ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ยุคนัทธวรรค สัจจกถา
นิทานในกถาบริบูรณ์
[๕๔๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้ เป็นของแท้ เป็น ของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัจจะว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย สัจจะ ๔ ประการนี้แล เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ฯ [๕๔๕] ทุกข์เป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ สภาพแห่งทุกข์เป็นทุกข์ ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น คือ สภาพที่บีบคั้นแห่งทุกข์ ๑ สภาพแห่งทุกข์ อันปัจจัย ปรุงแต่ง ๑ สภาพที่ให้เดือดร้อน ๑ สภาพที่แปรไป ๑ สภาพแห่งทุกข์เป็นทุกข์ ๔ ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น ทุกข์เป็นสัจจะด้วย อรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ สมุทัยเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุเกิด ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น คือ สภาพที่ประมวลมาแห่งสมุทัย ๑ สภาพที่เป็นเหตุ ๑ สภาพที่ประกอบไว้ ๑ สภาพพัวพัน ๑ สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุเกิด ๔ ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น สมุทัยเป็นสัจจะด้วย อรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ นิโรธเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ สภาพดับแห่งนิโรธ ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็น อย่างอื่น คือ สภาพสลัดออกแห่งนิโรธ ๑ สภาพสงัด ๑ สภาพที่ปัจจัย ไม่ปรุงแต่ง ๑ สภาพเป็นอมตะ ๑ สภาพดับแห่งนิโรธ ๔ ประการนี้ เป็น ของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น นิโรธเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของ แท้อย่างนี้ ฯ มรรคเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างไร ฯ สภาพเป็นทางแห่งมรรค ๔ ประการ เป็นของแท้ เป็นของไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น คือ สภาพนำออกแห่งมรรค ๑ สภาพเป็นเหตุ ๑ สภาพที่เห็น ๑ สภาพเป็นใหญ่ ๑ สภาพเป็นทางแห่งมรรค ๔ ประการนี้ เป็นของแท้ เป็นของ ไม่ผิด ไม่เป็นอย่างอื่น มรรคเป็นสัจจะด้วยอรรถว่าเป็นของแท้อย่างนี้ ฯ [๕๔๖] สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ ๔ คือ ด้วยความ เป็นของแท้ ๑ ด้วยความเป็นอนัตตา ๑ ด้วยความเป็นของจริง ๑ ด้วยความ เป็นปฏิเวธ ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งด้วยอาการ ๔ นี้ สัจจะใด ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งสัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่ง ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้อย่างไร ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ ๔ คือ สภาพที่ทน ได้ยากแห่งทุกข์เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพเป็นเหตุเกิดแห่งสมุทัยเป็นสภาพแท้ ๑ สภาพดับแห่งนิโรธเป็นสภาพแท้ ๑ สภาพเป็นทางแห่งมรรคเป็นสภาพแท้ ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง ด้วยความเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๔ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอด สัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอด ด้วยญาณเดียว ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตาอย่างไร ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตา ด้วย อาการ ๔ คือ สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพมิใช่ตัวตน ๑ สภาพเป็น เหตุเกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพมิใช่ตัวตน ๑ สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพมิใช่ ตัวตน ๑ สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพมิใช่ตัวตน ๑ สัจจะ ๔ ท่าน สงเคราะห์เป็นหนึ่ง ด้วยความเป็นอนัตตา ด้วยอาการ ๔ นี้ สัจจะใด ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่ง ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของจริง อย่างไร ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของจริง ด้วย อาการ ๔ คือ สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพจริง ๑ สภาพเป็นเหตุ เกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพจริง ๑ สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพจริง ๑ สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพจริง ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง ด้วยความเป็นของจริง ด้วยอาการ ๔ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะ นั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธอย่างไร ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธด้วยอาการ ๔ คือ สภาพที่ทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพแทงตลอด ๑ สภาพเป็นเหตุ เกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพแทงตลอด ๑ สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพ แทงตลอด ๑ สภาพเป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพแทงตลอด ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธ ด้วยอาการ ๔ นี้ สัจจะใด ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่ง ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ [๕๔๗] สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ฯ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์ ๑ สิ่งใดไม่เที่ยงและเป็นทุกข์ สิ่งนั้น เป็นอนัตตา ๑ สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์และเป็นอนัตตา สิ่งนั้นเป็นของแท้ ๑ สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตาและเป็นของแท้ สิ่งนั้นเป็นของจริง ๑ สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นของแท้และเป็นของจริง สิ่งนั้น ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สิ่งใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สิ่งนั้นเป็นหนึ่ง บุคคล ย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ แทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ ๙ คือ ด้วยความ เป็นของแท้ ๑ ด้วยความเป็นอนัตตา ๑ ด้วยความเป็นของจริง ๑ ด้วยความ เป็นปฏิเวธ ๑ ด้วยความเป็นธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ๑ ด้วยความเป็นธรรมที่ควรกำหนด รู้ ๑ ด้วยความเป็นธรรมที่ควรละ ๑ ด้วยความเป็นธรรมที่ควรเจริญ ๑ ด้วยความ เป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่งด้วยอาการ ๙ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอด สัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วย ญาณเดียว ฯ [๕๔๘] สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้ อย่างไร ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้ ด้วย อาการ ๙ คือ สภาพทนได้ยากแห่งทุกข์ เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพเป็นเหตุ เกิดแห่งสมุทัย เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพดับแห่งนิโรธ เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพ เป็นทางแห่งมรรค เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพแห่งอภิญญาเป็นสภาพที่ควรรู้ยิ่ง เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพแห่งปริญญาเป็นสภาพที่ควรกำหนดรู้ เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพแห่งปหานะเป็นสภาพที่ควรละ เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพแห่งภาวนา เป็นสภาพที่ควรเจริญ เป็นสภาพแท้ ๑ สภาพแห่งสัจฉิกิริยา เป็นสภาพที่ควร ทำให้แจ้ง เป็นสภาพแท้ ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง ด้วยความ เป็นของแท้ ด้วยอาการ ๙ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการ แทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตาด้วยความ เป็นของจริง ด้วยความเป็นปฏิเวธ อย่างไร ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นปฏิเวธด้วยอาการ ๙ คือ สภาพแห่งทุกข์เป็นสภาพที่ทนได้ยาก เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑ สภาพแห่งสมุทัยเป็นเหตุเกิด เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑ สภาพแห่งนิโรธ เป็นที่ดับ เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑ สภาพแห่งมรรคเป็นทางดำเนิน เป็น สภาพควรแทงตลอด ๑ สภาพแห่งอภิญญาเป็นสภาพที่ควรรู้ยิ่ง เป็นสภาพควร แทงตลอด ๑ สภาพแห่งปริญญาเป็นสภาพที่ควรกำหนดรู้ เป็นสภาพควร แทงตลอด ๑ สภาพแห่งปหานะเป็นสภาพที่ควรละ เป็นสภาพที่ควรแทงตลอด ๑ สภาพแห่งภาวนาเป็นสภาพที่ควรเจริญ เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑ สภาพ แห่งสัจฉิกิริยาเป็นสภาพที่ควรทำให้แจ้ง เป็นสภาพควรแทงตลอด ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียว ด้วยความเป็นปฏิเวธ ด้วยอาการ ๙ นี้ สัจจะ ใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทงตลอด สัจจะหนึ่ง ด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอดด้วยญาณเดียว ฯ [๕๔๙] สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการเท่าไร ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยอาการ ๑๒ คือ ด้วยความ เป็นของแท้ ๑ ด้วยความเป็นอนัตตา ๑ ด้วยความเป็นของจริง ๑ ด้วยความ เป็นปฏิเวธ ๑ ด้วยความเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ๑ ด้วยความเป็นเครื่องกำหนดรู้ ๑ ด้วยความเป็นธรรม ๑ ด้วยความเป็นเหมือนอย่างนั้น ๑ ด้วยความเป็นธรรม ที่รู้แล้ว ๑ ด้วยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ๑ ด้วยความเป็นเครื่องถูกต้อง ๑ ด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้ ๑ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียวด้วยอาการ ๑๒ อย่างนี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อมแทง ตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอด ด้วยญาณเดียว ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้ อย่างไร ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นของแท้ ด้วยอาการ ๑๖ คือ สภาพแห่งทุกข์เป็นสภาพบีบคั้น ๑ เป็นสภาพที่ปัจจัยปรุงแต่ง ๑ เป็นสภาพให้เดือดร้อน ๑ เป็นสภาพแปรปรวน ๑ เป็นสภาพแท้ สภาพ แห่งสมุทัยเป็นสภาพประมวลมา ๑ เป็นเหตุ ๑ เป็นเครื่องประกอบไว้ ๑ เป็น สภาพกังวล ๑ เป็นสภาพแท้ สภาพแห่งนิโรธเป็นที่สลัดออก ๑ เป็นสภาพสงัด ๑ เป็นสภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ๑ เป็นอมตะ ๑ เป็นสภาพแท้ สภาพ แห่งมรรคเป็นเครื่องนำออก ๑ เป็นเหตุ ๑ เป็นทัสนะ ๑ เป็นใหญ่ ๑ เป็น สภาพแท้ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียว ด้วยความเป็นของแท้ ด้วย อาการ ๑๖ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคลย่อม แทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทงตลอด ด้วยญาณเดียว ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นอนัตตา ฯลฯ ด้วยความเป็นของจริง ด้วยความเป็นปฏิเวธ ด้วยความเป็นเครื่องรู้ยิ่ง ด้วยความ เป็นเครื่องกำหนดรู้ ด้วยความเป็นธรรม ด้วยความเป็นเหมือนอย่างนั้น ด้วยความ เป็นธรรมที่รู้แล้ว ด้วยความเป็นธรรมที่ควรทำให้แจ้ง ด้วยความเป็นเครื่องถูกต้อง ด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้ อย่างไร ฯ สัจจะ ๔ มีการแทงตลอดด้วยญาณเดียวด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้ ด้วยอาการ ๑๖ คือ สภาพแห่งทุกข์เป็นสภาพบีบคั้น ... เป็นสภาพแปรปรวน เป็นสภาพเครื่องตรัสรู้ สภาพแห่งสมุทัยเป็นสภาพประมวลมา ... เป็นสภาพกังวล เป็นสภาพเครื่องตรัสรู้ สภาพแห่งนิโรธเป็นที่สลัดออก ... เป็นอมตะ เป็นสภาพ เครื่องตรัสรู้ สภาพแห่งมรรคเป็นเครื่องนำออก ... เป็นใหญ่ เป็นสภาพเครื่อง ตรัสรู้ สัจจะ ๔ ท่านสงเคราะห์ด้วยญาณเดียว ด้วยความเป็นเครื่องตรัสรู้ ด้วยอาการ ๑๖ นี้ สัจจะใดท่านสงเคราะห์เป็นหนึ่ง สัจจะนั้นเป็นหนึ่ง บุคคล ย่อมแทงตลอดสัจจะหนึ่งด้วยญาณเดียว เพราะเหตุนั้น สัจจะ ๔ จึงมีการแทง ตลอดด้วยญาณเดียว ฯ [๕๕๐] สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๒ คือสังขตลักษณะ ๑ อสังขตลักษณะ ๑ สัจจะมีลักษณะ ๒ นี้ ฯ สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๖ คือ สัจจะที่ปัจจัยปรุงแต่ง มีความเกิดปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ ๑ สัจจะที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง ความเกิดไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมไม่ปรากฏ ๑ เมื่อยัง ตั้งอยู่ความแปรไม่ปรากฏ ๑ สัจจะมีลักษณะ ๖ นี้ ฯ สัจจะมีลักษณะเท่าไร สัจจะมีลักษณะ ๑๒ คือ ทุกขสัจ มีความ เกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรปรากฏ ๑ สมุทัยสัจมีความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปร ปรากฏ ๑ มรรคสัจมีความเกิดขึ้นปรากฏ ๑ ความเสื่อมปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความ แปรปรากฏ ๑ นิโรธสัจ ความเกิดไม่ปรากฏ ๑ ความเสื่อมไม่ปรากฏ ๑ เมื่อยังตั้งอยู่ความแปรไม่ปรากฏ ๑ สัจจะมีลักษณะ ๑๒ นี้ ฯ [๕๕๑] สัจจะ ๔ เป็นกุศลเท่าไร เป็นอกุศลเท่าไร เป็น- *อัพยากฤตเท่าไร ฯ สมุทัยสัจเป็นอกุศล มรรคสัจเป็นกุศล นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต ทุกขสัจเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี เป็นอัพยากฤตก็มี สัจจะ ๓ นี้ท่านสงเคราะห์ ด้วยสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๓ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย ฯ คำว่า พึงมี คือ ก็พึงมีอย่างไร ฯ ทุกขสัจเป็นอกุศล สมุทัยสัจเป็นอกุศล สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์ ด้วยสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นอกุศล พึงมีอย่างนี้ ทุกขสัจเป็นกุศล มรรคสัจเป็นกุศล สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์ ด้วยสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นกุศล พึงมี อย่างนี้ ทุกขสัจเป็นอัพยากฤต นิโรธสัจเป็นอัพยากฤต สัจจะ ๒ ท่านสงเคราะห์ ด้วยสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๒ ด้วยความเป็นอัพยากฤต พึงมีอย่างนี้ สัจจะ ๓ ท่านสงเคราะห์ด้วยสัจจะ ๑ สัจจะ ๑ ท่านสงเคราะห์ ด้วยสัจจะ ๑ ด้วยสามารถแห่งวัตถุ โดยปริยาย ฯ [๕๕๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก่อนแต่ตรัสรู้ เมื่อเราเป็นโพธิสัตว์ยังมิได้ ตรัสรู้ ได้มีความคิดว่า อะไรหนอแลเป็นคุณ เป็นโทษ เป็นอุบายเครื่อง สลัดออก แห่งรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรานั้นได้มีความคิดดังนี้ว่า สุข โสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป ความกำจัดฉันทราคะ ความละฉันทราคะในรูป นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งรูป ... สุขโสมนัส อาศัยวิญญาณเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งวิญญาณ วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ ความกำจัดฉันทราคะ ความละฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออก แห่งวิญญาณ ฯ [๕๕๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรายังไม่รู้ทั่วถึงซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกโดยเป็นอุบายเครื่อง สลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ตามความเป็นจริง เพียงใด เราก็ยังไม่ ปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ เพียงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อใด เราได้รู้ทั่วถึงซึ่งคุณโดยความเป็นคุณ ซึ่งโทษโดยความเป็นโทษ และซึ่งอุบายเป็นเครื่องสลัดออกโดยเป็นอุบายเครื่อง สลัดออก แห่งอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ ตามความจริง เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ ตรัสรู้ซึ่งอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลก พร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ก็แล ญาณทัสนะ เกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้มีในที่สุด บัดนี้ความเกิดอีก มิได้มี ฯ [๕๕๔] การแทงตลอดด้วยการละว่า สุข โสมนัส อาศัยรูปเกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่งรูป ดังนี้ เป็นสมุทัยสัจ การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ว่า รูปไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งรูป ดังนี้ เป็นทุกขสัจ การแทงตลอดด้วยการทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะ การละ ฉันทราคะในรูป นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งรูป ดังนี้ เป็นนิโรธสัจ การแทง ตลอดด้วยภาวนา คือ ทิฐิ สังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ในฐานะทั้ง ๓ นี้ เป็นมรรคสัจ การแทงตลอดด้วยการละว่า สุข โสมนัส อาศัยเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เกิดขึ้น นี้เป็นคุณแห่ง วิญญาณ ดังนี้ เป็นสมุทัยสัจ การแทงตลอดด้วยการกำหนดรู้ว่า วิญญาณ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา นี้เป็นโทษแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นทุกขสัจ การแทงตลอดด้วยทำให้แจ้งว่า การกำจัดฉันทราคะ การละ ฉันทราคะในวิญญาณ นี้เป็นอุบายเครื่องสลัดออกแห่งวิญญาณ ดังนี้ เป็นนิโรธสัจ การแทงตลอดด้วยภาวนา คือ ทิฐิสังกัปปะ วาจา กัมมันตะ อาชีวะ วายามะ สติ สมาธิ ในฐานะทั้ง ๓ นี้ เป็นมรรคสัจ ฯ [๕๕๕] สัจจะด้วยอาการเท่าไร ฯ สัจจะด้วยอาการ ๓ คือ ด้วยความแสวงหา ๑ ด้วยความกำหนด ๑ ด้วยความแทงตลอด ๑ ฯ สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างไร ฯ สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ชราและมรณะมีอะไรเป็นเหตุ มีอะไร เป็นสมุทัย มีอะไรเป็นกำเนิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ฯ สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ชราและมรณะมีชาติเป็นเหตุ มีชาติ เป็นสมุทัย มีชาติเป็นกำเนิด มีชาติเป็นแดนเกิด ญาณย่อมรู้ชัดซึ่งชราและมรณะ เหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับแห่งชราและมรณะ และข้อปฏิบัติเครื่อง ให้ถึงความดับแห่งชราและมรณะ สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ชาติมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไรเป็น แดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ชาติมีภพเป็นเหตุ ... มีภพเป็น แดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งชาติ เหตุเกิดแห่งชาติ ความดับแห่งชาติ และข้อปฏิบัติ เครื่องให้ถึงความดับแห่งชาติ สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ภพมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไร เป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ภพมีอุปาทานเป็นเหตุ ... มีอุปาทานเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งภพ เหตุเกิดแห่งภพ ความดับแห่งภพ และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งภพ สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า อุปาทานมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไร เป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า อุปาทานมีตัณหาเป็นเหตุ ... มีตัณหาเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งอุปาทาน เหตุเกิดแห่งอุปาทาน ความดับแห่ง อุปาทาน และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งอุปาทาน สัจจะด้วยความ แทงตลอดอย่างนี้ ฯ สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ตัณหามีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไร เป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ตัณหามีเวทนาเป็นเหตุ ... มีเวทนาเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งตัณหา เหตุเกิดแห่งตัณหา ความดับแห่ง ตัณหา และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งตัณหา สัจจะด้วยความแทงตลอด อย่างนี้ ฯ สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า เวทนามีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไร เป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า เวทนามีผัสสะเป็นเหตุ ... มีผัสสะเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งเวทนา เหตุเกิดแห่งเวทนา ความดับแห่ง เวทนา และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งเวทนา สัจจะด้วยความแทงตลอด อย่างนี้ ฯ สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า ผัสสะมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไร เป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า ผัสสะมีสฬายตนะเป็นเหตุ ... มีสฬายตนะเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งผัสสะ เหตุเกิดแห่งผัสสะ ความดับ แห่งผัสสะ และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับแห่งผัสสะ สัจจะด้วยความ แทงตลอดอย่างนี้ ฯ สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า สฬายตนะมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไร เป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า สฬายตนะมีนามรูปเป็นเหตุ ... มีนามรูปเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งสฬายตนะ เหตุเกิดสฬายตนะ ความดับ สฬายตนะ และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสฬายตนะ สัจจะด้วยความ แทงตลอดอย่างนี้ ฯ สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า นามรูปมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไร เป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า นามรูปมีวิญญาณเป็นเหตุ ... มีวิญญาณเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งนามรูป เหตุเกิดนามรูป ความดับนามรูป และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับนามรูป สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า วิญญาณมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไร เป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนัดอย่างนี้ว่า วิญญาณมีสังขารเป็นเหตุ ... มีสังขารเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งวิญญาณ เหตุเกิดวิญญาณ ความดับวิญญาณ และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับวิญญาณ สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ สัจจะด้วยความแสวงหาอย่างนี้ว่า สังขารมีอะไรเป็นเหตุ ... มีอะไร เป็นแดนเกิด สัจจะด้วยความกำหนดอย่างนี้ว่า สังขารมีอวิชชาเป็นเหตุ ... มีอวิชชาเป็นแดนเกิด ญาณรู้ชัดซึ่งสังขาร เหตุเกิดสังขาร ความดับสังขาร และข้อปฏิบัติเครื่องให้ถึงความดับสังขาร สัจจะด้วยความแทงตลอดอย่างนี้ ฯ [๕๕๖] ชราและมรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นสมุทัยสัจ ความสลัดชรา มรณะและชาติ แม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ชาติเป็นทุกขสัจ ภพเป็นสมุทัยสัจ การสลัดชาติและภพแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ อุปาทานเป็นทุกขสัจ ตัณหาเป็นสมุทัยสัจ การสลัดอุปาทานและตัณหาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ตัณหาเป็นทุกขสัจ เวทนาเป็นสมุทัยสัจ การสลัดตัณหาและเวทนาแม้ทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ เวทนาเป็นทุกขสัจ ผัสสะเป็น สมุทัยสัจ การสลัดเวทนาและผัสสะแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับ เป็นมรรคสัจ ผัสสะเป็นทุกขสัจ สฬายตนะเป็นสมุทัยสัจ การสลัดผัสสะและ สฬายตนะแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ สฬายตนะ เป็นทุกขสัจ นามรูปเป็นสมุทัยสัจ การสลัดสฬายตนะและนามรูปแม้ทั้งสอง เป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ นามรูปเป็นทุกขสัจ วิญญาณเป็น สมุทัยสัจ การสลัดนามรูปและวิญญาณแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความ ดับเป็นมรรคสัจ วิญญาณเป็นทุกขสัจ สังขารเป็นสมุทัยสัจ การสลัดวิญญาณ และสังขารแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ สังขารเป็น ทุกขสัจ อวิชชาเป็นสมุทัยสัจ การสลัดสังขารและอวิชชาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ชรามรณะเป็นทุกขสัจ ชาติเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทัยสัจก็มี การสลัดชรามรณะและชาติแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จัก ความดับเป็นมรรคสัจ ชาติเป็นทุกขสัจ ภพเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทัยสัจก็มี การสลัดชาติและภพแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ฯลฯ สังขารเป็นทุกขสัจ อวิชชาเป็นทุกขสัจก็มี เป็นสมุทัยสัจก็มี การสลัดสังขาร และอวิชชาแม้ทั้งสองเป็นนิโรธสัจ การรู้จักความดับเป็นมรรคสัจ ฉะนี้แล ฯ
จบสัจจกถา
จบภาณวาร ฯ
-----------------------------------------------------
ยุคนัทธวรรค โพชฌงคกถา
สาวัตถีนิทาน
[๕๕๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือ สติสัมโพชฌงค์ ๑ ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ๑ วิริยสัมโพชฌงค์ ๑ ปีติ สัมโพชงฌงค์ ๑ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ๑ สมาธิสัมโพชฌงค์ ๑ อุเบกขา- *สัมโพชฌงค์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ฯ คำว่า โพชฺฌงฺคา ความว่า ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่ากระไร ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นไปในความตรัสรู้ ว่าย่อมตรัสรู้ ว่าตรัสรู้ตาม ว่าตรัสรู้เฉพาะ ว่าตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ พร้อม ชื่อว่าโพชฌฺงค์ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ ว่าให้ตรัสรู้ตาม ว่าให้ตรัสรู้ เฉพาะ ว่าให้ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้ เพราะอรรถ ว่าให้ตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่าให้ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็น ไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายตรัสรู้ตาม เพราะอรรถว่า เป็นไปในฝ่ายธรรมเครื่องตรัสรู้เฉพาะ เพราะอรรถว่าเป็นไปในธรรมฝ่ายเครื่อง ตรัสรู้พร้อม ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุให้ได้ความตรัสรู้ เพราะ อรรถว่าปลูกความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าบำรุงความตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ถึงความ ตรัสรู้ เพราะอรรถว่าให้ถึงพร้อมความตรัสรู้ ฯ [๕๕๘] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าเป็นมูล เพราะอรรถว่าประพฤติ ตามอรรถที่เป็นมูล เพราะอรรถว่ากำหนดธรรมที่เป็นมูล เพราะอรรถว่ามีธรรม อันเป็นมูลเป็นบริวาร เพราะอรรถว่ามีธรรมอันเป็นมูลบริบูรณ์ เพราะอรรถว่า มีธรรมอันเป็นมูลแก่กล้า เพราะอรรถว่าแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะ อรรถว่าให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญ ในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความ ชำนาญในความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ เพราะอรรถ ว่าประพฤติตามเหตุ ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในเหตุ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในเหตุ เพราะ อรรถว่าเป็นปัจจัย เพราะอรรถว่าประพฤติตามปัจจัย ... เพราะอรรถว่าเจริญความ ชำนาญในความแตกฉานในปัจจัย ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความ ชำนาญในความแตกฉานในปัจจัย เพราะอรรถว่าหมดจด เพราะอรรถว่าประพฤติ หมดจด ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด ชื่อ ว่าโพชฌงค์แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหมดจด เพราะ อรรถว่าไม่มีโทษ เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีโทษ ... เพราะอรรถว่าเจริญความ ชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึง ความชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีโทษ เพราะอรรถว่าเป็นเนกขัมมะ เพราะอรรถว่าประพฤติเนกขัมมะ ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตก ฉานในเนกขัมมะ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตก ฉานในเนกขัมมะ เพราะอรรถว่าหลุดพ้น เพราะอรรถว่าประพฤติหลุดพ้น ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความหลุดพ้น เพราะอรรถว่าไม่ มีอาสวะ เพราะอรรถว่าประพฤติไม่มีอาสวะ ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญ ในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความ ชำนาญในความแตกฉานในความไม่มีอาสวะ เพราะอรรถว่าเป็นวิเวก เพราะอรรถ ว่าประพฤติวิเวก ... เพราะอรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในวิเวก ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในวิเวก เพราะ อรรถว่าปล่อยวาง เพราะอรรถว่าประพฤติปล่อยวาง เพราะอรรถว่ากำหนดความ ปล่อยวาง เพราะอรรถว่ามีความปล่อยวางเป็นบริวาร เพราะอรรถว่ามีความ ปล่อยวางบริบูรณ์ เพราะอรรถว่ามีความปล่อยวางแก่กล้า เพราะอรรถว่าแตกฉาน ในความปล่อยวาง เพราะอรรถว่าให้ถึงความแตกฉานในความปล่อยวาง เพราะ อรรถว่าเจริญความชำนาญในความแตกฉานในความปล่อยวาง ชื่อว่าโพชฌงค์ แม้ ของบุคคลผู้ถึงความชำนาญในความแตกฉานในความปล่อยวาง ฯ [๕๕๙] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นมูล ว่าตรัสรู้ สภาพอันเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นปัจจัย ว่าตรัสรู้สภาพอันหมดจด ว่า ตรัสรู้สภาพอันไม่มีโทษ ว่าตรัสรู้สภาพอันเป็นเนกขัมมะ ว่าตรัสรู้สภาพวิมุติ ว่าตรัสรู้สภาพไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพวิเวก ว่าตรัสรู้สภาพปล่อยวาง ว่าตรัสรู้ สภาพความประพฤติธรรมอันเป็นมูล ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติธรรมอันเป็น เหตุ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติธรรมอันเป็นปัจจัย ว่าตรัสรู้สภาพความ ประพฤติหมดจด ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติไม่มีโทษ ว่าตรัสรู้สภาพความ ประพฤติเนกขัมมะ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติวิมุติ ว่าตรัสรู้สภาพความ ประพฤติไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติวิเวก ว่าตรัสรู้สภาพความ ประพฤติปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความกำหนดธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้ สภาพความกำหนดปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันเป็นมูลเป็นบริวาร ฯลฯ ว่า ตรัสรู้สภาพมีความปล่อยวางเป็นบริวาร ว่าตรัสรู้สภาพมีธรรมอันเป็นมูลบริบูรณ์ ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพมีความปล่อยวางบริบูรณ์ ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันเป็นมูลแก่ กล้า ฯลฯ ว่าตรัสรู้ธรรมอันมีความปล่อยวางแก่กล้า ว่าตรัสรู้สภาพความแตกฉาน ในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพความแตกฉานในความปล่อยวาง ว่าตรัส รู้สภาพอันให้ถึงความแตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพอันให้ถึง ความแตกฉานในความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความเจริญความชำนาญในความ แตกฉานในธรรมอันเป็นมูล ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพความเจริญความชำนาญในความ แตกฉานในความปล่อยวาง ฯลฯ ฯ [๕๖๐] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความกำหนด ว่า ตรัสรู้สภาพบริวาร ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพบริบูรณ์ ว่าตรัสรู้สภาพแห่งจิตมีอารมณ์ เดียว ว่าตรัสรู้สภาพความไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้ ว่าตรัสรู้สภาพ ความไม่แพร่ไป ว่าตรัสรู้สภาพความไม่ขุ่นมัว ว่าตรัสรู้สภาพไม่มีกิเลสเครื่อง หวั่นไหว ว่าตรัสรู้สภาพตั้งอยู่แห่งจิต ด้วยสามารถความปรากฏโดยความมีอารมณ์ เดียว ว่าตรัสรู้สภาพอารมณ์ ว่าตรัสรู้สภาพโคจร ว่าตรัสรู้สภาพละ ว่าตรัสรู้ สภาพสละ ว่าตรัสรู้สภาพการออกไป ว่าตรัสรู้สภาพความหลีกไป ว่าตรัสรู้ สภาพละเอียด ว่าตรัสรู้สภาพประณีต ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น ว่าตรัสรู้สภาพ ไม่มีอาสวะ ว่าตรัสรู้สภาพการข้ามไป ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอันไม่มีนิมิต ว่า ตรัสรู้สภาพนิพพานอันไม่มีที่ตั้ง ว่าตรัสรู้สภาพนิพพานอันว่างเปล่า ว่าตรัสรู้ สภาพธรรมอันมีกิจเป็นอันเดียวกัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมอันไม่ล่วงเกินกัน ว่า ตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นคู่กัน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมเครื่องนำออก ว่าตรัสรู้สภาพ แห่งเหตุ ว่าตรัสรู้สภาพทัสนะ ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นใหญ่ ฯ [๕๖๑] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสมถะ ว่าตรัสรู้ความพิจารณาเห็นแห่งวิปัสสนา ว่าตรัสรู้ความมีกิจเป็นอันเดียวกันแห่ง สมถะและวิปัสสนา ว่าตรัสรู้ความไม่ล่วงเกินกันแห่งธรรมที่คู่กัน ว่าตรัสรู้ความ สมาทานสิกขา ว่าตรัสรู้ความเป็นโคจรแห่งอารมณ์ ว่าตรัสรู้ความประคองจิตที่ หดหู่ไว้ ว่าตรัสรู้ความข่มจิตที่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้ความวางเฉยแห่งจิตที่บริสุทธิ์ทั้งสอง อย่าง ว่าตรัสรู้ความบรรลุธรรมพิเศษ ว่าตรัสรู้ความแทงตลอดธรรมที่ยิ่ง ว่า ตรัสรู้ความตรัสรู้สัจจะ ว่าตรัสรู้ความยังจิตให้ตั้งอยู่ในนิโรธ ฯ [๕๖๒] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความน้อมใจเชื่อแห่ง สัทธินทรีย์ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความเห็นแห่งปัญญินทรีย์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถ ว่าตรัสรู้ความไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาแห่งสัทธาพละ ฯลฯ ว่าตรัส รู้ความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชาแห่งปัญญาพละ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ความตั้งมั่นแห่งสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความพิจารณาหาทางแห่ง อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความเห็นชอบแห่ง สัมมาทิฐิ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะ อรรถว่าตรัสรู้ความเป็นใหญ่แห่งอินทรีย์ ว่าตรัสรู้ความไม่หวั่นไหวแห่งพละ ว่า ตรัสรู้ความนำออกแห่งโพชฌงค์ ว่าตรัสรู้ความเป็นเหตุแห่งมรรค ว่าตรัสรู้ความ ตั้งมั่นแห่งสติปัฏฐาน ว่าตรัสรู้ความตั้งไว้แห่งสัมมัปปธาน ว่าตรัสรู้ความให้ สำเร็จแห่งอิทธิบาท ว่าตรัสรู้ความเป็นธรรมแท้แห่งสัจจะ ว่าตรัสรู้ความระงับ แห่งประโยค ว่าตรัสรู้ความทำให้แจ้งแห่งผล ว่าตรัสรู้ความตรึกแห่งวิตก ว่า ตรัสรู้ความตรองแห่งวิจาร ว่าตรัสรู้ความแผ่ซ่านแห่งปีติ ว่าตรัสรู้ความไหลไป แห่งสุข ว่าตรัสรู้ความมีอารมณ์เดียวแห่งจิต ฯ [๕๖๓] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความนึก ว่าตรัสรู้ สภาพความรู้แจ้ง ว่าตรัสรู้สภาพความรู้ชัด ว่าตรัสรู้สภาพความหมายรู้ ว่าตรัสรู้ สภาพสมาธิอันเป็นธรรมเอกผุดขึ้น ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรรู้ยิ่ง ว่าตรัสรู้สภาพที่ควร กำหนดพิจารณา ว่าตรัสรู้สภาพสละแห่งปหานะ ว่าตรัสรู้สภาพมีกิจเป็นอันเดียว กันแห่งภาวนา ว่าตรัสรู้สภาพควรถูกต้องแห่งสัจฉิกิริยา ว่าตรัสรู้สภาพเป็นกอง แห่งขันธ์ ว่าตรัสรู้สภาพทรงไว้แห่งธาตุ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นบ่อเกิดแห่งอายตนะ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่ง แห่งอสังขตธรรม ฯ [๕๖๔] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพแห่งจิต ว่าตรัสรู้ สภาพที่มีอยู่ในระหว่างแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพความออกแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพ ความหลีกไปแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นปัจจัย แห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นที่ตั้งแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นภูมิแห่งจิต ว่าตรัสรู้ สภาพเป็นอารมณ์แห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพเป็นโคจรแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพความ ประพฤติแห่งจิต ว่าตรัสรู้สภาพที่ดำเนินไปแห่งจิต ฯ [๕๖๕] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพความนึกในธรรม อย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความรู้แจ้งในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความรู้ชัด ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความหมายรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้ สภาพเป็นสมาธิในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความแล่นไปในธรรมอย่าง เดียว ว่าตรัสรู้สภาพความผ่องใสในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความเพิกเฉย ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความหลุดพ้นในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้ สภาพความเห็นว่า นี้ละเอียดในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำเป็นดุจยาน ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความตั้งขึ้นเนืองๆ ในธรรมอย่างเดียว ว่า ตรัสรู้สภาพที่ทำให้เป็นที่ตั้งในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความตั้งขึ้นเนืองๆ ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพก่อในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพปรารภ ด้วยดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่กำหนดในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้ สภาพเป็นบริวารในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพบริบูรณ์ในธรรมอย่างเดียว ว่า ตรัสรู้สภาพที่ประชุมลงในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตั้งมั่นในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพเป็นที่เสพในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพเจริญในธรรมอย่าง เดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ทำให้มากในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ขึ้นไปดีใน ธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้นด้วยดีในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพ ตรัสรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้ตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้ สภาพตรัสรู้เฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพตรัสรู้พร้อมในธรรมอย่าง เดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้ตาม ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้ตรัสรู้เฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้ สภาพที่ให้ตรัสรู้พร้อมในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรม เครื่องให้ตรัสรู้ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ ตรัสรู้ตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้ เฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่เป็นฝ่ายธรรมเครื่องให้ตรัสรู้พร้อม ในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพ ความสว่างขึ้นในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างตามในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างเฉพาะในธรรมอย่างเดียว ว่าตรัสรู้สภาพความสว่างพร้อม ในธรรมอย่างเดียว ฯ [๕๖๖] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นบาทแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพดับ ว่าตรัสรู้สภาพเผาผลาญ ว่าตรัสรู้สภาพความรุ่งเรือง ว่าตรัสรู้ สภาพเครื่องให้กิเลสเร่าร้อน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่ไม่มีมลทิน ว่าตรัสรู้สภาพ ธรรมที่ปราศจากมลทิน ว่าตรัสรู้สภาพธรรมที่หามลทินมิได้ ว่าตรัสรู้สภาพ ความสงบ ว่าตรัสรู้สภาพเครื่องให้สงบ ว่าตรัสรู้สภาพความสงัด ว่าตรัสรู้ สภาพความประพฤติสงัด ว่าตรัสรู้สภาพความสำรอกกิเลส ว่าตรัสรู้สภาพ ความประพฤติสำรอกกิเลส ว่าตรัสรู้สภาพความดับ ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติ ความดับ ว่าตรัสรู้สภาพความปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติความ ปล่อยวาง ว่าตรัสรู้สภาพหลุดพ้น ว่าตรัสรู้สภาพความประพฤติหลุดพ้น ว่าตรัสรู้ สภาพฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นมูลแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นบาทแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นประธานแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้สำเร็จแห่งฉันทะ ว่า ตรัสรู้สภาพน้อมไปแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้แห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้ สภาพตั้งมั่นแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพไม่ฟุ้งซ่านแห่งฉันทะ ว่าตรัสรู้สภาพวิริยะ ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพจิต ฯลฯ ว่าตรัสรู้สภาพวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นมูล แห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นบาทแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นประธาน แห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้สำเร็จแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพน้อมไปแห่ง วิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพประคองไว้แห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพตั้งมั่นแห่งวิมังสา ว่าตรัสรู้สภาพไม่ฟุ้งซ่านแห่งวิมังสา ฯ [๕๖๗] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้ความบีบคั้นแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยปรุงแต่งแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพที่ให้เดือดร้อนแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพความแปรปรวนแห่งทุกข์ ว่าตรัสรู้สภาพความประมวลมาแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพเป็นเหตุแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพที่ประกอบไว้แห่งสมุทัย ว่า ตรัสรู้สภาพพัวพันแห่งสมุทัย ว่าตรัสรู้สภาพที่สลัดออกแห่งทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้ สภาพสงัดแห่งทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพที่ปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งทุกขนิโรธ ว่า ตรัสรู้สภาพเป็นอมตะแห่งทุกขนิโรธ ว่าตรัสรู้สภาพที่นำออกแห่งมรรค ว่าตรัสรู้ สภาพเป็นเหตุแห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพที่เห็นแห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพความเป็น ใหญ่แห่งมรรค ว่าตรัสรู้สภาพที่ถ่องแท้ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นอนัตตา ว่าตรัสรู้ สภาพเป็นของจริง ว่าตรัสรู้สภาพแทงตลอด ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรรู้ยิ่ง ว่าตรัสรู้ สภาพที่ควรกำหนดรู้ ว่าตรัสรู้สภาพเป็นธรรม ว่าตรัสรู้สภาพที่เป็นธาตุ ว่าตรัสรู้ สภาพที่ปรากฏ ว่าตรัสรู้สภาพที่ควรทำให้แจ้ง ว่าตรัสรู้สภาพถูกต้อง ว่าตรัสรู้ สภาพตรัสรู้ ว่าตรัสรู้เนกขัมมะ ว่าตรัสรู้ความไม่พยาบาท ว่าตรัสรู้อาโลกสัญญา ว่าตรัสรู้ความไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้กำหนดธรรม ว่าตรัสรู้ญาณ ว่าตรัสรู้ความ ปราโมทย์ ว่าตรัสรู้ปฐมญาณ ฯลฯ ว่าตรัสรู้อรหัตมรรค ฯ [๕๖๘] ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะอรรถว่าตรัสรู้สัทธินทรีย์ด้วยความว่าน้อม ใจเชื่อ ฯลฯ ว่าตรัสรู้ปัญญินทรีย์ด้วยความว่าเห็นว่าตรัสรู้สัทธาพละด้วยความไม่ หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ว่าตรัสรู้ปัญญาพละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว ไปในอวิชชา ว่าตรัสรู้สติสัมโพชฌงค์ด้วยความว่าตั้งมั่น ฯลฯ ว่าตรัสรู้อุเบกขา สัมโพชฌงค์ด้วยความว่าพิจารณาหาทาง ว่าตรัสรู้สัมมาทิฐิด้วยความว่าเห็น ฯลฯ ว่าตรัสรู้สัมมาสมาธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้อินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ ว่าตรัสรู้พละด้วยความว่าไม่หวั่นไหว ว่าตรัสรู้สภาพนำออก ว่าตรัสรู้มรรคด้วย ความว่าเป็นเหตุ ว่าตรัสรู้สติปัฏฐานด้วยความว่าตั้งมั่น ว่าตรัสรู้สัมมัปปธานด้วย ความว่าตั้งไว้ ว่าตรัสรู้อิทธิบาทด้วยความว่าให้สำเร็จ ว่าตรัสรู้สัจจะด้วยความว่า เป็นของแท้ ว่าตรัสรู้สมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้วิปัสสนาด้วยความว่า พิจารณาเห็น ว่าตรัสรู้สมถะและวิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ว่าตรัสรู้ ธรรมที่เป็นคู่กันด้วยความว่าไม่ล่วงเกินกัน ว่าตรัสรู้สีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม ว่าตรัสรู้จิตวิสุทธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ว่าตรัสรู้ทิฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น ว่า ตรัสรู้วิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น ว่าตรัสรู้วิชชาด้วยความว่าแทงตลอด ว่าตรัสรู้ วิมุตติด้วยความว่าสละ ว่าตรัสรู้ขยญาณด้วยความว่าตัดขาด ว่าตรัสรู้ญาณใน ความไม่เกิดขึ้นด้วยความว่าระงับ ว่าตรัสรู้ฉันทะด้วยความว่าเป็นมูล ว่าตรัสรู้ มนสิการด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ว่าตรัสรู้ผัสสะด้วยความว่าเป็นที่รวม ว่าตรัสรู้ เวทนาด้วยความว่าเป็นที่ประชุม ว่าตรัสรู้สมาธิด้วยความว่าเป็นประธาน ว่า ตรัสรู้สติด้วยความว่าเป็นใหญ่ ว่าตรัสรู้ปัญญาด้วยความว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรม นั้นๆ ว่าตรัสรู้วิมุติด้วยความว่าเป็นสาระ ว่าตรัสรู้นิพพานอันหยั่งลงในอมตะ ด้วยความว่าเป็นที่สุด ฯ
-----------------------------------------------------
สาวัตถีนิทาน
------------------
[๕๖๙] ณ ที่นั้นแล ท่านพระสารีบุตรเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรท่าน ผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตรได้ กล่าวว่า ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ๗ ประการเป็นไฉน คือสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย โพชฌงค์ ๗ ประการนี้แล ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เรานั้นหวังจะอยู่ในเวลาเช้า ด้วยโพชฌงค์ใดๆ ในโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เราก็อยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์ นั้นๆ หวังจะอยู่ในเวลาเที่ยง ฯลฯ เวลาเย็นด้วยโพชฌงค์ใดๆ เราก็อยู่ใน เวลาเย็นด้วยโพชฌงค์นั้นๆ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรา มีอยู่ดังนี้ สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าเราปรารภแล้ว ด้วยดี เมื่อเรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราย่อมรู้ว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อน ไปเพราะปัจจัยนี้ ฯลฯ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรา มีอยู่ดังนี้ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ ชื่อว่าเราปรารภ แล้วด้วยดี เมื่อเรากำลังเที่ยวไปย่อมรู้ซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราย่อมรู้ว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ ดูกรท่านผู้มีอายุทั้งหลาย เปรียบเหมือนตู้เก็บผ้า ของพระราชา หรือของราชมหาอำมาตย์ เต็มด้วยผ้าสีต่างๆ พระราชาหรือ ราชมหาอำมาตย์นั้น ประสงค์จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเช้า ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแล ประสงค์ จะใช้ผ้าคู่ใดในเวลาเที่ยง ในเวลาเย็น ก็ใช้ผ้าคู่นั้นนั่นแล ฉันใด ดูกรท่านผู้มี อายุทั้งหลาย เราก็ฉันนั้นเหมือนกันแล หวังจะอยู่ในเวลาเช้าด้วยโพชฌงค์ใดๆ ในโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ... ถ้าแม้อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไป เราก็รู้ว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ ฯ [๕๗๐] โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น มีอยู่อย่างไร ฯ นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ของเรา มีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น เปรียบเหมือนเมื่อดวงประทีปที่ตามด้วยน้ำมัน กำลังสว่างอยู่ เปลวไฟมีเพียงใด แสงก็มีเพียงนั้น แสงมีเพียงใด เปลวไฟก็มี เพียงนั้น ฉันใด นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าสติสัมโพชฌงค์ ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น ฉันนั้น ฯ โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้น มีอยู่ อย่างไร ฯ กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวงเทียว สังขารอันให้เกิดในภพใหม่ มีประมาณ นิโรธหาประมาณมิได้ เพราะความเป็นอสังขตธรรม นิโรธย่อมปรากฏ เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้นั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น ฯ โพชฌงค์ในข้อว่า สติสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้น มีอยู่อย่างไร ฯ กิเลสทั้งหลาย ปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวงเทียว สังขารอันให้เกิดในภพใหม่ ไม่เสมอ นิโรธมีความเสมอเป็นธรรมดา เพราะความเป็นธรรมละเอียด เพราะ ความเป็นธรรมประณีต นิโรธย่อมปรากฏเพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า สติ สัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้น ก็มีอยู่เพียงนั้น ฯ [๕๗๑] เมื่อเราเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะ ปัจจัยนี้ อย่างไร สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร ย่อมเคลื่อนไป ด้วยอาการเท่าไร สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ ย่อมเคลื่อนไปด้วย อาการ ๘ ฯ สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน สติสัมโพชฌงค์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด ๑ ด้วยความไม่นึกถึงความ เกิด ๑ ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป ๑ ด้วยความไม่นึกถึงความ เป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิมิต ๑ ด้วยความนึกถึงนิโรธ ๑ ด้วยความไม่นึกถึงสังขาร ๑ สติสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ ด้วยอาการ ๘ นี้ ฯ สติสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเคลื่อนไปด้วยความนึกถึงความเกิด ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มี ความเกิด ๑ ด้วยความนึกถึงความเป็นไป ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มี ความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิมิต ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มี นิมิต ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิโรธ ๑ ด้วยความนึกถึงสังขาร ๑ สติสัมโพชฌงค์ ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ นี้ เมื่อเรากำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งสติสัมโพชฌงค์ ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า สติสัมโพชฌงค์ของเรา เคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้ ฯลฯ ฯ [๕๗๒] โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น มีอยู่อย่างไร นิโรธปรากฏอยู่เพียงใด โพชฌงค์ในข้อว่า ถ้าอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ของเรามีอยู่ดังนี้นั้น ก็มีเพียงนั้น เปรียบเหมือนดวงประทีปที่ตามด้วยน้ำมัน กำลังสว่างอยู่ ... ฯ โพชฌงค์ในข้อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราก็ชื่อว่าหาประมาณมิได้ นั้น มีอยู่อย่างไร ... ฯ โพชฌงค์ในข้อว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ชื่อว่าเราปรารภแล้วด้วยดีนั้น มีอยู่อย่างไร ... ฯ เมื่อเราเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้เคลื่อนไป เราก็รู้ชัดว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการเท่าไร ย่อมเคลื่อนไปด้วย อาการเท่าไร อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ ย่อมเคลื่อนไปด้วย อาการ ๘ ฯ [๕๗๓] อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมดำรงอยู่ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มี ความเกิดขึ้น ๑ ชื่อว่าโพชฌงค์ เพราะความไม่นึกถึงความเกิด ๑ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้ความน้อมไปแห่งจิต ว่าตรัสรู้ความนำออกแห่งจิต อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ดำรงไว้ซึ่งความสลัดออกแห่งจิต ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป ๑ ด้วยความไม่นึกถึงความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิมิต ๑ ด้วยความนึกถึงนิโรธ ๑ ด้วยความไม่นึกถึงสังขาร ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมดำรงอยู่ด้วยอาการ ๘ นี้ ฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ เป็นไฉน อุเบกขาสัมโพชฌงค์ ย่อมเคลื่อนไปด้วยความนึกถึงความเกิด ๑ ด้วย ความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเกิด ๑ ด้วยความนึกถึงความเป็นไป ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีความเป็นไป ๑ ด้วยความนึกถึงนิมิต ๑ ด้วยความไม่นึกถึงนิพพานอันไม่มีนิมิต ๑ ด้วยความนึกถึงสังขาร ๑ ด้วยความ ไม่นึกถึงนิโรธ ๑ อุเบกขาสัมโพชฌงค์ย่อมเคลื่อนไปด้วยอาการ ๘ นี้ เมื่อเรา กำลังเที่ยวไป ย่อมรู้ชัดซึ่งอุเบกขาสัมโพชฌงค์ที่ดำรงอยู่ว่า ดำรงอยู่ ถ้าแม้ เคลื่อนไปเราก็รู้ว่า อุเบกขาสัมโพชฌงค์ของเราเคลื่อนไปเพราะปัจจัยนี้ อย่างนี้ ฯ
จบโพชฌงคกถา
-----------------------------------------------------
ยุคนัทธวรรค เมตตากถา
สาวัตถีนิทาน
[๕๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นอันหวังได้ อานิสงส์ ๑๑ ประการเป็นไฉน คือ ผู้เจริญเมตตาย่อมหลับเป็นสุข ๑ ตื่นเป็นสุข ๑ ไม่ฝัน ลามก ๑ ย่อมเป็นที่รักของมนุษย์ ๑ ย่อมเป็นที่รักของอมนุษย์ ๑ เทวดาย่อม รักษา ๑ ไฟ ยาพิษ หรือศาตราย่อมไม่กล้ำกราย ๑ จิตของผู้เจริญเมตตาเป็น สมาธิได้รวดเร็ว ๑ สีหน้าของผู้เจริญเมตตาย่อมผ่องใส ๑ ย่อมไม่หลงใหล กระทำกาละ ๑ เมื่อยังไม่แทงตลอดธรรมอันยิ่งย่อมเข้าถึงพรหมโลก ๑ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย เมื่อเมตตาเจโตวิมุตติ อันบุคคลเสพแล้ว เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานิสงส์ ๑๑ ประการนี้เป็นอันหวังได้ ฯ [๕๗๕] เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงก็มี แผ่ไปโดยเจาะจงก็มี แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายก็มี เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการเท่าไร แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการเท่าไร เมตตา เจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ แผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ แผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ ฯ เมตตาเจโตวิมุตติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วยอาการ ๕ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ปาณะทั้งปวง ฯลฯ ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยไม่เจาะจงด้วย อาการ ๕ นี้ ฯ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงว่า ขอหญิงทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ชายทั้งปวง ฯลฯ อารยชน ทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตา เจโตวิมุติแผ่ไปโดยเจาะจงด้วยอาการ ๗ นี้ ฯ [๕๗๖] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ เป็นไฉน เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพาจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศปัศจิม ฯลฯ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอุดร ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศอาคเนย์ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศ อีสาน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องล่าง ขอสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็น สุขเถิด ขอปาณะทั้งปวงในทิศบูรพา ฯลฯ ภูต บุคคล ผู้ที่นับเนื่องด้วยอัตภาพ หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศปัศจิม ฯลฯ วินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศอุดร วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศทักษิณ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ อาคเนย์ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศพายัพ วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศอีสาน วินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศหรดี วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศเบื้องล่าง วินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่เบียดเบียนกัน ไม่มีทุกข์ รักษาตนอยู่เป็นสุขเถิด เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่ทิศทั้งหลายด้วยอาการ ๑๐ นี้ เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปสู่สัตว์ทั้งปวงด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความบีบคั้น ไม่บีบคั้นสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งปวง ๑ ด้วยเว้นการทำให้ เดือดร้อน ไม่ทำสัตว์ทั้งปวงให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยีสัตว์ ทั้งปวง ๑ ด้วยการเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งปวง ๑ ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่าได้มีเวร ๑ จงเป็นผู้มีสุข อย่ามีทุกข์ ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์ ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรัก ชื่อว่าเจโต เพราะคิด ถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมี เมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๗๗] บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธา ว่าขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้เป็นมั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาทราบชัดด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม เจริญเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นพหุลี กรรมของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริขาร ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมห้อมล้อม เมตตาเจโตวิมุติดีแล้วด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความ บริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็น ความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ดี เป็นความพ้นวิเศษ เป็น ความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ เมตตาเจโตวิมุติอันบุคคลทำให้ เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ สั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๘] ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ด้วยมน- *สิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธาพละ ผู้เจริญเมตตาย่อมไม่ หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ด้วยมนสิการ ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่ มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ผู้เจริญเมตตา ย่อมไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ผู้เจริญเมตตาย่อม ไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา ด้วยมนสิการว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็น อาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๗๙] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย สติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้นด้วยปัญญาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความ เร่าร้อนว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาระงับความคิดชั่วหยาบไว้ว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตไว้ว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ฯลฯ ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ผู้เจริญ เมตตาย่อมวางเฉยกิเลสทั้งหลายด้วยญาณว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร จงมีความปลอดโปร่ง จงมีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ... เมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดี แล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อม ยังบุคคลนั้นให้เกิด ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๐] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *ทิฐิ ผู้เจริญเมตตาย่อมดำริโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ผู้เจริญเมตตาย่อมกำหนด โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งการงานไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมา- *กัมมันตะ ผู้เจริญเมตตาย่อมชำระอาชีพให้ขาวผ่องโดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาอาชีวะ ผู้เจริญเมตตาย่อมประคองความเพียรไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มี เวร ... ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ผู้เจริญเมตตา ย่อมตั้งสติไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร ... ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ผู้เจริญเมตตาย่อมตั้งไว้โดยชอบว่า ขอสัตว์ ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโต- *วิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ ของเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นภาวนาของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเจริญเมตตา- *เจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นพหุลีกรรม ของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมทำให้มากซึ่งเมตตาเจโตวิมุติด้วย องค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอลังการของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ประดับเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็น บริขารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมปรุงแต่งเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อม ห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยดีด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการ นี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพลีหุกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็น บริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็นความเกี่ยวข้อง เป็น สัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความตั้งอยู่ด้วยดี เป็นความ พ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่านี้ละเอียดของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดัง ยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้วดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคลนั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๑] เมตตาเจโตวิมุติ แผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่อง ด้วยอัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงจงเป็น ผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตน เป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะพ้นจากพยาบาทและปริยุฏ- *ฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตาย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอวินิปาติก- *สัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้ โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๒] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้น ความบีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา ในทิศปัศจิม ในทิศอุดร ในทิศ ทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศหรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมีตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึง ธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติ เพราะหลุดพ้นจากพยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วย เป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่า ขอสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็น อันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๓] เมตตาเจโตวิมุติแผ่ไปด้วยอาการ ๘ นี้ คือ ด้วยการเว้นความ บีบคั้น ไม่บีบคั้น ๑ ด้วยเว้นการฆ่า ไม่ฆ่า ๑ ด้วยเว้นการทำให้เดือดร้อน ไม่ทำให้เดือดร้อน ๑ ด้วยเว้นความย่ำยี ไม่ย่ำยี ๑ ด้วยเว้นการเบียดเบียน ไม่เบียดเบียน ๑ ซึ่งปาณะทั้งปวง ภูตทั้งปวง บุคคลทั้งปวง สัตว์ผู้นับเนื่องด้วย อัตภาพทั้งปวง หญิงทั้งปวง ชายทั้งปวง อารยชนทั้งปวง อนารยชนทั้งปวง เทวดาทั้งปวง มนุษย์ทั้งปวง วินิปาติกสัตว์ทั้งปวง ในทิศบูรพา ในทิศปัศจิม ในทิศอุดร ในทิศทักษิณ ในทิศอาคเนย์ ในทิศพายัพ ในทิศอีสาน ในทิศ หรดี ในทิศเบื้องต่ำ ในทิศเบื้องบน ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศบูรพา จง เป็นผู้ไม่มีเวร อย่ามีเวรกันเถิด ๑ จงมีความสุข อย่ามีความทุกข์เถิด ๑ จงมี ตนเป็นสุข อย่ามีตนเป็นทุกข์เถิด ๑ จิตชื่อว่าเมตตา เพราะรักวินิปาติกสัตว์ ทั้งปวงในทิศเบื้องบน ชื่อว่าเจโต เพราะคิดถึงธรรมนั้น ชื่อว่าวิมุติเพราะพ้นจาก พยาบาทและปริยุฏฐานกิเลสทั้งปวง จิตมีเมตตาด้วยเป็นเจโตวิมุติด้วย เพราะ ฉะนั้นจึงชื่อว่า เมตตาเจโตวิมุติ ฯ [๕๘๔] บุคคลผู้เจริญเมตตา ย่อมน้อมใจไปด้วยศรัทธาว่าขอวินิปาติก สัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาประคอง ความเพียรไว้ว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย วิริยินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสตินทรีย์ ผู้เจริญเมตตาตั้งจิตมั่น ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสมาธินทรีย์ ผู้เจริญเมตตารู้ชัดด้วยปัญญา ฯลฯ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปัญญินทรีย์ อินทรีย์ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตา- *เจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยอินทรีย์ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อม ให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๕] ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ด้วย มนสิการว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความ ปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัทธา พละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน เมตตาเจโตวิมุติ เป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริยพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในความ ประมาท เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิพละ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยปัญญาพละ พละ ๕ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคล ย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยพละ ๕ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๖] ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้มั่นว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงในทิศ เบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาเลือกเฟ้น ด้วยปัญญา เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยวิริย- *สัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความเร่าร้อนไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอัน อบรมแล้วด้วยปีติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาระงับความชั่วหยาบไว้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งจิตไว้มั่น เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสมาธิสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ผู้ เจริญเมตตาวางเฉยกิเลสทั้งปวงด้วยญาณ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วย อุเบกขาสัมโพชฌงค์ โพชฌงค์ ๗ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติด้วยโพชฌงค์ ๗ ประการนี้ ฯลฯ ย่อมให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ [๕๘๗] ผู้เจริญเมตตาย่อมเห็นโดยชอบว่า ขอวินิปาติกสัตว์ทั้งปวงใน ทิศเบื้องบน จงเป็นผู้ไม่มีเวร มีความปลอดโปร่ง มีความสุขเถิด ดังนี้ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาทิฐิ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาดำริโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตากำหนด โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวาจา ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งการงานไว้โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมากัมมันตะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาชำระอาชีพให้ผ่องแผ้วโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้ว ด้วยสัมมาอาชีวะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาประคองความเพียรไว้โดยชอบ เมตตา- *เจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาวายามะ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตาตั้งสติไว้ โดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสติ ฯลฯ ผู้เจริญเมตตา ตั้งมั่นโดยชอบ เมตตาเจโตวิมุติเป็นอันอบรมแล้วด้วยสัมมาสมาธิ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะของเมตตาเจโตวิมุติ บุคคลย่อมเสพเมตตาเจโตวิมุติ ด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ ฯลฯ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นบริวารของเมตตา เจโตวิมุติ บุคคลห้อมล้อมเมตตาเจโตวิมุติด้วยองค์มรรค ๘ ประการนี้ องค์มรรค ๘ ประการนี้ เป็นอาเสวนะ เป็นภาวนา เป็นพหุลีกรรม เป็นอลังการ เป็นบริขาร เป็นบริวาร เป็นความบริบูรณ์ เป็นสหรคต เป็นสหชาติ เป็น ความเกี่ยวข้อง เป็นสัมปยุต เป็นความแล่นไป เป็นความผ่องใส เป็นความ ดำรงมั่น เป็นความพ้นวิเศษ เป็นความเห็นว่า นี้ละเอียด ของเมตตาเจโตวิมุติ อันบุคคลทำให้เป็นดังยาน ทำให้เป็นที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆสั่งสมแล้ว ปรารภดีแล้ว เจริญดีแล้ว อธิษฐานดีแล้ว ดำเนินขึ้นไปดีแล้ว พ้นวิเศษแล้ว ย่อมยังบุคคล นั้นให้เกิด (ให้รุ่งเรือง) ให้โชติช่วง ให้สว่างไสว ฯ
จบเมตตากถา ฯ
-----------------------------------------------------
ยุคนัทธวรรค วิราคกถา
[๕๘๘] วิราคะเป็นมรรค วิมุติเป็นผล วิราคะเป็นมรรคอย่างไร ฯ ในขณะโสดาปัตติมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ย่อมคลายจากมิจฉา- *ทิฐิ จากกิเลสอันเป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะ (มรรค) มีวิราคะ (นิพพาน) เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามา ประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมี นิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่ เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคอันมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือ ลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถว่าดำริ ย่อมคลายจากมิจฉาสังกัปปะ สัมมา- *วาจาด้วยอรรถว่ากำหนด ย่อมคลายจากมิจฉาวาจา สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้ง ขึ้นด้วยดี ย่อมคลายจากมิจฉากัมมันตะ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีวะให้ ผ่องแผ้ว ย่อมคลายจากมิจฉาอาชีวะ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ ย่อม คลายจากมิจฉาวายามะ สัมมาสติด้วยอรรถว่าตั้งมั่น ย่อมคลายจากมิจฉาสติ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากมิจฉาสมาธิ จากกิเลสที่เป็น ไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์และสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะ เป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประ ดิษฐานอยู่ในวิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาสังกัปปะเป็นต้นนั้น มีนิพพานเป็นอารมณ์เป็น วิราคะ ๑ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความ เป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น มรรคจึงเป็นวิราคะ พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมไปถึงนิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุดและประเสริฐกว่า มรรคของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรค จึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ [๕๘๙] ในขณะสกทาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัยส่วนหยาบๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ [๕๙๐] ในขณะอนาคามิมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา- *สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆคลายจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉา- *สมาธินั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ ฯลฯ เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่ามรรคทั้งหลาย ฯ [๕๙๑] ในขณะอรหัตมรรค สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา- *สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมคลายจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัย คลายจากกิเลสที่เป็นไปตาม มิจฉาสมาธินั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิราคะมีวิราคะเป็นอารมณ์ มีวิราคะเป็นโคจร เข้ามาประชุมในวิราคะ ตั้งอยู่ในวิราคะ ประดิษฐานอยู่ใน วิราคะ วิราคะในคำว่า วิราโค นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิราคะ ๑ ธรรมทั้งปวง ที่เกิดเพราะสัมมาสมาธิมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิราคะ ๑ เพราะฉะนั้นมรรค จึงเป็นวิราคะ องค์ ๗ ที่เป็นสหชาติ ย่อมถึงความเป็นวิราคะ เพราะฉะนั้น วิราคะจึงเป็นมรรค พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระสาวก ย่อมถึง นิพพานอันเป็นทิศที่ไม่เคยไปด้วยมรรคนี้ เพราะฉะนั้น อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้ เท่านั้น จึงล้ำเลิศ เป็นประธาน สูงสุด และประเสริฐกว่ามรรคของสมณ- *พราหมณ์เป็นอันมากผู้ถือลัทธิอื่น เพราะฉะนั้น อัฏฐังคิกมรรคจึงประเสริฐกว่า มรรคทั้งหลาย ฯ [๕๙๒] สัมมาทิฐิเป็นวิราคะเพราะความเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นวิราคะ เพราะความดำริ สัมมาวาจาเป็นวิราคะเพราะความกำหนด สัมมากัมมันตะเป็น วิราคะเพราะความตั้งขึ้นไว้ชอบ สัมมาอาชีวะเป็นวิราคะเพราะชำระอาชีวะให้ ผ่องแผ้ว สัมมาวายามะเป็นวิราคะเพราะประคองไว้ สัมมาสติเป็นวิราคะเพราะ ตั้งมั่น สัมมาสมาธิเป็นวิราคะเพราะไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะ ตั้งมั่น ธรรมวิจยสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะเลือกเฟ้น วิริยสัมโพชฌงค์เป็น วิราคะเพราะประคองไว้ ปีติสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะแผ่ซ่านไป ปัสสัทธิ- *สัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความสงบ สมาธิสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความ ไม่ฟุ้งซ่าน อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะความพิจารณาหาทาง สัทธาพละ เป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา วิริยพละเป็นวิราคะ เพราะความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน สติพละเป็นวิราคะเพราะความไม่ หวั่นไหวไปในความประมาท สมาธิพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปใน อุทธัจจะ ปัญญาพละเป็นวิราคะเพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา สัทธินทรีย์ เป็นวิราคะ เพราะความน้อมใจเชื่อ วิริยินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความประคอง ไว้ สตินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความตั้งมั่น สมาธินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความไม่ ฟุ้งซ่าน ปัญญินทรีย์เป็นวิราคะเพราะความเห็น อินทรีย์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่า เป็นใหญ่ พละเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นวิราคะเพราะ อรรถว่านำออกไป มรรคเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นวิราคะ เพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเริ่มตั้งไว้ อิทธิบาทเป็น วิราคะเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้ สมถะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพิจารณา เห็น สมถวิปัสสนาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่คู่กันเป็น วิราคะเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่า เห็น วิโมกข์เป็นวิราคะเพราะอรรถว่าพ้นวิเศษ วิชชาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่า แทงตลอด วิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าสละ ขยญาณเป็นวิราคะเพราะอรรถว่า ตัดขาด ฉันทะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการเป็นวิราคะเพราะอรรถว่า เป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นวิราคะเพราะ อรรถว่าเป็นที่ประชุมลง สมาธิเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็น วิราคะเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นธรรมที่ยิ่งกว่า ธรรมนั้นๆวิมุติเป็นวิราคะเพราะอรรถว่าเป็นสารธรรม สัมมาทิฐิเป็นมรรค เพราะความเห็น สัมมาสังกัปปะเป็นมรรคเพราะความดำริ ฯลฯ นิพพานอัน หยั่งลงในอมตะเป็นมรรคเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิราคะเป็นมรรคอย่างนี้ ฯ [๕๙๓] วิมุติเป็นผลอย่างไร ในขณะโสดาปัตติผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถ ว่าเห็น พ้นจากมิจฉาทิฐิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐินั้น จากขันธ์และ จากสรรพนิมิตภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร เข้ามา ประชุมในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒ คือ นิพพาน เป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะสัมมาทิฐิมีนิพพาน เป็นอารมณ์ เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล สัมมาสังกัปปะด้วยอรรถ ว่าดำริ พ้นจากมิจฉาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจาด้วยอรรถว่ากำหนดพ้นจาก มิจฉาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะด้วยอรรถว่าตั้งไว้ด้วยดี พ้นจากมิจฉากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะด้วยอรรถว่าชำระอาชีพให้ผ่องแผ้ว พ้นจากมิจฉาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะด้วยอรรถว่าประคองไว้ พ้นจากมิจฉาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ด้วยอรรถว่าตั้งมั่น พ้นจากมิจฉาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน พ้นจากมิจฉาสมาธิ พ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาสังกัปปะเป็นต้นนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร ประชุม เข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ [๕๙๔] ในขณะสกทาคามิผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ กามราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนหยาบๆพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก ... เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ [๕๙๕] ในขณะอนาคามิผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมา สมาธิด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากกามราคสังโยชน์ ปฏิฆสังโยชน์ กาม ราคานุสัย ปฏิฆานุสัย ส่วนละเอียดๆพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิ เป็นต้นนั้น จากขันธ์ และจากสรรพนิมิตภายนอก ... เพราะฉะนั้น วิมุติ จึงเป็นผล ฯ [๕๙๖] ในขณะอรหัตผล สัมมาทิฐิด้วยอรรถว่าเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิ ด้วยอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมพ้นจากรูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา มานานุสัย ภวราคานุสัย อวิชชานุสัยพ้นจากกิเลสที่เป็นไปตามมิจฉาทิฐิเป็นต้นนั้น จากขันธ์และจากสรรพนิมิตภายนอก วิมุติมีวิมุติเป็นอารมณ์ มีวิมุติเป็นโคจร ประชุมเข้าในวิมุติ ตั้งอยู่ในวิมุติ ประดิษฐานอยู่ในวิมุติ วิมุติในคำว่า วิมุตฺติ นี้มี ๒ คือ นิพพานเป็นวิมุติ ๑ ธรรมทั้งปวงที่เกิดเพราะมีนิพพานเป็นอารมณ์ เป็นวิมุติ ๑ เพราะฉะนั้น วิมุติจึงเป็นผล ฯ [๕๙๗] สัมมาทิฐิเป็นวิมุติเพราะความเห็น ฯลฯ สัมมาสมาธิเป็นวิมุติ เพราะความไม่ฟุ้งซ่าน สติสัมโพชฌงค์เป็นวิมุติ เพราะความตั้งไว้มั่น ฯลฯ อุเบกขาสัมโพชฌงค์เป็นวิมุติเพราะความพิจารณาหาทาง สัทธาพละเป็นวิมุติ เพราะความไม่หวั่นไหวไปในความไม่มีศรัทธา ฯลฯ ปัญญาพละเป็นวิมุติ เพราะความไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา สัทธินทรีย์เป็นวิมุติเพราะความน้อมใจเชื่อ ฯลฯ ปัญญินทรีย์เป็นวิมุติเพราะความเห็น อินทรีย์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นเครื่อง นำออก มรรคเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐานเป็นวิมุติเพราะอรรถว่า ตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเริ่งตั้งไว้ อิทธิบาทเป็นวิมุติเพราะ อรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นของถ่องแท้ สมถะเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าพิจารณาเห็น สมถวิปัสสนา เป็นวิมุติเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็นคู่กันเป็นวิมุติเพราะอรรถว่า ไม่ล่วงเกินกัน สีลวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าสำรวม จิตตวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะ อรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าพ้น วิชชาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าแทงตลอด วิมุติเป็นวิมุติเพราะอรรถ ว่าสละ ญาณในความไม่เกิดขึ้นเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าระงับ ฉันทะเป็นวิมุติ เพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการ เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็น วิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม สมาธิ เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญา เป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ วิมุติเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็น สารธรรม นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นวิมุติเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด วิมุติเป็นผล อย่างนี้ วิราคะ เป็นมรรค วิมุติเป็นผล ด้วยประการฉะนี้ ฯ
จบวิราคกถา ฯ
-----------------------------------------------------
ยุคนัทธวรรค ปฏิสัมภิทากถา
[๕๙๘] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ ฯ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสกะภิกษุเบญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนสุด ๒ ประการนี้ บรรพชิตไม่ควรเสพ ส่วนสุด ๒ ประการเป็นไฉน คือ การประกอบความพัวพันกามสุขในกามทั้งหลาย อันเป็น ของเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ ด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบการทำตนให้ลำบาก เป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทาอันไม่เกี่ยวข้อง ส่วนสุดทั้ง ๒ ประการนี้นั้น ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุทำญาณ (เห็นประจักษ์ รู้ชัด) ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็มัชฌิมาปฏิปทาที่ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ เป็นไป เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน อริยมรรคมีองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฐิ ... สัมมาสมาธิ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มัชฌิมาปฏิปทานี้นั้นแล ตถาคตตรัสรู้แล้ว ทำจักษุ ทำญาณ ย่อมเป็นไป เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน ฯ [๕๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขอริยสัจนี้แล คือ แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์ แม้ความแก่ก็เป็นทุกข์ แม้ความป่วยไข้ก็เป็นทุกข์ แม้ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสัตว์ และสังขารอันเป็นที่รักเป็นทุกข์ แม้ความไม่ได้สมปรารถนาก็เป็นทุกข์ โดยย่อ อุปาทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขสมุทัยสัจนี้แล คือ ตัณหาอันให้ เกิดในภพต่อไป อันสหรคตด้วยความกำหนัดด้วยสามารถความเพลิดเพลิน เป็นเหตุ ให้เพลินในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ดูกรภิกษุ ทั้งหลายก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้แล คือ ความดับตัณหานั้นแลโดยความสำรอกไม่เหลือ ความสละ ความสละคืน ความปล่อย ความไม่พัวพัน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้แล คือ อริยมรรคมีองค์ ๘ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ ฯ [๖๐๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่ยัง ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรากำหนด รู้แล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ เราละได้แล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธอริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯ เราทำให้แจ้งแล้ว ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราได้เจริญแล้ว ฯ [๖๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ยถาภูตญาณทัสนะมีวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ ๔ ของเรา ยังไม่หมดจดดี เพียงใด เราก็ยังไม่ปฏิญาณว่า ได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในโลกพร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ เพียงนั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย แต่เมื่อใดแล ยถาภูตญาณทัสนะมีวนรอบ ๓ มีอาการ ๑๒ ด้วยประการฉะนี้ ในอริยสัจ ๔ ของเรา หมดจดดีแล้ว เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณว่าได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในโลกพร้อมทั้ง เทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ก็แลญาณทัสนะเกิดขึ้นแก่เราว่า เจโตวิมุติของเราไม่กำเริบ ชาตินี้ มีในที่สุด บัดนี้ ไม่มีการเกิดในภพต่อไป พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้ จบลงแล้ว ภิกษุปัญจวัคคีย์ชื่นชมยินดีพระพุทธภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็แล เมื่อพระผู้มีพระภาคกำลังตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ ธรรมจักษุอันปราศจากธุลี ปราศจากมลทิน เกิดขึ้นแก่ท่านพระโกณฑัญญะว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความเกิดขึ้น เป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งมวลล้วนมีความดับเป็นธรรมดา ฯ ก็เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงประกาศธรรมจักรแล้ว ภุมมเทวดา ก็ประกาศ ก้องว่า พระผู้มีพระภาคทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐนี้ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลกให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี เทวดาชั้นจาตุมมหาราชได้ฟังเสียงของ ภุมมเทวดาแล้ว ฯลฯ เทวดาชั้นดาวดึงส์ เทวดาชั้นยามา เทวดาชั้นดุสิต เทวดา ชั้นนิมมานรดี เทวดาชั้นปรนิมมิตวสวัตดี เทวดาผู้นับเนื่องในหมู่พรหมก็ประกาศ ก้องว่า พระผู้มีพระภาคทรงยังธรรมจักรอันประเสริฐนี้ ที่สมณพราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปไม่ได้ ให้เป็นไปแล้ว ที่ป่า อิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ฯ เพราะเหตุดังนี้แล โดยขณะระยะครู่เดียวนั้น เสียงก็บันลือลั่นไป จนตลอดพรหมโลก และหมื่นโลกธาตุนี้ ก็สะเทือนสะท้านหวั่นไหว อนึ่ง แสงสว่างอย่างยิ่ง หาประมาณมิได้ ก็ปรากฏขึ้นในโลก ล่วงเสียซึ่งเทวานุภาพ ของเทวดาทั้งหลาย ฯ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคทรงเปล่งอุทานว่า ท่านผู้เจริญ ภิกษุ โกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ ท่านผู้เจริญ ภิกษุโกณฑัญญะได้รู้แล้วหนอ เพราะ อุทานดังนี้แล ท่านโกณฑัญญะจึงมีนามว่า อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้ ฯ [๖๐๒] จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ คำว่า จักษุเกิดขึ้น ... แสงสว่าง เกิดขึ้น นี้ เพราะอรรถว่ากระไร คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะ อรรถว่ารู้ คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าแทงตลอด คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของธรรม ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้นเป็นโคจร ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้น เป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในธรรม ทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ฯ ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความ แทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์ และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอรรถ ปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่าน จึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่า อรรถปฏิสัมภิทา ฯ การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชนะ นิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจร ของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใด เป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็น โคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุติทั้งหลายว่า นิรุติปฏิสัมภิทา ฯ ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และ เป็นโคจรของปฏิภาณ ปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรม เหล่านั้นเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใด เป็นโคจร ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ฯ [๖๐๓] จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแลควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรากำหนดรู้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณ เกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้น แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร ฯ คำว่า จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ... แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์ และเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณ ทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในทุกขอริยสัจมีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ [๖๐๔] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ เราละได้แล้ว ฯลฯ ในทุกขสมุทัยอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธ อริยสัจนี้นั้นแล ควรทำให้แจ้ง ฯลฯ เราทำให้แจ้งแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟัง มาก่อนว่า ก็ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เรา เจริญแล้ว ฯลฯ ในทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๖๐ มีญาณ ๒๔๐ ฯ [๖๐๕] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง มาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกาย ในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว การพิจารณาเห็น เวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟัง มาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรม ในธรรมทั้งหลายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคย ได้ฟัง มาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้น ในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ญาณเกิดขึ้น ปัญญาเกิดขึ้น วิชชาเกิดขึ้น แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร จักษุเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าเห็น คำว่า ญาณเกิดขึ้น เพราะอรรถว่ารู้ คำว่า ปัญญาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าทราบชัด คำว่า วิชชาเกิดขึ้น เพราะอรรถว่า แทงตลอด คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ญาณเป็นธรรม ปัญญาเป็นธรรม วิชชาเป็นธรรม แสงสว่างเป็นธรรม ธรรม ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์และโคจรแห่งธรรม ปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่านั้น เป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของธรรมปฏิสัมภิทา ธรรม เหล่านั้นเป็นอารมณ์ของธรรมปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณใน ธรรมทั้งหลายว่า ธรรมปฏิสัมภิทา ฯ ความเห็นเป็นอรรถ ความรู้เป็นอรรถ ความทราบชัดเป็นอรรถ ความ แทงตลอดเป็นอรรถ ความสว่างไสวเป็นอรรถ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นอารมณ์ และเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของอรรถปฏิสัมภิทา อรรถเหล่าใดเป็นโคจรของอรรถ- *ปฏิสัมภิทา อรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของอรรถปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในอรรถทั้งหลายว่าอรรถปฏิสัมภิทา ฯ การกล่าวพยัญชนะนิรุติเพื่อแสดงธรรม ๕ ประการ การกล่าวพยัญชนะ นิรุติเพื่อแสดงอรรถ ๕ ประการ นิรุติ ๑๐ ประการนี้ เป็นอารมณ์และเป็นโคจร ของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นโคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่าใดเป็น โคจรของนิรุติปฏิสัมภิทา ธรรมและอรรถเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของนิรุติปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในนิรุติทั้งหลายว่านิรุติปฏิสัมภิทา ฯ ญาณ ๒๐ ประการนี้ คือ ญาณในธรรม ๕ ประการ ญาณในอรรถ ๕ ประการ ญาณในนิรุติ ๑๐ ประการ เป็นอารมณ์และเป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่านั้น เป็นโคจรของปฏิภาณปฏิสัมภิทา ญาณในธรรมเหล่าใดเป็นโคจรของปฏิภาณ ปฏิสัมภิทาญาณในธรรมเหล่านั้นเป็นอารมณ์ของปฏิภาณปฏิสัมภิทา เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทาในสติปัฏฐานคือการ พิจารณาเห็นกายในกาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้ ฯลฯ ฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นธรรมใน ธรรมทั้งหลายนี้นั้น ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในสติปัฏฐานคือ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในสติปัฏฐาน ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐ ฯ [๖๐๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะ และปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธาน สังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เรา ไม่เคยฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขาร นี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯ [๖๐๗] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้น ... แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่า สว่างไสว ... ฯ จักษุเป็นธรรม ... เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกญาณในปฏิภาณทั้งหลายว่า ปฏิภาณปฏิสัมภิทา ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธาน สังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ฯลฯ อิทธิบาท ประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบ ด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้ ฯลฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯลฯ ในอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและ ปธานสังขาร มีธรรม ๑๕ มีอรรถ ๑๕ มีนิรุติ ๓๐ มีญาณ ๖๐ ในอิทธิบาท ๔ มีธรรม ๖๐ มีอรรถ ๖๐ มีนิรุติ ๑๒๐ มีญาณ ๒๔๐ ฯ [๖๐๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระวิปัสสีโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟัง มาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระวิปัสสีโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่ พระสิขีโพธิสัตว์ ฯลฯ พระเวสสภูโพธิสัตว์ ฯลฯ พระกกุสันธโพธิสัตว์ ฯลฯ พระโกนาคมน์โพธิสัตว์ ฯลฯ พระกัสสปโพธิสัตว์ ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่พระกัสสปโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยกรณ- ภาษิตของพระกัสสปโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระ- *โคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า สมุทัย สมุทัย ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่พระโคดมโพธิสัตว์ไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นิโรธ นิโรธ ในไวยากรณภาษิตของพระโคดมโพธิสัตว์ มีธรรม ๑๐ มีอรรถ ๑๐ มีนิรุติ ๒๐ มีญาณ ๔๐ ฯ ในไวยากรณภาษิต ๗ ของพระโพธิสัตว์ ๗ องค์ มีธรรม ๗๐ มีอรรถ ๗๐ มีนิรุติ ๑๔๐ มีญาณ ๒๘๐ ฯ [๖๐๙] จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ตลอดหมดด้วย ปัญญา อรรถว่ารู้ยิ่ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่ารู้ยิ่ง แห่งอภิญญา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ฯลฯ อรรถ ว่ากำหนดรู้แห่งปริญญา ฯลฯ อรรถว่าละแห่งปหานะ ฯลฯ อรรถว่าเจริญแห่ง ภาวนา ฯลฯ ฯ จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา เรา รู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าทำให้แจ้ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทำให้แจ้ง แห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในอรรถ ว่ารู้ยิ่งแห่งอภิญญา ในอรรถว่ากำหนดรู้แห่งปริญญา ในอรรถว่าละแห่งปหานะ ในอรรถว่าเจริญแห่งภาวนา ในอรรถว่าทำให้แจ้งแห่งสัจฉิกิริยา มีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มีนิรุติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐ ฯ [๖๑๐] จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลาย เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วย ปัญญา อรรถว่ากอง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่ากอง แห่งขันธ์ทั้งหลาย มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ ญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นว่า อรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ฯลฯ อรรถว่าบ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรม ทั้งหลาย อรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอด หมดด้วยปัญญา อรรถว่าปัจจัย ไม่ปรุงแต่ง ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าปัจจัยไม่ปรุง แต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ใน อรรถว่ากองแห่งขันธ์ทั้งหลาย ในอรรถว่าทรงไว้แห่งธาตุทั้งหลาย ในอรรถว่า บ่อเกิดแห่งอายตนะทั้งหลาย ในอรรถว่าปัจจัยปรุงแต่งแห่งสังขตธรรมทั้งหลาย ในอรรถว่าปัจจัยไม่ปรุงแต่งแห่งอสังขตธรรม มีธรรม ๑๒๕ มีอรรถ ๑๒๕ มี นิรุติ ๒๕๐ มีญาณ ๕๐๐ ฯ [๖๑๑] จักษุ ... แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าทนได้ยากแห่งทุกข์ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าทนได้ยาก ที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าทนได้ยาก แห่งทุกข์ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าเหตุให้เกิดแห่งสมุทัย ฯลฯ อรรถว่าดับแห่งนิโรธ อรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าเป็นทางที่เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าเป็นทางแห่งมรรค มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในอริยสัจ ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุติ ๒๐๐ มี ญาณ ๔๐๐ ฯ [๖๑๒] จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานใน อรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูก ต้องแล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานในอรรถ เราไม่ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในอรรถแห่งอรรถปฏิสัมภิทา มี ธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นว่า อรรถว่าความแตกฉานในธรรมแห่งธรรมปฏิสัมภิทา อรรถว่าความ แตกฉานในนิรุติแห่งนิรุติปฏิสัมภิทา อรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณแห่ง ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้อง แล้วตลอดหมดด้วยปัญญา อรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณ ที่เราไม่ถูกต้องแล้ว ไม่มี ในอรรถว่าความแตกฉานในปฏิภาณแห่งปฏิภาณปฏิสัมภิทา มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ในปฏิสัมภิทา ๔ มีธรรม ๑๐๐ มีอรรถ ๑๐๐ มีนิรุติ ๒๐๐ มีญาณ ๔๐๐ ฯ [๖๑๓] จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า อินทรียปโรปริยัติญาณ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมดด้วย ปัญญา อินทรียปโรปริยัติญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ใน อินทรียปโรปริยัติญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ จักษุ ฯลฯ แสงสว่างเกิดขึ้นว่า ญาณในฉันทะอันมานอนและกิเลสอนุสัยของ สัตว์ทั้งหลาย ฯลฯ ยมกปาฏิหาริยญาณ มหากรุณาสมาปัตติญาณ อนาวรณ- *ญาณ เรารู้แล้ว เห็นแล้ว ทราบแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วตลอดหมด ด้วยปัญญา อนาวรณญาณ เราไม่ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา ไม่มี ในอนาวรณ- *ญาณ มีธรรม ๒๕ มีอรรถ ๒๕ มีนิรุติ ๕๐ มีญาณ ๑๐๐ ใน พุทธธรรม ๖ มีธรรม ๑๕๐ มีอรรถ ๑๕๐ มีนิรุติ ๓๐๐ มีญาณ ๖๐๐ ในปกรณ์ปฏิสัมภิทา มีธรรม ๘๕๐ มีอรรถ ๘๕๐ มีนิรุติ ๑๗๐๐ มีญาณ ๓๔๐๐ ฉะนี้แล ฯ
จบปฏิสัมภิทากถา
-----------------------------------------------------
ยุคนัทธวรรค ธรรมจักรกถา
[๖๑๔] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้ พระนครพาราณสี ฯลฯ เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านพระโกณฑัญญะ จึงมีชื่อว่า อัญญาโกณฑัญญะ ดังนี้ ฯ จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่ เราไม่เคยฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถ ว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ญาณเป็นธรรม ความรู้เป็นอรรถ ปัญญาเป็นธรรม ความรู้ทั่วเป็นอรรถ วิชชาเป็นธรรม ความแทงตลอดเป็นอรรถ แสงสว่างเป็นธรรม ความสว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ มีสัจจะเป็น โคจร สงเคราะห์เข้าในสัจจะ นับเนื่องในสัจจะ เข้ามาประชุมในสัจจะ ตั้งอยู่ในสัจจะ ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ ฯ [๖๑๕] ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่า กระไร ฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่าพระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็นไป ทรงให้จักรและธรรมเป็นไป ทรงให้จักรเป็นไปโดยธรรม ทรงให้จักรเป็นไป โดยการประพฤติเป็นธรรม ทรงดำรงอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ทรง ประดิษฐานอยู่ในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ประชาชนประดิษฐานอยู่ในธรรม ให้จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความชำนาญในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงยังประชาชน ให้บรรลุถึงความชำนาญในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความยอดเยี่ยมใน ธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ประชาชนให้บรรลุถึงความยอดเยี่ยมในธรรมให้ จักรเป็นไป ทรงบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงให้ ประชาชนบรรลุถึงความแกล้วกล้าในธรรมให้จักรเป็นไป ทรงสักการะธรรมให้ จักรเป็นไป ทรงเคารพธรรมให้จักรเป็นไป ทรงนับถือธรรมให้จักรเป็นไป ทรงบูชาธรรมให้จักรเป็นไป ทรงนอบน้อมธรรมให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรม เป็นธงให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรมเป็นยอดให้จักรเป็นไป ทรงมีธรรมเป็น ใหญ่ให้จักรเป็นไป ชื่อว่าธรรมจักรเพราะอรรถว่า ก็ธรรมจักรนั้นแล สมณะ พราหมณ์ เทวดา มาร พรหม หรือใครๆ ในโลก ให้เป็นไปไม่ได้ ชื่อ ว่าธรรมจักรเพราะอรรถว่าสัทธินทรีย์เป็นธรรม ทรงให้ธรรมนั้นเป็นไป ... ปัญญินทรีย์เป็นธรรม ทรงให้ธรรมนั้นเป็นไป สัทธาพละเป็นธรรม ... ปัญญาพละเป็นธรรม สติสัมโพชฌงค์เป็นธรรม ... อุเบกขาสัมโพชฌงค์ เป็นธรรม สัมมาทิฐิเป็นธรรม ... สัมมาสมาธิเป็นธรรม อินทรีย์เป็น ธรรมเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ พละเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหว โพชฌงค์ เป็นธรรมเพราะอรรถว่านำออก มรรคเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นเหตุ สติปัฏฐาน เป็นธรรมเพราะอรรถว่าตั้งมั่น สัมมัปปธานเป็นธรรมเพราะอรรถว่าตั้งไว้ อิทธิ- *บาทเป็นธรรมเพราะอรรถว่าให้สำเร็จ สัจจะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นของแท้ สมถะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน วิปัสสนาเป็นธรรมเพราะอรรถว่าพิจารณา เห็น สมถวิปัสสนาเป็นธรรมเพราะอรรถว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ธรรมที่เป็น คู่เป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ล่วงเกินกัน ศีลวิสุทธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่า สำรวม จิตตวิสุทธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่าไม่ฟุ้งซ่าน ทิฐิวิสุทธิเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเห็น วิโมกข์เป็นธรรมเพราะอรรถว่าพ้น วิชาเป็นธรรมเพราะ อรรถว่าแทงตลอด วิมุติเป็นธรรมเพราะอรรถว่าบริจาค ญาณในความ สิ้นไปในธรรมเพราะอรรถว่าตัดขาด ญาณในความไม่เกิดขึ้นเป็นธรรมเพราะ อรรถว่าระงับ ฉันทะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นมูล มนสิการเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่รวม เวทนา เป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่ประชุม สมาธิเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นประธาน สติเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นใหญ่ ปัญญาเป็นธรรมเพราะอรรถว่ายิ่งกว่าธรรม นั้นๆ วิมุติเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นแก่นสาร นิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรมนั้นๆ เป็นไป ฯ [๖๑๖] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขอริยสัจนี้นั้นแล ควรกำหนดรู้ ฯลฯ เรากำหนดรู้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถว่า กระไร ฯ คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะ อรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ ... ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ ฯ ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็น ไป ... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรม นั้นๆ เป็นไป ฯ [๖๑๗] จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลาย ที่เราไม่เคย ได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทัยอริยสัจ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ทุกขสมุทัยอริยสัจนี้นั้นแล ควรละ ฯลฯ เราละได้แล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้น เพราะอรรถว่ากระไร ฯ คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการนี้ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งสมุทัย เป็นที่ตั้งแห่งสัจจะ ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งนิโรธ เป็นที่ตั้งแห่งมรรค เป็นที่ตั้งแห่ง สัจจะ มีสัจจะเป็นอารมณ์ ... ประดิษฐานอยู่ในสัจจะ ฯ ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็น ไป ... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรมเพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรม นั้นๆ เป็นไป ฯ [๖๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อน ว่า การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายนี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นจิตในจิต นี้ ฯลฯ การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายนี้ ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็ การพิจารณาเห็นกายในกายนี้ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่ เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็การพิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุ เกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่าง เกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯ คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งกาย เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งเวทนา เป็นที่ตั้งแห่งสติ- *ปัฏฐาน ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน เป็นที่ตั้งแห่งธรรม เป็นที่ตั้งแห่งสติปัฏฐาน มีสติปัฏฐานเป็นอารมณ์ ... ประดิษฐานอยู่ในสติ- *ปัฏฐาน ฯ ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็น ไป ... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ธรรม นั้นๆ เป็นไป ฯ [๖๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะ และปธานสังขารนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะ และปธานสังขารนี้นั้นแลควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบ ด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอัน ยิ่งด้วยจิตและปธานสังขารนี้ ฯลฯ อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสา และปธานสังขารนี้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรม ทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสา และปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว ฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้ จักษุ ฯลฯ แสง สว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบด้วย สมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะอรรถ ว่ากระไร ฯ คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ... คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะ อรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ... แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่ง ฉันทะเป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ ... ประดิษฐานอยู่ใน อิทธิบาท ฯ ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็น ไป ... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ ธรรมนั้นๆ เป็นไป ฯ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมา ก่อนว่า อิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้ จักษุ ฯลฯ แสงสว่าง เกิดขึ้นในธรรมทั้งหลายที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า ก็อิทธิบาทประกอบ ด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิริยะและปธานสังขารนี้นั้นแล ควรเจริญ ฯลฯ เราเจริญแล้ว คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่ากระไร ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้นเพราะ อรรถว่ากระไร ฯ คำว่า จักษุเกิดขึ้นเพราะอรรถว่าเห็น ฯลฯ คำว่า แสงสว่างเกิดขึ้น เพราะอรรถว่าสว่างไสว ฯ จักษุเป็นธรรม ความเห็นเป็นอรรถ ฯลฯ แสงสว่างเป็นธรรม ความ สว่างไสวเป็นอรรถ ธรรม ๕ ประการ อรรถ ๕ ประการนี้ เป็นที่ตั้งแห่งวิริยะ เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท ฯลฯ เป็นที่ตั้งแห่งจิต เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท เป็นที่ตั้ง แห่งวิมังสา เป็นที่ตั้งแห่งอิทธิบาท มีอิทธิบาทเป็นอารมณ์ มีอิทธิบาทเป็นโคจร สงเคราะห์เข้าในอิทธิบาท นับเนื่องในอิทธิบาท เข้ามาประชุมในอิทธิบาท ตั้ง อยู่ในอิทธิบาท ประดิษฐานอยู่ในอิทธิบาท ฯ ชื่อว่าธรรมจักร ในคำว่า ธมฺมจกฺกํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าธรรมจักร เพราะอรรถว่า พระผู้มีพระภาคทรงให้ธรรมและจักรเป็น ไป ... นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นธรรม เพราะอรรถว่าเป็นที่สุด ทรงให้ ธรรมนั้นๆ เป็นไป ฯ
จบธรรมจักรกถา ฯ
-----------------------------------------------------
ยุคนัทธวรรค โลกุตรกถา
[๖๒๐] ธรรมเหล่าไหนเป็นโลกุตระ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘ อริยมรรค ๔ สามัญผล ๔ และนิพพาน ธรรมเหล่านี้เป็นโลกุตระ ฯ ชื่อว่าโลกุตระ ในคำว่า โลกุตฺตรา นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าโลกุตระ เพราะอรรถว่า ข้ามพ้นโลก ข้ามพ้นแต่โลก ข้ามไป จากโลก ล่วงพ้นโลก ล่วงพ้นโลกอยู่ เป็นอดิเรกในโลก สลัดออกแต่โลก สลัดออกจากโลก สลัดไปจากโลก สลัดออกไปจากโลก สละออกแต่โลก สละออกจากโลก สละออกไปจากโลก ไม่ตั้งอยู่ในโลก ไม่ดำรงอยู่ในโลก ไม่ติดอยู่ในโลก ไม่เปื้อนในโลก ไม่ไล้ในโลก ไม่ไล้ด้วยโลก ไม่ฉาบในโลก ไม่ฉาบด้วยโลก หลุดไปในโลก หลุดไปจากโลก พ้นไปจากโลก หลุดพ้นไป แต่โลก ไม่เกี่ยวข้องในโลก ไม่เกี่ยวข้องด้วยโลก พรากออกแต่โลก พราก ออกจากโลก พรากออกไปแต่โลก หมดจดแต่โลก หมดจดกว่าโลก หมดจด จากโลก สะอาดแต่โลก สะอาดกว่าโลก สะอาดจากโลก ออกแต่โลก ออก จากโลก ออกไปจากโลก เว้นแต่โลก เว้นจากโลก เว้นไปจากโลก ไม่ข้อง ในโลก ไม่ยึดในโลก ไม่พัวพันในโลก ตัดโลกขาดอยู่ ตัดโลกขาดแล้ว ให้โลกระงับอยู่ ให้โลกระงับแล้ว ไม่กลับมาสู่โลก ไม่เป็นคติของโลก ไม่เป็นวิสัยของโลก ไม่เป็นสาธารณะแก่โลก สำรอกโลก ไม่เวียนมาสู่โลก ละโลก ไม่ยังโลกให้เกิด ไม่ลดโลก นำโลก กำจัดโลก ไม่อบโลกให้งาม ล่วงโลก ครอบงำโลกตั้งอยู่ ฉะนี้แล ฯ
จบโลกุตรกถา
-----------------------------------------------------
ยุคนัทธวรรค พลกถา
[๖๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้ ๕ ประการเป็นไฉน คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พละ ๕ ประการนี้แล ฯ อีกอย่างหนึ่ง พละ ๖๘ ประการ คือ สัทธาพละ วิริยพละ สติพละ สมาธิพละ ปัญญาพละ หิริพละ โอตตัปปพละ ปฏิสังขานพละ ภาวนาพละ อนวัชชพละ สังคาหพละ ขันติพละ ปัญญัตติพละ นิชฌัตติพละ อิสริยพละ อธิษฐานพละ สมถพละ วิปัสสนาพละ เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ ขีณา- *สวพละ ๑๐ อิทธิพละ ๑๐ ตถาคตพละ ๑๐ ฯ [๖๒๒] สัทธาพละเป็นไฉน ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่า ไม่ หวั่นไหวไปในความไม่ศรัทธา เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม เพราะความ ว่าครอบงำกิเลสทั้งหลาย เพราะความว่าเป็นความสะอาดในเบื้องต้นแห่งปฏิเวธ เพราะความว่าเป็นที่ตั้งมั่นแห่งจิต เพราะความว่าเป็นที่ผ่องแผ้วแห่งจิต เพราะ ความว่าเป็นเครื่องบรรลุคุณวิเศษ เพราะความว่าแทงตลอดธรรมที่ยิ่ง เพราะความ ว่าตรัสรู้สัจจะ เพราะความว่าให้การกบุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสัทธาพละ ฯ วิริยพละเป็นไฉน ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไปใน ความเกียจคร้าน เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การก บุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นวิริยพละ ฯ สติพละเป็นไฉน ชื่อว่าสติพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไปในความ ประมาท เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การกบุคคล ตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสติพละ ฯ สมาธิพละเป็นไฉน ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไปใน อุทธัจจะ เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การบุคคล ตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นสมาธิพละ ฯ ปัญญาพละเป็นไฉน ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไป ในความประมาท เพราะความว่าอุปถัมภ์สหชาตธรรม ฯลฯ เพราะความว่าให้การก บุคคลตั้งอยู่เฉพาะในนิโรธ นี้เป็นปัญญาพละ ฯ [๖๒๓] หิริพละเป็นไฉน ชื่อว่าหิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายกาม- *ฉันทะด้วยเนกขัมมะ ละอายพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ละอายถีนมิทธะด้วย โลกสัญญา ละอายอุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ละอายวิจิกิจฉาด้วยธรรมววัตถาน ละอายอวิชชาด้วยญาณ ละอายอรติด้วยความปราโมทย์ ละอายนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ละอายสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค นี้เป็นหิริพละ ฯ โอตตัปปพละเป็นไฉน ชื่อว่าโอตตัปปพละ เพราะอรรถว่า เกรงกลัว กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ เกรงกลัวสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค นี้เป็น โอตตัปปพละ ฯ ปฏิสังขานพละเป็นไฉน ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่า พิจารณา กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ฯลฯ พิจารณาสรรพกิเลสด้วยอรหัตมรรค นี้เป็น ปฏิสังขานพละ ฯ [๖๒๔] ภาวนาพละเป็นไฉน ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะอรรถว่า พระ โยคาวจรเมื่อละกามฉันทะย่อมเจริญเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมเจริญความไม่ พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลสย่อมเจริญอรหัตมรรค นี้เป็นภาวนาพละ ฯ อนวัชชพละเป็นไฉน ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะอรรถว่า ในเนกขัมมะ ไม่มีโทษน้อยหนึ่ง เพราะละกามฉันทะได้แล้ว ในความไม่พยาบาทไม่มีโทษน้อย หนึ่ง เพราะละพยาบาทได้แล้ว ฯลฯ ในอรหัตมรรคไม่มีโทษน้อยหนึ่ง เพราะ ละสรรพกิเลสได้แล้ว นี้เป็นอนวัชชพละ ฯ สังคาหพละเป็นไฉน ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมสะกดจิตไว้ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อม สะกดจิตไว้ด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมสะกด จิตไว้ด้วยอำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นสังคาหพละ ฯ [๖๒๕] ขันติพละเป็นไฉน ชื่อว่าขันติพละ เพราะอรรถว่า เนกขัมมะ ย่อมอดทนเพราะละกามฉันทะได้แล้ว ความไม่พยาบาทย่อมอดทนเพราะละ พยาบาทได้แล้ว ฯลฯ อรหัตมรรคย่อมอดทนเพราะละสรรพกิเลสได้แล้ว นี้ เป็นขันติพละ ฯ ปัญญัตติพละเป็นไฉน ชื่อว่าปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมตั้งจิตไว้ด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาทย่อมตั้งจิต ไว้ด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมตั้งจิตไว้ด้วย อำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นปัญญัตติพละ ฯ นิชฌัตติพละเป็นไฉน ชื่อว่านิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมเพ่งจิตด้วยอำนาจเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อม เพ่งจิตด้วยอำนาจความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลสย่อมเพ่งจิตด้วย อำนาจอรหัตมรรค นี้เป็นนิชฌัตติพละ ฯ อิสริยพละเป็นไฉน ชื่อว่าอิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมบังคับจิตให้เป็นไปตามอำนาจด้วยสามารถอรหัตมรรค นี้เป็นอิสริยพละ ฯ อธิษฐานพละเป็นไฉน ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะอรรถว่าพระโยคาวจร เมื่อละกามฉันทะ ย่อมอธิษฐานจิตด้วยสามารถเนกขัมมะ เมื่อละพยาบาท ย่อม อธิษฐานจิตด้วยสามารถความไม่พยาบาท ฯลฯ เมื่อละสรรพกิเลส ย่อมอธิษฐาน จิตด้วยสามารถอรหัตมรรค นี้เป็นอธิษฐานพละ ฯ [๖๒๖] สมถพละเป็นไฉน ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย สามารถเนกขัมมะ เป็นสมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วย สามารถความไม่พยาบาท เป็นสมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถอาโลกสัญญาเป็นสมถพละ ฯลฯ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความสละคืนหายใจออก เป็นสมถพละ ความที่จิตมีอารมณ์เดียวไม่ฟุ้งซ่าน ด้วยสามารถความเป็นผู้พิจารณาเห็นความ สละคืนหายใจเข้า เป็นสมถพละ ฯ ชื่อว่าสมถพละ ในคำว่า สมถพลํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในวิตกวิจารด้วยทุติยฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในปีติด้วยตติยฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในสุข และทุกข์ด้วยจตุตถฌาน เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหว ไปในวิญญาณัญจายตนสัญญา ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในอากิญจัญญายตนสัญญา ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ไม่กวัดแกว่งไปในอุทธัจจะ ใน กิเลสอันสหรคตด้วยอุทธัจจะและในขันธ์ นี้เป็นสมถพละ ฯ [๖๒๗] วิปัสสนาพละเป็นไฉน อนิจจานุปัสสนา เป็นวิปัสสนาพละ ทุกขานุปัสสนา เป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ ปฏินิสสัคคานุปัสสนาเป็นวิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป เป็นวิปัสสนาพละ ฯลฯ การพิจารณาเห็น ความสละคืนในรูป เป็นวิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา ในสัญญา ในสังขาร ในวิญญาณ ในจักษุ ฯลฯ ในชราและมรณะ เป็น วิปัสสนาพละ การพิจารณาเห็นทุกข์ในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละ การ พิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ เป็นวิปัสสนาพละ ฯ ชื่อว่า วิปัสสนาพละ ในคำว่า วิปสฺสนาพลํ นี้ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่า วิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในนิจจสัญญา ด้วยอนิจจานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในสุขสัญญา ด้วยทุกขา- *นุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในความเพลิดเพลิน ด้วยนิพพิทา- *นุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในราคะ ด้วยวิราคานุปัสสนา เพราะ อรรถว่า จิตไม่หวั่นไหวไปในสมุทัย ด้วยนิโรธานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่ หวั่นไหวไปในความถือมั่น ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสสนา เพราะอรรถว่า จิตไม่ หวั่นไหว ไม่เอนเอียง ไม่กวัดแกว่งไปในอวิชชา ในกิเลสอันสหรคตด้วย อวิชชา และในขันธ์ นี้เป็นวิปัสสนาพละ ฯ [๖๒๘] เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ เป็นไฉน ชื่อว่า เสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาทิฐิ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษา ในสัมมาทิฐินั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมา- *สังกัปปะ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาสังกัปปะนั้น เสร็จแล้ว ชื่อว่าเสกขพละ เพราะพระเสขะยังต้องศึกษาสัมมาวาจา ฯลฯ สัมมา- *กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ ฯลฯ สัมมาวิมุติ ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะพระอเสขะศึกษาในสัมมาวาจา สัมมา- *กัมมันตะ สัมมาอาชีวะ สัมมาวายามะ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาญาณ สัมมาวิมุติ นั้นเสร็จแล้ว เสกขพละ ๑๐ อเสกขพละ ๑๐ นี้ ฯ [๖๒๙] ขีณาสวพละ ๑๐ เป็นไฉน ภิกษุขีณาสพในศาสนานี้ เป็นผู้ เห็นด้วยดีซึ่งสังขารทั้งปวง โดยความเป็นของไม่เที่ยง ด้วยปัญญาอันชอบ ตาม ความเป็นจริง แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เห็นด้วยดีซึ่งสังขารทั้งปวง โดยความ เป็นของไม่เที่ยงด้วยปัญญาอันชอบตามความเป็นจริงนี้ เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้น ไปแล้ว ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เห็นด้วยดีซึ่งกามทั้งหลายว่า เปรียบ ด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพ เห็นด้วยดีซึ่งกามทั้งหลายว่า เปรียบด้วยหลุมถ่านเพลิง ด้วยปัญญาอันชอบตาม ความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณ ความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว ฯ อีกประการหนึ่ง จิตของภิกษุขีณาสพเป็นธรรมชาติโน้มไป น้อมไป เอนไปในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ ตั้งอยู่ในวิเวก สิ้นสูญไปจากธรรมทั้งหลาย อันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะ โดยประการทั้งปวง แม้ข้อที่จิตของภิกษุขีณาสพเป็น ธรรมชาติโน้มไป น้อมไป เอนไปในวิเวก ตั้งอยู่ในวิเวก ยินดีในเนกขัมมะ สิ้นสูญไปจากธรรมทั้งหลายอันเป็นที่ตั้งแห่งอาสวะโดยประการทั้งปวงนี้ ก็เป็น กำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะ ทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เจริญดีแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสติปัฏฐาน ๔ เจริญดีแล้วนี้ ก็เป็นกำลังของ พระขีณาสพ ซึ่งพระขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลาย ของเราสิ้นไปแล้ว ฯ อีกประการหนึ่ง ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญสัมมัปปธาน ๔ ฯลฯ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ ฯลฯ อริยมรรค มีองค์ ๘ เจริญดีแล้ว แม้ข้อที่ภิกษุขีณาสพเป็นผู้เจริญอริยมรรคมีองค์ ๘ เจริญดีแล้วนี้ ก็เป็นกำลังของภิกษุขีณาสพ ซึ่งภิกษุขีณาสพได้อาศัยปฏิญาณความสิ้นอาสวะว่า อาสวะทั้งหลายของเราสิ้นไปแล้ว นี้เป็นกำลังของพระขีณาสพ ๑๐ ฯ [๖๓๐] อิทธิพละ ๑๐ เป็นไฉน ฤทธิ์เพราะการอธิษฐาน ๑ ฤทธิ์ที่ แผลงได้ต่างๆ ๑ ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจ ๑ ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ๑ ฤทธิ์ที่แผ่ ไปด้วยสมาธิ ๑ ฤทธิ์ของพระอริยะ ๑ ฤทธิ์ที่เกิดแต่ผลกรรม ๑ ฤทธิ์ของท่าน ผู้มีบุญ ๑ ฤทธิ์ที่สำเร็จมาแต่วิชชา ๑ ชื่อว่าฤทธิ์ ด้วยความว่าสำเร็จเพราะเหตุ แห่งการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆ อิทธิพละ ๑๐ นี้ ฯ [๖๓๑] ตถาคตพละ ๑๐ เป็นไฉน พระตถาคตในโลกนี้ย่อมทรงทราบ ซึ่งฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะตามความเป็นจริง แม้ข้อที่ พระตถาคตทรงทราบฐานะโดยเป็นฐานะ และอฐานะโดยเป็นอฐานะ ตามความ เป็นจริงนี้ เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระตถาคตได้ทรงอาศัยปฏิญาณฐานะ ของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน ทั้งที่ เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริง แม้ ข้อที่พระตถาคตทรงทราบซึ่งผลแห่งกรรมสมาทาน ทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคต และปัจจุบัน โดยฐานะ โดยเหตุ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของ พระตถาคต ฯลฯ ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบปฏิปทาเครื่องให้ถึงประโยชน์ ทั้งปวง ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบปฏิปทาเครื่องให้ถึง ประโยชน์ทั้งปวง ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบโลกธาตุต่างๆ โดยความเป็น อเนกธาตุ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบโลกธาตุต่างๆ โดย ความเป็นอเนกธาตุ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความที่สัตว์ทั้งหลายเป็นผู้มี อัธยาศัยต่างๆ กัน ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบความที่สัตว์ ทั้งหลายเป็นผู้มีอัธยาศัยต่างๆ กัน ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระ ตถาคต ฯลฯ ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ ของสัตว์อื่น ของบุคคลอื่น ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบ ความยิ่งและหย่อนแห่งอินทรีย์ของสัตว์อื่นและบุคคลอื่น ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงทราบความเศร้าหมอง ความ ผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ ตามความเป็นจริง แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทราบความเศร้าหมอง ความผ่องแผ้ว ความออก แห่งฌาน วิโมกข์ สมาธิและสมาบัติ ตามความเป็นจริงนี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตย่อมทรงระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ ย่อมทรงระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็น อันมาก พร้อมทั้งอาการ พร้อมทั้งอุเทศด้วยประการดังนี้ แม้ข้อที่พระตถาคต ทรงระลึกถึงชาติก่อนๆ ได้เป็นอันมาก คือ ชาติหนึ่งบ้าง สองชาติบ้าง ฯลฯ นี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตทรงพิจารณาเห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติ ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์ แม้ข้อที่พระตถาคตทรงพิจารณา เห็นหมู่สัตว์ที่กำลังจุติ กำลังอุปบัติด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ ล่วงจักษุของมนุษย์นี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ฯลฯ ฯ อีกประการหนึ่ง พระตถาคตทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุต อันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ แม้ข้อที่พระตถาคตทรงทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุติ ปัญญาวิมุติ อันหา อาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึง อยู่นี้ ก็เป็นกำลังของพระตถาคต ซึ่งพระตถาคตได้ทรงอาศัยทรงปฏิญาณฐานะ ของผู้เป็นโจก บันลือสีหนาทในบริษัท ประกาศพรหมจักร ตถาคตพละ ๑๐ นี้ ฯ [๖๓๒] ชื่อว่าสัทธาพละ ชื่อว่าวิริยพละ ชื่อว่าสติพละ ชื่อว่า สมาธิพละ ชื่อว่าปัญญาพละ ชื่อว่าหิริพละ ชื่อว่าโอตตัปปพละ ชื่อว่าปฏิ- *สังขานพละ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่ากระไร ฯ ชื่อว่าสัทธาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ชื่อว่าวิริยพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน ชื่อว่าสติพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปในความประมาท ชื่อว่าสมาธิพละ เพราะอรรถว่า ไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ ชื่อว่าปัญญาพละ เพราะอรรถว่าไม่หวั่นไหวไปใน อวิชชา ชื่อว่าหิริพละ เพราะอรรถว่า ละอายอกุศลธรรมอันลามก ชื่อว่า โอตตัปปพละ เพราะอรรถว่า เกรงกลัวอกุศลธรรมอันลามก ชื่อว่าปฏิสังขานพละ เพราะอรรถว่า พิจารณากิเลสทั้งหลายด้วยญาณ ชื่อว่าภาวนาพละ เพราะอรรถว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้น มีกิจเป็นอันเดียวกัน ชื่อว่าอนวัชชพละ เพราะอรรถว่า ในเนกขัมมะนั้นไม่มีโทษน้อยหนึ่ง ชื่อว่าสังคาหพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมสะกดจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้นนั้น ชื่อว่าขันติพละ เพราะ อรรถว่า เนกขัมมะเป็นต้นย่อมอดทนต่อนิวรณ์มีกามฉันทะเป็นต้น ชื่อว่า ปัญญัตติพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรตั้งจิตไว้ด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่า นิชฌัตติพละ เพราะอรรถว่าพระโยคาวจรย่อมเพ่งจิตด้วยเนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่า อิสริยพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมให้จิตเป็นไปตามอำนาจด้วย เนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าอธิษฐานพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมตั้งจิตไว้มั่น ด้วยเนกขมมะเป็นต้น ชื่อว่าสมถพละ เพราะอรรถว่า จิตมีอารมณ์เดียวด้วย เนกขัมมะเป็นต้น ชื่อว่าวิปัสสนาพละ เพราะอรรถว่า พระโยคาวจรย่อมพิจารณา เห็นธรรมที่เกิดในภาวนานั้น ชื่อว่าเสกขพละ เพราะอรรถว่า พระเสขะยังต้อง ศึกษาในสัมมาทิฐิเป็นต้นนั้น ชื่อว่าอเสกขพละ เพราะความที่พระอเสขะศึกษาใน สัมมาทิฐิเป็นต้นนั้นเสร็จแล้ว ชื่อว่าขีณาสวพละ เพราะอรรถว่า อาสวะทั้งหลาย สิ้นไปแล้วด้วยความเห็นด้วยดีนั้น ชื่อว่าอิทธิพละ เพราะอรรถว่า ฤทธิ์ย่อม สำเร็จเพราะการอธิษฐานเป็นต้น เพราะเหตุแห่งการประกอบโดยชอบในส่วนนั้นๆ ชื่อว่าตถาคตพละ เพราะอรรถว่าเป็นกำลังหาประมาณมิได้ ฉะนี้แล ฯ
จบพลกถา
-----------------------------------------------------
ยุคนัทธวรรค สุญกถา
[๖๓๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวันอาราม ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ตรัสว่า โลกสูญ โลกสูญ ดังนี้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุ เพียงเท่าไรหนอแล พระองค์จึงตรัสว่า โลกสูญ ฯ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรอานนท์ เพราะว่าสูญจากตนและจากสิ่งที่ เนื่องด้วยตน ฉะนั้นเราจึงกล่าวว่าโลกสูญ ดูกรอานนท์ อะไรเล่าสูญจากตน และสิ่งที่เนื่องด้วยตน ดูกรอานนท์ จักษุสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน รูปสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักขุวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน จักขุสัมผัสสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรือ อทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักขุสัมผัสเป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่ เนื่องด้วยตน หูสูญ ฯลฯ เสียงสูญ จมูกสูญ กลิ่นสูญ ลิ้นสูญ รสสูญ กายสูญ โผฏฐัพพะสูญ ใจสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน ธรรมารมณ์สูญ จากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน มโนวิญญาณสูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน แม้สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัส เป็นปัจจัย ก็สูญจากตนและสิ่งที่เนื่องด้วยตน เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวว่า โลกสูญ ฯ [๖๓๔] สิ่งที่สูญสูญ สังขารสูญ วิปริณามธรรมสูญ อัคคบทสูญ ลักษณะสูญ วิกขัมภนสูญ ตทังคสูญ สมุจเฉทสูญ ปฏิปัสสัทธิสูญ นิสสรณะสูญ ภายในสูญ ภายนอกสูญ ทั้งภายในและภายนอกสูญ ส่วนที่ เสมอกันสูญ ส่วนที่ไม่เสมอกันสูญ ความแสวงหาสูญ ความกำหนดสูญ ความได้เฉพาะสูญ การแทงตลอดสูญ ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็น ต่างๆ สูญ ความอดทนสูญ ความอธิษฐานสูญ ความมั่นคงสูญ การครอบงำ- *ความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคลสูญ มีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฯ [๖๓๕] สิ่งที่สูญสูญเป็นไฉน จักษุสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา หูสูญ ฯลฯ จมูกสูญ ลิ้นสูญ กายสูญ ใจสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้สิ่งที่สูญสูญ ฯ [๖๓๖] สังขารสูญเป็นไฉน สังขาร ๓ คือ ปุญญาภิสังขาร อปุญญา ภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร ปุญญาภิสังขาร สูญจากอปุญญาภิสังขารและ อเนญชาภิสังขาร อปุญญาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอเนญชาภิสังขาร อเนญชาภิสังขาร สูญจากปุญญาภิสังขารและอปุญญาภิสังขาร นี้สังขาร ๓ ฯ สังขาร ๓ อีกประการหนึ่ง คือ กายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร กายสังขาร สูญจากวจีสังขารและจิตตสังขาร วจีสังขาร สูญจากกายสังขารและ จิตตสังขาร จิตตสังขาร สูญจากกายสังขารและวจีสังขาร นี้สังขาร ๓ ฯ สังขาร ๓ อีกประการหนึ่ง คือ สังขารส่วนอดีต สังขารส่วนอนาคต สังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนอดีต สูญจากสังขารส่วนอนาคตและสังขารส่วน ปัจจุบัน สังขารส่วนอนาคต สูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนปัจจุบัน สังขารส่วนปัจจุบัน สูญจากสังขารส่วนอดีตและสังขารส่วนอนาคต นี้สังขาร ๓ นี้สังขารสูญ ฯ [๖๓๗] วิปริณามธรรมสูญเป็นไฉน รูปเกิดแล้วสูญไปจากสภาพ (ปรกติเดิม) รูปหายไป แปรปรวนไปและสูญไป เวทนาเกิดแล้ว ฯลฯ สัญญา เกิดแล้ว สังขารเกิดแล้ว วิญญาณเกิดแล้ว จักษุเกิดแล้ว ฯลฯ ภพเกิดแล้ว สูญไปจากสภาพ ภพหายไป แปรปรวนไปและสูญไป นี้วิปริณามธรรมสูญ [๖๓๘] อัคคบทสูญเป็นไฉน บทนี้ คือ ความสงบแห่ง- *สังขารทั้งปวง ความสละคืนอุปธิทั้งปวง ความสิ้นตัณหา ความสำรอกกิเลส ความดับ นิพพาน เป็นบทเลิศ เป็นบทประเสริฐ เป็นบทวิเศษ นี้อัคคบทสูญ ฯ [๖๓๙] ลักษณะสูญเป็นไฉน ลักษณะ ๒ คือ พาลลักษณะ ๑ ปัณฑิตลักษณะ ๑ พาลลักษณะสูญจากปัณฑิตลักษณะ ปัณฑิตลักษณะสูญจาก พาลลักษณะ ลักษณะ ๓ คือ อุปปาทลักษณะ (ลักษณะความเกิดขึ้น) วยลักษณะ (ลักษณะความเสื่อมไป) ฐิตัญญถัตตลักษณะ (ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่ แปรเป็นอื่นไป) อุปปาทลักษณะ สูญจากวยลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ วยลักษณะ สูญจากอุปปาทลักษณะและฐิตัญญถัตตลักษณะ ฐิตัญญถัตตลักษณะ สูญจากอุปปาทลักษณะและวยลักษณะ ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งรูป สูญจาก ลักษณะความเสื่อมไปและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะความ เสื่อมไปแห่งรูป สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปร เป็นอื่นไป ลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไปแห่งรูป สูญจากลักษณะความ เกิดขึ้นและจากลักษณะความเสื่อมไป ลักษณะความเกิดขึ้นแห่งเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเสื่อมไปและ จากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะความเสื่อมไปแห่งชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและจากลักษณะเมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไป ลักษณะ เมื่อยังตั้งอยู่แปรเป็นอื่นไปแห่งชราและมรณะ สูญจากลักษณะความเกิดขึ้นและ จากลักษณะความเสื่อมไป นี้ลักษณะสูญ [๖๔๐] วิกขัมภนสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะข่มแล้วและ สูญไป พยาบาทอันความไม่พยาบาทข่มแล้วและสูญไป ถีนมิทธะอันอาโลก สัญญาข่มแล้วและสูญไป อุทธัจจะอันความไม่ฟุ้งซ่านข่มแล้ว และสูญไป วิจิกิจฉาอันการกำหนดธรรมข่มแล้วและสูญไป อวิชชาอันญาณข่มแล้วและสูญไป อรติอันความปราโมทย์ข่มแล้วและสูญไป นิวรณ์อันปฐมฌานข่มแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรคข่มแล้วและสูญไป นี้วิกขัมภนสูญ ฯ [๖๔๑] ตทังคะสูญเป็นไฉน กามฉันทะเป็นตทังคะสูญ (สูญเพราะ องค์นั้นๆ) เพราะเนกขัมมะ ... นิวรณ์เป็นตทังคะสูญเพราะปฐมฌาน ฯลฯ ความถือผิดเพราะกิเลสเครื่องประกอบไว้ เป็นตทังคะสูญเพราะวิวัฏนานุปัสสนา นี้ตทังคะสูญ ฯ [๖๔๒] สมุจเฉทสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะตัดแล้วและ สูญไป ... นิวรณ์อันปฐมฌานตัดแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวงอันอรหัตมรรค ตัดแล้วและสูญไป นี้สมุจเฉทสูญ ฯ [๖๔๓] ปฏิปัสสัทธิสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะระงับแล้ว และสูญไป ... นิวรณ์อันปฐมฌานระงับแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวง อันอรหัตมรรคระงับแล้วและสูญไป นี้ปฏิปัสสัทธิสูญ ฯ [๖๔๔] นิสสรณะสูญเป็นไฉน กามฉันทะอันเนกขัมมะสลัดออกแล้ว และสูญไป ... นิวรณ์อันปฐมฌานสลัดออกแล้วและสูญไป ฯลฯ กิเลสทั้งปวง อันอรหัตมรรคสลัดออกแล้วและสูญไป นี้นิสสรณะสูญ ฯ [๖๔๕] ภายในสูญเป็นไฉน จักษุภายในสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่อง ด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวน เป็นธรรมดา หูภายใน ฯลฯ จมูกภายใน ลิ้นภายใน กายภายใน ใจภายใน สูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ภายในสูญ ฯ [๖๔๖] ภายนอกสูญเป็นไฉน รูปภายนอกสูญ ฯลฯ ธรรมารมณ์ ภายนอกสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ภายนอกสูญ ฯ [๖๔๗] ทั้งภายในและภายนอกสูญเป็นไฉน จักษุภายในและรูป ภายนอก ทั้งสองนั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความ ยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา หูภายในและเสียง ภายนอก ฯลฯ จมูกภายในและกลิ่นภายนอก ลิ้นภายในและรสภายนอก กายภายในและโผฏฐัพพะภายนอก ใจภายในและธรรมารมณ์ภายนอก ทั้งสอง นั้นสูญจากตน จากสิ่งที่เนื่องด้วยตน จากความเที่ยง ความยั่งยืน ความมั่นคง และจากความไม่แปรปรวนเป็นธรรมดา นี้ทั้งภายในและภายนอกสูญ ฯ [๖๔๘] ส่วนเสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วนเสมอ กันและสูญไป อายตนะภายนอก ๖ ... หมวดวิญญาณ ๖ ... หมวดผัสสะ ๖ ... หมวดเวทนา ๖ ... หมวดสัญญา ๖ ... หมวดเจตนา ๖ เป็นส่วนเสมอกัน และสูญไป นี้ส่วนเสมอกันสูญ ฯ [๖๔๙] ส่วนไม่เสมอกันสูญเป็นไฉน อายตนะภายใน ๖ เป็นส่วน ไม่เสมอกันกับอายตนะภายนอก ๖ และสูญไป อายตนะภายนอก ๖ เป็นส่วน ไม่เสมอกันกับหมวดวิญญาณ ๖ และสูญไป หมวดวิญญาณ ๖ เป็นส่วนไม่เสมอ กันกับหมวดผัสสะ ๖ และสูญไป หมวดผัสสะ ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับ หมวดเวทนา ๖ และสูญไป หมวดเวทนา ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวด สัญญา ๖ และสูญไป หมวดสัญญา ๖ เป็นส่วนไม่เสมอกันกับหมวดเจตนา ๖ และสูญไป นี้ส่วนไม่เสมอกันสูญ ฯ [๖๕๐] ความแสวงหาสูญเป็นไฉน ความแสวงหาเนกขัมมะสูญจาก กามฉันทะ ความแสวงหาความไม่พยาบาทสูญจากพยาบาท ความแสวงหา อาโลกสัญญาสูญจากถีนมิทธะ ความแสวงหาความไม่ฟุ้งซ่านสูญจากอุทธัจจะ ความแสวงหาการกำหนดธรรมสูญจากวิจิกิจฉา ความแสวงหาญาณสูญจากอวิชชา ความแสวงหาปฐมฌานสูญจากนิวรณ์ ฯลฯ ความแสวงหาอรหัตมรรคสูญจาก กิเลสทั้งปวง นี้ความแสวงหาสูญ ฯ [๖๕๑] ความกำหนดสูญเป็นไฉน ความกำหนดเนกขัมมะสูญจากกาม ฉันทะ ฯลฯ ความกำหนดอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความกำหนดสูญ ฯ [๖๕๒] ความได้เฉพาะสูญเป็นไฉน ความได้เนกขัมมะ สูญจากกาม ฉันทะ ฯลฯ ความได้อรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความได้เฉพาะสูญ ฯ [๖๕๓] การแทงตลอดสูญเป็นไฉน การแทงตลอดเนกขัมมะ สูญจาก กามฉันทะ ฯลฯ การแทงตลอดอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้การแทง ตลอดสูญ ฯ [๖๕๔] ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่างๆ สูญเป็นไฉน กามฉันทะเป็นความต่าง เนกขัมมะเป็นอย่างเดียว ความที่เนกขัมมะเป็น อย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากกามฉันทะ พยาบาทเป็นความต่าง ความไม่ พยาบาทเป็นอย่างเดียว ความที่ความไม่พยาบาทเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากพยาบาท ถีนมิทธะเป็นความต่าง อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียว ความที่ อาโลกสัญญาเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากถีนมิทธะ อุทธัจจะเป็น ความต่าง วิจิกิจฉาเป็นความต่าง อวิชชาเป็นความต่างอรติเป็นความต่าง นิวรณ์ เป็นความต่าง ปฐมฌานเป็นอย่างเดียว ความที่ปฐมฌานเป็นอย่างเดียวของบุคคล ผู้คิดอยู่ สูญจากนิวรณ์ ฯลฯ กิเลสทั้งปวงเป็นความต่าง อรหัตมรรคเป็น อย่างเดียว ความที่อรหัตมรรคเป็นอย่างเดียวของบุคคลผู้คิดอยู่ สูญจากกิเลส ทั้งปวง นี้ความเป็นอย่างเดียวสูญ ความเป็นต่างๆ สูญ ฯ [๖๕๕] ความอดทนสูญเป็นไฉน ความอดทนในเนกขัมมะสูญจาก กามฉันทะ ฯลฯ ความอดทนในอรหัตมรรคสูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความ อดทนสูญ ฯ [๖๕๖] ความอธิษฐานสูญเป็นไฉน ความอธิษฐานในเนกขัมมะ สูญจาก กามฉันทะ ฯลฯ ความอธิษฐานในอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความ อธิษฐานสูญ ฯ [๖๕๗] ความมั่นคงสูญเป็นไฉน ความมั่นคงแห่งเนกขัมมะ สูญจาก กามฉันทะ ฯลฯ ความมั่นคงแห่งอรหัตมรรค สูญจากกิเลสทั้งปวง นี้ความมั่น คงสูญ ฯ [๖๕๘] การครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล สูญมีประโยชน์ อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวงเป็นไฉน สัมปชานบุคคลครอบงำความเป็นไปแห่ง กามฉันทะด้วยเนกขัมมะ ครอบงำความเป็นไปแห่งพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ครอบงำความเป็นไปแห่งถีนมิทธะด้วยอาโลกสัญญา ครอบงำความเป็นไปแห่ง อุทธัจจะด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน ครอบงำความเป็นไปแห่งวิจิกิจฉาด้วยการกำหนด ธรรม ครอบงำความเป็นไปแห่งอวิชชาด้วยญาณ ครอบงำความเป็นไปแห่งอรติ ด้วยความปราโมทย์ ครอบงำความเป็นไปแห่งนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ครอบงำ กิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค ฯ อีกประการหนึ่ง เมื่อสัมปชานบุคคลปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส- *นิพพานธาตุ ความเป็นไปแห่งจักษุนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความเป็นไปแห่งจักษุ อื่นก็ไม่เกิดขึ้น ความเป็นไปแห่งหู ฯลฯ ความเป็นไปแห่งจมูก ความเป็นไป แห่งลิ้น ความเป็นไปแห่งกาย ความเป็นไปแห่งใจนี้ย่อมหมดสิ้นไป และความ เป็นไปแห่งใจอื่นก็ไม่เกิดขึ้น นี้ความครอบงำความเป็นไปแห่งสัมปชานบุคคล สูญมีประโยชน์อย่างยิ่งกว่าความสูญทั้งปวง ฉะนี้แล ฯ
จบสุญกถา
จบยุคนัทธวรรคที่ ๒
-----------------------------------------------------
รวมกถาที่มีในวรรคนี้ คือ
๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา ๓. โพชฌงคกถา ๔. เมตตากถา ๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๗. ธรรมจักรกถา ๘. โลกุตรกถา ๙. พลกถา ๑๐. สุญกถา นิกายอันประเสริฐนี้ท่านตั้งไว้แล้ว เป็นวรมรรค อันประเสริฐที่ ๒ ไม่มีวรรคอื่นเสมอ ฉะนี้แล ฯ
-----------------------------------------------------
ปัญญาวรรค มหาปัญญากถา
[๖๕๙] อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญา อย่างไหนให้บริบูรณ์ ทุกขานุปัสสนา ... อนัตตานุปัสสนา ... นิพพิทานุปัสสนา... วิราคานุปัสสนา ... นิโรธานุปัสสนา ... ปฏินิสสัคคานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯ อนิจจานุปัสสนาที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญา (ปัญญาเร็ว) ให้บริบูรณ์ ทุกขานุปัสสนา ... ย่อมยังนิพเพธิกปัญญา (ปัญญาทำลาย กิเลส) ให้บริบูรณ์ อนัตตานุปัสสนา ... ย่อมยังมหาปัญญา (ปัญญามาก) ให้ บริบูรณ์ นิพพิทานุปัสสนา ... ย่อมยังติกขปัญญา (ปัญญาคมกล้า) ให้บริบูรณ์ วิราคานุปัสสนา ... ย่อมยังวิบูลปัญญา (ปัญญากว้างขวาง) ให้บริบูรณ์ นิโรธานุ- *ปัสสนา ... ย่อมยังคัมภีรปัญญา (ปัญญาลึกซึ้ง) ให้บริบูรณ์ ปฏินิสสัคคานุปัสสนา ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญา (ปัญญาไม่ใกล้) ให้บริบูรณ์ ปัญญา ๗ ประการนี้ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังความ เป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา ๘ ประการนี้ ... ย่อมยังปุถุปัญญา (ปัญญาแน่น หนา) ให้บริบูรณ์ ปัญญา ๙ ประการนี้ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อม ยังหาสปัญญา (ปัญญาร่าเริง) ให้บริบูรณ์ หาสปัญญา เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา อรรถปฏิสัมภิทาเป็นคุณชาติ อันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถแห่งหาสปัญญานั้น ธรรมปฏิสัมภิทา เป็นคุณ- *ชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนด ธรรมแห่งหาสปัญญานั้น นิรุติปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้ แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุติแห่งหาสปัญญานั้น ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้ว ด้วยปัญญา โดยการกำหนดปฏิภาณแห่งหาสปัญญานั้น ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะ หาสปัญญานั้น ฯ [๖๖๐] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืน ในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป ที่บุคคล เจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา ๗ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปุถุปัญญาให้ บริบูรณ์ ปัญญา ๙ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังหาส- *ปัญญาให้บริบูรณ์ หาสปัญญาเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา ... ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะ หาสปัญญานั้น ฯ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหน ให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืน ในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังอัสสามันตปัญญา ให้บริบูรณ์ ปัญญา ๗ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยัง ความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา ๘ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มาก แล้ว ย่อมยังปุถุปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา ๙ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว ย่อมยังหาสปัญญาให้บริบูรณ์ หาสปัญญาเป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา ... ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะหาสปัญญานั้น ฯ [๖๖๑] การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ การ พิจารณาเห็นทุกข์ในรูป ... การพิจารณาเห็นทุกข์ในรูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและ ปัจจุบัน ... การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูป ... การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูปทั้งเป็น ส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ... การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่ายในรูปทั้งเป็นส่วน อดีต อนาคตและปัจจุบัน ... การพิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในรูป ... การ พิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ... การ พิจารณาเห็นความดับในรูป ... การพิจารณาเห็นความดับในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ... การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป ... การพิจารณาเห็น ความสละคืนในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูป ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ... ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นทุกข์ในรูป ... ย่อมยังนิพเพธิกปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นทุกข์ในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ... ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นอนัตตาใน รูป ... ย่อมยังมหาปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นอนัตตาในรูปทั้งเป็นส่วน อดีต อนาคตและปัจจุบัน ... ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความ เบื่อหน่ายในรูป ... ย่อมยังติกขปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความเบื่อหน่าย ในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ... ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การ พิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในรูป ... ย่อมยังวิบูลปัญญาให้บริบูรณ์ การ พิจารณาเห็นความคลายกำหนัดในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ... ย่อม ยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความดับในรูป ... ย่อมยังคัมภีรปัญญา ให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความดับในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ... ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูป ... ย่อมยัง อัสสามันตปัญญาให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความสละคืนในรูปทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ... ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ปัญญา ๗ ประการนี้ ... ย่อมยังความเป็นบัณฑิตให้บริบูรณ์ ปัญญา ๘ ประการนี้ ... ย่อมยังปุถุปัญญาให้ บริบูรณ์ ปัญญา ๙ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังหาส- *ปัญญาให้บริบูรณ์ หาสปัญญา เป็นปฏิภาณปฏิสัมภิทา ... ปฏิสัมภิทา ๔ ประการ นี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะ หาสปัญญานั้น ในเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ฯ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงใน ชราและมรณะ ทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้บริบูรณ์ ฯลฯ การพิจารณาเห็นความสละคืน ในชราและมรณะ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้ บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความสละคืนในชราและมรณะทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคต และปัจจุบัน ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมยังปัญญาอย่างไหนให้ บริบูรณ์ ฯ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะ ... ย่อมยังชวนปัญญาให้ บริบูรณ์ การพิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในชราและมรณะทั้งเป็นส่วนอดีต อนาคต และปัจจุบัน ... ย่อมยังชวนปัญญาให้บริบูรณ์ ฯลฯ ปฏิสัมภิทา ๔ ประการนี้ เป็นคุณชาติอันบุคคลบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา เพราะ หาสปัญญา ฯ [๖๖๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัปปุริสสังเสวะ คบสัตบุรุษ ๑ สัทธรรมสวนะ ฟังสัทธรรมคำสั่งสอนของท่าน ๑ โยนิโสมนสิการะ ไตร่ตรองพิจารณาคำสั่งสอนของท่าน ๑ ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมที่ได้ตรองเห็นแล้ว ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่ง อนาคามิผล ฯลฯ ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัปปุริสสังเสวะ ๑ สัทธรรมสวนะ ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ธรรมานุธรรมปฏิ- *ปัตติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้ มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอรหัตผล ฯ [๖๖๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้ ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำ ให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่งปัญญา เพื่อความเจริญแห่งปัญญา เพื่อ ความไพบูลย์แห่งปัญญา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาหนา เพื่อความเป็นผู้มีปัญญากว้างขวาง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง เพื่อความเป็นผู้ มีปัญญาไม่ใกล้ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน เพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน เพื่อความเป็นผู้มีปัญญา ร่าเริง เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคมกล้า เพื่อความ เป็นผู้มีปัญญาทำลายกิเลส ๔ ประการเป็นไฉน คือ สัปปุริสสังเสวะ ๑ สัทธรรม- *สวนะ ๑ โยนิโสมนสิการ ๑ ธรรมานุธรรมปฏิปัตติ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๔ ประการนี้แล ที่บุคคลเจริญแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่ง ปัญญา ฯลฯ เพื่อความเป็นผู้มีปัญญาทำลายกิเลส ฯ [๖๖๔] การได้เฉพาะซึ่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อได้เฉพาะซึ่ง ปัญญา เป็นไฉน ฯ การได้ การได้เฉพาะ การถึง การถึงพร้อม การถูกต้อง การทำให้แจ้ง การเข้าถึงพร้อม ซึ่งมรรคญาณ ๔ ผลญาณ ๔ ปฏิสัมภิทาญาณ ๔ อภิญญา ๖ ญาณ ๗๓ ญาณ ๗๗ นี้ เป็นการได้เฉพาะซึ่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ ได้เฉพาะซึ่งปัญญา ฯ ความเจริญแห่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา เป็นไฉน ฯ ปัญญาของพระเสขะ ๗ จำพวก และของกัลยาณปุถุชนย่อมเจริญ ปัญญา ของพระอรหันต์ย่อมเจริญ นี้เป็นความเจริญ นี้เป็นความเจริญแห่งปัญญา ในคำ ว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเจริญแห่งปัญญา ฯ ความไพบูลย์แห่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา เป็นไฉน ฯ ปัญญาของพระเสขะ ๗ จำพวกและของกัลยาณปุถุชน ย่อมถึงความ ไพบูลย์ ปัญญาของพระอรหันต์ เป็นปัญญาไพบูลย์ นี้เป็นความไพบูลย์แห่งปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความไพบูลย์แห่งปัญญา ฯ [๖๖๕] มหาปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาใหญ่ เป็นไฉน ฯ ชื่อว่าปัญญาใหญ่ เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า กำหนดอรรถใหญ่ กำหนด ธรรมใหญ่ กำหนดนิรุติใหญ่ กำหนดปฏิภาณใหญ่ กำหนดศีลขันธ์ใหญ่ กำหนด สมาธิขันธ์ใหญ่ กำหนดปัญญาขันธ์ใหญ่ กำหนดวิมุติขันธ์ใหญ่ กำหนดวิมุติญาณ ทัสนขันธ์ใหญ่ กำหนดฐานะและอฐานะใหญ่ กำหนดวิหารสมาบัติใหญ่ กำหนด อริยสัจใหญ่ กำหนดสติปัฏฐานใหญ่ กำหนดสัมมัปปธานใหญ่ กำหนดอิทธิบาท ใหญ่ กำหนดอินทรีย์ใหญ่ กำหนดพละใหญ่ กำหนดโพชฌงค์ใหญ่ กำหนด อริยมรรคใหญ่ กำหนดสามัญผลใหญ่ กำหนดอภิญญาใหญ่ กำหนดนิพพานอัน เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง นี้เป็นมหาปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อเป็นผู้มีปัญญา ใหญ่ ฯ [๖๖๖] ปุถุปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแน่นหนา เป็นไฉน ฯ ชื่อว่าปัญญาหนา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ญาณเป็นไปในขันธ์ต่างๆ มาก ในธาตุต่างๆ มาก ในอายตนะต่างๆ มาก ในปฏิจจสมุปบาทต่างๆ มาก ในความได้เนืองๆ ซึ่งความสูญต่างๆ มาก ในอรรถต่างๆ มาก ใน ธรรมต่างๆ มาก ในนิรุติต่างๆ มาก ในปฏิภาณต่างๆ มาก ในศีลขันธ์ ต่างๆ มาก ในสมาธิขันธ์ต่างๆ มาก ในปัญญาขันธ์ต่างๆ มาก ในวิมุติ ขันธ์ต่างๆ มาก ในวิมุติญาณทัสนขันธ์ต่างๆ มาก ในฐานะและอฐานะ ต่างๆ มาก ในวิหารสมาบัติต่างๆ มาก ในอริยสัจต่างๆ มาก ในสติ- *ปัฏฐานต่างๆ มาก ในสัมมัปปธานต่างๆ มาก ในอิทธิบาทต่างๆ มาก ใน อินทรีย์ต่างๆ มาก ในพละต่างๆ มาก ในโพชฌงค์ต่างๆ มาก ใน อริยมรรคต่างๆ มาก ในสามัญผลต่างๆ มาก ในอภิญญาต่างๆ มาก ใน นิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ล่วงธรรมที่ทั่วไปแก่ปุถุชน นี้เป็นปุถุปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาหนา ฯ [๖๖๗] วิบูลปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา กว้างขวาง เป็นไฉน ฯ ชื่อว่าปัญญากว้างขวาง เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า กำหนดอรรถกว้างขวาง กำหนดธรรมกว้างขวาง ... กำหนดอภิญญากว้างขวาง กำหนดนิพพานอันเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งกว้างขวาง นี้เป็นวิบูลปัญญา ในคำว่า เป็นไปเพื่อความเป็นผู้ มีปัญญากว้างขวาง ฯ [๖๖๘] คัมภีรปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา ลึกซึ้ง เป็นไฉน ฯ ชื่อว่าปัญญาลึกซึ้ง เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ญาณเป็นไปในขันธ์ลึกซึ้ง ใน ธาตุลึกซึ้ง ... ในอภิญญาลึกซึ้ง ในนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างลึกซึ้ง นี้เป็น คัมภีรปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาลึกซึ้ง ฯ [๖๖๙] อัสสามันตปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา ไม่ใกล้ เป็นไฉน ฯ อรรถปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดอรรถ ธรรมปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอัน บุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนด ธรรม นิรุติปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอันบุคคลใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูก ต้องแล้วด้วยปัญญา โดยการกำหนดนิรุติ ปฏิภาณปฏิสัมภิทา เป็นคุณชาติอัน บุคคลผู้ใดบรรลุแล้ว ทำให้แจ้งแล้ว ถูกต้องด้วยปัญญา โดยการกำหนดปฏิภาณ ใครอื่นย่อมไม่สามารถจะครอบงำอรรถ ธรรม นิรุติและปฏิภาณของบุคคลผู้นั้นได้ และบุคคลผู้นั้นก็เป็นผู้หนึ่งที่ใครๆ ครอบงำไม่ได้ เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึง เป็นปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของกัลยาณปุถุชนห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ไม่ชิดกับ ปัญญาของบุคคลที่ ๘ พระอรหันต์ เมื่อเทียบกับกัลยาณปุถุชน บุคคลที่ ๘ มี ปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของบุคคลที่ ๘ ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับ ปัญญาของพระโสดาบัน เมื่อเทียบกับบุคคลที่ ๘ พระโสดาบันมีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระโสดาบันห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของ พระสกทาคามี เมื่อเทียบกับพระโสดาบัน พระสกทาคามี มีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญา ของพระสกทาคามีห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระอนาคามี เมื่อเทียบกับพระสกทาคามี พระอนาคามีมีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระอนาคามี ห่างไกลแสนไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระอรหันต์ เมื่อเทียบกับ พระอนาคามี พระอรหันต์มีปัญญาไม่ใกล้ ปัญญาของพระอรหันต์ห่างไกลแสน ไกล ไม่ใกล้ ไม่ชิดกับปัญญาของพระปัจเจกพุทธเจ้า เมื่อเทียบกับพระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้ามีปัญญาไม่ใกล้ เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้าและโลกพร้อม ทั้งเทวโลก พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นผู้เลิศ ทรงมีปัญญาไม่ ใกล้ ทรงฉลาดในประเภทแห่งปัญญา ทรงมีญาณแตกฉาน ทรงบรรลุปฏิสัมภิทา ทรงถึงเวสารัชชญาณ ๔ ทรงพละ ๑๐ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็นบุรุษสีหะ ทรงเป็นบุรุษนาค ทรงเป็นบุรุษอาชาไนย ทรงเป็นบุรุษนำธุระไป ทรงมีพระญาณ หาที่สุดมิได้ ทรงมีพระเดชหาที่สุดมิได้ ทรงมีพระยศหาที่สุดมิได้ ทรงเป็นผู้มั่งคั่ง ทรงมีทรัพย์มาก ทรงมีอริยทรัพย์ ทรงเป็นผู้นำ ทรงเป็นผู้นำไปให้วิเศษ ทรงนำ ไปเนืองๆ ทรงบัญญัติ ทรงพินิจ ทรงเพ่ง ทรงให้หมู่สัตว์เลื่อมใส แท้จริง พระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นทรงยังมรรคที่ยังไม่เกิด ให้เกิดขึ้น ทรงยังมรรคที่ยังไม่ เกิดพร้อมให้เกิดพร้อม ตรัสบอกมรรคที่ยังไม่มีใครบอก ทรงรู้จักมรรค ทรง ทราบมรรค ทรงฉลาดในมรรค ก็แหละพระสาวกทั้งหลายในบัดนี้ และที่จะมีมา ในภายหลัง ย่อมเป็นผู้ดำเนินไปตามมรรค แท้จริงพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น เมื่อทรงทราบก็ย่อมทรงทราบ เมื่อทรงเห็นก็ย่อมทรงเห็น ทรงมีจักษุ ทรงมีญาณ ทรงมีธรรม ทรงมีพรหม ตรัสบอก ตรัสบอกทั่ว ทรงนำอรรถออก ทรงประทาน อมตธรรม ทรงเป็นธรรมสามี เสด็จไปอย่างนั้น บทธรรมที่พระผู้มีพระภาค พระองค์นั้นไม่ทรงรู้ ไม่ทรงเห็น ไม่ทรงทราบ ไม่ทรงทำให้แจ้ง ไม่ทรงถูกต้อง แล้วด้วยปัญญามิได้มี ธรรมทั้งปวงรวมทั้งที่เป็นส่วนอดีต อนาคตและปัจจุบัน ย่อมมาสู่คลองในมุข คือ พระญาณของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้วโดยอาการ ทั้งปวง ชื่อว่าบทที่ควรแนะนำซึ่งเป็นอรรถเป็นธรรมที่ควรรู้ อย่างใดอย่างหนึ่ง และประโยชน์ตน ประโยชน์ผู้อื่น ประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ประโยชน์ภพนี้ ประโยชน์ภพหน้า ประโยชน์ตื้น ประโยชน์ลึก ประโยชน์ลับ ประโยชน์เปิด เผย ประโยชน์ที่ควรนำไป ประโยชน์ที่นำไปแล้ว ประโยชน์ไม่มีโทษ ประโยชน์ ไม่มีกิเลส ประโยชน์ขาวผ่อง หรือปรมัตถประโยชน์ทั้งหมดนั้นย่อมเป็นไปภาย ในพระพุทธญาณ พระญาณของพระพุทธเจ้า ย่อมเป็นไปตลอดกายกรรม วจี กรรม มโนกรรมทั่วหมด พระญาณของพระพุทธเจ้ามิได้ขัดข้องในอดีต อนาคต ปัจจุบัน เนยยบทมีเท่าใด พระญาณก็มีเท่านั้น พระญาณมีเท่าใดเนยยบทก็มี เท่านั้น พระญาณมีเนยยบทเป็นที่สุดรอบ เนยยบทมีพระญาณเป็นที่สุดรอบ พระญาณไม่เป็นไปเกินเนยยบท เนยยบทก็ไม่เกินพระญาณ ธรรมเหล่านั้นตั้งอยู่ ในที่สุดรอบของกันและกัน เปรียบเหมือนผะอบสองชั้นสนิทกันดี ผะอบชั้นล่าง ไม่เกินผะอบชั้นบน ผะอบชั้นบนก็ไม่เกินผะอบชั้นล่าง ผะอบทั้งสองชั้นนั้นต่าง ก็ตั้งอยู่ในที่สุดของกันและกัน ฉะนั้น พระพุทธญาณย่อมเป็นไปในธรรมทั้งปวง ธรรมทั้งปวงเนื่องด้วยความทรงคำนึง เนื่องด้วยทรงพระประสงค์ เนื่องด้วยทรง พระมนสิการ เนื่องด้วยพระจิตตุบาทของพระผู้มีพระภาคผู้ตรัสรู้แล้ว พระพุทธ- *ญาณเป็นไปในสรรพสัตว์ พระพุทธเจ้าย่อมทรงทราบอัธยาศัย อนุสัย ความ ประพฤติ อธิมุติ ของสรรพสัตว์ ย่อมทรงทราบหมู่สัตว์มีกิเลสธุลีน้อยในปัญญา- *จักษุ ผู้มีกิเลสธุลีมากในปัญญาจักษุ ผู้มีอินทรีย์แก่กล้า ผู้มีอินทรีย์อ่อน มี อาการดี มีอาการทราม พระองค์พึงทรงให้รู้ได้ง่าย พระองค์พึงให้รู้ได้ยาก เป็น ภัพพสัตว์ เป็นอภัพพสัตว์ โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก หมู่ สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ย่อมเป็นไปภายในพระพุทธญาณ เปรียบเหมือนปลาและเต่าทุกชนิด โดยที่สุดตลอดจนปลาติมิและปลาติมิงคละ ย่อมว่ายวนอยู่ภายในมหาสมุทร ฉะนั้น เปรียบเหมือนนกทุกชนิด โดยที่สุด ตลอดจนนกครุฑตระกูลเวนเตยยะ ย่อมบินร่อนไปในประเทศอากาศ ฉันใด ดูกรสารีบุตร แม้บรรดาสัตว์ผู้มีปัญญา ก็ย่อมเป็นไปในประเทศพุทธญาณ ฉันนั้น เหมือนกัน พุทธญาณแผ่ไป แล่นไปสู่ปัญหาของเทวดาและมนุษย์แล้วตั้งอยู่ บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มีปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิงขนทราย เที่ยวทำ ลายปัญญาและทิฐิด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้วพากันเข้ามาหา พระตถาคต ถามปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้นพระผู้มีพระภาคตรัส บอกและทรงแก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่พระผู้มีพระภาค ความจริง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยปัญญา เพราะทรงแก้ปัญหาเหล่า นั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงเป็นผู้เลิศ มีพระปัญญาไม่ใกล้ นี้เป็น อัสสามันตปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาไม่ใกล้ ฯ [๖๗๐] ภูริปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดัง แผ่นดิน เป็นไฉน ฯ ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่าครอบงำอยู่ ครอบงำแล้วซึ่งราคะ ครอบงำอยู่ ครอบงำแล้วซึ่งโทสะ ครอบงำอยู่ ครอบแล้วซึ่งโมหะ ครอบงำอยู่ ครอบงำแล้วซึ่งโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ ครอบงำอยู่ ครอบงำแล้ว ซึ่งกรรมอัน เป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง ชื่อว่าภูริปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า เป็นปัญญา ย่ำยีราคะอันเป็นข้าศึก เป็นปัญญาย่ำยีโทสะอันเป็นข้าศึก เป็นปัญญาย่ำยีโมหะ อันเป็นข้าศึก เป็นปัญญาย่ำยีโกธะอันเป็นข้าศึก ฯลฯ อุปนาหะ ฯลฯ อภิสังขาร ทั้งปวง ฯลฯ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง อันเป็นข้าศึก แผ่นดินท่าน กล่าวว่า ภูริ บุคคลประกอบด้วยปัญญาอันกว้างขวางไพบูลย์ เสมอด้วยแผ่นดิน นั้น เพราะเหตุนั้น ปัญญานั้นจึงเป็นภูริปัญญา อีกประการหนึ่ง คำว่า ภูริ นี้ เป็นชื่อของปัญญา ปัญญาเป็นปริณายก เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าภูริปัญญา นี้เป็น ภูริปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาดังแผ่นดิน ฯ [๖๗๑] ปัญญาพาหุลละ ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา มาก เป็นไฉน ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้หนักด้วยปัญญา เป็นผู้ประพฤติด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นที่อาศัย น้อมใจเชื่อด้วยปัญญา มีปัญญาเป็นธงไชย มีปัญญาเป็นยอด มีปัญญาเป็นใหญ่ มากด้วยการเลือกเฟ้น มากด้วยการค้นคว้า มากด้วยการ พิจารณา มากด้วยการเพ่งพินิจ มีการเพ่งพิจารณาเป็นธรรมดา มีความประพฤติ งดเว้นด้วยปัญญาที่แจ่มแจ้ง หนักในปัญญา มากด้วยปัญญา โน้มไปในปัญญา น้อมไปในปัญญา เงื้อมไปในปัญญา น้อมจิตไปในปัญญา มีปัญญาเป็นอธิบดี เปรียบเหมือนภิกษุผู้หนักไปในคณะ ท่านกล่าวว่า มีคณะมาก ผู้หนักในจีวร ท่านกล่าวว่า มีจีวรมาก ผู้หนักในบาตร ท่านกล่าวว่า มีบาตรมาก ผู้หนักใน เสนาสนะ ท่านกล่าวว่า มีเสสนานะมาก ฉะนั้น นี้เป็นปัญญาพาหุลละ ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญามาก ฯ [๖๗๒] สีฆปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาเร็ว เป็นไฉน ฯ ชื่อว่าปัญญาเร็ว เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ปัญญาเป็นเครื่องบำเพ็ญศีลให้ บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญอินทรีย์สังวรให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่อง บำเพ็ญโภชเน มัตตัญญุตาให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญชาคริยานุโยคให้ บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญศีลขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญ สมาธิขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญปัญญาขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญวิมุติขันธ์ให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องบำเพ็ญวิมุติญาณทัสนขันธ์ ให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องแทงตลอดฐานะและอฐานะได้เร็วๆ เป็นเครื่อง บำเพ็ญวิหารสมาบัติให้บริบูรณ์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องแทงตลอดอริยสัจได้เร็วๆ เป็นเครื่องเจริญสติปัฏฐานได้เร็วๆ เป็นเครื่องเจริญสัมมัปปธานได้เร็วๆ เป็น เครื่องเจริญอิทธิบาทได้เร็วๆ เป็นเครื่องเจริญอินทรีย์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องเจริญ พละได้เร็วๆ เป็นเครื่องเจริญโพชฌงค์ได้เร็วๆ เป็นเครื่องเจริญอริยมรรคได้ เร็วๆ เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งสามัญผลได้เร็วๆ เป็นเครื่องแทงตลอด อภิญญาได้เร็วๆ เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งได้ เร็วๆ นี้เป็นสีฆปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา เร็วๆ ฯ [๖๗๓] ลหุปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาพลัน เป็นไฉน ฯ ชื่อว่าปัญญาพลัน เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ปัญญาเป็นเครื่องบำเพ็ญศีล ให้บริบูรณ์ได้พลันๆ ... เป็นเครื่องทำให้แจ้งซึ่งนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่าง ยิ่งได้พลันๆ นี้เป็นลหุปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา พลัน ฯ [๖๗๔] หาสปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง เป็นไฉน ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ มีความร่าเริงมาก มีความพอใจมาก มีความยินดี มาก มีความปราโมทย์มาก บำเพ็ญศีลให้บริบูรณ์ บำเพ็ญอินทรียสังวรให้บริบูรณ์ ... ซึ่งทำให้แจ้งนิพพานอันเป็นประโยชน์อย่างยิ่งให้บริบูรณ์ด้วยปัญญานั้นๆ เพราะ เหตุนั้น ปัญญานั้นๆ จึงชื่อว่าปัญญาร่าเริง นี้เป็นหาสปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็น ไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาร่าเริง ฯ [๖๗๕] ชวนปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่น ไป เป็นไฉน ฯ ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ปัญญาแล่นไปสู่รูปทั้งปวง ทั้ง ที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต มีอยู่ในที่ไกลหรือมีอยู่ในที่ใกล้ โดยความเป็นของไม่เที่ยงไว แล่นไปโดยความเป็นทุกข์ไว แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาไว แล่นไปสู่เวทนา ฯลฯ สัญญา สังขาร วิญญาณ ทั้งปวง ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือประณีต มีอยู่ในที่ไกลหรือ มีอยู่ในที่ใกล้ โดยความเป็นของไม่เที่ยงไว แล่นไปโดยความเป็นทุกข์ไว แล่น ไปโดยความเป็นอนัตตาไว แล่นไปสู่จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน โดยความเป็นของไม่เที่ยงไว แล่นไปโดยความเป็นทุกข์ไว แล่นไปโดยความเป็นอนัตตาไว ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญาเทียบ เคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้ง รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่ เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าเป็นสิ่งที่น่ากลัว เป็นอนัตตา เพราะอรรถว่าไม่มีแก่นสาร แล้วแล่นไปในนิพพานเป็นที่ดับรูปไว ชื่อว่าชวน- *ปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้เห็นแจ่มแจ้งว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน ไม่เที่ยงเพราะอรรถว่าสิ้นไป เป็นทุกข์เพราะอรรถว่าเป็นสิ่ง ที่น่ากลัว เป็นอนัตตาเพราะอรรถว่าไม่มีแก่นสาร แล้วแล่นไปในนิพพานเป็นที่ ดับชราและมรณะไว ชื่อว่าชวนปัญญา เพราะอรรถว่า ปัญญาเทียบเคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้งว่า รูปทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยงอัน ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไปเป็นธรรมดา แล้วแล่นไปในนิพพานเป็นที่ดับรูปไว ชื่อว่าชวนปัญญาเพราะอรรถว่าปัญญาเทียบ เคียง พินิจ พิจารณา ทำให้แจ่มแจ้งว่า เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ จักษุ ฯลฯ ชราและมรณะ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน เป็นของไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น มีความสิ้นไป เสื่อมไป คลายไป ดับไป เป็นธรรมดา แล้วแล่นไปในนิพพานอันเป็นที่ดับชราและมรณะไว นี้เป็นชวน ปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาแล่นไป ฯ [๖๗๖] ติกขปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคม กล้า เป็นไฉน ฯ ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะอรรถวิเคราะห์ว่า ทำลายกิเลสได้ไว ไม่รับรองไว้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้นสุด ให้ถึงความไม่มีต่อไป ซึ่งกามวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ฯลฯ ซึ่งพยาบาทวิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ฯลฯ ซึ่งวิหิงสา- *วิตกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ฯลฯ ซึ่งอกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ รับรองไว้ ฯลฯ ซึ่งราคะที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่รับรองไว้ ย่อมละ บรรเทา ทำให้สิ้น สุด ให้ถึงความไม่มีต่อไป ซึ่งโทสะ ฯลฯ โมหะ โกธะ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติ- *มานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพทั้งปวง ที่เกิดขึ้นแล้ว ชื่อว่าติกขปัญญา เพราะอรรถ ว่า ปัญญาเป็นเครื่องให้บุคคลได้บรรลุ ทำให้แจ้ง ถูกต้องอริยมรรค ๔ สามัญ- *ผล ๔ ปฏิสัมภิทา ๔ อภิญญา ๖ ณ อาสนะเดียว นี้เป็นติกขปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญาคมกล้า ฯ [๖๗๗] นิพเพธิกปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อความเป็นผู้มีปัญญา เครื่องทำลายกิเลส เป็นไฉน ฯ บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้มากไปด้วยความสะดุ้ง ความหวาดเสียว ความเบื่อหน่าย ความระอา ความไม่พอใจ เบือนหน้าออก ไม่ยินดีในสังขาร ทั้งปวง ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายกองโลภะ กองโทสะ กองโมหะ ที่ไม่เคยทำลาย ย่อมเบื่อหน่าย ทำลายโกธะ ฯลฯ อุปนาหะ มักขะ ปฬาสะ อิสสา มัจฉริยะ มายา สาเถยยะ ถัมภะ สารัมภะ มานะ อติมานะ มทะ ปมาทะ กิเลสทั้งปวง ทุจริตทั้งปวง อภิสังขารทั้งปวง ฯลฯ กรรมอันเป็นเหตุให้ไปสู่ภพ ทั้งปวง ที่ไม่เคยเบื่อหน่าย ไม่เคยทำลายด้วยปัญญา เพราะเหตุนั้น ปัญญา นั้นๆ จึงชื่อว่านิพเพธิกปัญญา นี้เป็นนิพเพธิกปัญญา ในคำว่า ย่อมเป็นไปเพื่อ ความเป็นผู้มีปัญญาเครื่องทำลายกิเลส ปัญญา ๑๖ ประการนี้ ฯ [๖๗๘] บุคคลผู้ประกอบด้วยปัญญา ๑๖ ประการนี้ เป็นผู้บรรลุปฏิสัม- *ภิทา บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ คือ ผู้หนึ่งถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน ผู้หนึ่งไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน เป็นผู้ ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อน และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งเป็นพหูสูต ผู้หนึ่งไม่เป็นพหูสูต ผู้เป็นพหูสูตเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่เป็นพหูสูต และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดัง นี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ แม้ผู้เป็น พหูสูตก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมากด้วยเทศนา ผู้หนึ่งไม่มากด้วยเทศนา ผู้มากด้วย เทศนา เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มากด้วยเทศนา และมีญาณ แตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ และผู้มากด้วยเทศนาก็ มี ๒ คือ ผู้หนึ่งอาศัยครู ผู้หนึ่งไม่อาศัยครู ผู้อาศัยครูเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่อาศัยครู และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูต มี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ และผู้อาศัยครูก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมีวิหารธรรมมาก ผู้หนึ่งไม่มีวิหารธรรมมาก ผู้มีวิหารธรรมมากเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มี วิหารธรรมมาก และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคล ผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้ มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ และผู้มีวิหารธรรมมากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งมี ความพิจารณามาก ผู้หนึ่งไม่มีความพิจารณามาก ผู้มีความพิจารณามากเป็นผู้ ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่มีความพิจารณามาก และมีญาณแตกฉาน บุคคล บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียร มาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มี วิหารธรรมมากมี ๒ และผู้มีความพิจารณามากก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งเป็นพระเสขะ บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้หนึ่งเป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุ ปฏิสัมภิทา ผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาเป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้เป็น พระเสขะบรรลุปฏิสัมภิทา และมีญาณแตกฉาน บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียรมาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหู- *สูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มีวิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มี ความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิสัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่ง บรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งไม่บรรลุถึงสาวกบารมี ผู้บรรลุถึงสาวกบารมีเป็นผู้ ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้ไม่บรรลุถึงสาวกบารมี และมีญาณแตกฉาน บุคคล ผู้บรรลุปฏิสัมภิทามี ๒ ดังนี้ บุคคลผู้บรรลุปฏิสัมภิทา ผู้ถึงพร้อมด้วยความเพียร มาก่อนมี ๒ ผู้เป็นพหูสูตมี ๒ ผู้มากด้วยเทศนามี ๒ ผู้อาศัยครูมี ๒ ผู้มี วิหารธรรมมากมี ๒ ผู้มีความพิจารณามากมี ๒ และผู้เป็นพระอเสขะบรรลุปฏิ- *สัมภิทาก็มี ๒ คือ ผู้หนึ่งบรรลุถึงสาวกบารมี ผู้หนึ่งเป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นพระปัจเจกสัมพุทธเจ้า เป็นผู้ประเสริฐ ยิ่ง วิเศษกว่าผู้บรรลุถึงสาวกบารมี และมีญาณแตกฉาน เมื่อเทียบกับพระปัจเจกพุทธเจ้า และโลก พร้อมทั้ง เทวโลก ดังนี้ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุ ปฏิสัมภิทา ทรงเป็นผู้ฉลาดในประเภทแห่งปัญญา มีพระญาณแตกฉาน ทรงได้ปฏิ สัมภิทา ทรงบรรลุถึงเวสารัชชญาณ ทรงพละ ๑๐ ทรงเป็นบุรุษองอาจ ทรงเป็น บุรุษสีหะ ฯลฯ บรรดากษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ ผู้เป็นบัณฑิต มี ปัญญาละเอียด แต่งวาทะโต้ตอบ มีปัญญาเปรียบด้วยนายขมังธนูผู้สามารถยิง ขนทราย เที่ยวทำลายปัญญาและทิฐิด้วยปัญญา บัณฑิตเหล่านั้นแต่งปัญหาแล้ว พากันเข้ามาหาพระตถาคต ถามปัญหาทั้งลี้ลับและเปิดเผย ปัญหาเหล่านั้น พระผู้ มีพระภาคตรัสบอกและทรงแก้แล้ว มีเหตุที่ทรงแสดงไขให้เห็นชัด ปรากฏแก่ พระผู้มีพระภาค ความจริง พระผู้มีพระภาคย่อมทรงรุ่งเรืองยิ่งด้วยพระปัญญา เพราะ ทรงแก้ปัญหาเหล่านั้น เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคจึงเป็นผู้เลิศ ทรงบรรลุ ปฏิสัมภิทา ฉะนี้แล ฯ
จบมหาปัญญากถา
-----------------------------------------------------
ปัญญาวรรค อิทธิกถา
[๖๗๙] ฤทธิ์เป็นอย่างไร ฤทธิ์มีเท่าไร ภูมิ บาท บท มูล แห่ง ฤทธิ์ มีอย่างละเท่าไร ฯ ฤทธิ์ในคำว่า ฤทธิ์เป็นอย่างไร ด้วยความว่าสำเร็จ ฤทธิ์ในคำว่า ฤทธิ์ มีเท่าไร มี ๑๐ ภูมิแห่งฤทธิ์มี ๔ บาทมี ๔ บทมี ๘ มูลมี ๑๖ ฯ [๖๘๐] ฤทธิ์ ๑๐ เป็นไฉน ฯ ฤทธิ์ที่อธิษฐาน ๑ ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ ๑ ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ๑ ฤทธิ์ ที่แผ่ไปด้วยญาณ ๑ ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ๑ ฤทธิ์ของพระอริยะ ๑ ฤทธิ์เกิด แต่ผลกรรม ๑ ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ๑ ฤทธิ์ที่สำเร็จแต่วิชา ๑ ชื่อว่าฤทธิ์ ด้วย ความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้น ๑ ฯ [๖๘๑] ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ ปฐมฌานเป็นภูมิเกิดวิเวก ๑ ทุติยฌานเป็นภูมิแห่งปีติและสุข ๑ ตติย- *ฌานเป็นภูมิแห่งอุเบกขาและสุข ๑ จตุตถฌานเป็นภูมิแห่งความไม่มีทุกข์ไม่มี สุข ๑ ภูมิ ๔ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความได้เฉพาะฤทธิ์ เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความเป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ [๖๘๒] บาท ๔ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ ภิกษุในศาสนานี้ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยฉันทะและ ปธานสังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่ง ด้วยความเพียรและ ปธานสังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยจิตและปธานสังขาร ๑ เจริญอิทธิบาทประกอบด้วยสมาธิอันยิ่งด้วยวิมังสาและปธานสังขาร ๑ บาท ๔ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ ... เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ [๖๘๓] บท ๘ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ ถ้าภิกษุอาศัยฉันทะได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต ฉันทะไม่ใช่สมาธิ สมาธิ ไม่ใช่ฉันทะ ฉันทะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุอาศัยวิริยะได้ สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิริยะไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิริยะ วิริยะเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุอาศัยจิตได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต จิตไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่จิต จิตเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิเป็นอย่างหนึ่ง ถ้าภิกษุอาศัยวิมังสาได้สมาธิ ได้เอกัคคตาจิต วิมังสาไม่ใช่สมาธิ สมาธิไม่ใช่วิมังสา วิมังสาเป็นอย่างหนึ่ง สมาธิ เป็นอย่างหนึ่ง บท ๘ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ ... เพื่อความแกล้ว กล้าด้วยฤทธิ์ ฯ [๖๘๔] มูล ๑๖ แห่งฤทธิ์เป็นไฉน ฯ จิตไม่ฟุบลง ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความเกียจคร้าน เพราะเหตุนั้น จึง ชื่อว่าอเนญชา (จิตไม่หวั่นไหว) จิตไม่ฟูขึ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา จิตไม่ยินดี ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะราคะ ... จิต ไม่มุ่งร้าย ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะพยาบาท ... จิตอันทิฐิไม่อาศัย ย่อมไม่หวั่นไหว เพราะทิฐิ ... จิตไม่พัวพัน ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะฉันทราคะ ... จิตหลุดพ้น ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกามราคะ ... จิตไม่เกาะเกี่ยว ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลส ... จิตปราศจากเครื่องครอบงำ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความครอบงำแห่งกิเลส ... เอกัคคตาจิตย่อมไม่หวั่นไหวเพราะกิเลสต่างๆ ... จิตที่กำหนดด้วยศรัทธา ย่อม ไม่หวั่นไหวเพราะความเป็นผู้ไม่มีศรัทธา ... จิตที่กำหนดด้วยวิริยะ ย่อมไม่หวั่น ไหวเพราะความเกียจคร้าน ... จิตที่กำหนดด้วยสติ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความ ประมาท ... จิตที่กำหนดด้วยสมาธิ ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอุทธัจจะ ... จิตที่ กำหนดด้วยปัญญา ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะอวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา จิตที่ถึงความสว่างไสว ย่อมไม่หวั่นไหวเพราะความมืดคืออวิชชา เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าอเนญชา มูล ๑๖ แห่งฤทธิ์นี้ ย่อมเป็นไปเพื่อความได้ฤทธิ์ เพื่อความ ได้เฉพาะฤทธิ์ เพื่อแผลงฤทธิ์ได้ต่างๆ เพื่อความสำเร็จแห่งฤทธิ์ เพื่อความ เป็นผู้ชำนาญในฤทธิ์ เพื่อความแกล้วกล้าด้วยฤทธิ์ ฯ [๖๘๕] ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นไฉน ฯ ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ คนเดียวเป็น หลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ให้หายไปก็ได้ ทะลุ ฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือน ในน้ำก็ได้ เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ เหาะไปในอากาศ เหมือนนกก็ได้ ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นด้วย ฝ่ามือก็ได้ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ ฯ คำว่า ในศาสนานี้ คือ ในทิฐินี้ ในความควรนี้ ในความชอบใจนี้ ในเขตนี้ ในธรรมนี้ ในวินัยนี้ ในปาพจน์นี้ ในพรหมจรรย์นี้ ในสัตถุศาสน์นี้ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่าในศาสนานี้ ฯ คำว่า ภิกษุ คือ ภิกษุผู้เป็นกัลยาณปุถุชน เป็นพระเสขะหรือเป็น พระอรหันต์ผู้มีธรรมไม่กำเริบ ฯ คำว่า แสดงฤทธิ์ได้เป็นอันมาก คือ แสดงฤทธิ์ได้มีประการต่างๆ อย่าง ฯ คำว่า คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปรกติเป็นคนเดียว ย่อมนึกให้เป็นหลายคน คือ นึกให้เป็นร้อยคน พันคนหรือแสนคน แล้ว อธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นหลายคน ก็เป็นหลายคน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความ ชำนาญแห่งจิต แม้คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ เปรียบเหมือนท่านพระจุลปันถก รูปเดียวเป็นหลายรูปก็ได้ ฉะนั้น ฯ คำว่า หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์โดยปรกติหลายคน ย่อมนึกให้เป็นคนเดียว แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นคนเดียว ก็เป็นคน เดียว ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต หลายคนเป็นคนเดียวก็ได้ เปรียบ เหมือนท่านพระจุลปันถก หลายรูปเป็นรูปเดียวก็ได้ ฉะนั้น ฯ คำว่า ทำให้ปรากฏก็ได้ คือ ที่อันอะไรๆ ปิดบังไว้ ทำให้ไม่มีอะไร ปิดบังให้เปิดเผยก็ได้ ฯ คำว่า ทำให้หายไปก็ได้ คือ ที่อันอะไรๆ เปิดไว้ ทำให้เป็นที่ปิดบัง มิดชิดก็ได้ ฯ คำว่า ทะลุฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่ว่างก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ เป็นผู้ได้อากาศกสิณสมาบัติโดยปกติ ย่อมนึกถึงฝา กำแพง ภูเขา แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นที่ว่างก็ย่อมเป็นที่ว่าง ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น ย่อมทะลุ ฝากำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัด ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต ย่อมทะลุฝา กำแพงภูเขาไปได้ไม่ติดขัดเหมือนไปในที่แจ้ง เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์ โดยปรกติ ย่อมไปในที่ที่ไม่มีอะไรๆ ปิดบังกั้นไว้ไม่ติดขัด ฉะนั้น ฯ คำว่า ผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ ได้อาโปกสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงแผ่นดินแล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จง เป็นน้ำ ก็เป็นน้ำ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินได้ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นถึง ความชำนาญแห่งจิตผุดขึ้นดำลงในแผ่นดินเหมือนในน้ำก็ได้ เปรียบเหมือนพวก มนุษย์ ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ ผุดขึ้นดำลงในน้ำได้ ฉะนั้น ฯ คำว่า เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดินก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ เป็นผู้ได้ปฐวีกสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงน้ำ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็นแผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น เดินไปบนน้ำไม่แตกได้ ท่าน ผู้มีฤทธิ์นั้นถึงความชำนาญแห่งจิต เดินไปบนน้ำไม่แตกเหมือนเดินบนแผ่นดิน ก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ เดินไปบนแผ่นดินไม่แตกได้ ฉะนั้น ฯ คำว่า เหาะไปในอากาศเหมือนนกก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์เป็นผู้ได้ปฐวี- *กสิณสมาบัติโดยปรกติ ย่อมนึกถึงอากาศ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า จงเป็น แผ่นดิน ก็เป็นแผ่นดิน ท่านผู้มีฤทธิ์นั้นเดินบ้าง ยืนบ้าง นอนบ้าง ในอากาศ กลางหาวเหมือนนกก็ได้ เปรียบเหมือนพวกมนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ เดินบ้าง ยืนบ้าง นั่งบ้าง นอนบ้าง บนแผ่นดิน ฉะนั้น ฯ คำว่า ลูบคลำพระจันทร์พระอาทิตย์ซึ่งมีฤทธิ์มีอานุภาพมากอย่างนั้นด้วย ฝ่ามือก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ในศาสนานี้ ถึงความชำนาญแห่งจิต นั่งหรือนอน ก็ตาม นึกถึงพระจันทร์และพระอาทิตย์ แล้วอธิษฐานด้วยญาณว่า พระจันทร์ พระอาทิตย์ จงมีที่ใกล้มือ ก็ย่อมมีที่ใกล้มือ ท่านผู้มีฤทธิ์นั้น นั่งหรือนอนอยู่ ก็ตาม ย่อมลูบคลำสัมผัสพระจันทร์พระอาทิตย์ด้วยฝ่ามือได้ เปรียบเหมือนพวก มนุษย์ผู้ไม่มีฤทธิ์โดยปรกติ ย่อมลูบคลำสัมผัสรูปอะไรๆ ที่ใกล้มือได้ ฉะนั้น ฯ คำว่า ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลกก็ได้ คือ ท่านผู้มีฤทธิ์ผู้ถึง ความชำนาญแห่งจิตนั้น ถ้าประสงค์จะไปยังพรหมโลก ก็อธิษฐานที่ไกลให้เป็น ที่ใกล้ว่า จงเป็นที่ใกล้ ก็เป็นที่ใกล้ อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า จงเป็นที่ไกล ก็เป็นที่ไกล อธิษฐานที่ใกล้ให้เป็นที่ไกลว่า จงเป็นที่ไกล ก็เป็นที่ไกล อธิษฐาน ของมากให้เป็นของน้อยว่า จงเป็นของน้อย ก็เป็นของน้อย อธิษฐานของน้อย ให้เป็นของมากว่า จงเป็นของมาก ก็เป็นของมาก ย่อมเห็นรูปพรหมนั้นได้ด้วย ทิพจักษุ ย่อมฟังเสียงพรหมนั้นได้ด้วยทิพโสตธาตุ ย่อมรู้จิตของพรหมนั้นได้ด้วย เจโตปริยญาณ ท่านผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ประสงค์จะไปยังพรหมโลก ด้วยกายที่ปรากฏ ก็น้อมจิตอธิษฐานจิตด้วยสามารถแห่งกาย ครั้นแล้วหยั่งลงสู่ สุขสัญญาและลหุสัญญา แล้วก็ไปยังพรหมโลกได้ด้วยกายที่ปรากฏอยู่ ถ้าท่าน ผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญแห่งจิตนั้น ประสงค์จะไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่ ปรากฏ ก็น้อมกายอธิษฐานกายด้วยสามารถแห่งจิต ครั้นแล้วหยั่งลงสู่สุข สัญญาและลหุสัญญา แล้วก็ไปยังพรหมโลกด้วยกายที่ไม่ปรากฏ ท่านผู้มีฤทธิ์ นิรมิตรูปอันสำเร็จด้วยใจ มีอวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง ไว้ข้างหน้า ของพรหมนั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์เดินอยู่ รูปกายนิรมิตก็เดินอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่าน ผู้มีฤทธิ์ยืนอยู่ รูปกายนิรมิตก็ยืนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นั่งอยู่ รูปกายนิรมิต ก็นั่งอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์นอนอยู่รูปกายนิรมิตก็นอนอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้ มีฤทธิ์บังหวนควันอยู่รูปกายนิรมิตก็บังหวนควันอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ ให้ไฟลุกโพลงอยู่ รูปกายนิรมิตก็ให้ไฟลุกโพลง ณ ที่นั้น ถ้าท่านรูป กายนิรมิตก็กล่าวธรรมอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ผู้มีฤทธิ์กล่าวธรรมอยู่ ถามปัญหาอยู่ รูปกายนิรมิตก็ถามปัญหาอยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์อันรูป กายนิรมิตถามปัญหาแล้วก็แก้ รูปกายนิรมิตอันท่านผู้มีฤทธิ์ถามปัญหาแล้วก็แก้ อยู่ ณ ที่นั้น ถ้าท่านผู้มีฤทธิ์ยืนสนทนาปราศรัยอยู่กับพรหมนั้น รูปกายนิรมิตก็ยืน สนทนาปราศรัยกับพรหมนั้นอยู่ ณ ที่นั้น ท่านผู้มีฤทธิ์ทำกิจใด รูปกายนิรมิตก็ทำ กิจนั้นๆ นั่นแล นี้ฤทธิ์ที่อธิษฐานเป็นดังนี้ ฯ [๖๘๖] ฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ เป็นไฉน ฯ พระเถระนามว่าอภิภู เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาค อรหันต สัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าสิขี สถิตอยู่ในพรหมโลก เปล่งเสียงให้พันโลกธาตุ ทราบชัด ท่านแสดงธรรมด้วยกายที่ปรากฏก็มี ด้วยกายที่ไม่ปรากฏก็มิ ด้วยกาย ครึ่งหนึ่งส่วนล่างไม่ปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนบนไม่ปรากฏก็มี ด้วยกาย ครึ่งหนึ่งส่วนบนปรากฏก็มี ด้วยกายครึ่งหนึ่งส่วนล่วงไม่ปรากฏก็มี ท่านละเพศ ปรกติแล้วแสดงเพศกุมารบ้าง แสดงเพศนาคบ้าง แสดงเพศครุฑบ้าง แสดงเพศยักษ์บ้าง แสดงเพศอสูรบ้าง แสดงเพศพระอินทร์บ้าง แสดงเพศ เทวดาบ้าง แสดงเพศพรหมบ้าง แสดงเพศสมุทรบ้าง แสดงเพศภูเขาบ้าง แสดงเพศป่าบ้าง แสดงเพศราชสีห์บ้าง แสดงเพศเสือโคร่งบ้าง แสดงเพศ เสือเหลืองบ้าง แสดงพลช้างบ้าง แสดงพลม้าบ้าง แสดงพลรถบ้าง แสดงพล ราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ บ้าง นี้เป็นฤทธิ์ที่แผลงได้ต่างๆ ฯ [๖๘๗] ฤทธิ์ที่สำเร็จด้วยใจเป็นไฉน ฯ ภิกษุในศาสนานี้ นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ มีรูปสำเร็จด้วยใจ มี อวัยวะครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง เปรียบเหมือนบุรุษชักไส้ออกจาก หญ้าปล้อง เขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้หญ้าปล้อง นี้ไส้ หญ้าปล้อง เป็นอย่างหนึ่ง ไส้เป็นอย่างหนึ่ง แต่ไส้ก็ออกจากหญ้าปล้องนั่นเอง อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษชักดาบอกออกจากฝัก เขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้ดาบ นี้ฝัก ดาบเป็นอย่างหนึ่ง ฝักเป็นอย่างหนึ่ง แต่ดาบก็ออกจากฝักนั่นเอง อีกประการหนึ่ง เปรียบเหมือนบุรุษเอางูออกจากกระทอเขาพึงมีความสำคัญอย่างนี้ว่า นี้งู นี้กระทอ งูเป็นอย่างหนึ่ง กระทอเป็นอย่างหนึ่ง แต่งูก็ออกจากกระทอนั่นเอง ฉันใด ภิกษุ ก็ฉันนั้นเหมือนกัน นิรมิตกายอื่นออกจากกายนี้ มีรูปสำเร็จด้วยใจมีอวัยวะ ครบทุกส่วน มีอินทรีย์ไม่บกพร่อง นี้ฤทธิ์สำเร็จด้วยใจ ฯ [๖๘๘] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณเป็นไฉน ฯ ความละนิจจสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอนิจจานุปัสนา เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ความละสุขสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุกขานุปัสนา ความละอัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอนัตตานุปัสนา ความละความเพลิดเพลิน ย่อมสำเร็จได้ด้วยนิพพิทานุปัสนา ความละราคะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยวิราคานุปัสนา ความละสมุทัย ย่อมสำเร็จได้ด้วยนิโรธานุปัสนา ความละความยึดถือ ย่อมสำเร็จ ได้ด้วยปฏินิสสัคคานุปัสนา เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ท่านพระพักกุละ ท่านพระสังกิจจะ ท่านพระภูตปาละ มีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยญาณ ฯ [๖๘๙] ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิเป็นไฉน ความละนิวรณ์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยปฐมฌาน เพราะเหตุนั้นจึงเป็นฤทธิ์ ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ความละวิตกวิจาร ย่อมสำเร็จได้ด้วยทุติยฌาน เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ความละปีติ ย่อมสำเร็จได้ด้วยตติยฌาน ฯลฯ ความละสุขและทุกข์ ย่อมสำเร็จได้ด้วยจตุตถฌาน ฯลฯ ความละรูปสัญญา ปฏิฆสัญญา นานัตตสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอากาสานัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ความละอากาสานัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยวิญญาณัญจายตนสมาบัติ ฯลฯ ความละวิญญาณัญจายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยอากิญจัญญายตนสมาบัติ ฯลฯ ความละอากิญจัญญายตนสัญญา ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติ เพราะเหตุนั้น จึงเป็นฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ ท่านพระสารีบุตร ท่านพระสัญชีวะ ท่านพระขาณุโกณฑัญญะ อุตตราอุบาสิกา สามาวดีอุบาสิกา มีฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วย สมาธิ นี้ฤทธิ์ที่แผ่ไปด้วยสมาธิ [๖๙๐] ฤทธิ์ของพระอริยะเป็นไฉน ฯ ภิกษุในศาสนานี้ ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่ง ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลนั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า เราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล นั้นว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่าเราพึงมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่ง ที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ก็มีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูลว่า เป็นสิ่งปฏิกูลอยู่ ถ้าหวังว่า เราพึงเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะ ในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ก็เป็นผู้มีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่ ฯ ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร ภิกษุแผ่ไปโดยเมตตา หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งที่ไม่น่า ปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างไร ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในสิ่งที่น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูล อยู่อย่างนี้ ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งไม่ปฏิกูล อยู่อย่างไร ภิกษุแผ่ไปโดยเมตตาหรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นธาตุ ในสิ่งทั้งไม่น่า ปรารถนาและน่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ปฏิกูลและในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลว่า เป็นสิ่งไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลและในสิ่งที่ปฏิกูล ว่าเป็นสิ่งปฏิกูล อยู่อย่างไร ภิกษุแผ่ไปโดยความไม่งาม หรือน้อมเข้าไปโดยความเป็นของไม่เที่ยง ในสิ่งทั้งที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนา ภิกษุมีความสำคัญในสิ่งที่ไม่ปฏิกูล และในสิ่งที่ปฏิกูลว่าเป็นสิ่งปฏิกูลอยู่อย่างนี้ ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูล และใน สิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ เห็นรูปด้วยจักษุแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มีสติสัมปชัญญะอยู่ ฟังเสียงด้วยหู ดมกลิ่นด้วยจมูก ลิ้มรสด้วยลิ้น ถูกต้องโผฏ- *ฐัพพะด้วยกาย รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจแล้ว ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ มีอุเบกขา มี สติสัมปชัญญะอยู่ ภิกษุเว้นสิ่งทั้งสองนั้นมีอุเบกขามีสติสัมปชัญญะในสิ่งที่ปฏิกูล และในสิ่งที่ไม่ปฏิกูลอยู่อย่างนี้ นี้ฤทธิ์ของพระอริยะ ฯ [๖๙๑] ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรมเป็นไฉน ฯ นกทุกชนิด เทวดาทั้งปวง มนุษย์บางพวก วินิปาติกเปรตบางพวก มีฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม นี้ฤทธิ์เกิดแต่ผลกรรม ฯ [๖๙๒] ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญเป็นไฉน ฯ พระเจ้าจักรพรรดิ เสด็จเหาะไปในอากาศพร้อมด้วยจตุรงคินีเสนา ตลอด จนพวกปกครองม้าเป็นที่สุด นี้เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ ฤทธิ์ของโชติยคฤหบดี ฤทธิ์ของชฎิลคฤหบดี ฤทธิ์ของเมณฑกคฤหบดี ฤทธิ์ของโฆสิตคฤหบดี ฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญมาก ๕ คน เป็นฤทธิ์ของท่านผู้มีบุญ นี้ฤทธิ์ของท่าน ผู้มีบุญ ฯ [๖๙๓] ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชาเป็นไฉน ฯ พวกวิชชาธรร่ายวิชชาแล้วย่อมเหาะไปได้ แสดงพลช้างบ้าง พลม้าบ้าง พลรถบ้าง พลราบบ้าง แสดงกองทัพตั้งประชิดกันต่างๆ บ้าง ในอากาศกลางหาว นี้ฤทธิ์สำเร็จด้วยวิชชา ฯ [๖๙๔] ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบใน ส่วนนั้นๆ อย่างไร ฯ ความละกามฉันทะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการประกอบชอบในส่วนนั้นๆ ความละพยาบาท ย่อมสำเร็จได้ด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ความละถีนมิทธะ ย่อมสำเร็จได้ด้วยอาโลกสัญญา ฯลฯ ความละกิเลสทั้งปวง ย่อมสำเร็จได้ด้วย อรหัตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการ ประกอบชอบในส่วนนั้นๆ ชื่อว่าฤทธิ์ด้วยความว่าสำเร็จ เพราะเหตุแห่งการ ประกอบชอบในส่วนนั้นๆ อย่างนี้ฤทธิ์ ๑๐ ประการเหล่านี้
จบอิทธิกถา ฯ
-----------------------------------------------------
ปัญญาวรรค อภิสมยกถา
[๖๙๕] คำว่า ความตรัสรู้ ความว่า ย่อมตรัสรู้ด้วยอะไร ย่อมตรัสรู้ ด้วยจิต ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีญาณก็ตรัสรู้ได้ซิ บุคคล ผู้ไม่มีญาณตรัสรู้ไม่ได้ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยญาณ ย่อมตรัสรู้ด้วยญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ได้ซิ บุคคลผู้ไม่มีจิตก็ตรัสรู้ไม่ได้ ย่อมตรัสรู้ ได้ด้วยจิตและญาณ ย่อมตรัสรู้ได้ด้วยจิตและญาณหรือ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ ด้วยกามาวจรจิตและญาณซิ ย่อมตรัสรู้ด้วยกามาวจรจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยรูปาวจรจิตและญาณไม่ได้ ถ้า อย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยอรูปาวจรจิตและญาณ ไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณซิ ตรัสรู้ ด้วยกัมมัสสกตาจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยสัจจานุโลมิกจิต และญาณซิ ตรัสรู้ด้วยสัจจานุโลมิกจิตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วย จิตที่เป็นอดีตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นอดีตและญาณไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นอนาคตและญาณ ไม่ได้ ถ้าอย่างนั้น ก็ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณซิ ตรัสรู้ด้วยจิต ที่เป็นปัจจุบันและญาณไม่ได้ (แต่) ตรัสรู้ได้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณ ในขณะโลกุตรมรรค ฯ [๖๙๖] ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและญาณในขณะแห่งโลกุตรมรรค อย่างไร ฯ ในขณะโลกุตรมรรค จิตเป็นใหญ่ในการให้เกิดขึ้น และเป็นเหตุ เป็นปัจจัยแห่งญาณ จิตอันสัมปยุตด้วยญาณนั้น มีนิโรธเป็นโคจร ญาณเป็นใหญ่ ในการเห็น และเป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งจิต ญาณอันสัมปยุตด้วยจิตนั้น มีนิโรธ เป็นโคจร ย่อมตรัสรู้ด้วยจิตที่เป็นปัจจุบันและด้วยญาณ ในขณะแห่งโลกุตรมรรค อย่างนี้ ฯ [๖๙๗] ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ฯ ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโลกุตรมรรค ความตรัสรู้ด้วยความเห็น เป็นสัมมาทิฐิ ความตรัสรู้ด้วยความดำริ เป็นสัมมาสังกัปปะ ความตรัสรู้ด้วยความ กำหนด เป็นสัมมาวาจา ความตรัสรู้ด้วยความเป็นสมุฏฐาน เป็นสัมมากัมมันตะ ความตรัสรู้ด้วยความขาวผ่อง เป็นสัมมาอาชีวะ ความตรัสรู้ด้วยความตั้งสติมั่น เป็นสัมมาสติ ความตรัสรู้ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสัมมาสมาธิ ความตรัสรู้ ด้วยความตั้งสติมั่น เป็นสติสัมโพชฌงค์ ฯลฯ ความตรัสรู้ด้วยการพิจารณาหาทาง เป็นอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความเป็นผู้ ไม่มีศรัทธา เป็นสัทธาพละ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความเกียจคร้าน เป็นวิริยะพละ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในความประมาท เป็นสติพละ ความตรัสรู้ด้วยความไม่หวั่นไหวไปในอุทธัจจะ เป็นสมาธิพละ ความตรัสรู้ด้วยความ ไม่หวั่นไหวไปในอวิชชา เป็นปัญญาพละ ความตรัสรู้ด้วยความน้อมใจเชื่อ เป็นสัทธินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความประคองไว้ เป็นวิริยินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วย ความตั้งสติมั่นเป็นสตินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นสมาธินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยความเห็นเป็นปัญญินทรีย์ ความตรัสรู้ด้วยอินทรีย์ด้วยความว่าเป็นใหญ่ ความตรัสรู้ด้วยพละ ด้วยความว่าไม่หวั่นไหว ความตรัสรู้ด้วยโพชฌงค์ด้วยความว่า นำออก ความตรัสรู้ด้วยมรรคด้วยความว่าเป็นเหตุ ความตรัสรู้ด้วยสติปัฏฐานด้วย ความว่าตั้งสติมั่นความตรัสรู้ ด้วยสัมมัปปธานด้วยความว่าตั้งไว้ ความตรัสรู้ด้วย อิทธิบาทด้วยความว่าให้สำเร็จ ความตรัสรู้สัจจะด้วยความว่าเป็นของแท้ ความตรัสรู้ ด้วยสมถะด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน ความตรัสรู้ด้วยวิปัสสนาด้วยความว่าพิจารณาเห็น ความตรัสรู้ด้วยสมถะและวิปัสสนาด้วยความว่ามีกิจเป็นอันเดียวกัน ความตรัสรู้ด้วย ธรรมคู่กันด้วยความว่าไม่ล่วงเกินกัน ศีลวิสุทธิด้วยความว่าสำรวม เป็นความตรัสรู้ จิตตวิสุทธิด้วยความว่าไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความตรัสรู้ ทิฐิวิสุทธิด้วยความว่าเห็น เป็นความตรัสรู้ ความตรัสรู้ด้วยอธิโมกข์ด้วยความว่าหลุดพ้น ความตรัสรู้ด้วยวิชชา ด้วยความว่าแทงตลอด วิมุติด้วยความว่าบริจาค เป็นความตรัสรู้ ญาณในความ สิ้นไปด้วยความว่าตัดขาด เป็นความตรัสรู้ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความเป็น มูลเหตุ มนสิการเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นสมุฏฐาน ผัสสะเป็นความตรัสรู้ ด้วยความว่าเป็นที่รวม เวทนาเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่ประชุม สมาธิเป็น ความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นประธาน สติเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นใหญ่ ปัญญา เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นธรรมยิ่งกว่าธรรมนั้นๆ วิมุติเป็นความตรัสรู้ด้วยความ ว่าเป็นสารธรรม นิพพานอันหยั่งลงในอมตะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด ฯ [๖๙๘] ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ฯ ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโสดาปัตติมรรค ความตรัสรู้ด้วยความเห็น เป็นสัมมาทิฐิ ฯลฯ นิพพานอันหยั่งลง ในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่า เป็นที่สุด ฯ ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะโสดาปัตติผล ความตรัสรู้ด้วยความเห็น เป็นสัมมาทิฐิ ฯลฯ ญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น เป็นความตรัสรู้ด้วย ความว่าระงับ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นมูลเหตุ ฯลฯ นิพพานอันหยั่ง ลงในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด ฯ ถามว่า ความตรัสรู้มีเท่านี้หรือ ฯ ตอบว่า ไม่ใช่มีเท่านี้ ในขณะสกทาคามิมรรค ฯลฯ ในขณะ สกทาคามิผล ในขณะอนาคามิมรรค ในขณะอนาคามิผล ในขณะอรหัตมรรค ในขณะอรหัตผล ความตรัสรู้ด้วยความเห็น เป็นสัมมาทิฐิ ความตรัสรู้ ด้วยความดำริ เป็นสัมมาสังกัปปะ ฯลฯ ญาณในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าระงับ ฉันทะเป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นมูลเหตุ ฯลฯ นิพพานอันหยั่งลงในอมตะ เป็นความตรัสรู้ด้วยความว่าเป็นที่สุด บุคคล นี้นั้นย่อมละได้ซึ่งกิเลสทั้งที่เป็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน [๖๙๙] คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีต ความว่าบุคคลย่อมละได้ ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ทำกิเลสที่สิ้นไปแล้วให้สิ้นไป ทำกิเลสที่ดับไปแล้วให้ดับไป ทำกิเลสที่ปราศไปแล้วให้ปราศไป ทำกิเลสที่หมด แล้วให้หมดไป ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอดีตอันไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้น ละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่ คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นอนาคต ความว่า บุคคลย่อมละได้ซึ่งกิเลส ที่เป็นอนาคตหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลนั้นก็ละกิเลสที่ยังไม่เกิด ละกิเลสที่ยัง ไม่บังเกิด ละกิเลสที่ไม่เกิดขึ้นแล้ว ละกิเลสที่ยังไม่ปรากฏ ละได้ซึ่งกิเลส ที่เป็นอนาคตอันไม่มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคลนั้นละกิเลสที่เป็นอนาคตหาได้ไม่ คำว่า ย่อมละได้ซึ่งกิเลสที่เป็นปัจจุบัน ความว่า บุคคลย่อมละได้ ซึ่งกิเลสที่เป็นปัจจุบันหรือ ถ้าอย่างนั้น บุคคลผู้กำหนัดก็ละราคะได้ ผู้ขัดเคือง ก็ละโทสะได้ ผู้หลงก็ละโมหะได้ ผู้มีมานะผูกพันก็ละมานะได้ ผู้ถือผิดก็ละทิฐิได้ ผู้ถึงความฟุ้งซ่านก็ละอุทธัจจะได้ ผู้ลังเลไม่แน่ใจก็ละวิจิกิจฉาได้ ผู้มีกิเลส เรี่ยวแรงก็ละอนุสัยได้ ธรรมฝ่ายดำและธรรมฝ่ายขาวซึ่งเป็นคู่กันกำลังเป็นไป มรรคภาวนาอันมีความหม่นหมองด้วยกิเลสนั้น ก็มีอยู่ เพราะเหตุนั้น บุคคล ละกิเลสที่เป็นอดีต กิเลสที่เป็นอนาคต กิเลสที่เป็นปัจจุบัน หาได้ไม่ ฯ [๗๐๐] บุคคลย่อมละกิเลสที่เป็นอดีตหาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นอนาคต หาได้ไม่ ละกิเลสที่เป็นปัจจุบันหาได้ไม่ หรือ ถ้าอย่างนั้น มรรคภาวนาก็ไม่มี การทำให้แจ้งซึ่งผลก็ไม่มี การละกิเลสก็ไม่มี ธรรมาภิสมัยก็ไม่มี ฯ หามิได้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมีอยู่ ธรรมาภิสมัยมีอยู่ เหมือนอะไร เหมือนต้นไม้กำลังรุ่น ยังไม่เกิดผล บุรุษพึงตัด ต้นไม้นั้นที่ราก ผลที่ยังไม่เกิดแห่งต้นไม้นั้นก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่ บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้น แล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย ฉันใด ความเกิดขึ้น เป็นเหตุเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษในความเกิดขึ้นแล้ว จึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น เพราะ ความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไปในนิพพานอันไม่มีความเกิดขึ้น กิเลสเหล่าใด พึงบังเกิด เพราะความเกิดขึ้นเป็นปัจจัย กิเลสเหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ไม่เกิดขึ้นแล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ ปรากฏเลย ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับ ด้วยประการฉะนี้ เพราะเหตุแห่งความเป็นไป เพราะเหตุแห่งสังขารเป็นนิมิต เพราะเหตุแห่งกรรม กรรมเป็นปัจจัยแห่งความบังเกิดแห่งกิเลสทั้งหลาย จิตเห็นโทษในกรรมแล้ว จึงแล่นไปในนิพพานอันไม่มีกรรม เพราะความที่จิตเป็นธรรมชาติแล่นไป ในนิพพานอันไม่มีกรรม กิเลสเหล่าใดพึงบังเกิดเพราะกรรมเป็นปัจจัย กิเลส เหล่านั้นที่ยังไม่เกิดก็ไม่เกิดเลย ที่ยังไม่บังเกิดก็ไม่บังเกิดเลย ที่ยังไม่เกิดขึ้น แล้วก็ไม่เกิดขึ้นเลย ที่ยังไม่ปรากฏก็ไม่ปรากฏเลย เพราะเหตุดับ ทุกข์ก็ดับ ด้วยประการฉะนี้ มรรคภาวนามีอยู่ การทำให้แจ้งซึ่งผลมีอยู่ การละกิเลสมีอยู่ ธรรมาภิสมัยมีอยู่ ด้วยประการฉะนี้แล ฯ
จบอภิสมยกถา ฯ
-----------------------------------------------------
ปัญญาวรรค วิเวกกถา
สาวัตถีนิทาน
[๗๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลังอย่างใดอย่างหนึ่ง การงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้ การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการอย่างนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ ทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯ [๗๐๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ได้อย่างไร ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมเจริญสัมมาทิฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ ย่อมเจริญสัมมาสังกัปปะ ... ย่อมเจริญสัมมาสมาธิ อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปใน ความสละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ ทำให้มาก ซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ อย่างนี้แล ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและ ภูตคามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ พืชคามและภูตคามเหล่านี้ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วย ประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญ งอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯ [๗๐๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างไร ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัมมาทิฐิอันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ ... เจริญสัมมาสมาธิอันอาศัย วิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ สัมมาทิฐิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาสมาธิ มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ ฯ [๗๐๔] สัมมาทิฐิมีวิเวก ๕ เป็นไฉน ฯ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ วิเวก ในการละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิมีส่วนในการทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิ วิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฐิมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิเวก ๕ นี้ ฯ [๗๐๕] สัมมาทิฐิมีวิราคะ ๕ เป็นไฉน ฯ วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะ ตทังควิราคะ สมุจเฉทวิราคะ ปฏิปัสสัทธิวิราคะ นิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญ ปฐมฌาน ๑ ... นิสสรณวิราคะเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฐิมีวิราคะ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิราคะ ๕ นี้ ฯ [๗๐๖] สัมมาทิฐิมีนิโรธ ๕ เป็นไฉน ฯ นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ ปฏิปัสสัทธินิโรธ นิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญ ปฐมฌาน ๑ ... นิสสรณนิโรธเป็นที่ดับ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฐิมีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในนิโรธ ๕ นี้ ฯ [๗๐๗] สัมมาทิฐิมีความสละ ๕ เป็นไฉน ฯ ความสละ ๕ คือ วิกขัมภนโวสสัคคะ ตทังคโวสสัคคะ สมุจเฉทโวสสัคคะ ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะ นิสสรณโวสสัคคะ ความสละในการข่มนิวรณ์ของภิกษุ ผู้เจริญปฐมฌาน ๑ ... นิสสรณโวสสัคคะ เป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาทิฐิมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในความสละ ๕ นี้ ฯ สัมมาทิฐิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ ฯ [๗๐๘] สัมมาสังกัปปะ ฯลฯ สัมมาวาจา ฯลฯ สัมมากัมมันตะ ฯลฯ สัมมาอาชีวะ ฯลฯ สัมมาวายามะ ฯลฯ สัมมาสติ ฯลฯ สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ เป็นไฉน ฯ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ วิเวกใน การละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิ วิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดี ในวิเวก ๕ นี้ ฯ [๗๐๙] สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ เป็นไฉน ฯ วิราคะ ๕ คือ วิกขัมภนวิราคะ ตทังควิราคะ สมุจเฉทวิราคะ ปฏิปัสสัทธิ วิราคะ นิสสรณวิราคะ วิราคะในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ ... นิสสรณวิราคะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีวิราคะ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีใน วิราคะ ๕ นี้ ฯ [๗๑๐] สัมมาสมาธิมีนิโรธ ๕ เป็นไฉน ฯ นิโรธ ๕ คือ วิกขัมภนนิโรธ ตทังคนิโรธ สมุจเฉทนิโรธ ปฏิปัสสัทธินิโรธ นิสสรณนิโรธ นิโรธในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ ... ปฏิปัสสัทธินิโรธในขณะผล ๑ นิสสรณนิโรธเป็นอมตธาตุ ๑ สัมมา สมาธิมีนิโรธ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะน้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิต ตั้งมั่นอยู่ด้วยดีในนิโรธ ๕ นี้ ฯ [๗๑๑] สัมมาสมาธิมีความสละ ๕ เป็นไฉน ฯ ความสละ ๕ คือ วิกขัมภนโวสสัคคะ ตทังคโวสสัคคะ สมุจเฉทโวสสัคคะ ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะ นิสสรณโวสสัคคะ ความสละในการข่มนิวรณ์ ของภิกษุ ผู้เจริญปฐมฌาน ๑ ความสละในการละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิ อันมีส่วนทำลายกิเลส ๑ สมุจเฉทโวสสัคคะ ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิโวสสัคคะในขณะผล ๑ นิสสรณโวสสัคคะเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัมมาสมาธิมีความสละ ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในความสละ ๕ นี้ ฯ สัมมาสมาธิมีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ ฯ [๗๑๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย การงานที่ต้องทำด้วยกำลัง อย่างใดอย่างหนึ่ง การงานทั้งหมดนั้น บุคคลต้องอาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน จึงทำกันได้ การงานที่ต้องทำด้วยกำลังนี้ บุคคลย่อมทำได้ด้วยประการฉะนี้ แม้ฉันใด ดูกร ภิกษุทั้งหลาย ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว ย่อมเจริญ ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ฯลฯ ภิกษุเจริญ ทำให้มากซึ่งโพชฌงค์ ๗ อยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มาก ซึ่งพละ ๕ ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งพละ ๕ อยู่ ย่อมถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย ฯลฯ ภิกษุเจริญทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย พืชคามและภูตคามเหล่าใดเหล่าหนึ่ง พืชคามและภูต คามทั้งหมดนั้น อาศัยแผ่นดิน ตั้งอยู่บนแผ่นดิน ย่อมถึงความเจริญงอกงาม ไพบูลย์ พืชคามและภูตคามเหล่านั้นย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ด้วยประการ ฉะนี้ แม้ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกันแล อาศัยศีล ตั้งอยู่ใน ศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากอยู่ซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ ในธรรมทั้งหลาย ฯ [๗๑๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุอาศัยศีล ตั้งอยู่ในศีลแล้ว เจริญ ทำให้มากซึ่งอินทรีย์ ๕ ย่อมถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในธรรมทั้งหลาย อย่างไร ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เจริญสัทธินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ เจริญวิริยินทรีย์ ฯลฯ เจริญสตินทรีย์ เจริญสมาธินทรีย์ เจริญปัญญินทรีย์อันอาศัยวิเวก อาศัยวิราคะ อาศัยนิโรธ น้อมไปในความสละ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความ สละ ๕ มีนิสัย ๑๒ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ ฯ [๗๑๔] สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ เป็นไฉน ฯ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ วิเวก นิสสรณวิเวก วิเวกในการข่มนิวรณ์ของภิกษุผู้เจริญปฐมฌาน ๑ วิเวกในการละทิฐิด้วยองค์นั้นๆ ของภิกษุผู้เจริญสมาธิอันมีส่วนในการทำลาย กิเลส ๑ สมุจเฉทวิเวก ของภิกษุผู้เจริญโลกุตรมรรคอันให้ถึงความสิ้นไป ๑ ปฏิปัสสัทธิวิเวกในขณะผล ๑ นิสสรณวิเวกเป็นนิโรธ คือ นิพพาน ๑ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ เหล่านี้ ภิกษุเป็นผู้เกิดฉันทะ น้อมใจไปด้วยศรัทธา และมีจิตตั้งมั่นด้วยดีในวิเวก ๕ นี้ ฯลฯ สัทธินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ วิริยินทรีย์ ฯลฯ สตินทรีย์ ฯลฯ สมาธินทรีย์ ฯลฯ ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ เป็นไฉน ฯ วิเวก ๕ คือ วิกขัมภนวิเวก ตทังควิเวก สมุจเฉทวิเวก ปฏิปัสสัทธิ วิเวก นิสสรณวิเวก ฯลฯ ปัญญินทรีย์มีวิเวก ๕ มีวิราคะ ๕ มีนิโรธ ๕ มีความสละ ๕ มีนิสัย ๑๒ เหล่านี้ ฉะนี้แล ฯ
จบวิเวกกถา ฯ
-----------------------------------------------------
ปัญญาวรรค จริยากถา
[๗๑๕] จริยา ในคำว่า จริยา นี้ มี ๘ คือ อิริยาปถจริยา ๑ อายตนจริยา ๑ สติจริยา ๑ สมาธิจริยา ๑ ญาณจริยา ๑ มรรคจริยา ๑ ปัตติจริยา ๑ โลกัตถจริยา ๑ ฯ ความประพฤติในอิริยาบถ ๔ ชื่อว่าอิริยาปถจริยา ความประพฤติใน อายตนะภายในและภายนอก ๖ ชื่อว่าอายตนจริยา ความประพฤติในสติปัฏฐาน ๔ ชื่อว่าสติจริยา ความประพฤติในฌาน ๔ ชื่อว่าสมาธิจริยา ความประพฤติใน อริยสัจ ๔ ชื่อว่าญาณจริยา ความประพฤติในอริยมรรค ๔ ชื่อว่ามรรคจริยา ความประพฤติในสามัญผล ๔ ชื่อว่าปัตติจริยา ความประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะ ในพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ความประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะใน พระปัจเจกพุทธเจ้า ความประพฤติอันเป็นส่วนเฉพาะในพระสาวก ชื่อว่า โลกัตถจริยา อิริยาปถจริยาของบุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยความปรารถนา อายตนจริยา ของท่านผู้คุ้มครองทวาร ในอินทรีย์ทั้งหลาย สติจริยาของท่านผู้มีปรกติอยู่ด้วย ความไม่ประมาท สมาธิจริยาของท่านผู้ขวนขวายในอธิจิต ญาณจริยาของท่านผู้ถึง พร้อมด้วยปัญญา มรรคจริยาของท่านผู้ปฏิบัติชอบปัตติจริยา ของท่านผู้บรรลุผลแล้ว และโลกัตถจริยา เป็นส่วนเฉพาะของพระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นส่วน เฉพาะของพระปัจเจกพุทธเจ้า และเป็นส่วนเฉพาะของพระสาวก จริยา ๘ เหล่านี้ ฯ [๗๑๖] จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ บุคคลผู้น้อมใจเชื่อย่อมประพฤติ ด้วยศรัทธา ผู้ประคองไว้ ย่อมประพฤติด้วยความเพียร ผู้ตั้งสติมั่น ย่อมประพฤติ ด้วยสติ ผู้ทำความไม่ฟุ้งซ่าน ย่อมประพฤติด้วยสมาธิ ผู้รู้ชัด ย่อมประพฤติ ด้วยปัญญา ผู้รู้แจ้ง ย่อมประพฤติด้วยวิญญาณ ผู้มนสิการว่า ท่านผู้ปฏิบัติ อย่างนี้ ย่อมบรรลุคุณพิเศษได้ ก็ประพฤติด้วยวิเศษจริยา ผู้มนสิการว่ากุศล ธรรมของท่านผู้ปฏิบัติอย่างนี้ ย่อมให้ต่อเนื่องกันไป ก็ประพฤติด้วยอายตนจริยา จริยา ๘ เหล่านี้ ฯ [๗๑๗] จริยา ๘ อีกประการหนึ่ง คือ การประพฤติด้วยทัสนะแห่ง สัมมาทิฐิ ๑ การประพฤติด้วยความดำริแห่งสัมมาสังกัปปะ ๑ การประพฤติด้วย ความกำหนดแห่งสัมมาวาจา ๑ การประพฤติด้วยสมุฏฐานแห่งสัมมากัมมันตะ ๑ การประพฤติด้วยความขาวผ่องแห่งสัมมาอาชีวะ ๑ การประพฤติด้วยความประคอง ไว้แห่งสัมมาวายามะ ๑ การประพฤติด้วยความตั้งสติมั่นแห่งสัมมาสติ ๑ การประพฤติด้วยความไม่ฟุ้งซ่านแห่งสัมมาสมาธิ ๑ จริยา ๘ เหล่านี้ ฉะนี้แล ฯ
จบจริยากถา
-----------------------------------------------------
ปัญญาวรรค ปาฏิหาริยกถา
[๗๑๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการนี้ ๓ ประการ เป็นไฉน คือ อิทธิปาฏิหาริย์ ๑ อาเทศนาปฏิหาริย์ ๑ อนุศาสนี ปาฏิหาริย์ ๑ ฯ [๗๑๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อิทธิปาฏิหาริย์เป็นไฉน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมแสดงฤทธิ์ ได้หลายอย่าง คือ คนเดียวเป็นหลายคนก็ได้ หลายคนเป็นคนคนเดียวก็ได้ ทำให้ปรากฏก็ได้ ทำให้หายไปก็ได้ ฯลฯ ใช้อำนาจทางกายไปตลอดพรหมโลก ก็ได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ฯ [๗๒๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อาเทศนาปาฏิหาริย์เป็นไฉน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมทายใจได้ตามเหตุ ที่กำหนดว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นประการนี้ จิตของท่าน เป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจ ตามเหตุที่กำหนดเลย แต่เมื่อได้ฟังเสียงของมนุษย์ก็ดี ของอมนุษย์ก็ดี หรือ ของเทวดาก็ดี ก็ทายใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นประการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คง เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย และหาได้ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์ หรือ ของเทวดาแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้กำลังตรึกตรองอยู่ ก็ทาย ใจได้ว่า ใจของท่านเป็นอย่างนี้ ใจของท่านเป็นประการนี้ จิตของท่านเป็นดังนี้ ถึงแม้ภิกษุนั้นจะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุทั้งหลาย ส่วนภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ไม่ทายใจตามเหตุที่กำหนดเลย หาได้ฟังเสียงของมนุษย์ ของอมนุษย์ หรือของเทวดาแล้วทายใจไม่ และหา ได้ฟังเสียงตรึกตรองของผู้กำลังตรึกตรองแล้วทายใจไม่ แต่เมื่อกำหนดใจของ ผู้เข้าสมาธิอันไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร ด้วยใจของตนแล้วก็รู้ได้ว่า ท่านผู้นี้ตั้งมโน สังขารไว้อย่างใด ก็จักตรึกถึงวิตกชื่อโน้นในระหว่างจิตนี้อย่างนั้น ถึงแม้ภิกษุนั้น จะทายใจเป็นอันมาก การทายใจนั้นก็คงเป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย นี้เรียกว่าอาเทศนาปาฏิหาริย์ ฯ [๗๒๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็อนุศาสนีปาฏิหาริย์เป็นไฉน ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพร่ำสอนอย่างนี้ว่า จงตรึกอย่างนี้ อย่าตรึกอย่างนั้น จงมนสิการอย่างนี้ อย่ามนสิการอย่างนั้น จง ละธรรมนี้ จงเข้าถึงธรรมนี้อยู่เถิด ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เรียกว่าอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปาฏิหาริย์ ๓ ประการนี้แล ฯ [๗๒๒] เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ เนกขัมมะย่อม กำจัดกามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วย เนกขัมมะนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะ ฉะนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และเนกขัมมะนั้น ท่านทั้งหลายพึง เสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็นธรรมสมควร แก่เนกขัมมะนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น เนกขัมมะจึงเป็นอนุศาสนี- *ปาฏิหาริย์ ฯ ความไม่พยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ความไม่พยาบาท ย่อมกำจัดพยาบาทได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยความ ไม่พยาบาทนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น ความไม่พยาบาทจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และความไม่พยาบาทนั้น ท่านทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอัน เป็นธรรมสมควรแก่ความไม่พยาบาทนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ความไม่ พยาบาทจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ฯ อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ อาโลกสัญญาย่อม กำจัดถีนมิทธะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอาโลก- *สัญญานั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะ ฉะนั้น อาโลกสัญญาจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอาโลกสัญญานั้น ท่าน ทั้งหลายพึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็น ธรรมสมควรแก่อาโลกสัญญานั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อาโลกสัญญาจึง เป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ฯ ความไม่ฟุ้งซ่านย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ความไม่ฟุ้งซ่านย่อม กำจัดอุทธัจจะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยความไม่ ฟุ้งซ่านนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะ ฉะนั้น ความไม่ฟุ้งซ่าน จึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และความไม่ฟุ้งซ่านนั้น ท่านทั้งหลาย พึงเสพอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติ อันเป็นธรรมสมควรแก่ความไม่ฟุ้งซ่านนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น ความไม่ ฟุ้งซ่านจึงเป็นอนุศาสนีปาฏิหาริย์ ฯลฯ ฯ อรหัตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ อรหัตมรรคย่อมกำจัด กิเลสได้หมด เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอรหัตมรรค นั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น อรหัตมรรคจึงเป็นอาเทศนาปาฏิหาริย์ และอรหัตมรรคนั้น ท่านทั้งหลายพึงเสพ อย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติอันเป็นธรรมสมควรแก่ อรหัตมรรคนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อรหัตมรรคจึงเป็นอนุศาสนี ปาฏิหาริย์ ฯ เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดกามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้ ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ความไม่พยาบาทย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดพยาบาทได้ เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้ ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ อาโลกสัญญาย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดถีนมิทธะได้ เพราะ ฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ อรหัตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น เป็นอิทธิ ย่อมกำจัดกิเลสได้หมด เพราะฉะนั้น เป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้ ท่านเรียกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ ฉะนี้แล ฯ
จบปาฏิหาริยกถา ฯ
-----------------------------------------------------
ปัญญาวรรค สมสีสกถา
[๗๒๓] ปัญญา ในความไม่ปรากฏแห่งธรรม ทั้งปวงในสัมมา สมุจเฉท และในนิโรธ เป็นญาณในความว่าสมธรรมและสีสธรรม ฯ คำว่า ธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม โลกุตรธรรม ฯ คำว่า สัมมาสมุจเฉท ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องตัดกามฉันทะได้ ขาดดี อัพยาบาทเป็นเครื่องตัดพยาบาทได้ขาดดี อาโลกสัญญาเป็นเครื่องตัด ถีนมิทธะได้ขาดดี อวิกเขปะเป็นเครื่องตัดอุทธัจจะได้ขาดดี ธรรมววัตถานเป็น เครื่องตัดวิจิกิจฉาได้ขาดดี ญาณเป็นเครื่องตัดอวิชชาได้ขาดดี ความปราโมทย์ เป็นเครื่องตัดอรติได้ขาดดี ปฐมฌานเป็นเครื่องตัดนิวรณ์ได้ขาดดี ฯลฯ อรหัต- *มรรคเป็นเครื่องตัดกิเลสทั้งปวงได้ขาดดี ฯ [๗๒๔] คำว่า นิโรธ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องดับกามฉันทะ อัพยาบาทเป็นเครื่องดับพยาบาท ... ความปราโมทย์เป็นเครื่องดับอรติ ปฐมฌาน เป็นเครื่องดับนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องดับกิเลสทั้งปวง ฯ คำว่า ความไม่ปรากฏ ความว่า เมื่อพระโยคาวจรได้เนกขัมมะ กาม- *ฉันทะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อัพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อาโลก สัญญา ถีนมิทธะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ธรรมววัตถาน วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ฌาน อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ความปราโมทย์ อรติย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ เมื่อได้อรหัตมรรค กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ ฯ [๗๒๕] คำว่า สมธรรม (ธรรมสงบ) ความว่า เพราะท่านละกามฉันทะ ได้แล้ว เนกขัมมะจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละพยาบาทได้แล้ว อัพยาบาทจึง เป็นสมธรรม เพราะท่านละถีนมิทธะได้แล้ว อาโลกสัญญาจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละอุทธัจจะได้แล้ว อวิกเขปะจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละวิจิกิจฉาได้ แล้ว ธรรมววัตถานจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละอวิชชาได้แล้ว ฌานจึงเป็น สมธรรม เพราะท่านละอรติได้แล้ว ความปราโมทย์จึงเป็นสมธรรม เพราะท่าน ละนิวรณ์ได้แล้ว ปฐมฌานจึงเป็นสมธรรม ฯลฯ เพราะท่านละกิเลสทั้งปวงได้ แล้ว อรหัตมรรคจึงเป็นสมธรรม ฯ สีสธรรม ในคำว่า สีสํ มี ๑๓ คือ ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน ๑ มานะมีความพัวพันเป็นประธาน ๑ ทิฐิมีความถือผิดเป็นประธาน ๑ อุทธัจจะมี ความฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑ อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน ๑ ศรัทธามีความน้อมใจ เชื่อเป็นประธาน ๑ วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน ๑ สติมีความตั้งมั่นเป็น ประธาน ๑ สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑ ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน ๑ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน ๑ วิโมกข์มีโคจรเป็นประธาน ๑ นิโรธมีสังขารเป็นประธาน ๑ ฯ
จบสมสีสกถา ฯ
-----------------------------------------------------
ปัญญาวรรค สติปัฏฐานกถา
สาวัตถีนิทานบริบูรณ์
[๗๒๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้ ๔ ประการเป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้มีปรกติพิจารณาเห็นกายในกาย มี ความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เป็นผู้ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ฯลฯ เป็นผู้พิจารณาเห็นจิตในจิต เป็นผู้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ ประการนี้แล ฯ [๗๒๗] ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไร ฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกองธาตุดิน โดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็น ทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่ พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดย ความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญา ได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัด ได้ เมื่อดับ ย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืนย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณา เห็นกายโดยอาการ ๗ นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงเรียกการ พิจารณาเห็นกายในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่าธรรมทั้งหลาย ที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียว กัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไปซึ่งความเพียร อันสมควรแก่ความที่ธรรม ทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์มีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น ๑ ด้วยความว่าเป็น ธรรมที่เสพ ๑ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกองอาโปธาตุ กองเตโช- *ธาตุ กองวาโยธาตุ กองผม กองขน กองผิว กองหนัง กองเนื้อ กองเอ็น กองกระดูก กองเยื่อในกระดูก โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดย ความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความ เป็นสุข พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละ นิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อ พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมละ ความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับย่อมละสมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความยึดถือได้ ภิกษุพิจารณาเห็นกายด้วยอาการ ๗ นี้ กายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็น กายนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นกาย ในกายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่ เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างนี้ ฯ [๗๒๘] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นสุขเวทนาโดยความเป็นของ ไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อ สละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ นี้ เวทนาปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณา เห็นเวทนานั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่ เสพ ฯลฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นทุกขเวทนา ฯลฯ อทุกขม- *สุขเวทนา จักขุสัมผัสสชาเวทนา โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนาด้วยอาการ ๗ นี้ เวทนา ปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นเวทนา นั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นเวทนา ในเวทนาทั้งหลายว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่า เป็นธรรมที่ เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฯ [๗๒๙] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างไร ฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตมีราคะ โดยความเป็น ของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือ มั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิต นั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิต ว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความเป็นธรรมที่เสพ ฯลฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นจิตอันปราศจากราคะ จิตมีโทสะ จิตปราศจากโทสะ จิตมีโมหะ จิตปราศจากโมหะ จิตหดหู่ จิตฟุ้งซ่าน จิตเป็น มหรคต จิตไม่เป็นมหรคต จิตมีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตไม่มีจิตอื่นยิ่งกว่า จิตตั้งมั่น จิตไม่ตั้งมั่น จิตหลุดพ้น จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหา- *วิญญาณ กายวิญญาณ มโนวิญญาณ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณา เห็นโดยความเป็นของเที่ยง ฯลฯ ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละนิจจสัญญาได้ ฯลฯ เมื่อสละคืน ย่อมละ ความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตด้วยอาการ ๗ นี้ จิตปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นจิตนั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะเหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นจิตในจิตว่า สติปัฏฐานภาวนา ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ ฯลฯ ภาวนาด้วยความว่าเป็นธรรม ที่เสพ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่อย่างนี้ ฯ [๗๓๐] ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่อย่างไร ฯ ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ เว้นกาย เวทนา จิตเสียแล้ว ย่อมพิจารณา เห็นธรรมทั้งหลายที่เหลือจากนั้น โดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณาเห็นโดย ความเป็นของเที่ยง พิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็น สุข ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ไม่พิจารณาเห็นโดยความเป็นอัตตา ย่อมเบื่อหน่าย ไม่ยินดี ย่อมคลายกำหนัด ไม่กำหนัด ย่อมดับ ไม่ให้เกิด ย่อมสละคืน ไม่ถือมั่น เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมละ นิจจสัญญาได้ เมื่อพิจารณาเห็นโดยความเป็นทุกข์ ย่อมละสุขสัญญาได้ เมื่อ พิจารณาเห็นโดยความเป็นอนัตตา ย่อมละอัตตสัญญาได้ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อม ละความยินดีได้ เมื่อคลายกำหนัด ย่อมละความกำหนัดได้ เมื่อดับ ย่อมละ สมุทัยได้ เมื่อสละคืน ย่อมละความถือมั่นได้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรม ทั้งหลายด้วยอาการ ๗ นี้ ธรรมทั้งหลายปรากฏ ไม่ใช่สติ สติปรากฏด้วย เป็นตัวสติด้วย ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมเหล่านั้นด้วยสติและญาณนั้น เพราะ เหตุดังนี้นั้น ท่านจึงเรียกการพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายว่า สติปัฏฐาน- *ภาวนา ฯ ภาวนา ในคำว่า ภาวนา มี ๔ คือ ภาวนา ด้วยความว่า ธรรมทั้งหลายที่เกิดในภาวนานั้นไม่ล่วงเกินกัน ๑ ด้วยความว่าอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจ เป็นอันเดียวกัน ๑ ด้วยความว่าเป็นเครื่องนำไป ซึ่งความเพียรอันสมควรแก่ ความที่ธรรมทั้งหลายไม่ล่วงเกินกัน และอินทรีย์ทั้งหลายมีกิจเป็นอันเดียวกันนั้น ๑ ด้วยความว่าเป็นธรรมที่เสพ ๑ ฯลฯ ภิกษุมีปรกติพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ทั้งหลายอยู่อย่างนี้ ฉะนี้แล ฯ
จบสติปัฏฐานกถา ฯ
-----------------------------------------------------
ปัญญาวรรค วิปัสสนากถา
สาวัตถีนิทานบริบูรณ์
[๗๓๑] ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขาร ไรๆ โดยความเป็นของเที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่ เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตติยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดา- *ปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นของไม่ เที่ยงอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบ ด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่ สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ [๗๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารไรๆ โดยความเป็นสุข จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่ จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นสังขารทั้งปวงโดยความเป็นทุกข์อยู่ จักเป็นผู้ประกอบ ด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่ สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่ง โสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่ มีได้ ฯ [๗๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไรๆ โดยความเป็นอัตตาอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่ จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นธรรมไรๆ โดยความเป็นอนัตตาอยู่ จักเป็น ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำ ให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็น ฐานะที่มีได้ ฯ [๗๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดย ความเป็นทุกข์อยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ผู้ไม่ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมี ได้ เมื่อไม่ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้ไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุ นั้นหนอ พิจารณาเห็นนิพพานโดยความเป็นสุขอยู่ จักเป็นผู้ประกอบด้วยอนุโลม ขันติ ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ประกอบด้วยอนุโลมขันติ จักย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม จักทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล สกทาคามิผล อนาคามิผล หรืออรหัตผล ข้อนี้เป็นฐานะที่มีได้ ฯ [๗๓๕] ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการเท่าไร ย่างลงสู่สัมมัตต นิยามด้วยอาการเท่าไร ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ ย่างลงสู่สัมมัตต นิยามด้วยอาการ ๔๐ ฯ ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ด้วยอาการ ๔๐ เป็นไฉน ฯ ภิกษุพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ๑ เป็นทุกข์ ๑ เป็นโรค ๑ เป็นดังหัวฝี ๑ เป็นดังลูกศร ๑ เป็นความลำบาก ๑ เป็นอาพาธ ๑ เป็นอย่างอื่น ๑ เป็นของชำรุด ๑ เป็นเสนียด ๑ เป็นอุบาทว์ ๑ เป็นภัย ๑ เป็นอุปสรรค ๑ เป็นความหวั่นไหว ๑ เป็นของผุพัง ๑ เป็นของไม่ยั่งยืน ๑ เป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ๑ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ๑ เป็นของไม่เป็น ที่พึ่ง ๑ เป็นของว่าง ๑ เป็นของเปล่า ๑ เป็นของสูญ ๑ เป็นอนัตตา ๑ เป็น โทษ ๑ เป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ๑ เป็นของหาสาระมิได้ ๑ เป็น มูลแห่งความลำบาก ๑ เป็นดังเพชฌฆาต ๑ เป็นความเสื่อมไป ๑ เป็นของ มีอาสวะ ๑ เป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ๑ เป็นเหยื่อแห่งมาร ๑ เป็นของมีความ เกิดเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความป่วยไข้ เป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าโศกเป็น ธรรมดา ๑ เป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ๑ เป็นของมีความคับแค้นใจเป็น ธรรมดา ๑ เป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา ๑ เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นของไม่เที่ยง ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับ แห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเที่ยง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็น เบญจขันธ์โดยความเป็นทุกข์ ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นสุข ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณา เห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นโรค ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีฝี ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นดังลูกศร ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีลูกศร ... เมื่อพิจารณา เห็นเบญจขันธ์โดยความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานไม่มีความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอาพาธ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานไม่มีอาพาธ ... เมื่อ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอื่น ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีสิ่งอื่นเป็นปัจจัย ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย ความเป็นของชำรุด ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ มีความชำรุดเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นเสนียด ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีเสนียด ... เมื่อ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุบาทว์ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่ง เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุบาทว์ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น ภัย ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานอันไม่มีภัย ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นอุปสรรค ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอุปสรรค ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดย ความเป็นของหวั่นไหว ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานไม่มีความหวั่นไหว ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของ ผุพัง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความ ผุพัง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่ยั่งยืน ... เมื่อพิจารณา เห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความยั่งยืน ... เมื่อพิจารณาเห็น เบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับ แห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่ต้านทาน ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความ เป็นของไม่มีอะไรป้องกัน ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานเป็นที่ป้องกัน ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่มี ที่พึ่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานเป็นที่พึ่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของว่าง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ว่าง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความ เป็นของเปล่า ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่ เปล่า ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของสูญ ... เมื่อพิจารณาเห็น ว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานสูญอย่างยิ่ง ... เมื่อพิจารณาเห็น เบญจขันธ์โดยความเป็นอนัตตา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์ เป็นนิพพานเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็น โทษ ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีโทษ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของแปรปรวนเป็นธรรมดา ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีความไม่แปรปรวนเป็น ธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของหาสาระมิได้ ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานมีสาระ ... เมื่อพิจารณาเห็น เบญจขันธ์โดยความเป็นมูลแห่งความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับ แห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีมูลแห่งความลำบาก ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นดังเพชฌฆาต ... เมื่อพิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานไม่เป็นดังเพชฌฆาต ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของ เสื่อมไป ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความ เสื่อมไป ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีอาสวะ ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีอาสวะ ... เมื่อพิจารณา เห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของอันปัจจัยปรุงแต่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความ ดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์ โดยความเป็นเหยื่อแห่งมาร ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็น นิพพานไม่เป็นเหยื่อแห่งมาร ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมี ความเกิดเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพาน ไม่มีความเกิด ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความแก่เป็น ธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความ แก่ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความป่วยไข้ ... เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความตายเป็นธรรมดา ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความตาย ... เมื่อ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้าโศกเป็นธรรมดา ... เมื่อ พิจารณาเห็นว่าความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าโศก ... เมื่อ พิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา ... เมื่อพิจารณา เห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความร่ำไร ... เมื่อพิจารณาเห็น เบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความคับแค้นเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่งเบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความคับแค้น ย่อม ย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม เมื่อพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของมีความเศร้า หมองเป็นธรรมดา ย่อมได้อนุโลมขันติ เมื่อพิจารณาเห็นว่า ความดับแห่ง เบญจขันธ์เป็นนิพพานไม่มีความเศร้าหมอง ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ฯ [๗๓๖] การพิจารณาเห็นเบญจขันธ์โดยความเป็นของไม่เที่ยง เป็น อนิจจานุปัสนา โดยความเป็นทุกข์ เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นโรค เป็น ทุกขานุปัสนา โดยความเป็นดังหัวฝี เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นดังลูกศร เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นความลำบาก เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็น อาพาธ เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นอย่างอื่น เป็นทุกขานุปัสนา โดยความ เป็นของชำรุด เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นเสนียด เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นอุบาทว์ เป็นทุกขาปัสนา โดยความเป็นภัย เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นอุปสรรค เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของหวั่นไหว เป็น อนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของผุพัง เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของไม่ ยั่งยืน เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของไม่มีอะไรต้านทาน เป็นทุกขานุ- *ปัสนา โดยความเป็นของไม่มีอะไรป้องกัน เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็น ของไม่มีที่พึ่ง เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของว่าง เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของเปล่า เป็นอนัตตานุปัสนา โดยความเป็นของสูญ เป็นอนัตตา- *นุปัสนา โดยความเป็นอนัตตา เป็นอนัตตานุปัสนา โดยความเป็นโทษ เป็น ทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความแปรปรวนเป็นธรรมดา เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของหาสาระมิได้ เป็นอนัตตานุปัสนา โดยความเป็นมูลแห่งความ ลำบาก เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นดังเพชฌฆาต เป็นทุกขานุปัสนา โดย เป็นความเสื่อมไป เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของมีอาสวะ เป็นทุกขานุ- *ปัสนา โดยเป็นของมีปัจจัยปรุงแต่ง เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นเหยื่อ แห่งมาร เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความเกิดเป็นธรรมดา เป็น ทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความแก่เป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความป่วยไข้เป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็น ของมีความตายเป็นธรรมดา เป็นอนิจจานุปัสนา โดยความเป็นของมีความ เศร้าโศกเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความร่ำไรเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความคับแค้นเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา โดยความเป็นของมีความเศร้าหมองเป็นธรรมดา เป็นทุกขานุปัสนา ฯ ภิกษุย่อมได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ นี้ ย่อมย่างลงสู่สัมมัตตนิยาม ด้วยอาการ ๔๐ นี้ ฯ ภิกษุผู้ได้อนุโลมขันติด้วยอาการ ๔๐ นี้ ผู้ย่างลงสู่สัมมัตตนิยามด้วย อาการ ๔๐ นี้ มีอนิจจานุปัสนาเท่าไร มีทุกขานุปัสนาเท่าไร มีอนัตตานุปัสนา เท่าไร ฯ ท่านกล่าวว่า มีอนิจจานุปัสนา ๕๐ มีทุกขานุปัสนา ๑๒๕ มีอนัตตานุปัสนา ๒๕ ฉะนี้แล ฯ
จบวิปัสสนากถา ฯ
-----------------------------------------------------
ปัญญาวรรค มาติกากถา
[๗๓๗] บุคคลผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้น เพราะเหตุนั้น ความ หลุดพ้น เป็นวิโมกข์ วิชชาวิมุติ อธิศีล อธิจิต อธิปัญญา ปัสสัทธิ ญาณ ทัสนะ สุทธิ เนกขัมมะ นิสสรณะ ปวิเวก โวสสัคคะ จริยา ฌานวิโมกข์ ภาวนาธิษฐานชีวิต ฯ คำว่า นิจฺฉาโต ความว่า บุคคลผู้มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากกามฉันทะ ด้วยเนกขัมมะผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากพยาบาทด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากนิวรณ์ด้วยปฐมฌาน ฯลฯ ผู้ไม่มีความหิว ย่อมหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค ฯ คำว่า วิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องพ้นจากกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องพ้นจากพยาบาท ฯลฯ ปฐมฌานชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็น เครื่องพ้นจากนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่อง พ้นจากกิเลสทั้งปวง ฯ คำว่า วิชฺชาวิมุตฺติ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากกามฉันทะ ชื่อว่าวิชชา- *วิมุติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ความไม่พยาบาทชื่อว่าวิชชา เพราะอรรถว่า มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากพยาบาท ชื่อว่า วิชชาวิมุติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่า วิชชา เพราะอรรถว่า มีอยู่ ชื่อว่าวิมุตติ เพราะอรรถว่า หลุดพ้นจากกิเลส ทั้งปวง ชื่อว่าวิชชาวิมุติ เพราะอรรถว่า มีอยู่หลุดพ้น หลุดพ้นมีอยู่ ฯ [๗๓๘] ข้อว่า อธิสีลํ อธิจิตฺตํ อธิปญฺญา ความว่า เนกขัมมะ ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่า เป็นเครื่องกั้นกามฉันทะ ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องเห็น ความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธิ เป็น อธิจิตตสิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอธิปัญญาสิกขา ความไม่พยาบาท ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นความพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค ชื่อว่าสีลวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องกั้นกิเลสทั้งปวง ชื่อว่าจิตตวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเหตุไม่ฟุ้งซ่าน ชื่อว่าทิฏฐิวิสุทธิ เพราะอรรถว่าเป็นเครื่องเห็น ความกั้นในสีลวิสุทธิ เป็นอธิสีลสิกขา ความไม่ฟุ้งซ่านในจิตตวิสุทธิ เป็นอธิจิตต- *สิกขา ความเห็นในทิฏฐิวิสุทธิ เป็นอธิปัญญาสิกขา ฯ [๗๓๙] คำว่า ปสฺสทฺธิ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องระงับกามฉันทะ ความไม่พยาบาทเป็นเครื่องระงับพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องระงับกิเลส ทั้งปวง ฯ คำว่า ญาณํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะ เป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุ ให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าญาณ ด้วยอรรถว่ารู้ เพราะเป็นเหตุ ให้ละกิเลสทั้งปวง ฯ คำว่า ทสฺสนํ ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น เพราะเป็นเหตุให้ละกามฉันทะ ความไม่พยาบาทชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น เพราะเป็นเหตุให้ละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าทัสนะ เพราะความว่าเห็น เพราะเป็นเหตุให้ละกิเลสทั้งปวง ฯ คำว่า วิสุทฺธิ ความว่า บุคคลละกามฉันทะ ย่อมหมดจดด้วยเนกขัมมะ ละพยาบาทย่อมหมดจดด้วยความไม่พยาบาท ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจด ด้วยอรหัตมรรค ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวง ย่อมหมดจดด้วยอรหัตมรรค ฯ [๗๔๐] คำว่า เนกฺขมฺมํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเนกขัมมะ แห่งสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัย ปรุงแต่ง อาศัยกันเกิดขึ้น ความไม่พยาบาท เป็นเนกขัมมะแห่งพยาบาท อาโลกสัญญา เป็นเนกขัมมะแห่งถีนมิทธะ ฯลฯ คำว่า นิสฺสรณํ ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกาม อรูปฌาน เป็นเครื่องสลัดรูป นิโรธ เป็นเครื่องสลัดสิ่งที่มีที่เป็น อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยกัน เกิดขึ้น เนกขัมมะ เป็นเครื่องสลัดกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นเครื่อง สลัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่องสลัดกิเลสทั้งปวง ฯ คำว่า ปวิเวโก ความว่า เนกขัมมะ เป็นที่สงัดกามฉันทะ ความ ไม่พยาบาท เป็นที่สงัดพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นที่สงัดกิเลสทั้งปวง ฯ คำว่า โวสฺสคฺโค ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องปล่อยวางกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องปล่อยวางพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง ปล่อยวางกิเลสทั้งปวง ฯ คำว่า จริยา ความว่า เนกขัมมะ เป็นเครื่องประพฤติละกามฉันทะ ความไม่พยาบาท เป็นเครื่องประพฤติละพยาบาท ฯลฯ อรหัตมรรค เป็นเครื่อง ประพฤติละกิเลสทั้งปวง ฯ คำว่า ฌานวิโมกฺโข ความว่า เนกขัมมะชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผากามฉันทะ ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า เกิดหลุดพ้น เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น เนกขัมมธรรม เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า รู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา ความไม่พยาบาท ชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผาพยาบาท ฯลฯ อาโลกสัญญาชื่อว่า ฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผาถีนมิทธะ ฯลฯ อรหัตมรรคชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผากิเลสทั้งปวง ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะ อรรถว่า เกิดหลุดพ้น เพราะอรรถว่า เผาหลุดพ้น อรหัตมรรคธรรมชื่อว่าฌาน เพราะอรรถว่า เกิด เพราะอรรถว่า เผา ชื่อว่าฌานวิโมกข์ เพราะอรรถว่า รู้กิเลสที่เกิดและที่ถูกเผา ฯ [๗๔๑] คำว่า ภาวนาธิฏฺฐานชีวิตํ ความว่า บุคคลผู้ละกามฉันทะ เจริญเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยภาวนา ย่อมอธิษฐานจิต ด้วยสามารถแห่งเนกขัมมะ เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อม ด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐานอย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ เป็นอยู่ชอบ ไม่เป็นอยู่ผิด เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนาถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อม ด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุม พราหมณ์ก็ดี ที่ประชุมคฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้น เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วย อธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนั้น บุคคลละพยาบาทเจริญความไม่พยาบาท ละถีนมิทธะเจริญอาโลกสัญญา ละอุทธัจจะเจริญความไม่ฟุ้งซ่าน ละวิจิกิจฉา เจริญธรรมววัตถาน ละอวิชชาเจริญญาณ ละอรติเจริญความปราโมทย์ ละนิวรณ์ เจริญปฐมฌาน ฯลฯ ละกิเลสทั้งปวงเจริญอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่า ถึงพร้อมด้วยภาวนา บุคคลย่อมตั้งมั่นจิตด้วยสามารถอรหัตมรรค เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน อย่างนี้นั้น ย่อมเป็นอยู่สงบ ไม่เป็นอยู่ไม่สงบ เป็นอยู่ชอบ เป็นอยู่ไม่ผิด เป็นอยู่หมดจด ไม่เป็นอยู่เศร้าหมอง เพราะเหตุนั้นจึงชื่อว่าถึงพร้อมด้วยอาชีวะ ผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วยอาชีวะอย่างนี้นั้น เข้าไปสู่ที่ประชุมใด คือ ที่ประชุมกษัตริย์ก็ดี ที่ประชุมพราหมณ์ก็ดี ที่ประชุม คฤหบดีก็ดี ที่ประชุมสมณะก็ดี ย่อมองอาจไม่เก้อเขินเข้าไป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยภาวนา ถึงพร้อมด้วยอธิษฐาน ถึงพร้อมด้วย อาชีวะอย่างนั้น ฉะนี้แล ฯ
จบมาติกากถา
ปกรณ์ปฏิสัมภิทาจบบริบูรณ์
-----------------------------------------------------
รวมกถาที่มีในปกรณ์ปฏิสัมภิทานั้น คือ
๑. ญาณกถา ๒. ทิฏฐิกถา ๓. อานาปานกถา ๔. อินทรียกถา ๕. วิโมกขกถา ๖. คติกถา ๗. กรรมกถา ๘. วิปัลลาสกถา ๙. มรรคกถา ๑๐. มัณฑเปยยกถา ฯ ๑. ยุคนัทธกถา ๒. สัจจกถา ๓. โพชฌงคกถา ๔. เมตตากถา ๕. วิราคกถา ๖. ปฏิสัมภิทากถา ๗. ธรรมจักรกถา ๘. โลกุตรกถา ๙. พลกถา ๑๐. สุญญกถา ฯ ๑. มหาปัญญากถา ๒. อิทธิกถา ๓. อภิสมยกถา ๔. วิเวกกถา ๕. จริยากถา ๖. ปาฏิหาริยกถา ๗. สมสีสกถา ๘. สติปัฏฐานกถา ๙. วิปัสสนากถา ๑๐. มาติกากถา ฯ วรรค ๓ วรรคในปกรณ์ปฏิสัมภิทา มีอรรถกว้างขวางลึกซึ้งในมรรคเป็น อนันตนัย เปรียบด้วยสาคร เหมือนนภากาศเกลื่อนกลาดด้วยดวงดาว และเช่น สระใหญ่ ความสว่างจ้าแห่งญาณของพระโยคีทั้งหลาย ย่อมมีได้โดยพิลาส แห่งคณะพระธรรมกถิกาจารย์ ฉะนี้แล ฯ
ปฏิสัมภิทาจบด้วยประการฉะนี้
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๗๘๖๒-๑๑๐๘๖ หน้าที่ ๓๒๖-๔๖๔. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=7862&Z=11086&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=544&items=198              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=544&items=198&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=544&items=198              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=31&item=544&items=198              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=544              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้า

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :