ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ พระวินัยปิฎกเล่มที่ ๒ มหาวิภังค์ ภาค ๒
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๕
[๘๗๘] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของ อนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พระฉัพพัคคีย์ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะ บ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ ชาวบ้านพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉน พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร จึงได้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ เหมือนพวกคฤหัสถ์ผู้บริโภคกามเล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านพวกนั้นพากันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย ... ต่างก็เพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระฉัพพัคคีย์ จึงได้ถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำเล่า แล้วกราบทูลเรื่องนั้น แด่พระผู้มีพระภาค.
ทรงสอบถาม
พระผู้มีพระภาคทรงสอบถามพระฉัพพัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ข่าวว่า พวกเธอถ่าย อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ จริงหรือ? พระฉัพพัคคีย์ทูลรับว่า จริง พระพุทธเจ้าข้า.
ทรงติเตียนแล้วบัญญัติสิกขาบท
พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าทรงติเตียนว่า ดูกรโมฆบุรุษทั้งหลาย ไฉนพวกเธอจึงได้ถ่าย อุจจาระบ้าง ถ่ายปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำเล่า การกระทำของพวกเธอนั่น ไม่ เป็นไปเพื่อความเลื่อมใสของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใส แล้ว ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระบัญญัติ
๒๒๐. ๗๕. ก. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราจักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ในน้ำ. ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้วแก่ภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการ ฉะนี้. [๘๗๙] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุอาพาธทั้งหลาย รังเกียจอยู่ที่จะถ่ายอุจจาระบ้าง ถ่าย ปัสสาวะบ้าง บ้วนเขฬะบ้าง ลงในน้ำ จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาค. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคทรงทำธรรมีกถา ในเพราะเหตุเป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุ แรกเกิดนั้น แล้วรับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราอนุญาตให้ภิกษุผู้อาพาธ ถ่ายอุจจาระก็ดี ถ่ายปัสสาวะก็ดี บ้วนเขฬะก็ดี ลงในน้ำได้. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ ว่าดังนี้:-
พระอนุบัญญัติ
๒๒๐. ๗๕. ข. ภิกษุพึงทำความศึกษาว่า เราไม่อาพาธ จักไม่ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ในน้ำ.
สิกขาบทวิภังค์
อันภิกษุมิใช่ผู้อาพาธ ไม่พึงถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงในน้ำ ภิกษุใด อาศัยความไม่เอื้อเฟื้อ มิใช่ผู้อาพาธ ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ หรือบ้วนเขฬะ ลงในน้ำ ต้องอาบัติ ทุกกฏ.
อนาปัตติวาร
ไม่แกล้ง ๑ เผลอ ๑ ไม่รู้ตัว ๑ อาพาธ ๑ ของที่ถ่ายไว้บนบกแล้วไหลลงสู่น้ำ ๑ มีอันตราย ๑ วิกลจริต ๑ อาทิกัมมิกะ ๑ ไม่ต้องอาบัติแล.
ปาทุกาวรรค สิกขาบทที่ ๑๕ จบ.
วรรคที่ ๗ จบ.
ปกิณกะ ๓ สิกขาบท จบ.
-----------------------------------------------------
บทสรุป
ท่านทั้งหลาย ธรรมคือเสขิยะ ข้าพเจ้ายกขึ้นแสดงแล้วแล ข้าพเจ้าขอถามท่านทั้งหลาย ในธรรมคือเสขิยะเหล่านั้นว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่ สองว่า ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ? ข้าพเจ้าขอถามแม้ครั้งที่สามว่า ท่านทั้งหลายเป็น ผู้บริสุทธิ์แล้วหรือ? ท่านทั้งหลายเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ในธรรมคือเสขิยะเหล่านี้ เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยอย่างนี้แล.
เสขิยกัณฑ์ จบ.
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๖๓๔๑-๑๖๓๙๒ หน้าที่ ๗๑๒-๗๑๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=16341&Z=16392&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=2&item=878&items=2              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=2&item=878&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=2&item=878&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=2&item=878&items=2              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=2&i=878              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_2

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :