ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๑๗๙๐] 	พระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่ากาลิงคะ ได้ทรงสั่งสอนมนุษย์ทั่วแผ่นดิน
                          โดยธรรม ได้เสด็จไปสู่ที่ใกล้ต้นโพธิ์ด้วยช้าง ทรงมีอานุภาพมาก.
             [๑๗๙๑] 	ภารทวาชปุโรหิตชาวกาลิงครัฐ พิจารณา ดูภูมิภาคแล้ว จึงประคอง
                          อัญชลีกราบทูลพระเจ้าจักรพรรดิผู้เป็นบุตรแห่งดาบส ชื่อกาลิงคะว่า.
             [๑๗๙๒] 	ข้าแต่พระมหาราชา ขอเชิญพระองค์เสด็จลงเถิด ภูมิภาคนี้อันพระพุทธเจ้า
                          ผู้เป็นสมณะทรงสรรเสริญแล้ว พระพุทธเจ้าทั้งหลายผู้ตรัสรู้โดยยิ่ง
                          มีพระคุณหาประมาณมิได้ ย่อมไพโรจน์ ณ ภูมิภาคนี้.
             [๑๗๙๓] 	หญ้าและเครือเถาทั้งหลายในภูมิภาคส่วนนี้ ม้วนเวียนโดยทักษิณาวัตร
                          ภูมิภาคส่วนนี้ เป็นที่ไม่หวั่นไหวแห่งแผ่นดิน (เมื่อกัลป์จะตั้งขึ้นก็ตั้ง
                          ขึ้นก่อน เมื่อกัลป์พินาศก็พินาศภายหลัง) ข้าแต่พระมหาราชา ข้าพระองค์
                          ได้สดับมาอย่างนี้.
             [๑๗๙๔] 	ภูมิภาคส่วนนี้ เป็นมณฑลแห่งแผ่นดินอันทรงไว้ซึ่งภูตทั้งปวง มีสาคร
                          เป็นขอบเขต ขอเชิญพระองค์เสด็จลง แล้วทรงกระทำการนอบน้อมเถิด
                          พระเจ้าข้า.
             [๑๗๙๕] 	ช้างกุญชรตัวประเสริฐ เกิดในตระกูลอุโบสถ ย่อมไม่เข้าไปใกล้ประเทศ
                          นั้นเลย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้.
             [๑๗๙๖] 	ช้างตัวประเสริฐนี้ เป็นช้างเกิดแล้วในตระกูลอุโบสถโดยแท้ ถึงกระนั้น
                          ก็ไม่อาจจะเข้าไปใกล้ประเทศมีประมาณเท่านี้ได้ ถ้าพระองค์ยังทรงสงสัย
                          อยู่ ก็จงทรงไสช้างพระที่นั่งไปเถิด.
             [๑๗๙๗] 	พระเจ้ากาลิงคะทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงทรงใคร่ครวญถ้อยคำของปุโรหิต
                          ผู้ชำนาญการพยากรณ์ว่า เราจักรู้ถ้อยคำของปุโรหิตนี้ว่า จริงหรือไม่จริง
                          นี้แล้ว ทรงไสช้างพระที่นั่งไป.
             [๑๗๙๘] 	ฝ่ายช้างพระที่นั่งนั้น ถูกพระราชาทรงไสไปแล้ว ก็เปล่งเสียงดุจนก
                          กระเรียนแล้วถอยหลังทรุดคุกลง ดังอดทนภาระหนักไม่ได้.
             [๑๗๙๙] 	ปุโรหิตภารทราชะชาวกาลิงครัฐ รู้ว่า ช้างพระที่นั่งสิ้นอายุแล้ว จึงรีบ
                          กราบทูลพระเจ้ากาลิงคะว่า ข้าแต่พระมหาราชา ขอเชิญเสด็จไปทรงช้าง
                          พระที่นั่งเชือกอื่นเถิด ช้างพระที่นั่งเชือกนี้สิ้นอายุแล้ว พระเจ้าข้า.
             [๑๘๐๐] 	พระเจ้ากาลิงคะทรงสดับคำนั้นแล้ว จึงรีบเสด็จไปทรงช้างพระที่นั่ง
                          เชือกใหม่ เมื่อพระราชาเสด็จก้าวไปพ้นแล้ว ช้างพระที่นั่งที่ตายแล้ว
                          ก็ล้มลง ณ พื้นดินที่นั้นเอง ถ้อยคำของปุโรหิต ผู้ชำนาญการพยากรณ์
                          เป็นอย่างใด ช้างพระที่นั่งเป็นอย่างนั้น.
             [๑๘๐๑] 	พระเจ้ากาลิงคะได้ตรัสกะพราหมณ์ภารทวาชะชาวกาลิงครัฐอย่างนี้ว่า
                          ท่านเป็นสัมพุทธะ รู้เห็นเหตุทั้งปวงโดยแท้.
             [๑๘๐๒] 	กาลิงคพราหมณ์ เมื่อไม่รับคำสรรเสริญนั้นจึงได้กราบทูลว่า ข้าแต่
                          พระมหาราชา ข้าพระองค์เป็นผู้ชำนาญการพยากรณ์ ชื่อว่าพุทธะ ผู้รู้เหตุ
                          ทั้งปวงก็จริง.
             [๑๘๐๓] 	แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นพระสัพพัญญูด้วย เป็นพระสัพพวิทูด้วย
                          ย่อมรู้เหตุทั้งปวงด้วยพระญาณเป็นเครื่องกำหนด ข้าพระองค์รู้เหตุ
                          ทั้งปวงได้ เพราะกำลังแห่งอาคม พระพุทธเจ้าทั้งหลาย รู้เหตุทั้งปวงได้
                          ด้วยพระสัพพัญญุตญาณ.
             [๑๘๐๔] 	พระเจ้ากาลิงคะ ทรงนำเอามาลาและเครื่องลูบไล้พร้อมด้วยดนตรีต่างๆ
                          ไปบูชาพระมหาโพธิ์แล้ว รับสั่งให้กระทำกำแพงแวดล้อม.
             [๑๘๐๕] 	รับสั่งให้เก็บดอกไม้ประมาณหกหมื่นเล่มเกวียนมาบูชาโพธิมณฑลอันเป็น
                          อนุตริยะ แล้วเสด็จกลับ.
จบ กาลิงคโพธิชาดกที่ ๖.
๗. อกิตติชาดก
อกิตติดาบสขอพรท้าวสักกะ


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๖๙๕๘-๗๐๐๔ หน้าที่ ๓๑๓-๓๑๕. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=6958&Z=7004&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=27&item=1790&items=16&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=27&item=1790&items=16              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=27&item=1790&items=16&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=27&item=1790&items=16&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1790              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :