจกนิครนถ์ทูลว่า เมื่อเป็นอย่างนี้ ข้าพเจ้าเลื่อมใสต่อพระโคดม เพราะพระโคดม มีกายอบรมแล้ว มีจิตอบรมแล้ว.
ทรงชี้แจงเรื่องเวทนา
[๔๑๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอัคคิเวสสนะ วาจานี้ท่านนำมาพูดเทียบกับเราโดยแท้ แต่ว่าเราจะบอกแก่ท่าน ดูกรอัคคิเวสสนะ เมื่อใดแลเราปลงผมและหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต เมื่อนั้นจิตของเรานั้นถูกสุขเวทนาที่เกิดขึ้นครอบงำตั้งอยู่ หรือถูกทุกขเวทนา ที่เกิดขึ้นครอบงำตั้งอยู่ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้เลย. ส. สุขเวทนาอันเกิดขึ้นที่พอจะครอบงำจิตตั้งอยู่ หรือทุกขเวทนาอันเกิดขึ้นที่พอจะ ครอบงำจิตตั้งอยู่ เวทนาเช่นนั้นย่อมไม่เกิดขึ้นแก่พระโคดมผู้เจริญโดยแท้. [๔๑๑] พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ทำไมเวทนาทั้ง ๒ นั้น จะไม่พึงมีแก่เรา ดูกรอัคคิเวสสนะ เราจะเล่าให้ฟัง เมื่อเรายังเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ ได้มีความดำริดังนี้ว่า ฆราวาส เป็นที่คับแคบ เป็นทางมาแห่งธุลี บรรพชาเป็นช่องว่าง การที่เราอยู่ครองเรือน จะประพฤติ พรหมจรรย์ให้บริบูรณ์ ให้บริสุทธิ์ดุจสังข์ที่เขาขัดแล้ว ไม่ใช่ทำได้ง่าย ถ้ากระไร เราพึงปลงผม และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต สมัยต่อมา เรากำลังเป็นหนุ่ม มีเกศาดำสนิทยังหนุ่มแน่น ตั้งอยู่ในปฐมวัย เมื่อพระมารดาและพระบิดาไม่ปรารถนาจะให้บวช มีพระพักตร์อาบด้วยน้ำพระเนตร ทรงกันแสงอยู่ ได้ปลงผมและหนวดแล้ว นุ่งห่มผ้ากาสาวพัสตร์ ออกบวชเป็นบรรพชิต. เมื่อบวชแล้ว ก็เสาะหาว่า อะไรเป็นกุศล เมื่อแสวงหาทางอันสงบ อย่างประเสริฐเยี่ยม จึงเข้าไปถึงสำนักท่านอาฬารดาบสกาลามโคตร แล้วกล่าวกะอาฬารดาบส ดังนี้ว่า ท่านกาลามะ ข้าพเจ้าปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้. เมื่อเรากล่าวอย่างนี้ แล้ว ท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร จึงกล่าวกะเราว่า เชิญท่านอยู่เถิด ธรรมที่วิญญูชนพึง บรรลุอยู่ เพราะทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเอง ตามแบบอาจารย์ของตน ต่อกาลไม่นานนี้ ก็เช่นเดียว กัน. เราก็ศึกษาธรรมนั้นเร็วไว มิได้ช้า. ชั่วขณะหุบปากเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวได้ซึ่งญาณ วาทและเถรวาท และทั้งเราทั้งผู้อื่นก็ทราบชัดว่า เรารู้เราเห็น. เราจึงดำริต่อไปว่า ท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร ไม่บอกธรรมนี้ว่า เราทำให้แจ้ง ด้วยความรู้ยิ่งเองแล้วเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุสักว่า ความเชื่ออย่างเดียว โดยที่แท้ ทานอาฬารดาบส กาลามโคตร ก็รู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้งนั้น เราเข้าไปหาท่านอาฬารดาบส กาลามโคตรแล้วถามว่า ท่านกาลามะ ท่านทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอกด้วยเหตุเท่าไร? เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว ท่านอาฬารดาบสก็ บอกสมาบัติชั้นอากิญจัญญาตนะ. เราจึงดำริว่า มิใช่มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา แต่ท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร เท่านั้น แม้เราก็มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา เหมือนกัน ถ้ากระไร เราพึงพากเพียรเพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร บอกว่า เราทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่. เราก็ทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้นด้วยความรู้ยิ่งเอง เข้าถึงอยู่เร็วไว มิได้เนิ่นช้า. ครั้งนั้นเราเข้าไปหาท่านอาฬารดาบสกาลามโคตรแล้ว ถามว่า ท่าน กาลามะ ท่านทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอก ด้วยเหตุเท่านี้หรือ? ท่านอาฬารดาบสก็บอกว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เราทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอก ด้วยเหตุเท่านี้แหละ. เราจึงบอกว่า ดูกรท่านผู้มีอายุแม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งซึ่ง ธรรมนี้ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วอยู่ ด้วยเหตุเท่านี้. ท่านอาฬารดาบสกล่าวว่า ดูกรผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ดีแล้ว ที่ได้เห็น สพรหมจารีเช่นท่าน เราทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด ด้วยความรู้ยิ่งเองบรรลุแล้วจึงบอกได้ ท่านก็ทำให้ แจ้งซึ่งธรรมนั้นด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วอยู่ท่านทำให้แจ้งซึ่งธรรมใดด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุ แล้วอยู่ เราก็ทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้นด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอก ด้วยประการดังนี้ เรารู้ ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น เป็นอันว่าเราเช่นใด ท่านก็รู้เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ด้วยประการดังนี้ มาเถิด บัดนี้ เราทั้งสองจะอยู่ร่วมกันปกครอง คณะนี้. ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านอาฬารดาบส กาลามโคตร ทั้งที่เป็นอาจารย์เรา ก็ยกย่องเราผู้ เป็นศิษย์เสมอด้วยตนด้วย บูชาเราด้วยการบูชาอย่างดีด้วย. เราจึงมีความแน่ใจว่า ธรรมนี้ไม่เป็น ไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน เพียงแต่เป็นไปเพื่อความเข้าถึงอากิญจัญญายตนภพเท่านั้น. เราไม่พอใจธรรมนั้นระอาธรรมนั้น จึงหลีกไป. [๔๑๒] ดูกรอัคคิเวสสนะ เราเสาะหาว่า อะไรเป็นกุศล เมื่อแสวงหาทางอันสงบ อย่างประเสริฐเยี่ยม จึงเข้าไปถึงสำนักท่านอุททกดาบส รามบุตรแล้วกล่าวว่า ท่านรามะ ข้าพเจ้า ปรารถนาจะประพฤติพรหมจรรย์ในธรรมวินัยนี้. เมื่อกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านอุททกดาบส รามบุตร จึงกล่าวกะเราว่า เชิญท่านอยู่เถิด ธรรมที่วิญญูชนพึงบรรลุเพราะทำให้แจ้งด้วยความรู้ยิ่งเอง ตาม แบบอาจารย์ของตนอยู่ต่อกาลไม่นาน นี้ก็เป็นเช่นเดียวกัน. เราก็ศึกษาธรรมนั้นเร็วไวมิได้ช้า. ชั่วขณะหุบปากเจรจาปราศรัยเท่านั้น ก็กล่าวได้ซึ่งญาณวาท และเถรวาท และทั้งเรา ทั้งผู้อื่นก็ ทราบชัดว่า เรารู้เราเห็น. เราจึงดำริต่อไปว่า ท่านรามะไม่บอกว่า ธรรมนี้เราทำให้แจ้งด้วยความรู้ ยิ่งเอง แล้วเข้าถึงอยู่ ด้วยเหตุสักว่าความเชื่ออย่างเดียว โดยที่แท้ ท่านรามะก็รู้เห็นธรรมนี้อยู่. ครั้งนั้น เราเข้าไปหาท่านอุททกดาบส รามบุตร แล้วถามว่า ท่านรามะ ท่านทำให้แจ้ง ซึ่งธรรมนี้ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอก ด้วยเหตุเท่าไร? เมื่อเราถามอย่างนี้แล้ว ท่าน อุททกดาบส รามบุตร ก็บอกสมาบัติชั้นเนวสัญญานาสัญญายตนะ. เราจึงดำริว่า มิใช่มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา แต่ท่านรามะเท่านั้น แม้เราก็มีศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และ ปัญญาเหมือนกัน ถ้ากระไร เราจึงพากเพียร เพื่อทำให้แจ้งซึ่งธรรมที่ท่านรามะบอกว่า เราทำให้แจ้ง ด้วยความรู้ยิ่งแล้วเข้าถึงอยู่. เราก็ทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้นด้วยความรู้ยิ่งเองเข้าถึงอยู่เร็วไวมิได้ เนิ่นช้า. ครั้งนั้น เราเข้าไปหาอุททกดาบส รามบุตร แล้วถามว่า ท่านรามะ ท่านทำให้แจ้งซึ่ง ธรรมนั้นด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอก ด้วยเหตุเท่าไร? ท่านอุททกดาบสก็บอกว่า ดูกร ท่านผู้มีอายุ เราทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอก ด้วยเหตุเท่านี้แหละ. เราก็บอกว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ แม้ข้าพเจ้าก็ทำให้แจ้งซึ่งธรรมนี้ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้ว ด้วย เหตุเท่านี้. ท่านอุททกดาบสกล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุ เป็นลาภของพวกเรา พวกเราได้ดีแล้ว ที่ได้ เห็นสพรหมจารีเช่นท่าน เราทำให้แจ้งซึ่งธรรมใดด้วยความรู้ยิ่งเองบรรลุแล้วจึงบอก ท่านก็ทำให้ แจ้งซึ่งธรรมนั้น ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วอยู่ ท่านทำให้แจ้งซึ่งธรรมใด ด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วอยู่ เราก็ทำให้แจ้งซึ่งธรรมนั้นด้วยความรู้ยิ่งเอง บรรลุแล้วจึงบอก ด้วยประการดังนี้ เรารู้ธรรมใด ท่านก็รู้ธรรมนั้น ท่านรู้ธรรมใด เราก็รู้ธรรมนั้น เป็นอันว่า เราเช่นใด ท่านก็เช่นนั้น ท่านเช่นใด เราก็เช่นนั้น ด้วยประการดังนี้ มาเถิด บัดนี้ เราทั้ง ๒ จะอยู่ร่วมกันปกครองคณะนี้ ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านอุททกดาบส รามบุตรทั้งที่เป็นอาจารย์เรา ก็ยกย่องเราผู้เป็นศิษย์เสมอ ด้วยตนด้วย บูชาเราด้วยการบูชาอย่างดีด้วย. เราจึงมีความแน่ใจว่า ธรรม (สมาบัติ ๘) นี้ ไม่ เป็นไปเพื่อความเบื่อหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้พร้อม เพื่อนิพพาน เพียงแต่เป็นไปเพื่อความเข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนภพ เท่านั้น. เราไม่พอใจธรรมนั้น ระอาธรรมนั้น จึงได้หลีกไป. [๔๑๓] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรานั้นแล เสาะหาว่าอะไรเป็นกุศล เมื่อแสวงหาทางอันสงบ อย่างประเสริฐเยี่ยม จึงเที่ยวจาริกไปในมคธชนบท โดยลำดับ ก็ลุถึงตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ได้เห็นภูมิภาคที่น่ารื่นรมย์ แนวป่าเขียวสดเป็นที่เบิกบานใจ แม่น้ำไหล มีน้ำใสสะอาด มีท่าน้ำ สะอาดดี น่ารื่นรมย์ โคจรคามก็ตั้งอยู่โดยรอบ จึงดำริว่า ภูมิภาคน่ารื่นรมย์ แนวป่าเขียวสด เป็นที่เบิกบานใจ แม่น้ำไหล มีน้ำใสสะอาด มีท่าน้ำสะอาดดี น่ารื่นรมย์ โคจรคามก็ตั้งอยู่โดย รอบ สถานที่เช่นนี้ เป็นที่สมควรบำเพ็ญเพียรแห่งกุลบุตรผู้ต้องการจะบำเพ็ญเพียร จึงนั่งลง ณ ที่นั้น ด้วยคิดว่า ที่นี้เหมาะแก่การบำเพ็ญเพียร.
อุปมา ๓ ข้อ
[๔๑๔] ดูกรอัคคิเวสสนะ ครั้งนั้น อุปมา ๓ ข้อ อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนักเราไม่เคยได้ยิน มาในกาลก่อน มาปรากฏแจ่มแจ้งแก่เรา. อุปมาข้อ ๑ ว่า เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่เขาวางไว้ในน้ำ. บุรุษถือเอาไม้สีไฟมาสีเข้า ด้วยหวังว่า เราจักให้ไฟเกิดปรากฏขึ้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษ นั้นเอาไม้สีไฟสีลงที่ไม้สดมียางที่เขาวางไว้ในน้ำ พึงให้ไฟเกิดปรากฏขึ้นได้บ้างหรือหนอ? สัจจกนิครนถ์ทูลว่า ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย พระโคดมผู้เจริญ นั่นเป็นเพราะอะไร เป็น เพราะไม้สดนั้นมียางทั้งเขาวางไว้ในน้ำ บุรุษนั้นก็มีแต่ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า. พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ยังไม่หลีกออกจากกามด้วยกาย ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง ความกระหาย และ ความกระวนกระวายเพราะกาม ในกามทั้งหลายยังมิได้ละ และมิได้ระงับคืนเสียด้วยดีในภายใน. สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น แม้เสวยทุกขเวทนาที่กล้า หยาบ เผ็ดร้อน อันเกิดขึ้นเพราะ ความเพียรก็ดี หรือไม่ได้เสวยทุกขเวทนาเช่นนั้นก็ดี ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อความ ตรัสรู้ดีอันประเสริฐ. นี้แลอุปมาข้อที่ ๑ อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เราไม่เคยฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏ แจ่มแจ้งแล้วแก่เรา. [๔๑๕] อุปมาข้อที่ ๒ ว่า เปรียบเหมือนไม้สดมียางที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ. บุรุษ ถือเอาไม้สีไฟมาสีเข้าด้วยหวังว่า เราจักให้ไฟเกิดปรากฏขึ้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่านจะสำคัญ ความนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สีไฟสีลงที่ไม้สดมียางที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ พึงให้ไฟเกิด ปรากฏขึ้นได้บ้างหรือหนอ? สัจจกนิครนถ์ทูลว่า ข้อนี้เป็นไปไม่ได้เลย พระโคดมผู้เจริญ นั่นเป็นเพราะอะไร เป็น เพราะไม้สดอันมียาง ถึงเขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ บุรุษนั้นก็มีแต่ความเหน็ดเหนื่อยลำบากเปล่า. พ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง แม้หลีกออกจากกามด้วยกายแล้ว แต่ยังมีความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง ความกระหาย และความกระวนกระวายเพราะกาม ในกามทั้งหลายยังมิได้ละ และมิได้ระงับคืนเสียด้วยดีภายใน. สมณะหรือพราหมณ์ผู้เจริญเหล่านั้น แม้เสวยทุกขเวทนาที่กล้า หยาบ เผ็ดร้อน อันเกิดขึ้นเพราะ ความเพียรก็ดี หรือไม่ได้เสวยทุกขเวทนาเช่นนั้นก็ดี ก็เป็นผู้ไม่ควรเพื่อรู้ เพื่อเห็น เพื่อความ ตรัสรู้ดีอันประเสริฐ. นี้แลอุปมาข้อที่ ๒ อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก ที่เราไม่เคยฟังมาในกาลก่อน มาปรากฏแจ่มแจ้งแล้วแก่เรา. [๔๑๖] อุปมาข้อที่ ๓ อื่นอีกว่า เปรียบเหมือนไม้อันแห้งสนิทที่เขาวางไว้บนบกห่างจาก น้ำ. บุรุษถือเอาไม้สีไฟมาสีเข้าด้วยหวังว่า เราจักให้ไฟเกิดปรากฏขึ้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ ท่าน จะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน บุรุษนั้นเอาไม้สีไฟสีลงที่ไม้อันแห้งสนิทที่เขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ พึงให้ไฟเกิดปรากฏขึ้นได้บ้างหรือหนอ? สัจจกนิครนถ์ทูลว่า เป็นอย่างนั้น พระโคดมผู้เจริญ นั่นเป็นเพราะอะไร เป็นเพราะไม้ แห้งสนิท ทั้งเขาวางไว้บนบกห่างจากน้ำ. ดูกรอัคคิเวสสนะ ฉันนั้นเหมือนกันแล สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด เหล่าหนึ่ง หลีก ออกจากกามด้วยกายแล้ว ทั้งละและระงับความพอใจ ความรักใคร่ ความหลง ความระหาย และความกระวนกระวายเพราะกาม ในกามทั้งหลายเสียด้วยดีในภายในแล้ว. สมณะหรือพราหมณ์ ผู้เจริญเหล่านั้น แม้เสวยทุกขเวทนาที่กล้า หยาบ เผ็ดร้อน อันเกิดขึ้นเพราะความเพียรก็ดี หรือไม่ได้เสวยทุกขเวทนาเช่นนั้นก็ดี ก็เป็นผู้ควรเพื่อรู้ เพื่อเห็น และเพื่อความตรัสรู้ดีอันประ- *เสริฐ. นี้แลอุปมาข้อที่ ๓ อันน่าอัศจรรย์ยิ่งนัก เราไม่เคยฟังมาในกาลก่อนมาปรากฏแจ่มแจ้งแล้ว แก่เรา. อุปมาทั้ง ๓ ข้ออันไม่น่าอัศจรรย์ เราไม่เคยได้ฟังมาในกาลก่อนเหล่านี้แหละ มาปรากฏ แจ่มแจ้งแล้วแก่เรา. [๔๑๗] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรานั้นมีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงกดฟันด้วยฟัน เอาลิ้น ดันเพดานไว้ให้แน่น เอาจิตข่มคั้นจิตให้เร่าร้อน. เรานั้นก็กดฟันด้วยฟัน เอาลิ้นดันเพดานไว้ แน่น เอาจิตข่มคั้นจิตให้เร่าร้อน เมื่อเราทำดังนั้นเหงื่อก็ไหลออกจากรักแร้ทั้ง ๒ ข้าง. เปรียบ เหมือนบุรุษมีกำลัง จับบุรุษที่มีกำลังน้อยกว่า ที่ศีรษะหรือที่คอ แล้วบีบคั้นรัดไว้ให้แน่น ฉะนั้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น มิได้ฟั่นเฟือน แต่มีกายกระวน กระวายไม่สงบระงับ เพราะความเพียรที่ทนได้ยากเสียดแทงอยู่. แต่ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้.
ความต่างกันในการบำเพ็ญทุกกรกิริยา
[๔๑๘] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงเจริญฌานอันไม่มีลมปราณ เถิด เราก็กลั้นลมหายใจออกและลมหายใจเข้าทางปากและทางจมูก. เมื่อเรากลั้นลมหายใจออก และลมหายใจเข้าทางปากและทางจมูก ลมก็ออกทางช่องหูทั้ง ๒ ข้าง มีเสียงดังอู้ๆ เหมือนเสียง สูบช่างทองที่เขาสูบอยู่ ฉะนั้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่มีกายกระวนกระวาย ไม่สงบระงับ เพราะความเพียรที่ทนได้ยากเสียดแทงอยู่ แต่ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้. [๔๑๙] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงเจริญฌานอันไม่มีลมปราณ เถิด. เรากลั้นลมหายใจออกและลมหายใจเข้าทางปากทางจมูก. และทางช่องหู. เมื่อเรากลั้นลม หายใจออก และลมหายใจเข้าทางปากทางจมูก และทางช่องหู ลมเป็นอันมากก็เสียดแทงศีรษะ เหมือนบุรุษที่มีกำลัง เอามีดโกนที่คมเชือดศีรษะ ฉะนั้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ เราปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อนมีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่มีกายกระวนกระวาย ไม่สงบระงับ เพราะความเพียร ที่ทนได้ยากเสียดแทงอยู่. แต่ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้. [๔๒๐] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงเจริญฌาน อันไม่มีลม ปราณเถิด. เราก็กลั้นลมหายใจออกและลมหายใจเข้าทางปากทางจมูกและทางช่องหู. เมื่อกลั้น ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีทุกขเวทนาในศีรษะเป็นอันมาก เหมือนบุรุษที่มีกำลังเอาเชือกหนังอันมั่นรัดเข้าที่ศีรษะ ฉะนั้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ เราปรารภความ เพียรไม่ย่อหย่อนมีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่มีกายกระวนกระวาย ไม่สงบระงับ เพราะความเพียร ที่ทนได้ยากเสียดแทงอยู่. แต่ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้. [๔๒๑] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงเจริญฌานอันไม่มีลมปราณ เถิด. เราก็กลั้นลมหายใจออกและลมหายใจเข้าทางปากทางจมูก และทางช่องหู. เมื่อกลั้นลมหายใจ ออกและลมหายใจเข้าทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีลมเป็นอันมากบาดท้อง เหมือนนายโค ฆาต หรือลูกมือของนายโคฆาตผู้ฉลาด เอามีดสำหรับแล่โคที่คมเถือแล่ท้อง ฉะนั้น. ดูกรอัคคิ- *เวสสนะ เราปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่น ไม่ฟั่นเฟือน แต่มีกายกระวนกระวาย ไม่สงบระงับ เพราะความเพียรที่ทนได้ยากเสียดแทงอยู่. แต่ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ มิได้ ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้. [๔๒๒] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงเจริญฌาน อันไม่มีลม ปราณเถิด. เราก็กลั้นลมหายใจออกและลมหายใจเข้าทางปากทางจมูกและทางช่องหู เมื่อเรากลั้น ลมหายใจออกและลมหายใจเข้าทางปากทางจมูกและทางช่องหู ก็มีความเร่าร้อนในร่างกายเป็น อันมาก เหมือนบุรุษที่มีกำลัง ๒ คนช่วยกันจับบุรุษคนหนึ่งที่มีกำลังน้อยกว่า ที่แขนทั้ง ๒ ข้าง แล้ว ให้เร่าร้อน อบอ้าวอยู่ ใกล้หลุมถ่านเพลิง ฉะนั้น. ดูกรอัคคิเวสสนะ เราปรารภความเพียร ไม่ย่อหย่อน มีสติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน แต่มีกายกระวนกระวาย ไม่สงบระงับ เพราะความเพียร ที่ทนได้ยากเสียดแทงอยู่. แต่ทุกขเวทนาที่เกิดขึ้นเห็นปานนี้ มิได้ครอบงำจิตเราตั้งอยู่ได้. ดูกรอัคคิเวสสนะ เทวดาทั้งหลายเห็นเราเข้าแล้วพากันกล่าวว่า พระสมณโคดมทำกาละ แล้ว. บางพวกกล่าวว่า พระสมณโคดมยังมิได้ทำกาละ แต่ก็จะทำกาละ บางพวกกล่าวว่า พระ สมณโคดมไม่ทำกาละ ทั้งจะไม่ทำกาละ พระสมณโคดมจะเป็นพระอรหันต์ การอยู่เห็นปานนี้ นั้น เป็นวิหารหารธรรมของท่านผู้เป็นพระอรหันต์. [๔๒๓] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงปฏิบัติอดอาหารเสียโดย ประการทั้งปวงเถิด. ขณะนั้น พวกเทวดาเข้ามาหาเราแล้วกล่าวว่าข้าแต่ท่านผู้นิรทุกข์ ท่านอย่า ปฏิบัติอดอาหารโดยประการทั้งปวงเลย ถ้าท่านจักปฏิบัติอดอาหารโดยประการทั้งปวง พวกข้าพเจ้า จะแทรกโอชาหารอันเป็นทิพย์ตามขุมขนแห่งท่าน ท่านจะได้ยังอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชาหารนั้น. เรามีความดำริว่า เราปฏิญญาว่าจะตัดอาหารโดยประการทั้งปวง แต่เทวดาเหล่านี้จะแทรกโอชาหาร อันเป็นทิพย์ตามขุมขนแห่งเรา เราจะยังมีอัตภาพให้เป็นไปด้วยโอชาหารนั้น การปฏิญญาไว้นั้นก็ เป็นมุสาแก่เราเอง. เราจึงกล่าวห้ามเทวดาเหล่านั้นว่า ข้อนั้นไม่ควร. [๔๒๔] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า ถ้ากระไร เราพึงกินอาหารให้น้อยลงๆ เพียงซองมือหนึ่งๆ บ้าง เท่าเยื่อในเม็ดถั่วเขียวบ้าง เท่าเยื่อในเม็ดถั่วพูบ้าง เท่าเยื่อในเม็ดถั่วดำ บ้าง เท่าเยื่อในเม็ดบัวบ้าง. เราก็กินอาหารให้น้อยลงๆ ดังนั้นจนมีร่างกายซูบผอมยิ่งนัก เพราะเป็น ผู้มีอาหารน้อยนั้น เหลือแต่อวัยวะใหญ่น้อย เหมือนเถาวัลย์ที่มีข้อมาก หรือเถาวัลย์ที่มีข้อดำ เนื้อตะโพกก็ลีบเหมือนกีบอูฐ กระดูกสันหลังก็ผุดเป็นหนาม เหมือนเถาวัลย์ [หนามรอบข้อ] ซี่โครงทั้ง ๒ ข้าง ขึ้นสะพรั่ง เหมือนกลอนศาลาเก่าที่สะพรั่งอยู่ ดวงตาทั้ง ๒ ก็ลึกเข้าไปในเบ้า ตาเหมือนดวงดาวในบ่อน้ำอันลึก ปรากฏอยู่ หนังศีรษะบนศีรษะก็เหี่ยวหดหู่ เหมือนลูกน้ำเต้า ที่เขาตัดมายังดิบ ต้องลมและแดดเข้าก็เหี่ยวไป. เรานึกว่าจะลูบพื้นท้องก็จับถึงกระดูกสันหลัง เมื่อนึกว่า จะลูบกระดูกสันหลัง ก็จับถึงพื้นท้อง เพราะพื้นท้องของเราติดแนบถึงกระดูกสันหลัง เมื่อนึกว่า จะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ซวนแซล้มลง ณ ที่นั้น. เมื่อจะให้กายสบายบ้าง เอา ฝ่ามือลูบตัวเข้า ขนทั้งหลายที่มีรากเน่าก็หลุดร่วงจากกายเพราะเป็นผู้มีอาหารน้อย. มนุษย์ทั้งหลาย เห็นเราเข้าแล้วก็กล่าวว่า พระสมณโคดมดำไป บางพวกก็พูดว่า พระสมณโคดมไม่ดำ เป็นแต่ คล้ำไป บางพวกก็พูดว่า ไม่ดำ ไม่คล้ำ เป็นแต่พร้อยไป. เรามีผิวพรรณบริสุทธิ์เปล่งปลั่ง แต่เสียผิวไป ก็เพราะเป็นผู้มีอาหารน้อยเท่านั้น. [๔๒๕] ดูกรอัคคิเวสสนะ เรามีความดำริว่า สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ในอดีต ในอนาคต หรือในปัจจุบันนี้ ที่เสวยทุกขเวทนากล้า หยาบ เผ็ดร้อน ที่เกิดขึ้นเพราะ ความเพียร ทุกขเวทนานั้น อย่างยิ่งก็เพียงเท่านี้ไม่เกินกว่านี้ขึ้นไป. แต่เราก็ยังมิได้บรรลุญาณ ทัสสนะอันวิเศษที่พอแก่พระอริยะซึ่งยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ ด้วยทุกกรกิริยาอันเผ็ดร้อนนี้. ชะรอย ทางแห่งความตรัสรู้พึงเป็นทางอื่นกระมัง. เราจึงมีความดำริว่า เราจำได้อยู่ เมื่อคราวงานของท้าว สักกาธิบดีซึ่งเป็นพระบิดา เรานั่งอยู่ใต้ร่มต้นหว้าอันเย็น ได้สงัดจากกามทั้งหลาย สงัดจาก อกุศลธรรมทั้งหลาย บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่วิเวกอยู่ ทางนั้น พึงเป็นทางแห่งความตรัสรู้กระมัง. เรามีวิญญาณตามระลึกด้วยสติว่า ทางนั้นเป็นทางแห่งความ ตรัสรู้. เราจึงมีความดำริว่า เรากลัวความสุขที่เว้นจากกามและอกุศลธรรมทั้งหลายหรือ แล้วเรา ก็ดำริต่อไปว่า เราไม่กลัวสุขเช่นนั้นเลย.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ บรรทัดที่ ๓๔๔๙-๗๘๓๐ หน้าที่ ๑๔๐-๓๒๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=12&A=3449&Z=7830&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=12&item=226&items=341              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=12&item=226&items=341&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=12&item=226&items=341              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=12&item=226&items=341              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=12&i=226              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_12

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :