ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
อันธการีสูตร
ผู้รู้ตามเป็นจริงไม่ตกไปสู่ที่มืด
[๑๗๓๙] ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกันตนรกมีแต่ความทุกข์ มืดคลุ้มมัวเป็นหมอก สัตว์ในโลกันตนรกนั้น ไม่ได้รับรัศมีพระจันทร์และพระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนี้. [๑๗๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ภิกษุรูปหนึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมืดนั้นมาก ความมืดนั้นมากแท้ๆ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่า และน่ากลัวกว่าความมืดนี้ มีอยู่หรือ? พ. ดูกรภิกษุ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้มีอยู่. ภิ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ความมืดอย่างอื่นที่มากกว่าและน่ากลัวกว่าความมืดนี้ เป็นไฉน. [๑๗๔๑] พ. ดูกรภิกษุ ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมไม่รู้ชัดตาม ความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อม ยินดีในสังขารทั้งหลาย ซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ยินดีแล้วย่อมปรุงแต่ง ครั้นปรุงแต่ง แล้ว ย่อมตกไปสู่ความมืดคือความเกิด ... และความคับแค้นใจ เรากล่าวว่า สมณะหรือ พราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่พ้นไปจากความเกิด ... ความคับแค้นใจ ย่อมไม่พ้นไปจากทุกข์. [๑๗๔๒] ดูกรภิกษุ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตามความ เป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นย่อมไม่ยินดี ในสังขารทั้งหลายซึ่งเป็นไปเพื่อความเกิด ฯลฯ ไม่ยินดีแล้ว ย่อมไม่ปรุงแต่ง ครั้นไม่ปรุงแต่ง แล้ว ย่อมไม่ตกไปสู่ความมืดคือความเกิดบ้าง ... และความคับแค้นบ้าง เรากล่าวว่า สมณะ หรือพราหมณ์เหล่านั้น ย่อมพ้นไปจากความเกิด ... และความคับแค้นใจ ย่อมพ้นไปจากความทุกข์ ดูกรภิกษุ เพราะฉะนั้นแหละ เธอพึงกระทำความเพียรเพื่อรู้ตามความจริงว่า นี้ทุกข์ ฯลฯ นี้ ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา.
จบ สูตรที่ ๖


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ บรรทัดที่ ๑๐๖๗๖-๑๐๖๙๘ หน้าที่ ๔๔๖-๔๔๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=19&A=10676&Z=10698&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=19&item=1739&items=4              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=19&item=1739&items=4&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=19&item=1739&items=4              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=19&item=1739&items=4              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=19&i=1739              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๑๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_19

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :