ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๗ สังยุตตนิกาย สคาถวรรค
             [๖๘๙] สาวัตถีนิทาน ฯ
             ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาลคนหนึ่ง เป็นคนปอน นุ่งห่มปอน เข้าไป
เฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการ
ปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคได้
ตรัสกะพราหมณ์มหาศาลนั้น ผู้นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้วว่า ดูกรพราหมณ์
ทำไมท่านจึงเป็นคนปอน นุ่งห่มก็ปอน ฯ
             พราหมณ์มหาศาลกราบทูลว่า ข้าแต่ท่านพระโคดม พวกบุตรของข้า
พระองค์ ๔ คนในบ้านนี้คบคิดกับภรรยาแล้วขับข้าพระองค์ออกจากเรือน ฯ
             [๖๙๐] ดูกรพราหมณ์ ถ้าอย่างนั้น ท่านจงเรียนคาถานี้แล้ว เมื่อหมู่
มหาชนประชุมกันที่สภา และเมื่อพวกบุตรมาประชุมพร้อมแล้ว จงกล่าวว่า
                          เราชื่นชม และปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด บุตร
                          เหล่านั้นคบคิดกันกับภรรยารุมว่าเรา ดังสุนัขรุมเห่าสุกร เขา
                          ว่าพวกมันเป็นอสัตบุรุษลามก ร้องเรียกเราว่าพ่อๆ พวก
                          มันประดุจยักษ์แปลงเป็นบุตรมา ละทิ้งเราผู้ล่วงเข้าปัจฉิม
                          วัยไว้ ฯ
                          พวกมันกำจัดคนแก่ไม่มีสมบัติออกจากที่ (อาศัย) กิน ดังม้า
                          แก่ที่เจ้าของปล่อยทิ้งฉะนั้น ฯ
                          บิดาของบุตรพาลเป็นผู้เฒ่าต้องขอในเรือนผู้อื่นได้ยินว่าไม้เท้า
                          ของเรายังจะดีกว่า พวกบุตรที่ไม่เชื่อฟังจะดีอะไร เพราะ
                          ไม้เท้ายังป้องกันโคหรือสุนัขดุได้ ในที่มืดยังใช้ยันไปข้าง
                          หน้าได้ ในที่ลึกยังใช้หยั่งดูได้ พลาดแล้วยังยั้งอยู่ได้ด้วย
                          อานุภาพไม้เท้า ฯ
             [๖๙๑] ครั้งนั้นแล พราหมณ์มหาศาลนั้นเรียนคาถานี้ในสำนักพระผู้
พระภาคแล้ว เมื่อหมู่มหาชนประชุมกันในสภา และเมื่อพวกบุตรมาประชุมแล้ว
จึงได้กล่าวว่า
                          เราชื่นชมและปรารถนาความเจริญแก่บุตรเหล่าใด บุตรเหล่า
                          นั้น คบคิดกันกับภรรยารุมว่าเรา ดังสุนัขรุมเห่าสุกร เขาว่า
                          พวกมันเป็นอสัตบุรุษลามก ร้องเรียกเราว่าพ่อๆ พวกมัน
                          ประดุจยักษ์แปลงเป็นบุตรมา ละทิ้งเราผู้ล่วงเข้าปัจฉิมวัยไว้ ฯ
                          พวกมันกำจัดคนแก่ไม่มีสมบัติออกจากที่ (อาศัย) กินดัง
                          ม้าแก่ที่เจ้าของปล่อยทิ้งฉะนั้น ฯ
                          บิดาของบุตรพาลเป็นผู้เฒ่าต้องขอในเรือนผู้อื่น ได้ยินว่าไม้เท้า
                          ของเรายังจะดีกว่า พวกบุตรที่ไม่เชื่อฟังจะดีอะไร เพราะไม้เท้า
                          ยังป้องกันโคหรือสุนัขดุได้ ในที่มืดยังใช้ยันไปข้างหน้าได้ ใน
                          ที่ลึกยังใช้หยั่งดูได้ พลาดแล้วยังยั้งอยู่ได้ด้วยอานุภาพ
                          ไม้เท้า ฯ
             [๖๙๒] ลำดับนั้น พวกบุตรนำพราหมณ์มหาศาลนั้นไปยังเรือน
ให้อาบน้ำแล้วให้นุ่งห่มผ้าคู่หนึ่งๆ ทุกๆ คน ฯ
             พราหมณ์มหาศาลนั้น ถือผ้าคู่หนึ่งไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคยังที่ประทับ
สนทนาปราศรัยกับพระผู้มีพระภาค แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้วได้กราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคว่า ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าชื่อว่าเป็นพราหมณ์ ย่อมแสวง
หาทรัพย์สำหรับอาจารย์มาให้อาจารย์ ขอท่านพระโคดมผู้เป็นอาจารย์ของข้าพเจ้า
จงรับส่วนของอาจารย์เถิด ฯ
             พระผู้มีพระภาคทรงรับด้วยความอนุเคราะห์ ฯ
             [๖๙๓] ครั้งนั้น พราหมณ์มหาศาลนั้น ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่ท่านพระโคดม ภาษิต
ของพระองค์แจ่มแจ้งนัก พระองค์ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยาย ดุจหงาย
ภาชนะที่คว่ำ เปิดของที่ปิดไว้ บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืดด้วย
หวังว่าคนมีจักษุจักมองเห็นรูปได้ ข้าแต่ท่านพระโคดม ข้าพระองค์ขอถึงพระผู้มี
พระภาค กับพระธรรมและพระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระองค์จงทรงจำข้า-
*พระองค์ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต ตั้งแต่วันนี้
เป็นต้นไป ฯ
มานัตถัทธสูตรที่ ๕


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ บรรทัดที่ ๕๖๘๘-๕๗๔๐ หน้าที่ ๒๔๕-๒๔๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=15&A=5688&Z=5740&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=15&item=689&items=5&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=15&item=689&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=15&item=689&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=15&item=689&items=5&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=15&i=689              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๕ http://84000.org/tipitaka/read/?index_15

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :