ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
อธรรมสูตรที่ ๓
[๑๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคล ควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์ บุคคลควรทราบ ครั้น ทราบสิ่งที่ไม่เป็นธรรม สิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่เป็น ประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่เป็นธรรมเป็นไฉน สิ่งที่ไม่เป็น ประโยชน์เป็นไฉน และสิ่งที่เป็นประโยชน์เป็นไฉน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การฆ่าสัตว์เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่องงดเว้น จากการฆ่าสัตว์เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้น เพราะการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึงความเจริญเต็มที่ เพราะเจตนาเครื่องงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เป็นปัจจัย นี้ เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การลักทรัพย์เป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่องงด เว้นจากการลักทรัพย์เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การประพฤติผิดในกามเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนา เครื่องงดเว้นจากการประพฤติผิดในกามเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การพูดเท็จเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่องงดเว้น จากการพูดเท็จเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การพูดส่อเสียดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่อง งดเว้นจากการพูดส่อเสียดเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การพูดคำหยาบเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่อง งดเว้นจากการพูดคำหยาบเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การพูดเพ้อเจ้อเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม เจตนาเครื่อง งดเว้นจากการพูดเพ้อเจ้อเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การอยากได้ของผู้อื่นเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม การไม่ อยากได้ของผู้อื่นเป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความปองร้ายเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความไม่ปองร้าย เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ... ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความเห็นผิดเป็นสิ่งที่ไม่เป็นธรรม ความเห็นชอบ เป็นสิ่งที่เป็นธรรม ส่วนอกุศลธรรมอันลามกมิใช่น้อย ที่เกิดขึ้นเพราะความเห็น ผิดเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ ส่วนกุศลธรรมมิใช่น้อย ย่อมถึง ความเจริญเต็มที่ เพราะความเห็นชอบเป็นปัจจัย นี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สิ่งที่ไม่เป็นธรรมและสิ่งที่เป็นธรรมบุคคลควรทราบ สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์และสิ่งที่เป็นประโยชน์บุคคลควรทราบ ครั้นทราบสิ่งที่ไม่ เป็นธรรม สิ่งที่เป็นธรรม สิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และสิ่งที่เป็นประโยชน์แล้ว พึงปฏิบัติตามสิ่งที่เป็นธรรม ตามสิ่งที่เป็นประโยชน์ คำที่เรากล่าวดังนี้ เรากล่าว แล้วเพราะอาศัยข้อนี้ ฯ
จบสูตรที่ ๗
ติวิธสูตร
[๑๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวแม้ซึ่งการฆ่าสัตว์ว่า มี ๓ อย่าง คือมีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ ซึ่งการลักทรัพย์ว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ซึ่งการประพฤติผิดในกามว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ซึ่งการ พูดเท็จว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะ เป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ซึ่งการพูดส่อเสียดว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุ บ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ซึ่งการพูดคำหยาบ ว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ซึ่งการพูดเพ้อเจ้อว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็น เหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ซึ่งการอยากได้ของผู้อื่นว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ ซึ่งความปองร้ายว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มี โมหะเป็นเหตุบ้าง เรากล่าวแม้ซึ่งความเห็นผิดว่ามี ๓ อย่าง คือ มีโลภะเป็น เป็นเหตุบ้าง มีโทสะเป็นเหตุบ้าง มีโมหะเป็นเหตุบ้าง ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลภะ เป็นแดนเกิดแห่งเหตุของกรรม โทสะเป็นแดนเกิดแห่งเหตุของกรรม โมหะเป็น แดนเกิดแห่งเหตุของกรรม ความสิ้นไปแห่งเหตุของกรรม ย่อมมีได้เพราะความ สิ้นไปแห่งโลภะ ความสิ้นไปแห่งเหตุของกรรม ย่อมมีได้เพราะความสิ้นไปแห่ง โทสะ ความสิ้นไปแห่งเหตุของกรรม ย่อมมีได้เพราะความสิ้นไปแห่งโมหะ ด้วยประการดังนี้แล ฯ
จบสูตรที่ ๘


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๖๑๙๙-๖๒๕๘ หน้าที่ ๒๖๘-๒๗๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=6199&Z=6258&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=24&item=162&items=2              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=24&item=162&items=2&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=162&items=2              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=24&item=162&items=2              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=162              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_24

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :