ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
             [๔๗] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฏาคารศาลาป่ามหาวัน
ใกล้นครเวสาลี ครั้งนั้นแล กษัตริย์ลิจฉวีพระนามว่ามหาลี ได้เสด็จเข้าไปเฝ้า
พระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว ประทับนั่ง ณ
ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
อะไรหนอแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำบาปกรรม แห่งความเป็นไปแห่ง
บาปกรรม พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า ดูกรมหาลี โลภะแลเป็นเหตุเป็นปัจจัย
แห่งการทำบาปกรรม แห่งความเป็นไปแห่งบาปกรรม ดูกรมหาลี โทสะแล ...
โมหะแล ... อโยนิโสมนสิการแล ... ดูกรมหาลี จิตอันบุคคลตั้งไว้ผิดแล
เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำบาปกรรม แห่งความเป็นไปแห่งบาปกรรม ดูกร
มหาลี กิเลสมีโลภะเป็นต้นนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำบาปกรรม
แห่งความเป็นไปแห่งบาปกรรม ฯ
             ม. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็อะไรเป็นเหตุเป็นปัจจัย แห่งการทำ
กัลยาณกรรม แห่งความเป็นไปแห่งกัลยาณกรรม ฯ
             พ. ดูกรมหาลี อโลภะแลเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำกัลยาณกรรม
แห่งความเป็นไปแห่งกัลยาณกรรม ดูกรมหาลี อโทสะแล ... อโมหะแล ...
โยนิโสมนสิการแล ... ดูกรมหาลี จิตอันบุคคลตั้งไว้ชอบแล เป็นเหตุเป็น
ปัจจัยแห่งการทำกัลยาณกรรม แห่งความเป็นไปแห่งกัลยาณกรรม ดูกรมหาลี
ธรรมมีอโลภะเป็นต้นนี้แล เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งการทำกัลยาณธรรม แห่งความ
เป็นไปแห่งกัลยาณธรรม ดูกรมหาลี ถ้าธรรม ๑๐ ประการนี้แลไม่พึงมีในโลก
ชื่อว่าความประพฤติไม่สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติอธรรม หรือความประพฤติ

--------------------------------------------------------------------------------------------- หน้าที่ ๙๑.

สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติธรรม ก็จะไม่พึงปรากฏในโลกนี้ ดูกรมหาลี ก็เพราะธรรม ๑๐ ประการนี้มีพร้อมอยู่ในโลก ฉะนั้น ชื่อว่าความประพฤติไม่ สม่ำเสมอ คือ ความประพฤติอธรรม หรือความประพฤติสม่ำเสมอ คือ ความประพฤติธรรม จึงปรากฏ (ในโลกนี้) ฯ
จบสูตรที่ ๗
อภิณหปัจจเวกขณธรรมสูตร


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๒๐๘๕-๒๑๑๐ หน้าที่ ๙๐-๙๑. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=2085&Z=2110&pagebreak=1 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=24&item=47&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=24&item=47&items=1&pagebreak=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=47&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=24&item=47&items=1&pagebreak=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=47              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_24

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วไม่แสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :