ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             [๓๗๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึง
อ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเถิด ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสารีบุตรและภิกษุโมคคัลลานะนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุ
สาวกของเรา ฯ
             [๓๗๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย นางภิกษุณีผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ
พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นภิกษุณีเขมาและอุบลวัณณาเถิด ดูกรภิกษุ-
*ทั้งหลาย ภิกษุณีเขมาและภิกษุณีอุบลวัณณานี้ เป็นตราชูมาตรฐานของภิกษุณีสาวิกา
ของเรา ฯ
             [๓๗๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสกผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ
พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นจิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมือง

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙๙.

อาฬวีเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย จิตตคฤหบดีและหัตถกอุบาสกชาวเมืองอาฬวีนี้ เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสกสาวกของเราแล ฯ [๓๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาผู้มีศรัทธา เมื่ออ้อนวอนโดยชอบ พึงอ้อนวอนอย่างนี้ว่า ขอเราจงเป็นเช่นอุบาสิกาขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันท- *มารดาเถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย อุบาสิกาขุชชุตตราและนางเวฬุกัณฏกีนันทมารดา เป็นตราชูมาตรฐานของอุบาสิกาสาวิกาของเรา ฯ [๓๗๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบ ด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็น ไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมาก ธรรม ๒ อย่าง เป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูดสรรเสริญคุณของคนที่ควรติเตียน ๑ ไม่พิจารณาไตร่ตรองพูดติโทษของคนที่ควรสรรเสริญ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัต- *บุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตน ให้ถูกกำจัดถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบ บาปเป็นอันมากอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกจำกัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ พิจารณาไตร่ตรองแล้วพูดติเตียนคนที่ควรติเตียน ๑ พิจารณาไตร่ตรองแล้วพูดสรรเสริญคนที่ควรสรรเสริญ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตน ไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ฯ [๓๘๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ประกอบ ด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนให้ถูกจำกัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็น ไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ ไม่พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดเลื่อมใสในฐานะอันไม่เป็น

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๐.

ที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ไม่พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดไม่เลื่อมใสในฐานะ อันเป็นที่ตั้งแห่งความเลื่อมใส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่ เฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมาก อีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาดเฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการ ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ธรรม ๒ ประการเป็นไฉน คือ พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดไม่เลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความไม่ เลื่อมใส ๑ พิจารณาไตร่ตรองแล้ว เกิดเลื่อมใสในฐานะอันเป็นที่ตั้งแห่งความ เลื่อมใส ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาดเฉียบแหลม ประกอบด้วยธรรม ๒ ประการนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกจำกัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ฯ [๓๘๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติ ผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็น ไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็น อันมากอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบใน บุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มี โทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวก เป็นไฉน คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูก ทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๑.

[๓๘๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติ ผิดในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนให้ถูกกำจัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็น ไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคต ๑ สาวกของพระตถาคต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสัตบุรุษผู้เขลา ไม่เฉียบแหลม ปฏิบัติผิดในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหาร ตนให้ถูกจำกัด ให้ถูกทำลาย เขาย่อมเป็นไปกับด้วยโทษ ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ ประสบบาปเป็นอันมากอีกด้วย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาดเฉียบแหลม ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวก ย่อมบริหารตนไม่ให้ถูกกำจัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย บุคคล ๒ จำพวกเป็นไฉน คือ พระตถาคต ๑ สาวกของพระตถาคต ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัตบุรุษผู้ฉลาด เฉียบแหลม ปฏิบัติชอบในบุคคล ๒ จำพวกนี้แล ย่อมบริหาร ตนไม่ให้ถูกจำกัด ไม่ให้ถูกทำลาย เขาย่อมไม่มีโทษ ไม่ถูกผู้รู้ติเตียน ทั้งได้ ประสบบุญเป็นอันมากอีกด้วย ฯ [๓๘๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การชำระจิตของตนให้ผ่องแผ้ว ๑ การไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ๑ ดูกรภิกษุ- *ทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๘๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความโกรธ ๑ ความผูกโกรธ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๓๘๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ การกำจัดความโกรธ ๑ การกำจัดความผูกโกรธ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ
จบอายาจนวรรคที่ ๒


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๒๒๙๕-๒๓๗๕ หน้าที่ ๙๘-๑๐๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=2295&Z=2375&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=375&items=11&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=375&items=11&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=375&items=11&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=20&item=375&items=11&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=375              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :