ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต
             [๑๖๘] ครั้งนั้นแล ท่านพระมหาโมคคัลลานะเข้าไปหาท่านพระสารีบุตร
ถึงที่อยู่ ได้ปราศรัยกับท่านพระสารีบุตร ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระสารีบุตรว่า ดูกร
ท่านผู้มีอายุสารีบุตร ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ... ดูกรท่านผู้มีอายุ บรรดา
ปฏิปทา ๔ ประการนี้ จิตของท่านหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่น
ด้วยอุปาทาน เพราะอาศัยปฏิปทาข้อไหน ท่านพระสารีบุตรตอบว่า ดูกรท่านผู้มี
อายุโมคคัลลานะ ปฏิปทา ๔ ประการนี้ ... ดูกรท่านผู้มีอายุ บรรดาปฏิปทา
๔ ประการนี้ จิตของผมหลุดพ้นแล้วจากอาสวะทั้งหลาย ไม่ถือมั่นด้วยอุปาทาน
เพราะอาศัยสุขาปฏิปทาขิปปาภิญญา ฯ
             [๑๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคล ๔ จำพวกนี้มีปรากฏอยู่ในโลก
๔ จำพวกเป็นไฉน คือ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นสสังขารปรินิพพายี
จะปรินิพพานด้วยต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรงในปัจจุบันเทียว บางคนเมื่อกายแตก
จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี บางคนเป็นอสังขารปรินิพพายี จะปรินิพพานด้วย
ไม่ต้องใช้ความเพียรเรี่ยวแรงในปัจจุบัน บางคนเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขาร
ปรินิพพายี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม มีความสำคัญในอาหารว่าปฏิกูล
มีความสำคัญในโลกทั้งปวงว่าไม่น่ายินดี พิจารณาเห็นในสังขารทั้งปวงว่าไม่เที่ยง
และมรณสัญญาของเธอตั้งอยู่ดีแล้วในภายใน เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระ-
*เสขะ ๕ ประการนี้อยู่ คือ ศรัทธา หิริ โอตตัปปะ วิริยะ ปัญญา ทั้งอินทรีย์
๕ ประการนี้ คือ สัทธินทรีย์ วิริยินทรีย์ สตินทรีย์ สมาธินทรีย์ ปัญญินทรีย์
ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า เธอย่อมเป็นสสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันเทียว เพราะ
อินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุคคลเป็นสสังขารปรินิพพายี
ในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นในกายว่าไม่งาม ฯลฯ อินทรีย์ ๕ ประการ
คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ... ของเธอปรากฏว่าอ่อน เธอเมื่อกายแตก
จึงเป็นสสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นสสังขารปรินิพพายีอย่างนี้แล ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน เธออาศัยธรรมเป็นกำลังของพระ-
*เสขะ ๕ ประการนี้ คือ ศรัทธา ... ปัญญา อินทรีย์ ๕ ประการนี้ คือ
สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าแก่กล้า เธอเป็นอสังขาร
ปรินิพพายีในปัจจุบัน เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้แก่กล้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเป็นอสังขารปรินิพพายีในปัจจุบันอย่างนี้แล ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายีอย่างไร
ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม ฯลฯ บรรลุปฐมฌาน ฯลฯ บรรลุทุติยฌาน
ฯลฯ บรรลุตติยฌาน ฯลฯ บรรลุจตุตถฌาน ฯลฯ แต่อินทรีย์ ๕ ประการนี้
คือ สัทธินทรีย์ ... ปัญญินทรีย์ ของเธอปรากฏว่าอ่อน เธอเมื่อกายแตก
จึงเป็นอสังขารปรินิพพายี เพราะอินทรีย์ ๕ ประการนี้อ่อน ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคลเมื่อกายแตกจึงเป็นอสังขารปรินิพพายี อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย
บุคคล ๔ จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก ฯ
             [๑๗๐] สมัยหนึ่ง ท่านพระอานนท์อยู่ ณ โฆสิตาราม ใกล้เมือง-
*โกสัมพี ณ ที่นั้นแล ท่านพระอานนท์เรียกภิกษุทั้งหลายว่า อาวุโสภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระอานนท์แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กล่าวว่า ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่งเป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุ
อรหัตในสำนักของเราด้วยมรรค ๔ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง
ในบรรดามรรค ๔ ประการนี้ มรรค ๔ เป็นไฉน ภิกษุในธรรมวินัยนี้
เจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอเจริญวิปัสสนามีสมถะเป็นเบื้องหน้า
มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ
เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อม-
*สิ้นสุด ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า เมื่อเธอ
เจริญสมถะมีวิปัสสนาเป็นเบื้องหน้า มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ ย่อมเจริญ
ย่อมกระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น
ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
             อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมเจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป เมื่อเธอ
เจริญสมถะและวิปัสสนาควบคู่กันไป มรรคย่อมเกิด เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละ
สังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ฯ
             อีกประการหนึ่ง ใจของภิกษุปราศจากอุทธัจจะในธรรม สมัยนั้น จิตนั้น
ย่อมตั้งมั่น สงบ ณ ภายใน เป็นจิตเกิดดวงเดียว ตั้งมั่นอยู่ มรรคย่อมเกิดขึ้นแก่เธอ
เธอย่อมเสพ เจริญ กระทำให้มากซึ่งมรรคนั้น เมื่อเธอเสพ เจริญ กระทำ
ให้มากซึ่งมรรคนั้น ย่อมละสังโยชน์ทั้งหลายได้ อนุสัยย่อมสิ้นสุด ดูกรอาวุโส
ทั้งหลาย บุคคลผู้ใดผู้หนึ่ง เป็นภิกษุหรือภิกษุณีก็ตาม ย่อมพยากรณ์การบรรลุอรหัต
ในสำนักของเรา ด้วยมรรค ๔ ประการนี้ โดยประการทั้งปวง หรืออย่างใด
อย่างหนึ่ง บรรดามรรค ๔ ประการนี้ ฯ
จบปฏิปทาวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ บรรทัดที่ ๔๒๓๑-๔๒๙๙ หน้าที่ ๑๘๒-๑๘๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=21&A=4231&Z=4299&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=21&item=168&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=21&item=168&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=21&item=168&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=21&item=168&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=21&i=168              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_21

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :