ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๒ อังคุตตรนิกาย เอก-ทุก-ติกนิบาต
             [๔๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
ความเป็นผู้ฉลาดในสมาบัติ ๑ ความเป็นผู้ฉลาดในการออกจากสมาบัติ ๑ ดูกร-
*ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ
             [๔๐๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
ความเป็นผู้ซื่อตรง ๑ ความเป็นผู้อ่อนโยน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง
นี้แล ฯ
             [๔๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
ขันติ ๑ โสรัจจะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ
             [๔๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน ๑ การต้อนรับแขก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒
อย่างนี้แล ฯ
             [๔๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ
ความไม่เบียดเบียน ๑ ความเป็นคนสะอาด ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง
นี้แล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๖.

[๔๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ไม่คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้ไม่รู้จักประมาณใน การบริโภค ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๑๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ๑ ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการ บริโภค ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๑๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ กำลังคือการพิจารณา ๑ กำลังคือการอบรม ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง นี้แล ฯ [๔๑๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ กำลังคือสติ ๑ กำลังคือสมาธิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๑๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สมถะ ๑ วิปัสสนา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ศีลวิบัติ ๑ ทิฐิวิบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ศีลสมบัติ ๑ ทิฐิสมบัติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ศีลบริสุทธิ์ ๑ ทิฐิบริสุทธิ์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ [๔๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ทิฐิบริสุทธิ์ ๑ ความเพียรที่สมควรแก่ทิฐิ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง นี้แล ฯ [๔๒๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้ยังไม่พอในกุศลธรรม ๑ ความเป็นผู้ไม่ท้อถอยในความเพียร ๑ ดูกร- *ภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๑๐๗.

[๔๒๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นคนหลงลืมสติ ๑ ความไม่รู้สึกตัว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่าง นี้แล ฯ [๔๒๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ สติ ๑ สัมปชัญญะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ
จบสมาปัตติวรรคที่ ๕
จบตติยปัณณาสก์
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ บรรทัดที่ ๒๔๖๑-๒๕๐๗ หน้าที่ ๑๐๕-๑๐๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=20&A=2461&Z=2507&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=408&items=17&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=20&item=408&items=17&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=20&item=408&items=17&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=20&item=408&items=17&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=408              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๐ http://84000.org/tipitaka/read/?index_20

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :