ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๖ อังคุตตรนิกาย ทสก-เอกาทสกนิบาต
             [๕๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย หากว่าภิกษุไม่เป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของผู้อื่น
เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุนั้นพึงศึกษาว่า เราจักเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตน ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แล ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ฉลาดในวาระจิตของตนอย่างไร ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เปรียบเหมือนสตรีหรือบุรุษที่เป็นหนุ่มสาว มีปรกติชอบแต่งตัว ส่อง
ดูเงาหน้าของตนในคันฉ่องอันบริสุทธิ์หมดจด หรือในภาชนะน้ำอันใส ถ้าเห็น
ธุลีหรือจุดดำที่หน้านั้น ก็ย่อมพยายามกำจัดธุลีหรือจุดดำนั้นเสีย ถ้าไม่เห็นธุลี
หรือจุดดำที่หน้านั้น ย่อมดีใจ มีความดำริอันบริบูรณ์ด้วยเหตุนั้นแลว่า เป็นลาภ
ของเราหนอ หน้าของเราบริสุทธิ์แล้วหนอ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย การ
พิจารณาของภิกษุว่า เราเป็นผู้ได้ความสงบจิตภายในหรือหนอ หรือว่าไม่เป็นผู้ได้
ความสงบจิตภายใน เราเป็นผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งหรือหนอ หรือ
ว่าเราไม่เป็นผู้ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ ย่อมเป็นอุปการะ-
*มากในกุศลธรรมทั้งหลาย ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าว่าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราได้ความสงบ
จิตภายใน ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควร
ตั้งอยู่ในความสงบจิตภายในแล้ว พึงทำความเพียรในความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง สมัยต่อมา ภิกษุนั้นย่อมได้ความสงบจิตภายใน และได้ความเห็น
แจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ย่อมรู้อย่างนี้
ว่า เราได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ไม่ได้ความสงบจิตภายใน ดังนี้ไซร้
ภิกษุนั้นควรตั้งอยู่ในความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่งแล้ว พึงทำความเพียรใน
ความสงบจิตภายใน สมัยต่อมา ภิกษุนั้นย่อมได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญา
อันยิ่ง และได้ความสงบจิตภายใน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่
ย่อมรู้อย่างนี้ว่า เราไม่ได้ความสงบจิตภายใน ไม่ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วย
ปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ไซร้ ภิกษุนั้นควรทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ
ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้
ซึ่งกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นเทียว ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุคคลผู้มีผ้าถูกไฟไหม้หรือมีศีรษะ
ถูกไฟไหม้ พึงทำความพอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น
ความไม่ท้อถอย สติและสัมปชัญญะให้มีประมาณยิ่ง เพื่อดับไฟไหม้ผ้าหรือ
ไฟไหม้ศีรษะนั้นนั่นเทียว แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นควรทำความ
พอใจ ความพยายาม ความอุตสาหะ ความขะมักเขม้น ความไม่ท้อถอย
สติและสัมปชัญญะ ให้มีประมาณยิ่ง เพื่อได้ซึ่งกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นเทียว
ฉันนั้นเหมือนกันแล ฯ
             สมัยต่อมา ภิกษุนั้นย่อมได้ความสงบจิตภายใน และได้ความเห็นแจ้ง
ธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ถ้าภิกษุพิจารณาอยู่ ย่อมรู้อย่างนี้ว่า
เราได้ความสงบจิตภายใน ได้ความเห็นแจ้งธรรมด้วยปัญญาอันยิ่ง ดังนี้ไซร้ ภิกษุ
นั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมเหล่านั้นนั่นแหละ แล้วพึงทำความเพียรให้ยิ่งขึ้นไป
เพื่อความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้งหลาย ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวรโดยส่วนสอง คือ ที่ควร
เสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบิณฑบาตโดยส่วนสอง คือ ที่ควร
เสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งเสนาสนะโดยส่วนสอง คือ
ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบ้านและนิคมโดยส่วนสอง
คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งชนบทและประเทศโดย
ส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบุคคลโดย
ส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวรโดยส่วนสอง
คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ในจีวร ๒ อย่าง
นั้น จีวรชนิดใดภิกษุรู้ว่า เมื่อเราเสพจีวรนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศล-
*ธรรมย่อมเสื่อมไป จีวรเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ จีวรใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพจีวร
นี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง จีวรเห็นปานนี้ควรเสพ
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งจีวรโดยส่วนสอง คือ
ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบิณฑบาตโดย
ส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ในบิณฑบาต ๒ อย่างนั้น บิณฑบาตใด ภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบิณฑบาตนี้แล
อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บิณฑบาตเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ
บิณฑบาตใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบิณฑบาตนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป
กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บิณฑบาตเห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบิณฑบาตโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี
ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งเสนาสนะโดย
ส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว
ในเสนาสนะ ๒ อย่างนั้น เสนาสนะใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพเสนาสนะนี้แล
อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป เสนาสนะเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ
เสนาสนะใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพเสนาสนะนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป
กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง เสนาสนะเห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย
ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งเสนาสนะโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี
ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบ้านและนิคม
โดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าว
แล้ว ในบ้านและนิคมทั้ง ๒ อย่างนั้น บ้านและนิคมใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพ
บ้านและนิคมนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บ้านและ
นิคมเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ บ้านและนิคมใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบ้านและ
นิคมนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บ้านและนิคม
เห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่งบ้าน
และนิคมโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัย
ข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เรากล่าวแม้ซึ่งชนบทและประเทศ
โดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าว
แล้ว ในชนบทและประเทศทั้ง ๒ นั้น ชนบทและประเทศใด ภิกษุพึงรู้ว่า
เมื่อเราเสพชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง กุศลธรรมย่อม
เสื่อมไป ชนบทและประเทศเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ ชนบทและประเทศใด ภิกษุ
พึงรู้ว่า เมื่อเราเสพชนบทและประเทศนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรม
ย่อมเจริญยิ่ง ชนบทและประเทศเห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่
เรากล่าวว่า เรากล่าวแม้ซึ่งชนบทและประเทศโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี
ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้กล่าวแล้ว ฯ
             ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เรากล่าวแม้ซึ่งบุคคลโดยส่วนสอง
คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว ในบุคคล
ทั้ง ๒ นั้น บุคคลใดภิกษุพึงรู้ว่า เมื่อเราเสพบุคคลนี้แล อกุศลธรรมย่อมเจริญ
ยิ่ง กุศลธรรมย่อมเสื่อมไป บุคคลเห็นปานนี้ไม่ควรเสพ บุคคลใดภิกษุพึงรู้ว่า
เมื่อเราเสพบุคคลนี้แล อกุศลธรรมย่อมเสื่อมไป กุศลธรรมย่อมเจริญยิ่ง บุคคล
เห็นปานนี้ควรเสพ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็คำที่เรากล่าวว่า เราย่อมกล่าวแม้ซึ่ง
บุคคลโดยส่วนสอง คือ ที่ควรเสพก็มี ที่ไม่ควรเสพก็มี ดังนี้ เราอาศัยข้อนี้
กล่าวแล้ว ฯ
จบสูตรที่ ๔
ปริหานสูตร


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ บรรทัดที่ ๒๓๖๖-๒๔๖๑ หน้าที่ ๑๐๒-๑๐๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=24&A=2366&Z=2461&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=24&item=54&items=1&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=24&item=54&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=24&item=54&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=24&item=54&items=1&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=24&i=54              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๔ http://84000.org/tipitaka/read/?index_24

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :