ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๙ สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค
๑๐. ขันธสูตร
ว่าด้วยอุปกิเลสแห่งจิต
[๕๐๗] พระนครสาวัตถี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในรูป นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในเวทนา นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในสัญญา นี้เป็นกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความ พอใจในสังขาร นี้เป็นอุปกิเลสแห่งจิต ความกำหนัดด้วยอำนาจความพอใจในวิญญาณ นี้เป็น อุปกิเลสแห่งจิต. ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใดแล ภิกษุละอุปกิเลสแห่งจิตในฐานะ ๖ นี้ได้ เมื่อ นั้นแล จิตของเธอย่อมเป็นจิตน้อมไปในเนกขัมมะ อันเนกขัมมะอบรมแล้ว ควรแก่การงาน ปรากฏในธรรมที่พึงทำให้แจ้งด้วยอภิญญา.
จบ สูตรที่ ๑๐.
จบ กิเลสสังยุต.
-----------------------------------------------------
รวมพระสูตรที่มีในสังยุตนี้ คือ
๑. จักขุสูตร ๖. สัญญาสูตร ๒. รูปสูตร ๗. เจตนาสูตร ๓. วิญญาณสูตร ๘. ตัณหาสูตร ๔. ผัสสสูตร ๙. ธาตุสูตร ๕. เวทนาสูตร ๑๐. ขันธสูตร
-----------------------------------------------------
๗. สารีปุตตสังยุต
๑. วิเวกสูตร
ว่าด้วยปฐมฌาน
[๕๐๘] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถ- *บิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี. ครั้งนั้น เป็นเวลาเช้า ท่านพระสารีบุตรนุ่งแล้ว ถือบาตร และจีวร เข้าไปสู่พระนครสาวัตถีเพื่อบิณฑบาต ครั้นเที่ยวบิณฑบาตในพระนครสาวัตถีแล้ว กลับจากบิณฑบาตภายหลังภัต เข้าไปยังป่าอันธวัน เพื่อพักกลางวัน ถึงป่าอันธวันแล้ว นั่ง พักกลางวัน ณ โคนไม้แห่งหนึ่ง. ครั้งนั้นเป็นเวลาเย็น ท่านพระสารีบุตรออกจากที่พักผ่อนแล้ว เข้าไปยังพระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี. ท่านพระอานนท์ได้เห็นท่านพระ สารีบุตรว่า อาวุโสสารีบุตร อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านหมดจด ผ่องใส วันนี้ ท่านพระสารีบุตรอยู่ด้วยวิหารธรรมอะไร? ท่านพระสารีบุตรตอบว่า อาวุโส ดังเราจะบอก เราสงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม เข้าปฐมฌาน มีวิตกวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่. อาวุโส เรานั้นไม่ได้คิดอย่างนี้ว่า เรา เข้าปฐมฌานอยู่ หรือว่าเข้าปฐมฌานแล้ว หรือว่าออกจากปฐมฌานแล้ว. แท้จริง ท่านพระสารี- *บุตรถอนทิฏฐิคืออหังการ ตัณหาคือมมังการ และอนุสัยคือมานะออกได้นานแล้ว ฉะนั้น ท่าน พระสารีบุตรจึงไม่คิดอย่างนี้ว่า เราเข้าปฐมฌานอยู่ หรือว่าเข้าปฐมฌานแล้ว หรือว่าออกจาก ปฐมฌานแล้ว.
จบ สูตรที่ ๑.


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ บรรทัดที่ ๕๙๕๔-๕๙๙๐ หน้าที่ ๒๖๒-๒๖๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=17&A=5954&Z=5990&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=17&item=507&items=2              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=17&item=507&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=17&item=507&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=17&item=507&items=2              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=17&i=507              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_17

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :