ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๗๑๒] 	ดูกรพรหมทัตตกุมาร ความเกษมสำราญ ภิกษาหารหาได้ง่าย และ
                          ความเป็นผู้สำราญกายนี้ ไม่พึงมีตลอดกาลเป็นนิตย์ เมื่อประโยชน์ของ
                          ตนสิ้นไป ท่านอย่าเป็นผู้ล่มจมเสียเลย เหมือนเรือแตก คนไม่ได้
                          ที่พึ่งอาศัย ต้องจมอยู่ในท่ามกลางทะเล ฉะนั้น.
             [๗๑๓] 	บุคคลทำกรรมใด ย่อมมองเห็นกรรมนั้นในตน ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้
                          ผลดี ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้ผลชั่ว บุคคลหว่านพืชเช่นใด ย่อมได้ผล
                          เช่นนั้น.
             [๗๑๔] 	ปาจารย์ในปางก่อนได้กล่าวคำใดไว้ว่า ท่านอย่าได้ทำบาปกรรมที่ทำ
                          แล้วจะทำให้เดือดร้อนในภายหลังเลย คำนั้น เป็นคำสอนของอาจารย์เรา
             [๗๑๕] 	ปิงคิยปุโรหิตนั้น ย่อมบ่นเพ้อแสดงต้นไทรว่า มีกิ่งแผ่ไพศาล (สามารถ
                          ให้ความชนะได้) เราได้ให้ฆ่ากษัตริย์ผู้ประดับด้วยราชาลังการ ลูบไล้
                          ด้วยแก่นจันทน์แดงทั้งพันพระองค์เสีย ที่ต้นไม้ใด ต้นไม้นั้น บัดนี้
                          ไม่อาจทำการป้องกันอะไรแก่เราได้ ความทุกข์อันนั้นแหละกลับมาสนอง
                          เราแล้ว.
             [๗๑๖] 	พระนางอุพพรีอัครมเหสีของเรา มีพระฉวีวรรณงามดังทองคำ ลูบไล้
                          ตัวด้วยแก่นจันทน์แดง ย่อมงามเจริญตา เหมือนกับกิ่งไม้สิงคุอันขึ้น
                          ตรงไป ไหวสะเทือนอยู่ ฉะนั้น เรามิได้เห็นพระนางอุพพรีแล้ว คงจัก
                          ต้องตายเป็นแน่ การที่เราไม่ได้เห็นพระนางอุพพรีนั้น จักเป็นทุกข์ยิ่ง
                          กว่ามรณทุกข์นี้อีก.
จบ เวนสาขชาดกที่ ๓.
๔. อุรคชาดก
เปรียบคนตายเหมือนงูลอกคราบ


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๓๓๘๗-๓๔๐๘ หน้าที่ ๑๖๓. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=3387&Z=3408&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=27&item=712&items=5&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=27&item=712&items=5              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=27&item=712&items=5&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=27&item=712&items=5&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=712              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :