ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต

หน้าที่ ๓๐๗.

๕. อนุตัปปิยสูตร
[๒๘๖] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมเดือดร้อน ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการ อยู่ ตายแล้วย่อมเดือดร้อนเป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ชอบการงาน ยินดีการงาน ขวนขวายความชอบการงาน ชอบการคุย ... ชอบความหลับ ... ชอบ ความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ... ชอบความคลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ... ชอบธรรมที่เป็น เหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุ ให้เนิ่นช้า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอ สำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมเดือดร้อนอย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีสักกายะ ไม่ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์โดยชอบ ฯ ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จ การอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน ก็ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อ เธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือดร้อน เป็นอย่างไร คือ ภิกษุในธรรมวินัย นี้ ไม่ชอบการงาน ไม่ยินดีการงาน ไม่ขวนขวายความชอบการงาน ไม่ชอบการ คุย ... ไม่ชอบความหลับ ... ไม่ชอบความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ... ไม่ชอบความ คลุกคลีด้วยคฤหัสถ์ ไม่ชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไม่ยินดีธรรมที่เป็นเหตุให้ เนิ่นช้า ไม่ขวนขวายความชอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ดูกรอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุย่อมสำเร็จการอยู่ โดยประการที่เมื่อเธอสำเร็จการอยู่ ตายแล้วย่อมไม่เดือด ร้อนอย่างนี้แล ภิกษุนี้เรียกว่า ผู้ยินดีนิพพาน ละสักกายะเพื่อทำที่สุดทุกข์ โดยชอบ ฯ ครั้นท่านพระสารีบุตรได้กล่าวไวยากรณภาษิตนี้จบลงแล้ว จึงได้กล่าว คาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า ฯ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๓๐๘.

ผู้ใดประกอบธรรมที่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ยินดีธรรมที่เป็นเหตุ ให้เนิ่นช้า เช่นดังเนื้อ ผู้นั้นย่อมไม่ได้ชมนิพพานที่เกษมจาก โยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ส่วนผู้ใดละธรรมที่เป็นเหตุให้ เนิ่นช้า ยินดีในบทคือธรรมที่ไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ผู้นั้น ย่อมได้ชมนิพพานที่เกษมจากโยคะ หาธรรมอื่นยิ่งกว่ามิได้ ฯ
จบสูตรที่ ๕


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ บรรทัดที่ ๖๙๘๐-๗๐๐๘ หน้าที่ ๓๐๗-๓๐๘. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=22&A=6980&Z=7008&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=22&item=286&items=1&pagebreak=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=22&item=286&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=22&item=286&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=22&item=286&items=1&pagebreak=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=22&i=286              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ http://84000.org/tipitaka/read/?index_22

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :