ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
             [๙๙๗] 	ดูกรสหาย นากผู้เที่ยวไปตามฝั่ง ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ท่านจงตาม
                          ฉันมา จับปลาใหญ่ได้ตัวหนึ่ง มันพาฉันไปด้วยกำลังแรง.
             [๙๙๘] 	ดูกรนากผู้เที่ยวไปในน้ำลึก ขอความเจริญจงมีแก่ท่าน ท่านจงจับปลาให้
                          มั่นด้วยกำลัง ฉันจักยกปลานั้นขึ้น เหมือนครุฑคาบพระยานาค ฉะนั้น.
             [๙๙๙] 	เราทั้งสองมัวโต้เถียงกันอยู่ ดูกรสหายทัพพปุปผกะ ขอท่านจงฟัง
                          ข้าพเจ้า จงระงับความโต้เถียงกัน ขอการโต้เถียงกันจงระงับเสีย.
             [๑๐๐๐] 	เราเคยเป็นผู้พิพากษาในกาลก่อน พิจารณาอรรถคดีมามากนักแล้ว แน่ะ
                          สหาย เราจะช่วยระงับความโต้เถียง ความโต้เถียงของท่านทั้งสองจะ
                          ระงับ.
             [๑๐๐๑] 	ดูกรนากผู้เที่ยวไปตามฝั่ง ท่านจงคาบเอาท่อนหางไป ท่อนหัวเป็นของ
                          นากผู้เที่ยวไปในน้ำลึก ส่วนท่อนกลางนี้จักเป็นของเราผู้ตัดสิน.
             [๑๐๐๒] 	ท่อนกลางที่สุนัขจิ้งจอกนำเอาไปนั้น จักเป็นอาหารได้หลายวัน ถ้าเรา
                          ไม่โต้แย้งกัน สุนัขจิ้งจอกก็จะนำเอาปลาตะเพียนท่อนกลางไปไม่ได้.
             [๑๐๐๓] 	พระมหากษัตริย์ได้ครอบครองราชสมบัติแล้ว จะพึงทรงยินดีแม้ฉันใด
                          ดิฉันได้เห็นสามี มีหน้าอันเบิกบานในวันนี้ก็ย่อมยินดี ฉันนั้น.
             [๑๐๐๔] 	ท่านเป็นสัตว์เกิดบนบก ไฉนจึงจับเอาปลาในน้ำมาได้ ดูกรท่านผู้ร่วม
                          ใจ ดิฉันถามท่าน จงบอกดิฉันว่า ท่านจับปลานั้นมาได้อย่างไร?
             [๑๐๐๕] 	สัตว์ทั้งหลายย่อมซูบผอมเพราะวิวาทกัน เป็นผู้หมดทรัพย์ก็เพราะวิวาท
                          กัน นากสองตัว เสื่อมจากปลานี้เพราะวิวาทกัน ดูกรนางมายาวี
                          จงกินปลาตะเพียนแดงนี้เสียเถิด.
             [๑๐๐๖] 	ในหมู่มนุษย์มีการวิวาทกันขึ้น ณ ที่ใด หมู่มนุษย์ก็พากันไปหาผู้พิพากษา
                          ณ ที่นั้น เพราะว่าผู้พิพากษาเป็นผู้แนะนำพวกเขา ใช่แต่เท่านั้น เขา
                          ยังจะเสื่อมจากทรัพย์อีก เหมือนนากทั้งสองเสื่อมจากปลาตะเพียน ฉะนั้น
                          พระคลังหลวงย่อมเจริญขึ้น.
จบ ทัพพปุปผกชาดกที่ ๕.
๖. ทสรรณกชาดก
ให้แล้วไม่เดือดร้อนภายหลังทำได้ยาก


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ บรรทัดที่ ๔๓๖๑-๔๓๘๗ หน้าที่ ๒๐๕-๒๐๖. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=27&A=4361&Z=4387&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=27&item=997&items=10&mode=bracket              อ่านโดยใช้เนื้อความเป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=27&item=997&items=10              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=27&item=997&items=10&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=27&item=997&items=10&mode=bracket              ศึกษาอรรถกถาชาดกนี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=997              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ http://84000.org/tipitaka/read/?index_27

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :