ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส
ว่าด้วยการพูดเลียบเคียง
[๗๖๔] พึงทราบวินิจฉัยในคำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะความอยากได้ลาภ ดังต่อไปนี้ การพูดเลียบเคียงเป็นไฉน? การพูดหว่านล้อม การพูดเลียบเคียง การพูดเลียบ เคียงด้วยดี การพูดยกย่อง การพูดยกย่องด้วยดี การพูดผูกพัน การพูดผูกพันด้วยดี การพูดอวดอ้าง การพูดอวดอ้างด้วยดี การพูดฝากรัก ความเป็นผู้พูดมุ่งให้เขารักตน ความเป็นผู้พูดเหลวไหลดังว่า แกงถั่ว ความเป็นผู้พูดประจบ ความเป็นผู้พูดแคะไค้ (ดุจกินเนื้อหลังผู้อื่น) ความเป็นผู้พูด อ่อนหวาน ความเป็นผู้พูดไพเราะ ความเป็นผู้พูดด้วยไมตรี ความเป็นผู้พูดไม่หยาบคาย แก่ ชนเหล่าอื่น แห่งภิกษุผู้มั่นหมายลาภ สักการะและความสรรเสริญ มีความปรารถนาลามก อันความปรารถนาครอบงำ เป็นผู้เห็นแก่อามิส หนักอยู่ในโลกธรรม กิริยานี้เรียกว่า การพูด เลียบเคียง. อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุเลียบเคียงกะชนด้วยเหตุ ๒ อย่าง คือตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูด เลียบเคียงกะชน ๑ ยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชน ๑. ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกะชนอย่างไร? ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดกะชนอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายมี อุปการะมากแก่ฉัน ฉันได้จีวร บิณฑบาต เสนาสนะและคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร เพราะ อาศัยท่านทั้งหลาย แม้คนอื่นๆ ย่อมสำคัญเพื่อจะให้หรือเพื่อจะทำแก่ฉัน คนเหล่านั้น อาศัย ท่านทั้งหลาย เห็นแก่ท่านทั้งหลาย จึงให้ จึงทำแก่ฉัน แม้ชื่อเก่าเป็นของมารดาและบิดา ชื่อแม้นั้นของฉันหายลับไป ฉันย่อมปรากฏเพราะท่านทั้งหลายว่า เป็นกุลุปกะของอุบาสกโน้น เป็นกุลุปกะของอุบาสิกาโน้น ภิกษุตั้งตนต่ำ ยกผู้อื่นสูง พูดเลียบเคียงกะชนอย่างนี้. ภิกษุยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนอย่างไร? ภิกษุยกตนสูง ตั้งผู้อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนแม้อย่างนี้ว่า ฉันมีอุปการะมากแก่พวกท่าน พวกท่านอาศัยฉันจึงถึงพระ- *พุทธเจ้า เป็นสรณะ ถึงพระธรรมเป็นสรณะ ถึงพระสงฆ์เป็นสรณะ เว้นขาดจากปาณานิบาต เว้นขาดจากอทินนาทาน เว้นขาดจากกาเมสุมิจฉาจาร เว้นขาดจากมุสาวาท เว้นขาดจากเหตุที่ เป็นที่ตั้งแห่งความประมาทในเพราะดื่มน้ำเมาคือสุราและเมรัย ฉันย่อมบอกให้พระบาลี ย่อม บอกให้คำอธิบายพระบาลี ย่อมบอกอุโบสถ ย่อมอำนวยการก่อสร้าง แก่ท่านทั้งหลาย ก็แต่ ท่านทั้งหลายลืมฉันเสียแล้ว ย่อมสักการะเคารพนับถือบูชาภิกษุเหล่าอื่น ภิกษุยกตนสูง ตั้งผู้ อื่นต่ำ พูดเลียบเคียงกะชนแม้อย่างนี้. คำว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชนเพราะความอยากได้ลาภ ความว่า ภิกษุเมื่อจะให้ลาภ สำเร็จ ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน คือพึงละ บรรเทา ทำให้สิ้นไป ให้ถึงความไม่มี ซึ่งการ พูดเลียบเคียงกะชน เป็นผู้งด เว้น เว้นเฉพาะ ออก สลัดออก พ้นขาด ไม่เกี่ยวข้องการ พูดเลียบเคียงเพราะเหตุแห่งลาภ เพราะการณะแห่งลาภ เพราะความบังเกิดขึ้นแห่งลาภ พึง เป็นผู้มีจิตปราศจากแดนกิเลสอยู่ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะ ความอยากได้ลาภ. เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงตรัสตอบว่า ภิกษุไม่พึงตั้งอยู่ในการซื้อการขาย ไม่พึงทำกิเลสเป็นเครื่องค่อนขอด ในที่ไหนๆ ไม่พึงเกี่ยวข้องในบ้าน ไม่พึงพูดเลียบเคียงกะชน เพราะ ความอยากได้ลาภ.

             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ บรรทัดที่ ๘๗๗๑-๘๘๐๕ หน้าที่ ๓๖๘-๓๗๐. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=29&A=8771&Z=8805&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=29&item=764&items=1              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=29&item=764&items=1&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=29&item=764&items=1              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=29&item=764&items=1              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=29&i=764              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๙ http://84000.org/tipitaka/read/?index_29

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :