ขอนอบน้อมแด่
พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
                      พระองค์นั้น
บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ
 ฉบับหลวง   บาลีอักษรไทย    PaliRoman 
อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
ปัญญาวรรค สมสีสกถา
[๗๒๓] ปัญญา ในความไม่ปรากฏแห่งธรรม ทั้งปวงในสัมมา สมุจเฉท และในนิโรธ เป็นญาณในความว่าสมธรรมและสีสธรรม ฯ คำว่า ธรรมทั้งปวง คือ ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ กุศลธรรม อกุศลธรรม อัพยากตธรรม กามาวจรธรรม รูปาวจรธรรม อรูปาวจรธรรม โลกุตรธรรม ฯ คำว่า สัมมาสมุจเฉท ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องตัดกามฉันทะได้ ขาดดี อัพยาบาทเป็นเครื่องตัดพยาบาทได้ขาดดี อาโลกสัญญาเป็นเครื่องตัด ถีนมิทธะได้ขาดดี อวิกเขปะเป็นเครื่องตัดอุทธัจจะได้ขาดดี ธรรมววัตถานเป็น เครื่องตัดวิจิกิจฉาได้ขาดดี ญาณเป็นเครื่องตัดอวิชชาได้ขาดดี ความปราโมทย์ เป็นเครื่องตัดอรติได้ขาดดี ปฐมฌานเป็นเครื่องตัดนิวรณ์ได้ขาดดี ฯลฯ อรหัต- *มรรคเป็นเครื่องตัดกิเลสทั้งปวงได้ขาดดี ฯ [๗๒๔] คำว่า นิโรธ ความว่า เนกขัมมะเป็นเครื่องดับกามฉันทะ อัพยาบาทเป็นเครื่องดับพยาบาท ... ความปราโมทย์เป็นเครื่องดับอรติ ปฐมฌาน เป็นเครื่องดับนิวรณ์ ฯลฯ อรหัตมรรคเป็นเครื่องดับกิเลสทั้งปวง ฯ คำว่า ความไม่ปรากฏ ความว่า เมื่อพระโยคาวจรได้เนกขัมมะ กาม- *ฉันทะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อัพยาบาท พยาบาทย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อาโลก สัญญา ถีนมิทธะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้อวิกเขปะ อุทธัจจะย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ธรรมววัตถาน วิจิกิจฉาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ฌาน อวิชชาย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ความปราโมทย์ อรติย่อมไม่ปรากฏ เมื่อได้ปฐมฌาน นิวรณ์ย่อมไม่ปรากฏ ฯลฯ เมื่อได้อรหัตมรรค กิเลสทั้งปวงย่อมไม่ปรากฏ ฯ [๗๒๕] คำว่า สมธรรม (ธรรมสงบ) ความว่า เพราะท่านละกามฉันทะ ได้แล้ว เนกขัมมะจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละพยาบาทได้แล้ว อัพยาบาทจึง เป็นสมธรรม เพราะท่านละถีนมิทธะได้แล้ว อาโลกสัญญาจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละอุทธัจจะได้แล้ว อวิกเขปะจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละวิจิกิจฉาได้ แล้ว ธรรมววัตถานจึงเป็นสมธรรม เพราะท่านละอวิชชาได้แล้ว ฌานจึงเป็น สมธรรม เพราะท่านละอรติได้แล้ว ความปราโมทย์จึงเป็นสมธรรม เพราะท่าน ละนิวรณ์ได้แล้ว ปฐมฌานจึงเป็นสมธรรม ฯลฯ เพราะท่านละกิเลสทั้งปวงได้ แล้ว อรหัตมรรคจึงเป็นสมธรรม ฯ สีสธรรม ในคำว่า สีสํ มี ๑๓ คือ ตัณหามีความกังวลเป็นประธาน ๑ มานะมีความพัวพันเป็นประธาน ๑ ทิฐิมีความถือผิดเป็นประธาน ๑ อุทธัจจะมี ความฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑ อวิชชามีกิเลสเป็นประธาน ๑ ศรัทธามีความน้อมใจ เชื่อเป็นประธาน ๑ วิริยะมีความประคองไว้เป็นประธาน ๑ สติมีความตั้งมั่นเป็น ประธาน ๑ สมาธิมีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นประธาน ๑ ปัญญามีความเห็นเป็นประธาน ๑ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นไปเป็นประธาน ๑ วิโมกข์มีโคจรเป็นประธาน ๑ นิโรธมีสังขารเป็นประธาน ๑ ฯ
จบสมสีสกถา ฯ
-----------------------------------------------------


             เนื้อความพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ บรรทัดที่ ๑๐๖๗๒-๑๐๗๐๙ หน้าที่ ๔๔๖-๔๔๗. http://84000.org/tipitaka/read/v.php?B=31&A=10672&Z=10709&pagebreak=0 http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=723&items=3              อ่านโดยใช้เครื่องหมาย [เลขข้อ] เป็น เกณฑ์แบ่งข้อ :- http://84000.org/tipitaka/read/byitem_s.php?book=31&item=723&items=3&mode=bracket              อ่านเทียบพระไตรปิฎกภาษาบาลี อักษรไทย :- http://84000.org/tipitaka/pali/pali_item_s.php?book=31&item=723&items=3              อ่านเทียบพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลีอักษรโรมัน :- http://84000.org/tipitaka/read/roman_item_s.php?book=31&item=723&items=3              ศึกษาอรรถกถานี้ได้ที่ :- http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=31&i=723              สารบัญพระไตรปิฎกเล่มที่ ๓๑ http://84000.org/tipitaka/read/?index_31

อ่านหัวข้อแรกอ่านหัวข้อที่แล้วแสดงหมายเลขหน้า
ในกรณี :- 
   บรรทัดแรกของแต่ละหน้าอ่านหัวข้อถัดไปอ่านหัวข้อสุดท้าย

บันทึก ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙. การแสดงผลนี้อ้างอิงข้อมูลจากพระไตรปิฎกฉบับหลวง. หากพบข้อผิดพลาด กรุณาแจ้งได้ที่ [email protected]

สีพื้นหลัง :